ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
06-01-2025, 19:22
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  องค์กรวิชาชีพสื่อออก 10 มาตรการตอบโต้การคุกคามสื่อ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
องค์กรวิชาชีพสื่อออก 10 มาตรการตอบโต้การคุกคามสื่อ  (อ่าน 1350 ครั้ง)
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« เมื่อ: 02-04-2006, 00:04 »

1 เมษายน 2549 22:37 น.
4 องค์กรวิชาชีพสื่อออก 10 มาตรการตอบโต้การคุกคามสื่อ นัดรวมพล 5 เม.ย.นี้ แสดงพลังประกาศให้เลิกคุกคามสื่อ ย้ำจุดยืนเลือกอยู่ข้างประโยชน์ของประชาชน

นายภัทระ คำพิทักษ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุมหารือขององค์กรเครือข่ายสื่อ ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวเศรษฐกิจ สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทยและสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ประชุมหารือกรณีการคุกคามสื่อจากกรณีที่คาราวานคนจนปิดล้อมเครือเนชั่น ว่า ที่ประชุมมีมติจะประกาศ 10 มาตรการเพื่อป้องกันการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ดังนี้

1.ประกาศจุดยืนการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนอิสระ ที่ต้องนำเสนอข่าวรอบด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจ โดยจะชี้ให้เห็นว่าการคุกคามสื่อเป็นการลดทอนข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ยังมีความพยายามของฝ่ายไม่ประสงค์ดี เพื่อบีบให้สื่อมวลชนต้องเลือกข้าง ทั้งที่ความเป็นจริงสื่อมวลชนยืนอยู่ข้างความถูกต้องและประโยชน์ของประชาชน

 
2.ในวันที่ 5 เมษายน เวลา 13.00 น.จะมีการรวมพลังเพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของวิชาชีพสื่อมวลชน และเพื่อส่งสัญญาณไปยังผู้ที่ไม่หวังดี

3.สภานักวิชาการสื่อสารมวลชนจะจัดทีมงานเพื่อชี้แจงต่อสาธารณชนถึงความพยายามในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน แต่รัฐบาลมีทัศนคติคับแคบเพื่อบิดเบือนทำให้เกิดความเสียหายกับสื่อมวลชนโดยรวม โดยเฉพาะการตอบคำถามของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ถึงกรณีการคุมคามเครือเนชั่นว่า “ผมถูกคุกคามมาตั้งหลายปี” แสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธที่จะตรวจสอบและให้ท้ายความรุนแรง

4.จะมีการจัดทำรายงานสภาพการคุกคามสื่อในประเทศออกไปสู่สังคมโลกผ่านเครือข่ายสื่อทั่วโลกกว่า 70 ประเทศ


5.สมาคมนักข่าวจะประชุมบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือในการเคลื่อนไหวและออกมาตรการที่เป็นเอกภาพ

6.จะใช้ศูนย์ข่าวอิศรา เป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการคุกคามสื่อ ซึ่งมีผู้บงการและถูกถ่ายภาพไว้ด้วย

7.จะทำเสื้อและสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความและสัญลักษณ์รณรงค์ยุติการคุกคามสื่อ ช่วยสวมเสื้อ และติดสติ๊กเกอร์บนกล้อง ไมโครโฟน และเทปอัด ในการสัมภาษณ์เพื่อให้ปรากฏออกไปสู่สายตาสาธารณชน

8.จะจัดสัมมนารวบรวมรูปแบบการคุกคามสื่อเพราะ 5 ปีของรัฐบาล “ทักษิณ” การคุกคามสื่อได้เปลี่ยนรูปแบบมีความรุนแรงมากขึ้น

9.ร่วมกันทำข่าวเปิดโปงความไม่ถูกต้องของกลุ่มเคลื่อนไหวที่มีพฤติกรรมเป็นอันธพาลและจะทบทวนการทำข่าวของกลุ่มคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ และ

10.จะมีการประสานงานไปยังเครือข่ายต่าง ๆ อาทิ ทนายความ อัยการ เพื่อทำงานร่วมกันในการปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชน

http://www.bangkokbiznews.com/specialreport/2Apr/x001_91910.php
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ดอกไม้เหล็ก
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 17


« ตอบ #1 เมื่อ: 02-04-2006, 09:30 »

เสรีภาพของสื่อ คือ เสรีภาพของประชาชน

อธิบายแบบ นักสื่อสารมวลชน  ว่าสื่อบทบาทในสังคมในฐานะของผู้ส่งสาร โดยสรุปนะ
1.แจ้งข่าวสาร (messenger) แจ้งข่าวให้มวลชนหรือประชาชนทราบว่ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น
2.สุนัขเฝ้าบ้าน (watchdog)  สืบสวนและรายงานสิ่งที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางกาย เศรษฐกิจ สังคม
เพื่อให้รับทราบและระมัดระวัง
3.เป็นตัวเชื่อม (relay) เป็นตัวเชื่อมเพื่อถ่ายทอดข่าวสาร วัฒนธรรมระหว่างซีกโลก
4.เป็นตัวกลาง (intermediary) เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งข่าว กับมวลชน ฯลฯ
5.เป็นผู้เฝ้าประตู (gatekeeper) ตรวจสอบข่าวที่เข้ามาและยอมรับข่าวสารที่เชื่อว่าควรส่งไปยังมวลชน คือ การเลือกนำเสนอและปฏิเสธที่จะนำเสนอข่าวนั้น ๆ

นอกจากนี้ในการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อจะมี 2 ลักษณะหลักคือ ข่าวสาร และ ข้อคิดเห็น  

ในกรณีของ คม ชัด ลึก เค้าทำหน้าที่นักสื่อสารฯ โดยสื่อข่าวสารที่ได้รับมา   แต่มีความผิดพลาดที่ตัวข่าวสารที่นำเสนอ  ซึ่งเค้าก็ออกมายอมรับ  เราว่าก็โอเคนะ  ฉะนั้น การคุกคามสื่อของม๊อบจตุจักรเพื่อหวังผลเป็นชนวนให้เกิดอะไรก็ตาม  เราขอประนาม

ข่าวสาร คือ ความเป็นจริง ซึ่งต้องรายงานตามนั้น ห้ามบิดเบือน หากเจตนาบิดเบือนก็ฟ้องร้อง หากผิดพลาดต้องยอมรับและแก้ไข  สุดท้ายสังคมจะเป็นคนตัดสินเองว่า  สื่อนั้นจะอยู่ในสังคมได้หรือไม่

ส่วนข้อคิดเห็น  เป็น ทัศนะของผู้เขียนแต่ละคอลัมน์ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อประเด็นนั้น ๆ  

ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในความรับผิดชอบของบรรณาธิการ อันนี้เป็นเรื่อง กฏหมายและ พรบ.การพิมพ์  เพราะก่อนปิดเล่มจะต้องประชุมกัน  ว่าจะปิดด้วยเรื่องอะไรบ้าง  ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างทำ  ดังนี้  กรณี คม ชัด ลึก ความรับผิดชอบของบรรณาธิการเป็นสิ่งที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงไม่ได้  และไม่จำเป็นต้องส่งตัวผู้เขียนข่าวนี้ให้กับม๊อบ

เราไม่ได้อยู่หนังสือพิมพ์ฉบับไหนทั้งนั้น  แต่เราทำงานวิชาการด้านสื่อสารมวลชน  เราอยากบอกว่า  ถ้าคม ชัด ลึก ส่งบุคคลที่เขียนออกมา  ลองคิดดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น  คม ชัด ลึก หรือ สื่อเล่มอื่นๆ จะอยู่อย่างไร  ต่อไปใครจะกล้าทำงานให้กับสื่อที่ไม่ปกป้องเค้าทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายชัดเจนถึงความรับผิดชอบของบรรณาธิการ  และต่อไปใครจะมาคุกคามให้สื่อลงข่าวอย่างไรก็ได้เหรอ  สื่อต้องมีเสรีภาพในการนำเสนอ  เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพในการรับรู้

เห็นด้วยนะที่องค์กรวิชาชีพสื่อต้องออกมาตรการตอบโต้  และครั้งนี้จะเป็นประวัติศาสตร์ที่นักสื่อสารมวลชนไม่มีวันลืม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: