ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
01-12-2024, 09:23
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ชายคาพักใจ  |  อยากประหยัดกว่าก๊าซ ให้ใช้ขี้ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อยากประหยัดกว่าก๊าซ ให้ใช้ขี้  (อ่าน 4815 ครั้ง)
Caocao
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557



« เมื่อ: 24-04-2008, 01:11 »

ไปเจอข้อมูลเก่า ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ แค่ไม่รู้ว่าปัจจุบันโครงการนี้ไปถึงไหนแล้ว ส่วนตัวคิดว่าในยุคที่เรากำลังแสวงหาพลังงานสำรอง โครงการนี้รัฐน่าจะรื้อฝื้นให้เกิดเป็นรูปธรรมนะ
www.ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 1998 13:12:17 น.
        กรุงเทพ--5 ก.พ.--สพช.
        สพช.ส่งเสริมพลังงานจากขี้หมู แทนก๊าซหุงต้ม ปั่นไฟ สามารถใช้ในครัวเรือและฟาร์มเลี้ยงสัตว์  อีกทั้งช่วยลดปัญหามลพิษจากน้ำเน่าเสีย  และกลิ่นเหม็นกวนชาวบ้าน  หากขยายทั่วประเทศจะทดแทนพลังงานได้ 900 ล้านบาทต่อปี


        ดร.ปิยสวัสดิ์   อัมระนันทน์   เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.)  เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ว่า ถึงปัจจุบัน สพช.ได้สนัสนุนเงินจำนวน  123.7 ล้านบาท แก่สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 10.6 ล้านบาท แก่สถาบันวิจัยและพัฒนาส่งเสริมปัจจัยการผลิต กรมส่งเสริมการเกษตร ในโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์    โดยมีผู้ร่วมโครงการเป็นฟาร์มขนาดเล็ก กลาง ใหญ่จากภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง
        สำหรับเงินลงทุนเพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในโครงการระยะที่  2 นั้นมาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นค่าใช้จ่ายในการให้คำปรึกษาและติดตามดูแล  ส่วนที่ 2 ให้เงินสนับสนุนในรูปของการเพิ่มผลตอบแทนต่อการลงทุนร้อยละ 33 ส่วนเจ้าของฟาร์มต้องลงทุนส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 67 เป็นค่าก่อสร้างระบบ ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและบำรุงรักษาทั้งหมด
        ปัจจุบันหน่วยบริการก๊าซชีวภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้ส่งเสริมให้มีการติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มขนาดกลางและใหญ่ไปแล้ว 10,000 ลูกบาศก์เมตร เทียบเท่าความสามารถรับมูลหมู 60,000 ตัว สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 1.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เทียบเท่ากับก๊าซหุงต้ม (LPG) 0.8 ล้านกิโลกรัมต่อปีก๊าวหุ้นต้มในปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 13.4  บาท คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 10.72 ล้านบาทต่อปี โดยมีฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการคือ ปากช่องฟาร์ม  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา เอส.พี.เอ็ม.ฟาร์ม บุญมีฟาร์ม อภิชาติฟาร์ม เค.พี.เคฟาร์ม อ.ปากท่อ  จ.ราชบุรี  และฟาร์มเบทาโกรเซ็นทรัล จ.พิษณุโลก คิดเป็นเงินลงทุนทั้งหมด 39.7 ล้านบาท เป็นส่วนของกองทุนฯ 11.28 ล้านบาท
        ดร.ปิยสวัสดิ์ เปิดเผยว่า โครงการระยะที่สอง (2541-2545) ได้ตั้งเป้าหมายได้ติดตั้งระบบก๊าวชีวภาพให้ได้อีก  40,000  ลูกบาศก์เมตร   คาดว่าจะต้องลงทุนทั้งหมด 160 ล้าน จะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 7.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถทดแทนก๊าซหุงต้มได้ประมาณ 3.3 ล้านกิโลกรัมต่อปี  หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ  8.6*106  กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี  ช่วยบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 2.9 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือบำบัดความสกปรกในรูปของ COD ได้ปีละไม่น้อยกว่า 40 ล้านกิโลกรัม และผลิตปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินได้ประมาณ  26 ล้านกิโลกรัมต่อปี คิดเป็นเงินที่ได้จากโครงการประมาณ 70 ล้านบาทต่อปี หรือ 1,050 ล้านบาท ตลอดอายุการใช้งาน 15 ปี ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมผลตอบแทนจากการบำบัดน้ำเสีย
        "การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จะได้ก๊าซชีวภาพมาใช้แทนพลังงานจากก๊าซหุงต้ม  (แอลพีจี)  น้ำมันเชื้อเพลิง  และพลังงานไฟฟ้า ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ คือสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะเรือนกระจก ขจัดมลภาวะจากกลิ่นและแมลงวัน รวมทั้งลดมลพิษในรูปของสารอินทรีย์ (BOD) ได้มากกว่าร้อยละ 90  ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาน้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสียได้มาก   นอกจากนี้ยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีอีกด้วย" ดร.ปิยสวัสดิ์ กล่าว
        อนึ่ง  ระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใช้เทคโนโลยีที่อาศัยกลุ่มของจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน  หมักย่อยสลายสารอินทรีย์ในมูลสัตว์ ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวในสภาพไร้อากาศ (anaeaobic  digestion) การทำงานของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อย่างต่อเนื่องกัน ทำให้สารอินทรีย์ถูกย่อยสลายและลดปริมาณลง  และเปลี่ยนเป็นก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นก๊าซผลสมระหว่างมีเธน  (CH4) กับคาร์บอนไดออกไซด์  (CO2)  ในอัตราส่วนประมาณ  60:40 ก๊าซผสมนี้ติดไฟได้ดี จึงเป็นพลังงานให้ความร้อน  แสงสว่าง  และใช้เป็นเชื้อเพลิงเดินเครื่องยนต์ได้  นอกจากนี้ระบบการหมักแบบไร้ออกซิเจนจะลดปริมาณสารอินทรีย์ในรูปของ COD (chemical oxygen demand) และ BOD (biological oxygen demand) ที่อยู่ในสารหมักได้ร้อยละ 70-90
        จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อปี พ.ศ.2538 พบว่าทั่วประเทศมีสุกรประมาณ  5.4 ล้านตัว หากฟาร์มร้อยละ 50 ใช้การบำบัดน้ำเสียแบบใช้เทคโนโลยีก๊าซชีภาพ จะทำให้ได้ผลผลิตเป็นก๊าซหุ้นต้ม 118,800 กก./วัน คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านบาท หรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 12.4 เมกกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่า 0.76 ล้าน และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 0.95 ล้าน กก./วัน  คิดเป็นมูลค่า  0.95 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าที่ผลิตได้ 1.7-2.5 ล้านบาท/วัน หรือปีละประมาณ 620-912 ล้านบาท--จบ--
http://www.ryt9.com/news/1998-03-05/17949384/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-04-2008, 08:00 โดย เมิ่งเต๋อ » บันทึกการเข้า

หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มครอง
Caocao
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 557



« ตอบ #1 เมื่อ: 24-04-2008, 01:17 »

อีกหนึ่งวิธีการประหยัดแล้วมีประโยชน์ ทำเองได้คือการทำ EM ลองไปทำกันดู ผมกำลังทดลองอยู่  
ชีววิถี: การทำน้ำยาเอนกประสงค์ โดยใช้เปลือกผลไม้   
การทำน้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ)
ใช้ล้างจาน ล้างพื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ครัว ล้างมือ
 
เครื่องมือหรืออุปกรณ์
- ถังพลาสติกสีเข้มมีฝาปิดมิดชิด ขนาดความจุ 32 แกลลอน 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนัก
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ           
- ช้อน ไม้พาย สำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางสำหรับกรอง 1 ผืน       
- ช้อนตวง 1 ชุด 

วัสดุที่ทำน้ำหมักชีวภาพ
- เปลือกสับปะรด 30 กิโลกรัม (สรรพคุณเป็นกรด ขจัดคราบมัน)
- หัวเชื้อ EM สด 1 กก.หรือ EM ขยาย(รุ่นลูก) 1.5 กก.(สรรพคุณช่วยย่อยสลายสับปะรด)
- น้ำตาลทรายแดง หรือโอวทึ้ง 1 กิโลกรัม (เป็นอาหารของ EM )
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) ใส่ท่วมวัสดุ

ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
2. ชั่งเปลือกสับปะรด 30 กิโลกรัม จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด หรือแช่ใน EM ขยาย ผสมน้ำสะอาด ในอัตรา 1:100 เพื่อล้างสารเคมีที่ติดมากับเปลือก โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง
3. สับเป็นชิ้นเล็ก โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
4. น้ำตาลทรายแดง ผสมกับหัวเชื้อ EM สด คนน้ำตาลทรายแดงจนละลายหมด
5. นำวัสดุข้อ 3 กับ 4 เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากัน เติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ใส่ให้ท่วมเนื้อวัสดุ ปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อหมักไว้ 2-3 วัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง   
               ถังที่หมักควรเก็บในที่มีแสงน้อย ภายในห้องหรือในที่ร่ม ที่อุณหภูมิปกติ  เพราะ EM ชอบความมืด และต้องอยู่ในที่ไม่ร้อนจัด เย็นจัด     การหมักจะเกิดฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ  แสดงว่าการหมักได้ผล  แสดงว่า EM พักตัว เมื่อกวนลงไปฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กรองด้วยผ้าขาวบาง  โดยไม่ต้องบีบคั้นกาก  จากนั้นนำน้ำสกัดชีวภาพใส่ถังปิดไว้ให้แน่นและปล่อยตกตะกอนอีก 2 – 3 วัน  (กากใส่ในตะกร้าปล่อยให้น้ำหยดเอง หากคั้นกากน้ำสกัดที่ได้สีจะขุ่นไม่น่าใช้ ส่วนกากที่เหลือนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้ )     
                   

หากต้องการฟอง มีความหนืดเหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ให้เติม N70 (ผงหนืด), เกลือแกง (ที่ใช้รับประทาน) ดังนี้ N70 5% , เกลือแกง 4% (% ของน้ำหนักน้ำสกัดชีวภาพ)ตัวอย่าง น้ำสกัดชีวภาพ 1 ลิตร(1,000cc) เติม N70 = 50 cc (1,000 CC X 5%)หรือ 5 ช้อนโต๊ะ, เกลือแกง =  40 cc (1,000 CC X 4%) หรือ 4 ช้อนโต๊ะ (1 ช้อนโต๊ะ = 10 CC)
 
วิธีการผสม
นำน้ำสกัดชีวภาพ ผสมกับ N70 50 cc และ เกลือแกง 40 cc (N70 เกลือแกง กวนละลายให้เข้ากันก่อน) ปล่อยทิ้งไว้จนฟองหาย จึงนำมาบรรจุขวดพลาสติก  หากต้องการสี กลิ่น ให้เติมตามใจชอบ น้ำยาล้างจานให้กลิ่นมะนาวแทนกลิ่นใบเตยเป็นที่นิยม หากต้องการขัดพื้นห้องน้ำ ทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ ทำน้ำยาล้างมือก็เปลี่ยนสี กลิ่น ตามใจชอบ  (สี กลิ่น N70 หาซื้อได้แถวสี่แยกวัดตึก พาหุรัด หรือร้านขายเคมีภัณฑ์)
หมายเหตุ น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย

วิธีใช้
ใช้ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน โดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาตามท้องตลาด การล้างจานจำนวนมาก ควรแช่จานในน้ำยาล้างจานผสมน้ำ (สัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน : น้ำ 5 ส่วน) แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนล้าง  เพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาด ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้  เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน  สรรพคุณ ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ได้สะอาด ขจัดคราบมันในครัวได้เป็นอย่างดี ไม่มีกลิ่นตกค้าง ถนอมมือ  และที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 
หมายเหตุ   1.น้ำยาอเนกประสงค์สูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 2 ส่วน เติม มัยลาพ 3 กก. ต่อ สับปะรด 20 กก. นำมัยลาพมาต้มเดือด ปล่อยให้เย็นแล้วผสม จะทำให้มือนุ่ม       
                                         
วัสดุที่ใช้แทนเปลือกสับปะรด ได้แก่ มะขามเปียก มะกรูด มะเฟือง กากกระเจี๊ยบที่ต้มน้ำแล้ว เปลือกมะนาว เปลือกส้ม เปลือกเสาวรส เปลือกส้มโอ หรือเปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวๆ เพราะมีสภาพเป็นกรดเหมือนกับสับปะรด ฤดูกาลไหน วัสดุใดมีราคาถูกก็ใช้วัสดุนั้น ตามหลักควรใช้เปลือก  หลังจากหมักทำน้ำยาแล้วก็เอากากที่หมักแล้วมาทำปุ๋ย ไม่มีการทิ้งเปล่า การทำน้ำยาอเนกประสงค์ จำนวนมากน้อยให้ใช้สัดส่วนดังกล่าวข้างต้น โดยการคำนวณบัญญัติไตรยางค์

โดยกลุ่มงานชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร.02-436-3432


 
 
บันทึกการเข้า

หลับเถิดทหารกล้า ปวงประชาจะคุ้มครอง
หน้า: [1]
    กระโดดไป: