กาลามชน
|
|
« เมื่อ: 22-05-2006, 10:14 » |
|
ประเทศไทยผลิต ปิโตรเลียม ได้วันละ 551,000 บาเรลต่อวัน แยกเป็นน้ำมันดิบ 130,000 บาเรล คอนเดนเสท 89,000 บาเรล ที่เหลือเป็นกาซธรรมชาติ 2400 ล้านลูกบาศก์ฟุต ปตท เป็น บ.น้ำมันที่ใหญ่ที่สุด ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดประมาณสองในสาม
ปตท บอกว่ากำไรของ ปตท ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ มาจากโรงกลั่น และกิจการ กาซธรรมชาติ กำไรจากการค้าปลีกน้ำมันเพิ่มขึ้นไม่มาก
สาเหตุที่โรงกลั่นได้กำไรมาก เกิดจากโลกขาดแคลนโรงกลั่น ทำให้ค่ากลั่นน้ำมันขึ้นราคา จากบาเรลละห้าเหรียญเมื่อห้าหกปีก่อน เป็นประมาณสิบเหรียญในปัจจุบัน แต่ค่ากลั่นที่ขึ้นเป็นสองเท่า ไม่ได้ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นแค่สองเท่า แต่กลับเพิ่มเป็นหลายเท่าตัว เพราะสมัยที่ค่ากลั่นห้าเหรียญนั้น มีต้นทุนประมาณสามเหรียญกว่า ได้กำไรประมาณเหรียญเศษๆ ตอนนี้ค่ากลั่นขึ้นไปเป็นสิบเหรียญ ต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้นนิดหน่อย ตีเสียว่าเพิ่มเป็นห้าเหรียญ ตอนนี้อาจจะเหลือเป็นกำไรมากถึงห้าเหรียญ คือเพิ่มขึ้นราวๆสี่เท่า
ส่วนกำไรจากกาซธรรมชาติ มาจากสาเหตุที่ ในกาซธรรมชาติ มักจะมีกาซหุงต้ม LPG และไฮโดรคาร์บอนเหลวในกลุ่มน้ำมันเบนซิน ปนอยู่ด้วยเสมอ มากบ้างน้อยบ้าง ถ้ากาซจากแหล่งใดมีน้ำมันปนน้อยก็เรียกกาซแห้ง ถ้ามีมากก็เรียกว่ากาซเปียก แต่การซื้อขายกาซธรรมชาติ มีสูตรคิดราคาแบบเหมารวม คิดตามหน่วยค่าความร้อน ไม่สนใจส่วนประกอบข้างใน โดยสูตรคำนวณจะอ้างอิงราคากับน้ำมัน อยู่ที่ประมาณ 60% ของราคาน้ำมันดิบ
กาซธรรมชาติ ของ ปตท เมื่อไปผ่านโรงแยกกาซ จะได้กาซแห้ง 2,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และไฮโดรคาร์บอนเหลว 89,000 บาเรลต่อวัน เท่ากับ ปตท ได้น้ำมันดิบชนิดเบา เป็นผลพลอยได้จากส่วนกาซธรรมชาติ ในราคาประมาณ 60% ของราคาตลาดถึงวันละเก้าหมื่นบาเรล เนื่องจากราคากาซคิดเป็นเปอร์เซนต์ของราคาน้ำมัน ดังนั้นเมื่อน้ำมันขึ้นราคาไป 3 เท่าในห้าปี กำไรจากการขายคอนเดนเสท ที่เป็นผลพลอยได้ของกาซ ก็ควรเพิ่มเป็นสามเท่าด้วยเช่นกัน
ส่วนกำไรจากการขายปลีกนั้น เพิ่มไม่มาก เพราะทุกวันนี้ การขายปลีกทั้งกระดาน ลดค่าการตลาดลงต่ำกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว
คำถามที่พูดกันมากว่า เมื่อ ปตท ได้กำไรจากส่วนอื่นมากแล้ว จะยอมขาดทุนในส่วนราคาขายปลีกชดเชยกันได้หรือไม่
คำตอบคือ ปตท น่าจะทำได้... ถ้าทั้งประเทศมีแต่ ปตท
ประเทศไทยมี บ น้ำมันอื่นอีกหลายเจ้า และส่วนใหญ่อยู่มาเก่าแก่ก่อน ปตท ทั้งสิ้น บ น้ำมันบางรายไม่มีโรงกลั่น ไม่มีกิจการกาซธรรมชาติ ไม่มีกิจการส่วน up stream ที่ให้กำไรมาก.. บ.เหล่านี้ อยู่ได้ด้วยการซื้อมาขายไปเพียงอย่างเดียว ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นในราคาตลาด และขายปลีกบวกกำไรไปนิดหน่อย ถ้า ปตท ยอมขาดทุนในส่วนที่ขายปลีก ขายถูกกว่าลิตรละห้าสิบสตางค์ แค่สองสามวัน ผู้ค้าน้ำมันรายอื่นก็ต้องร้องโวยวายแล้ว ถ้าทำติดต่อกันนานๆ บ.น้ำมันอื่นก็คงเจ๊ง.. อาจจะเป็นเรื่องที่ถูกใจประชาชน แต่ถือว่าไม่ชอบธรรม ถือว่ารัฐบาล ไม่มีจริยธรรมกับผู้ค้าน้ำมันรายอื่น
ถ้าถามว่า ปตท จะลดราคาหน้าโรงกลั่น ไม่อ้างอิงกับสิงคโปร์ได้ไหม .. ต้องเข้าใจว่า 1. โรงกลั่นน้ำมันในไทย ไม่ได้มีแต่ไทยออย แต่มีเจ้าอื่นอีกสี่แห่ง 2. โรงกลั่นไทยออย แม้ ปตท จะถือหุ้นใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ของ ปตท ร้อยเปอร์เซนต์ และ 3. ข้อตกลงราคาค่ากลั่นน้ำมัน เข้าใจว่าติดเงื่อนไขสัญญา ที่กำหนดให้ไปอ้างอิงกับโรงกลั่นภายนอก ดังนั้นจะไปสั่งให้ลดตามใจของ ปตท หรือตามคำสั่งของรัฐบาลไม่ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อย และไปกระทบโรงกลั่นอื่นๆ
ดังนั้นการที่กล่าวว่าน้ำมันแพงเพราะการแปรรูป จึงไม่ค่อยตรงกับความจริงนัก เพราะทางตันที่ทำให้ ปตท ลดราคาขายปลีกไม่ได้ มาจากการที่ตลาดยังมีผู้ประกอบการรายอื่นต่างหาก ต่อให้ ปตท ยังเป็นของรัฐ 100% ก็ไม่มีทางผ่าทางตันนี้ได้
การแก้ไขแบบฝ่าทางตัน ต้องทำอย่างโบลิเวีย คือออกกฎหมายเวนคืน ขอซื้อกิจการ บ.น้ำมันเอกชนทั้งหมดในประเทศ รวมทั้งโรงกลั่นทุกแห่งด้วย ให้เป็นของรัฐ เพื่อที่รัฐจะกำหนดราคาน้ำมันได้ตามใจ แต่นั่นแหละ จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อกิจการจากเอกชนทั้งหมด ทางตันจึงยังคงตันต่อไป
ส่วนแนวทางที่พอจะทำได้อย่างเป็นรูปธรรมคือ ใช้กำไรของ ปตท มาพยุงราคาทางอ้อม โดยอาจจะกำหนดให้ ปตท ส่งกำไรส่วนหนึ่งให้กองทุนน้ำมันโดยตรง เพื่อให้รัฐเอาไปอุ้มราคาทั้งกระดาน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-05-2006, 10:21 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
55555
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 22-05-2006, 10:30 » |
|
ดูเอาเถอะครับ.......ไตรมาสต์นี้ ปตท กำไรเพียบ เพราะได้ค่าการกลั่นบาน เนื่องจากตอนนี้ ค่าเงินบาทแข็ง น้ำมันดิบในตลาดโลก ลงตำกว่า 70 เหรียญ แต่มันเสือกไปอิงน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ที่กำลังขึ้นเอ๊า...ขึ้นเอา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
O_envi
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 22-05-2006, 19:38 » |
|
อ่านแล้วไม่ค่อยเก็ทเท่าไหร่อาจจะเพราะเราโง่ก็ได้
แต่พี่กาลาช่วยตอบผมหน่อยเถอะครับ นายโอฬารมันไปทำอะไรที่ปตท มันมีหน้าที่แปรรูปปตท ถูกๆ ให้ต่างชาติรึเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
The change musts come one by one.It has to start with you
|
|
|
|
ปุถุชน
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 23-05-2006, 01:03 » |
|
คนที่รู้เรื่องดีเกี่ยวกับน้ำมัน หลายคนไม่ได้คิดอย่างเจ้าของกระทู้ โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์ได้ประกาศแล้วว่า เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อไหร่ จะลดราคาน้ำมัน(กำไรส่วนเกิน)ให้ได้ พร้อมเหตุผลและข้ออ้างอิง....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด
อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 23-05-2006, 03:28 » |
|
กฎหมายขายชาติ ทำให้ ปตท. ต้องคิดถึงกำไรของผู้ถือหุ้น มากกว่าความเดือดร้อนของผู้บริโภค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 23-05-2006, 07:54 » |
|
คุณ O_envi
คุณโอฬาร มีเรื่องหลายที่ ผมก็ค่อนข้างหงุดหงิดกับคนๆนี้ อย่าพูดถึงเลยครับ
+++++
เรื่องของ ปตท เขาไม่ได้เห็นแก่ผู้ถือหุ้น แต่ ปตท ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย.. จะสมมติ ให้ง่าย
สมมติว่าโรงงานทำไส้กรอก มีต้นทุนชิ้นละ 5 บาท ขายส่งในราคา 6 บาท โรงงานได้กำไร 1 บาท แม่ค้าซื้อจากโรงงานชิ้นละ 6 บาท ไปขายปลีกชิ้นละ 7 บาท แม้ค้าได้กำไร 1 บาท
คุณถือหุ้นใหญ่ในโรงงานไส้กรอกแห่งหนึ่ง และมีร้านขายปลีกไส้กรอกของตนเองด้วย
ต่อมาคนนิยมกินไส้กรอกมาก จนสร้างโรงงานไม่ทัน โรงงานต่างๆโก่งราคาขายส่งไส้กรอกเป็นชิ้นละ 9 บาท โดยที่โรงงานต่างๆยังคงมีต้นทุนชิ้นละ 5 บาทเท่าเดิม ทำให้ได้กำไรมากขึ้นเป็นชิ้นละ 4 บาท ส่วนแม่ค้าก็รับไส้กรอกจากโรงงานในราคา 9 บาท ไปขายต่อในราคา 10 บาท แม่ค้ายังคงได้กำไร 1 บาทเท่าเดิม
ประชาชนเริ่มบ่น เพราะไส้กรอกขึ้นราคา คุณสงสารประชาชน คิดว่าคุณได้กำไรในส่วนหุ้นของโรงงานมากแล้ว ยอมลดราคาขายปลีกอีกหน่อยก็ได้ คุณจึงสั่งลดราคาขายปลีกในร้านค้าของคุณจาก 10 บาท เหลือ 9.50 บาท
สามวันต่อมา แม่ค้าขายไส้กรอกทั่วประเทศ ก็มาร้องโวยวายว่าคุณรังแก คุณได้กำไรจากกิจการส่วนอื่น คุณลดราคาได้ แต่แม่ค้าทั่วไป จะลดราคาอย่างคุณไม่ได้ ลูกค้าหนีมาซื้อไส้กรอกร้านคุณหมด.. คุณอาจจะถูกต่อว่า ว่ารังแกผู้ร่วมอาชีพ
คุณคิดว่า ถ้าอย่างนั้น ลดราคาขายส่งไส้กรอกก็ได้ คุณจึงไปบอกหุ้นส่วนโรงงานของคุณ ว่าประชาชนเดือดร้อน ลดราคาไส้กรอกกันเถอะ หุ้นส่วนของคุณบอกว่าไม่ได้ ตอนตั้งโรงงานเราตกลงจะใช้ราคากลาง ตามราคาที่สมาคมผู้ผลิตไส้กรอกกำหนด จะมาลดราคาตามใจชอบไม่ได้.. คุณอาจจะถือสิทธิ์ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บังคับให้ลดราคาก็ได้ แต่ผู้ถือหุ้นจะพากันว่าคุณได้ว่า เป็นคนที่ไม่รักษาสัญญา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-05-2006, 08:46 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 23-05-2006, 08:16 » |
|
โรงกลั่นไทยออย เป็น บริษัทลูก ที่ ปตท ชวนหลายฝ่ายร่วมทุนตั้งขึ้น ไทยออย จึงเป็น บ. ที่มีหลายหุ้นส่วน ตั้งแต่แรกเกิด
ตอนชวนกันมาลงทุน ใครๆก็คงกลัวว่า ถ้าต่อไปเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันแพง รัฐบาลจะถือความเป็นหุ้นใหญ่มาบีบบังคับให้ลดราคาหน้าโรงกลั่น เพื่อช่วยพยุงราคาขายปลีกน้ำมัน จนโรงกลั่นไม่เหลือกำไร ซึ่งรัฐบาลไม่เดือดร้อน เพราะยอมไม่เอากำไรก็ได้ แต่หุ้นส่วนอื่นที่รัฐไปชวนมาร่วมลงทุนละ จะทำอย่างไร เขาไม่ได้ทำการกุศลสร้างโรงกลั่นช่วยชาติ.. อาจจะมีข้อตกลงราคากลาง ให้อ้างกับโรงกลั่นสิงคโปร์ เป็นหลักประกันว่าโรงกลั่นต้องได้กำไรตามที่ควร.. ถ้ารัฐบาลอยากให้น้ำมันราคาถูก ก็ให้เอากำไรที่ได้จากโรงกลั่นไปสนับสนุนกองทุนน้ำมัน พยุงราคาน้ำมันทั้งกระดาน.. แต่อย่ามาใช้อำนาจความเป็นหุ้นใหญ่ สั่งให้ลดราคาหน้าโรงกลั่นกันตรงๆ
สัญณานี้ คงจะแค่ประกันว่าโรงกลั่นจะไม่ถูกรัฐบาลบีบจนไม่เหลือกำไร.. ตอนนั้นคงไม่มีใครคิดว่าอีกยี่สิบปีข้างหน้า ราคาค่ากลั่นน้ำมัน จะพุ่งขึ้นไปสูงแบบนี้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-05-2006, 13:25 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จูล่ง_j
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 23-05-2006, 08:21 » |
|
เอา ปตท ไปเทียบ กะใส้กรอก ซะนั่น มันคล้ายคลึงกันมากเลยนะ สองธุรกิจนี้ ปตท บางอย่างมันไม่มีคู่แข่ง เช่น การขายแก๊สให้กับนครหลวงการไฟฟ้า ทำให้มันทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ธุรกิจกำไรดีของประเทศชาติ สามารถออกพันธบัตร ระดมทุนได้ เพราะเงินกำไรเข้าประเทศ แต่ปตท กลับ ระดมทุนด้วยตลอาหลักทรัพย์ จึงต้องทำกำไรให้ผู้ถือหุ้น มูลค่าสูงเพิ่มทุกปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
::วิญญาณห้อง2::
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 23-05-2006, 08:39 » |
|
1. โรงกลั่นน้ำมันในไทย ไม่ได้มีแต่ไทยออย แต่มีเจ้าอื่นอีกสี่แห่ง 2. โรงกลั่นไทยออย แม้ ปตท จะถือหุ้นใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ของ ปตท ร้อยเปอร์เซนต์ และ 3. ข้อตกลงราคาค่ากลั่นน้ำมัน เข้าใจว่าติดเงื่อนไขสัญญา ที่กำหนดให้ไปอ้างอิงกับโรงกลั่นภายนอก ดังนั้นจะไปสั่งให้ลดตามใจของ ปตท หรือตามคำสั่งของรัฐบาลไม่ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อย และไปกระทบโรงกลั่นอื่นๆ
ดังนั้นการที่กล่าวว่าน้ำมันแพงเพราะการแปรรูป จึงไม่ค่อยตรงกับความจริงนัก เพราะทางตันที่ทำให้ ปตท ลดราคาขายปลีกไม่ได้ มาจากการที่ตลาดยังมีผู้ประกอบการรายอื่นต่างหาก ต่อให้ ปตท ยังเป็นของรัฐ 100% ก็ไม่มีทางผ่าทางตันนี้ได้ ข้อ1. ปตท. ถือโรงกลั่นไหนบ้าง 555 หลายโรงกลั่นเลยนะคุณ ข้อ2. ไม่ใช่ 100% ก็จริง แต่ ใครคือ majority vote ไม่ใช่ ปตท.หรือไง ข้อ3. ถ้า ปตท. ไม่ขายหุ้น คำถามข้อนี้จะไม่เกิด เพราะฉะนั้น สรุปได้ว่า น้ำมันแพงจากการแปรรูป ใช่หรือไม่ อาจจะไม่ทั้งหมด แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่ทำให้แพงขึ้น เพราะ ไม่มีตัวค้ำยัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
--------this is the world-------
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 23-05-2006, 08:58 » |
|
คุณ วิญญาณห้อง 2
ความเห็นของคุณ ข้อ 1 และ 2 ก็ไม่เห็นว่าจะค้านกับความเห็นของผม
อนึ่ง ข้อ 3. ถ้า ปตท. ไม่ขายหุ้น คำถามข้อนี้จะไม่เกิด
โรงกลั่น ไทยออย เป็น บ ร่วมทุนตั้งแต่แรกเกิดครับ ตั้งขึ้นเมื่อยี่สิบปีก่อน โดย ปตท ไปชวนเอกชนมาร่วมทุนตั้งโรงกลั่น คำถามจะไม่เกิด ถ้าวันนั้น ปตท กัดฟันลงทุนเองทั้งหมด พอถึงวันนี้ รัฐบาล ที่ยังคงมีอำนาจบริหารหุ้นใหญ่ใน ปตท ก็จะสามารถควบคุมโรงกลั่น ไทยออย ได้เต็มที่
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-05-2006, 09:52 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 23-05-2006, 09:45 » |
|
กระทู้นี้ ตั้งใจจะบอกว่าบริษัท ปตท นั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะสามารถแก้ปัญหาน้ำมันราคาแพงได้ จึงไม่เกี่ยวกับการถูกแปรรูป.. แต่ทางแก้นั้นมีอยู่ เป็นการแก้ทั้งกระดาน ผมพอจะรู้แนวทาง ผมอาจจะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่คุณปุถุชนพูดถึง แต่ไม่ใช่เรื่องที่ผมควรจะพูดในที่นี้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-05-2006, 13:21 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
O_envi
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 23-05-2006, 19:24 » |
|
คือผมยอมรับได้นะครับถ้าน้ำมันราคานี้แล้ว ปตท ยังไม่แปรรูป ยังไงเงินทั้งหลายที่ปตท กำไรมันก็ยังกลับเข้า ประเทศไทยเหมือนเดิมแต่นี่มันไหลไปอยู่กับใครครับ
ผมว่าพี่ต้องยอมรับแล้วนะครับว่าการแปรรูปครั้งนี้มันมีอะไรไม่ชอบมาพากล
ถามพี่อีกเรื่องครับอันนี้ไม่รู้จริงๆ ทำไมน้ำมันที่มาเลย์ถูกครับ และทำไมยุโรปแพงมาเลย มันอยู่การกลั่นหรืออะไรกันแน่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
The change musts come one by one.It has to start with you
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 24-05-2006, 08:28 » |
|
คำถามของคุณ O_envi ตอบแยกเป็นสามส่วน
1. ปตท ยังไม่แปรรูป ยังไงเงินทั้งหลายที่ปตท กำไรมันก็ยังกลับเข้า ประเทศไทยเหมือนเดิมแต่นี่มันไหลไปอยู่กับใครครับ
คนมักจะมองไปที่ส่วนเปอร์เซนต์ของรัฐ ที่ลดน้อยลง แต่มองข้ามขนาดของวิสาหกิจที่ใหญ่ขึ้น จากเงินทุนของเอกชนที่เข้ามาแจม
ขอให้พิจารณาตัวอย่าง - เริ่มต้นรัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการขนาด 100 หน่วย ทำกำไรเฉลี่ยหน่วยละ 1 ล้านบาท ได้เงินเข้ารัฐปีละ 100 ล้านบาท..
ต่อมารัฐบาลจัดการแปรรูป ชวนให้คนอื่นเอาเงินมาลงทุนร่วมอีก 100 หน่วย ทำให้กิจการที่แปรรูปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 200 หน่วย โดยรัฐยังคงถือหุ้น 100 หน่วยเท่าเดิม คิดสัดส่วนหุ้นเป็นของรัฐ 50 % เอกชน 50%
กิจการที่ใหญ่ขึ้นเป็น 200 หน่วย ตามทฤษฎี น่าจะทำกำไรได้เท่าตัว คือ 200 ล้านบาทต่อปี แบ่งกันตามสัดส่วนของหุ้น 50% - 50% รัฐได้ 100 ล้านบาท เอกชนได้ 100 ล้านบาท
ตรงนี้คือบทสรุป อยากให้น้องพิจารณาตามสักหน่อย - สมบัติชาติหายไปหรือเปล่า.. ตอนแรกรัฐเคยเป็นเจ้าของกิจการขนาด 100 หน่วย มีทรัพย์ 100 หน่วย ตอนนี้รัฐมีหุ้น 50% ในกิจการขนาด 200 หน่วย คิดสัดส่วนออกมา ก็ยังเป็นสมบัติชาติ ขนาด 100 หน่วยเท่าเดิม - เงินกำไรต่อปีของรัฐหายไปหรือเปล่า.. เคยได้ 100 ล้าน ก็ยังได้เท่าเดิม
ดูให้ดี ก็ถูกต้องยุติธรรม สมบัติชาติก็เท่าเดิม กำไรต่อปีก็ได้เท่าเดิม ไม่น้อยลงเลย.. เอกชนเอาเงินเข้ามาแจม ก็ได้ไปตามสัดส่วนที่ร่วมลงทุน..
แต่ผมเชื่อว่า คนทั่วไปยังคงค้างคาใจในประเด็นว่า รัฐน่าจะกัดฟันลงทุนเองเพื่อให้ประโยชน์เป็นของรัฐทั้งหมด.. เรื่องนี้ เป็นมุมมอง.. เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น ที่มองย้อนไปหาอดีต
ขอให้นึกถึงกรณีของการบินไทย แปรรูปออกไปที่ราคา 60 บาท ตอนนี้เหลือประมาณ 40 เท่านั้น อย่างกรณีของ การบินไทย ต้องถือว่ารัฐบาลคิดถูกที่ไม่เสี่ยงลงทุนเองทั้งหมด
2. ผมว่าพี่ต้องยอมรับแล้วนะครับว่าการแปรรูปครั้งนี้มันมีอะไรไม่ชอบมาพากล
แน่นอน มีสองประเด็น คือ 1. ราคาหุ้นที่เปิดให้เข้าประชาชนมาร่วมลงทุน เป็นธรรมหรือไม่ 2. การเลือกให้ใครเข้ามาร่วมถือหุ้น เป็นธรรมหรือไม่
ประเด็นแรก ราคาหุ้นนั้นขายออกไปนั้น จริงๆแล้วก็แพงกว่าราคาทรัพย์สินต่อหน่วยของ ปตท.. แต่ที่คนยอมซื้อ เพราะต้องการเสี่ยงดวงกับการเติบโตในอนาคต
กรณีของ ปตท นั้น มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เพราะอุตสาหกรรมน้ำมันตกต่ำมานานตั้งแต่ปี 1987-2000 มีกระเตื้องช่วงสั้นๆระหว่างสงครามอ่าว 1993 อยู่ปีเดียว ช่วงที่ตกต่ำที่สุดคือปี 1999-2000 ช่วงนั้นโอเปคกับรัสเซีย ตัดราคากันจนบางเดือนเหลือแค่บาเรลละ 10 เหรียญ บ.น้ำมันขนาดเล็กเจ๊งไปเป็นร้อยบริษัท คนงานน้ำมันทั่วโลกถูกปลดไปราวแสนห้าหมื่นคน
รัฐบาลเริ่มแปรรูป ปตท ในปี 2542(1999) ตรงกับช่วงที่อุตสาหกรรมน้ำมันกำลังตกต่ำถึงขีดสุดพอดี และมาแปรรูปเสร็จกลางปี 2544 (2001) กำหนดออกหุ้นในเดือน พฤศจิกายน.. ในปี 2001 นั้นระบบโควต้าน้ำมันเริ่มได้ผล ราคากระเตื้อขึ้นมาอยู่ใน price band แต่พอเดือนกันยายน ก่อนออกหุ้นสองเดือน สหรัฐก็โดนโจมตีตึกเวิลด์เทรด ราคาน้ำมันทรุดยาวถึงปีใหม่ หุ้น ปตท จึงถูกขายออกในตอนที่สถานการณ์น้ำมันโลกกำลังย่ำแย่(ในทางตกต่ำ) ราคาหุ้นอาจจะถูกไปหน่อย แต่ก็ไม่ถึงกับน่าเกลียด เพราะใครจะไปรู้อนาคตว่าอุตสาหกรรมน้ำมันจะซึมต่อไปยาวนานแค่ไหน
ประเด็นที่สอง การเลือกให้ใครเข้ามาร่วมลงทุนในส่วนที่จะขยายหุ้น.. ข้อนี้ ไม่เป็นธรรมชัดเจน แม้ว่าจริงๆแล้วสถานการณ์น้ำมันในปี 2001 จทำให้ ปตท ไม่น่าสนใจ แต่คนไทยก็เป็นแมลงเม่าชั้นดี ทุกคนอยากมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ ทำให้ความต้องการมีสูง.. หุ้น ปตท จึงมีแนวโน้มจะขึ้นราคาได้ บนพื้นฐานของกระแสความต้องการของประชาชน มากว่าจะอยู่บนพื้นฐานธุรกิจ..
แน่ละคนที่มีอำนาจทางการเมือง ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านด้วย ต่างก็มีช่องทางใช้อำนาจกดดันโบรกเกอร์ ทำให้ได้จัดสรรหุ้นไปเป็นจำนวนที่มากกว่าประชาชนทั่วไป
3. ทำไมน้ำมันที่มาเลย์ถูกครับ และทำไมยุโรปแพงมากเลย
- ประเทศมาเลย์ ที่ผลิตน้ำมันได้เอง อาจขายน้ำมันให้ประชาชนในประเทศ ในราคาที่ถูกกว่าตลาดโลก - ค่าการตลาดของยุโรปแพงมาก ในไทยหรือมาเลย์สถานีบริการน้ำมันอาจจะอยู่ได้ด้วยกำไรลิตรละบาทหรือต่ำกว่านั้น แต่ยุโรป หนึ่งบาท แค่ 2 เซนต์ สถานีบริการน้ำมันอยู่ไม่ได้.. ต้องบวกกำไรมากกว่านั้นหลายเท่า - ภาษีก็เป็นอีกอย่างที่ทำให้ราคาต่างกัน ได้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-05-2006, 10:50 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POchrat
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 24-05-2006, 09:53 » |
|
ขอค้านนิดนึงนะครับ ติดใจนิดหน่อย ผมก็ไม่มีความรู้เท่าไรนัก อยากได้คำตอบเหมือนกัน แต่ก็คงแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว 1. ปตท ยังไม่แปรรูป ยังไงเงินทั้งหลายที่ปตท กำไรมันก็ยังกลับเข้า ประเทศไทยเหมือนเดิมแต่นี่มันไหลไปอยู่กับใครครับ
คนมักจะมองไปที่ส่วนเปอร์เซนต์ของรัฐ ที่ลดน้อยลง แต่มองข้ามขนาดของวิสาหกิจที่ใหญ่ขึ้น จากเงินทุนของเอกชนที่เข้ามาแจม
ขอ ให้พิจารณาตัวอย่าง - เริ่มต้นรัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการขนาด 100 หน่วย ทำกำไรเฉลี่ยหน่วยละ 1 ล้านบาท ได้เงินเข้ารัฐปีละ 100 ล้านบาท..
ต่อ มารัฐบาลจัดการแปรรูป ชวนให้คนอื่นเอาเงินมาลงทุนร่วมอีก 100 หน่วย ทำให้กิจการที่แปรรูปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 200 หน่วย โดยรัฐยังคงถือหุ้น 100 หน่วยเท่าเดิม คิดสัดส่วนหุ้นเป็นของรัฐ 50 % เอกชน 50%
กิจการ ที่ใหญ่ขึ้นเป็น 200 หน่วย ตามทฤษฎี น่าจะทำกำไรได้เท่าตัว คือ 200 ล้านบาทต่อปี แบ่งกันตามสัดส่วนของหุ้น 50% - 50% รัฐได้ 100 ล้านบาท เอกชนได้ 100 ล้านบาท
ตรงนี้คือบทสรุป อยากให้น้องพิจารณาตามสักหน่อย - สมบัติชาติหายไปหรือเปล่า.. ตอนแรกรัฐเคยเป็นเจ้าของกิจการขนาด 100 หน่วย มีทรัพย์ 100 หน่วย ตอนนี้รัฐมีหุ้น 50% ในกิจการขนาด 200 หน่วย คิดสัดส่วนออกมา ก็ยังเป็นสมบัติชาติ ขนาด 100 หน่วยเท่าเดิม - เงินกำไรต่อปีของรัฐหายไปหรือเปล่า.. เคยได้ 100 ล้าน ก็ยังได้เท่าเดิม
ดู ให้ดี ก็ถูกต้องยุติธรรม สมบัติชาติก็เท่าเดิม กำไรต่อปีก็ได้เท่าเดิม ไม่น้อยลงเลย.. เอกชนเอาเงินเข้ามาแจม ก็ได้ไปตามสัดส่วนที่ร่วมลงทุน..
แต่ผมเชื่อว่า คนทั่วไปยังคงค้างคาใจในประเด็นว่า รัฐน่าจะกัดฟันลงทุนเองเพื่อให้ประโยชน์เป็นของรัฐทั้งหมด.. เรื่องนี้ เป็นมุมมอง.. เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น ที่มองย้อนไปหาอดีต
ขอ ให้นึกถึงกรณีของการบินไทย แปรรูปออกไปที่ราคา 60 บาท ตอนนี้เหลือประมาณ 40 เท่านั้น อย่างกรณีของ การบินไทย ต้องถือว่ารัฐบาลคิดถูกที่ไม่เสี่ยงลงทุนเองทั้งหมด น้ำมันอยู่ในอ่าวไทย เป็นสมบัติของประชาชนชาวไทยทุกคน เวลาเค้าแปรรูปนี่เค้ามีการตีค่าเป็นสินทรัพย์ให้กับ ปตท.รึเปล่าครับ หรือว่าเป็นสัมปทาน หรือว่า ปตท. จ่ายเป็นค่าน้ำมันดิบ ขอความรู้นิดหนึ่งครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กาลามชน
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 24-05-2006, 10:18 » |
|
คุณ POcharat
น้ำมัน ตราบเท่าที่ยังอยู่ใต้ดิน ก็ยังเป็นสมบัติของชาติ ใครเอาขึ้นมาต้องจ่ายเงินให้รัฐบาล คือ "ค่าภาคหลวง" ไม่ว่าจะเป็น ปตท หรือ บน้ำมันต่างชาติ ก็ต้องจ่ายค่าภาคหลวงให้รัฐ ในอัตราที่เท่ากัน จ่ายให้ในตอนที่เอาขึ้นมาจากใต้ดิน
ในทางการลงทุน ปริมาณน้ำมันสำรอง(proven reserve)ในเขตสัมประทาน ถูกมองว่าเป็นโอกาส ที่จะทำกำไรในอนาคต การค้นพบแหล่งน้ำมันใหญ่ๆอาจทำให้หุ้นของ บ.น้ำมัน พุ่งขึ้นสองสามเท่าในปีเดียว ซึ่งหลังจากแปรรูปแล้วปรากฏว่า บ.ลูกของ ปตท ที่สำรวจและผลิต คือ ปตท.สผ. ค่อนข้างเฮงทีเดียว.. แต่เป็นความเฮง ที่เกิดหลังจากแปรรูปไปแล้ว เรื่องนี้ผมเคยตั้งกระทู้ไปแล้ว น่าจะตกไปอยู่หน้าสองหรือสาม ลองค้นๆดูกระทู้ ถ้าจำไม่ผิด ชื่อ "ปตท บ.น้ำมันที่โชคดี"
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24-05-2006, 10:39 โดย กาลามชน »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POchrat
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 24-05-2006, 10:41 » |
|
ไปอ่านมาแล้วครับ ก็ยังงงๆ อยู่ในช่วงหลังๆ แต่ไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้เท่าไร
แล้วไอ้ "ค่าภาคหลวง" นี่ทาง ปตท. เค้าต้องจ่ายให้รัฐเท่าไรครับ เป็นธรรมพอหรือเปล่าเมื่อเทียบกับค่าน้ำมันดิบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POchrat
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 24-05-2006, 10:53 » |
|
ไปอ่านกระทู้นั้นแล้วก็พอมองเห็นข้อดีของการแปรรูปบ้าง
คือการที่ ปตท.สามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ ใช่หรือเปล่าครับ ? ก็คือสามารถทำให้ ปตท. แข่งขันในระดับชาติได้
ก็เลยอยากถามสักนิดนึงเกี่ยวกับการแปรรูป การไฟฟ้า การประปา เนี่ย มันมีประโยชน์ยังไง นอกจากการหาเงินมาลงทุน (ซึ่งผมมองว่าไปหาด้วยวิธีอื่นก็น่าจะได้) เพราะในอนาคตเกิดเป็นแบบ ปตท. พอประเทศเดือดร้อนก็จะมีข้ออ้างอีกว่าไม่สามารถลดราคาได้ ไม่สามารถช่วยได้ บลาๆๆๆ
การไฟฟ้า กะ การประปา จะไปแข่งขันกับใครเค้า ?
ส่วนตัวผมอยากเห็น ปตท. ลงทุนเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกมากกว่านี้ครับ พลังงานอื่นๆ ที่ถูกกว่าน้ำมัน เพราะผมก็มองมุมเดียวกับ จขกท. แหละครับ ว่า ปตท.ถึงทางตันเกี่ยวกับราคาน้ำมัน แต่ก็น่าจะหาทางอื่นที่ดีกว่านี้ ที่ไม่เกี่ยวกับน้ำมันบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
POchrat
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 24-05-2006, 11:50 » |
|
ค่าภาคหลวง = 8%(ประมาณ) ของมูลค่าน้ำำมันต่อบาเรล ที่เดือนมีนาคม (ประมาณ 60-65 ดอลลาต่อบาเรล) จริงๆ มาขุดเผื่อมีอะไรเพิ่มเติม หุหุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จูล่ง_j
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 24-05-2006, 12:16 » |
|
การแปรรูปนั้นไม่ผิด แต่กระบวนการต้องโปร่งใส และควรเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่ง ไม่ใช่ธุรกิจผูกขาด กรณี กฝผ นั้น จัดเป็นธุรกิจผูกขาด และเป็นธุรกิจจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่สมควรแปรรูปตอนนี้ ส่วน ปตท ก็มีบางส่วนที่ผูกขาด และ ไม่ผูกขาด ปัญหาอีกอย่าง ปตท ขายหุ้นระดมทุนครั้งแรกได้สร้างความไม่ไว้ใจไปทั่วประเทศ เพราะคนอยากได้เยอะ ไปรอกันตั้งแต่ ตี 4 ตี 5 แต่ปรากฎหุ้นขายหมดภายในไม่กี่นาที คนไปรอเก้อกัน เมื่อฝ่ายค้านตรวจสอบแล้ว หุ้นอันดับต้นๆ กลับไปอยู่ในมือญาติพวกพ้องนักการเมืองรัฐบาลหมด รัฐบาลก็ตอบน้ำขุ่นๆว่า มันบังเอิญ หรือ ไม่ก็ผิดพลาดทางเทคนิคอีก ก็เหมือน กฟผ นั่นแหละ ไปลงเทคนิค ซึ่งดูแล้วมันไม่ใช่เทคนิค แต่มันเหมือนกับเตรียมการโกงมากกว่า เรื่องขายหุ้น ปตท ครั้งนั้น สื่อมวลชนคลางแคลงใจทุกฉบับ จนทุกวันนี้ สื่อมวลชนนำเรื่องนี้มากล่าวอ้างทีไร รัฐบาลก็ให้คำตอบที่ดีไม่ได้ และถ้าไม่จริงมันคงฟ้องสื่อมวลชนไปนานแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
O_envi
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 24-05-2006, 19:34 » |
|
ถามต่อก่อนการแปรรูปทักษิณตั้งคณะกรรมการมาคณะนึงประเมินว่า กิจการใดควรแปรรูปไม่ควรแปรรูป คณะกรรมการสรุปว่ากิจการผูกขาด ไม่สมควรแปรรูป (อันนี้ฟังจากเวทีพันธมิตรถ้ามีอะไรไม่จริงชี้แจงด้วยครับ พี่กาลา) ถ้าเป็นจริงพี่ว่าไม่แปลกเหรอครับตั้งคณะกรรมการเองแต่ทำสวนทาง กับที่คณะกรรมการให้คำแนะนำ แถมยังเอาคนของตัวเองเข้ามาเป็นบอร์ดแปรรูป แถมช้อนหุ้นเองอีกต่างหาก เป็นไปได้ไหมครับว่าความจริงมี 4 ส่วน คนทั่วไปรู้ 1 ส่วนคนที่ค้นคว้าข้อมูลแบบพี่ รู้ 2 ส่วน แต่นักการเมืองรู้ 4 ส่วน
ที่พี่บอกว่าธุรกิจน้ำมันซึมยาวเนี่ยพี่พูดเองรึเปล่าครับเพราะว่าถ้าผมมีเงินซักหมื่นล้านแบบทักษิณ เนี่ยผมอาจจะซื้อหุ้นปตท จริงๆ นะครับเพราะว่าได้ข่าวมานานแล้วน้ำมันจะอยู่ได้อีก 50 ปี(ถ้า ไม่มีการค้นพบแหล่งใหญ่) พลังงานทดแทนก็ยังไม่แพร่หลายมีข้อจำกัดมากมาย ถ้าไม่กำไรตอนนี้ จะกำไรตอนไหนถ้ามีพลังงานทดแทนอีก 10 ปีข้างหน้าน้ำมันจะทำยังไง
สรุปนะครับถ้าซื้อหุ้นน้ำมันมีแต่เท่าทุนกับกำไรครับแต่ผมก็อดคิดไม่ได้ว่ามันขายถูกเพราะมันมีโอฬาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
The change musts come one by one.It has to start with you
|
|
|
|