คุณประสงค์ วิสุทธิ์ แห่งค่ายมติชน เขียนถึงกรณี "คุณหญิงกำมะลอ" ครับ
น่าเสียดายที่บอกว่าข้อแก้ตัวของทนายทักษิณมีพิรุธ แต่ไม่ได้อธิบายออกมา
ซึ่งผมคิดว่า คตส. ก็น่าจะรู้ถึงข้อพิรุธในคำแก้ตัวเหมือนกัน และอาจคล้ายๆ
กับที่หลายๆ ท่านในกระทู้นี้ตั้งข้อสังเกต
ที่น่าสนใจคือมีในบทความมีเนื้อหาให้ทบทวนกรณี "ติ๊กผิด" (หรือ "พิมผิด")
มาตลอดเวลาที่ทำธุรกรรมการเงินของครอบครัวชินวัตร และควรทราบกันว่า
คุณประสงค์คือคนแรกๆ ที่ออกมาเปิดเผยเรื่องการซุกหุ้นของครอบครัวชินวัตร
ตั้งแต่สมัยที่ความนิยมในตัวคุณทักษิณยังมีอยูู่สูงมากในสังคมไทย
ในบทความมีการทำสีน้ำเงินและสีแดงเอาไว้ ผมก็ทำตามต้นฉบับนะครับ 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณหญิงกำมะลอ?...โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ (โยนความผิด... ให้คนทำเอกสาร) มติชน : วันอาทิตย์ที่ 6 เดือนเมษายน พศ. 2551
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=26292&catid=16'ความจริงแล้ว ข้อแก้ตัวของทนายพ.ต.ท.ทักษิณ มีข้อพิรุธ(แต่ไม่ขอกล่าวในทีนี้ )และถ้าใครติดตามการทำธุรกรรม
ซื้อขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรมาตลอดคงไม่แปลก ใจที่มีการโยนความผิดพลาดให้แก่เจ้าหน้าที่ในการทำเอกสาร'
ในการชี้มูลความผิดคดีที่
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีสั่งให้ธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(ธสน.) ปล่อยกู้ให้แก่รัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาทนั้น
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)พยายามชี้ให้เห็นว่า
พ.ต.ท.ทักษิณและ
คุณหญิงพจมาน ภริยา มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะยังเป็นเจ้าของหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้ประโยชน์
จากการปล่อยกู้ดังกล่าวเพราะรัฐบาลพม่านำเงินที่ปล่อยกู้มา ซื้อสินค้าจากบริษัทในเครือชินคอร์ปเพียงแต่บุคคลทั้งสองโอนหุ้นให้
นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมานและลูกๆถือหุ้นแทน
เพื่อที่จะได้อ้างว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับบริษัทชินคอร์ปแล้ว
หลักฐานที่ คตส.นำมายืนยันคือ เงินที่ใช้ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท ชินคอร์ป 6,809,015 หุ้น มูลค่า 102,135,225 บาท
ของนายบรรณพจน์ เมื่อเดือนมีนาคม 2542 เป็นเงินจากบัญชีของนางพจมาน แต่มีการอ้างว่า นายบรรณพจน์ได้ออก
ตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 16 มีนาคม 2542ให้แก่
"คุณหญิง"พจมานเพื่อเป็นประกันว่า จะชำระหนี้ให้
แต่ปรากฏว่า ในวัน 16 มีนาคม 2542
นางพจมาน ยังไม่มีสิทธิที่ใช้คำนำหน้าว่า "คุณหญิง"ได้เพราะผู้ที่จะมีสิทธิดังกล่าว
ต้องได้รับรับพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุตถจุลจอมเกล้าซึ่งนางพจมานเพิ่งได้รับพระราชทานในวโรกาสพระราชพิธี
ฉัตรมงคลวันที่ 5 พฤษภาคม 2542 (หลังวันที่ออกตั๋วกว่าหนึ่งเดือนครึ่ง)
แสดงให้เห็นว่า ในวันที่ 16 มีนาคม 2542 ที่มีการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทชินคอร์ปในนามนายบรรณพจน์ ไม่ได้มีการ
ทำตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 16 มีนาคม 2542 ไว้แต่อย่างใด
แต่เป็นการจัดทำขึ้นภายหลัง เมื่อนางพจมานใช้คำนำหน้า
ว่า ''คุณหญิง'' แล้วหลังจากที่ คตส.แถลงข่าว
นายฉัตรทิพย์ ตัณฑประศาสน์ ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แต่อ้ำๆอึ้งๆอ้างว่า
อยู่ระหว่างตรวจสอบเพราะไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวพร้อมกับท้าคตส.โชว์เอกสาร ดังกล่าว
ต่อมา'มติชน'นำสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ตั้ง'คุณหญิง'ให้นางพจมานล่วงหน้ามาเผยแพร่
(หลังจากชี้แจงไม่ได้ 2 วัน)นายฉัตรทิพย์จึงอ้างว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลกับเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมานแล้ว
ได้รับการยืนยันว่าไม่มีการทำเอกสารย้อนหลัง เหตุผลที่ทำให้ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวมีการระบุคำนำหน้าว่า
''คุณหญิง'' ก่อนที่คุณหญิงพจมานจะได้รับตำแหน่ง เป็นเพราะ
ในช่วงปี 2542 คุณหญิงพจมานหาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ทำขึ้นเมื่อ
มีนาคม 2542 ไม่พบ เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่คิดว่า จะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน เนื่องจากเป็นการซื้อขายหุ้นระหว่างพี่น้อง
แต่เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินในปี 2544 และกังวลว่า จะไม่ทันเวลา
จึงได้ขอให้ นายบรรณพจน์ออก
ตั๋วฉบับใหม่ให้ และแจ้งยกเลิกตั๋วฉบับเก่าไป ซึ่งในขั้นตอนการออกตั๋วฉบับใหม่ เป็นช่วงที่คุณหญิงพจมานได้รับการ
ตั้งแต่งเป็นคุณหญิงแล้ว อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเอกสารเกิดความพลั้งเผลอ พิมพ์คำว่า
''คุณหญิง'' นำหน้าชื่อของ
"พจมาน"ในตั๋วฉบับใหม่
ความจริงแล้ว ข้อแก้ตัวของทนายพ.ต.ท.ทักษิณ มีข้อพิรุธ(แต่ไม่ขอกล่าวในทีนี้ )และถ้าใครติดตามการทำธุรกรรม
ซื้อขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรมาตลอดคงไม่แปลก ใจที่มีการโยนความผิดพลาดให้แก่เจ้าหน้าที่ในการทำเอกสาร
ทั้งที่เป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าหลายร้อยจนถึงหลายหมื่นล้านบาท
การออกตั๋วสัญญาใช้เงินครั้งนี้เพียงหนึ่งในหลาย ครั้ง จนคนทั่วไปเข้าใจว่า ผู้ออกตั๋วปรารถนาดีจึงแต่งตั้งให้เป็น
"คุณหญิง"กำมะลอเพราะเชื่อว่า อาจได้รับแต่งตั้งเป็นคุณหญิงในอนาคต?ความผิดพลาดหลายครั้งหรือ
"ติ๊กผิด"เกิดขึ้นในการแจ้งการโอนหุ้นชินคอร์ปต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ทั้งๆที่มูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
หนึ่ง พ.ต.ท.ท.ทักษินโอนหุ้นชินคอร์ป 32.92 ล้านหุ้นให้แอมเพิล ริช เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 ว่า เป็นการ
ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ทั้งๆที่เป็นการโอนกันนอกตลาด
สอง พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน การขายหุ้นชินคอร์ปกว่า 103 ล้านหุ้นให้แก่นายพานทองแท้ นายบรรณพจน์
และนางยิ่งลักษณ์เมื่อวันที่ 1 กันายน 2543 แจ้งว่าซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นการซื้อขายกันนอดตลาด
สาม พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ไม่ได้แจ้ง ก.ล.ต.ว่า มีหุ้นชินคอร์ปที่ถือผ่านแอมเพิล ริช 32.92 ล้านหุ้นอยู่
หลังจาก
โอนหุ้นชินคอร์ปที่ถืออยู่ในชื่อตนเองไปให้เครือญาติทั้งหมดเมื่อวันที่ 1 กันายน 2543
สี่ ธนาคารยูบีเอส สิงคโปร์รายงานว่า ซื้อหุ้นชินคอร์ป 10 ล้านหุ้นในราคา 176 บาทเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544
แต่มาอ้างใน
ภายหลังว่า เป็นรายงานผิดพลาด และยังแจ้งว่าถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเกี่ยวพันกับ
ครอบครัวชินวัตร
ห้า แอมเพิล ริช แจ้งว่าขายหุ้นชินคอร์ป 329.2 ล้านหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ให้นายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 แต่ความจริงซื้อขายกันนอกตลาด นอกจากนั้นยังลืมแจ้งว่า แอมเพิล ริช เป็นบุคคลตาม
258 ของน.ส.พิณทองทาและนายพานทองแท้ด้วย
แต่ไม่ว่าจะ
"ติ๊กผิด"เช่นนี้มาตลอด สำนักงาน ก.ล.ต.ได้(กู)หลับตาหรือทำตาปริบๆ
จนคนเข้าใจว่า
"ไอ้ติ๊ก"จะเป็นลูกคนโปรดของครอบครัวชินวัตรเหมือน
"ไอ้ปื้ด"ที่เป็นลูกคนโปรดของ"ด็อกเตอร์"นักกฎหมายชื่อดัง