copy มาให้อ่านนะครับ ไม่ค่อยเป็นนะครับ
อุดม สัก แก้วสรร'พร้อมใจกันลุกขึ้นมาบนเวที ร่วมร้องเพลงเสียงดังกึกก้องอยู่บนดาดฟ้าอาคาร สตง.กับบทเพลง"เย้ยฟ้าท้าดิน" ราวกับว่าจะตะโกนให้ฟ้าดินหรือใครที่ไกลได้ยินด้วย
(คลิกอ่าน เปิดหนังสือ'ลับ'ตีกลับสำนวน'หวยบนดิน' บกพร่องต้นตอ'คตส.หักดิบ'อัยการสูงสุด' )
ช่วงหัวค่ำวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา บนดาดฟ้า อาคาร สตง. ได้จัดงานราตรี 'เห่าเพื่อแผ่นดิน' เลี้ยงอำลาให้แก่ 2 ผู้สื่อข่าวประจำสำนักงานคณะกรรมการการตรวจสอบที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) 2 คน คือ คุณอัมพา สันติเมทนีดลหรือป้าหญิง และคุณสุรศักดิ์ กล้าหาญ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ มีเหตุต้องออกจากการปฏิบัติหน้าที่เป็น 'สุนัขเฝ้าบ้าน' เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่อื่น
ทีมงานสำนักประชาสัมพันธ์ สตง.ซึ่งมีหน้าที่ประสานงานกับนักข่าว ในงานนี้รับหน้าที่การจัดเตรียมสถานที่ นำเครื่องเสียงชั้นยอด จัดการกับเมนูอาหารนานาชนิด ที่วางเรียงอยู่เต็มโต๊ะตามคอนเซ็ปต์ที่ว่า "ขออาหารคนละ 1 อย่าง หากเมตตาเครื่องดื่มด้วยก็ดี เตรียมกันมาคนละอย่างสองอย่าง พอนำมารวมกันเข้าก็พอจะเทียบได้กับอาหารภัตตาคารย่อมๆ
ท่ามกลางบรรยากาศของแสงสีในยามค่ำคืนบนดาดฟ้า เบื้องล่างเห็นแสงไฟสีส้มทั่วเมืองกรุง แหงนมองฟ้าเห็นดาวส่องแสงระยิบระยับพร่างพราวผสานกับแสงสีเหลืองนวลของสีพระจันทร์เกือบเต็มดวง กระตุ้นด้วยสายลมที่พัดเอื่อยๆหอบเอาลมเย็นมาปะทะผิวเป็นระลอกๆ สร้างความประทับใจให้กับผู้ร่วมงานทุกคนที่ต่างพยายามซึมซับบรรยากาศที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าบรรยากาศรอบข้างในขณะนั้นคงจะเป็นความตื้นตันใจของนักข่าว 2 ท่านที่ได้เห็นคณะกรรมการคตส. ทุกคนมาประชุมพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมายบนดาดฟ้าแห่งนี้ และทุกคนดูจะมาร่วมงานอย่างเต็มใจเพื่อมาเป็นเกียรติเลี้ยงอำลาในค่ำคืนนี้ ไม่ขาดแม้แต่คนเดียว ปรากฎการณ์นี้สร้างความประหลาดใจให้กับนักข่าวเป็นอย่างยิ่ง ราวกับว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่นัดประชุม คตส. ชุดใหญ่ ที่มีเป็นประจำทุกวันจันทร์ของสัปดาห์เสียอีก
นับเป็นโอกาสอันดีที่ในค่ำคืนนี้เราได้มีโอกาสเห็นกรรมการ คตส.ทุกท่าน อยู่ในอารมณ์ที่ยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดคุยกับนักข่าวอย่างเป็นกันเอง แบบไม่มีใครถือเนื้อถือตัว ต่างจากเวลาปกติ ที่พบปะนักข่าวทำราวกับว่าอยากจะหายตัวไปให้เร็วที่สุด ยังไม่ทันที่นักข่าวจะได้สอบถามอะไร กรรมการ คตส. ก็มักที่จะเดินขึ้นลิฟต์ ไปบนอาคาร สตง. หรือ ไม่ก็รถยนต์ส่วนตัวออกไปจาก สตง. พร้อมกับทิ้งท้ายกลายเป็นสโลแกนไปแล้วว่า
"ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้"
งานนี้นอกจากนักข่าวจะได้เห็นรอยยิ้มและท่าทางของกรรมการ คตส.ที่ต่างไปจากเดิมแล้ว ยังมีลาภปากอีก! เพราะกรรมการแต่ละคนหิ้วอาหารเครื่องดื่มมาสบทบอีกเพียบ จนนักข่าวบางคนถึงกับบ่นอุบว่า "จะกินกันยังไงหมด" ก็แหมแค่เห็นผู้ใหญ่ คตส.มาร่วมงานก็อิ่มอกอิ่มใจกันหมดแล้ว
ถึงแม้ว่างานนี้จะไม่ได้เตรียมพิธีรีตองอะไรมากมาย แต่เมื่อผู้ใหญ่มาร่วมทั้งทีก็ต้องมีประธานเปิดงานอย่างเป็นทางการเสียก่อน นักข่าวจึงได้เชิญให้ประธานคตส. "นาม ยิ้มแย้ม" เป็นประธานกล่าวเปิดงานพร้อมกับเปิดอาหารหม้อใหญ่ปรุงรส "ต้มยำกุ้ง" โดยมี คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสตง.เป็นลูกมือ
ครั้นเห็นท่วงท่า ลีลา การปรุงอาหารของประธานคตส.แล้วทำให้นึกถึงใครบางคนที่ชอบทำอาหารโชว์ออกรายการทีวีที่ "ชิมไปบ่นไป" เพื่อให้เข้ากับตำแหน่งหน้าที่ของคนปรุงจึงมีคนแซวขึ้นมาว่า "ชิมไปสอบไป" เสียงหัวเราะดังขึ้นพร้อมกันในทันที และดูว่าจะไม่หยุดเอาง่ายๆเสียด้วย เมื่อประธาน กล่าวถึงเมนูอาหาร ที่ชมว่าทุกอย่างอร่อยหมดแต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ประธานไม่ชอบเอาเสียเลยจนกลายเป็นผลไม้ต้องห้ามในค่ำคืนแห่งความสุขนี้
"ผมไม่ค่อยชอบเลย ทำไมจะต้องเตรียมเอา ชมพู่ มาให้กินด้วย " ประธานคตส.กล่าวถึงผลไม้ต้องห้าม (ฮา)
แต่มีกรรมการคตส.บางคน หยิบชมพู่เข้าปาก แล้วพูดว่า "กินหมัก กินหมัก"
เมื่อทุกคนบรรจุอาหารลงกระเพาะกันเต็มทีแล้ว ก็ได้เวลายืดเส้นยืดสายย่อยอาหารด้วยการประชันแผ่นเสียงทองคำจับไมค์ร้องคาราโอเกะคนแรกที่โชว์ลูกคอ คือ " กล้านรงค์ จินทิก " กรรมการ คตส. ตามติดมาด้วย "บรรเจิด สิงคะเนติ" เลือกร้องเพลงปลุกปลอบใจเจ้าของฉายา "ผู้ชนะสิบทิศ" แต่ที่สร้างความฮือฮายิ่งกว่า เมื่อ "เสาวนีย์ อัศวโรจน์" กรรมการ คตส.อีกท่านหนึ่ง ที่ปกติจะเก็บเนื้อเก็บตัวไม่ค่อยพูดจาอะไรกับนักข่าว แต่ถ้าเป็นไมค์ร้องคาระโอเกะ " ขอ 2เพลงรวด " สร้างความประทับใจให้กับนักข่าวเป็นอย่างมาก
ราตรีนี้ยังอีกยาวไกลเวลาแห่งความสุขยังคงเดินหน้ากันต่อไปเรื่อยๆมีช่วงพักเบรคกลับไปเรื่องงานบ้างภายหลังจากที่ "สัก กอแสงเรือง" กรรมการ คตส. ขึ้นมากล่าวบนเวที ด้วยเนื้อหาสำคัญก็ยังคงอยู่ที่ การยืนยันจุดยื่นการทำงานของ คตส. ว่า "จะมั่นคง ดั่งภูผา ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร" เสียงปรบมือดังประสานกันทั่วทั้งดาดฟ้า
จากนั้นผู้ดำเนินการบนเวที ได้เรียนเชิญให้ กรรมการ คตส. ที่เหลือ ขึ้นมาร่วมกันร้องเพลง และพูดอะไรฝากถึงนักข่าวเล็กน้อย แต่ดูเหมือนหลายคน จะปฎิเสธ ที่จะขึ้นมา โดยเฉพาะ "อุดม เฟื่องฟุ้ง" ทันทีที่ถูกเชิญ ขึ้นบนเวทีร้องเพลง เจ้าตัวถึงกับโอดว่า " ร้องเพลงไม่เป็นอย่าเอาผมขึ้นไปฆ่าบนเวทีเลย" (ฮา)
ระหว่างที่เจรจาต่อรองกันอยู่นั้น จู่ๆ เสียงหนึ่งก็ดังขึ้นมาว่า " ไม่ต้องพูดอะไรกันอีกแล้ว ขึ้นไปร่วมร้องเพลงบนเวทีกันดีกว่า" เป็นเสียงของ "กล้านรงค์ " แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครยอมขยับง่ายๆ ทว่าเอ่ยชื่อเพลง ขึ้นมากรรมการคตส.ทุกคนลุกขึ้นพรึ่บแทบจะพร้อมกันในทันที " อุดม สัก แก้วสรร " พร้อมใจกันลุกขึ้นมาบนเวที มีนักข่าวร่วมประสานเสียงพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ สตง. บางส่วนที่ร่วมร้องเพลงเสียงดังกึกก้องอยู่บนดาดฟ้าอาคาร สตง. กับบทเพลง "เย้ยฟ้าท้าดิน" ทุกคนเปล่งเสียงร้องออกมาราวกับว่าจะตะโกนให้ฟ้าดินหรือใครที่ไกลได้ยินด้วย
เพลงเย้ยฟ้าท้าดิน-คาราวาน (คลิกฟัง)
" ฟ้าหัวเราะเยาะข้า ชะตาหรือ ดินนั้นถืออภิgสิทธิ์ชีวิตข้า
พรหมลิขิตขีดเส้นเกณฑ์ชะตา ฟ้าอินทร์พรหมยมพญา ข้าหรือเกรง
ขอหัวเราะ..เยาะเย้ยเหวยเหวย ฟ้า... พสุธาอย่าครวญว่า ข้าข่มเหง
เย้ยทั้งฟ้า ท้าทั้งดินสิ้นยำเกรง หรือใครเก่งเกินข้าฟ้าดินกลัว
ข้าขอลิขิตชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า อีกพื้นพสุธาพญายมพรหมอินทร์ทั่ว
ข้ากระทำแต่ความดี มีหรือจะกลัว มิใช่ใจชั่วเมามัวหลงลำพอง
อันสวรรค์อยู่ในอก นรกนั้นหรือ ข้าก็ถืออยู่ที่ใจไม่หม่นหมอง
ละการทำชั่วมีหรือจะกลัว นรกมั่นปอง
หากทำดี ฟ้าดินต้อง ..คุ้มครองเอย
จบ....
เนื้อหาของเพลงนี้ ใครที่ได้ยินหรือได้ฟังย่อมทำให้มีความรู้สึกฮึกเหิม ด้วยเนื้อหาที่หมายความถึงเป็นช่วงเวลาแห่งการถูกกดดันอย่างหนัก จนต้องตะโกนถามฟ้าเบื้องบน ท้าทั้งดิน แบบไม่ยำเกรงใคร ขณะที่กำลังเผชิญกับความรู้สึกท้อถอย รู้สึกหมดแรง หรือรู้สึกว่าถูกกดดัน อย่างหนัก รวมทั้งยามที่ต้องสู้กับอำนาจที่เหนือกว่า
สิ้นเสียงเพลงแทบจะไม่มีคำพูดใดเล็ดรอดออกมาได้อีก
นอกจากคำว่า "คตส. สู้โว้ย"
ผมคนหนึ่งละที่ขอเป็นกำลังใจให้ท่านผู็กล้า สู้ด้วยคน
