หนังสือพิมพ์ จะเขียนข่าว เอาแต่ความเร็วโดยไม่สนใจความถูกต้อง เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
เมื่อให้ข่าวผิด ถ้าหากเป็นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต น่าจะสามารถมีข้อความแก้ไขกำกับที่ข่าวต้นตอได้ เป็นสิ่งที่ควรทำ
ซึ่งก็มีได้สองวิธีคือลบสิ่งที่ผิดออกไปเลย โดยเก็บประวัติการแก้ไขไว้ หรือแก้ไขไว้ตอนท้ายและลงวันที่กำกับ
ก่อนที่ใครจะเอาข้อมูลไปพิมพ์ต่อในถุงกล้วยแขก ข่าวสารแบบวันเวย์ เป็นสิ่งที่ผู้กระทำผิดมักรับผิดชอบไม่ได้เสียด้วย เพราะมันฟุ้งกระจายไปแล้ว
ถ้าหากดูตรงที่ผมทำสีแดงๆ เอาไว้จะเห็นไทยรัฐบรรยายว่าพบ
"สัตว์จำพวกสโตมาโตไลด์" ที่ภูกุ้มข้าว
หากเป็นผู้คุ้นเคยกับฟอสซิลจะรู้ว่า "สโตมาโตไลด์" ไม่ใช่ "สัตว์" แต่เป็น "ร่องรอย" สิ่งมีชีวิตโบราณ
ขนาดเล็กมากๆ ซึ่งที่ถูกแล้วควรจะสะกดว่า "สโตรมาโตไลด์" (stromatolites) และที่ภูกุ้มข้าวก็ไม่น่า
จะพบ สโตรมาโตไลด์ เสียด้วยเพราะปกติเขารายงานกันว่าพบในหินอายุพรี-แคมเบรียนซึ่งเก่ามากๆ
งานนี้จึงกลายเป็นว่าเป็นการผิดแล้วผิดอีกซ้ำไปซ้อนมาอยู่ในบทความเดียวกันยิ่งกว่าที่เราคิดตอนแรก
ทำไปทำมาผมไปพบหน้าเว็บที่แนะนำพิพิธภัณฑ์ภูกุ้มข้าวที่ลิงค์นี้
ย้อนยุคดึกดำบรรพ์ สัมผัส พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวhttp://www.businessthai.co.th/content.php?data=411554_VIP%20Varietiesอ่านดูแล้วถึงเข้าใจว่าสโตรมาโตไลด์ที่พิพิธภัณฑ์ภูกุ้มข้าวอาจเป็นเพียงบู๊ตบรรยายในโซนที่ 2
ของพิพิธภัณฑ์เท่านั้นเอง และไทยรัฐเอามาจับว่ามีการพบสโตรมาโตไลด์อยู่ที่ภูกุ้มข้าวด้วย
และเอามาแล้วสะกดชื่อผิดอีกต่างหาก
ไม่นับเรื่องไปหารูปไตรโลไบท์มาบรรยายชื่อผิดเป็นปลาซีลาคานธ์อีกกระทง 