ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: 07-01-2008, 18:44 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-01-2008, 18:59 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #51 เมื่อ: 07-01-2008, 21:59 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-01-2008, 22:03 โดย aiwen^mei »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #53 เมื่อ: 07-01-2008, 23:46 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #54 เมื่อ: 07-01-2008, 23:50 » |
|
ในหัวข้อเดียวกัน ลูกหิน ต้อง ขออภัย พี่จีฯ ..เจ้าของกระทู๊เขาก่อน เพราะลูกหิน. ค่อนข้างออกนอกไปทะเล ไปแยะ ฮะ.. แตก็ สนุกดี ในหัวข้อนี้ ส่วนเรื่องการเมือง และ ภาวะการบริหารประเทศ .. คงต้อง ขอบาย ให้เพื่อนๆท่านอื่นๆ เสวนากันต่อไป( เพราะลูกหินม่ายรู้เร่อง การเมืองเลย) ตอนแรก.. แค่ค่อนข้างออกนอกทะเล จากรถยนต์ ไปอาวุธสงคราม ไปเรื่องอุตสาหกรรมเหล็ก ฯลฯ ทำไปทำมา.. ทำไมไปถึงเรื่องตุ๊กตาได้ล่ะครับ แบบนี้ผมจะไปต่อยังไงดีล่ะครับนี่
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 03:51 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
CEOมืออาชีพ
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: 08-01-2008, 00:13 » |
|
หึหึ คำว่า ไคเซ็น สะกดก็ผิดแล้วครับ ยังจะมาทำเป็นคุยโวว่าเรียนกับคนญี่ปุ่น ผมเป็นถึงผู้บริหารบริษัทชั้นนำดูแลวิศวกรมาหลายโครงการ ยังไม่เคยเห็นใครเรียก ไคเซ็งแบบคุณลูกหินสักหน มอ คุณรู้จักไหมครับ ลูกหิน มอรอล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: 08-01-2008, 00:45 » |
|
หึหึ คำว่า ไคเซ็น สะกดก็ผิดแล้วครับ ยังจะมาทำเป็นคุยโวว่าเรียนกับคนญี่ปุ่น ผมเป็นถึงผู้บริหารบริษัทชั้นนำดูแลวิศวกรมาหลายโครงการ ยังไม่เคยเห็นใครเรียก ไคเซ็งแบบคุณลูกหินสักหน มอ คุณรู้จักไหมครับ ลูกหิน มอรอล ขอบพระคุณ พี่ที่ชมลูกหิน ว่า ..มอรอล ฮะ อิอิ อย่า..แปลกใจ..เลยฮะ พี่ เอาไม้มาฯ..(ชื่อยาวค่ะโรค)
KAIZEN คนไทยเรียกว่า "ไค-เซ็น" อเมริกัน จะอ่านว่า "ไค-เซ็ง" (เซ็ง มาก ทำนองนั้น) St.Louis อย่าง "เซ็นต์หลุย" คนไทยเรียกว่า "เซ็น-หลุย" อเมริกัน จะอ่านว่า "เซ้ง-หยูอีส" (เซ้ง บ้าน ทำนองนั้นฮะ) Mercedes รถเบนซ์ คนไทยเรียกว่า "เมอร์-ซิ-เดส" อเมริกัน จะอ่านว่า "เหม่อ-เซ้ด-ดี๊ซ " Multimedia คนไทยเรียกว่า "มัลติมีเดีย" อเมริกัน จะอ่านว่า "มัล-ไทม-มี-เดีย"
VVVV อ้อ..ลูกหินมี ข้อ..แนะนำ..พี่ เอาไม้มาฯ หน่ะฮะคำต่อไปนี๊.. คนไทย มัก..ใช้คำนี้ผิด มั่กๆฮะ ..อิอิ "มอ-ร็อล หรือ "มอ-แร็ล " " กะ "โม-ร็อน " Moral "มอ-ร็อล" หรือ "มอ-แร็ล " ...แปลว่า มีศีลธรรม.. ก๊าบบบ Moron "โม-ร็อน" ..ต่างหากฮะ! ที่แปลว่า >อั๊ย.โง่! หน่ะฮะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 07:17 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ล่างฟานหวิน
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: 08-01-2008, 01:10 » |
|
เพิ่งเห็นผลงาน รัฐบาลสุรยุทธิ์ ครั้งแรก จริงๆ ครับ
ผมไม่เคยรู้ว่า ก่อนว่ารัฐบาลท่าน สุรยุทธิ์ มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นบ้าง
โอเคครับ สรุปว่า มีผลงาน อันนี้หนึ่ง ตามที่นำมาบอกกล่าวกัน ถือว่าเป็นผลงาน โบว์แดง ก็ได้นะครับ เนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CEOมืออาชีพ
|
|
« ตอบ #58 เมื่อ: 08-01-2008, 06:01 » |
|
เอ็งสิ!ไอ้โง่
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ทำเป็นสู่รู้ไปขุดภาษาอังกฤษวิบัติมาแถ เอ็งมันช่างเหมือนหมาหางด้วนที่เที่ยวแถไปทั่วว่า หางด้วนแล้วมีสกุล ถ้าใครไปหลงเชื่อ สะกดแบบเอ็งก็เป็นควายแล้วครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 07:54 โดย เอาไม้มา ข้าจะโบยซุนวู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
goolnw
|
|
« ตอบ #61 เมื่อ: 08-01-2008, 10:07 » |
|
ขอแย้งท่านลูกหินนิดนึ่งนะครับ คนอเมริกาเขาไม่ใช่คน ไม่ตรง ต่อเวลาอะไรอย่างที่ท่านลูกหินว่า แล้ว Spirit ในการทำงานก็ถือ ว่าใช่ได้ หัวหน้าเขาไม่จำจี้จำไชแบบเมืองไทย นะเขาเน้นคุณภาพ คนต้องมาก่อน แต่ถ้าเราไปอยู่แล้วเราจะดูเหมือนไม่ฉลาดแต่จริง แล้วเขาไม่ค่อยขี้คุยเหมือนคนไทยตะหาก ส่วนรถยนต์ ก็ถูกนะครับ คันละ 2-3พันดอลล์ ไม่เข้าใจว่าไม่ถูกยังไง หรูๆหน่อยก็ 3-4หมื่น ยิ่งโทรศัพย์ 70-200 แต่ราคาเมืองไทย 10000 บาทขึ้นแน่ๆ พี่ยุ่นผมว่าเกินตัวไปหน่อย เจริญจริงแต่ไม่ค่อยเข้ามีแค่ไม่กี่คน เจริญตามประเทศ พูดก็พูดเหอะ ผมยังไม่เคยเห็นขอทานเป็น คนอเมริกาซักที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #62 เมื่อ: 08-01-2008, 11:05 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 11:48 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Cherub Rock
|
|
« ตอบ #64 เมื่อ: 08-01-2008, 11:12 » |
|
I am 6,000 Bht short to go back home... Can you help me? ขอออกนอกเรื่อง แซวเล่นๆ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
|
|
|
Kittinunn
|
|
« ตอบ #65 เมื่อ: 08-01-2008, 11:53 » |
|
I am 6,000 Bht short to go back home... Can you help me? ขอออกนอกเรื่อง แซวเล่นๆ อิอิ ใน 2bangkok เค้าว่าเป็นพวกหากินเป็นอาชีพ จริงๆ ต้องแนะให้ฝรั่งไปติดต่อสถานทูตโดยตรงเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)
|
|
|
AsianNeocon
|
|
« ตอบ #66 เมื่อ: 08-01-2008, 18:41 » |
|
กลับมาแล้วครับผมนำมาตั้งกระทู้ในประเด็นให้ช่วยกันจำไว้ ว่าเรื่องการตัดสินใจมาลงทุนผลิตรถอีโคคาร์ ของบรรดาค่ายรถตามข่าว ทางค่ายรถต่างๆ ตัดสินใจเรียบร้อยตั้งแต่ในรัฐบาลสุรยุทธ์ เพราะเป็นไปได้ว่าเดี๋ยวพอรัฐบาลใหม่มาก็จะอ้างเป็นผลงานกอบกู้เศรษฐกิจของตัวเอง ซึ่งจะกลายเป็นว่ารัฐบาลสุรยุทธ์ไม่ได้ทำอะไร (หรือหนักกว่านั้นก็ทำให้เศรษฐกิจพัง) ส่วนรัฐบาลที่มาใหม่ชุบมือเปิบอ้างเป็นผลงานตัวเองว่าทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นผมไม่เชื่อว่า โครงการนี้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจหรอกครับ ไม่ต้องอะไรมาก ถึงบางอ้อเลยว่าทำไมจึงทำงุบงิบออกไปเซ็นต์ JTEPA โดยไม่ได้มีการผ่านสภา หรือบอกกล่าวแก่ประชาชนใดๆทั้งสิ้นว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร โปรดจำไว้ว่า นี่ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานของรัฐบาลสุรยุทธ์เช่นกัน เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ เพราะผลกระทบมันไม่ได้เกิดทันตา ประชาชนจะไปรับกรรมในอนาคต--- ส่วนเรื่องไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เราได้แต่ค่าแรงราคาถูกๆ อะไรต่างๆ นั้น มันเป็นเรื่องนอกประเด็นครับ ถ้าจะมองในแง่ร้ายขนาดปลูกข้าวขายเราก็ได้แค่ ค่าแรงปลูกข้าวถูกๆ เหมือนกัน .. จะคุยไปถึงขนาดนั้นไหมครับ ไม่นอกประเด็นหรอกครับ และก็ไม่เป็นการมองในแง่ร้าย เพราะว่า การที่คุณจะมีโครงการอะไร หรือจะส่งเสริมอะไร คุณต้องมีเป้าหมายก่อน ต้นทุนมีอะไรบ้าง ต้องเสียอะไรบ้าง และได้อะไรกลับมาบ้าง หักกลบกันแล้วคุ้มไหม มิฉะนั้นก็ไม่ต่างจากที่ทักษิณทำเท่าไรหรอกครับส่วนเรื่องระบบขนส่งทางราง มันเป็นคนละเรื่อง ที่ผมเอามาลงเป็นเรื่องการลงทุน เป็นเรื่องการจ้างงาน เป็นเรื่องการส่งออก เป็นเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ หรือจะมองไปถึงเรื่องประหยัดเชื้อเพลิงด้วยก็ได้ ต่อให้มีระบบขนส่งทางรางแล้ว มันก็ยังต้องมีรถยนต์ใช้อยู่ดีนะครับ และอีโคคาร์ก็เป็นรถที่ประหยัดดี ในอีกทางหนึ่งระบบขนส่งทางรางต้องได้ขยายอยู่แล้ว เพราะทุกพรรคการเมือง ต่างขานรับกันถ้วนหน้าไม่มีใครค้านสักราย ดังนั้นรัฐได้ลงทุนเรื่องนี้แน่ๆระบบขนส่งทางรางที่ผมหมายถึง ไม่ใช่เฉพาะรถไฟฟ้าในเมือง แต่หมายถึงในเมืองอื่นๆ และรถไฟทั่วประเทศด้วย
นอกจากนี้ การที่ทุกพรรคขานรับถ้วนหน้า ใช่ว่าของแบบนี้จะเกิดได้ง่ายๆ นั่นเพราะความไร้เสถียรภาพทางการเมือง เดี๋ยวพอไอ้นี่ไป ไอ้นั่นมาก็มาล้มโครงการทิ้ง เพราะตัวไม่ได้ประโยชน์ ฯลฯผมไม่เข้าใจว่าเอาไปโยงกับเรื่องนักลงทุนมาตั้งฐานการผลิตในไทยได้อย่างไร เขาก็ไปลงทุนกันทั่วโลกนะครับไม่ใช่มาแต่ประเทศไทย อย่างล่าสุดค่ายฮุนได ยังไปตั้งฐานที่อินเดีย และที่อเมริกา ไม่เห็นมีปัญหาไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือได้แต่ค่าจ้างแรงงาน หรือประเทศต้องการระบบขนส่งทางราง หรือว่าพอเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศไทย ก็มองแต่แง่ไม่ดีครับ? แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างฐานเทคโนโลยีครับ นอกจากนี้อินเดียเขาเห็นความสำคัญของรถไฟมานานแล้วไม่ใช่หรือ? และส่วนอเมริกาเทคโนโลยีเขาไปอีกขั้นก้าวหน้าแล้วไม่ใช่หรือครับ ลองดูนี่ครับ รายละเอียดไปอ่านต่อ http://www.thairath.co.th/news.php?section=society03&content=74223สองปีกว่าที่ผ่านมา จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเพียงเรื่องเดียว ส่งผลให้ผู้คน ในบ้านเมืองแตกแยกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เศรษฐกิจทรุดฮวบ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หยุดชะงักประเทศเดียวในภูมิภาคนี้ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันไทยลดลงอย่างมาก แม้ตัวเลขการส่งออกในรอบปีที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้น ของสินค้าส่งออกที่ไม่ใช่ของคนไทย รายได้ที่ได้ก็ไม่ใช่ของคนไทย แต่เป็นของ บริษัทต่างชาติที่มาใช้แรงงานคนไทย และส่งออกในนามประเทศไทยเท่านั้น อย่างเช่น รถยนต์ยี่ห้อต่างๆ เป็นต้นคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังยากจนเหมือนเดิม เพราะรายได้จากภาคอุตสาหกรรมที่ส่งออก ไม่ได้กระจายไปถึงประชาชนระดับรากหญ้ายิ่งกำลังซื้อในประเทศที่หดลงอย่างมาก เพราะผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อคนไทยและสินค้าไทยในประเทศมากขึ้น ตรงนี้ผมต้องขอโทษ รัฐบาลขิงแก่ ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ไม่ได้ดูแลคนไทยด้วยกันเอง เท่าที่ควร แต่ไปปลื้มกับยอดตัวเลขส่งออกที่เป็นของคนต่างชาติ เรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในวันนี้เรายังไม่มี “รัฐบาลใหม่” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะรัฐบาลขิงแก่ที่รักษาการก็ไม่ทำอะไรแล้ว แต่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทย ก็ไม่ง่ายเหมือนประเทศอื่นเขา เพราะกฎกติกาและเงื่อนไขใต้ดินของเรามันเยอะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 18:45 โดย 温哥华老大 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #67 เมื่อ: 08-01-2008, 19:13 » |
|
งุบงิบอนุมัติได้เก่งแบบนี้เอง มิน่าเล่าอันดับโปร่งใสไทยถึงพุ่ง(ลงเหว)กระฉูด เจ้าเรื่องอันดับความโปร่งใสอะไรนี่รู้สึกมีคนหมกมุ่นอยู่ตลอด โดยเฉพาะระยะหลังที่รัฐบาลทักษิณไ่ม่อยู่แล้ว ทั้งหมดก็เพื่อจะโทษว่ารัฐบาลทหารไม่โปร่งใสเป็นหลัก ความจริงเรื่องนี้ถ้าดูกันที่ตัวคะแนนเต็มสิบ ก็จะเห็นว่าค่อนข้าง ได้อยู่ในช่วงเท่าเดิมมาโดยตลอด ดูในส่วนนี้พอจะสรุปได้ว่า ไม่มีอะไรดีขึ้นมากนัก ปลายรัฐบาลทักษิณ 1 จนถึงทักษิณ 2 มีคะแนนเพิ่มขึ้นนิดหน่อย 0.3 - 0.5 คะแนนเท่านั้น แต่ถ้าดูที่อันดับเหมือนกับตกต่ำไปเรื่อยๆ ปี 2542 ได้ 3.2 คะแนน ได้อันดับ 68 ปี 2543 ได้ 3.2 คะแนน เท่าเดิม ได้อันดับ 60 สูงขึ้น 8 อันดับ ปี 2544 ได้ 3.2 คะแนน เท่าเดิม ได้อันดับ 61 ต่ำลง 1 อันดับ ปี 2545 ได้ 3.2 คะแนน เท่าเดิม ได้อันดับ 64 ต่ำลง 3 อันดับ ปี 2546 ได้ 3.3 คะแนน เพิ่มขึ้น 0.1 แต่ได้อันดับ 70 ต่ำลง 6 อันดับ ปี 2547 ได้ 3.6 คะแนน เพิ่มขึ้น 0.3 และได้อันดับ 64 สูงขึ้น 6 อันดับ ปี 2548 ได้ 3.8 คะแนน เพิ่มขึ้น 0.2 และได้อันดับ 59 สูงขึ้น 5 อันดับ ปี 2549 ได้ 3.6 คะแนน ลดลง 0.2 และได้อันดับ 63 ต่ำลง 4 อันดับ ปี 2550 ได้ 3.3 คะแนน ลดลง 0.3 และได้อันดับ 84 ต่ำลง 21 อันดับ
ทีนี้เนื่องจากมีการนำสถิติประเทศใหม่ๆ มาเพิ่มในการจัดอับดับทุกปี ปี 2542 ข้อมูลรวม 99 ประเทศ ปี 2543 ข้อมูลรวม 90 ประเทศ ปี 2544 ข้อมูลรวม 91 ประเทศ ปี 2545 ข้อมูลรวม 102 ประเทศ ปี 2546 ข้อมูลรวม 133 ประเทศ ปี 2547 ข้อมูลรวม 146 ประเทศ ปี 2548 ข้อมูลรวม 159 ประเทศ ปี 2549 ข้อมูลรวม 163 ประเทศ ปี 2550 ข้อมูลรวม 179 ประเทศถ้าลองมองข้อมูลในมุมกลับนะครับ ว่าในแต่ละปีมีประเทศที่ถูกจัดอันดับ ห่วยกว่าประเทศไทยกี่ประเทศ ปี 2542 ได้อันดับ 68 มีประเทศห่วยกว่าไทย 99-68 = 31 ประเทศ ปี 2543 ได้อันดับ 60 มีประเทศห่วยกว่าไทย 90-60 = 30 ประเทศ ปี 2544 ได้อันดับ 61 มีประเทศห่วยกว่าไทย 91-61 = 30 ประเทศ ปี 2545 ได้อันดับ 64 มีประเทศห่วยกว่าไทย 102-64 = 38 ประเทศ ปี 2546 ได้อันดับ 70 มีประเทศห่วยกว่าไทย 133-70 = 63 ประเทศ ปี 2547 ได้อันดับ 64 มีประเทศห่วยกว่าไทย 146-64 = 82 ประเทศ ปี 2548 ได้อันดับ 59 มีประเทศห่วยกว่าไทย 159-59 = 100 ประเทศ ปี 2549 ได้อันดับ 63 มีประเทศห่วยกว่าไทย 163-63 = 100 ประเทศ ปี 2550 ได้อันดับ 84 มีประเทศห่วยกว่าไทย 179-84 = 95 ประเทศเพราะทุกปีมีการทำสถิติประเทศใหม่ๆ เพิ่มมาตลอด ถ้าดูแบบนี้ความจริงประเทศไทยเราก็ไม่ได้ห่วยลงนัก เราค่อนข้างอยู่ที่เดิม แต่มีสถิติประเทศใหม่ๆ เข้ามา แทรกอันดับข้างบน และมีแนวโน้มว่าประเทศที่มาใหม่ส่วนใหญ่ห่วยกว่าไทยจนตอนนี้ห่วยกว่าเราร่วมร้อยประเทศเข้าไปแล้วครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 19:25 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #68 เมื่อ: 08-01-2008, 19:53 » |
|
กลับมาแล้วครับ
ผมไม่เชื่อว่า โครงการนี้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจหรอกครับ ไม่ต้องอะไรมาก ถึงบางอ้อเลยว่าทำไมจึงทำงุบงิบออกไปเซ็นต์ JTEPA โดยไม่ได้มีการผ่านสภา หรือบอกกล่าวแก่ประชาชนใดๆทั้งสิ้นว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร โปรดจำไว้ว่า นี่ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานของ รัฐบาลสุรยุทธ์เช่นกัน เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ เพราะผลกระทบมันไม่ได้เกิดทันตา ประชาชนจะไปรับกรรมในอนาคต
---
ระบบขนส่งทางรางที่ผมหมายถึง ไม่ใช่เฉพาะรถไฟฟ้าในเมือง แต่หมายถึงในเมืองอื่นๆ และรถไฟทั่วประเทศด้วย
นอกจากนี้ การที่ทุกพรรคขานรับถ้วนหน้า ใช่ว่าของแบบนี้จะเกิดได้ง่ายๆ นั่นเพราะความไร้เสถียรภาพทางการเมือง เดี๋ยวพอไอ้นี่ไป ไอ้นั่นมาก็มาล้มโครงการทิ้ง เพราะตัวไม่ได้ประโยชน์ ฯลฯ
แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างฐานเทคโนโลยีครับ นอกจากนี้อินเดียเขาเห็นความสำคัญของรถไฟมานานแล้วไม่ใช่หรือ? และส่วนอเมริกาเทคโนโลยีเขาไปอีกขั้นก้าวหน้าแล้วไม่ใช่หรือครับ
ผมไม่เชื่อว่า โครงการนี้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจหรอกครับ ไม่ต้องอะไรมาก ถึงบางอ้อเลยว่าทำไมจึงทำงุบงิบออกไปเซ็นต์ JTEPA โดยไม่ได้มีการผ่านสภา หรือบอกกล่าวแก่ประชาชนใดๆทั้งสิ้นว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร โปรดจำไว้ว่า นี่ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานของ รัฐบาลสุรยุทธ์เช่นกัน เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ เพราะผลกระทบมันไม่ได้เกิดทันตา ประชาชนจะไปรับกรรมในอนาคตนั่นก็ต้องรอดูกันต่อไปแล้วครับ แต่ที่แน่ๆ คือค่ายรถต่างๆ (รวมทั้งที่ไม่ใช่ค่ายญี่ปุ่น ที่จะลากไปเกี่ยวกับ JTEPA) ก็พากันมาลงทุนตั้งฐานการผลิตรถยนต์คอนเซปต์ใหม่ อย่าง อีโคคาร์ ในประเทศไทยเรา เรื่องไปเซ็นต์ JTEPA ไม่มีปัญหาการจดจำอยู่แล้วครับทุกคนจำได้แน่และมั่วเป็นของรัฐบาลอื่นไม่ได้อย่างแน่นอน และถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นคนที่ต้องรับผิดก็คือรัฐบาลสุรยุทธ์เต็มๆ แต่เรื่องมีค่ายรถตัดสินใจมาลงทุนมันมีโอกาสมั่วได้ เพราะกว่าจะมาเริ่มต้นการผลิตได้ มันก็ไปอยู่ในรัฐบาลใหม่แล้ว กว่าจะมีการจ้างงาน มีการส่งออก มีรายได้เข้าประเทศ ถึงตอนนั้นช่วยจำกันไว้อย่าให้มามั่วง่ายๆ ครับ --- ระบบขนส่งทางรางที่ผมหมายถึง ไม่ใช่เฉพาะรถไฟฟ้าในเมือง แต่หมายถึงในเมืองอื่นๆ และรถไฟทั่วประเทศด้วย
นอกจากนี้ การที่ทุกพรรคขานรับถ้วนหน้า ใช่ว่าของแบบนี้จะเกิดได้ง่ายๆ นั่นเพราะความไร้เสถียรภาพทางการเมือง เดี๋ยวพอไอ้นี่ไป ไอ้นั่นมาก็มาล้มโครงการทิ้ง เพราะตัวไม่ได้ประโยชน์ ฯลฯ
ผมก็หมายถึงระบบขนส่งทางรางทั่วประเทศครับ ถ้าจะดูแต่รถไฟฟ้าในเมือง ครม.สุรยุทธ์ก็อนุมัติทิ้งทวนไว้แล้วเหมือนกัน เรื่องนี้ทุกพรรคการเมืองประกาศเป็นนโยบายทุกพรรค แม้แต่ที่จะเป็นพรรคฝ่ายค้าน และความจริงการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนจะทำอยู่แล้วในหลายเส้นทางนะครับ อย่างเช่นสายโคราช-ขอนแก่น แต่ประเด็นที่ควรมองก็คือรัฐควรเป็นผู้ลงทุนในระบบรางได้แล้ว และให้รางเป็นสมบัติของรัฐ ไม่ใช่ปล่อยให้การรถไฟเป็นผู้ลงทุน แบบนั้นก็ขาดทุนตาย ไม่มีทางแข่งขันกับระบบขนส่งล้อยาง ที่ไม่ต้องลงทุนทำถนน และซ่อมบำรุงถนน ซื้อแต่ตัวรถกับเติมน้ำมัน แต่การรถไฟฯ ต้องรับผิดชอบก่อสร้างรางซ่อมราง เป็นเงินมหาศาล แบกดอกเบี้ยหัวโต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ขาดทุนสะสมมาตลอด การไร้เสถียรภาพทางการเมือง มันไปควบคู่กับการคอร์รัปชั่นในโครงการรัฐด้วย ทำให้ต้องล้มโครงการกันทุกครั้งที่เปลี่ยนคนดูแล ึเพราะคนใหม่ก็จะเอาผลประโยชน์บ้าง ซึ่งมันก็ออกนอกเรื่องที่คุยไปแล้วนะครับ ถ้าจะต้องคุยเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น เพราะตามเนื้อหากระทู้ก็คือแค่ว่า มีการตัดสินใจมาลงทุนตั้งฐานผลิตรถยนต์โดยพร้อมเพรียงกันของค่ายรถต่างๆ ทั่วโลกครับ --- แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างฐานเทคโนโลยีครับ นอกจากนี้อินเดียเขาเห็นความสำคัญของรถไฟมานานแล้วไม่ใช่หรือ? และส่วนอเมริกาเทคโนโลยีเขาไปอีกขั้นก้าวหน้าแล้วไม่ใช่หรือครับสร้างฐานจากอะไรล่ะครับ หมายถึงเทคโนโลยีรถยนต์หรือเปล่า ถ้าไม่มีฐานการผลิตรถยนต์ แล้วจะพัฒนาบุคลาการอย่างไร อินเดียเขาเห็นความสำคัญของรถไฟมันมาเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้ครับ ตัวเขาเองก็ผลิตรถยนต์ส่งออก แล้วก็มาตั้งฐานผลิตรถยนต์ในไทย เรื่องอเมริกาก็ค่ายฮุนไดของเกาหลีใต้ ไปตั้งฐานผลิตรถยนต์ที่นั่น ไม่เห็นอเมริกาจะมีปัญหาอะไรนี่ครับ มันคนละเรื่องกับที่อเมริกา จะมีเทคโนโลยีผลิตรถยนต์ขั้นก้าวหน้าหรือเปล่า บริษัทอเมริกา ก็ผลิตรถยี่ห้อตัวเองไป คนอเมริกาอีกส่วนก็เข้าทำงานผลิตรถยนต์ ให้กับค่ายฮุนได ผมไม่เห็นเขามีปัญหาไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่ถ้าจะให้ขนาดไทยมีรถยนต์ยี่ห้อตัวเอง ด้วยเทคโนโลยีตัวเอง จะทำยังไงครับตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจหรือ คงไม่ดีกระมังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
แอ่นแอ๊น
|
|
« ตอบ #69 เมื่อ: 08-01-2008, 21:22 » |
|
ถ้า JTEPA มีผลดีมากกว่าผลเสีย รับรองว่า จะไม่มีใครออกมายกย่องแหงๆ จนป่านนี้ยังมีบางคนคิดว่า JTEPA คือ FTA อยู่เลย ฝังใจกะของเก่าๆ ถ้าตรรกะ อย่าง ???? งั้นเราต้องไล่บอสัดต่างชาติิออกไปให้หมด ปิดบ้านไถนาอย่างเดียวดีป่าว (ไม่ดีจิ ตกงาน เ้ข้าข่าย ) อ้อ ฝรั่งรูปข้างบน แอนเห็นบ่อยๆ อ่ะ แจ้งตำรวจจับมันเลย
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 21:27 โดย แอ่นแอ๊น »
|
บันทึกการเข้า
|
"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
|
|
|
AsianNeocon
|
|
« ตอบ #70 เมื่อ: 08-01-2008, 21:34 » |
|
ถ้า JTEPA มีผลดีมากกว่าผลเสีย รับรองว่า จะไม่มีใครออกมายกย่องแหงๆ จนป่านนี้ยังมีบางคนคิดว่า JTEPA คือ FTA อยู่เลย ฝังใจกะของเก่าๆ น่าเบื่อพวกศรีธนญชัยจริงๆครับ ชื่อเดิมของ JTEPA น่ะคือ FTA ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ไปค้นอ่านในนสพ.ราวๆเดือนมี.ค.-เม.ย. ปีที่แล้วดูก็ได้ และน่าจะเป็นผลงานของทักษิณ ชินวัตร มากกว่าที่แอบอ้างเป็นของรัฐบาลสุรยุทธ์ด้วยซ้ำ ถ้าคุณจะมองว่าเป็นประโยชน์มากกว่าเสียอะนะ
นอกจากนี้ eco-car ที่ว่านี่ แนวคิดก็ถือกำเนิดในสมัยรัฐบาลทักษิณอีกเช่นกัน เพียงแต่พับแผนไป เพราะเกรงว่า ต่างชาติจะไม่พอใจที่ไปกินส่วนแบ่งตลาดในสินค้าที่ตัวเองครองครองตลาดในไทยอยู่ ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์เข้ามาก็เลยเอาใจด้วยการลดภาษีสรรพสามิตใช่ไหมล่ะ?? ประเทศไทยน่ะเป็นแค่ "ร่างทรง" แห่งหนึ่งในตลาดเสรีอาเซียน เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย
ผมว่า คุณ goolnw ก็มีส่วนถูก ควรจะพูดความจริงให้หมดทุกด้านดีกว่า
"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง"
ถ้ายังมีนิสัยแบบทักษิณอยู่ ก็อย่าไปด่าทักษิณเลยครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-01-2008, 21:51 โดย 温哥华老大 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #71 เมื่อ: 10-01-2008, 18:00 » |
|
น่าเบื่อพวกศรีธนญชัยจริงๆครับ ชื่อเดิมของ JTEPA น่ะคือ FTA ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ไปค้นอ่านในนสพ.ราวๆเดือนมี.ค.-เม.ย. ปีที่แล้วดูก็ได้ และน่าจะเป็นผลงานของทักษิณ ชินวัตร มากกว่าที่แอบอ้างเป็นของรัฐบาลสุรยุทธ์ด้วยซ้ำ ถ้าคุณจะมองว่าเป็นประโยชน์มากกว่าเสียอะนะ
นอกจากนี้ eco-car ที่ว่านี่ แนวคิดก็ถือกำเนิดในสมัยรัฐบาลทักษิณอีกเช่นกัน เพียงแต่พับแผนไป เพราะเกรงว่า ต่างชาติจะไม่พอใจที่ไปกินส่วนแบ่งตลาดในสินค้าที่ตัวเองครองครองตลาดในไทยอยู่ ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์เข้ามาก็เลยเอาใจด้วยการลดภาษีสรรพสามิตใช่ไหมล่ะ?? ประเทศไทยน่ะเป็นแค่ "ร่างทรง" แห่งหนึ่งในตลาดเสรีอาเซียน เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย
ผมว่า คุณ goolnw ก็มีส่วนถูก ควรจะพูดความจริงให้หมดทุกด้านดีกว่า
"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง"
ถ้ายังมีนิสัยแบบทักษิณอยู่ ก็อย่าไปด่าทักษิณเลยครับ
ผมว่าคุณแอนก็พูดถูกแล้วที่ JTEPA ไ่มใช่ FTA เพราะขอบเขตเนื้อหาไม่เหมือนกันนะครับ JTEPA เป็นเรื่องของกลุ่มข้อตกลงที่เรียกว่า EPA (Economic Partnership Agreement) FTA เป็นเรื่องเขตการค้าเสรี เน้นในเรื่องข้อตกลงทางภาษี EPA เป็นเรื่องความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ เน้อเรืองความร่วมมือทุกอย่างไม่ใช่แค่เรื่องภาษี ส่วนที่ว่า eco-car แนวคิดก็ถือกำเนิดในสมัยรัฐบาลทักษิณแต่พับแผนไป เท่ากับรัฐบาลไทยรักไทย จะมาอ้างเครดิตในการตกลงครั้งนี้ไม่ได้ เพราะตัวเองพับแผนไปแล้ว การที่รัฐบาลสุรยุทธ์เข้ามาแล้วเพิ่มข้อเสนอจูงใจ ก็ต้องถือว่าเป็นผลงานสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ครับ ผมว่าตัวเองตั้งประเด็นไม่ผิดนะครับในเรื่องนี้... จะบอกว่าประเทศไทยเป็นแค่ "ร่างทรง" อันนั้นก็แล้วแต่มุมมอง เพราะผมมองว่าการสนใจมาลงทุน มันก็มีด้านที่ดี เราไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีแต่ก็ได้เป็นผู้ร่วมลงทุน อย่างกรณี ทาทา เราก็มีกลุ่ม ธนบุรีประกอบรถยนต์ไปร่วมถือหุ้นด้วย การมีการจ้างแรงงานจำนวนมาก ก็เป็นเรื่องที่ดีกว่าคนไม่มีงานทำนะครับ เรื่องที่ว่าไทยต้องสร้าง ฐานเทคโนโลยีผมก็เห็นด้วย แต่ตอนนี้เรายังไม่มีฐานเทคโนโลยีจะปล่อยให้คนตกงานไปก่อน จะกว่าจะมีฐานเทคโนโลยีหรืออย่างไร ... การพูดความจริงให้หมดทุกด้านเอาเข้าจริงพูดได้หรือครับ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีด้านไหนบ้างถึงจะครบ ที่ทำได้ก็คืออยากพูดด้านไหนก็พูดให้ชัดเจน ใครอยากพูดด้านอื่นก็พูดขึ้นมา ต่อให้พูดกันทุกคนแล้ว ยังแน่ใจไม่ได้เลยว่าพูดหมดทุกด้าน *ตัวคุณ 温哥华老大 ยังพูดแต่แง่ร้ายของไทยตลอดเวลา มีใครบ้างพูดได้หมดทุกด้าน* ผมเองนำเสนอประเด็นชัดเจนเน้นๆ แล้วว่าให้จำเรื่อง eco-car ว่าเป็นผลงานสุรยุทธ์ ก็เท่านั้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
Can ไทเมือง
|
|
« ตอบ #72 เมื่อ: 10-01-2008, 18:17 » |
|
ลองเข้าไปเก็บข้อมูล ในเรื่อง มติครม. เอาไว้ก็ดีครับ
จะได้ไม่ถูกขโมยผลงานจากนักการเมืองหน้าด้าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
AsianNeocon
|
|
« ตอบ #73 เมื่อ: 10-01-2008, 18:24 » |
|
เอ่อ คุณจีฯครับ คุณอาจจะมองว่าผมพูดให้ร้ายประเทศไทยก็ช่าง แต่มันคือ "เรื่องจริง" ครับ
ดูชื่อเป็นภาษาไทย โดยกระทรวงต่างประเทศแต่ก่อน สิครับ คุณจะเปลี่ยนชื่อเรียกให้น่าฟังแค่ไหน แต่โดยสาระมันก็คือ FTA นั่นแหละครับ
และมันก็คือ ***ผลงานของรัฐบาลทักษิณ*** เพียงแต่มาเกิดในรัฐบาลนี้เท่านั้นครับ เท่ากับว่ารัฐบาลสุรยุทธ์ไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งสิ้น นับแต่เข้ามาหลังปฏิวัติ 2 สัปดาห์ มีแต่มาทำหน้าที่ "รับฝากของ" ให้ทักษิณทั้งนั้น ตั้ง หวย ทีวีของไอ สนามบินชำรุด เอฟทีเอ โอท็อป ฯลฯ ทั้งหมดยังคงอยู่เหมือนเดิมทุกประการ เพียงแต่มีการเล่นละครให้ดูวุ่นวาย จะยุบ ยกเลิกนี่ หรือให้ดูเหมือนยกเลิกไปแล้ว แล้วก็กลับมาใหม่ แล้วก็เปลี่ยนชื่อให้ดูเหมือนว่าได้ทำอะไรบ้าง ตอนนี้พรรคพลังประชาชนก็กำลังตั้งรัฐบาลอยู่ไงครับ
มันคือ "เรื่องจริง" ครับ คุณจีฯครับวัฒนาเปิดโมเดลรถ"อีโคคาร์" ฮอนด้า-นิสสัน-ซูซุกิจ่อเสียบ (ฐานเศรษฐกิจ)ฉบับที่ 2022 29 มิ.ย. - 02 ก.ค. 2548 " วัฒนา"ได้ข้อสรุปโมเดลรถ"อีโคคาร์" ประหยัดน้ำมัน5 ลิตร/100 กิโลเมตร ทุบโต๊ะคลังต้องหนุนภาษีสรรพสามิต10% หรือต้องไม่เกิน20% บีโอไอโปะสิทธิและประโยชน์เต็มที่ มั่นใจกระฮึ่มตลาดรถยนต์ยุคน้ำมันแพง ล่าสุดค่ายฮอนด้า- นิสสัน -ซูซูกิ ขานรับเตรียมหอบทุน 3 หมื่นล้านบาทปักหลักผลิตในไทยทั้งแพคเก็จ ด้านเลขาสศช.เผย 6 ก.ค.คงส่งเรื่องกลับ"ทักษิณ"ไม่ทันเพราะต้องใช้เวลาดูผลกระทบรถมือ2 ด้วยนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการสรุปโมเดลของรถประหยัดพลังงานหรือรถอีโคคาร์หรือรถ ‘S’CARS ว่าล่าสุดได้ส่งรายละเอียดทั้งหมดในการผลักดันโครงการผลิตรถอีโคคาร์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)แล้ว สำหรับรถอีโคคาร์ ต้นแบบที่พิจารณาโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและสถาบันยานยนต์นั้น ใช้ข้อมูลรถยนต์ขนาดเล็กจากผู้ผลิตรถยนต์ค่ายต่างๆเสนอเข้ามาเป็นส่วนประกอบของรถต้นแบบที่จะผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายการลงทุนต่อไป โดยสเปกที่กำหนด เช่นต้องมีขนาดรถ 3.6 คูณ 1.63 เมตร ที่สำคัญคุณสมบัติต้องเป็นรถที่สามารถใช้เอทานอลได้ 20% อัตราการสิ้นเปลือง 5 ลิตร/100 กิโลเมตร มีมาตรฐานความสะอาดยูโรโฟ ซึ่งวันนี้รถในประเทศไทยมีแค่ยูโร3 คือจะต้องไม่มีมลภาวะจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานความปลอดภัย เท่ากับมาตรฐานของยุโรป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังกล่าวอีกว่า อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไปได้นั้น ทางกระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาให้รถอีโคคาร์มีเพดานภาษีสรรพสามิตที่ 10% เพื่อให้ราคารถดังกล่าวยืนอยู่ที่ 350,000 บาท/คัน ให้มีความแตกต่างจากราคารถยนต์นั่งทั่วไป " ภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์อีโคคาร์ จะเก็บในเพดานเดียวกันกับรถยนต์นั่งที่กินน้ำมันไม่ได้ ขณะที่รถอีโคคาร์ใช้เอทานอล 20% ประหยัดพลังงานก็ควรที่จะได้รับภาษีสรรพสามิตที่ดีกว่านี้ ซึ่งการกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่10% หรือจะเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 20% และถ้าลดภาษีสรรพสามิตได้ตามอัตราดังกล่าว รถอีโคคาร์จะขายดีแบบเทน้ำเทท่าเหมือนขายรถมอเตอร์ไซด์ก็ได้ เพราะคนผ่อนรถอีโคคาร์ไม่ถึง5,000 บาท/เดือน ตลาดรถอีโคคาร์จะบูมมาก" นายวัฒนากล่าว
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-01-2008, 18:25 โดย 温哥华老大 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Cherub Rock
|
|
« ตอบ #74 เมื่อ: 10-01-2008, 18:37 » |
|
พูดแง่ร้าย ไม่ใช่ พูดให้ร้าย ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
|
|
|
AsianNeocon
|
|
« ตอบ #75 เมื่อ: 10-01-2008, 18:42 » |
|
แก้เป็นแง่ร้าย สรุปว่า ในสาระหลัก ก็คือ "เรื่องจริง" ก็แล้วกัน อาเมน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
aiwen^mei
|
|
« ตอบ #78 เมื่อ: 10-01-2008, 19:22 » |
|
เมื่อสักครู่เห็นข่าวเศรษฐกิจชิ้นหนึ่งของบริษัทรถของอินเดียชื่อดัง "ทาทา" ที่มีข่าวจะมาลงทุนในบ้านเรามาได้ระยะหนึ่งแล้ว ออกรถรุ่นใหม่ขนาดเล็กที่มีราคาถูกที่สุดในโลก เป้าหมายคือ ขายให้กับบรรดาสิงห์มอไซค์ในประเทศที่ใช้กันอยู่ประมาณ 45 ล้านคัน -- เท่านี้ก็รุ่งแล้วหรือป่าว ขออนุญาตถามค่ะว่า รถโปตอนของมาเลเซียไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรแล้วนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #80 เมื่อ: 10-01-2008, 21:38 » |
|
เอ่อ คุณจีฯครับ คุณอาจจะมองว่าผมพูดให้ร้ายประเทศไทยก็ช่าง แต่มันคือ "เรื่องจริง" ครับ
ดูชื่อเป็นภาษาไทย โดยกระทรวงต่างประเทศแต่ก่อน สิครับ คุณจะเปลี่ยนชื่อเรียกให้น่าฟังแค่ไหน แต่โดยสาระมันก็คือ FTA นั่นแหละครับ
และมันก็คือ ***ผลงานของรัฐบาลทักษิณ*** เพียงแต่มาเกิดในรัฐบาลนี้เท่านั้นครับ เท่ากับว่ารัฐบาลสุรยุทธ์ไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งสิ้น นับแต่เข้ามาหลังปฏิวัติ 2 สัปดาห์ มีแต่มาทำหน้าที่ "รับฝากของ" ให้ทักษิณทั้งนั้น ตั้ง หวย ทีวีของไอ สนามบินชำรุด เอฟทีเอ โอท็อป ฯลฯ ทั้งหมดยังคงอยู่เหมือนเดิมทุกประการ เพียงแต่มีการเล่นละครให้ดูวุ่นวาย จะยุบ ยกเลิกนี่ หรือให้ดูเหมือนยกเลิกไปแล้ว แล้วก็กลับมาใหม่ แล้วก็เปลี่ยนชื่อให้ดูเหมือนว่าได้ทำอะไรบ้าง ตอนนี้พรรคพลังประชาชนก็กำลังตั้งรัฐบาลอยู่ไงครับ
มันคือ "เรื่องจริง" ครับ คุณจีฯครับ
โครงการอีโคคาร์ในสมัยวัฒนา เมืองสุข เืมื่อปี 2548 มันลงหลุมถูกดองไปตั้งแต่สมัยทักษิณแล้วครับ เพิ่งจะนำกลับมาส่งเสริมใหม่ในช่วงรัฐบาลสุรยุทธ์ โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รมต.อุตสาหกรรม ถ้าจะว่าเป็นต้นคิดแล้วมาเอาเครดิตเป็นของตัวทั้งที่ทำไม่สำเร็จ สมมุติรัฐบาลหน้าเกิดขุดคอคอดกระ ก็จะต้องเป็นผลงานคนสมัยพระนารายณ์สิครับ เพราะมีไอเดียจะขุดกันมาตั้งแต่สมัยโน้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #81 เมื่อ: 10-01-2008, 21:50 » |
|
เอาข่าวนี้มาลงแล้วกัน รูปประกอบเยอะดีครับ จะได้เห็นหน้าตารถอีโคคาร์หลายๆ แบบด้วย "อีโคคาร์"ดึงเงินลงทุนทะลุสี่หมื่นล้านโดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 ธันวาคม 2550 09:34 น. http://www.khum.net/news-read/654445สรุปว่าโครงการอีโคคาร์นำกลับมาทำใหม่ในรัฐบาลสุรยุทธ์นะครับ เขาก็ดำเนินการหลายอย่าง ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลยแล้วต่างชาติเข้ามาลงทุนเอง กลับกันคือถ้าไม่ทำก็ยังไม่มีมาลงทุนครับโดยโครงการอีโคคาร์ถูกปัดฝุ่นขึ้นมาเมื่อต้นปี 2550 และได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี สำเร็จเรียบร้อยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2550 นี้เอง จากนโยบายของ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ที่เป็น รมต.อุตสาหกรรม รัฐบาลขิงแก่ นอกจากนายโฆษิตที่เป็นคนริเริ่มปลุกโครงการขึ้นมา ยังมีนายฉลองภาพ สุสังกร์กาญจน์ รมต.คลัง ที่ให้การสนับสนุนโครงการอีโคคาร์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตอีโคคาร์ ที่ระดับ 17% นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป และมีการพิจารณาข้อกำหนดต่างๆ เช่น ความจุของกระบอกสูบ อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง มาตรฐานมลพิษ และปริมาณ CO2 ที่ปล่อยจากท่อไอเสียของรถ รวมทั้งกำหนดกำลังการผลิตขั้นต่ำ ให้ผู้ลงทุนที่จะเข้าร่วมโครงการตัดสินใจลงทุน *โครงการนี้ใช้เวลารวมทั้งสิ้นเพียงไม่ถึง 1 ปีก็สำเร็จถึงระดับมีการตัดสินใจลงทุนจริงนะครับ*จะบอกว่าไม่ใช่ผลงานรัฐบาลสุรยุทธ์ ผมก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ "อีโคคาร์"ดึงเงินลงทุนทะลุสี่หมื่นล้านโดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 ธันวาคม 2550 09:34 น. http://www.khum.net/news-read/654445 โครงการอีโคคาร์ได้ถูกปลุกจากหลุมอีกครั้ง เมื่อต้นปี 2550 โดยรัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่ “โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์” ในรัฐบาลชุด “ขิงแก่” ภายใต้การนำของ “พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เข้ามาบริหารงาน จากการเข้ายึดอำนาจ รัฐบาลทักษิณ ที่นำโดย “พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” อดีตผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้นฮอนด้า ไลฟ์ สำหรับเหตุผลที่อีโคคาร์ถูกนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันไทยจะหวังพึ่งปิกอัพอย่างเดียว ในการเป็น โปรดักซ์แชมเปี้ยน เพื่อทำให้ตัวเลขการผลิตของไทยไต่ทะลุ 1.8 –2.0 ล้านคันต่อปี ตามเป้าหมายผลักดันไทยสู่การเป็น ดีทรอยต์แห่งเอเชียคงลำบาก
เหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีรถยนต์ตัวใหม่ “อีโคคาร์” เพื่อเป็นโปรดักซ์แชมเปี้ยนคู่กับปิกอัพ ผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากนั้นมาคณะทำงานโครงการอีโคคาร์ ภายใต้การนำของนายโฆสิต ได้เดินหน้าผลักดันอย่างจริงจัง มีการกำหนดวาระทำงาน อย่างชัดเจน ด้วยการเปิดรับบริษัทรถที่สนใจร่วมโครงการ ให้ยื่นข้อเสนอที่ต้องการ เพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุด สำหรับประกาศเกณฑ์ ส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ และต้องให้ทุกอย่างจบภายในเดือนมีนาคม 2550 ที่ผ่านมา แม้จะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่จะต้องจบในเดือนมีนาคม เพราะติดปัญหาหลายอย่าง รวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิต แต่ที่สุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา โครงการอีโคคาร์ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีสำเร็จ
ทั้งนี้ไม่เพียงการผลักดันของนายโฆสิตเท่านั้น “นายฉลองภาพ สุสังกร์กาญจน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ที่มาแทน “ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล” ซึ่งลาออกไป ได้เปิดไฟเขียวสนับสนุนเต็มที่เช่นกันซูซูกิ เชอร์โว ที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบอัตราภาษีสรรพสามิต รถยนต์นั่งขนาดเล็กประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ อยู่ที่ระดับ 17% นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไขจะต้องมีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1300 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ซีซี) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1400 ซีซี สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่จำกัดกำลังเครื่องยนต์ ส่วนอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต้องไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือ 20 กิโลเมตรต่อลิตร มาตรฐานมลพิษอยู่ในระดับ EURO 4 ตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศกำหนด และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ปล่อยจากท่อไอเสียไม่เกิน 120 กรัมต่อกิโลเมตร และกำลังการผลิตปีละ 1 แสนคันในปีที่ 5 ทั้งนี้สาเหตุที่ต้องกำหนดขนาดเครื่องยนต์ เพราะอีโคคาร์จะต้องไม่ทับซ้อนกับรถยนต์นั่งที่มีอยู่แล้ว และอัตราภาษีสรรพสามิต 17% อยู่ในระดับไม่ต่ำจนเกินไป พอที่จะส่งผลต่อรถที่มีขนาดใกล้เคียงกันนิสสัน โมโก หลังจากนั้นสัปดาห์ต่อมา คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้ประกาศข้อกำหนดเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม การลงทุนอีโคคาร์ ประกอบด้วย 1.ผู้ขอรับส่งเสริมจะต้องเสนอการลงทุนเป็นโครงการรวม (package) ทั้งโครงการประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์ และการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ 2.ขนาดการลงทุนของโครงการรวม ทั้งการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้นส่วน จะต้องไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท 3.จะต้องมีปริมาณการผลิตจริงไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป 4.ด้านประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง จะต้องเป็นรถยนต์ที่มีคุณสมบัติของอัตราการใช้เชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร
และข้อสุดท้าย 5.ด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องมีมาตรฐานมลพิษ Euro 4 หรือสูงกว่า และมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจาก ท่อไอเสียไม่เกิน 120 กรัมต่อ 1 กิโลเมตร พร้อมกันนี้กำหนดให้บริษัทรถยนต์ ที่จะขอรับส่งเสริมการลงทุน ต้องยื่นรายละเอียดโครงการเป็นแพ็คเกจการผลิต ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 เมื่อหมดเวลากำหนดขีดเส้นตาย ปรากฏว่ามีจำนวนบริษัทรถยนต์ 7 ยี่ห้อ ที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนผลิตอีโคคาร์ ได้แก่ ฮอนด้า, ซูซูกิ, นิสสัน, โตโยต้า, มิตซูบิชิ, ทาทา และโฟล์คสวาเกน โดยใน 4 ค่ายรถหลัง ได้ยื่นวันสุดท้ายของการปิดรับการส่งเสริมพอดีคอนเซปต์ โฟล์คสวาเกน อัพ “ที่ประชุมได้มีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ในกิจการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ Eco-Car เพิ่มอีก 2 โครงการ คือ โครงการของบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น รวมมูลค่าเงินลงทุน 9,500 ล้านบาท และบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 5,550 ล้านบาท เมื่อรวมกับโครงการของบริษัทฮอนด้า ที่ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปก่อนหน้านี้ ปัจจุบันมีโครงการอีโคคาร์ที่รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 3 โครงการ เงินลงทุนรวม มากกว่า 19,000 ล้านบาท”
นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (BOI) กล่าวและว่า ในส่วนของ 4 บริษัทรถยนต์ที่เหลือ คาดว่าจะผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการส่งเสริม การลงทุนเพื่อเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของบอร์ด BOI ได้ภายในเดือนมกราคม 2551“โครงการที่เสนอมามูลค่าการลงทุน ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ตามกำหนดแน่นอน โดยเฉพาะค่ายรถของโฟล์กสวาเกน ที่ปัจจุบันยังไม่มีฐานการผลิตอยู่ใน ประเทศไทย
ดังนั้นโครงการผลิตอีโคคาร์จึงถือเป็นโครงการแรกที่ใช้ฐานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งอาจจะใช้เงินลงทุนสูงกว่า รถยนต์ค่ายอื่น ที่มีฐานการผลิตเดิม และสามารถต่อยอดการผลิตได้” นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนกล่าว
จากคำกล่าวของเลขาฯ บีโอไอ และหากทุกค่ายได้รับการอนุมัติหมด นั่นแสดงว่าจะมีเม็ดเงิน ลงทุนในไทย จากโครงการอีโคคาร์ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาทแน่นอน!!---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เงินลงทุนโครงการอีโคคาร์ยี่ห้อ เงินลงทุน(ล้านบาท) กำลังการผลิต(คัน/ปี)ฮอนด้า 6,700 120,000 ซูซูกิ 9,500 138,000 นิสสัน 5,550 120,000 โฟล์คสวาเกน 10,000** 100,000 โตโยต้า 5,000* 100,000 ตาต้า 5,000* 100,000 มิตซูบิชิ 5,000* 100,000 รวม 46,750 778,000หมายเหตุ - ผู้จัดการรวบรวมข้อมูล * ประมาณจากกำหนดลงทุนโครงการอีโคคาร์ ** จากการประเมินของบีโอไอ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-01-2008, 22:39 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
jerasak
|
|
« ตอบ #82 เมื่อ: 10-01-2008, 22:44 » |
|
ถ้าจะบอกว่าแต่ละค่ายตัดสินใจลงทุนมานานแล้ว ผมก็ไปเจอข่าวว่าเมื่อกลางปี 2550 ค่ายโตโยต้า ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาเงื่อนไขรัฐบาลอยู่เลย โตโยต้าส่อเมินอีโคคาร์-โอดเงื่อนไขหินhttp://news.sanook.com/economic/economic_148796.phpดังนั้นเรื่องส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ได้ดำเนินการ ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จนสำเร็จจริงๆ ครับ ------------------------------------------------------------------------------------------ โตโยต้าส่อเมินอีโคคาร์-โอดเงื่อนไขหินโดย ข่าวสด วัน พฤหัสบดี ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 08:33 น. http://news.sanook.com/economic/economic_148796.php หวั่นกระทบตลาดรถวีออส-โฆสิตโบ้ยคุยบีโอไอ
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานขนาดมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ว่า ทางโตโยต้ากำลังพิจารณา ว่าจะเสนอผลิตอีโคคาร์หรือไม่ เพราะขณะนี้รายละเอียดต่างๆ ยังไม่ชัดเจนมากนัก โดยจะต้องขอพิจารณา หลังจากที่ไปร่วมหารือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ ซึ่งบีโอไอเรียกค่ายรถยนต์ ที่สนใจเข้าโครงการไปหารือร่วมกันในรายละเอียดอีโคคาร์
ทั้งนี้ โตโยต้ายังมีข้อสงสัยหลายประการเกี่ยวกับการส่งเสริมอีโคคาร์ อาทิ ในเรื่องของการผลิตรถยนต์ 1 แสนคัน ในปีที่ 5 นั้น หากจะนับตั้งแต่ปีที่ 1-5 รวมเป็น 1 แสนคันจะได้หรือไม่ หรือหากโตโยต้านำเครื่องยนต์ 1300 ซีซี ตามเงื่อนไขของอีโคคาร์ไปใส่ในรถยนต์วีออสที่มีเครื่อง 1500 ซีซี แล้วจะนับรวมเครื่อง 1300 ซีซี กับ 1500 ซีซี ได้หรือไม่ และในเรื่องของภาษีสรรพสามิตที่ลดให้ 17% นั้นผูกติดกับเงื่อนไข 1 แสนคันอย่างไร หากจะนำเข้ามา ตามสิทธิ์ของการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ที่มีกำแพงภาษี 5% ถ้าเป็นรถที่เข้าเงื่อนไขอีโคคาร์จะมารับสิทธิ์ในเรื่อง ภาษีสรรพสามิต 17% ได้หรือไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นนำเข้าจะคุ้มกว่าหรือไม่
ขณะนี้โตโยต้าจะมีปัญหาในเรื่องของตลาดมากสุด เพราะถ้าต้องผลิตรถยนต์ในระดับ 1 แสนคัน/ปี จะหาตลาดที่ไหน รองรับ เพราะแม้แต่วีออส ซึ่งเป็นรถที่ขายดีที่สุดของโตโยต้ามียอดผลิตเพียง 9 หมื่นคันต่อปี และยังต้องส่งออกไป ตลาดอาเซียนถึง 50% หากจะผลิตรถเก๋งขึ้นมาขายในตลาดอาเซียนคงต้องลำบาก ส่วนจะส่งออกไปยังยุโรป โตโยต้ามีฐานผลิตรถในระดับอีโคคาร์อยู่หลายแห่ง นายศุภรัตน์กล่าว
ทั้งนี้ จากการวิจัยพบว่ารถยนต์ขนาด 1300 ซีซี ไม่เป็นที่นิยมเพราะเครื่องเล็กสำหรับตลาดเมืองไทย และที่ผ่านมา โตโยต้าเคยทำตลาดรถเครื่องยนต์ 1300 ซีซี อาทิ ในอเวนซ่า ซาลูน่า แต่ไม่เป็นที่นิยมจนต้องนำเครื่อง 1500 ซีซี มาใส่จึงจะขายออก
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เงื่อนไขการส่งเสริมอีโคคาร์ที่กำหนดออกมา ทั้งในเรื่อง 1 แสนคันในปีที่ 5 และต้องผลิตสิ้นส่วนเครื่องยนต์ในประเทศ 4 ใน 5 ชิ้นนั้นเป็นเงื่อนไขที่คิดไว้อย่างรอบคอบ แล้วว่าทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากสุด และการผลิตในระดับ 1 แสนคันจะทำให้ต้นทุนการผลิตคุ้มค่าที่จะลงทุน ซึ่งเรื่องนี้คงไม่มีการเปลี่ยนแปลง และขณะนี้นโยบายในเรื่องอีโคคาร์สรุปออกมาชัดเจนแล้ว ส่วนค่ายรถยนต์ใดจะไม่เห็นด้วย ในรายละเอียดตัวใด หรือมีข้อสงสัยอะไรให้ไปหารือกับบีโอไอ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-01-2008, 22:47 โดย jerasak »
|
บันทึกการเข้า
|
= A dreamer lives for eternity.= == นักฝันมีชีวิตเพื่อนิรันดร์กาล ==
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #83 เมื่อ: 10-01-2008, 23:25 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-01-2008, 23:37 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แอ่นแอ๊น
|
|
« ตอบ #84 เมื่อ: 10-01-2008, 23:57 » |
|
การเป็น free trade หรือไม่ได้อยู่ที่ป้ายสำนักงาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
|
|
|
ลูกหินฮะ๛
|
|
« ตอบ #85 เมื่อ: 11-01-2008, 00:24 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11-01-2008, 00:27 โดย ลูกหินฮะ๛ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|