แล้ว แอดมินช่วย ปักหมุดให้ด้วย เพราะผมงง
หลายคำที่ไม่เข้าใจ เช่น
อมาตยาธิปไตย
ศักดินา
ทุนนิยม
โดยเฉพาะ ศักดินาล้าหลัง กับ ทุนนิยมชั่วช้า นี่ผมงงจริงๆ
คือ ศักดินา มีกี่ประเภท เพราะ ถ้ามีคนพูดถึงศักดินาล้าหลัง แสดงว่า ต้องมี ศักดินาก้าวหน้า
และ
ทุนนิยมชั่วช้า ก็ต้องมี ทุนนิยมอันประเสริฐ อะไรทำนองนั้น
ใครที่เป็นนักภาษา ช่วย เขียนนิยามที่ กระชับเข้าใจง่าย สามารถใช้อ้างอิง ในการด่าฝ่ายตรงข้ามให้หน่อยครับ
อมาตยาธิปไตย คำนี้ยากที่จะเข้าใจเหมือนกันค่ะ มีผู้แปลเอาไว้วว่า "การปกครองโดยพรรคข้าราชการ" แต่อย่างไรก็ตาม คำนี้ไม่ใช่คำสมาส แต่เป็นคำสนธิ (ไม่ใช่คำทักษิณ หรือคำสมัคร) ส่วนจะเป็นคำสนธิ ลิ้ม หรือคำสนธิ บัง ไม่ทราบเหมือนกัน
ศักดินา เป็นคำโบราณ ซึ่งโบราณจะแปลว่าอย่างไรก็ขี้เกียจค้นหา แต่สำหรับคำแปลร่วมสมัย ที่เกิดขึ้นในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ในช่วง ปี 2500 เป็นต้นมา คำนี้หมายถึงสิ่งที่พวกเข้าป่าไม่เคยเป็น หรือพยายามแล้วเป็นไม่ได้
ศักดินา ที่จริงแล้วไม่มีแบบ ก้าวหน้า หรือล้าหลัง ศักดินานั้นคงที่ แต่ด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ ผู้มองศักดินา จะเห็นตำแหน่งของศักดินาแตกต่างกัน หากผู้มองคิดว่าตนก้าวหน้า ก็จะมองว่าศักดินาล้าหลัง แต่หากผู้มองที่คิดว่าตนก้าวหน้า ฉลาดขึ้นอย่างกระทันหัน จะพบว่า ศักดินานั้นก้าวหน้าไปยิ่งกว่า และตนนั่นเองที่ล้าหลัง
ทุนนิยม แปลตรงตัวได้ว่า นิยม ทุน หากไม่มีทุน ไม่นิยม อาจจะพอเปรียบได้กับการเมืองในวันนี้ การจัดขั้วรัฐบาลนั้นขึ้นอยู่กับ ทุน เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทุนในสภาพเงินตรา หรือทุนในสภาพเก้าอี้รัฐมนตรี หากมี ทุน สองอย่างนี้แจกให้ จึงจะ นิยม
ทุนนิยมอันประเสริฐนั้นไม่มีค่ะ มีแต่ ทุนประเสริฐ เพราะเมื่อ นิยมทุน แล้ว จัดเข้าได้เป็นพวกสามานย์หรือชั่วช้าทั้งหมด ทุนอันประเสริฐนั้น ได้แก่การใช้ทุนอย่างพอเพียง ส่วนทุนนิยมสามานย์นั้น เป็นการใช้ทุนเพื่อหากำไรโดยไม่จำกัดขอบเขต ดังเช่นภาษิตชั่วที่ว่า "ผลประโยชน์สูงสุด คือเป้าหมายของการทำธุรกิจ"
เอ่อ ทั้งหมดนั่นอย่างเชื่อหนูนะคะ หนูสอบภาษาไทยตก