ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-11-2024, 12:33
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้ โดย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
==เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้ โดย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์==  (อ่าน 3205 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 20-11-2007, 15:34 »

ช่วงนี้ผมไล่ดูข้อมูลผู้สมัครพรรคต่างๆ ไปเจออะไรเข้าก็เอามาแบ่งกันนะครับ

อย่างหนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจมากทีเดียว เพราะเกี่ยวกับรถไฟฟ้าเจ้าปัญหา
และเล่าโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ที่สัมผัสงานจริง และรอบรู้เฉพาะทางจริงๆ

ถ้ายังไงผ่านไปเห็นก็ลองซื้อหามาอ่านดูนะครับ ผมเองอ่านตัวอย่างแล้ว
คงไปมองหาฉบับเต็มมาอ่านเพิ่มเติมด้วยครับ

http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=35033
---------------------------------------------------------------------------------------------
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ตั้งใจถ่ายทอดประสบการณ์เกือบ 30 ปี
จากการทำงานในแวดวงวิศวกรรมจราจรและขนส่งทั้งในและต่างประเทศ
รวมถึงช่วงเวลาปีเศษในตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้ดูแลแก้ไขปัญหาจราจร
และผลักดันเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสให้ข้ามไปฝั่งธนฯ



ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศแรกของทวีปเอเชีย
ที่มีรถรางใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2431 ก่อนหน้าประเทศญี่ปุ่นถึง 10 ปี
จะเป็นประเทศที่ได้ใช้รถไฟฟ้าเป็นลำดับที่สี่ในอาเซียน
ตามหลังประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
ทำไมคนไทยจึงต้องรอคอยรถไฟฟ้ามาเนิ่นนานเกือบ 30 ปี
หลังจากที่มีการศึกษาเพื่อวางแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า
ในกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514
ความล่าช้าของการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นเพราะปมปัญหาการเมือง
หรือเรื่องเงินทุน หนังสือ "เปิดปมรถไฟฟ้าฯ ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้" มีคำตอบเหล่านี้
พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปวางแผน
ก่อสร้างรถไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้าในหลากหลายประเด็น :

รถไฟฟ้านานาประเทศ
นวัตกรรม "แม็กเลฟ" วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก
"แพลนนิ่ง" ที่ "นิ่ง" เสียนาน
"โฮปเวลล์" ความอัปยศทางวิศวกรรม หรือความหวังใหม่
รถไฟฟ้าจะผ่านที่ไหน
หาเงินจากไหนสร้างรถไฟฟ้า
ไขปริศนาความสำเร็จและล้มเหลวของ BRT
รถไฟฟ้ากับการเมือง
แค่ 2.2 กม.ไปฝั่งธนฯ ก็ยังมีปัญหา ฯลฯ

เนื้อหาในหนังสือ "เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้"
เป็นข้อมูลที่จะตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าได้หลายๆ เรื่อง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้องในการแกะปมปัญหา
ให้การพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ก้าวหน้าไปได้เร็วขึ้น
อันจะทำให้คนกรุงเทพฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในอนาคตอันใกล้นี้


-----------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ : เขามีตัวอย่างให้ทดลองอ่านด้วยครับทำเป็นเว็บเฉพาะเลยที่

http://www.perdpomrodfaifa.bravehost.com/preview1.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2007, 16:05 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #1 เมื่อ: 20-11-2007, 15:40 »

คนนี้เป็นโจทก์ของ หมัก-จืด นี่นา Mr. Green
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 20-11-2007, 15:41 »

อันนี้เป็นประวัติ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นะครับ เพิ่งรู้ว่าประสบการณ์มากมายขนาดนี้

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ <- ลิงค์ข้อมูลต้นฉบับที่วิืกิพีเดีย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร หนึ่งในทีมบริหารกรุงเทพมหานครชุดเริ่มต้นของ นายอภิรัิกษ์ โกษะโยธิน เกิดวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ที่ ต.ปากพะยูน อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายจบ ราชพลสิทธิ์ และนางละม้าย ราชพลสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท วิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง และปริญญาเอก วิศวกรรมโยธา สาขาการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง

ดร.สามารถ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบจราจรเมืองใหญ่ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ ของ สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับจราจรและขนส่ง ทั้งในและต่างประเทศหลายประเภท เช่น รถไฟฟ้า ทางด่วน สนามบิน และท่าเรือ โดยเป็นที่ปรึกษาโครงการ ให้กับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก องค์การสหประชาชาติ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) และกองทุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจโพ้นทะเล (โออีซีเอฟ) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "เจบิก" หรือ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น

ระหว่างดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเวลาสั้นๆ ระหว่างเดือนกันยายน 2547 ถึงกุมภาพันธ์ 2549 ดร.สามารถ ได้รับผิดชอบดูแล โครงการด้านการจราจรหลายโครงการ ที่สำคัญเช่น โครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ที่กำลังจะเปิดให้บริการต่อสาธารณะ ในเร็วๆ นี้ และยังรับผิดชอบควบคุมดูแล โครงการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสไปยังฝั่งธนบุรี จนคืบหน้าใกล้จะเปิดให้บริการแล้วเช่นเดียวกัน

ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายสามารถ ได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านการจราจรและขนส่ง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 1 ลำดับที่ 2 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์


ประวัติการศึกษา

    * ศิษย์เก่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์
    * ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    * ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) โดยทุนยูเสด (USAID)
    * ปริญญาเอก วิศวกรรมโยธา สาขาการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลฝรั่งเศส


ประสบการณ์ด้านวิศวกรรมจราจร

    * โครงการวางแผนระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเมืองเกาชุง (Kaohsiung) ประเทศไต้หวัน
    * โครงการศึกษาความเหมาะสมระบบรถไฟฟ้ากรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
    * โครงการวางแผนแม่บทโครงข่ายถนนและรถไฟฟ้าในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
    * โครงการปรับปรุงถนนในชนบทของประเทศฟิลิปปินส์
    * โครงการปรับปรุงการเดินเรือทะเลในประเทศฟิลิปปินส์
    * โครงการจัดทำแผนแม่บทการเดินเรือทะเลในประเทศเวียดนาม
    * โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม
    * โครงการศึกษาความเหมาะสมระบบท่าอากาศยานในประเทศบังกลาเทศ
    * โครงการปรับปรุงระบบท่าอากาศยานในประเทศฟิลิปปินส์
    * โครงการปรับปรุงระบบท่าอากาศยานในประเทศไทย
    * โครงการวางแผนแม่บทและศึกษาความเหมาะสมสนามบินอู่ตะเภา
    * โครงการวางแผนพัฒนาทางรถไฟควบคู่กับการพัฒนาเมืองในประเทศไทย
    * โครงการระบบทางด่วนในกรุงเทพฯ
    * โครงการวางแผนระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสำหรับเมืองเชียงใหม่
    * โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาเมือง (Land Readjustment) ในประเทศไทย


กรณี บีเอ็มซีรีส์ 7

นายสามารถตกเป็นข่าวฮือฮาเมื่อ นายสมัคร สุนทรเวช และนายดุสิต ศิริวรรณ กล่าวหาในรายการ "สมัคร-ดุสิต คิดตามวัน" ว่านายสามารถ รับสินบนเป็นรถ “บีเอ็ม ซีรีส์ 7” ทำให้นายสามารถตัดสินใจฟ้องร้องดำเนินคดีกับนายสมัคร และนายดุสิต ที่ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษา ให้จำคุกจำเลยทั้งสอง รวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้โฆษณาคำพิพากษาย่อ ในหนังสือพิมพ์ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย อีกด้วย


ผลงานหนังสือ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์เกือบ 30 ปี จากการทำงานในแวดวงวิศวกรรมจราจรและขนส่ง ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงช่วงเวลาปีเศษ ในตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบดูแลการแก้ไขปัญหาจราจร และผลักดันเส้นทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส ให้ข้ามไปถึงฝั่งธนบุรี กลายเป็นผลงานเขียนเล่มแรกในชีวิตชื่อ "เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้" ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับรถไฟฟ้า ในหลากหลายประเด็น เช่น

    * รถไฟฟ้านานาประเทศ
    * นวัตกรรม "แม็กเลฟ" วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก
    * "แพลนนิ่ง" ที่ "นิ่ง" เสียนาน
    * "โฮปเวลล์" ความอัปยศทางวิศวกรรม หรือความหวังใหม่
    * รถไฟฟ้าจะผ่านที่ไหน
    * หาเงินจากไหนสร้างรถไฟฟ้า
    * ไขปริศนาความสำเร็จและล้มเหลวของ BRT
    * รถไฟฟ้ากับการเมือง
    * แค่ 2.2 กม.ไปฝั่งธนฯ ก็ยังมีปัญหา
    * สามารถอ่านตัวอย่างเนื้อหาได้ที่ "เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้"


การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

    * ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์


เกียรติประวัิติ

    * ได้รับรางวัลเกียรติยศจากประเทศฟิลิปปินส์ จากผลงานการเป็นที่ปรึกษาของธนาคารโลกเพื่อวางแผนแม่บทโครงข่ายถนน และรถไฟฟ้าในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
    * ได้รับรางวัล นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543
    * ได้รับเลือกเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2549

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2007, 16:07 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #3 เมื่อ: 20-11-2007, 15:43 »

คนนี้เป็นโจทก์ของ หมัก-จืด นี่นา Mr. Green


ใช่แล้วครับ หมัก-จืด เป็นจำเลย โดยศาลตัดสินจำคุกเสีย 24 เดือน 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #4 เมื่อ: 20-11-2007, 15:47 »

อันนี้เป็นตัวอย่างเนื้อหาในหนังสือนะครับ ตามที่มีลิงค์แนะนำในหน้าเว็บหนังสือ มีทั้งหมด 4 ตอน

http://thairath.co.th/news.php?section=bangkok04&content=63152
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์ เลี้ยวขวาสัญญาณจราจร
เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้ [3 ต.ค. 50 - 16:00]

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. เงียบหายไปพักใหญ่ครับ หลัง จากต้องวิบากกรรมการเมือง จนต้องลุก จากเก้าอี้รองผู้ว่าฯ กทม. คราวนี้กำลังจะ กลับมาในฐานะของนักเขียนในเร็วๆนี้

วันก่อน อาจารย์สามารถส่งอีเมล์มาถึงผม เพื่อแนะนำงานเขียนของตัวเอง...“28 กันยายน 2550...หนังสือ “เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้” เล่มนี้ เกิดจากความตั้งใจที่จะถ่ายทอดประสบการณ์เกือบ 30 ปี จากการทำงานในแวดวงวิศวกรรมจราจรและขนส่งทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงช่วงเวลาสั้นๆ ในตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้ดูแลแก้ไขปัญหาจราจร และผลักดันเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสให้ข้ามไปฝั่งธนฯ”

“ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นประ-เทศแรกของทวีปเอเชีย ที่มีรถรางใช้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2431 ก่อนหน้าประเทศญี่ปุ่นถึง 10 ปี จะเป็นประเทศที่ได้ใช้รถไฟฟ้าเป็นลำดับ ที่ 4 ในอาเซียน ตามหลังประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย”

“ทำไมคนไทยจึงต้องรอคอยรถไฟฟ้ามาเนิ่นนานเกือบ 30 ปี หลังจากที่มีการ ศึกษาเพื่อวางแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ความล่าช้าของการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯเกิดขึ้น เพราะปมปัญหาการเมืองหรือเรื่องเงินทุน หนังสือ “เปิดปมรถไฟฟ้าฯ ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้” มีคำตอบเหล่านี้”

“พร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปวางแผนก่อสร้างรถ ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีเรื่อง น่ารู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้าในหลากหลายประเด็น อาทิ รถไฟฟ้านานาประเทศ, นวัตกรรม แม็กเลฟ วิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก, แพลนนิ่ง ที่ “นิ่ง” เสียนาน”

โฮปเวลล์ ความอัปยศทางวิศวกรรม หรือความหวังใหม่, รถไฟฟ้าจะผ่านที่ไหน, หาเงินจากไหนสร้างรถไฟฟ้า, ไขปริศนาความสำเร็จและล้มเหลวของ BRT, รถไฟฟ้ากับการเมือง, แค่ 2.2 กม. ไปฝั่งธนฯ ก็ยังมีปัญหา ฯลฯ”

“ผมใคร่ขอความอนุเคราะห์ช่วยเผยแพร่ ข้อมูลจากหนังสือ “เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้” ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าได้หลายๆเรื่อง ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้อง ในการแกะปมปัญหาให้การพัฒนาเส้นทางรถ ไฟฟ้าในกรุงเทพฯก้าวหน้าไปได้เร็วขึ้น และทำให้คนกรุงเทพฯมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยใจจริงที่อยากเห็นคนกรุงเทพฯมีความสุขกับการสัญจร...ดร.สามารถ ราช-พลสิทธิ์”

งานนี้ใครเป็นแฟนพันธุ์แท้จราจร หรือคอการเมืองทั้งขั้วเก่าและทางเลือกใหม่ อยากรู้เรื่องราวปูมหลังของเรื่องรถ ไฟฟ้าและการเมืองบ้านเรา ก็เตรียมควักกระเป๋าไปหาซื้ออ่านได้ครับ.

หัวปิงปอง
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #5 เมื่อ: 20-11-2007, 15:49 »

ตอนที่ 2 ต่อเนื่องกันครับ ทำให้รู้ว่าเราทำผิดพลาดกันมาตรงไหน อย่างไรบ้าง

http://thairath.com/news.php?section=bangkok04&content=63277
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์ เลี้ยวขวาสัญญาณจราจร
รถไฟฟ้าไทยๆ ผิดตั้งแต่เริ่ม [4 ต.ค. 50 - 16:08]

ที่ผ่านมาผมเคยเขียนถึงรถไฟฟ้าของประเทศต่างๆที่เจริญแล้ว วันนี้ ขอเชิญท่านผู้อ่านมาลองเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าของบ้านเรากันบ้าง จากหนังสือ “เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้ “ของ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. กูรูรถไฟฟ้า “ตัวจริง” อีกคนหนึ่งของเมืองไทย

“...คนกรุงเทพฯ ต้องรอคอยมาเป็นเวลายาวนาน จึงได้มีรถไฟฟ้าใช้ในวันนี้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เป็นสิ่งที่น่าวิเคราะห์อย่างยิ่ง ความผิดพลาดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรและขนส่งที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องใช้เป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ปัญหาจราจรในอนาคต”

“กรุงเทพฯ เริ่มมีการวางแผนระบบการจราจรและขนส่ง โดยผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ.2514 โดยได้จัดทำเป็นแผนแม่บททั้งระบบถนน ทางด่วน และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน พร้อมทั้งเสนอแนะไว้ว่าหากรัฐบาลต้องการส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน ควรสร้างทางรถไฟฟ้าเป็นระยะทางประมาณ 110 กม. ภายในปี พ.ศ.2533”

“ต่อมาในปี พ.ศ.2517 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศอังกฤษ ทำการสำรวจและศึกษาแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ส่วนหนึ่งที่เสนอแนะโดยผู้เชี่ยวชาญเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย 3 สาย มีระยะทางรวม 50 กม. ได้แก่ สายที่ 1 พระโขนง-บางซื่อ สายที่ 2 วงเวียนใหญ่-ลาดพร้าว และสายที่ 3 ดาวคะนอง-มักกะสัน กทพ.พยายามดำเนินการตามข้อเสนอแนะ โดยในเวลาต่อมาได้ก่อสร้างฐานรากบางส่วน เพื่อเตรียมรองรับรถไฟฟ้าตามเส้นทางดังกล่าว โดยผนวกกับโครงการสะพานพุทธใหม่ (พระปกเกล้า) และสะพานตากสิน แต่นั่นเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เพราะได้มีการทบทวนเปลี่ยนแปลงเส้นทางในภายหลัง”

“ต่อมามีโครงการรถไฟฟ้าเกิดขึ้น 2 โครงการ คือ โฮปเวลล์ และบีทีเอส โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานในปี พ.ศ.2533 และ 2535 ตาม ลำดับ แต่การวางแผนเส้นทางของโครงการทั้งสองรวมทั้งโครงการของ กทพ.ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นอิสระต่อกัน ทำให้มีเส้นทางซ้ำซ้อนไม่เหมาะสม ไม่สามารถสนองตอบความต้องการการเดินทางได้ดีพอ จึงมีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางใหม่ และจัดทำเป็นแผนแม่บทขึ้นในปี พ.ศ.2537 มีระยะทางรวม 267.9 กม. แบ่งเป็นเส้นทางใต้ดิน 67.2 กม. ระดับพื้นดิน 37.7 กม. และยกระดับ 163.0 กม.”

“แผนแม่บทดังกล่าวออกมาหลังจากโครงการโฮปเวลล์และบีทีเอสเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นผลให้ชาวกรุงเทพฯ ได้รถไฟลอยฟ้าวิ่งบนถนนในตัวเมือง ซึ่งมีเขตทางแคบแทนที่จะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน และได้รถไฟฟ้าใต้ดินเป็นแนววงแหวน มีเส้นทางส่วนหนึ่งผ่านถนนรัชดาภิเษก ซึ่งมีเขตทางกว้างกว่าและไม่ได้อยู่ในใจกลางเมืองแทนที่จะเป็นรถไฟลอยฟ้า”

“เรามีรถไฟฟ้าสายแรกใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 นับเป็นประเทศที่ 4 ในอาเซียน ต่อจากฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซียตามลำดับ เหตุที่กรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าช้า โดยเฉพาะช้ากว่ามะนิลาถึง 15 ปี ทั้งๆที่รายได้เฉลี่ยต่อคนสูงกว่าและมีจำนวนประชากรพอๆกัน พอจะมีคำอธิบายได้ดังนี้”

เนื้อที่หมดพอดี พรุ่งนี้มาติดตามกันต่อครับ.

หัวปิงปอง
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 20-11-2007, 15:53 »

ตอนที่ 3 นื้เป็นการสรุปเหตุผล ที่ทำให้การสร้างรถไฟฟ้าของเราล่าช้า กลายเป็นปัญหาจราจรในปัจจุบัน

http://thairath.com/news.php?section=bangkok04&content=63277
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์ เลี้ยวขวาสัญญาณจราจร
4 เหตุผลรถไฟฟ้าไทยช้า [5 ต.ค. 50 - 15:31]

ทำไมการบริหารจัดการรถไฟฟ้าบ้านเราถึงแปลกประหลาดผิดกับประเทศอื่นๆ ทำไมกรุงเทพฯถึงมีรถไฟฟ้าหลังมะนิลา ทั้งๆที่เจริญกว่า วันนี้เรามาหาคำตอบนี้จาก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ในหนังสือ เปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้ต่อจากวานนี้ครับ

“เหตุที่กรุงเทพฯมีรถไฟฟ้าช้ากว่ากรุงมะนิลาถึง 15 ปี ทั้งๆที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคนสูงกว่าและมีจำนวนประชากรพอๆกัน พอจะอธิบายได้ดังนี้

1. ภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญของทางด่วนมากกว่ารถไฟฟ้า จึงเร่งก่อสร้างทางด่วนในระยะเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าภาครัฐมุ่งแก้ปัญหาจราจรสำหรับผู้ใช้รถส่วนตัวเป็นหลัก แต่การเร่งก่อสร้างทางด่วนทำให้ปริมาณยวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นจนเป็นภาระให้ต้องแก้ไข ต่างกับมะนิลาที่เร่งพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ให้ความสำคัญต่อรถ ไฟฟ้ามากกว่าทางด่วน”

“2. นโยบายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรและขนส่งผิดพลาด กล่าวคือ ภาครัฐ ลงทุนหรือร่วมลงทุนในระบบทางด่วนที่ไม่สามารถแก้ ปัญหาการจราจรแบบยั่งยืนได้ ทางด่วน 1 และทางด่วนรามอินทรา ลงทุนโดย กทพ. โดยได้รับเงินจากรัฐบาล 27% และ 67% ของงบลงทุนทั้งหมด ส่วนทางด่วนขั้นที่ 2 ลงทุนโดยเอกชน แต่ภาครัฐให้ความช่วยเหลือด้านการเวนคืนที่ดินและทรัพย์สินบางส่วน”

“แต่โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งสามารถ “ขนคน” ได้มากกว่าระบบทางด่วน ภาครัฐกลับให้เอกชนลงทุนทั้งหมด เหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะภาครัฐในขณะนั้นเข้าใจว่า การลงทุนในระบบทางด่วนจะสามารถทำกำไรได้ แต่การลงทุนใน กิจการรถไฟฟ้าจะประสบปัญหาขาดทุน ต่างกับมะนิลาที่รัฐบาลกล้าตัดสินใจลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า เอง ชาวกรุงมะนิลาจึงมีรถไฟฟ้าสายแรกระยะทาง 15 กม. ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2527 เมื่อภาครัฐลงทุนเอง ก็สามารถกำหนดค่าโดยสารต่ำ จึงทำให้มีผู้โดยสารล้นหลาม”

“3. ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยมาก ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง รูปแบบโครงการ รูปแบบการลงทุน และหน่วยงานรับผิดชอบ ต่างกับฟิลิปปินส์ที่ประธานาธิบดี มาร์กอสบริหารต่อเนื่องในช่วงปี 2508-2529 หรือ 21 ปี ทำให้สามารถกำหนดนโยบายได้อย่างเด็ดขาด เช่น ในช่วงของการเลือกระบบรถไฟฟ้า มี ปัญหาว่าจะเลือกระบบใดดี ซึ่งสุภาพสตรีหมายเลข 1 ของประเทศในขณะนั้น คือ นางอีเมลดา มาร์กอสต้องการรถไฟฟ้าของเบลเยียม ฟิลิปปินส์จึงมีรถไฟฟ้าใช้เป็นประเทศแรกในอาเซียน”

“พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า การจะพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯจำเป็นต้องพึ่งพาผู้มีอำนาจหรือ ผู้นำประเทศคนใดคนหนึ่งในระยะยาวนาน พูดง่ายๆก็คือ แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย แต่ถ้าทุกรัฐบาลเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าตามแผนแม่บทที่วางไว้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนแม่บท ก็จะสามารถก่อสร้างรถ ไฟฟ้าได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้”

“4. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวางแผนและประสานงานด้านการจราจรและขนส่ง ขาดเอกเทศในการทำงาน โครงการบางโครงการถูกกำหนดโดยผู้มีอำนาจเหนือกว่า ขาดการศึกษาความเป็นไปได้ เป็นผลให้ได้โครงการที่ก่อให้เกิดข้อบกพร่องในระบบการจราจรและขนส่ง”

นั่นคือเหตุผล 4 ประการที่ทำให้ประเทศ ไทยมีรถไฟฟ้าล่าช้าและเกิดการล้มเหลว เช่นโครงการโฮปเวลล์ ในความเห็นของ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ครับ.

หัวปิงปอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2007, 15:56 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #7 เมื่อ: 20-11-2007, 15:55 »

ตอนที่ 4 สุดท้ายแล้วครับ เป็นการตอบคำถามสำคัญว่าจะเอาเงินที่ไหนมาสร้างรถไฟฟ้า

http://thairath.com/news.php?section=bangkok04&content=63518
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอลัมน์ เลี้ยวขวาสัญญาณจราจร
หาเงินจากไหนทำรถไฟฟ้า [6 ต.ค. 50 - 15:09]

หนังสือเปิดปมรถไฟฟ้า ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้ของ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ไม่เพียงวิพากษ์รถไฟฟ้าของไทยในช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ยังเสนอแนวคิดที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริหารจัดการรถไฟฟ้าด้วย นั่นก็คือจะหาเงินจากที่ไหนสร้างรถไฟฟ้า โดยยกประสบการณ์ จากประเทศญี่ปุ่น

“...เป็นที่ทราบกันดีว่า รายได้จากค่าโดยสารเพียงอย่างเดียวไม่สามารถดำเนินการรถไฟฟ้าให้มีกำไรได้ จึงจำเป็นต้องหารายได้และเงินสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือการประกอบการเดินรถไฟฟ้า ในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีแหล่งเงินสนับสนุนจาก 3 แหล่งหลัก คือ 1) รัฐบาล 2) ผู้ได้ผลประโยชน์จากโครงการรถไฟฟ้า และ 3) รายได้จากธุรกิจอื่น”

“1) เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าถึง 70% ของค่าก่อสร้าง เงินช่วยเหลือนี้ได้รับจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นฝ่ายละครึ่ง โดยผ่อนชำระให้ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าภายในเวลา 10 ปี นับจากปีที่เริ่มให้บริการฯ”

“2) เงินสนับสนุนจากผู้ได้รับผลประโยชน์ โดยทั่วไปผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการรถไฟฟ้าประกอบด้วย 2.1 นักพัฒนาที่ดิน ในประเทศญี่ปุ่น นักพัฒนาที่ดินจะต้องให้เงินสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้าดังนี้ ก. สนับสนุนค่าก่อสร้างครึ่งหนึ่งของโครงสร้างในระดับพื้นดิน ข. ในกรณีที่เส้นทางตัดผ่านพื้นที่พัฒนา เช่น เมืองใหม่ นักพัฒนาที่ดินจะต้องขายที่ดิน สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ให้แก่ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าในราคาเดิม ไม่รวมค่าพัฒนาที่ดิน ค. ในกรณีที่เส้นทางรถไฟฟ้าอยู่นอกเขตพื้นที่พัฒนา ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าจะต้องซื้อที่ดินเอง แต่นักพัฒนาที่ดินจะต้องชำระราคาที่ดินส่วนที่เพิ่มขึ้นอันมีผลมาจากโครงการรถไฟฟ้า”

“ตัวอย่าง เช่น การก่อสร้างรถไฟฟ้าของเมืองโกเบ เทศบาลเมืองโกเบ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรถไฟฟ้าเสนอให้นักพัฒนาที่ดินที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการรถไฟฟ้า ยกที่ดินในพื้นที่ พัฒนาที่ต้องใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้แก่ เทศบาลฟรี และให้ชำระค่าเวนคืนที่ดินส่วนอื่นแทนเทศบาล นอกจากนี้ นักพัฒนาที่ดินยังต้องชำระค่าก่อสร้างทั้งหมดที่อยู่ในระดับดิน และเงินช่วยเหลือ 18% ของค่าก่อสร้างแทนเทศบาล”

“2.2 นักธุรกิจอื่นๆ จากที่รถไฟฟ้าสามารถนำประโยชน์มาสู่ผู้ประกอบธุรกิจบริเวณสถานีรถ ไฟฟ้าและสองข้างทางรถไฟฟ้า ดังนั้น รัฐบาลจึงจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นเงินอุดหนุนการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น เมืองเซนได เพิ่มภาษีดังกล่าวขึ้น 14.5%”

“3. รายได้จากธุรกิจอื่น นอกเหนือจากเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และผู้ได้รับผลประโยชน์แล้วในประเทศญี่ปุ่นยังอนุญาตให้ ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าทำธุรกิจอื่นด้วย เช่น จัดสรรที่ดินให้บริการรถเมล์ แท็กซี่ ประกอบการขนส่งสินค้า ดำเนินกิจการห้างสรรพ สินค้า ท่องเที่ยว เพื่อหารายได้มาจุนเจือการประกอบการเดินรถไฟฟ้า”

แหม งานนี้เมืองไทยน่าจะทำบ้างนะครับ จะได้เงินอีกโขมาเป็นทุนทำรถไฟฟ้า.

หัวปิงปอง
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #8 เมื่อ: 20-11-2007, 16:04 »

ตัวอย่างหมดชุดแล้วครับ ..

ผมว่า ดร.สามารถ เขียนหนังสือได้อ่านเพลินดีเหมือนกันนะครับเข้าใจง่ายดีด้วย
น่าเสียดายที่โดนเล่นงานทางการเมือง จนต้องออกจากตำแหน่ง รองผู้ว่าฯ
และสุดท้ายก็เป็นแค่เรื่องแกล้งกันทำอะไรแกไม่ได้ด้วย ตอนนี้เลยกลายเป็น
ไปลงสมัครเป็น ส.ส.แบบสัดส่วน เสียแล้ว

โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าไปฝั่งธนบุรี ก็โดนพิษการเมืองไปเสียหลายเดือน
ทั้งที่ชาวฝั่งธนฯ น่าจะได้ใช้ไปก่อนหน้าหลายเดือน

ตอนนี้ผมก็รอดูโครงการรถประจำทาง BRT ว่าจะออกมาเป็นยังไง เห็น concept
แล้วก็รู้สึกว่าน่าจะ work กับกรุงเทพของเรา ประหยัดเงินก่อสร้างเป็นร่วมสิบเท่า
เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้า .. ขณะเดียวกันก็ลุ้นว่าจะล่มแบบบางประเทศไหม
คือมันมีทั้งประเทศที่ทำสำเร็จ และทำไม่สำเร็จน่ะครับ .. ต้องเอาใจช่วยกัน 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2007, 16:14 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #9 เมื่อ: 20-11-2007, 18:24 »

“ทำไมคนไทยจึงต้องรอคอยรถไฟฟ้ามาเนิ่นนานเกือบ 30 ปี หลังจากที่มีการ ศึกษาเพื่อวางแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ความล่าช้าของการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯเกิดขึ้น เพราะปมปัญหาการเมืองหรือเรื่องเงินทุน หนังสือ “เปิดปมรถไฟฟ้าฯ ที่คนกรุงเทพฯต้องรู้” มีคำตอบเหล่านี้”

ขอเดาเล่นๆครับ ว่า

โตโยต้า ไทยซัมมิท อยากให้รออีกหน่อย



ปล. วันก่อนเจ๊มิ่งแสดงวิสัยทัศน์รายการเจาะใจ
ประเด็นปัญหาพลังงาน

รู้สึกเจ๊แกพูดแต่เรื่องเปลี่ยนให้รถยนต์หันมาใช้แก๊ส

ไม่เห็นพูดถึงขนส่งมวลชนนะ


ตกลงเป็นนักยุทธศาสตร์หรือเซลส์แมน(วูแมน)กันแน่

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #10 เมื่อ: 20-11-2007, 18:39 »

ผมเข้ามาคาราวะ คุณ จีฯ ครับ....ขยันหาอะไรมาให้อ่านกัน อยู่ เป็น ระยะ

 
บันทึกการเข้า
kasemsakk
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 68


รักชาติ ป้องกษัตริย์ แต่อนาคตของชาติละ...


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 20-11-2007, 18:49 »

ขอเดาเล่นๆครับ ว่า

โตโยต้า ไทยซัมมิท อยากให้รออีกหน่อย



ปล. วันก่อนเจ๊มิ่งแสดงวิสัยทัศน์รายการเจาะใจ
ประเด็นปัญหาพลังงาน

รู้สึกเจ๊แกพูดแต่เรื่องเปลี่ยนให้รถยนต์หันมาใช้แก๊ส

ไม่เห็นพูดถึงขนส่งมวลชนนะ


ตกลงเป็นนักยุทธศาสตร์หรือเซลส์แมน(วูแมน)กันแน่


เรื่องแก๊สนี่ไม่เกี่ยวอะไรกับสมาชิกเราใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า



อยากบอกให้โลกรู้ ว่ากรูเกลียดพวกแรด พวกแอ๊บแบ๊ว จัดฟัน และไอ้เหลี่ยม
http://www.oknation.net/blog/kasemsakk เข้าไปดูด้วยเน้อ
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #12 เมื่อ: 20-11-2007, 19:41 »

ขอเดาเล่นๆครับ ว่า

โตโยต้า ไทยซัมมิท อยากให้รออีกหน่อย



ปล. วันก่อนเจ๊มิ่งแสดงวิสัยทัศน์รายการเจาะใจ
ประเด็นปัญหาพลังงาน

รู้สึกเจ๊แกพูดแต่เรื่องเปลี่ยนให้รถยนต์หันมาใช้แก๊ส

ไม่เห็นพูดถึงขนส่งมวลชนนะ


ตกลงเป็นนักยุทธศาสตร์หรือเซลส์แมน(วูแมน)กันแน่



เอาเป้าหมายข้อที่ 8 ใน 9 ข้อของนโยบายประชาธิปัตย์ตามที่ ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ วิเคราะห์มาดูนะครับ

8. ลดต้นทุนการขนส่งลง 25-30%

ผมวิเคราะห์ไว้ว่า..

เรื่องนี้แน่นอนว่า จะต้องเป็นเรื่องระบบขนส่งทางราง ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่าไทยเราขนส่งด้วยรถบรรทุก
สูงถึงกว่า 85% แต่ขนส่งทางรถไฟแค่ 2% ในขณะที่่เปรียบเทียบอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อ 1 ลิตร
รถบรรทุกจะอยู่ที่ 25  ตัน/กม./ลิตร และรถไฟอยู่ที่ 85 ตัน/กม./ลิตร (ตัวเลขคร่าวๆ) แค่เพิ่มสัดส่วนการ
ขนส่งด้วยรถไฟก็จะลดต้นทุนการขนส่งได้มโหฬารแล้วครับ

ความจริงการขนส่งทางน้ำทำไ้ด้ถึงกว่า 200 ตัน/กม./ลิตร แต่ข้อจำกัดในการเข้าถึงจุดขนส่งน้อยกว่ามาก
ผมยังไม่เห็นใครมีโครงการเรื่องขนส่งทางน้ำ ไทยเราขนข้าวด้วยรถบรรทุกแต่เวียดนามขนด้วยเรือเป็นหลัก
ประหยัดกว่าเราแบบเทียบไม่ได้เลยครับ


ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้แก๊ส แต่ยังใช้รถบรรทุก (และรถยนต์) เหมือนเดิม เทียบไม่ได้กับการใช้ระบบขนส่งทางราง
เพียงแต่การใช้แก๊ส ไม่กระทบต่อยอดขายรถโตโยต้าจริงๆ ด้วย .. ไม่รู้ว่าบังเอิญหรือเปล่า

อาจเป็นได้ว่าคุณมิ่งขวัญอยู่กับธุรกิจขายรถมา 28 ปี เลยไม่เคยจินตนาการถึงเรื่องลดการใช้รถยนต์ก็ได้ครับ
เพราะตามธรรมดาทุกลมหายใจก็ต้องนึกอยู่อย่างเดียวคือการ "เพิ่มยอดขายรถ" อยู่แล้ว 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #13 เมื่อ: 20-11-2007, 19:55 »

เพราะตามธรรมดาทุกลมหายใจก็ต้องนึกอยู่อย่างเดียวคือการ "เพิ่มยอดขายรถ" อยู่แล้ว 

นักการตลาดที่ดี ต้องให้ได้แบบนี้ครับ
สมมุติว่าขายโตโยต้า ..ต้องสะกดจิตตัวเองว่ารถยนต์โตโยต้าดีที่สุดในโลก แบบนี้ถึงจะรุ่ง
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: