ระหว่างนี้รู้สึกว่าพรรคการเมืองต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องแผนพลังงานของประเทศเท่าไหร่นัก
ผมไปเจอบทความนี้เข้าก็ลองอ่านวิสัยทัศน์ของ ผู้ว่า กฟผ. คนใหม่ดูนะครับ สรุปหลักๆ ก็คือ เรื่อง
การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน (ผมต้องย้ำเองด้วยว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน และถ่านหินชนิดที่นำมาใช้
ไม่ได้มีมลพิษมากมายอย่างที่ชอบยกกรณีเหมืองแม่เมาะมาอ้างกัน) นอกจากนี้มีพูดเรื่องโรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์นิดหน่อย (เรื่องนี้ผมเองยังอยากให้รอเทคโนโลยีไปก่อน ไม่อยากให้สร้างตอนนี้)
เรื่องที่ผมเพิ่งรู้ก็คือเขามีการเตรียมตั้งบริษัทลูก เพื่อจัดการด้านจัดหาพลังงานจากต่างประเทศด้วยครับ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปิดวิสัยทัศน์...ผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่ สมบัติ ศานติจารี ภารกิจฝ่าด่าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=10525&catid=29วันที่ 13 พฤจิกายน 2550 เวลา 10:39:27 น.
หมายเหตุ : หลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน
วันแรกของการทำงาน สมบัติ ศานติจารี เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์เป็นครั้งแรกถึงแนวทางการบริหารงานท่ามกลาง
ความท้าทายเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและการเตรียมความพร้อม
สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นเพื่อรับทราบทิศทางกิจการพลังงานของประเทศ มติชน จึงขอนำสาระสำคัญมานำเสนอ
ถาม - วิสัยทัศน์การทำงานตอบ - ตอนแสดงวิสัยทัศน์ให้คณะกรรมการสรรหาฟัง มีอยู่ 4 ข้อ คือ
1.การสานต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้ได้ตามแผนที่วางไว้ ทั้งโรงไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างแล้ว 4 แห่ง คือโรงไฟฟ้าจะนะ
พระนครเหนือ พระนครใต้ และบางปะกง และโรงไฟฟ้าใหม่ ที่นับวันจะก่อสร้างยากขึ้น
2.การดำเนินยุทธศาสตร์ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยเฉพาะการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
ซึ่งตามแผนพีดีพี 2007 (แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ 2550-2564) กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง
นิวเคลียร์ 4 โรงในช่วงปี 2563 เพราะปัจจุบันใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสูงถึง 70% นับวันก็จะยิ่งร่อยหรอ และแพงขึ้น
ตามราคาน้ำมัน จึงต้องกระจายใช้เชื้อเพลิง
3.พัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน ซึ่ง กฟผ.สนองนโยบายได้ดี ทั้งฉลากเบอร์ 5 ก็ประสบผลสำเร็จ ที่กำลังทำอยู่
คือรณรงค์เปลี่ยนหลอดไส้ มาเป็นหลอดตะเกียบ ในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดผอมมาก หรือ
ที่เรียกว่า ที 5 ซึ่งจะช่วยลดการใช้ไฟใน กทม.ได้อีกมาก ช่วยลดการใช้เงินลงทุนของ กฟผ.และของประเทศ
4.ให้ความสำคัญกับ CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ กฟผ. กฟผ.ต้องติดต่อ
กับชาวบ้านมากขึ้น ที่ผ่านมาก็ทำแล้ว แต่การสื่อสารอาจจะน้อย ต้องทำมากขึ้น โดยฉพาะชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า ให้ชุมชน
มีสิทธิมีเสียง
ถาม-เตรียมความพร้อมเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินสิ่งสำคัญคือการเลือกสถานที่ เตรียมเชื้อเพลิง ซึ่งการเลือกสถานที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน เข้าใจว่ามีความเป็นห่วง
ว่าถ่านหินจะทำให้เกิดมลภาวะ แต่เทคโนโลยีไปไกลมากแล้ว มาตรฐานควบคุมสิ่งแวดล้อมสูงมาก ดูอย่างแม่เมาะเป็นต้น เราต้อง
เร่งสื่อสารว่าถ่านหินจำเป็นสำหรับประเทศขนาดไหน เราต้องใช้เชื้อเพลิงอื่น และในทางธุรกิจ ก็มีแค่ถ่านหินและนิวเคลียร์ แต่เรื่อง
นิวเคลียร์คงไม่พูด เพราะเป็นนโยบายของรัฐ
เข้าใจว่ากลุ่มไม่เห็นด้วย อยากให้ใช้พลังงานทดแทน แต่พลังงานทดแทนมีไม่เพียงพอ ทุกประเทศก็ใช้ถ่านหินกันหมด แต่ของเรา
ใช้ก๊าซ เพราะเจอในประเทศและเร่งใช้ของในประเทศ แต่ราคาแพงขึ้นมาก ปัจจุบันอยู่ที่ 220-230 บาทต่อล้านบีทียูแล้ว หากจะ
นำเข้ามาอีกก็แพงขึ้น ในตลาดโลกราคาแอลเอ็นจี (ก๊าซธรรมชาติเหลว) 10 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู (340 บาทต่อล้านบีทียู)
ยังไม่รวมค่าละลาย ทางเลือกที่ดีที่สุด คือถ่านหิน
ถาม-หากแผนโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เป้าหมายจะทำอย่างไรถ้าสร้างไม่ได้ก็มีทางเลือก รัฐมนตรี (นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) และปลัดกระทรวงพลังงาน ( นายพรชัย รุจิประภา) ก็คุยกับผม
เรื่องนี้ นโยบายกระทรวงคือ ให้รับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ขณะนี้ได้เพิ่มการรับซื้อจากลาว จาก 5,000 เมกะวัตต์
เป็น 7,000 เมกะวัตต์ ตอนนี้ก็รับซื้อใกล้เต็มแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ถ้าไทยไม่ได้สร้างถ่านหิน 4 โรง (รวม 2,800 เมกะวัตต์)
ก็ต้องหาทางอื่นด้วย และต้องในราคาที่รับได้ ตอนนี้มีเอกชนจะไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน กฟผ.ก็จะ
รับซื้อทั้งหมด เร็วๆ นี้ก็มีหลายบริษัทติดต่อขายไฟให้ โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แต่ต้องได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมโลก และสินค้า
มีคุณภาพ แต่ต้องยอมรับว่าการซื้อของเมืองนอกมีปัญหาว่าเราไม่ได้เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า การบริหารและควบคุมก็ทำไม่ได้
ถาม-ซื้อไฟฟ้าต่างประเทศมากๆ อาจเสี่ยงต่อความมั่นคงพลังงานเราเคยมีการศึกษาว่า นโยบายการรับซื้อไฟต่างประเทศต้องไม่เกิน 20% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ปัจจุบันรับซื้อเพียง 5%
ที่เหลือเป็นก๊าซธรรมชาติ 70% ถ่านหินรวมลิกไนต์ 12% พลังงานน้ำ 5-6% ซึ่งหากรับซื้อเพิ่มขึ้นมาแทนในส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ทั้งหมด อาจจะเกิน 20% บ้างในช่วงแรก แต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะในช่วงที่โรงไฟฟ้าถ่านหินจะเข้าระบบ ปี 2010 ระบบไฟฟ้า
จะใหญ่ขึ้นมาก
ถาม-เตรียมเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างไรนิวเคลียร์เป็นเรื่องของรัฐ ขณะนี้ก็ได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมกับอนุมัติงบฯสำหรับ 3 ปีแรกให้แล้ว
กฟผ.ก็เตรียมตัวไว้ในฐานะที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ก็หาความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ไว้ จัดหาบุคลากรมารองรับ แต่การจะ
สร้างหรือไม่สร้าง อยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลใหม่ในขณะนั้น ยอมรับว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ง่าย อาจจะยาก
กว่าถ่านหิน แต่พลังงานทางเลือกก็มีไม่มาก ถ้าสร้างไม่ได้ก็ต้องซื้อจากต่างประเทศ ค่าไฟที่ได้จะแพง ก็ต้องให้รัฐบาล
ตัดสินใจ เพราะต้นทุนแอลเอ็นจี ประมาณ 2.60-2.70 บาทต่อหน่วย ขณะที่ถ่านหินอยู่ที่ 2.10-2.20 บาทต่อหน่วย
ต่างกันเยอะมาก ส่วนนิวเคลียร์แม้ค่าก่อสร้างแพง แต่เชื้อเพลิงถูก
ถาม-เตรียมแผนรองรับไว้หรือยังถ้าสร้างนิวเคลียร์ไม่ได้นิวเคลียร์ แม้ตามแผนจะสร้างถึง 4,000 เมกะวัตต์ แต่ก็เป็นเรื่องระยะยาว กว่าจะถึงเวลานั้น อาจจะมีทางเลือกใหม่
หรือแหล่งพลังงานใหม่ๆ เกิดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม กฟผ.ก็ตั้งเป้าไว้ว่า ในอนาคตก็คงจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าให้ได้
ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ถ้าสร้างไม่ได้ก็ลำบาก
ถาม-สิ่งที่วัดความสำเร็จคือโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ไม่ใช่ แต่เป็นการผลักดันบริษัท กฟผ.อินเตอร์ให้เกิดมากกว่า เพราะ กฟผ.อินเตอร์จะเป็นตัวจัดหาพลังงานไฟฟ้าต่างประเทศ
ของ กฟผ. ยิ่งมีความเสี่ยงในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในประเทศ การลงทุนในต่างประเทศก็ยิ่งมีความจำเป็น โดยในอนาคต
วางแผนจะให้เป็นเหมือนบริษัท ปตท.สผ. (บริษัทผลิต และสำรวจปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน))
ถาม-แต่ถ้าในอนาคตรัฐบาลอยากให้กฟผ.แปรูปปัญหาคือ ถ้าเป็นนโยบายรัฐแล้วเกิดประโยชน์กับ กฟผ.และประชาชน การทำความเข้าใจกับพนักงานก็คงจะง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่
ก็คงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจพอสมควร อย่างไรก็ตามถ้าเป็นนโยบายรัฐผู้บริหารก็คงจะสนอง แต่คงยาก เพราะร่าง พ.ร.บ.
ประกอบกิจการพลังงาน และรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้เงื่อนไขไว้ชัดเจน การจะทำอะไรต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน
ดังนั้นจะทำให้ขั้นตอนการแปรรูปจะยากขึ้น