ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
09-07-2025, 12:07
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ข่าวไทยรัฐ : EU ประกาศลั่น...!! ไม่ไว้ใจการเลือกตั้งของไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
ข่าวไทยรัฐ : EU ประกาศลั่น...!! ไม่ไว้ใจการเลือกตั้งของไทย  (อ่าน 9295 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #50 เมื่อ: 30-08-2007, 00:27 »

การกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปเป็นวันที่ 23 ธ.ค. 2550 แม้ว่าจะยังมีทั้งความเห็นสนับสนุนและความเห็นคัดค้าน แต่ปรากฏว่ากลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู (The European Union-EU) ขอเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย และขอทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU (Memorandum Of Understand) กับคณะกรรมการการเลือกตั้งและรัฐบาลไทย โดยอียูจัดประเภทอยู่ในกลุ่มประเทศที่ล้มเหลว (Fail State) เช่นเดียวกับประเทศติมอร์
ก่อนหน้านี้ในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกาก็ได้ติดต่อโดยตรงไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอตรวจสอบการลงประชามติ


ท่านท้าวคร้าบ ถ้าอียูเค้าจัดประเภทอยู่ในกลุ่มประเทศที่ล้มเหลว เช่นเดียวกับประเทศติมอร์
คงฟอกกันไม่ไหวหละคร้าบ เปลืองน้ำยาซักฟอกโดยใช่เหตุ จะขัดรัฐบาลกะทหารให้ขาวคง
ต้องล่อน้ำยาขัดส้วมขาวแล้วหละคร้าบ อีแบบนี้ 




คนรักทักษิณ จำเลยคดีทุจริตต่าง ๆของคณะกรรมการ คตส.
และ จำเลยหนี'หมายจับของศาลยุติธรรมอย่างผู้ใช้นามแฝง'อยากประหยัดให้ติดแก๊ส '
และ 'ท้าวมหาเทพ' ได้อ่านความคิดเห็นของสมาชิกที่นี่กับ สมาชิกห้องสังคมและการเมือง
ของเวบประชาไทแล้ว.....

ถ้าไม่ได้เป็น 'อเวไนยสัตว์' คงจะรู้ว่าความคิดเห็นของคนที่นี่แตกต่าง และ รู้ผิดชอบชั่วดี
ต่างกับสมาชิกที่ห้องสังคมและการเมืองของเวบประชาไทอย่างไร....



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-08-2007, 00:30 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #51 เมื่อ: 30-08-2007, 00:41 »

ผมมองหมากเกมนี้ อียู ไม่กล้าเข้าประเทศไทยครับ

ยิ่งมองเหตุการณ์หลังจากผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศไทยออกมาประสานเสียงไม่ยอมรับ MOU

รวมถึงเบื้องบนทรงส่งรหัสยะนัยออกไปแล้ว ถ้าไม่ทึ่มเกินไปคงรับสัญญาณนั้นได้
บันทึกการเข้า

The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #52 เมื่อ: 30-08-2007, 09:04 »

ผมมองหมากเกมนี้ อียู ไม่กล้าเข้าประเทศไทยครับ

ยิ่งมองเหตุการณ์หลังจากผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศไทยออกมาประสานเสียงไม่ยอมรับ MOU

รวมถึงเบื้องบนทรงส่งรหัสยะนัยออกไปแล้ว ถ้าไม่ทึ่มเกินไปคงรับสัญญาณนั้นได้



ท่านลุงแคนอาจไม่ทราบเบื้องหลังว่าทำไม EU เค้าถึงกล้าลุย...ท้าวฯไม่บอกหรอก ฮ่าๆๆๆ


ประเด็นสำคัญสำหรับคนไทยก็คือว่า ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความเป็นชาติไทย กับ สถานะภาพของรัฐบาลปัจจุบัน เดี๋ยวจะโดน EU เค้าตบหน้าชาอีกครั้งว่าคนไทยมีแต่โง่ๆไปเถียงเค้าเรื่องอารยะธรรมของประเทศ ทั้งๆที่เค้ามุ่งประเด็นเกี่ยวกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารได้กระทำการต่างๆนานาที่ขัดต่อหลักกฎหมาย(ออกกฏหมายเอาผิดย้อนหลัง) และขัดต่อหลักนิติธรรม(แต่งตั้งบุคคลที่มีอคติต่อผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาทำหน้าที่ไต่สวน-สอบสวน) อีกทั้งการคงไว้ซึ่งกฏอัยการศึกใน 35 จว.ทั่วประเทศ ที่ EU เค้ามองว่าการเลือกตั้งจะไม่โปร่งใสและยุติธรรมภายใต้กฎ-กติกา-บรรยากาศดังกล่าว

เอาเรื่องชาตินิยมบ้าๆบอๆไว้หลอกตนไทยที่งมงายเถิดท่าน...คนไทยที่มีปัญญาเค้ามองออกว่า EU เค้าเข้ามาช่วยบีบให้รัฐบาลเผด็จการไม่กล้าจัดการเลือกตั้งอย่างป่าเถื่อนเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #53 เมื่อ: 30-08-2007, 09:10 »

รัฐบาลไทยเลิกตอแหลแหกตาประชาชนเสียทีเถิด...แค่นี้ประเทศไทยเราก็อ่วมมากพอแล้ว ศักดิ์ศรีของคนไทยในสายตาชาวโลกก็อยู่ในระนาบเดียวกับพม่า...ยังไม่สำนึกอีกแน๊ะ!!!



"ข้อเท็จจริงกรณีอียูต้องการส่งผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งเข้าไทย






นายอภิชาต สุขัคคานนท์ จะแถลงข่าวอะไรก็ขอให้ตรงๆกับความจริงหน่อย พูดหมกเม็ดทางเดียว คนที่รู้ทันนั้นก็มี

อียูไม่ได้ขอเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทยโดยตรงครับ ปฐมบทมันมาจากอียู ยื่นเรื่องเข้ายูเอ็น เพื่อขอประชุมกรณีพิเศษ เรื่องสิทธิพลเมืองของกลุ่มประเทศเขาภายใต้กรอบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเผด็จการ จากผลงานที่รัฐบาล(คมช.) ไประรานอดีตนายกฯ และทำการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม

เรื่องการเข้าตรวจสอบนี้ เป็นไปตามสัตยาบรรณที่ไทยลงนามไว้ในการรับมติของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 11 วันที่ 18-25 เมษายน 2548 เมื่อกลุ่มสมาชิก EU ท้วงสิทธิต่อยูเอ็น ทางยูเอ็นจึงแทงเรื่องมาให้ คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Commission on Crime Prevention and Criminal Justice) ซึ่งทางคณะกรรมาธิการฯ ประชุมและให้ความเห็นชอบเรื่องให้อียู เข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย ไม่ใช่ทางอียูเขาเสนอหน้ามาขอตรวจสอบเองครับ เรื่องนี้ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รับเผือกร้อนนี้กับมือเอง

นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เบี้ยข้างกระดานของกลุ่มเผด็จการ ไม่รู้เรื่องนี้จริงๆหรือแกล้งไม่รู้ ถึงแถลงออกมาอย่างนี้ ถ้าไม่รับมติของเขา ประเทศไทยก็ลาออกไปจากการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติไปซิครับ เพราะถึงตอนนี้ ศักดิ์ศรีของประเทศไทยในสังคมก็ไม่ใครรับรองอยู่แล้ว

อย่าห่วงเรื่องเงินกู้มากกว่าศักดิ์ศรีของประเทศไทยครับ "
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #54 เมื่อ: 30-08-2007, 09:17 »

อะไรกัน ไปลงสัตยาบรรณไว้แล้วเบี้ยวเฉยเลย มิน่าเค้าถึงว่าเราเป็นประเทศล้มเหลวเหมือนติมอร์
กฎเกณฑ์ระเบียบอะไรไม่รู้ไม่เอาซักอย่าง อยากฉีกก็ฉีก อยากเบี้ยวก็เบี้ยว แหมแล้วยังอยากให้
เค้ามาคบอีก ไปคิดว่าเป็นฝุ่นใต้ตรีนเราทั้งโลกเลยเหรอเนี่ย 
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #55 เมื่อ: 30-08-2007, 09:40 »

อะไรกัน ไปลงสัตยาบรรณไว้แล้วเบี้ยวเฉยเลย มิน่าเค้าถึงว่าเราเป็นประเทศล้มเหลวเหมือนติมอร์
กฎเกณฑ์ระเบียบอะไรไม่รู้ไม่เอาซักอย่าง อยากฉีกก็ฉีก อยากเบี้ยวก็เบี้ยว แหมแล้วยังอยากให้
เค้ามาคบอีก ไปคิดว่าเป็นฝุ่นใต้ตรีนเราทั้งโลกเลยเหรอเนี่ย 

ฮ่าๆๆๆ...หน้าแตกระดับประเทศทั้งไอ้อีบนล่างแบบนี้ สะจายยยยยยยยยยยยยย
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #56 เมื่อ: 30-08-2007, 09:41 »

อ้างถึง
@ อียูทำหนังสือขอเข้าเยี่ยม กกต.

นาย อภิชาต สุขัคคานนท์ กล่าวว่า ทางอียูได้ทำหนังสือขอเข้าเยี่ยมคารวะ แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะลงนามเอ็มโอยูหรือไม่ เพราะตามหลักการแล้ว กกต.คงจะไม่ลงนาม ต้องพิจารณารายละเอียดที่อียูจะยื่นมาต่อ กกต.อีกครั้ง

"ใน วันที่หารือกับนายกฯได้คุยกันถึงเรื่องการ เซ็นเอ็มโอยูและท่านนายกฯก็เห็นว่าไม่ควรเซ็นเพราะ ไม่อยากมีอะไรมาผูกมัด ก็จะให้โอกาสสังเกตการณ์ เต็มที่ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย" นายอภิชาต กล่าว

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า กกต.จำเป็นจะต้องทำหนังสือเปิดผนึกจัดกลุ่มประเทศที่จะเข้ามาสังเกตการณ์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน 2.องค์กรระหว่างประเทศ 3.กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยจะเสนอให้ กกต.มีมติเพื่อกำหนดออกมาอย่างเป็นทางการ ขณะนี้มีประเทศอินโดนีเซีย รัสเซีย มาเลเซีย ติดต่อมาเพื่อสังเกตการณ์แล้ว ส่วนองค์กรเอกชน มีสมาคมระหว่างประเทศเพื่อระบบการเลือกตั้ง (ไอเอฟอีเอส) ก็ติดต่อขอเข้ามาสังเกตการณ์แล้ว

สำหรับบันทึกข้อตกลงของอียูที่ ส่งถึง กกต.และรัฐบาลไทย เพื่อให้ลงนามทำข้อตกลงร่วมกัน มีสาระสำคัญ เช่น กกต.ไทยจะต้องออกบัตรรับรองการสังเกตการณ์ให้คณะผู้แทนฯ และจะต้องให้หลักประกันผู้แทนฯเพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงทุกขั้น ตอน ทุกการประชุม ทุกการจัดการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดการเลือกตั้ง และในวันที่มีการจัดการเลือกตั้ง คณะผู้แทนฯจะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่ใดก็ได้ทั้งในหน่วยเลือกตั้ง ที่นับคะแนน รวมทั้งจะเข้าไปดูในเรื่องการดูแลการบริหารการเลือกตั้ง เป็นต้น

@ ปูด"จารุภัทร"เชิญสังเกตการณ์

"ได้ประสานงานไปยัง อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อสอบถามถึงข้อดีข้อเสียเพื่อให้กลุ่มประเทศอียูเข้ามาสังเกตการณ์การ เลือกตั้งประเทศไทย ซึ่งได้รับการชี้แจงว่าหากปฏิเสธก็จะไม่ส่งผลอะไรต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะไม่กระทบกับการเมืองระหว่างประเทศด้วย และเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศอียูติดต่อขอเข้าเยี่ยมคารวะประธาน กกต.ในวันที่ 9 กันยายน ในวันดังกล่าวจะมีการเจรจาถึงการเข้ามา สังเกตการณ์ด้วย" นายสุทธิพลกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.จารุภัทร เรือง สุวรรณ อดีต กกต. ได้เดินทางเยือนอียูและได้เชิญเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งด้วย แต่ขณะนั้นอียูก็ไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์แต่อย่างใด


http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0107300850&day=2007-08-30&sectionid=0101

อ้างถึง
เปิดบันทึก"เอ็มโอยู" กลุ่มอียูคุมเลือกตั้งไทย

หมาย เหตุ - เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือบันทึกข้อตกลงของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ส่งถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลไทย เพื่อให้ลงนามทำข้อตกลงร่วมกัน (เอ็มโอยู) ในบันทึก

ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยเคยมีหนังสือเชิญกลุ่มสหภาพยุโรปเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้เราจึงขอเข้ามาสังเกตการณ์ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

การเข้ามาสังเกตการณ์จะต้องทำข้อตกลง ร่วมกัน (เอ็มโอยู) และจะต้องกำหนดว่าจะใช้ระยะเวลานานเท่าใด (ในหนังสือยังไม่ได้กำหนดวัน) นอกจากนี้คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกจะได้รับการดูแลความปลอดภัยและมีความ อิสระในการปฏิบัติและการสังเกตการณ์

โดยคณะผู้แทนฯจะอยู่ภายใต้ ประมวลความประพฤติการร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป (Code of conduct EU) และปฏิญญาความประพฤติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)

นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขพิเศษ ดังนี้

-คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไทยจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจในการสังเกตการณ์จนประสบความ สำเร็จตามกฎหมายของทั้ง 2 ประเทศ

-การสังเกตการณ์ของคณะผู้แทนฯ นี้จะมีเสรีภาพในการเดินทางไปยังสถานที่ใด โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งการติดต่อขอข้อมูลจากพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิออกเสียง พนักงานของ กกต.ทุกระดับ รวมทั้งตัวแทนทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง

-กลุ่มสหภาพยุโรปจะแจ้งถึงจำนวนผู้แทนที่จะเข้ามาร่วมสังเกตการณ์

-คณะผู้แทนฯ จะได้รับความไว้ววางใจจาก กกต.ไทยโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ

-คณะ ผู้แทนฯ จะสามารถเข้ามาก่อนการเลือกตั้งเพื่อติดตามการเตรียมการเลือกตั้ง รวมทั้งสังเกตการหาเสียงของพรรคการเมือง หลังจากการเลือกตั้งคณะผู้แทนฯ อาจจะอยู่สังเกตการณ์ในไทยประกาศผลคะแนนอย่างเป็นทางการ ผลการร้องคัดค้าน รวมถึงภารกิจสุดท้ายของจัดการการเลือกตั้ง

-กกต.ไทยจะต้องออกบัตรรับรองการสังเกตการณ์ให้คณะผู้แทนฯและจะต้องให้หลักประกันผู้แทนฯเพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงทุกขั้นตอน ทุกการประชุม ทุกการจัดการในการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คณะผู้แทนฯอยู่ในประเทศไทย

-ในวันที่มีการ จัดการการเลือกตั้ง คณะผู้แทนฯ จะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่ใดก็ได้ ทั้งในหน่วยเลือกตั้ง ที่นับคะแนน รวมทั้งจะเข้าไปดูในเรื่องการดูแลการบริหารการเลือกตั้ง

-หลังจาก คณะผู้แทนฯ อยู่ในประเทศไทยจะมีการคัดเลือกหัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์และรองหัวหน้าคณะ ผู้สังเกตการณ์ (โดยระหว่างการสังเกตการณ์จะติดตราสัญลักษณ์ของอียูด้วย)

-ทั้งนี้ คณะผู้แทนฯได้กำหนดทีมงานออกเป็น 6 ทีม คือ คณะสำรวจล่วงหน้า คณะบันทึกความเข้าใจ คณะผู้สังเกตการณ์ คณะติดตามการทำงาน คณะติดตามประเมินผลการเลือกตั้ง (ซึ่งจะติดตามอย่างครอบคลุม ทั้งประเด็นทางการเมือง ประเด็นทางกฎหมาย ประเด็นการบริหารการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ) และคณะจัดทำรายงาน โดยการรายงานนี้จะนำเสนอต่อคณะมนตรียุโรปและสภาสหภาพยุโรปด้วย

-ภายหลังจากการสังเกตการณ์เลือกตั้งผ่านไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ คณะผู้แทนฯ จะจัดทำรายงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานให้ กกต.ด้วย

หนังสือดังกล่าวลงนามโดย นายฟรีดริช ฮัมเบอร์เกอร์ หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย (อียู)




ข้อบังคับสำหรับการสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย (ที่ กกต.บังคับใช้)

บทที่ 1 ว่าด้วยบททั่วไป

ข้อ 4 ระบุว่า ผู้สังเกตการณ์เลือกตั้ง หมายถึงผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลหรือองค์การเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ได้ลงทะเบียนและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเลือกตั้งให้เป็นผู้สังเกต การณ์เลือกตั้ง

ข้อ 5 ระบุว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดอันเกิดจากภารกิจในการเดินทางมาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง

ข้อ 6 ระบุว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งควรที่จะยึดถือแนวจริยธรรมในการสังเกตการณ์การเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการลงทะเบียนของผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง

ข้อ 1 ระบุว่า ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งในฐานะผู้สังเกตการณ์การ เลือกตั้งทุกคนจะต้องลงทะเบียนและได้รับการรับรองจากกกต.เท่านั้น

ข้อ 2 ระบุว่า ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องกรอกรายละเอียดในแบบการลงทะเบียนที่ กกต.กำหนด

ข้อ 3 ระบุว่า ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องลงทะเบียนกับคณะ กรรมการเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งอย่างน้อย 30 วัน

ข้อ 4 ระบุว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องติดบัตรแสดงตน ซึ่งออกให้โดย กกต.ตลอดระยะเวลาของการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง

บทที่ 3 ว่าด้วยสิทธิของผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง

มีใจความสำคัญว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องการดำเนินการ ขอหนังสือตรวจลงตราเพื่อเข้าราชอาณาจักไทย รวมทั้งจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลไทยระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจการสังเกตการเลือกตั้ง อีกทั้งสามารถเข้าพื้นที่ต่างๆ ในราชอาณาจักรเพื่อกิจกรรมการเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการการเลือกตั้งได้ในทุกขั้นตอนตาม ที่กฎหมายกำหนดและสามารถขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งจากคณะ กรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งยังสามารถรายงานการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่อ กกต.หรือเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องได้

บทที่ 4 ว่าด้วยกฎข้อบังคับสำหรับผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง

ระบุว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องปฏิบัติตามแนวจริยธรรมในการสังเกตการณ์ การเลือกตั้งตามที่ กกต.กำหนด และจะต้องปฏิบัติตามคำร้องขอเพื่อให้ออกจากบางพื้นที่หรือเข้าในบางพื้นที่ หรือให้ออกจากหน่วยเลือกตั้งหรือสถานที่นับคะแนนเพื่อเหตุผลในเรื่องของความปลอดภัย

ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องรับผิดชอบในค่าใช้ จ่ายทั้งหมดอันเกิดจากกิจกรรมการสังเกตการณ์เลือกตั้ง รวมทั้งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องเคารพกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ รวมถึงอำนาจอธิปไตยแห่งราชอาณาจักไทย และจะต้องเคารพบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในการจัดการเลือกตั้งและผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง

ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งจะต้องมีความเป็นกลางและ ข้อมูลรวบรวมต้องมีความเที่ยงตรงและสามารถตรวจสอบ ซึ่งจะต้องนำเสนอรายงานและข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเลือกตั้งต่อ กกต.ด้วย

บทที่ 5 ว่าด้วยข้อห้ามสำหรับผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง

ระบุว่า ผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งจะต้องละเว้นการกระทำอันจะส่งผลโดยตรงหรือเป็นการ แทรกแซงอำนาจหน้าที่ กกต.และสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งต้องละเว้นการสังเกตการณ์เลือกตั้งที่เป็นการรบกวนผู้อื่น รวมทั้งต้องละเว้นพฤติกรรมและทัศนคติที่เป็นการแสดงความชอบต่อพรรคการเมือง หรือผู้สมัคร

ละเว้นการสวมใส่เครื่องแบบหรือสัญลักษณ์อื่นที่ถือ เป็นการแสดงการสนับสนุนหรือคัดค้านต่อพรรคการเมืองหรือผู้สมัคร และต้องละเว้นการรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดจากพรรคการเมืองหรือผู้สมัคร อีกทั้งต้องละเว้นการแทรกแซงกิจกรรมของ กกต. พรรคการเมือง หรือผู้สมัคร หรือกิจการภายในประเทศไทย รวมทั้งห้ามจับต้องอุปกรณ์ในการจัดการเลือกตั้ง เช่น บัตรเลือกตั้ง โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก กกต. หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกเพิกถอนสิทธิการเป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง

บทที่ 6 ว่าด้วยแนวจริยธรรมสำหรับผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง

ระบุ ว่า ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งต้องมีความเป็นกลาง ไม่ใช้ความรุนแรง เคารพในกฎหมายและอำนาจอธิปไตย ไม่แทรกแซงหรือรบกวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และมีผู้มีสิทธิ อีกทั้งผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งจะต้องมีความสมัครใจ มีความซื่อสัตย์ มีเป้าหมาย มีความโปร่งใสและทำอย่างเป็นความลับ

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0108300850&day=2007-08-30&sectionid=0101
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-08-2007, 09:43 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #57 เมื่อ: 30-08-2007, 09:58 »

รัฐบาลไทยเลิกตอแหลแหกตาประชาชนเสียทีเถิด...แค่นี้ประเทศไทยเราก็อ่วมมากพอแล้ว ศักดิ์ศรีของคนไทยในสายตาชาวโลกก็อยู่ในระนาบเดียวกับพม่า...ยังไม่สำนึกอีกแน๊ะ!!!

"ข้อเท็จจริงกรณีอียูต้องการส่งผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งเข้าไทย

นายอภิชาต สุขัคคานนท์ จะแถลงข่าวอะไรก็ขอให้ตรงๆกับความจริงหน่อย พูดหมกเม็ดทางเดียว คนที่รู้ทันนั้นก็มี

อียูไม่ได้ขอเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทยโดยตรงครับ ปฐมบทมันมาจากอียู ยื่นเรื่องเข้ายูเอ็น เพื่อขอประชุมกรณีพิเศษ เรื่องสิทธิพลเมืองของกลุ่มประเทศเขาภายใต้กรอบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเผด็จการ จากผลงานที่รัฐบาล(คมช.) ไประรานอดีตนายกฯ และทำการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม

เรื่องการเข้าตรวจสอบนี้ เป็นไปตามสัตยาบรรณที่ไทยลงนามไว้ในการรับมติของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 11 วันที่ 18-25 เมษายน 2548 เมื่อกลุ่มสมาชิก EU ท้วงสิทธิต่อยูเอ็น ทางยูเอ็นจึงแทงเรื่องมาให้ คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Commission on Crime Prevention and Criminal Justice) ซึ่งทางคณะกรรมาธิการฯ ประชุมและให้ความเห็นชอบเรื่องให้อียู เข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย ไม่ใช่ทางอียูเขาเสนอหน้ามาขอตรวจสอบเองครับ เรื่องนี้ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รับเผือกร้อนนี้กับมือเอง

นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เบี้ยข้างกระดานของกลุ่มเผด็จการ ไม่รู้เรื่องนี้จริงๆหรือแกล้งไม่รู้ ถึงแถลงออกมาอย่างนี้ ถ้าไม่รับมติของเขา ประเทศไทยก็ลาออกไปจากการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติไปซิครับ เพราะถึงตอนนี้ ศักดิ์ศรีของประเทศไทยในสังคมก็ไม่ใครรับรองอยู่แล้ว

อย่าห่วงเรื่องเงินกู้มากกว่าศักดิ์ศรีของประเทศไทยครับ "


ข้อมูลน่าสนใจ ใช่จากความเห็นที่ 16 ในนี้รึเปล่า http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5763574/P5763574.html
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #58 เมื่อ: 30-08-2007, 10:54 »

คนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก มีแหล่งข้อมูลเพิ่มจาก"ใบบอก" ที่ไหนบ้าง
นอกจากเวบ"พันทิพ" และ ห้องสังคมและการเมืองของเวบประชาไท ซึ่งเป็นข้อมูลจาก"ใบบอก" อีกทอดหนึ่ง

เหลี่ยมฯ มีความสามารถในการ"ตัดตอน 2500 ศพ"
ลูกน้อง บริวารมีความสามารถในการ"ตัดต่อ บิดเบือนประเด็น".....



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #59 เมื่อ: 30-08-2007, 11:26 »

คนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก มีแหล่งข้อมูลเพิ่มจาก"ใบบอก" ที่ไหนบ้าง
นอกจากเวบ"พันทิพ" และ ห้องสังคมและการเมืองของเวบประชาไท ซึ่งเป็นข้อมูลจาก"ใบบอก" อีกทอดหนึ่ง

เหลี่ยมฯ มีความสามารถในการ"ตัดตอน 2500 ศพ"
ลูกน้อง บริวารมีความสามารถในการ"ตัดต่อ บิดเบือนประเด็น".....



'ใบบอก' อย่างที่ท่านปุถุชนเพ้อเจ้อนั้นไม่มีหรอกท่าน มีแต่ข้อเท็จจริงที่ต้องนำมาแฉให้คนไทยเลิกงมงายกับข้อมูลที่บิดเบือน พูดถึงเรื่อง 2.5 พันศพ เห็นโต้งประกาศลั่นว่าถ้าทำคดีได้สัก 2- 3 คดีก็ดังไปทั่วโลกแล้ว...แสดงให้เห็นถึงกำพืดของโต้งและเครือข่ายเป็นอย่างดีว่าต้องการทำคดีดังกล่าวเพื่อให้ทักษิณผิดให้ได้ โดยไม่สนใจครอบครัวผู้บริสุทธิ์ที่ชอบกล่าวอ้างสักนิดเดียว เพราถ้าโต้งมันบริสุทธิ์ใจจริงก็ต้องประกาศให้คนไทยทราบว่าจะเป็นผู้ทวงความยุติธรรมคืนมาให้กับพวกเค้าให้มากรายที่สุด ไม่ใช่มาบอกลักษณะว่าแค่ทำคดี2-3รายได้ก็ทำให้ทักษิณเดือดร้อนได้ ตกลงจุดมุ่งหมายของโต้งมันไม่ได้สนใจความรู้สึกของญาติๆเหล่านั้นเลยใช่ไหม!?!
บันทึกการเข้า
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #60 เมื่อ: 30-08-2007, 12:01 »

คนรักเหลี่ยม ลี สิงกะโปโตก มีแหล่งข้อมูลเพิ่มจาก"ใบบอก" ที่ไหนบ้าง
นอกจากเวบ"พันทิพ" และ ห้องสังคมและการเมืองของเวบประชาไท ซึ่งเป็นข้อมูลจาก"ใบบอก" อีกทอดหนึ่ง

เหลี่ยมฯ มีความสามารถในการ"ตัดตอน 2500 ศพ"
ลูกน้อง บริวารมีความสามารถในการ"ตัดต่อ บิดเบือนประเด็น".....


เพ้อเจ้อ ซ้ำซาก ไปบอร์ดไหนเค้าก็ไล่ยังกะหมูหมา เค้าคงอ่านกันไม่รู้เรื่องว่า
จะพ่นเรื่องอะไร เลยไล่ไปเรียนหนังสือมาใหม่มั้ง ต้องกลับมาตายรังกะโหลก
กะลานี่ เพราะจ่ายไว้เยอะคนอื่นเลยเกรงใจ พูดบ้าอะไรก็ได้ วันๆ เลยตั้งแต่
กระทู้นินทาบอร์ดชาวบ้าน เหอ เหอ ด่าตามใบบอกนะเนี่ย 
บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #61 เมื่อ: 30-08-2007, 12:10 »

เอางี้

เวลาประเทศในกลุ่ม EU มีเลือกตั้ง เราขอส่ง อบต. ไปดูงาน 2000 คน

EU ต้องทำ MOU และต้องอำนวยความสะดวกด้วยนะ
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #62 เมื่อ: 30-08-2007, 14:37 »

'ใบบอก' อย่างที่ท่านปุถุชนเพ้อเจ้อนั้นไม่มีหรอกท่าน มีแต่ข้อเท็จจริงที่ต้องนำมาแฉให้คนไทยเลิกงมงายกับข้อมูลที่บิดเบือน พูดถึงเรื่อง 2.5 พันศพ เห็นโต้งประกาศลั่นว่าถ้าทำคดีได้สัก 2- 3 คดีก็ดังไปทั่วโลกแล้ว...แสดงให้เห็นถึงกำพืดของโต้งและเครือข่ายเป็นอย่างดีว่าต้องการทำคดีดังกล่าวเพื่อให้ทักษิณผิดให้ได้ โดยไม่สนใจครอบครัวผู้บริสุทธิ์ที่ชอบกล่าวอ้างสักนิดเดียว เพราถ้าโต้งมันบริสุทธิ์ใจจริงก็ต้องประกาศให้คนไทยทราบว่าจะเป็นผู้ทวงความยุติธรรมคืนมาให้กับพวกเค้าให้มากรายที่สุด ไม่ใช่มาบอกลักษณะว่าแค่ทำคดี2-3รายได้ก็ทำให้ทักษิณเดือดร้อนได้  ตกลงจุดมุ่งหมายของโต้งมันไม่ได้สนใจความรู้สึกของญาติๆเหล่านั้นเลยใช่ไหม!?!


อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริงของคำพูดกรรมการตรวจสอบคดีฆ่าตัดตอนที่มีอดีตอัยการสูงสุด คณิต ณ นคร เป็นประธามฯ
ซึ่งมีเจตนาจะทำคดีนี้ให้โปร่งใส เพื่อนำผู้กระทำผิดทั้งด้านนโยบายและการปฎิบัติหน้าที่.....
คณะกรรมการฯ ไม่ได้กำหนดไว้ว่า 2-3 รายแต่อย่างไร
ทำได้มากเท่าใดก็เอาเท่านั้น

แต่ไม่หลงกล หลงเล่ห์เหลี่ยมร้ายของผู้กระทำผิดว่า
จะต้องหาให้ได้ครบ 2500 ศพ จึงจะยอมรับ..........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า




บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #63 เมื่อ: 30-08-2007, 14:45 »

เพ้อเจ้อ ซ้ำซาก ไปบอร์ดไหนเค้าก็ไล่ยังกะหมูหมา เค้าคงอ่านกันไม่รู้เรื่องว่า
จะพ่นเรื่องอะไร เลยไล่ไปเรียนหนังสือมาใหม่มั้ง  ต้องกลับมาตายรังกะโหลก
กะลานี่ เพราะจ่ายไว้เยอะคนอื่นเลยเกรงใจ
พูดบ้าอะไรก็ได้ วันๆ เลยตั้งแต่
กระทู้นินทาบอร์ดชาวบ้าน เหอ เหอ ด่าตามใบบอกนะเนี่ย 



ผมเข้าไปในห้องสังคมและการเมืองของเวบประชาไท
ด้วยความปรารนาดี อยากให้คนที่นั้นที่ยังไม่มืดมัว ไม่งมงาย ต้องการข้อมูลสองด้าน ได้รับรู้เรื่อง
ผมไม่"ถือสา" พวกทูน"ใบบอก"บนกระบาล เหมือนไม่เคยพฤติกรรม"ถือสา"
ผู้ใช้นามแฝง'อยากประหยัดให้ติดแก๊ส' ที่นี่เช่นกัน

คนพวกนั้นคิดว่าเขาก่นด่า สาปแช่งคนอื่น ๆ รวมทั้งผมด้วย
เป็นพฤติกรรมที่ได้รับความเห็นชอบ และสนับสนุนจากสองผัวเมีย
จำเลยคดีทุจริตต่าง ๆของคณะกรรมการ คตส.
และหนี"หมายจับ"ของศาลยุติธรรม....

พวกเขารับใช้"นายผู้ชาย" และ "นายผู้หญิง" ด้วยการจาบจ้วงสถาบันที่เป็นที่เคารพนับถือของคนไทยได้
ทำไม เขาจะใช้มารยาทหยายคายตามสันดานเดิมของพวกเขา กับผมไม่ได้.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า




เพราะบริวารสองผัวเมียฯ เข้าใจว่าเจ้านายของเขา "เพราะจ่ายไว้เยอะคนอื่นเลยเกรงใจ"
เวบพันทิพและเวบประชาไท จึงเกรงใจ ให้พวกรักเหลี่ยมฯ คนหนี"หมายจับ"ของศาลยุติธรรม ด่า จาบจ้วงได้........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-08-2007, 14:50 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
เบื่อไอ้เหลี่ยม
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 389


« ตอบ #64 เมื่อ: 30-08-2007, 14:54 »

สงสัยครับว่า EU ทำไมไม่มาดูตอนแก๊งค์ ไทยลักไทย จ้าง คนลงแข่ง เลี่ยงกฎหมายนะครับ

ผมว่า พอกลุ่ม EU เลือกตั้งมั่ง เราก็ใช้หนามยอกเอาหามบ่งครับ  ขอเข้าไปควบคุมการเลือกตั้งของ EU มั่ง กลัวว่าจะแข่งกันไม่โปร่งใส555555555
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #65 เมื่อ: 30-08-2007, 14:57 »

เลขาฯสอบฆ่าตัดตอน ยันไม่จ้องเช็คบิล'ทักษิณ'
 
30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:50:00
 
"ยืนยันไม่ได้เช็คบิลใคร ความจริงคืออะไรในเชิงวิชาการจะสะท้อนออกมา..บอกโลกได้ถึงความมั่นใจต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และความร่วมมือกับประชาคมโลกปราบยาเสพติด"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รายการ"สยามเช้านี้" ทาง ททบ.5 สัมภาษณ์ นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบศึกษา และวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษ และการนำนโยบายไปปฎิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียงและทรัพย์สินของประชาชน(คตน.) ถึงหลักการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบคดีฆ่าตัดตอน

ถาม: ชื่อของคณะกรรมการชุดนี้ยาวมาก ดูเหมือนหลายคำที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงเลยมันสื่อถึงอะไร

 ตอบ :  สื่อถึงภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้ ตรวจสอบศึกษาวิเคราะห์ นโยบายและการเอานโยบายนี้ไปใช้และมันเกิดความเสียหายจะเห็นชัดว่าภารกิจของเรา เราตรวจสอบศึกษาวิเคราะห์ในเชิงวิชาการเพราะเราเน้นเรื่องนโยบายตั้งแต่เราประกาศสงครามจนกระทั่งผู้ปฏิบัติเขาทำอย่างไร และพอเอามาใช้แล้วเกิดผลอะไร ตัวเลข 2,500 ศพ เกิดขึ้นต้องสังเกตุว่าตัวเลขจริงมั๊ยและการตาย ขณะนี้เชื่อมโยงนโยบายนี้หรือไม่ในเชิงวิชาการต้องมาดูกัน

ถาม: 2500 ศพมันเยอะมาก ทางปฏิบัติชาวบ้านสงสัยมั๊ยว่าจะเริ่มตรงไหนอย่างไรก่อน

 ตอบ : เริ่มต้นต้องกำหนดเวลา พอเริ่มต้นปั๊บมีเอกสารอะไรออกมาบ้าง

ถาม:  เริ่มจากไหนจากคำพูดของผู้นำหรือว่าเป็นนโยบายออกมา

 ตอบ : เราต้องดูว่า นโยบายนี้มาจากเอกสารมั๊ย มีคำพูดว่าอย่างไร สั่งการอย่างไรไปเรื่อย  เราก็มาวางเป็นจิ๊กซอ ต่อเป็นภาพ เราไม่บิดเบือน เราต้องเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จนกระทั่งเขามีคระกรรมการแล้ว 3-4 ชุด กรรมการดังกล่าวทำงานเป็นอย่างไร ก็นำมาวาง

ถาม: อย่างคำพูดอดีตนายกฯทักษิณ ที่โด่งดังมาก คือพวกค้ายาเสพติดมีทางเลือกสองทาง คือ ไม่นอนในคุก ก็ไปวัด อย่างนี้เป็นนโยบายมั๊ย

 ตอบ : ต้องไปให้ประธานอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และประะานอนุกรรมการที่จะหาผุ้รับผิดชอบเชิงนโบายมาตีความว่าจะสรุปออกมาได้อย่างไร

ถาม: เหมือนกับว่าคณะกรรมการอิสระชุดนี้พยายามจะเชื่อมโยงกับระหว่างนโยบายที่ประกาศออกมากับการตาย 2500 ศพ ว่าการฆ่าตัดตอนหรือวิสามัญฯ ที่เกิดขึ้น ว่ามันเกี่ยวพันกันแค่ไหน หมายความว่าต้องไปศึกษาทุกจุดหรือเปล่า

 ตอบ : ทุกจุด แต่ว่าเราไม่ใช่พนักงานสอบสวนไม่ใช่ตุลาการที่จะลงลึกทุกคดีแต่ต้องมีกระบวนการที่พอรับได้  

ถาม: ยกตัวอย่างเพื่อให้ประชาชนเห็นชัดเจน ว่ากระบวนการตรวจสอบเป็นอย่างไร มีคดีหนึ่ง คุณไกรศักดิ์ ชุณหวัณ พูดถึงเหยื่อรายหนึ่งถูกล็อตเตอร์รี 6 ล้านบาทมีคนข้างบ้านอิจฉา ก็ตั้งข้อกล่าวว่าว่าได้มาจากการค้ายาเสพติดและถูกฆ่าไป ถ้าต้องการหยิบคดีนี้ขึ้นมาเป็นคดีตรวจสอบ ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร

 ตอบ : คดีนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษดูรายละเอียดทั้งหมดจะเชื่อมโยงมากรรมการชุดนี้เพียงแค่เกี่ยวพันกับนโยบายปราบปรามยาเสพติดจริงมั๊ย ถ้าจริง ก็โอเคได้ประเด็นหนึ่ง ก็มองดูกระบวนการมันจริงมาได้อย่างไรเมื่อประกาศที่กรุงเทพ ทำไมมาผูกพันที่โคราช มันเป็นอย่างนี้เพราะว่าคนปฏิบัติเชื่ออย่างไรอย่างนี้จะสรุปออกมาได้นี่ถือเป็นอีกกรณี

ถาม: ก็หมายความว่าต้องไปคุยขอความร่วมมือกับตำรวจในพื้นที่

 ตอบ : ครับ คุยกับตำรวจในพื้นที่ คุยกับเหยื่อ ว่าเขารู้สึกอย่างไร คิดอย่างไรและสรุปออกมาเป็นเชิงกระบวนการ เรียกกว่าสุ่มนะครับเราคงทำไม่ได้ครบ 2500 แต่ตัวเลขต้องชัดมากกว่าเดิม 2500 พูดกันทั่วโลก จริงหรือไม่จริง ต้องชัดเจนว่าการปราบปรามยาเสพติดไม่ใช่สิ่งผิดการกล่าวหาต้องชัดเจน

ถาม: คณะกรรมการชุดนี้จะต้องหาข้อสรุปให้ได้ว่าจริงมีคดีฆ่าตัดตอนทั้งหมดกี่คดีกันแน่

 ตอบ : ใช่ครับ การตายที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ใหม่ๆบอก 7000 คดี แล้วค่อย ดาวน์ลงไป อย่างไรกันแน่ และมันเกี่ยวพันกับนโยบายจริงแค่ไหน

ถาม:  มีเวลาในการ

 ตอบ : เรากำหนดตัวเองไม่เกินปีหนึ่ง 10-12 เดือน นานกว่านั้นคงไม่ใช่

ถาม: เท่าที่อ่านดู ภารกิจสำคัญคือ หาผู้รับผิดชอบ ไม่ใช่หาผุ้กระทำผิด

 ตอบ : หาผู้รับผิดชอบ ยกตัวอย่าง ถ้า เรื่องนี้เกี่ยวพันกับนโยบายของรัฐบาลจริงหากเกิดความเสียหาย การเยียวยาตามกลไกตามกฎหมายต่าง ต่างมันเพียงพอมั๊ย หรือมันพ้นกำหนด ถ้ามีความเสียหาย เกิดขึ้นต้องมีคนรับผิดชอบ ประเทศไทยต้องรับผิดชอบ ฉะนั้นการรับผิดชอบเชิงนโยาบายมีความหมายทำนองนี้อย่างเรื่องพฤษภาทมิฬ ผมเองได้ใช้จ่ายงบแผ่นดินตามที่คณะกรรมการกำหนดมาได้เยียวยาญาติผุ้เสียหายจากเหตุการณ์ นี่เป็นสิ่งที่เราทำมาแล้ว เรายอมรับว่านี่คือความรับผิดชอบของอำนาจรัฐ

ถาม: คนที่อยู่ในข่ายต้องรับผิดชอบคือต้องระดับผู้นำทางการเมืองเลย

ตอบ : ความรับผิดชอบ ในความหมายรวมกลุ่มแต่คนละเรื่องที่ว่าเขาจะถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีอาญานั่นไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราจะทำหน้าที่รายงานเสนอรัฐบาลไป รัฐบาลต้องสั่งการเองตามขั้นตอน ว่าคดีนี้ดำเนินคดีกับใครพนักงานสอบสวนก็เริ่มต้นใหม่  

ถาม: การหาตัวผู้รับผิดชอบ เชิงนโยบายจะเป็นภาพรวมหรือเป็นคดี

 ตอบ : เป็นภาพรวม ต้องไม่ใช่เป็นคดี เพราะเราไม่ใช่พนักงานสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนต้องลงลึกถึงคดี

ถาม: ในทางปฏิบัติเราจะเชื่อมโยงอย่างไร  

 ตอบ : เราไม่เคยทำเรื่องนี่มาก่อน เราต้องเอาวิชาการมาจับ มีวิชาที่เรียกว่าการกำหนดนโยบายทางอาญา และการบริหารกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา เราไม่เอา ความรู้สึกมาจับ ไม่งั้นมันเสียหายกับประเทศชาติ ด้วยหลักวิชาการ 2 อันนี้เรามีจบปริญญาเอกทางกฎหมายอาญา 4 ท่านก็สามารถเอาหลักการเหล่านี้ไปจับได้

ถาม: ในฐานะเป็นกรรมการอยู่พอใจกับขอบข่ายของกรรมการชุดนี้มั๊ย

 ตอบ : ผมพอใจเพราะเป็นมิติใหม่ของการทำงานและเป็นบทบาทใหม่ ในการนำเอาหลักนิติธรรมมาใช้ ผมว่าเป็นสิ่งที่ผมยินดีที่จะทำงานนี้เพื่อประเทศชาติ ทุกท่านกรรมการทุกท่านจะมองเห็นว่าหลักนิติธรรมที่เราพูดบ่อยมันเป็นจริงอย่างไร ต่อไปกรรมการชุดนี้ จะเน้นต่อไปข้างหน้าว่านโยบายการเมืองนโยบายทางอาญาไม่ใช่สิ่งที่ผิด  แต่องค์ประกอบของผุ้ใช้อำนาจรัฐตามหลักประชาธิปไตยควรจะไปอย่างไรสังคมไทยจะมองเห็นและสามารถตรวจสอบตามอำนาจอธิปไตยของเราได้

ถาม: ถ้ามีคดีหรือกรณีที่ทางคณะกรรมการไปตรวจแล้วพบว่ามีตัวบุคคลที่ต้องรับผิดชอบหรือกระทำผิดชัดเจนจะทำอย่างไร

 ตอบ : พอรู้ถ้าเป็นนายก.นายข. พอรู้เบาะแสเราจะไม่ลงลึก เราจะใส่ในรายงานให้รัฐบาลไป การตรวจสอบในครั้งนี้ไม่ใช่เอาตัวคนทำผิดมาลงโทษ

ถาม: แต่ชาวบ้านหรือญาติเหยื่อจะเข้าใจมั๊ย

 ตอบ : เราต้องทำความเข้าใจกับสังคมไทย ว่ามันควรมีขั้นตอนนี้ก่อน  มันจะทำให้กระบวนการยุติธรรมมีทิศทาง

ถาม:  คณะกรรมการยังไม่เริ่มงานเลย ทางฝ่ายคุณทักษิณ และทีมทนาย ก็ตั้งป้อมว่ามีเจตนาที่จะเช็คบิล อดีตผู้นำ

 ตอบ : ต้องยืนยันว่าเราไม่ได้มาเช็คบิลใคร เราไม่ได้ทำงานเชิงทางการเมือง เราทุกคนมีเครดิตทางวิชาการ บางคนที่เป็นข้าราชการอย่างผมเป็นข้าราชการเชิงมืออาชีพ เราไม่ยุ่งเกี่ยวกันเมือง เราเป็นครูบาอาจารย์สอนหนังสือ ความจริงคืออะไรในเชิงวิชาการจะสะท้อนออกมาได้ชัดเจน


ถาม: จากประสบการณ์คุณ สุดท้ายกรรมการชุดนี้จะทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้แค่ไหน

 ตอบ : อย่างน้อยที่สุดเป็นพื้นฐาน ที่จะมองเห็นนำไปสู่เอาคนผิดมาลงโทษ ได้หรือไม่และมีคำตอบกับโลกว่าประเทศไทยมีความมั่นคงมั่นใจเรื่องการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการกำหนดตัวเองที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการปราบปรามยาเสพติดอย่างไร
 

 
 http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/30/WW03_0301_news.php?newsid=92052


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #66 เมื่อ: 30-08-2007, 15:21 »

แหม จะใช้หลัก เชื่อได้ว่า มาเช็คบิลทักษิณมันอายชาวโลกมั่กๆ นะ
จะมั่วนิ่มอะไรแค่ในประเทศก็พอ พวกฝุ่นใต้ตรีนเค้าก็ยังยอมรับได้ว่า
ประเทศนี้มันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยไหนแล้ว แต่จะไปแสดงหลัก
ปัญญาอ่อนนี้ เพื่อเอาผิดท่านประธานสโมสรฟุตบอลแมนฯซิตี้ ถ้า
ฝรั่งมันสวนกลับอะไรที่เป็นสากลกลับมาคงได้ขายขี้หน้าชาวโลก
อีกแล้ว แหมท่านผู้หลักผู้ใหญ่ยังเหลือหน้าให้ขายอีกเหรอ กิ๊วๆ
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #67 เมื่อ: 31-08-2007, 11:55 »

ลาวสั่งอายัดเงิน“แม้ว”-ตะเพิดนอมินี่ซิกแซ็กซุกหุ้นลาวโทรคม  (อ่าน 49 ครั้ง)

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000102555

อ่านรายละเอียดได้ค่ะ
---------------

ไปทำธุรกิจที่ไหน ก็ใช้มุขเดิม แล้วก็โดนไล่ตะเพิดเหมือนเดิม อีกไม่นานเรือใบผุๆสีฟ้า คงโดนเข้ามั่ง ซิกแซ็กยักย้ายถ่ายเท ตามนิสัยดั้งเดิม หนีภาษีเหมือนเดิม และก็โดนเช็คบิลล์เหมือนเดิม

เวลาเปลี่ยน คนไม่เปลี่ยน 


ลาวสั่งอายัดเงิน“แม้ว”-ตะเพิดนอมินี่ซิกแซ็กซุกหุ้นลาวโทรคม
 
โดย ผู้จัดการรายวัน 31 สิงหาคม 2550 08:58 น.
 
 
       ทางการลาวได้สั่งอายัดเงินของชินคอร์ปอเรชั่นในบริษัทวิสาหกิจผสมลาวโทรคม (Laos Telecom Co) หลังจากพบว่ามีการแอบงุบงิบขายหุ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในบริษัทชินนิตัน (Shinniton) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มนี้ถือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ ใน LTC ให้แก่บริษัท AsiaMobile บริษัทลูกในสิงคโปร์ที่ถือหุ้นใหญ่โดยเทมาเส็กโฮลดิ้ง (Temasek Holding) ที่เป็นเจ้าของชินคอร์ป
       
       กระทรวงคมนาคม ขนส่งไปรษณีย์และก่อสร้างของลาวที่ถือหุ้นใหญ่ 51 เปอร์เซ็นต์ ใน LTC ได้ขอให้รัฐบาลอายัดเงินของชินวัตร และยุติการโอนถ่ายเงินผลประโยชน์ เงินปันผลใดๆ มาตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากทราบว่ามีการขายหุ้นของ Shiniton ให้แก่ AsiaMobile เจ้าหน้าที่ของทางการลาวกล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ทางโทรศัพท์จากนครหลวงเวียงจันทน์เมื่อวันพฤหัสบดี (30 ส.ค.)
       
       ฝ่ายลาวยังไม่ทราบประสงค์ในการขายหุ้นในลาวโทรคมให้แก่กลุ่มเทมาเสกที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ปอยู่แล้ว และต้องการคำอธิบาย
       
       นอกจากนั้นทางการลาวไม่ยอมรับการขายหุ้นดังกล่าวของกลุ่มชิน เนื่องจากเป็นการกระทำผิดต่อสัญญาหลักที่มีการลงนามกันในวันที่ 8 ต.ค.2539 เพื่อร่วมทุนกันจัดตั้งบริษัทลาวโทรคม และ ให้กลุ่มชินวัตรต้องขอโทษอย่างเป็นทางการต่อรัฐบาลลาวและแก้ไขการกระทำดังกล่าว
       
 
 
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000102555


ข่าวนี้ทำให้คนรักทักษิณ จำเลยคดีทุจริตและหนี"หมายจับ"ของศาลยุติธรรม
ภาคภูมิใจที่คนที่รักคนใคร่ ไปประพฤติชั่วที่ประเทศลาว เพราะมีนิสัย สันดานคอร์รั่ปชั่น ฉ้อฉลเหมือนกัน..
จนรัฐบาลลาวดำเนิน"อายัด"ทรัพย์เช่นเดียวกับรัฐบาลไทย.....





บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #68 เมื่อ: 31-08-2007, 13:33 »

  รายงานพิเศษ : อย่าไว้ใจทาง...อย่า(เพิ่ง)วางใจ “อียู”!! 
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 สิงหาคม 2550 10:23 น.
 
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกฯ เห็นพ้องกกต.ไฟเขียวอียูเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง แต่ไม่เซ็นเอ็มโอยู

 
มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช.ย้อนถามอียู พร้อมให้ไทยเข้าไปตรวจสอบการเลือกตั้งในอียูด้วยหรือไม่

 
ยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต.งง ทำไมอียูต้องให้ไทยเซ็นเอ็มโอยู ทั้งที่การสังเกตการณ์เลือกตั้งที่ผ่านมา ไม่ต้องมีการเซ็น

 
รศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ถาม อียูมีความเป็นกลางทางการเมืองจริงหรือไม่

 
รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ข้องใจ ทำไมอียูไม่เข้ามาดูการเลือกตั้งของไทยเมื่อปี 48-49

 
ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตส.ว.ถามอียู ทำไมไม่ตรวจสอบการโกงกิน-การฆ่าตัดตอนของ รบ.ไทยที่มาจากการเลือกตั้งบ้าง


 
 
 
  กรณี “อียู” ต้องการเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยปลายปีนี้ โดยอ้างว่าก่อนหน้านี้ รบ.ไทยเคยเชิญ ซึ่งหากหมายถึง รบ.ทักษิณเคยเชิญ ก็น่าแปลกว่า ทำไมอียูไม่ส่งคนมาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยตั้งแต่เมื่อปี 48 และ 49 ทั้งที่มีข่าวสะพัดในขณะนั้นว่าโกงกันอย่างมโหฬาร นั่นไม่เพียงสร้างความสงนว่าเหตุใดอียูถึงมาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยช้าไป 1-2 ปี แต่อียูยังสร้างเงื่อนไขในการขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยครั้งนี้ด้วยการมัดมือ รบ.ไทยให้ต้องเซ็น “เอ็มโอยู” เพื่อที่อียูจะได้มีอภิสิทธิ์และตรวจสอบการเลือกตั้งได้ตามอำเภอใจ ทั้งที่ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า “อียู” มี “ความเป็นกลาง” พอที่จะรับรองการเลือกตั้งของไทยหรือไม่?
       
       คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายงานพิเศษ
       
       แม้การเลือกตั้งของไทยในอดีต จะเคยมีผู้แทนจากต่างประเทศขอเข้ามาสังเกตการณ์มากมายหลายประเทศ แต่ก็ยังไม่เคยมีสักครั้งที่จะขอเข้ามาในลักษณะที่ อียูหรือสหภาพยุโรป กำลังทำกับไทยขณะนี้ ที่บอกว่า ขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยที่จะมีขึ้นปลายปีนี้ แต่จะให้ไทยเซ็นเอ็มโอยูหรือข้อตกลงร่วมกันด้วย เพื่อให้อียูมีอภิสิทธิ์ต่างๆ ระหว่างเข้าสังเกตการณ์ เช่น “...ในการสังเกตการณ์ คณะผู้แทนของอียู มีเสรีภาพในการเดินทางไปยังสถานที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งการติดต่อขอข้อมูลจากพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิออกเสียง พนักงานของ กกต.ทุกระดับ รวมทั้งตัวแทนทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง ...กกต.จะต้องให้หลักประกันคณะผู้แทนของอียู เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงทุกขั้นตอน ทุกการประชุม ทุกการจัดการในการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดการเลือกตั้ง ...คณะผู้แทนของอียูจะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่ใดก็ได้ ทั้งในหน่วยเลือกตั้ง ที่นับคะแนน รวมทั้งเข้าไปดูในเรื่องการดูแลการบริหารการเลือกตั้งได้...”
       
       ขนาดหลายคนที่แม้ไม่มีโอกาสได้เห็นเงื่อนไขในเอ็มโอยูดังกล่าว ยังรู้สึกทะแม่งๆ ว่า อียูมีความจำเป็นใดถึงขนาดจะต้องให้ไทยเซ็นเอ็มโอยู เพราะลำพังแค่เข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งนั้น กกต.และรัฐบาลไทยก็ไฟเขียวอยู่แล้ว แต่พอได้เห็นท่วงทำนองความต้องการของอียูในเอ็มโอยูดังกล่าวแล้ว คงรู้สึกไม่ค่อยต่างกันว่า ตกลงอียูต้องการแค่เข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง หรือจะเข้ามาควบคุมจัดการการเลือกตั้งของไทยกันแน่!?!
       
        จึงไม่แปลกที่ท่าทีของนายกฯ สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ กกต.จะออกมาสอดคล้องกันว่า ไทยพร้อมให้อียูเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งได้ แต่ยังไงก็คงเซ็นเอ็มโอยูไม่ได้ เพราะไม่ต้องการให้คนอื่นมาใช้อำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ของไทย
       
       ขณะที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ย้อนถามอียูว่า ถ้าเซ็นเอ็มโอยู หมายความว่า ไทยสามารถเข้าไปตรวจสอบการเลือกตั้งในอียูได้เหมือนกันใช่หรือไม่ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า “อียูเป็นใคร เป็นสหประชาชาติก็ไม่ใช่ ถ้าอยากเข้ามาดูการเลือกตั้งของไทยว่าเป็นอย่างไร ก็ควรเข้ามาอย่างชาวบ้านทั่วไป จะจับตามองก็มองไป แต่อะไรที่เป็นเรื่องของเราก็เป็นเรื่องของเรา ถึงประเทศจะใหญ่จะเล็ก ก็เป็นประเทศเท่ากัน”
       
       ทั้งนี้ กกต.เปิดเผยว่า ผู้แทนอียูจะเข้าหารือเรื่องการเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยในวันที่ 6 ก.ย.นี้ แม้จะค่อนข้างแน่นอนว่าไทยไม่น่าจะเซ็นเอ็มโอยูกับอียูแน่ แต่ลองมาฟังมุมมองของหลายๆ ฝ่ายต่อท่าทีของอียูในครั้งนี้ว่า น่าจะมีอะไรแอบแฝงหรือไม่? และถ้าไทยปฏิเสธไม่เซ็นเอ็มโอยูแล้ว จะเกิดผลเสียหรือเกิดการแซงก์ชั่นจากอียูได้หรือไม่?

 
 
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000102628
 
 
 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #69 เมื่อ: 31-08-2007, 14:01 »

  นายยุวรัตน์ กมลเวชช อดีต กกต.ยืนยันว่า การเลือกตั้งเป็นกิจการภายในของไทย และการขอสังเกตการณ์การเลือกตั้งที่ปฏิบัติกันมา ก็ไม่มีการเซ็นเอ็มโอยูแต่อย่างใด
       
       “นี่เป็นเรื่องของกิจการภายใน ถ้าเขาเป็นงานวิจัยก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเป็นการสังเกตการณ์ทั่วไปเท่าที่เราปฏิบัติเนี่ย มันไม่มีการเซ็นเอ็มโอยู เว้นแต่กรณีที่เขามีส่วนในการที่จะมาช่วยในงานวิจัย มันถึงจะเป็นเอ็มโอยู สมมติอย่างกรณีที่เราจัดการประชุมร่วมกับองค์การเลือกตั้งเสรี และกรณีที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในบางประการ อย่างนั้นถึงจะเป็นเอ็มโอยู เช่น มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระหว่าง 2 ฝ่าย นั่นจะเป็นเอ็มโอยู คำว่า”สังเกตการณ์” มันต้องมีวัตถุประสงค์ว่า สังเกตการณ์คืออะไร มันไม่ใช่สังเกตเฉยๆ บางคนก็ส่งคนมาศึกษา ปกติเขามาจะมีวัตถุประสงค์ตามมาด้วย”
       
      ด้าน ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ อดีตเลขาธิการ กกต.บอกว่า  ที่ผ่านมาเคยมีหลายประเทศส่งผู้แทนมาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทย และไทยก็เคยส่งผู้แทนไปดูการเลือกตั้งในต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้นหากอียูจะขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทยในฐานะแขกของรัฐบาลหรือแขกของ กกต.ก็สามารถทำได้ แต่ไม่ใช่เข้ามาร่วมจัดการเลือกตั้งหรือส่งผู้แทนมาร่วมอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง
       
       “เอ็มโอยู ผมไม่ค่อยเข้าใจว่าความต้องการของเขาคืออะไร คือต้องการจะเข้ามาร่วมผิดชอบในการเลือกตั้งเลยหรือไง จะส่งผู้แทนหรือเขาจะตั้งผู้แทนเข้ามาอยู่ในหน่วยเลือกตั้งเลยหรือไง อย่างนี้ทำไม่ได้นะ เพราะโดยกฎหมายของเรา โดย รธน.และกฎหมายประกอบ รธน.ที่กำลังยกร่างกำลังจะออกมาเนี่ย เราใช้คนของเรา ต้องมีคุณลักษณะ มีคุณสมบัติอะไรต่างๆ ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศเอกราช เขาไม่มีสิทธิที่จะเข้ามา ถ้าหากว่าพวกที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รบ.ไทยหรือ กกต.เรา ถ้าไปยอมอย่างนั้น ผมคิดว่าไม่เห็นด้วย แต่ถ้าหากว่าเขาจะเป็นแขกของ กกต.แขกของ รบ.มาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เราก็พาเขาไปดูในที่ต่างๆ ในที่สมควร เป็นต้นว่า ในเขตเลือกตั้งใน กทม.หรือในจังหวัดใกล้เคียง หรือไปดูที่ภูเก็ต เชียงใหม่ เราจะได้โปรโมตการท่องเที่ยวไปด้วย เราจะได้ประโยชน์”
       
       ส่วนมุมมองของนักวิชาการนั้น   รศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองกรณีที่อียูต้องการให้ไทยเซ็นเอ็มโอยูเพื่อให้อียูเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งของไทยได้ว่า อาจเป็นไปได้ว่า กลุ่มอำนาจเก่าพยายามป่วนด้วยการตั้งข้อครหาว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความลำเอียง ดังนั้นในแง่หนึ่งการมีผู้เข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ถือเป็นเรื่องดี เพราะทำให้มีสักขีพยานว่าการเลือกตั้งครั้งนี้บริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ แต่การจะถึงขั้นเซ็นเอ็มโอยูให้อียูมาตรวจสอบการเลือกตั้งของไทยนั้น อ.ตีรณ เตือนว่า ต้องระมัดระวัง เพราะไม่มีใครการันตีได้ว่า อียูมีความเป็นกลางทางการเมืองหรือไม่
       
       “สถานการณ์ขณะนี้มันเริ่มไปสู่การเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นก็เป็นไปได้ว่า มีการสร้างข้อครหาขึ้นมาว่า การเลือกตั้งอาจจะมีความลำเอียงหรืออยู่ในอำนาจของทหารอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็อาจจะมีการตั้งข้อครหา แต่ข้อครหาเหล่านี้ น้ำหนักมันไม่ได้มาก เนื่องจากมันมีการลงประชามติและมีแบบแผนในการที่จะเลือกตั้งต่อไป เพราะฉะนั้นข้อครหาเหล่านี้คงเป็นเพียงแค่ความพยายามป่วนของกลุ่มอำนาจเก่า ประเด็นสำคัญคือ ประเทศไทยเราเป็นประเทศเสรี มีเสรีภาพ มีระบอบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นกระบวนการเลือกตั้งเนี่ยมีความจำเป็นที่จะต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความโปร่งใส เพราะฉะนั้นการที่มีสักขีพยานหรือมีผู้ที่สนใจที่จะมาสังเกตการณ์มากเนี่ย ก็เป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่ว่าการที่จะมีการเซ็นเอ็มโอยูกับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะเนี่ย มันก็อาจจะเป็นอะไรซึ่งต้องระมัดระวัง เพราะหน่วยงานที่มาติดต่อเนี่ย ทางเราอาจจะไม่สามารถรับทราบได้ว่ามีความเป็นกลางจริงหรือไม่ เพราะมันไม่ใช่เรื่องแค่ชื่อหน่วยงานนะ มันเป็นเรื่องของบุคลากรที่เขาใช้ด้วย เราไม่รู้ว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการเข้ามาสังเกตการณ์เนี่ย มีการฝักใฝ่ทางการเมืองหรือเปล่า เราไม่สามารถรับประกันได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องระมัดระวังการใช้เอ็มโอยู เป็นเครื่องมือในทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเก่าด้วย”
       
        ด้าน ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และ ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า ถ้าอียูแค่ขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยก็ไม่เป็นไร แต่ไม่น่าจะถึงขั้นต้องเซ็นเอ็มโอยู และว่า ถ้าไทยปฏิเสธไม่เซ็นเอ็มโอยู ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเรื่องการค้าการลงทุนที่ไทยเราส่งออกไปยังอียู 15% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6 แสนล้านบาท และไม่มีเหตุผลที่จะทำให้อียูเกิดความไม่พอใจจนเกิดการแซงก์ชั่นไทยตามมา
       
       “ถ้าเขาอยากรู้ เขาขอสังเกตการณ์ ไม่เห็นเป็นไร ก็เหมือนนักข่าวที่เข้ามาสังเกตการณ์ เข้ามาดู เข้ามาทำข่าว แต่เอ็มโอยู เป็นทางการเกินไป ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าทำไมจะต้องเซ็นขนาดนั้น กรณีของไทยในการเลือกตั้ง ถ้าเผอิญมันเป็นประเด็นที่โลกจับตามอง ก็น่าเป็นประเด็น ผมคิดว่ากรณีสถานการณ์ของประเทศต่างๆ ที่เป็นประเทศสังคมนิยมเนี่ย หรือมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อย่างกรณีของออง ซาน ซูจี อย่างนั้นเนี่ย สหประชาชาติเข้าไป และเขาก็แซงก์ชั่นได้ เขาแซงก์ชั่นโดยสหประชาชาติ เขาแซงก์ชั่นโดยความเห็นของอียู ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ของเรากำลังไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย แล้วเราเป็นกระบวนการเลือกตั้งภายใน แล้วเขาจะมาแซงชั่นเรา มันไม่มีเหตุผล”
       
       ขณะที่ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ปกติแล้ว การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศใด ต้องได้รับเชิญจากรัฐบาลประเทศนั้นๆ ก่อน ไม่ใช่อยู่ๆ นึกอยากจะเข้าก็เข้าไป เพราะเรื่องแบบนี้ต้องมีมารยาท อย่างไรก็ตาม อ.ไชยันต์ มองว่า ในแง่หนึ่ง การมีประเทศอื่นเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทย ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่คงไม่จำเป็นต้องเซ็นเอ็มโอยูอะไร และถ้าจะให้ดี ก่อนเข้าสังเกตการณ์ อียูควรได้รับการอบรมจาก กกต.และหน่วยงานต่างๆ ของไทยก่อน เพราะรูปแบบการซื้อเสียงของนักการเมืองไทยที่ผ่านมา อาจสลับซับซ้อนเกินกว่าที่อียูจะเข้าใจ ซึ่งจริงๆ แล้ว อียูน่าจะเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยเมื่อปี’48 และ ’49 มากกว่า
       
       “ที่จริงถ้าอียูจะมาดูควรมาดูตอนปี 48, ปี 49 ตอนนั้นพวกเจ้าหน้าที่สายการปกครองบ่นอุบเลยว่า ต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำเลย มีการเปลี่ยนหีบดื้อๆ เปลี่ยนถุงดื้อๆ กัน บ่นกันอุบเลย โกงก็ได้ โกงด้วยการใช้อำนาจรัฐ ทีนี้มาตรงนี้ ผมพูดแบบสมมตินะว่า ตัวรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ กลไกของ กกต.หรือกลไกของมหาดไทยจะโกงประเทศไทยในวันที่ 23 ธ.ค.นี้หรือไม่ ผมไม่ได้ห่วงว่ารัฐบาลชุดนี้ หรือ กกต.หรือมหาดไทยชุดนี้จะไปแทรกแซงการเลือกตั้งอะไรแบบนั้น เพราะในตอนลงประชามติ ผมก็คิดว่าค่อนข้างบริสุทธิ์พอสมควร ทีนี้ผมห่วงว่า ถ้าอียูมาเนี่ย พอมาดูแล้ว แล้วเห็นว่า การเลือกตั้งนี้โปร่งใสบริสุทธิ์ เพราะดูแต่แค่หย่อนบัตร แล้วพอผลออกมา สมมติผลของพรรคอำนาจเก่ามันขึ้นมาเยอะ มันก็จะมีการออกประกาศ อียูก็จะบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้บริสุทธิ์ยุติธรรม แต่กระบวนการก่อนหน้าวันเลือกตั้งเนี่ย ขอโทษการเลือกตั้งเมืองไทยนี่ มันไม่ใช่แค่ไปบีบบังคับคนมาลงให้เห็นๆ หรือไปลากคอใครมา แต่มันเป็นลักษณะที่ว่า มันตกลงกันลึกลับซับซ้อน หัวคะแนนพูดคุยกับชาวบ้านตอนกลางคืนในหมู่บ้าน เป็นญาติพี่น้อง หัวคะแนนก็เป็นญาติพี่น้องนั่งคุยกันอย่างนี้ แล้วอียูจะเข้าไปละเมิดเข้าไปฟังตรงนี้ได้ยังไง ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นถ้าอียูจะมาดูตรงนี้ อียูต้องผ่านการอบรมโดย กกต.หรือหน่วยงานของเราให้ความรู้ข้อมูลว่า กระบวนการซื้อสิทธิขายเสียงมันเป็นยังไง”
       
       อ.ไชยันต์ ยังแนะด้วยว่า เพื่อตัดปัญหากรณีเอ็มโอยู รัฐบาลน่าจะทำหนังสือเชิญอียูให้เข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยให้เป็นกิจลักษณะ และก่อนสังเกตการณ์ น่าจะมีการระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ-หน่วยงานต่างๆ และผู้มีความรู้เรื่องการทุจริตฉ้อฉลการเลือกตั้ง นำหลักฐานมากางและเปิดโปงให้อียูได้รู้กันไปเลยว่า พรรคการเมืองไหนเป็นอย่างไร ซึ่งตนเชื่อว่า ดีไม่ดีจะทำให้คนบางคนซึ่งอยู่ที่ลอนดอนเกิดอาการหน้าแหกด้วย
       
       ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีต ส.ว.และอดีตประธานคณะ กมธ.ต่างประเทศ วุฒิสภา  มองกรณีที่อียูต้องการให้ไทยเซ็นเอ็มโอยูเพื่อเปิดทางให้อียูเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งของไทยว่า นอกจากอียูจะทำเกินไปแล้ว ยังสะท้อนว่าอียูไม่ไว้ใจและดูถูกไทยด้วย ซึ่งส่วนตัวแล้วแปลกใจว่า ทำไมตอนที่รัฐบาลทักษิณยังอยู่ อียูไม่เข้ามาตรวจสอบการโกงกิน-การผูกขาดรัฐสภา และการฆ่าตัดตอนบ้าง
       
       “อันนี้เขาประพฤติเหมือนกับว่า เขาไม่ไว้วางใจเรา และเหมือนกับว่าดูถูกเราไปหน่อยวิธีการทำแบบนี้ ผมรู้สึกว่ามันเกินเหตุไปหน่อย มันก็แปลก พอตอนสมัยคุณทักษิณยังอยู่ การที่มีการโกงกินกัน การครอบงำทางสื่อ การผูกขาดการควบคุมรัฐสภา การผูกขาดทางสื่อ การที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพทางสื่อ การที่มีการฆ่าตัดตอนคนเป็นพันๆ คนเนี่ย และการฆ่านักโทษ ทรมาณ และการหายไปของผู้ที่ทำงานสิทธิมนุษยชน ที่แปลกที่สุดก็คือ ประเทศอียูเนี่ยไม่เอ่ยสักคำหนึ่งเลย ไม่พูดถึงสักคำหนึ่งเลย สนใจอย่างเดียวคือ การค้า สนใจอย่างเดียวคือเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจแค่นั้น”
       
       นายไกรศักดิ์ ยังตั้งคำถามถึงมาตรฐานความเป็นประชาธิปไตยของอียูด้วยว่า จุดสูงสุดของประชาธิปไตยในสายตาอียู อยู่ที่การเลือกตั้งเท่านั้นหรือ? แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มาโกงชาติบ้านเมือง ใช้อำนาจฆ่าฟันประชาชน อียูไม่พูดถึง-ไม่สนใจ หรือเห็นว่าไม่เป็นไร เพียงเพราะรัฐบาลนั้นมาจากการเลือกตั้งเท่านั้นหรือ?
       
       * หมายเหตุ * - หลังนายกฯ และ กกต.ส่งสัญญาณไม่เซ็นเอ็มโอยูแต่พร้อมให้ทางอียูเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทยได้ ปรากฏว่าอียูได้ออกแถลงการณ์เมื่อวานนี้(30 ส.ค.)โดยยังคงยืนยันว่า ถ้าไทยพร้อมให้อียูเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง รัฐบาลไทยและอียูจำเป็นต้องเซ็นเอ็มโอยู ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า อียูระบุในแถลงการณ์ว่าการสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศต่างๆ ของอียู (เช่น เอธิโอเปีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, กัมพูชา ฯลฯ) จะเป็นไปในลักษณะของความเป็น “หุ้นส่วน” กับประเทศนั้นๆ นั่นหมายความว่า อียูกำลังต้องการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนหรือร่วมจัดการเลือกตั้งของไทย ทั้งที่รัฐบาลไทยไม่ได้เชิญใช่หรือไม่?

 
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000102628
 
 
 
 
ถ้า EU หลงเชื่อข้อมูลจากลอบบี้ยิสต์ จำเลยหนี"หมายจับ" ศาลยุติธรรม อดีตแกนนำ ทรท. และคนรักทักษิณ จำเลยหนี"หมายจับ"ฯ จึงมีหนังสือ"สั่งการ" รัฐบาลไทยและคณะกรรมการ กกต. ให้ความร่วมมือและเซ็น MOU เพื่อให้คนของ EU อยู่เหนือการควบคุม กำกับ ปฎิบัติหน้าที่การเลือกตั้ง และได้"สิทธิพิเศษ" ต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าไปในคูหาเลือกตั้ง คูหารวบรวมผลการเลือกตั้งแล้ว......

วันนี้ EU จะรู้สำนีกและเข้าใจตนเองว่าถูกหลอกลวงอย่างไรบ้าง.....

ผมยินดีเมื่อมี "ตัวเสือก" เข้ามายุ่งเกี่ยวกิจกรรมภายในและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย ถูกการรวมตัวต่อต้าน คัดค้าน ชี้แจง อธิบายถึงความถูกต้อง ความเหมาะสม และ ไม่บังควรอย่างไรกับเนื้อหา สาระในหนังสือที่ส่งให้คณะกรรมการ กกต. จากนายกรัฐมนตรี ประธานฯ กกต. รัฐมนตรีต่างประเทศ นักวิชาการ/คณาจารย์ ผู้นำทางความคิด และประชาชนทั่วไป.....



มีคนเพียงกลุ่มเดียวที่ยินดี เต็มใจ สะใจ และสนับสนุนการก้าวล่วงอธิปไตยของประเทศไทยคือพวกคนรักทักษิณ อดีตนักธุรกิจการเมือง และอดีตนายกฯ ที่ร่อนเร่อยู่ต่างแดน เพราะไม่กล้ากลับมาสู้คดีที่ออก"หมายจับ" แล้ว รวมทั้งบริวาร ลิ่วล้อในเวบบอร์ดต่าง ๆ และ สื่อฯ บางฉบับ เพราะคนพวกนี้ ปากบอกว่ารักชาติ รักพระมหากษัตริย์ แต่ใจนั้นปฎิเสธ ไม่ยอมรับ จะเห็นได้จากการแสดงความคิดเห็นที่ผ่านมา....


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-08-2007, 14:10 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Kizz
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 24


« ตอบ #70 เมื่อ: 31-08-2007, 14:04 »

ที UN ไม่ใช่พ่อ
พอถึงคราว EU กลับเรียกร้องกระเสือกกระสน
ขำ.....

ปล.หมั่นไส้ M79.....
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #71 เมื่อ: 31-08-2007, 14:21 »

กกต.-นายกฯ ปัดไม่ใช่เมืองขึ้น ไม่เซ็นเอ็มโอยูให้สภาพยุโรปตรวจสอบเลือกตั้ง 23 ธ.ค.  
 


การกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปเป็นวันที่ 23 ธ.ค. 2550 แม้ว่าจะยังมีทั้งความเห็นสนับสนุนและความเห็นคัดค้าน แต่ปรากฏว่ากลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู (The European Union-EU) ขอเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย และขอทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU (Memorandum Of Understand) กับคณะกรรมการการเลือกตั้งและรัฐบาลไทย โดยอียูจัดประเภทอยู่ในกลุ่มประเทศที่ล้มเหลว (Fail State) เช่นเดียวกับประเทศติมอร์


ก่อนหน้านี้ในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกาก็ได้ติดต่อโดยตรงไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอตรวจสอบการลงประชามติ

 

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หลังหารือกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ถึงกรณีที่สหภาพยุโรปต้องการส่งคณะเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งของไทยในช่วงปลายปีนี้แล้วเห็นตรงกันว่า ทางการไทยจะไม่ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ซึ่ง กกต.ได้มีหนังสือตอบกลับไปให้ทางอียูรับทราบแล้ว

 

"ได้มีการหารือกับประธาน กกต.ซึ่งแนวทางมี 2 วิธีการ คือ มาสังเกตการณ์หรือมาควบคุม ซึ่งการลงนามถือเป็นการควบคุมมากกว่า ซึ่งท่าน (ประธาน กกต.) ก็ไม่เห็นด้วย" พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว

 

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับกำหนดวันเลือกตั้งนั้นยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เห็นว่าที่ได้กำหนดไว้ในเบื้องต้นเป็นวันที่ 23 ธ.ค.นั้นมีความเหมาะสมแล้ว

         

ส่วนกรณีที่มีผู้ตังข้อสังเกตถึงการกำหนดวันเลือกตั้งโดยไม่ได้ฟังความเห็นจากพรรคการเมืองอาจส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโฆษะเหมือนปี 49 นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้พรรคการเมืองที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามจาก กกต.ได้ แต่เท่าที่ฟังแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับการกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 ธ.ค.50

 

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ไม่น่าจะส่งผลกระทบให้ต้องเลื่อนจัดการเลือกตั้งออกไป เพราะบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปีจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อยภายในเดือน ก.ย.นี้

 


ด้านน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับที่จำเป็นต่อการเลือกตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวกรณีที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป(อียู)จะขอส่งตัวแทน เข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยแต่ที่ไหนที่มีการเลือกตั้ง อียูก็จะให้ความสนใจมาสังเกตการณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายรัฐบาลว่าต้องการให้อียูเข้ามาในแบบใด โดยรัฐบาลต้องไปปรึกษากับ กกต. ในการกำหนดขอบเขต ทั้งนี้หากประเทศไทยจะปฏิเสธก็สามารถทำได้แต่ไม่ดี อย่างไรก็ตามตนเห็นว่า อียู ควรมาเพียงแค่สังเกตการณ์ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรมเท่านั้นไม่ควรที่จะมายุ่ง เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเลือกตั้งที่ถือเป็นกิจการภายใน


 

“เราเปิดโอกาสและอำนวยความสะดวกให้กับอียู ในบางเรื่องเท่านั้นแต่จะให้อำนวยความสะดวก ทุกอย่างไม่ได้ ซึ่ง กกต.ต้องทำความเข้าใจว่าเขามีอำนาจในขอบเขตแค่ไหน จะให้เขาเข้ามาจู้จี้ไม่ได้ เพราะเป็นกิจการภายในของเรา เรามีกฎหมายเลือกตั้งของเราอยู่ ” น.ต.ประสงค์กล่าว

 


ผู้สื่อข่าวถามว่า หากรัฐบาลไทยปฏิเสธอียู จะมีผลกระทบในเรื่องการค้าตามมาหรือไม่ น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า อียูมีสติที่จะพิจารณา ว่าเรื่องไหนมีอำนาจทำได้และสามารถทำได้แค่ไหน

 


เมื่อถามว่าประเทศไทยถูกจับตามองการจัดการเลือกตั้งเป็นพิเศษ เพราะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นใช่หรือไม่ น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า ต่างประเทศให้ความสนใจการเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งว่าจะมีการช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษหรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ในการจัดการ


ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่าการที่อียูขอเข้ามาสังเกตการณ์มีเงื่อนงำอื่นซ่อนอยู่ น.ต. ประสงค์กล่าวว่า อียู มีผู้แทนอยู่ในประเทศไทยคือเอกอัครราชฑูต โปรตุเกส ในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาไม่นานได้เชิญตนไปรับประทานอาหารร่วมกัน

 


ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ที่สหรัฐอเมริกา เรียกร้องให้ยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก 35 จังหวัดก่อนการเลือกตั้ง น.ต.กล่าวว่า ตนไม่ทราบข่าว ที่สหรัฐจะมาเรียกร้องอย่างนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และตนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องยกเลิกกฎ อัยการศึกเพราะต้องให้สิทธิเจ้าหน้าในการรักษาความสงบเรียบร้อยและกฎอัยการศึก ก็ไม่ได้เป็นอันตรายกับประชาชนที่เป็นคนดี สำหรับกลุ่มการเมืองโดยเฉพาะกลุ่มไทยรักไทยเดิมที่เรียกร้องในเรื่องนี้ตนเข้าใจว่ามีความประสงค์บางอย่าง หรือต้อง การอำนวยความสะดวกให้กับหัวคะแนนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามกฎอัยการศึกคงไม่ได้คงอยู่ตลอดเพราะเมื่อมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่คงจะยกเลิกได้

 

นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึง การที่อียูขอเข้ามาดูการเลือกตั้งของไทยว่า จริงๆแล้ว ก็ยินดีอยู่แล้ว ไม่ใช่เฉพาะทางอียูอย่างเดียวเท่านั้นที่จะเข้ามาสังเกตการณ์ อยู่ที่ กกต.ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ให้ข้อคิดเห็นไปว่า เอ็มโอยู หรือบันทึกช่วยจำที่ต้องทำร่วมกับเขานั้น ตนเห็นว่า มันคงยากในทัศนะของ กกต. คงไม่ไหว ถ้าจะให้คน 4-5 ร้อยคนเข้ามา แล้วเราจะทำอย่างไร เรามีประวัติศาสตร์ของเราในการเลือกตั้ง เราไม่ใช่ประเทศที่จะมานั่งเข้าไปในเต๊นท์ ไปดูว่าเป็นอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่า ไม่น่าจะมีความจำเป็นที่ลงนามเอ็มโอยู

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากไม่ยอมในการลงนามเอ็มโอยู จะชี้แจงอย่างไร นายนิตย์ กล่าวว่า ไม่เห็นเป็นไร ไม่ลงนามก็คือไม่ลงนาม กกต.ก็ต้องตัดสินใจ ซึ่งเอ็มโอยูนี้ ตนได้ส่งผ่านไปยัง กกต. และที่ผ่านมาไทยก็ไม่เคยมีกรณีนี้มาก่อน แต่ในประเทศอื่นอาจจะมี เมื่อถามต่อว่า ถ้าเราไม่ลงนามจะส่งผลกระทบ ต่อความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยของไทยหรือไม่ในมุมมองต่างประเทศ นายนิตย์ กล่าวว่า คงไม่

 

“คุณคิดว่า จะต้องมีใครมาสอนให้เรามีการเลือกตั้งและมาคอยดูว่าคุณเข้าไปกากบาทถูกหรือผิด ประเทศเรามีประวัติในการเลือกตั้งมามากมายพอสมควร ในหัวใจผม ฐานะที่ผมเป็นคนไทย ผมไปลงคะแนนทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง และที่อ้างว่า เพราะประเทศล้มเหลวในการเลือกตั้งนั้น อยากถามพวกคุณว่ามันจริงหรือไม่ ผมคนหนึ่งที่คิดว่าไม่รับกับข้อกล่าวหานี้ เพราะผมไม่คิดว่ามันล้มเหลว โอเค เรามีปัญหาของเรา แต่เราก็แก้ของเราได้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าว

 

ด้านนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เรื่องนี้เราคงไม่สามารถยอมได้ เพราะจะทำให้เราเป็นเหมือนเมืองขึ้น เราตั้งใจทำการเลือกตั้งให้ตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ใครๆ ก็มาดูได้ว่าโปร่งใสหรือไม่ แต่เขาไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ว่าใครจะมาอยู่เหนือกฎหมายของเรา ดังนั้น คนที่จะมาตรวจสอบต้องอยู่ในกฎของเราเท่านั้น

 


"อยู่ๆ จะเข้าไปในหน่วยไปชะโงกดูในคูหาคงไม่ได้ และอย่างก่อนหน้านี้ กลุ่มอียู ก็เคยทำอย่างนี้ในประเทศอินโดนีเซีย ตอนแรกบอกว่าจะเข้ามาไม่กี่สิบคน แต่สุดท้ายเข้ามาสองร้อยห้าสิบคน ทำให้ทำงานลำบาก ส่วนของเรานี่เขาแจ้งว่าต้องการเข้ามาถึง 250 คน ซึ่งผมก็ขอย้ำกับเจ้าหน้าที่ว่าหากจะมีคนมาตรวจสอบการเลือกตั้ง ก็ขอให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้อยู่ในขอบเขต"

 


นายอภิชาต กล่าวด้วยว่า อียู ติดต่อมาว่าจะขอเข้ามาตรวจสอบการเลือกตั้ง และขอทำเอ็มโอยู ซึ่งเขาจะส่งตัวแทนเข้ามาพูดคุยในปลายเดือนหน้า โดยมากประเทศที่เขาเข้ามาตรวจสอบจะเป็นประเทศเล็กๆ ซึ่งเราก็ยินยอมที่จะให้เขาเข้ามาสังเกตการณ์ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเราเท่านั้น และจะไม่มีการทำเอ็มโอยู อย่างเด็ดขาด เพราะถ้าทำก็เท่ากับว่าเราต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของเขา ซึ่งการเข้าไปตรวจสอบของเขาก็ไม่ได้มีการทำเอ็มโอยูกับทุกประเทศแต่ทำกับบางประเทศเท่านั้น และการที่จะเข้ามาถึง 250 คน เราเห็นว่ามันมากเกินไป เพราะจะทำให้เราดูแลลำบากโดยเฉพาะเรื่องการรักษาความปลอดภัย


 

  นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. เปิดเผยว่า ระหว่างที่มีการหารือเรื่องวันเลือกตั้งกับพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี  ได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบแล้ว และนายกฯ ก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้ทำเอ็มโอยู เพราะหากเราไปทำสัญญาผูกมัดจะทำให้เจ้าหน้าที่ของเราทำงานลำบาก และเขายังจะไม่อยู่ภายใต้กฎหมายของเราอีกด้วย

 


ทั้งนี้ เอ็มโอยู ที่ทำกันตามปกตินั้นจะมีสองประเภท คือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว  และประเภทที่ล้มเหลว (Fail State) เช่น ติมอร์ ซึ่งเขาจัดไทยอยู่ในกลุ่มหลังนี้

 


"เอ็มโอยูที่เขาทำกับเรานั้นจะให้เจ้าหน้าที่ของเขามีอำนาจอย่างมาก อาทิเช่น เข้าไปในหน่วยเลือกตั้งได้ ทั้งๆ ที่กฎหมายของเราห้ามคนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป เขาสามารถติดต่อขอข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ทุกคนแม้แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูง เขาสามารถแถลงข่าวในนามของตัวเองก็ได้ ซึ่งเรามองว่าเรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ที่เขาจะไม่อยู่ใต้กฎหมายของเรา"

 


นายสุทธิพล กล่าวว่า ได้คุยกับ กกต.อินโดนีเซีย ที่อียูเคยเข้าไปตรวจสอบ แม้ว่า กกต.อินโดนีเซีย ไม่ยอม แต่รัฐบาลยอมเซ็น ทำให้เขาทำงานได้ยากลำบากและมีความอึดอัดใจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ของเรานายกฯ บอกแล้วว่าจะไม่ยอมเซ็นเอ็มโอยูเช่นนี้

 


นอกจากนี้ เขาจะกำชับกับเจ้าหน้าที่ให้ดูแลเรื่องคนที่จะมาตรวจสอบการเลือกตั้ง เพราะเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขามีวัตถุประสงค์อะไร เพราะหากเขาต้องการจะตรวจสอบก็ควรจะทำเรื่องผ่านมาที่ กกต. เพื่อให้เป็นไปตามระบบไม่ใช่ทำอย่างนี้ ดังนั้น หากใครจะมาขอตรวจสอบต้องเข้ามาที่ กกต.ไม่ใช่ติดต่อไปเองตามที่ต่างๆ

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9387&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
 


 
แม้แต่"หน้าแรก"ของเวบประชาไท ก็รายงานข่าวอย่างนี้
ไม่ได้บิดเบือน เบี่ยงเบนเป็นอื่น.....
 
จึงไม่ต้องสงสัยว่าคนรักทักษิณ จำเลยหนี"หมายจับ"ศาลยุติธรรม จะได้ข้อมูลและกำชับจาก"ใบบอก"
ให้แสดงความคิดเห็นอย่างที่อ่านไปแล้ว....

พฤติกรรม สันดานของคนกลุ่มนี้ปฎิเสธความรักชาติ รักสถาบันพระมหากษัตริย์
รู้สึกยินดี สะใจ สนับสนุนการละเมิดอธิบไตยของ EU อย่างไรบ้าง


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: