ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
15-01-2025, 09:41
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คุยกันสามเรื่อง (นิธิ เอียวศรีวงศ์) - 1. จะให้เลือกระหว่างอะไรกับอะไร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คุยกันสามเรื่อง (นิธิ เอียวศรีวงศ์) - 1. จะให้เลือกระหว่างอะไรกับอะไร  (อ่าน 1780 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 31-07-2007, 02:41 »

คุยกันสามเรื่อง

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ผมมีเรื่องอยากคุยเกี่ยวกับการลงประชามติอยู่ 3 เรื่อง

1/ ผมชอบความเปรียบของท่านนายกรัฐมนตรีในเรื่องการลงประชามติมาก ท่าน
บอกว่า ระหว่างของที่ท่านยื่นให้ดูต่อหน้า กับของที่ท่านกำไว้ข้างหลัง ประชาชน
ควรเลือกอะไร

ใช่เลยครับ การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ประชาชนต้องเลือกระหว่างสิ่ง
ที่เขายื่นให้ กับอะไรก็ไม่รู้ที่ผู้มีอำนาจซ่อนไว้ข้างหลัง หากไม่เอาสิ่งที่ยื่นให้ สิ่งที่
ต้องเอาอาจเลวร้ายเสียยิ่งกว่าก็ได้


ประชามติคือการถามความเห็นของประชาชนว่า จะเลือกระหว่างอะไรกับอะไร ต้องมี
ความชัดเจนเพียงพอ ผู้เลือกจึงจะสามารถใช้วิจารณญาณได้ ถ้ามีอะไรที่ถูก "อิ๊บ" ไว้
ก่อน ก็คือไม่ได้เลือกนั่นเอง

แม้จะดูน่าเอ็นดูเหมือนการละเล่นของเด็กโกงๆ แต่บ้านเมืองไม่ใช่การละเล่นของเด็ก
หากอยากให้เลือกจริง ก็ควรว่ามาให้ชัด จะให้เลือกระหว่างอะไรกับอะไร

ขอโทษเถิด บ้านเมืองเป็นของคุณคนเดียวหรือกลุ่มเดียวตั้งแต่เมื่อไร จึงคิดว่าคนอื่นๆ
ทั้งหมดมีสิทธิเลือกเพียงระหว่างสิ่งที่คุณยื่นให้ กับอะไรที่คนอื่นๆ ไม่มีสิทธิจะรู้ก่อน

ฉะนั้นก่อนวันที่ 19 สิงหาคม คมช. กับรัฐบาลควรประกาศให้ชัดว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ
ไม่ผ่านการลงประชามติ จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด และจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ
นั้นในเรื่องอะไรบ้าง


ต้องไม่ลืมว่า การผ่านประชามติ คือการให้ความชอบธรรมแก่รัฐธรรมนูญ หากประชา-
มติถูกจัดอย่างฉ้อฉล เช่นไม่มีอะไรให้เลือก, ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำว่าคะแนนเสียงเท่าไร
ของผู้มีสิทธิจึงจะถือว่าผ่าน, ไม่รณรงค์ทางสื่อของรัฐอย่างเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ฯลฯ
ประชามติก็เป็นเพียงพิธีกรรม ซึ่งไม่อาจให้ความชอบธรรมแก่รัฐธรรมนูญได้


ก็เพิ่งขับไล่รัฐบาลเก่าลงด้วยเหตุผลว่า คะแนนเสียงอย่างเดียวไม่ใช่ความชอบธรรม
ไม่ใช่หรือ

เพราะเกณฑ์หรือกติกาการลงประชามติไม่ชอบมาพากลดังนี้ ผมจึงไม่สู้จะเข้าใจข้อ-
เสนอของบางท่านว่า ควรมีช่องให้กาว่า "ไม่ออกเสียง" ด้วย เพราะช่องนี้ไม่มีความ-
หมายในเกณฑ์หรือกติกาของประชามติ เนื่องจากไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดไว้ว่า ร่าง
รัฐธรรมนูญจะผ่านได้ ต้องได้คะแนนเสียงเป็นสัดส่วนเท่าใดของผู้มีสิทธิทั้งหมด การ
กาว่า "ไม่ออกเสียง" กับการไม่ไปลงประชามติจึงมีค่าเท่ากัน คือไม่ถูกนับว่าอะไร
เลยสักอย่างเดียว

เราอาจได้รัฐธรรมนูญใหม่จากเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิเพียง 20% (ประมาณ
เกินกึ่งหนึ่งของ 8 ล้านเสียง) เท่านั้นก็ได้ ผู้มีสิทธิ 80% ที่ไม่ไปใช้สิทธิ กับผู้กาว่า
"ไม่ออกเสียง" คือคนที่ไม่ถูกนับเป็นพลเมืองของชาติเท่าๆ กัน

วนกลับไปสู่ปัญหาเก่า คือผู้ที่ไปใช้สิทธิ ก็ไม่รู้จะเลือกระหว่างอะไรกับอะไร แต่ผล
ของมันก็เท่ากันคือ หากมีผู้รับร่างเกินกึ่งหนึ่งของผู้ไปใช้สิทธิ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็
กลายเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเปราะบางต่อการถูกฉีกทิ้งง่ายกว่า
รัฐธรรมนูญ 2540

มติชน วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10733
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01300750&day=2007/07/30&sectionid=0130

ขอพูดถึงประเด็นแรกนี้ก่อน

เคยเขียนแล้วว่าไหนๆ เสียทรัพยากร (เงิน, แรงงาน, เวลา, ฯลฯ)
จัดลงประชามติทั้งที ควรจะถามให้ชัดกว่านี้ได้
มิใช่เพียง เอา/ไม่เอา ร่าง รธน. ฉบับมัดมือชกนี้

ถามเพิ่มหรือมีช่องให้เขียนระบุได้สิว่า ถ้าไม่รับร่างฉบับนี้ แล้วจะเอาฉบับไหน

หรือว่า จริงๆ ก็ไม่ได้อยากรู้ว่า ประชาชนต้องการอะไร
หรือที่หวั่นลึกๆ อยู่ในใจ กลัวคำตอบที่ได้ จะเป็นว่า
คนส่วนใหญ่ต้องการฉบับที่พวกท่านกำจัดไป
ไม่อยากได้ของที่พวกท่านยัดเยียดมา


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-07-2007, 02:50 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #1 เมื่อ: 31-07-2007, 02:50 »

ผมว่ายากทุ่มงบโฆษณาซะเยอะเลยนิฉบับนี้นะ

อย่างน้อย ผมว่าก็ต้องผ่านแบบเฉียดๆ80เปอร์เซ็น

หรือไม่ก็ท่วมท้น เพราะเล่นทุ่มซะเยอะขนาดนี้

คนไทยเป็นประเภทหลงโฆษณาซะด้วยสิ

อีกอย่าง ผมว่าทาง คมช เอารัฐธรรมนูญฉบับปี2475 ท่าหากไม่ได้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มาใช้เชื่อผมมั้ย

หรือไม่ก็เอาฉบับ รสช ต่อยอดแบบความต้องการ บิ๊กบังซะเลยมันดี
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #2 เมื่อ: 31-07-2007, 02:59 »

^
^
ไม่เชื่อค่ะ


คมช. บางท่าน บอกมาแล้วว่าจะเอา ฉบับ 2540 มาให้
แต่ยังไม่เป็นประกาศ (ทางการ) และไม่บอกว่าจะแก้ที่ใด ... บ้าง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #3 เมื่อ: 31-07-2007, 03:03 »

เรื่องปี2475 ขำๆนะ

คุณเชื่อรัฐบาลที่อำนาจอยู่ในมือด้วยเหรอครับ
ผมว่าเขาจะเอาฉบับ รสช ก็ได้นะ

ผมว่าสมัยนี้ ก็ดีกว่าสมัยถนอม ที่ร่างเป็นชาติก็ไม่เสร็จ
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
NA-KORN
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 221


« ตอบ #4 เมื่อ: 31-07-2007, 03:04 »

ขอพูดถึงประเด็นแรกนี้ก่อน

เคยเขียนแล้วว่าไหนๆ เสียทรัพยากร (เงิน, แรงงาน, เวลา, ฯลฯ)
จัดลงประชามติทั้งที ควรจะถามให้ชัดกว่านี้ได้
มิใช่เพียง เอา/ไม่เอา ร่าง รธน. ฉบับมัดมือชกนี้


ถามเพิ่มหรือมีช่องให้เขียนระบุได้สิว่า ถ้าไม่รับร่างฉบับนี้ แล้วจะเอาฉบับไหน

หรือว่า จริงๆ ก็ไม่ได้อยากรู้ว่า ประชาชนต้องการอะไร
หรือที่หวั่นลึกๆ อยู่ในใจ กลัวคำตอบที่ได้ จะเป็นว่า
คนส่วนใหญ่ต้องการฉบับที่พวกท่านกำจัดไป
ไม่อยากได้ของที่พวกท่านยัดเยียดมา

ทำประชามตินะ ไม่ได้ทำแบบสอบถามหรือทำโพล มันก็ต้องมีแค่ 2 ตัวเลือกคือรับหรือไม่รับเท่านั้น
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #5 เมื่อ: 31-07-2007, 03:25 »

คุยกับ อ.นิธิ นะ, ไม่ได้คุยกับคนเอามาโพสต์

'จาน ผมว่าความเห็น'จาน หลัง ๆ ชักหละหลวมมีช่องโหว่ ให้ฮุคคืนถึงนับถึงน็อคได้ตลอดเวลาเลย
'จานนิธิ คนเก่าของผมหายไปไหน
หรือ ประเทศยุค "เลือกข้าง" ทำให้'จานเป๋ ไม่เป็นมวย เพราะโมหคติบังตาไปแล้ว

ประเด็นที่'จานโวยวาย คือ สงสัยว่า ถ้าไม่เอาฉบับนี้ แล้วไม่รู้ว่าจะเอาฉบับไหนมาให้

หมัดสวนก็คือ
1. แล้วทำไมไม่เอาฉบับนี้ซะสิ้นเรื่องสิ้นราว จะได้หายสงสัยว่าเขาจะไปงัดฉบับไหนมาแทน

2. ที่ไม่เอาฉบับนี้ เพราะรังเกียจว่าเปื้อนมือเผด็จการ งั้นก็ไม่ต้องพูดอะไรต่อแล้ว หุบปากไปเลย ไม่ต้องมายุ่งกับเรื่องนี้อีก เพราะถึงเอาฉบับอื่นมา มันก็ผ่านการจับของมือเผด็จการที่'จานเกลียด เหมือนเดิมแหละ

3. มีรัฐธรรมนูญฉบับไหน ที่ประชาชนรับรู้ เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย ต้องการ-ไม่ต้องการมาก่อนบ้าง ก็เห็นมีครั้งนี้แหละ ที่เกิดมีคนกระแดะ (ครั้งแรกในโลก) อยากร่างรัฐธรรมนูญแล้วให้คนลงความเห็นว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอคนร่างกระแดะ คนรับก็เลยทำตัวกระแดะ ทำเป็นสะดีดสะดิ้งโวยวาย ว่ายัดเยียดอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มาถามความเห็นประชาชนก่อนอย่างโน้นอย่างนี้
  อย่าว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลยนะ อายุ'จานก็มากแล้ว ผ่านรัฐธรรมนูญมากี่ฉบับแล้วล่ะ เมื่อก่อนไม่เห็นโวยวายรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ที่ร่างออกมาให้ใช้เลย
  พอมีคนบ้าทำรัฐธรรมนูญฉบับแหวกแนว ต้องลงประชามติก่อน ถึงจะใช้ได้ ก็เกิด "บ้า" ตามกันไปใหญ่
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #6 เมื่อ: 31-07-2007, 03:48 »

รับ-ไม่รับก็เหมือนกันน่ะแหละ

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #7 เมื่อ: 31-07-2007, 06:33 »

ชนชั้นปกครองในยุคเผด็จการทหาร มันช่างดูถูกวุฒิภาวะของประชาชนชาวไทยว่าบ้องตื้นชอบ
อะไรง่ายๆ คิดว่าคนไทยจะโง่ไปรับร่างหมกเม็ดสืบทอดอำนาจกันหมดหรือไง เขียนภาษากำกวม
สามารถตีความในทางเผด็จการแบบเนียนๆ โดยเฉพาะข้อ 309 อำนาจล้นฟ้า เพราะโยงถึงประกาศ
คปค ส่วนฉบับเดิมๆ เคยเห็นกันมามันหมกเม็ดอะไรไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าประกาศใช้ของเก่า อันไหนไม่
ดีก็ระบุให้รัฐบาลชุดใหม่ช่วยๆ กันเสนอสภาแก้ ให้มันสมบูรณ์ ดูดีกว่าเยอะไม่เจอหมกเม็ดแล้วต้อง
เสียใจทีหลังถ้ารู้ว่าโดนต้ม

แต่ถ้าผลเป็นคนไทยรับมากกว่าแล้วมันไม่ได้โกงก็ต้องยอมรับสภาพแล้วว่าคนไทยชอบอะไรที่
มันหมกเม็ด
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #8 เมื่อ: 31-07-2007, 09:20 »

รัฐธรรมนูญ 2540 ก็เกิดจากการ "ลงคะแนน" เลือกตัวแทนเข้าไปเป็น สสร. เหมือนกัน

ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์ตามแนวคิดที่ อ.นิธิ นำเสนอมา  คณะ สสร. ที่จัดทำรัฐธรรมนูญ 40
ก็ไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งประเทศเหมือนกัน เป็นแค่ตัวแทนของประชาชนที่ไปใช้สิทธิ
เลือก สสร. และเป็นตัวแทนเฉพาะคนที่ลงคะแนนให้ผู้สมัคร สสร. ที่ชนะเสียด้วย

ทักษิณที่เคยลงสมัคร สสร. แล้วสอบตก ยังเคยอ้างว่าตัวเองไม่ใช่คนเขียนรัฐธรรมนูญ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

จากความเห็นของ อ.นิธิ คราวนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าการเป็นนักวิชาการ จะทำหน้าที่
ได้อย่างแม่นยำ ต้องรักษาสถานะการเป็น "ผู้วิจารณ์" โดยไม่ลงมาเป็น "ผู้เล่น" เสียเอง
แต่ถ้าลงมาเป็นผู้เล่นเสียแล้ว การออกความเห็นใดๆ ก็อาจบิดเบี้ยวไปได้เหมือนกัน

เป็นแบบนี้ผมอยากให้อาจารย์นิธิกลับไปอยู่ตรงที่เดิม จะเป็นประโยชน์กับสังคมมากกว่า
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #9 เมื่อ: 31-07-2007, 09:29 »

อ.นิธิ

เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กลายเป็น มหาวิทยาลัยก่อนบ่ายคลายเครียด อย่างที่เขาว่าไว้แล้วจริงๆ 
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #10 เมื่อ: 31-07-2007, 13:23 »

2/ จั่วหน้าใหญ่สุดของโฆษณาฝ่ายต่อต้านรัฐประหารคือ "โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ คือ
ล้มรัฐประหาร"
ผมเดาเอาว่าผู้ออกแบบโฆษณาคงหวังว่า จั่วใหญ่นี้จะกระตุ้นให้ผู้อ่าน
คิดกับประโยคนี้

ถ้าอ่านภาษาไทยแตก ความหมายประธานของประโยคนี้คือ "ล้มรัฐประหาร" ประเด็น
จึงมาอยู่ที่ว่า เราควรล้มการรัฐประหารออกไปจากระบบการเมืองไทยเสียทีหรือไม่

ผมเคารพความเห็นของคนจำนวนหนึ่งที่ว่า ไม่ควรล้ม เพราะการรัฐประหารเป็นส่วน
หนึ่งของระบบ check and balance ในการเมืองไทย (ซึ่งมีอุปสรรคในเชิงโครงสร้าง
ต่อระบอบรัฐบาลที่มาจากตัวแทนประชาชน) แม้ผมจะเห็นว่าความเห็นเช่นนี้ออกจะ
ไร้เดียงสา เพราะตัวอำนาจที่ก่อรัฐประหารนั้น ไม่มีระบบ check and balance อยู่
ด้วย
จึงมักสร้างความเสียหายแก่ส่วนรวมมากกว่า แม้กระนั้นก็เคารพความเห็นเช่นนั้น
ว่ามีค่าควรแก่การนำมาถกเถียงแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้

แต่ว่าเฉพาะความเห็นที่ว่า รัฐประหารไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมือง ผมคิด
ว่า มีคนแสดงความเห็นเช่นนี้อยู่มาก อย่างน้อยก็ด้วยปาก เพราะรัฐธรรมนูญที่คณะ
รัฐประหารสร้างขึ้น ล้วนพยายามลอกความคิดต่อต้านรัฐประหารของรัฐธรรมนูญฉบับ
2517 มาเกือบทุกฉบับ ฉะนั้นจึงมีข้อบัญญัติป้องปรามการรัฐประหารต่างๆ รวมทั้ง
ฉบับร่าง 2550 นี้ด้วย ถือว่าการต่อต้านการรัฐประหารเป็นสิทธิอย่างหนึ่งของประชา-
ชน (ลอกมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 อีกทีหนึ่ง)

การเขียนหลักประกันของกระดาษไว้บนกระดาษเป็นความคิดที่ "ตลก" และก็ได้พิสูจน์
หลายครั้งหลายหนแล้วว่า ไม่เป็นผลอะไรเลย การสร้างหลักประกันให้แก่รัฐธรรมนูญ
หรือการป้องปรามการรัฐประหารจึงอยู่ที่สังคม ซึ่งจะให้พลังแก่ระบบบริหารและตุลาการ
ในการรักษาระบอบกฎหมายไว้
(เช่น อปท. ทั้งประเทศไม่ฟังคำสั่งของรัฐมนตรีมหาด-
ไทยซึ่งคณะรัฐประหารตั้งขึ้น เพราะไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือตุลาการเลิกยึดหลักว่า
อธิปัตย์ของรัฐเกิดจากอำนาจดิบ
เพราะเท่ากับนำประเทศไทยกลับไปสู่ซ่องโจร)

กล่าวโดยสรุปก็คือ จะป้องปรามการรัฐประหารได้ สังคมต้องทำเอง โดยระมัดระวัง
ไม่ให้เสียเลือดเนื้อ (เช่น อย่ามองหาวีรบุรุษ เพราะวีรบุรุษมักซ่อน "ญัตติ" แฝงส่วนตัว
ไว้เสมอ)

จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามที การรัฐประหารในครั้งนี้ สัญญาว่าจะให้มีการลงประชามติ
รับหรือไม่รับ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันมาจากสภาซึ่งคณะรัฐประหารตั้งขึ้นเป็นผู้ร่าง
จึงเป็นโอกาสอันดีที่สังคมส่วนที่ต่อต้านการรัฐประหาร (ทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะแต่ คมช.
เพียงกลุ่มเดียว) จะได้ร่วมมือกันโหวตล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสีย ... เพื่อทำให้การรัฐ-
ประหารอันอาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต เป็นสิ่งที่ดำเนินไปได้ยากขึ้น


ฉะนั้นโหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญจึงคือการล้มรัฐประหาร - ไม่ใช่ล้มคณะรัฐประหารชุดนี้
อย่างเดียว แต่ล้มหรือแผ้วถางทางไปสู่ภูมิคุ้มกันของสังคมต่อการรัฐประหาร (การ
ดำเนินการที่ขัดรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย) ทุกชนิดตลอดไป

ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง และสอดคล้องกับจั่วหัวตัวเล็กกว่าที่
ว่า "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหาร" และสอดคล้องกับภาพปืนที่จี้ไปยัง
ผู้ลงประชามติไม่รับร่าง อันเป็นภาพภูมิหลังของโฆษณา

แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ลงโฆษณาก็คำนึงถึงเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญด้วย จึงได้ตัดเอา
ข้อเขียนของนักวิชาการที่คัดค้านเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ หรือคัดค้านกระบวนการ
ลงประชามติ มาแปะไว้ข้างๆ ... พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เหมือนการโฆษณาทั้งหลาย
ย่อมมุ่งจะดึงดูดการสนับสนุนให้กว้างที่สุดเป็นธรรมดา ...

ผู้ต่อต้านการรัฐประหารก็ควร "โหวตล้ม"
ผู้ที่สนใจแต่เนื้อหาของตัวร่างก็ควร "โหวตล้ม"
ถ้าทั้งสองอย่างยิ่งควร "โหวตล้ม" เป็นสองเท่า


ผมเห็นคอลัมนิสต์หลายคนวิจารณ์ว่า แค่ร่างรัฐธรรมนูญมาจากการรัฐประหารอย่างเดียว
ไม่เป็นเหตุผลให้ต้องโหวตล้ม ต้องดูเนื้อหาด้วย ผมก็ไม่ทราบว่าผู้ลงโฆษณาล้มเหลวที่
จะสื่อความ หรือคอลัมนิสต์อ่านภาษาไทยไม่แตก ทำให้ประเด็นข้อเสนอของผู้ลงโฆษณา
ไม่ได้รับการพิจารณาถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในสังคมเท่าที่ควร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มาก็แย่ เนื้อหาก็ห่วย
หากเห็นด้วย ช่วยกันโหวต "ไม่เห็นชอบ"

แต่ถ้าอยากให้รัฐประหารอยู่คู่สังคมไทย
และคนกลุ่มหนึ่งอยู่เหนือกฏหมายตลอดไป (มาตรา 309)
ก็เชิญใช้สิทธิของคุณรับรองอำนาจนั้น ด้วยการเลือก "เห็นชอบ"
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #11 เมื่อ: 31-07-2007, 13:34 »

ผิดตั้งแต่หัวข้อแล้วครับ
จริงอยู่ถึงแม้การโหวตไม่เห็นด้วย อาจจะแสดงถึงการไม่ชอบรัฐปรหาร
แต่ก็มีคนที่ไม่เห็นด้วยในเนื้อหาแต่ก็ไม่ได้จะล้มรัฐประหาร จึงโหวตไม่รับ
การที่รธน.ไม่ผ่านจึงไม่ได้หมายความว่าจะล้มรัฐประหาร
และถึง รธน.ไม่ผ่านจริง เขาก็จะนำรธน.ฉบับอื่นมาปรับใช
้(หน้าตาก็ตงไม่ต่างจากร่างฯเท่าไหร่หรอก) ซึ่งก็เป็นอำนาจของคมช.อยู่ดี

สิ่งที่จะเกิดขึ้นจึงไม่ใช่ล้ม คมช. แต่เป็นข้ออ้างที่ นปก.จะเอาไปหาเรื่องชุมนุมต่อเท่านั้น
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #12 เมื่อ: 31-07-2007, 19:35 »

3/ ไม่นานมานี้ พ่อค้าผลไม้ซึ่งซื้อกันเป็นประจำถามผมว่า ถ้าไม่ไปลงประชามติในวัน
ที่ 19 ส.ค. จะมีความผิดหรือไม่ ผมจึงบอกเขาว่าไม่มีความผิดอะไร เพราะกฎหมาย
ไม่ได้กำหนดโทษผู้ไม่ใช้สิทธิไว้ เขาจึงแสดงความโล่งอกว่าเขาไม่ชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ จึงไม่อยากไปลงประชามติ ผมต้องรีบบอกเขาว่าอย่าทำอย่างนั้นสิ ควรไปลง
ประชามติ เพื่อช่วยกันคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เขาแสดงความแปลกใจว่าทำได้ด้วย
หรือ ผมยืนยันว่าทำได้แน่ และควรทำด้วย

การโฆษณาเรื่องประชามติของรัฐเกิดผลในความรับรู้ของประชาชนอย่างไร คงไม่ต้อง
อธิบายให้มากความกว่านี้นะครับ

เพราะการโฆษณาของรัฐซึ่งยึดครองสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้เด็ดขาด ทั้งแม่ไก่ ทั้ง อสม.
ทั้งทหาร ฯลฯ ระดมกันโฆษณาอย่างที่เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้ บวกด้วยเกณฑ์หรือกติกา
การลงประชามติที่หละหลวม ผมจึงเชื่อว่าถึงอย่างไร ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะผ่าน
การรับรอง แต่การออกไปลงคะแนนเสียงไม่รับร่างฯ ก็ยังมีความสำคัญสำหรับอนาคต
ของประเทศ

ทุกฝ่าย แม้แต่ฝ่ายที่ยึดอำนาจบ้านเมืองเวลานี้ รวมทั้งพรรคการเมืองที่กระสันจะจัด
ตั้งรัฐบาลทุกพรรค ก็ยอมรับว่าในที่สุดร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ต้องถูกแก้ไขในภายหน้า
แต่จะแก้ไขอย่างไร ตามแต่ผลประโยชน์ของคณะรัฐประหาร, ผลประโยชน์ของเทคโน-
แครตที่เข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร, ผลประโยชน์ของพรรคการเมืองที่ไม่เคยให้ความ
สำคัญแก่ประชาชนหรือประชาธิปไตย, หรือแก้เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติอัน
หมายถึงประชาชน ก็ขึ้นอยู่กับพลังอะไรที่จะเข้ามากำกับควบคุมการแก้ไขในภายหน้า

ฉะนั้นคะแนนเสียงของผู้ไม่รับร่างจึงมีความสำคัญในอนาคต แม้เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการ
ลงประชามติก็ตาม ผมจึงอยากเรียกร้องคนที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ (ด้วยเหตุผล
ใดก็ตาม) ช่วยออกไปลงประชามติกันให้เต็มที่ ถึงท่านจะแพ้ แต่ท่านได้ช่วยวางฐาน
ของการที่ประชาชนไทยจะกำกับควบคุมการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในอนาคต ทวง
ชาติของเราคืนมาเป็นของประชาชนเสียที โดยวิถีทางสันติวิธีด้วย

บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #13 เมื่อ: 31-07-2007, 19:44 »

ที่มาก็แย่ เนื้อหาก็ห่วย
หากเห็นด้วย ช่วยกันโหวต "ไม่เห็นชอบ"

แต่ถ้าอยากให้รัฐประหารอยู่คู่สังคมไทย
และคนกลุ่มหนึ่งอยู่เหนือกฏหมายตลอดไป (มาตรา 309)
ก็เชิญใช้สิทธิของคุณรับรองอำนาจนั้น ด้วยการเลือก "เห็นชอบ"


ไม่เชื่อครับ

ว่าถ้าโหวตรับ รธน. 50 แล้วรัฐประหารจะอยู่คู่สังคมไทย
เพราะ รธน. ฉบับไหนๆ ก็กันรัฐประหารไม่ได้


ส่วนที่ว่าคนกลุ่มหนึ่งอยู่เหนือกฏหมาย
รับ-ไม่รับ คนประเภท โอ้ค ดวงเฉลิม หมูแฮม ก็ยังมีอยู่เสมอ

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #14 เมื่อ: 31-07-2007, 22:15 »



เห็นด้วยครับที่ว่า ถ้าไม่ผ่าน จะเอา ของเก่ามาใช้แบบไหนตัดหรือเพิ่มตรงไหนไปบ้าง ควรจะเอามาให้เปรียบเทียบดูด้วย ...เราก็มีสิทธิจะได้รู้เหมือน ๆ กัน

แต่ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ผมก็ยังอยากให้มีการเลือกตั้งที่กำหนดเดิม รวมทั้งถ้าไม่ผ่าน อยากให้นำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมาใช้ และ กำหนดไว้เลยว่าให้มีการตั้งสภาร่างใหม่ และ มีการทำรัฐธรรมนูญใหม่ (อีกครั้ง)
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #15 เมื่อ: 01-08-2007, 00:51 »

หัวข้อที่ 2 เรื่อง "โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ คือล้มรัฐประหาร" นั้น

เนื่องจากค่อนข้างแน่ว่ากลุ่มที่รณรงค์ให้โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้นำฉบับ 2540 กลับมาใช้
ดังนั้นในมุมกลับผมมองว่าการรณรงค์ให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้คือการส่งเสริมให้มีรัฐประหารอีก
เพราะเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดการรัฐประหารก็คือทางตันที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2540 เอง

ถ้าเอารัฐธรรมนูญ 2540 เอากลับมาใช้ใหม่ นักการเมืองก็แค่ทำตามวิธีเดิมตามรอยพรรคไทยรักไทย
เดี๋ยวก็ไปสู่ทางตันเกิดรัฐประหารขึ้นมาอีก เพราะช่องโหว่ในฉบับ 2540 นั้นรู้กันทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
และจากการใช้งานก็เห็นๆ กันอยู่ว่าระบบตรวจสอบในรัฐธรรมนูญ 2540 ใช้การไม่ได้เลย

ผ่านไปถึงหลังเลือกตั้งจะไปฝากความหวังว่านักการเมืองจะแก้รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ระบบตรวจสอบ
สามารถใช้งานได้ จะมองโลกในแง่ดีเกินไปหรือเปล่าล่ะครับ?


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อดีเด่นของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เห็นเด่นชัดก็คือระบบตรวจสอบต่างๆ ฝ่ายตุลาการมีส่วนร่วมมากขึ้น
ซึ่งน่าเชื่อถือได้ว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบเดิมๆ ที่ให้พวกเดียวกันอย่าง สภาผู้แทน (+วุฒิสภา)
ไปควบคุมรัฐบาลซึ่งตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็รู้กันอยู่ว่าฮั้วกันตลอดมา

ฝ่ายต้านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จะบอกว่าทำให้ฝ่ายตุลาการก้าวก่ายฝ่ายบริหาร ผมไม่เห็นมีปัญหาตรงไหน
เพราะที่ผ่านมาให้ฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารก็เห็นๆ แล้วว่าทำงานจริงๆ ไม่ได้

การที่ฝ่ายบริหารถูกตรวจสอบจากระบบที่เป็นอิสระและเชื่อถือได้อย่างร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ต่างหาก
ที่น่าจะเป็นความหวังน่าจะทดลองนำมาใช้ เพราะจะทำให้ไม่เกิดทางตันจนนำไปสู่รัฐประหาร


ดังนั้นผมเสนอในมุมกลับว่า "โหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ คือการสถาปนาระบบป้องกันรัฐประหาร" 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-08-2007, 00:55 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #16 เมื่อ: 01-08-2007, 01:15 »

หัวข้อที่ 3. ไม่รับร่าง รธน. = ทวงชาติคืนมาเป็นของประชาชน โดยสันติวิธี

ผมอ่านแล้วก็งงๆ ว่าตอนนี้ชาติไม่ได้เป็นของประชาชนหรืออย่างไร การรัฐประหารครั้งนี้
ก็เห็นแล้วว่าประชาชนเกือบทั้งประเทศไม่ได้ต่อต้าน ไม่ได้เดือดเนื้อร้อนใจมากมายอะไร
ไม่งั้นก็คงลุกฮือออกมาต่อต้านรัฐประหารกันเป็นแสนเป็นล้านคนทั่วประเทศแล้ว

แต่ความจริงทุกคนก็เป็นปกติสุขดี ไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนมากมาย และรอได้ที่จะมีการเลือกตั้ง
หลังจากการรัฐประหารประมาณ 1 ปีตามที่ คมช. ประกาศเอาไว้ตั้งแต่ต้น

ที่สำคัญผมไม่เห็นว่าการรับร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ชาติไม่เป็นของประชาชนตรงไหน
เพราะถ้าชาติไม่ใช่ของประชาชนก็ไม่ต้องเอารัฐธรรมนูญมาให้ลงประชามติแล้วสิครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #17 เมื่อ: 01-08-2007, 09:50 »

2/ จั่วหน้าใหญ่สุดของโฆษณาฝ่ายต่อต้านรัฐประหารคือ "โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ คือ
ล้มรัฐประหาร"
ผมเดาเอาว่าผู้ออกแบบโฆษณาคงหวังว่า จั่วใหญ่นี้จะกระตุ้นให้ผู้อ่าน
คิดกับประโยคนี้



ถ้าประชามติผ่าน นั่นหมายถึง ประชาชน ต้องการรัฐประหาร ใช่ หรือ ไม่  ..........ผมว่าไม่ใช่มั๊ง

 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #18 เมื่อ: 01-08-2007, 12:36 »

"โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ คือล้มรัฐประหาร"

"โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ คือเอาทักษิณกลับมา"


ถูกทั้งสองประโยคนะผมว่า



บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: