"อารีย์ วงศ์อารยะ" ยุค "ขนคน" ชอบธรรมคอลัมน์ โครงร่างตำนานคน
โดย การ์ตองชัดเจนไปแล้ว ว่าการจัดพาหนะรับ-ส่งประชาชนมาลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ใน
วันที่ 19 สิงหาคมที่จะถึงนี้
หากทำโดยหน่วยงานราชการถือเป็นความชอบธรรม
เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งตีความว่าเป็นแค่การอำนวยความสะดวกให้ประชาชน
ไม่เกี่ยวกับการชี้นำให้กาบัตรไปในทางใดทางหนึ่ง
การตีความเช่นนี้ ฟังแล้วมีเหตุผล เพราะเมื่อจะให้ประชาชนมาร่วมลงประชามติก็ควร
จะหาทางอำนวยความสะดวกให้
อย่างไรก็ตาม เหตุผลนี้ถูกบางฝ่ายโต้แย้ง ว่าเป็นการตีความที่เป็นเพียงแค่อาศัย
อำนาจสร้างความชอบธรรม
ในอดีตการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมาลงคะแนน ไม่ถือว่าเป็นปัญหา
แต่หลังจากการหยิบยกข้อเท็จจริงบางอย่างขึ้นมาเพื่อหาทางให้การเลือกตั้งโปร่งใส
มากขึ้น
ข้อเท็จจริงที่ว่านั้นคือ ผู้สมัครที่มีหัวคะแนนกว้างขวาง และมีอิทธิพลในท้องถิ่น
สามารถทำการขนคนมาลงคะแนนได้มากกว่าผู้สมัครทั่วไป และยิ่งหนักขึ้นไปอีก
คือ หากในหมู่บ้านใดชาวบ้านรับเงิน หรือผลประโยชน์จากหัวคะแนนของผู้สมัคร
ถึงเวลาหัวคะแนนนั้นจะไปขนผู้รับผลประโยชน์นั้นมาลงคะแนนให้ตามที่ตกลงไว้
และสามารถตรวจสอบได้ว่า แต่ละหน่วยเลือกตั้งใครรับประโยชน์ไปแล้วไม่มาลงให้
ซึ่งถือว่าเป็นการหักหลัง ซึ่งจะต้องรับมาตรการตอบโต้ สร้างความเสียหายให้กับ
กระบวนการเลือกตั้ง
หลังจากนั้น
เพื่อความโปร่งใส จึงมีการออกกฎหมาย
ห้ามจัดพาหนะรับส่งคนมา
ลงคะแนน ซึ่งรวมถึงหน่วยราชการด้วย โดยถือเสียว่าการมาลงคะแนนเป็นเรื่อง
"หน้าที่ของประชาชน" ประชาชนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย
การขนคนมาลงคะแนนจึงถือว่ามีความ
ผิดทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้ขนจะเป็นใครแต่การลงประชามติครั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยที่มีนายอารีย์ วงศ์อารยะ เป็นรัฐมนตรี
ว่าการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชน จัดพาหนะนำ
ประชาชนมาลงประชามติ
ในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายของนายอารีย์ครั้งนี้ แม้จะมีเหตุผลที่ไม่น่าจะ
เป็นปัญหา เพราะกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานราชการ มีภาพของความเป็นกลาง
ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นแค่การอำนวยความสะดวกอย่างบริสุทธิ์ใจ
ซึ่งไม่น่าจะมีข้อกังขาใดๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องธรรมดาทุกเรื่องราวจะต้องมีคนที่มองต่างมุมออกไป
มุมที่มองต่างก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทางเลือกอยู่แค่ 2 ทาง คือรับ หรือไม่รับ
เท่านั้น
ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรรับ เป็นหลายกลุ่มที่เห็นว่า
เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็น
ไปในทิศทางนำประเทศไปสู่การนำของกลุ่มข้าราชการ หรือที่เรียกขานกันว่า "ระบอบ
อำมาตยาธิปไตย"ฝ่ายที่แสดงออกชัดเจนว่า "ควรรับ" คือกลุ่มทหาร รัฐบาล และข้าราชการ
คล้ายกับว่า
"ประชามติ" ครั้งนี้ เป็นการต่อสู้กันระหว่าง ฝ่ายนิยมอำนาจแบบราชการ
กับฝ่ายที่นิยมอำนาจจากประชาชนเมื่อกระทรวงมหาดไทย เป็นกลไกสำคัญของราชการ และเป็นที่รับรู้กันว่าประชาชน
ไทยเราส่วนใหญ่ยังถูกชี้นำได้ง่าย
กลไกราชการซึ่งมีสิทธิจัดพาหนะรับส่งประชาชนมาแสดงประชามติ จึง
น่าจะเป็นการ
ชี้นำ อย่างไรก็ตาม เสียงของฝ่ายที่คัดค้าน แสดงออกได้ไม่ดังนัก เพราะการเมืองที่ผ่านมา
เป็นการต่อสู้ระหว่างพรรค ก่อให้เกิดความเคยชินว่า "ข้าราชการเป็นกลไก" ที่เป็นกลาง
ดังนั้น แม้ความรู้สึกของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจะมอง "ขนคนไปลงเลือกตั้ง" ด้วยความรู้สึก
ว่าไม่ค่อยชอบธรรม
แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ดูเหมือนส่วนใหญ่จะขอบคุณกระทรวงมหาดไทยที่ช่วยให้
เดินทางไปคูหากาบัตรได้สะดวกขึ้น
มติชน วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10732http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01soc02290750&show=1§ionid=0113&day=2007/07/29