ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
10-01-2025, 20:59
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สมคิด แนะรัฐใช้เงินบาทแข็งให้เป็นประโยชน์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สมคิด แนะรัฐใช้เงินบาทแข็งให้เป็นประโยชน์  (อ่าน 1216 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 15-07-2007, 12:48 »

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=T&newsid=269592

อ้างถึง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ โดย นายสมคิด ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ในขณะนี้ว่ารัฐบาล ควรดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือจากประชาชนและนักลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันในการแก้ปัญหาการส่งออกในระยะสั้น เอ็กซิมแบงค์ ธนาคารพาณิชย์และ ธปท. ควรจะร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหาเอกชนโดยเลือก บริษัทเอกชนลงทุนเข้ามา พูดคุยหารือเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาสถานะ และ ภาระการขาดสภาพคล่องของเอกชน และนักลงทุนกลุ่มส่งออก เช่นเดียวกับรัฐบาล ซึ่งควร จะต้องเร่งตัดสินใจในการ ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ที่จำเป็นด้วย ไม่ควร ต้องปล่อย ให้เกิดหลังเลือกตั้ง แล้วให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล ซึ่งรัฐบาลควรใช้โอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งตัวครั้งนี้ให้เป็นประโยชน์

ความเห็นของนายสมคิด บาทแข็งก็ใช้เป็นประโยชน์ได้ ซึ่งก็ไม่มีอะไรจะคัดค้าน ค่าเงินนั้น แข็งหรืออ่อน ก็มีประโยชน์กันคนละด้าน

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่โง่ไปใช้หนี้ IMF จนหมดไปในคราวนั้น เรามาใช้ในคราวที่บาทแข็งนี้ หนี้มันจะถูกลง เมื่อบาทแข็งก็ควรรีบใช้หนี้ต่างประเทศซะ บาทอ่อนค่อยไปกู้มาใหม่ อย่าโง่แบบทักษิณ 
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 15-07-2007, 14:19 »

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=T&newsid=269592

ความเห็นของนายสมคิด บาทแข็งก็ใช้เป็นประโยชน์ได้ ซึ่งก็ไม่มีอะไรจะคัดค้าน ค่าเงินนั้น แข็งหรืออ่อน ก็มีประโยชน์กันคนละด้าน

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่โง่ไปใช้หนี้ IMF จนหมดไปในคราวนั้น เรามาใช้ในคราวที่บาทแข็งนี้ หนี้มันจะถูกลง เมื่อบาทแข็งก็ควรรีบใช้หนี้ต่างประเทศซะ บาทอ่อนค่อยไปกู้มาใหม่ อย่าโง่แบบทักษิณ 

ดูเหมือนทักษิณไม่เคยโง่สักครั้ง เพียงแต่วัตถุประสงค์จริงๆ นั้นอย่างหนึ่ง แต่ข้ออ้างที่เอามาใช้โฆษณาหาเสียงนั้นอีกอย่างหนึ่ง
พอเวลาผ่านไปข้ออ้างที่เอามาใช้ก็เลยกลายเป็น "ข้ออ้างโง่ๆ"

ถ้าบอกวัตถุประสงค์จริงตั้งแต่แรกว่าอยากบริหารงบประมาณตามใจฉัน ไม่อยากให้มีใคร (อย่าง IMF) มาควบคุมก็เลยเร่งคืนหนี้
แบบนี้ก็ชัดเจนกันไปแล้วแต่อาจไม่ได้คะแนนเสียง การไปโฆษณาว่าตัวเองปลดแอกประเทศไทยให้มีอิสรภาพก็ได้ผลตามต้องการ
จนถึงป่านนี้ยังมีฝ่าย Pro-T พร่ำเพ้อเป็นผลงานอยู่เลย

น่าจะมีคนประเมินนะครับว่าถ้าไม่เร่งคืนหนี้ตอนนั้น แต่คืนไปตามกำหนดเวลาจะประหยัดในรูปเงินบาทได้เท่าไหร่
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15-07-2007, 14:22 »

บาทอ่อนก็เร่งส่งออก
บาทแข็งก็เร่งนำเข้า (มาแปรรูป) รอจังหวะบาทอ่อนก็ค่อยส่งออก...
บันทึกการเข้า

ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15-07-2007, 14:44 »

ผมก็แปลกใจรัฐบาลเหมือนกันว่า ทำไมดำเนินนโยบายเร่งการนำเข้าวัตถุดิบออกมาบ้าง เพื่อลดแรงกดดันกระแสเงินไหลเข้าออกมาสักอย่าง
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #4 เมื่อ: 15-07-2007, 14:49 »

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาปฐมนิเทศน์นักศึกษาใหม่ โดย นายสมคิด ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ในขณะนี้ว่ารัฐบาล ควรดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือจากประชาชนและนักลงทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันในการแก้ปัญหาการส่งออกในระยะสั้น เอ็กซิมแบงค์ ธนาคารพาณิชย์และ ธปท. ควรจะร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหาเอกชนโดยเลือก บริษัทเอกชนลงทุนเข้ามา พูดคุยหารือเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาสถานะ และ ภาระการขาดสภาพคล่องของเอกชน และนักลงทุนกลุ่มส่งออก เช่นเดียวกับรัฐบาล ซึ่งควร จะต้องเร่งตัดสินใจในการ ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ที่จำเป็นด้วย ไม่ควร ต้องปล่อย ให้เกิดหลังเลือกตั้ง แล้วให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล ซึ่งรัฐบาลควรใช้โอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งตัวครั้งนี้ให้เป็นประโยชน์


ขณะเดียวกันในการแก้ปัญหาการส่งออกในระยะสั้น เอ็กซิมแบงค์ ธนาคารพาณิชย์และ ธปท. ควรจะร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหาเอกชนโดยเลือก บริษัทเอกชนลงทุนเข้ามา พูดคุยหารือเพื่อ ช่วยแก้ปัญหาสถานะ และ ภาระการขาดสภาพคล่องของเอกชน และนักลงทุนกลุ่มส่งออก


เห็นด้วยเรื่องภาระการขาดสภาพคล่องถูกต้องตรงประเด็นครับ
รัฐบาลต้องรีบออกมาตราการช่วยเหลือทันที

 
 
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
Body&Soul
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 370



« ตอบ #5 เมื่อ: 15-07-2007, 17:57 »

ค่าของเงินตอนนี้มันก็แข็งค่าไปทั่วภูมิภาค ตอนที่เกิดการลดค่าเงินบาทนั้นธุรกิจนำเข้า

ก็บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากจากการที่ต้องชำระหนี้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว

ฉันใดก็ฉันเพล!
บันทึกการเข้า
โฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 83


« ตอบ #6 เมื่อ: 15-07-2007, 18:10 »

อาจารย์สมคิดเหมือนเพชรในกองขี้รัฐบาลก่อน
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #7 เมื่อ: 16-07-2007, 09:30 »

“สมคิด” เร่งรัฐบาลช่วยส่งออก-ฟื้นลงทุนโครงการบิ๊กด่วน
 “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เสนอแนะรัฐบาลเร่งออกมาตรการ ช่วยเหลือส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท เพราะเป็นเครื่องยนต์ตัวสุดท้ายที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจขณะนี้ และยังแนะรัฐบาลต้องเร่งมือการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อฟื้นความมั่นใจด้านการลงทุน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งร่วมงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงปัญหาเงินบาทแข็งค่าที่กระทบการส่งออกในขณะนี้ว่า ภาครัฐจำเป็นต้องเร่งออกมาตรการโดยเร็ว เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยสถาบันการเงินที่สำคัญ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ควรมีมาตรการลดภาระต้นทุนทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญช่วยให้ผู้ประกอบการไทย เดินหน้าต่อไปได้

นายสมคิด กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการดังกล่าว เนื่องจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการเมืองส่งผลกระทบในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น การลงทุนที่ชะลอตัวออกไป โดยผู้ลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างรอดูความชัดเจนทางการเมือง ส่งผลให้การนำเข้าลดลง จนมีผลต่อการเกินดุลการค้า รวมถึงการบริโภคในประเทศลดลงจากความเชื่อมั่นที่ถดถอย การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐขณะนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น การท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ซึ่งทั้งหมดเคยเป็นเครื่องยนต์ที่เคยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงเหลือเพียงการส่งออกเท่านั้น ที่ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดี

“ เมื่อเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ หยุดทำงานไป หากภาครัฐรอให้การส่งออกชะลอตัวในครึ่งปีหลังอีก เพื่อหวังลดแรงกดดันต่อการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ประเทศจะนำรายได้มาจากไหน” นายสมคิด กล่าว

อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจระบุว่า ปัญหาการแข่งขันของการค้าโลก หลายคนสงสัยว่าผู้ส่งออกขาดทุนจริงหรือไม่จากปัจจัยค่าเงินบาท เมื่อขาดทุนแล้วทำไมยังต้องทำต่อ ในส่วนนี้อยากให้เข้าใจว่า ที่ผู้ส่งออกยังต้องดำเนินการต่อ เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ เพราะหากผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศหันไปซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ไทยจะสูญเสียตลาดไป และคงยากที่จะได้กลับมา นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งฟื้นความมั่นใจการลงทุน จากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการออกมาตรการจูงใจให้มากขึ้น รวมถึงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลต้องส่งสัญญาณว่าจะดำเนินการทันที โดยไม่ต้องรอรัฐบาลใหม่ เพราะหลังจากมีการเลือกตั้ง คงต้องใช้เวลาอีกระยะให้รัฐบาลใหม่รับไม้ต่อและเรียนรู้งาน

ส่วนการแข็งค่าของเงินบาท นายสมคิด กล่าวว่า ส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้น การไหลเข้าของเงินลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังมีสัดส่วนค่าพีอีเรโชต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ โดยพีอีของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคที่มีมากกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ นักลงทุนต่างชาติจึงมองว่า หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น และปัญหาทางการเมืองได้ข้อยุติ ตลาดหุ้นก็จะปรับตัวสูงขึ้น สามารถทำกำไรได้มาก.



ทุกคน เห็นตรงกันว่า เงิน ทุนไหลเข้าส่วนใหญ่ มาจาก การเข้ามาเก็งกำไร ในตลาดหลักทรัพย์......และ เก็งกำไร เรื่องค่าเงิน........

ตอนที่แบ็งค์ชาติ ประกาศ มาตรการ 30 % ออกมาใช้ โดยให้มีครอบคลุมถึง การเข้ามาเก็งกำไร ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย..........ผุ้คนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้ง บรรดาพ่อค้า นักธุรกิจ ออกมาก่นด่า กัน ยกใหญ่ จนต้องออกมาตรการผ่อนปรน ต่อตลาดหลักทรัพย์ เพียงชั่วข้ามคืน........วันนี้ ก็ไม่ควร มาบ่นเรื่องค่าเงินแข็งกันให้หนวกหู ชาวบ้าน........

สิ่งที่แบ็งค์ชาติ ควรทำที่สุด ก็ทำไปแล้ว คือ ประคับ ประคอง ให้ ค่าเงิน ไม่อ่อนไหว ไปช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ ผู้ส่งออกได้ปรับตัว ได้มี โอกาสปรับราคาสินค้า ให้มีความสมเหตุสมผลกับค่าเงิน....รวมทั้งแบ็งค์ชาติ ยังได้ออกมาเตือนอยู่เสมอว่า ค่าเงิน จะยังคงเดินหน้าแข็งต่อไป .........

ผมไม่เห็นด้วย กับการไปบิดเบือน ค่าเงินบาท ตามที่ควรจะเป็น .......สาเหตุหลัก ของการแข็งค่า คือ การที่เงินดอลล่าห์ อ่อนตัว ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการถือครองดอลล่าห์ แม้กระทั่ง เจ้าของทุนสำรองที่มากที่สุดในโลก ยังยอมรับว่า การถือดอลล่าห์ ยังเป็นการเสี่ยงต่อการเสื่อมค่า........เมื่อตอนปี 40 เราเกิดวิกฤติ ด้วยสาเหตุ ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ควรจะเป็นจากการเข้าไปกระหน่ำขายดอลล่าห์ ซื้อเงินบาท........ในปัจจุบัน ค่าเงินบาทกำลังแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง หากเราไปบิดเบื้อน ตลาด ก็จะทำให้เกิด วิกฤติได้เช่นกัน เพราะจะเป็นช่องทางให้บรรดา นักเก็งกำไรค่าเงิน มารุมทึ้งประเทศไทยอีกครั้ง

มาตรการใด ๆ ก็ตาม ที่แบ็งค์ชาติ ออกมา ควร จะเป็นเพียงการชะลอ การแข็งค่าของเงินบาท  แต่ ไม่ควรมีเป้าหมาย ในการทำให้เงินบาทอ่อนค่า กว่าที่ควรจะเป็น .....ผมเคยเขียน อยู่หลายครั้งแล้ว ผู้ส่งออก ควรจะต้องเรียนรู้เรื่องปริวรรต เงินตรา ให้มากขึ้น เพื่อการปรับตัว.....ควรต้องรู้จักช่วยตัวเอง มากกว่า การนำอนาคตทางธุรกิจของตน ไปฝากไว้กับรัฐ หรือ แบ็งค์ชาติ .........หลังจาก วิกฤติ ปี 40 เราได้เห็นกันมาแล้วว่า  รัฐหรือแบ็งค์ชาติ มีบทบาทเพียง แค่เป็นผู้สนับสนุน แต่ไม่ใช้ผู้ช่วยเหลือ  แต่สุดท้ายแล้ว บรรดาธุรกิจต่าง ๆ จะต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก

ประเทศไทย ลงทุนกับความเสียหาย มากมาย กับการลอยตัวค่าเงินบาท มาแล้ว  ........เมื่อ รัฐบาลในขณะนั้น ตัดสินเรื่องการลอยตัวค่าเงินบาท จากการกดดันของ IMF  พวกเรานักธุรกิจ หรือ ประชาชน ก็จะต้องรู้จักปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งที่มันเป็นอยู่ในตลาดโลกด้วยครับ

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: