ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-11-2024, 09:21
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  “วิรัช” นั่ง ปธ.กรรมการสรรหา 74 ส.ว. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
“วิรัช” นั่ง ปธ.กรรมการสรรหา 74 ส.ว.  (อ่าน 1646 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 27-12-2007, 05:28 »



“วิรัช” นั่ง ปธ.กรรมการสรรหา 74 ส.ว.
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 ธันวาคม 2550 16:13 น.
 
 
  
    วิรัช ลิ้มวิชัย
 
 
       ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหา ส.ว.มีมติเลือก ปธ.ศาล รธน.นั่งประธานสรรหา 74 ส.ว.กำหนดกรอบองค์กรเสนอชื่อได้ภายในวันที่ 3-17 ม.ค.
       
       วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีการประชุมคณะกรรมการสรรหา สมาชิกวุฒิสภา เพื่อเลือกประธานกรรมการสรรหา โดยมีกรรมการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 1.นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.3.พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานผู้ตรวจการแผนดิน 4.นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช.5.นายมนตรี เอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาสหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และ 6.นายอำพล สิงห์โกวินท์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ขาดเพียง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) นัดแรก ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113 และ 114 ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา
       
       นอกจากนี้ ยังได้กำหนดขั้นตอน ระยะเวลา การดำเนินการสรรหา ส.ว.โดยเปิดให้องค์กรต่างๆ เสนอชื่อได้ระหว่างวันที่ 3-17 มกราคม 2551 ทั้งนี้ องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับการสรรหา ส.ว.จะต้องเป็นนิติบุคคลที่ได้รับรองโดยกฎหมาย และตั้งขึ้นไม้น้อยกว่า 3 ปี และต้องเสนอชื่อบุคคลที่เป็นสมาชิก หรือเคยเป็นสมาชิกได้องค์กรละ 1 คนเท่านั้น สำหรับสมาชิกวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดให้มี 150 คน โดย 76 คนมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และอีก 74 คนมาจากการสรรหา
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27-12-2007, 17:45 »




มารอดูสว.เลือกตั้ง กับสว.สรรหา ในเชิงคุณภาพเปรียบเทียบ

อย่าไปมัวเมา กับกระแสนิยมตัวบุคคลหรือพรรคการเมืองครับ..สังคมไทยจะได้ไม่หลงทาง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-01-2008, 21:02 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10-01-2008, 21:03 »




ดันไว้ก่อนกระทู้  จะตกหน้า    
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 11-01-2008, 14:47 »




จริยธรรมผู้พิพากษา  http://www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=657614

เดิมมีเพียงธรรมเนียมปฏิบัติในการวางตัวของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเท่านั้น สิ่งใดกระทำได้ สิ่งใดกระทำไม่ได้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อๆ กันมา เพราะผู้พิพากษาในประเทศ มีเพียงจำนวนน้อย ต่อมาจำนวนผู้พิพากษาได้เพิ่มขึ้น ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา บางอย่าง ก็มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพราะการเปลี่ยนแปลง ของสังคมภายนอก ทำให้การปฏิบัติตัว ของผู้พิพากษา บางครั้ง มองดูแล้ว ไม่เหมาะสมบ้าง ที่ประชุมคณะกรรมการ ตุลาการครั้งที่ ๖/๒๕๒๗ เห็นว่า ผู้พิพากษาบางท่าน ประพฤติตนในบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งที่ประชุมยังโต้เถียงกันอยู่ว่า การกระทำดังกล่าวนั้น เหมาะสมหรือไม่ เพราะยังไม่มีกฏเกณฑ์วางไว้ เป็นที่แน่นอน ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า น่าจะมีระเบียบ หรือคำแนะนำ หรือมีการวางแนวปฏิบัติไว้ ให้ผู้พิพากษาประพฤติ เพราะแม้จะมีวินัย อยู่ในกฎหมายว่า ด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ก็เป็นเพียงกา รวางหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ บางเรื่องยังคลุมไปไม่ถึง และบางเรื่อง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไม่ได้เขียนไว้ จึงตั้งคณะกรรมการ วางหลักเกณฑ์ เรียกว่า ประมวลจริยธรรม ข้าราชการตุลาการขึ้น ซึ่งในด้านจริยธรรม เกี่ยวกับกิจการอื่น และเกี่ยวการดำรงตน และครอบครัวนั้น ได้บัญญัติไว้ทั้งหมด ๑๖ ข้อ ซึ่งจะนำมาให้ดู ดังต่อไปนี้

๑.ผู้พิพากษาจักตัองไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ที่ปรึกษาหรือดำรงตำแหน่งอื่นใด ในห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจของเอกชน เว้นแต่เป็นกิจกรรม ที่มิได้แสวงหากำไร ผู้พิพากษาจักต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันจะกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๒. ในกรณีจำเป็นผู้พิพากษาอาจได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ ให้ปฏิบัติ หน้าที่อันเกี่ยวกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นได้ ในเมื่อการปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา ทั้งจักต้อง ได้รับอนุญาต จากกระทรวงยุติธรรม แล้ว
การเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ในทำนองเดียวกัน จักต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ต.ด้วย
ผู้พิพากษา ไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๓. ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสร ชมรม หรือ องค์การใดๆ หรือเข้าร่วม ในกิจการใด ๆ อันจะกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือ เกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๔. ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือผู้ปกครองทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิต หรือเกี่ยวพัน ทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษา ถือเป็นญาติสนิท มีส่วนได้เสียในมรดก หรือทรัพย์นั้นโดยตรง

๕. ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท

๖. ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุน การปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ

๗. ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมือง และจักต้อง ไม่เข้าเป็น ตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ สนับสนุน ในการโฆษณา หรือชักชวนใดๆ ในการ เลือกตั้ง สมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทน ทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใด นอกจาก การใช้สิทธิ เลือกตั้ง

๘. ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตน อย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรม และประเพณีอันดีงาม ของตุลาการ ทั้งพึงวางตน ให้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของบุคคลทั่วไป

๙. ผู้พิพากษาพึงปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ และพึงขวนขวายศึกษาเพิ่มเติม ทั้งในวิชาชีพ ตุลาการ และ ความรู้รอบตัว ผู้พิพากษาจักต้อง ไม่ก้าวก่าย หรือแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ จาการ ปฏิบัติหน้าที่ ของผู้พิพากษาอื่น

๑๐. ผู้พิพากษาจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัว ก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือ ของผู้อื่น และจักต้อง ไม่ยินยอมให้ผู้อื่น ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน แสวงหาประโยชน์ อันมิชอบ

๑๑. ผู้พิพากษาพึงยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจักต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีชอบ หรือประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบ จากผู้บังคับบัญชา หรือ จากบุคคลอื่นใด

๑๒. ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพ หรือการงานอื่นใดของ คู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคล ซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตน มีลักษณะเป็นการ กระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความเชื่อถือศรัทธา ของบุคคลทั่วไป ในการประสาทความยุติธรรม ของผู้พิพากษา

๑๓. ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ จากคู่ความ หรือจากบุคคลอื่นใด อันเกี่ยวเนื่อง กับการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้พิพากษา และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย

๑๔. ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์ อื่นใดอันมีมูลค่า เกินกว่า ที่พึงให้กัน ตามอัธยาศัย และประเพณีในสังคม และจักต้องดูแล ให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียว กันด้วย

๑๕. ผู้พิพากษาจักต้องละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความ หรือบุคคลอื่น ซึ่งมีส่วนได้เสีย หรือ ผลประโยชน์ เกี่ยวข้อง กับคดีความ หรือบุคคล ซึ่งมีความประพฤติ หรือมีชื่อเสียง ในทางเสื่อมเสีย อันอาจจะกระทบกระเทือน ต่อความเชื่อถือ ศรัทธาของบุคคลทั่วไป ในการประสาท ความยุติธรรม ของผู้พิพากษา
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: