แหล่งหลบภาษี (tax havens)ระดับโลกอยู่ไหน? โปรดติดตาม
25 มิถุนายน พ.ศ. 2550 07:28:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ถ้าอยากรู้ว่า ทำไมธนาคารสวิส ที่ชื่อ UBS AG สาขาที่สิงคโปร์ ยังไม่ตอบคำถามเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท Ample Rich ของทักษิณ ชินวัตร และลูกเมีย ที่หมู่เกาะ British Virgin Island (BVI) ตามคำขอของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ก็ติดตามรายการ "ชีพจรโลกกับสุทธิชัย หยุ่น" เวลา 4 ทุ่ม ทางช่อง 9 โมเดิร์น ไนน์ คืนนี้ครับ
เพราะเราไปเจาะลึกถึงหมู่เกาะและประเทศต่างๆ ที่ทำให้นักธุรกิจทั้งหลายมาจดทะเบียนบริษัทของตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี และเพื่อไม่ต้องตอบคำถามของประชาชน และรัฐบาลของตัวเอง
รายการคืนนี้จะย้อนไปวิเคราะห์ที่มาที่ไปของคำว่า "
Swiss bank accounts" หรือ "
บัญชีธนาคารสวิส" ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องอื้อฉาว เพราะนักการเมืองหลายประเทศที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง และฉ้อฉลเงินทองของประชาชนนั้น มักจะแอบไปฝากเงินเหล่านั้นในธนาคารสวิส เพื่อปิดบังซ่อนเร้นอาชญากรรมต่อประเทศของตัวเอง...และโยกย้ายเงินผิดกฎหมายเหล่านั้น ไป "ฟอก" ในที่ต่างๆ
ตัวอย่างที่เกรียวกราวมากในเอเชีย คืออดีตประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์ ที่ถูกประชาชนโค่นล้ม และเมื่อสอบสวนกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ก็พบว่าเขาเอาเงินที่โกงจากประชาชนไปฝากไว้ที่ธนาคารสวิสนั่นแหละ
คณะกรรมการสอบสวนของฟิลิปปินส์ ต้องกดดันรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์อย่างหนัก และต่อเนื่องจึงสามารถเจาะเข้าไปถึงบัญชี "นิรนาม" เหล่านั้น และเมื่อสวิตเซอร์แลนด์ถูกกล่าวหาว่า ช่วยนักการเมืองฉ้อฉลก่ออาชญากรรมต่อประเทศตัวเอง ถือเป็น "ผู้สมรู้ร่วมคิด" ในการกระทำความผิดได้ รัฐบาลสวิสจึงยอมแก้กฎหมายหลายประเด็น เพื่อบังคับให้ระบบธนาคารของตัวเองต้องเปิดเผยข้อมูล และร่วมมือกับการสอบสวนการกระทำที่ผิดกฎหมายของ "ลูกค้า" เหล่านี้
ต่อมาหลายประเทศรวมทั้งเกาะแก่งหลายแห่ง เช่น BVI ในทะเลแคริบเบียน หรือ Bermuda ก็กลายเป็นที่ที่บริษัทและนักธุรกิจจากหลายประเทศ ที่ต้องการจะหา "
ที่พักพิงภาษี" หลบมาจดทะเบียนและทำธุรกิจผ่าน (ทางกระดาษ) ที่นั่น
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ สิงคโปร์ก็ปรับเปลี่ยนกฎหมายของตัวเอง เพื่อจะทำตัวเป็น "สวิตเซอร์แลนด์" สำหรับเอเชีย...นั่นคือให้สิทธิผู้มาฝากเงินหรือลงทุนในบางประเภทเปิด "บัญชีปิด" ที่ไม่ต้องตอบคำถามของใคร และไม่ต้องเปิดเผยให้สาธารณชนรู้ ...
เพราะสิงคโปร์รู้ว่าบริการอย่างนี้ จะเป็นที่ต้องการของนักธุรกิจและนักการเมืองในเอเชียที่มีปัญหากับรัฐบาลของตัวเอง หรือสามารถถูกสอบสวนไปถึงต้นตอของแหล่งเงินได้...จึงเปิดบริการเช่นนี้เพื่อทำให้ตัวเองเป็น "ศูนย์กลางการเงิน" ในทุกๆ ด้าน... เพราะรู้ว่าประเทศอื่นที่มีกลไกการตรวจสอบเรื่องเงินทองเข้มข้น ก็ไม่สามารถเสนอบริการอย่างนี้มาแข่งกับตัวเองได้ ตั้งแต่มีเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป จากตระกูลของอดีตนายกฯ ทักษิณ มีชื่อ Ample Rich ที่ไปจดทะเบียนที่หมู่เกาะ BVI และมีคำประกาศของที่ปรึกษาด้านกฎหมายของทักษิณ ที่บอกนักข่าวว่า "วันนี้ ผมไม่ได้รับมอบหมายมาพูดเรื่องจริยธรรม" (เมื่อถูกถามเรื่องทำไมคุณทักษิณ และครอบครัวไม่เสียภาษีเลยแม้แต่บาทเดียว ในเมื่อขายหุ้นให้เทมาเส็กของสิงคโปร์ได้เงินมาตั้ง 73,000 ล้านบาท) คนไทยก็สงสัยว่า คำว่า "tax haven" หรือ "ที่พักหลบภาษี" นั้น มันคืออะไรกันแน่? เขาทำได้อย่างไร? ถ้านักการเมืองไทยแอบเอาเงินที่ได้มาอย่างน่าสงสัยไปฝากที่นั่น โดยที่เราตรวจสอบไม่ถึง เรามีวิธีการจะเรียกร้องให้เขาเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่? ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบสำหรับคนไทยทั้งประเทศ ที่ยังมีความสงสัยคลางแคลงว่า
พวกเกาะแก่งหลบและเลี่ยงภาษีเหล่านี้ มันอยู่ที่ไหนและมีกฎกติกามารยาทอย่างไร? อย่าลืมดู "ชีพจรโลก" 4 ทุ่มคืนนี้ แล้วเขียนมาร่วมแสดงความเห็นที่นี่ หรือที่ blog ของผมที่
www.oknation.net/blog/black ครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/25/WW12_1238_news.php?newsid=80653 ระหว่างที่เหลี่ยม ลี สิงกะโปโตกเรืองอำนาจ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เหลี่ยมฯ ภรรยาและบริวาร คนสนิทที่รับใช้ใกล้ชิดเดินทางไปสิงกะโปโตกมากที่สุด พร้อมกระเป๋าเดินทางใบใหญ่จำนวนมาก ครั้งหนึ่งเคยเป็นข่าว"เช่าเหมาลำ"เครื่องบินจากรัสเซียมาบรรทุกกระเป๋าเดินทางหลายสิบใบ โดยเฉพาะ.....เงินที่ใช้ในการซื้อทีมฟุตบอลอาจจะเป็นจากสิงกะโปโตกของเหลี่ยมฯ ก็ได้ ก่อนหน้านี้ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งประเทศไทย ประกาศว่าจะมีการตรวจสอบเงิน 81.6 ล้านปอนด์ (ประมาณ 5,700 ล้านบาท) ที่อดีตนายกรัฐมนตรีนำมาซื้อทีมเรือใบสีฟ้า ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. จะไม่ปล่อยให้การทำธุรกิจดำเนินต่อไปได้แน่นอนในกรณีที่เงินก้อนดังกล่าวเป็นเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตามคีธ แฮร์ริส ซีอีโอแห่งธนาคารเพื่อการลงทุน เซย์มัวร์ เพียร์ซ ของอังกฤษ ผู้เป็นนายหน้าในการซื้อหุ้นแมนฯ ซิตี้ ของ เสี่ยแม้ว ยืนยันผ่านทางบีบีซี เรดิโอ ไฟว์ ไลฟ์ว่า เงินที่เขานำมาซื้อทีมแมนเชสเตอร์ ซิตี้ เป็นเงินที่ชอบด้วยกฎหมายจริง และโอนมายังประเทศอังกฤษอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบที่มาได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะยังเป็นที่สงสัยในประเทศไทยอยู่ก็ตาม แต่ผมมั่นใจว่าเงินดังกล่าวจะผ่านการตรวจสอบของ คตส. อย่างแน่นอน เพราะว่าเงินอยู่ในบัญชีธนาคารของอังกฤษและไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกอายัดทรัพย์ http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9500000073513