ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18-01-2025, 07:28
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สมการการเมือง/กาแฟดำ ไม่เอาทักษิณ-ไม่เอา คมช. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สมการการเมือง/กาแฟดำ ไม่เอาทักษิณ-ไม่เอา คมช.  (อ่าน 1225 ครั้ง)
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« เมื่อ: 20-06-2007, 17:21 »

วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน 2550
ประเทศชาติติดหล่ม...ต้องเริ่มใหม่โดยไม่มีทักษิณ-คมช.ในสมการการเมือง
Posted by สุทธิชัย หยุ่น



การปรากฏตัวของ "พลังเงียบ" ในช่วงการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มคนที่อยู่ข้างทักษิณ ชินวัตร กับ คมช. นี้ อาจจะไม่ได้เป็นกลุ่มเป็นก้อนที่ชัดเจนหรือมีพลังอย่างเป็นหลักเป็นฐานนัก แต่ก็สะท้อนว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะแสดงออกด้วยการประกาศจุดยืนของ ตัวเองเพื่อให้ประเทศชาติสามารถลุกขึ้นเดินหน้าต่อไป...ไม่หมกมุ่นและลุ่ม หลงอยู่กับความวอกแวกและหวั่นไหวในปัจจุบัน

"พลังเงียบ" ที่เริ่มจะเห็นว่าประเทศไทยของเราจะเข้าสู่ภาวะตีบตันต่อเนื่องยาวนานแน่ หากยังปล่อยให้คนไม่กี่กลุ่มที่ผูกติดอยู่กับผลประโยชน์เฉพาะตนหรือกลุ่ม ของตนเผชิญหน้ากันอยู่อย่างนี้โดยมุ่งหวังจะใช้เสียงดัง วาจาดุดัน และกลยุทธ์ปลุกปั่นมวลชนมาข่มขู่ และคุกคามสังคมส่วนรวมอย่างที่เห็นกันอยู่

กลุ่มคนที่ไม่ต้องการเอาตัวเองเข้าไปผูกพันกับกลุ่มใดที่กำลังเผชิญหน้ากันอยู่ในขณะนี้ ต้องการให้เขาเหล่านั้นเคารพและเกรงอกเกรงใจ "ความเงียบของคนส่วนใหญ่" ขณะนี้ ที่ปล่อยให้ "เล่นเกม" กันอยู่ เพราะคิดว่าพวกเขาคงจะมีสติสัมปชัญญะและความสำนึกเพียงพอที่จะไม่เล่นกันจน บ้านเมืองพังย่อยยับเสียก่อน

"พลังเงียบ" ที่ว่านี้คือคนไทยอย่างคุณและผมที่บอกได้วันนี้เลยว่า ทั้งทักษิณ และ คมช. ต่างควรจะรู้ว่าทั้งสองฝั่งนั้นมิอาจจะมีบทบาททางการเมืองอย่างชอบธรรมได้ อีก...และต้องให้กระบวนการสังคมที่กำลังพร้อมที่จะเกิดความเคลื่อนไหวของ ประชาชนในรูปแบบต่างๆ ที่จะไม่ "ถือหาง" ข้างใด แต่ต้องการเริ่มบทการเมืองของประเทศใหม่ด้วยการเปิดกว้าง ไร้อคติต่อกัน ปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจัง และที่เชื่อในวิธีการถกแถลงกันด้วยเหตุด้วยผล ยืนยันที่จะให้สังคมไทยปลอดจากความรุนแรงและมุ่งมองหาสันติวิธีในการสร้าง ความสมานฉันท์ใหม่อย่างแท้จริง

"พลังเงียบ" เริ่มมีความเหนื่อยหน่ายกับการชุมนุมของกลุ่มคนที่ต้องการจะปกป้องแค่ สัญลักษณ์แห่งอำนาจของตน ขณะเดียวกัน ก็มองเห็นว่าคณะทหารที่ก่อการปฏิวัติเมื่อ 19 กันยายน นั้น จะต้องเร่งสางงานของตัวเองให้เสร็จเพื่อก้าวลงจากอำนาจและส่งต่ออำนาจทาง การเมืองนั้นคืนสู่กระบวนการของประชาชนอย่างชัดเจน

พูดง่ายๆ ก็คือว่ายังไงๆ ทักษิณก็กลับมาเป็นใหญ่ทางการเมืองไม่ได้...และยังไงๆ คมช. ก็ไม่อาจจะสืบทอดอำนาจของตัวเองต่อไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม...

ดังนั้นความรู้สึกร่วมของ "พลังเงียบ" ที่ว่านี้ ก็คือการที่ต้องการเห็นทักษิณ ยอมรับความจริงและต่อสู้ข้อกล่าวหาร้ายแรง (ที่คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่ามีมูลเพียงพอที่จะต้องดำเนินตามกระบวนการ ยุติธรรมต่อไปอย่างเปิดเผยและโปร่งใส) โดยต้องสำนึกว่าเขาได้กลายเป็นตัวปัญหาที่ทำให้สังคมไทยแตกแยกเกินกว่าที่ เขาจะสามารถเล่นบทการเมืองอย่างที่เขาหรือกลุ่มผู้สนับสนุนเขาเรียกร้อง ต้องการได้อีกต่อไปแล้ว

ขณะเดียวกัน ผมก็เชื่อว่า "พลังเงียบ" ก็เห็นพ้องเช่นกันว่าอย่างไรเสีย คมช. ก็จะต้องแสดงความจริงใจ และจริงใจในการส่งไม้ต่อให้กับกระบวนการทางการเมืองโดยต้องมีตารางเวลา เพื่อการสละอำนาจเพื่อให้ "พลังสังคมบริสุทธิ์" ได้ทำหน้าที่พลเมืองดีในยามวิกฤตินี้อย่างสร้างสรรค์และสมานฉันท์

ลองนับจำนวนคนที่รวมตัวกันในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเรียกร้องแทนทักษิณ หรือฝ่ายต่อต้านทักษิณก็ตาม รวมกันแล้วแค่หมื่นสองหมื่นคนเป็นอย่างมาก...คนไทยอีก 60 ล้านคนที่เหลือไม่ได้ต้องการจะเข้ามาพัวพันกับความ "ผิดปกติ" นี้อย่างแน่นอน...ถึงวันนี้ ผมเชื่อว่า "พลังเงียบ" ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้กระแสที่ต่างฝ่ายต่างปลุกขึ้นมาทำร้ายประเทศชาติอีกต่อ ไปแล้ว

ใน "สมการการเมือง" อันพึงประสงค์สำหรับคนไทยส่วนใหญ่นั้น หากตัดทักษิณออก ตัด คมช. ออก เปิดทางให้กระบวนการยุติธรรมและกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ของตัวเอง อย่างเป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้โดยประชาชน ไม่มีอคติเฉพาะกลุ่ม การเริ่มต้นใหม่ที่ "พลังเงียบ" เรียกร้องต้องการจึงจะเกิดขึ้นได้

ประเทศชาติเหมือนคอมพิวเตอร์ที่ hang อยู่ ต้อง reset ใหม่...เลิกใช้โปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์เสีย ยอมทำตามกฎกติกาที่ควรจะเป็น...อาจจะใช้เวลาหน่อย แพงหน่อย ต้องใช้ความอดทนของคนทั้งชาติมากขึ้นหน่อย...

แต่สำหรับผมนี่คือหน ทางเดียวที่เหลืออยู่สำหรับเราที่จะเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่...หากเราไม่ ต้องการตกลงไปในหลุมดำมืดที่อันตรายยิ่งนัก

คุณอาจจะถามว่าจะทำอย่างไรในทางปฏิบัติเพื่อบรรลุ "สมการการเมืองใหม่" นี้ใช่ไหม?

หากตั้งเป้าหมายร่วมกันได้ว่าเราจะหาสมการใหม่นี้ให้ได้ หากพลังเงียบแสดงพลังด้วยรูปแบบสันติแต่หนักแน่น หากเราปฏิเสธที่จะถูกดึงเข้าไปในเกมของการเผชิญหน้าขณะนี้ นั่นแหละ เราก็จะเริ่มตั้งประเด็นเพื่อการแสวงหาทางออกร่วมกันของสังคมจากภาวะวิกฤติ ศรัทธาและความเชื่อมั่นในตัวเราเองได้

ถึงวันนี้ ผมก็ยังเชื่อในพลังแห่ง "สติ" และ "ปัญญา" ของคนไทยส่วนใหญ่อยู่..


http://www.oknation.net/blog/black/2007/06/19/entry-2

ไม่เอาทักษิณ
ไม่เอา คมช.

ทั้งคู่ต้องออกไปจากการเมือง
แต่ทักษิณต้องออกไปก่อน
คมช. ค่อยออกไป





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-06-2007, 07:34 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20-06-2007, 17:25 »



เร็วไปครับ ตอนนี้เราต้องช่วยกันทำประเทศไทยให้สะอาด..
บันทึกการเข้า

meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20-06-2007, 19:10 »

กรณี คมช. ผมก็ว่าไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกในช่วงหลังจากมีการเลือกตั้ง

หากอยากจะเล่นการเมือง ควรจะรออีกสมัย ให้พ้นการเลือกตั้งครั้งนี้ไปก่อน

ถ้าลงเลือกตั้งคราวนี้ ยังไงซะก็คงหนีไม่พ้นข้อครหานินทา ว่าการรัฐประหารทำเพื่อตัวเอง

แล้วรัฐบาลก็จะไปไม่รอด  ยิ่งพรรค ทรท. หาก 111 คน  ยังไม่สามารถเล่นการเมืองได้ในครั้งนี้  รับรองได้ว่ามันป่วนกันทั้งปีแน่
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
Ja-Ded
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 244


วิธีการรักษาอำนาจไว้ ก็คือการไม่ใช้อำนาจนั้น


« ตอบ #3 เมื่อ: 21-06-2007, 11:04 »

ผมเชื่อมั่น ในความเป็นลูกผู้ชายของบิ๊กบัง

อย่างน้อยก็เชื่อได้มากกว่าคำตอแหลของทักษิณ

ตอนนี้ทุกฝ่ายน่าจะตั้งหน้าตั้งตา ทำประชามติร่าง รธน.

จากนั้นก็มาเลือกตั้งกัน เชื่อว่ายิ่งใกล้เวลา นักการเมืองท้องถิ่นก็ต้องกลับไปหาเสียงกัน

ไอ้ม๊อบบ้าบอคอแตกตอนนี้ก็คงสลายตัวไปเอง
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #4 เมื่อ: 22-06-2007, 05:53 »

ถึงกัลยาณมิตร 1) อย่าเป็นหางเครื่องของรัฐและทุน

โดย เกษียร เตชะพีระ

สายวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายหลังร่วมกับเพื่อนอาจารย์แถลงข่าวรณรงค์ "ร่วมกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง" ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้นั่งลงพูดคุยยาวๆ กับเพื่อนนักข่าวและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ www.prachatai.com เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่ระอุคุกรุ่นและทำท่าจะรุนแรงในปัจจุบัน หลังจากเราไม่สบโอกาสพบปะสนทนากันอย่างนี้นานกว่าปี

ต่อมาทางประชาไทออนไลน์ได้ถอดเทปการพูดคุยไปลงเว็บไซต์ภายใต้ชื่อเรื่อง "สัมภาษณ์เกษียร เตชะพีระ ถึงกัลยาณมิตร ถ้าไม่มีทางเลือกที่ 3 มันก็เป็นการพ่ายแพ้ของเรา" (28 พฤษภาคม 2550) ผมเห็นว่าเนื้อหาอาจเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหาความขัด แย้งและแสวงหาทางเลือกทางออกจากการเผชิญหน้าทางการเมืองขณะนี้ได้บ้าง จึงขออนุญาตนำมาปรับปรุงขัดเกลาถ้อยคำสำนวนให้รัดกุมชัดเจนเพื่อเผยแพร่ต่อ ในคอลัมน์นี้ และขอขอบคุณเพื่อนๆ ประชาไทไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ประชาไท : เรื่องการรณรงค์เดินหน้าปฏิรูปการเมือง ทวงคืนรัฐธรรมนูญ 2540 ที่อาจารย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สมมุติถ้าสภาร่างรัฐธรรมนูญของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยอมแก้ตามทุกอย่างที่มีการท้วงติงเราควรจะโอเคไหม?

เกษียร : สมมุติถ้าเขาแก้จนมันออกมาเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 คงจะมีคนที่อยากจะโหวตให้มากกว่านี้ ถึงตอนนั้นเนื้อหาที่เราไม่เห็นด้วยอาจตกไปเหลือเรื่องกระบวนการที่ไม่ชอบ ธรรมว่ามันเกิดมาจากอำนาจรัฐประหาร ซึ่งก็ต้องมาว่ากันอีกที

ประชาไท : แสดงว่าร่างนี้ไม่ได้พัฒนาต่อจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ไม่ได้เป็นการปฏิรูปการเมืองต่อใช่ไหม?

เกษียร : ผมคิดว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เขาคงเอาเนื้อหาฉบับปี 2540 มาดู อันไหนที่ให้อำนาจกับกลุ่มทุนใหญ่ผ่านพรรคการเมืองใหญ่ ลบมันให้หมด (หัวเราะ)

พูดง่ายๆ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นหลักของการเมืองไทยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐราชการกับกลุ่มทุนใหญ่ผ่านพรรคการเมือง ตอนสู้กันช่วงพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เรื่องนี้ ทุกวันนี้ก็ยังเรื่องนี้ แต่ตอนนี้มันแสดงออกผ่านเงื่อนไขการร่างรัฐธรรมนูญ

สิ่งที่เป็นห่วงจริงๆ คือ ขบวนการประชาชนต้องไม่เป็นหางเครื่องให้ทั้งรัฐราชการและกลุ่มทุนใหญ่

เมื่อไม่กี่วันก่อน คุณจรัล ดิษฐาอภิชัย (กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าให้แกเลือกระหว่างเป็นลิ่วล้อทักษิณ ชินวัตร กับเป็นสมุนเผด็จการ แกเลือกเป็นลิ่วล้อทักษิณดีกว่า (หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ สัมภาษณ์, "คำประกาศจรัล ดิษฐาอภิชัย ลิ่วล้อทักษิณดีกว่าสมุนเผด็จการ", มติชนรายวัน, 17 พฤษภาคม 2550, น.11)

คำถามของผมคือ ทำไมเราต้องเลือกระหว่างสองอย่างนั้นด้วย "กูไม่เอาทั้งคู่" ได้ไหม? ขบวนการประชาชนไม่มีทางเลือกอื่นเลยหรือ? ทำไมชีวิตมันถึงบัดซบอย่างนี้?

ประชาไท : เข้าใจว่า ถ้าไม่ตอบคำถามนั้นให้ถึงที่สุด คนก็จะยังมีความกลัวมาครอบงำ ถึงที่สุดแล้วภาคประชาชนก็รู้สึกต้องเดินตาม คมช.ไปเพราะกลัวว่าทักษิณจะกลับมาเหมือนเดิม

เกษียร : ผมว่าต้องคิดใหม่ ต้องคิดจากสองเป็นสามให้ได้ ตอนนี้เราเห็นโลกแค่สอง คือ ถ้าไม่ "ทักษิณ" ก็ "คมช."

ประชาไท : แปลว่ามันมีได้หรือ "สองไม่เอา" มันไม่หน่อมแน้มใช่ไหม?

เกษียร : ถ้าคุณคิดว่าโลกมีแค่ 2 ทางเลือก คุณก็ต้องเลือกระหว่างความชั่วสองอย่างเท่านั้น ผมคิดว่าต้องพยายามสร้างทางเลือกที่ 3 ขึ้นมา ที่จริงมันเป็นโจทย์แบบเดียวกับการอ้างว่าไม่เอา "อัลเคด้า" ก็ต้องเอา "จักรวรรดิอเมริกา" หรือกดใต้ช่องก่อนนี้ที่เจ้าหน้าที่รัฐก็อุ้มผู้ต้องสงสัย ผู้ก่อความไม่สงบก็ฆ่าผู้บริสุทธิ์รายวัน แล้วจะให้เราเลือกข้าง...ผมไม่เลือก มันต้องมีคำตอบอีกอย่างสิ และถ้าถึงที่สุดแล้วมันพิสูจน์ว่าไม่มีทางเลือกที่ 3 มันก็เป็นการพ่ายแพ้ของเรา แต่ผมคิดว่าเรายังพยายามสร้างทางเลือกที่ 3 อยู่

พูดตรงๆ ทุกวันนี้มันเป็น one blind eyed situation มันเหมือนคนในสังคมไทยตาบอดไปข้างหนึ่ง (ปิดตาขวา) ระบอบทักษิณยำยำๆๆ (ปิดตาซ้าย) คมช.ยำยำๆๆ คือมันตาบอดคนละข้าง เห็นโจทย์ก็เห็นเฉพาะส่วน แล้วก็วาดวิธีการแก้ปัญหาจบอยู่ที่เรื่องนั้นเรื่องเดียวเลย ไม่เผื่อโจทย์อีกด้านหนึ่งไว้เลย ผมว่านี่คือฐานที่ลึกที่สุดของการแตกกันเละของขบวนการประชาชน

คุณทักษิณเป็นตัวแทนกลุ่มทุนใหญ่ที่เข้ามาสู่วงการเมืองและพอมีอำนาจการเมือง แล้วก็ใช้มันแบบอำนาจนิยม พอมีอำนาจรัฐแล้วก็ใช้มันไปในแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ ที่ผู้คนทะเลาะกับระบอบทักษิณก็เรื่องพวกนี้ไม่ใช่หรือ? แต่ทุกวันนี้ พอเกลียดทักษิณก็กลายเป็นฝ่าย "พันธมิตรประชาชนเพื่อราชาธิปไตย" (ตามชื่อบทวิจารณ์ของสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นเรื่อง "สมัชชาประชาชนเพื่อราชาธิปไตย?", ประชาไทออนไลน์, 9 เมษายน 2549) พอเกลียด คมช.ก็กลายเป็น "แนวร่วมประชาชนเพื่อทักษิณ" นี่คือทางเลือกของเราหรือ?

จรัล ดิษฐาอภิชัย ให้สัมภาษณ์ที่อ้างถึงข้างต้นว่าทักษิณไม่ได้เลวร้าย เขาแค่รวบอำนาจเอาไว้คนเดียว แต่จรัลเองเคยให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อตอนเกิดสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดและมีคนตายจำนวนมากว่า ทักษิณกำลังสร้าง "kingdom of fear" (Anucha Charoenpo, "Warning on secret killings", Bangkok Post, 3 February 2003, p.1)

จรัล ดิษฐาอภิชัย ยังเคยเป็นอนุกรรมการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไปไต่สวนกรณีปราบปรามชาวบ้านจะนะที่ไปประท้วงโครงการท่อก๊าซที่หาดใหญ่ เมื่อเดือนธันวาคมปี 2545 ผลการตรวจสอบซึ่งคุณจรัลเซ็นชื่อไว้เองด้วยชี้ชัดว่ามีการละเมิดรัฐธรรมนูญ หลายมาตรา

นี่หรือที่บอกว่าทักษิณไม่ได้เลวร้าย (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อ ก๊าซไทย-มาเลเซีย, 2547, น.41, 53, 83)

ประชาไท : หลังๆ มีการอธิบายว่าสังคมไทยทำให้ทักษิณต้องทำอย่างนั้น พอเกิดฆ่าตัดตอนโดยรัฐ (รวมข้าราชการด้วย) จะไปเบรกก็ไม่ได้แล้ว เพราะสังคมฝ่ายขวาของเรามันไปแล้ว

เกษียร : ดังนั้น โจทย์ของเราจึงยิ่งกว่าทักษิณ โจทย์ของเราคือ "วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ" (ตามชื่อบทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนสุดสัปดาห์, 24 กุมภาพันธ์ 2549) ถ้าเราไม่คิดถึงโจทย์นี้โดยเอาทักษิณมาบังไว้หมด หรือกล่าวหาคนที่คิดถึงโจทย์นี้ว่าคิดแบบนี้ไปเข้าเกม คมช.หมด แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร เราก็จะวนกลับไปสู่รัฐบาลที่เห็นว่า...ถ้าปัญหามันใหญ่พอก็ฆ่าแม่งเลย แล้วคุณจรัลก็จบการให้สัมภาษณ์ว่า Minority (เสียงส่วนน้อย) ไม่ถึง 10 ล้านคนเกลียดทักษิณ แต่ Majority (เสียงส่วนมาก) 30 ล้านคนยังรักทักษิณ เขาเชื่อว่า Majority จะกลับมาชนะ...คุณอย่าลืมนะว่า สงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดเป็นที่ชื่นชอบของ Majority (ตบโต๊ะ)

นี่...เพื่อนเก่าทั้งนั้น

ประชาไท : แต่ก็มีเพื่อนเก่าที่เอารัฐประหารด้วยเหมือนกัน

เกษียร : ใช่ ก็บอดไปอีกข้างหนึ่ง มองไม่เห็นว่าการเอาทหารเข้ามาสู่การเมืองมันอันตราย มันใกล้ความรุนแรงแค่ไหน เพราะทหารเห็นปัญหาทุกอย่าง เป็นเรื่องของความมั่นคง พร้อมจะเข็นรถถังออกมาจัดการปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และยังกลับไปใช้วาทกรรมขวาจัด มี Royalist witch hunting มีการล่าแม่มด มองหาว่าใครบ้างที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์

อย่างน้อยตอนนี้มีอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 คนที่โดนกล่าวหาว่าปฏิเสธ ขัดแย้ง เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้แก่ อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แห่งแผนกประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ นี่คือมหาวิทยาลัยที่สูญเสียผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ ไปจนไม่สามารถอยู่ประเทศไทยได้ (หลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490) สูญเสียอธิการบดีป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไปจนไม่สามารถอยู่ประเทศไทยได้เหมือนกัน (หลังรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519) เพราะทั้งคู่ถูกตั้งข้อกล่าวหาอันเกี่ยวเนื่องด้วยสถาบันกษัตริย์และลัทธิ คอมมิวนิสต์ ซึ่งในชั้นหลังก็ประจักษ์ชัดว่าเป็นเท็จ แล้วตอนนี้ก็มีอาจารย์ 2 คนถูกกล่าวหาโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่ตัวเข้าใจเป็นแบบ นี้ ซึ่งข้อเรียกร้องขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีตามความเชื่อนั้น...ผมจำได้ว่า ในหลวงบอกว่ามัน "มั่ว" (พระราชดำรัสพระราชทานคณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล หัวหิน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2549)

ประชาไท : การกลับมาเฟื่องฟูของข้าราชการที่คิดว่าจะกลับมาเหมือนสมัยก่อนอีกนั้น คิดว่าจะเอาลงได้ไหม?

เกษียร : จริงๆ แล้วข้าราชการไทยส่วนใหญ่คุ้นชินกับการอยู่กับนักการเมืองมากกว่า หากินกับนักการเมืองจนรู้แล้วว่าจะต้องหากินยังไง มีไม่กี่กลุ่มหรอกที่พบว่าตัวเองอยู่กับนักการเมืองไม่ได้ อาจจะด้วยผลประโยชน์หรืออาจจะอธิบายว่าเป็นความรักชาติก็ตาม เช่น กองทัพ ตุลาการ เครือข่ายข้าราชบริพาร

ถามว่าอันนี้ดีไหม? ผมคิดว่าตราบใดที่มันไม่เป็นอำนาจที่จะไปขวางประชาธิปไตย มันก็น่าจะดีกว่าการที่ไม่มีอำนาจอะไรไปทัดทานพรรคการเมืองของกลุ่มทุนใหญ่ เลย แต่มันกลายเป็นว่าเราถูกบีบให้ไม่เหลือทางเลือก คือถ้าไม่ยังงั้นก็ต้องสยบอยู่กับทักษิณ แบบนี้อันตรายมากนะ

พวกคุณอยู่ประชาไทต้องรู้ดี ตั้งแต่เกิดรัฐประหารมาจนถึงปัจจุบัน ข้อความ "จาบจ้วง" ในเว็บบอร์ดมันถึงขั้นไหน ก่อนรัฐประหารแบบนี้ยังไม่มี มันคุ้มไหม? ดึงสถาบันกษัตริย์เข้าใกล้การเมืองขนาดนี้ มันจะนำไปสู่อะไร? (ดูข้อมูลข่าวประกอบใน "ไอซีทีร้องตัวเลขปิดเว็บสูงเกินจริง อึ้ง! เว็บหมิ่นพระบรมฯเพิ่มกว่า 50%", ผู้จัดการออนไลน์, 16 มีนาคม 2550)

มันมีต้นทุนที่ต้องจ่ายเวลาคุณอิงใช้ระบบราชการ ซึ่งผมนึกว่าเราก็เข้าใจแล้วนะว่ามันมีปัญหาแค่ไหน จนระยะหลังมานี้มีนักการเมืองเข้าไปแทรกแซง มันก็ฉิบหายไปอีกแบบ คือ ระบบราชการมันไม่สามารถทำสิ่งที่มันควรจะทำได้โดยเที่ยงตรง อันนี้ก็เป็นปัญหา เราจึงต้องจำกัดอำนาจนักการเมือง ทว่า เราควรตรวจสอบนักการเมืองด้วยพลังประชาชน โดยขบวนการจัดตั้งของประชาชน ต้องเพิ่มพื้นที่ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเช็คบิลรัฐบาลมากขึ้น แต่มันดันกลับกัน กลายเป็นมีแค่นักการเมืองกับระบบราชการเท่านั้น ประชาชนเป็นเบี้ยแล้วแต่ใครจะพาไปไหน
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   


http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01220650&day=2007/06/22&sectionid=0130


แปะเฉยๆ ไม่มีแนะแหน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-06-2007, 07:30 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 22-06-2007, 10:26 »



ทางเลือกที่3 ก็ผลักดันให้ไปเลือกตั้งที่สะอาดกว่าเดิม

แล้วก็รอดูว่าจะมีใครสืบทอดอำนาจเอาเปรียบแผ่นดิน

ก็ต้องเอามาลงโทษ อย่าปล่อยให้ใครพูดความจริงไม่หมดกับประชาชน..

เพราะสียงส่วนใหญ่เป็นโจร ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่พึงประสงอยู่ดี เป็นโจราธิปไตยดังที่ผ่านมา

ส่วนทหารชุดที่รัฐประหารมานี้ ผมยังไม่คิดว่าเราสามารถใช้คำว่าเผด็จการได้

ยังไม่มีใครที่ถูกยิงโดยทหารจากการรัฐประหารหรือประท้วงเลย มีแต่ขับรถไปชนรถถังเอง1ราย..

เป็นการปั่นหัวปลุกระดมครับ..เท่ากับว่าเมื่อภาพรวมไม่อำนาจนิยม จะบอกว่าเป็นเผด็จการผิดแล้วครับ

ผมว่าเข้ามาช่วยบ้านเมืองให้สงบเร็วขึ้นมากกว่า..ควรหันไปบอกพวกปลุกระดมยั่วยุให้เลิกนิสัยเดิมมากกว่า สื่อเน่าๆด้วยครับ..

อยากให้ผู้คอลัมน์นิสต์ลองเสนอแนวทางที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปได้นะครับ เบื่อพวกอ้างไม่หมด ใช้ไม่ได้ในสถานการณ์จริงครับ

ถือเป็นนักวิชาการ หรือนักต่อสู้จอมปลอม..
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: