ใครช่วยอธิบาย เรื่องกองทุนน้ำมันหน่อยครับ งงอีกแล่ะ
มันเป็นยังไง หลักการมันเป็นอย่างไร ทำอย่างไร เพราะอะไร ตอนแรกใครได้ประโยชน์
ตอนนีใครเสียประโยชน์ ผิดตรงไหน ชาติเสียหายตรงไหน นโยบายนี้ มันผิดอย่างไร
ผมก็พอรู้เรื่องนี้บ้าง แต่พอเข้ามาอ่านแล้ว งงจริงครับ จะฟ้องกัน สงสัย คนละกองทุนแล้ว
ที่คุยกันนี่มันเป็นอย่างไรครับ อธิบายหน่อย เห็นจะมีคุณจีแล้ว ที่จะช่วยได้ ยังไม่มีผู้รู้เข้ามาตอบ .. งั้นผมขอตอบตามที่เข้าใจ ถ้าตรงไหนผิดช่วยแย้งด้วย ...
กองทุนพยุงราคาน้ำมันมีมานานมากแล้ว เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพยุงราคาน้ำมัน
ค้าปลีกหน้าปั๊มไม่ให้วูบวาบมากหรือขึ้นลงรายวันถี่จนเกินไป
ยามที่ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น กองทุนก็ต้องควักเนื้อ(เงิน)จ่ายให้ผู้ค้าเพื่อชดเชย
้ไม่ให้ผู้ค้าขาดทุนโดยที่ผู้ค้าต้องไม่ขึ้นราคาหรือต้องขายตามราคาที่กำหนด้
ยามที่ราคาน้ำมันดิบลดลง ผู้ค้าก็ยังคงขายราคาเดิม แล้วต้องส่งกำไรส่วนเกินคืนเข้ากองทุน
รัฐบาลชวน๒ ช่วงประมาณปี ๔๒ หรือ ๔๓ (ไม่ค่อยแน่ใจ) ไม่่ให้ความสำคัญกับ
การใช้เครื่องมือ(กองทุน)นี้ โดยให้เหตุผลว่า "เป็นการบิดเบือนราคา"
มีครั้งหนึ่งที่น้ำมันขึ้นไปมาก (คาดว่า รัฐบาลชวน๒ สั่งให้) ปตท. ตรึงราคาน้ำมัน
ในขณะที่ บ.เอสโซ่ และ คาลเท็กซ์ อั้นไม่ไหว ต้องขึ้นราคา ผลที่ตามมาคือ
ผู้ใช้รถเติมแต่ ปตท. ทำให้ยอดขายของรายอื่นตกลงหมด
บ.เอสโซ่ และ คาลเท็กซ์ จึงรวมตัวกันขู่ว่า "จะไปฟ้องคุณพ่อเมกาเรื่องที่ ปตท.
แทรกแซงตลาด" แต่รัฐบาลชวน๒ ไม่สนใจคำขู่ .. สุดท้าย ทั้งสองบริษัทต้องลด
ราคาลงมาขายราคาเดียวกับ ปตท.
ตอนปี ๔๗ รัฐบาลทักษิณอุ้มราคาน้ำมันดีเซล โดยส่วนหนึ่งกองทุนจ่าย อีกส่วนหนึ่ง
ผู้ใช้เบนซินจ่าย แต่รวมแล้วกองทุนติดลบตูดบานเกือบแสนล้านบาท
คุณmebeam คิดว่า ยุติธรรมไหมที่ผู้ใช้รถเบนซิน ต้องจ่ายให้ผู้ใช้รถปิคอัพดีเซล
และ ผู้ใช้รถดีเซลไม่ต้องประหยัดการใช้เพราะราคาดีเซลคงที่ ผลคือ ผู้ใช้รถปิคอัพดีเซล
เผาน้ำมันโดยผู้อื่นต้องคอยจ่ายส่วนต่างให้อยู่นานถึง ๑๖ เดือน
- "
ผิดตรงไหน ชาติเสียหายตรงไหน" ผิดตรงการบิดเบือนราคาน้ำมัน
ทำให้ผู้ใช้ไม่ค่อยคำนึงถึงการที่ต้องประหยัด เกิดการเสียดุลมากขึ้นจากเดิม
...