ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-12-2024, 11:46
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง  (อ่าน 1126 ครั้ง)
hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« เมื่อ: 02-05-2006, 21:16 »

อ้างถึง  http://www.manager.co.th/lite/ViewNews.aspx?NewsID=9490000057925

มีใจความว่า  ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณา  ปํญหาที่เกิดกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  แต่ไม่มีอำนาจที่จะพิจรณาเขตอำนาจศาล  อำนาจดังกลาวเป็นอำนาจของ คณะกรรมการระหว่างศาลที่มีประธานศาลฏีกาเป็นประธาน ( รัฐธรรมนูญมาตรา 248  “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด โดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกิน 4 คน ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการ"  )     

อ้า  ผมว่า มีประเด็นข้อกฏหมายน่าสนใจ  ขอเชิญสมาชิกที่มีความรู้กฏหมายช่วยวิพากษ์ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 02-05-2006, 23:08 »

ที่จริงรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว แทบไม่ต้องตีความ
บันทึกการเข้า

RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 03-05-2006, 02:24 »

เอ่อ ก็ต้องตีความอีกไหมครับ ว่าอย่างไหนเรียกว่า "กรณีที่มีปัญหา"
การที่มี ส.ส. ไทยรักไทยออกมาร้องเย้วๆ เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา ว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจที่จะตัดสินคดีของ กกต.
แบบนี้จะเรียกว่าเป็น "กรณีที่มีปัญหา" หรือยังครับ หรือว่าเป็นแค่ "กรณีที่มีคนอยากมีปัญหา"???
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« ตอบ #3 เมื่อ: 03-05-2006, 08:08 »

การจัดการเลือกตั้ง ต้องเป็นไปอย่างสุจริต เที่ยงธรรม ถูกกฏหมาย หาก ขัดต่อกฏหมาย (กรณี ที่สามารถให้บุคคลแอบดูได้โดยง่าย อาจเพราะจงใจ หรือ ประมาท   เข้าข่ายขัดต่อกฏหมาย) เป็นอำนาจของศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อาจล่วงละเมิดได้

การตีความ ว่า ความเห็น หรือ เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ เป็นอย่างไร  เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง เมื่อมีการก้าวล่วงเกี่ยวพัน ในเขตอำนาจศาลต่างกัน จำเป็นต้องใช้คณะกรรมการระหว่างศาล   จึงเป็นจุดที่ต้องพิจารณา ของศาลที่เกี่ยวข้อง


นักเรียนกฎหมาย  คงมีกรณีศึกษา กันแยะมากๆ ช่วงนี้

คุณโภคิน มาพูดเรื่อง ไม่มีคำว่าโมฆะ  มีแต่เพิกถอน   เอ ผมว่ามันเหมือนกัน  ไม่เข้าใจประเด็นนะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: