ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
03-12-2024, 00:36
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สโมสรริมน้ำ  |  รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
รายงาน วิชาสังคม : ศาลาฯ...กรุงเทพมหานคร  (อ่าน 5087 ครั้ง)
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« เมื่อ: 30-03-2007, 14:14 »


กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า" เมืองบางกอก" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่แทน กรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรม จากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ทรงพระราชทานนามพระนครนี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนนามพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรีและภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่ากรุงเทพฯ
 
กรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการปกครอง การสื่อสาร การพาณิชย์ การเงิน-การธนาคาร การคมนาคมขนส่ง การศึกษา ฯลฯ แบ่งการปกครองเป็น 50 เขต โดยมีพื้นที่ทั้งหมด1,562.2 ตารางกิโลเมตร


บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #1 เมื่อ: 30-03-2007, 14:18 »


สภากรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร หากนับอายุของ สภากรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ได้มี
การสถาปนา กรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 35 ปี ในปี พ.ศ. 2550 สภากรุงเทพมหานคร จึงเห็นสมควรให้มีการรวบรวม ประวัติความเป้นมาตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ภารกิจ และผลงานของสภากรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงของสภา กรุงเทพมหานครให้อนุชน รุ่นหลังได้ศึกษาและค้นคว้า เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการเผยแพร่ กิจกรรมของสภากรุงเทพมหานคร และมอบเป็นของที่ระลึก แก่ผู้มาเยี่ยมเยียน สภากรุงเทพมหานครทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ


บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #2 เมื่อ: 30-03-2007, 14:18 »

เข้ามานั่งยกมือเช็คชื่อ

buntoshi

มาคร้าบ

 
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #3 เมื่อ: 30-03-2007, 14:24 »

เข้ามานั่งยกมือเช็คชื่อ
buntoshi
มาคร้าบ
 


  เด็กชาย บุญโต    ทำรายงาน สอบซ่อม ถาคฤดูร้อนหรือยังฮะ ?

บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 30-03-2007, 14:27 »

มีรายงานประวัติเปรตวัดสุทัศน์ไหมครับ  Mr. Green


* เอารูปทำเลมาฝาก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-03-2007, 14:49 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #5 เมื่อ: 30-03-2007, 14:43 »

เข้ามานั่งยกมือเช็คชื่อ
buntoshi
มาคร้าบ
 


  เด็กชาย บุญโต    ทำรายงาน สอบซ่อม ถาคฤดูร้อนหรือยังฮะ ?



แหม่ จารย์ลูกหินครับ เรื่องที่ผ่านมาแล้วก็ให้มันผ่านไปเถอะนะครับ อย่าไปใส่ใจมันเลยครับ

เรามาสมานฉันท์กันดีกว่านะครับจารย์

ถึงผมอายุยังน้อยแต่ผมก็มีความคิดแบบผู้ใหญ่สมัยนี้นะครับ

หมานฉันท์ หมานฉันท์ 
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
TheBluECaT
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 824


"แมวน้อยสีน้ำเงิน..."


« ตอบ #6 เมื่อ: 30-03-2007, 16:47 »

เด็กชาย "แมว" ก็มาแล้วครับ...

ส่วนรายงาน ขอเลื่อนไปส่งหลังเลือกตั้งนะครับ...'จารย์ลูกหิน

ตอนนี้ม่ะมี 'รมณ์
   
บันทึกการเข้า

"ยามบุญมากาไก่กลายเป็นหงส์  ยามบุญหลงหงส์เป็นกาน่าฉงน...
ยามบุญมาหมูหมากลายเป็นคน  ยามบุญหล่นคนเป็นหมาน่าอัศจรรย์"
เก็ดถวา
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 2,753



« ตอบ #7 เมื่อ: 30-03-2007, 16:54 »




มาแอบอ่านค่ะ
บันทึกการเข้า

Avada Kedavra!!!!!!!
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #8 เมื่อ: 30-03-2007, 18:19 »

*  หืมมม์  ....

    ในเวปนี้มี  บุนโต  กะ  TheBluECaT

    เป็น... เด็กโข่ง ... ด้วยเร๊อะ   


บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 31-03-2007, 21:35 »


ส่งรายงานวิชาสังคม : กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา โหราศาสตร์ การวางดวงเมืองค่ะ

ส่วนดวงศาลาว่าการยังไม่มีใครผูกนะคะ สงสัยเหมือนกันว่าเค้าดูกันหรือเปล่า

ลองมาทั้งดุ้นเลยค่ะ http://www.lekpluto.com/index01/sub17.htm

   ดวงเมืองบางกอก หรือดวงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการบรรจุเอาไว้  ณ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ น.  โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงประกอบพระราชพิธียกเสาหลักเมือง บวงสรวงบูรพมหากษัตราธิราช  ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีทุกประการ  ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงปาฎิหาริย์ขณะกำลังประกอบพิธีไว้ว่า  ได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ "มีพระอาทิตย์ทรงกลด ถึง ๗ วัน ติดต่อกัน "  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรับรู้รับทราบของบรรดาทวยเทพทั้งหลาย  ตั้งแต่เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ตามคติของพราหมณ์ อาทิพระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ หรือคติของไทยได้แก่ พระอินทร์ พระยม ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่  อันได้แก่ท้าวเวสสุวัณมหาราช ท้าวธตรฐมหาราช ท้าววิรุฬหกมหาราช  และท้าววิรูปักษ์มหาราช และที่จะขาดไม่ได้ก็คือ เทวดาพระเคราะห์ทั้ง ๘ อันได้แก่  พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฯลฯ ตลอดจนเทพารักษ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ พระเสื้อเมือง  พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง  ต่างก็มาร่วมเป็นทิพสักขี อนุโมทนาสาธุการ ในพิธีการมงคล   " ยกเสาเอก หรือเสาหลักเมือง" ของเมืองบางกอก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ   "เสาหลักประเทศไทย"
                ทั้งนี้เนื่องจากกรุงเทพมหานคร ถือเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงของไทยนั่นเอง  เรื่องปาฎิหาริย์เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดนี้ จริงเท็จประการใดผู้เขียนไม่ขอยืนยัน แต่ที่แน่นอนและกล้ายืนยัน เพราะเห็นด้วยตาตนเอง ก็คือตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตราธิราช สมโภชดวงเมืองรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ ในช่วงเช้าก่อนเที่ยง (ขออภัยที่จำเวลาบวงสรวงไม่ได้) ณ ปะรำพิธีมณฑลท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๐๐ ปี กรุงเทพมหานคร  ขณะนั้นผู้เขียนกำลังชมการถ่ายทอดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจอยู่ที่บ้าน ในซอยวัดดีดวด ฝั่งธนบุรี ไม่ไกลจากท้องสนามหลวงเท่าใดนักโทรทัศน์ได้ถ่ายภาพ  พระอาทิตย์ทรงกลดที่เกิดขึ้นขณะที่ทรงประกอบพระราชพิธี เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว เพื่อพิสูจน์ว่าสถานีโทรทัศน์ไม่ได้ใช้เทคนิคในการถ่ายทำ จึงได้ลุกออกมาดูพระอาทิตย์ที่นอกชายคาบ้าน ปรากฎว่า พระอาทิตย์ทรงกลดจริง ๆ ด้วย เรื่องนี้หากใครสงสัยว่าผู้เขียนจะ "ยกเมฆ" ขึ้นมา ลองหาวีดีโอเทปบันทึกภาพดังกล่าวดูได้ เชื่อว่าบางร้านที่ให้เช่าวีดีโอ คงจะเก็บเอาไว้บ้าง เพราะมีการจัดทำมาสเตอร์เทปออกจำหน่าย เป็๋นจำนวนไม่น้อยทีเดียว
                เสาหลักเมืองต้นแรกที่ยกเอาไว้ในรัชกาลที่ ๑ ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวคู่กับบ้านเมืองของเรามาจนถึงรัชกาลที่ ๔ ปรากฎว่า "ศาลหลักเมือง" ชำรุดทรุดโทรมลงมาก จึงโปรดให้ทำองค์ศาล และหลักเมืองพร้อมทั้งบรรจุดวงชะตาเมืองเสียใหม่ เสร็จแล้วมีการสมโภชแผ่นพระฤกษ์ที่ได้บรรจุดวงชาตาพระนครลงซึ่งทำด้วยทองคำหนัก ๑ บาท แผ่กว้าง ๕ นิ้ว จารึกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส, กรมหมื่นบวรรังษี (ทรงผนวชเป็นพระราชาคณะวัดรังษี) และพระสงฆ์ราชาคณะอีก ๓ รูป รวม ๕ รูปได้เจริญพระปริตรเวลาจารึก ในวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม ๙ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๑๔ หรือพุทธศักราช ๒๓๙๕

                                                                         เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
                ดังนั้นหากท่านเข้าไปในศาลหลักเมือง ซึ่งปัจจุบันทำเป็นทรงจตุรมุข ท่านจะเห็นเสาหลักเมืองทั้งของเก่าและของใหม่ ต้นเล็กเป็นของเก่า ส่วนต้นใหญ่เป็นของใหม่ วางคู่กันอยู่  ในด้านทิศเหนือของศาลหลักเมืองจะมีหอพระ ติดกับประตูทางเข้าประตูเล็ก ยกเป็นศาลาทรงไทย ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร มีบันไดทางขึ้น ๒ ด้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในประดิษฐานพระปางประจำวันเกิด พระสยามเทวาธิราช (จำลอง) และพระเสี่ยงทาย ซึ่งพระเสี่ยงทายนี้เป็นของเก่าแก่คู่ศาลหลักเมืองมานาน   ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีมาแต่ยุคสมัยใด เป็นพระที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก หน้าตักกว้างประมาณ ๑ ฟุต สูงประมาณ ๑ ฟุตกว่า ๆ  ไม่ใหญ่และไม่หนักมากคติความเชื่อมีอยู่ว่า "ถ้าคนใดเข้าไปไหว้พระเสี่ยงทายแล้ว อธิษฐานขอพรอันใดแล้วถ้าสิ่งที่อธิษฐาน หรือบนบาน สำเร็จหรือได้ผล ก็จะยกพระเสี่ยงทายขึ้นแต่ถ้าสิ่งที่อธิษฐานบนบานไม่สำเร็จลุล่วงก็จะยกพระเสี่ยงทายไม่ขึ้น"
                ซึ่งเรื่องนี้ถ้าว่ากันตามหลักการและเหตุผลแล้ว ไม่น่าจะเป็นไปได้หรือน่าเชื่อถือเท่าไรนัก แต่ก็นั่นแหละครับ ถ้าไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ ผู้เขียนเองไปทีไร ชอบที่จะอธิษฐานบนบานขอพรให้สำเร็จและยกพระเสี่ยงทายทุกครั้ง และก็ยกขึ้นทุกครั้งเสียด้วย ส่วนผลของคำอธิษฐานจะออกมาในรูปไหน สำเร็จสมหวัง หรือผิดหวังนั้น ช่างมันเถอะครับ ที่ทำลงไปก็เพื่อเสริมขวัญและกำลังใจ ในอันที่จะต่อสู้กับกระแสชีวิตในโลกที่เชี่ยวกราก ให้รอดพ้นไปวัน ๆ มันก็เท่านั้นเอง
                   นอกจากหอพระที่อยู่ทางด้านทิศเหนือซึ่งมีพระประจำวันเกิด พระเสี่ยงทายและองค์พระสยามเทวาธิราช จำลองแล้ว ในด้านทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จะมีศาลเทพารักษ์ทั้ง ๕ ซึ่งประดิษฐานเทวรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง อันได้แก่พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อเจตคุปต์ และเจ้าพ่อหอกลอง อันเป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างสูงยิ่งของพระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไปทั้งแผ่นดิน จะถือได้ว่าเป็นเทพบริวารขององค์พระสยามเทวาธิราชก็ว่าได้ ในการพระราชพิธีต่าง ๆ จะต้องมีการอัญเชิญองค์พระสยามเทวาธิราช และเทพารักษ์ทั้ง ๕ ให้มาประทับในพระราชพิธี เป็นทิพสักขี เพื่อความเป็นสิริมงคลสวัสดีในการประกอบพระราชพิธีทุกครั้งไป
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
หน้า: [1]
    กระโดดไป: