เป็นที่ยอมรับกันชัดเจนแล้วว่า ประเทศจีน ณ วันนี้ ไม่เพียงแค่เศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูงและทำให้จีนเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่จีนยังสามารถพัฒนาเทคโนโลยี่ได้ก้าวหน้าไม่น้อยไปกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในสหภาพยุโรป(อียู) โดยเฉพาะเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนจีนทุ่มทุนพัฒนาเอง และซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติเข้ามายกระดับ ซึ่งเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี รถยนต์ สินค้าคอนซูเมอร์ ไปจนถึงสิ่งก่อสร้าง อาคารสูง ยานอวกาศ
รวมถึงเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ ที่จีนกำลังพัฒนารุ่น ARJ21 ออกมาชนกับ โบอิ้ง 737 และแอร์บัส 320 สำหรับใช้บินภายในประเทศ เป้าหมายเพื่อรองรับตลาดการบินในประเทศรวมทั้งจำนวนผู้โดยสารที่กำลังขยายตัว โดยบริษัทคอนซอเตี่ยม AVIC I Commercial Aircraft Co. Ltd. (ACAC) และได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทต่างชาติที่ซัพพลายชิ้นส่วนเครื่องบิน และระบบย่อยให้รวมประมาณ 19 บริษัท อาทิ เจอเนอรัล อิเล็คตริก(จีอี) ผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน และ ร็อคเวลล์ คอลลินส์ ผลิตเทคโนโลยีการบิน ให้ โดยบริษัทวางแผนนำเครื่องบินต้นแบบมาทดสอบบินเที่ยวแรกเดือนมีนาคม 2551 และคาดว่าจะนำมาบินให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ประมาณกันยายน 2552
นาย ซวี๊ กว่านหัว รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน เคยกล่าวไว้เมื่อมกราคมที่ผ่านมาว่า การพัฒนาเทคโนโลยีผลิตเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์แบบลำตัวกว้าง เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญในระดับต้นๆ เป้าหมายเพื่อเป็นคู่แข่งแย่งส่วนแบ่งตลาด จากผู้ผลิตเครื่องบิน 2 รายใหญ่ของโลก คือ โบอิ้ง และแอร์บัส และรองรับการบินในประเทศที่จำนวนผู้โดยสารกำลังขยายตัว
โดยค่ายโบอิ้ง มองว่า จีนจะเป็นตลาดที่อุตสาหกรรมการบินขยายตัวเร็วที่สุดในโลก และคาดการณ์ว่าจะสามารถขายเครื่องบินพาณิชย์ให้จีนได้ 2,880 ลำ รวมมูลค่า 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า ขณะนี้รายงานการวิจัยตลาดจีนของแอร์บัส คาดการณ์ว่า ระหว่างปี 2549-2568 จีนจะมีความต้องการเครื่องบินโดยสารและขนส่งสินค้ารวม 3,000 ลำ แยกเป็นเครื่องบินแบบทางเดินเดียว 2,050 ลำ แบบสองทางเดินเกือบ 600 ลำ แบบพิสัยบินระยะปานกลาง 200 ลำ และเครื่องบินขนาดใหญ่ 180 ลำ
ดูจากตัวเลขข้างต้นแล้ว
จีนจึงมองว่า แทนที่จะกลายเป็นผู้ซื้อเครื่องบินรายใหญ่สุดของโลกในอนาคต น่าจะเป็นผู้ลงทุนสร้างเครื่องบินแบรนด์ของตัวเองดีกว่า และเริ่มจัดสรรงบประมาณพัฒนา ARJ21 มาตั้งแต่ปี 2545 ขั้นแรก 646 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเครื่องบินที่บรรทุกผู้โดยสารได้ 70-110 ที่นั่ง นอกจากนี้
จีนยังได้เรียนรู้จากทั้งโบอิ้งและแอร์บัส เนื่องจากมีผู้ผลิตจีนหลายแห่งที่ซัพพลายชิ้นส่วนเครื่องบินให้กับทั้งสองบริษัท ยังไม่รวมผู้ผลิตเครื่องบินขนาดเล็ก เช่นเอ็มบราเออร์ และบอมบาร์ดิเอ้ ที่เข้าไปตั้งฐานผลิตในจีน และล่าสุดแอร์บัสได้ตัดสินใจที่จะเข้าไปตั้งศูนย์ซอร์ซซิ่งชิ้นส่วนเครื่องบินในจีนปลายปีนี้ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมาอุตสาหกรรมการบินของจีนขยายตัวในอัตรา 18% ต่อปี โดย 60% ของเที่ยวบินจะมีระยะบินระหว่าง 600-2,200 กิโลเมตร และเฉลี่ย 80% ของเที่ยวบินแต่ละวันจะขนผู้โดยสารเที่ยวละไม่เกิน 100 คน
ปัจจุบัน ARJ21 มียอดสั่งซื้อจากสายการบินในประเทศจีนแล้ว 71 ลำ และในระยะ 20 ปีข้างหน้าจีนคาดหวังว่าจะทำยอดขายในประเทศได้ ถึง 300 ลำมองผิวเผิน อาจจะเห็นว่า ที่จีนยอมลงทุนและใช้เวลาพัฒนา ARJ21 ไม่น่าจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง (ข้ออ้างสุดโปรดของคนไทยบางคน ที่มีอาชีพกินหัวคิว มันเลยเป็นง่อยไปเรื่อยๆ)
แต่จีนเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีเพราะไม่เพียงสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศมาจากโบอิ้งและแอร์บัสได้เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการออกไปแย่งส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะเอเชีย อาฟริกา และอเมริกาใต้ ด้วยกลยุทธราคาที่จูงใจ และคุณภาพที่แข่งขันได้ เหมือนกับรุ่น Xinzhou-60 เทอร์โบบ๊อปที่ขายไปทั่วโลกแล้วก่อนหน้านี้ http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T1021998&issue=2199จีนตั้งเป้าผลิตเครื่องบินซูเปอร์จัมโบ้เองได้ภายในปี256313 มีนาคม พ.ศ. 2550 09:18:00
อุตสาหกรรมการบินที่ขยายตัวรวดเร็ว ทำให้จีนมีแผนผลิตเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่เองได้ภายในปี 2563 เพื่อประหยัดเงินที่จะต้อง นำเข้าเครื่องบินจากต่างประเทศ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานเมื่อวันจันทร์ว่า รัฐบาลจีนมีแผนผลิตเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่เองได้ภายในปี 2563 เพื่อแข่งขันกับบริษัทผลิตเครื่องบินแอร์บัสและโบอิ้ง สองบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดเครื่องบินของโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด โดยจีนตั้งเป้าว่าจะจัดทำแบบพิมพ์เขียวของเครื่องบินได้เสร็จในปี 2553
เป้าหมายสำคัญของการผลิตเครื่องบินลำยักษ์ขึ้นเองก็
เพื่อประหยัดเงินหลายพันล้านในการนำเข้าเครื่องบินจากต่างประเทศ ในภาวะที่อุตสาหกรรมการบินของจีนกำลังขยายตัวอย่างมาก โดยจีนกำลังอยู่ในช่วงกลางของแผนการจัดซื้อเครื่องบิน 500 ลำสร้างสนามบิน 48 แห่ง และจ้างนักบิน5,000 คนในระยะเวลา 5 ปี และคาดว่าในปี 2568 จะต้องใช้เงินอีกหลายล้านล้านดอลลาร์เพื่อจัดซื้อเครื่องบิน 2,230 ลำ
นอกจากนี้ในปัจจุบัน จีนมีอำนาจทางเศรษฐกิจและทักษะทางเทคโนโลยีมากพอที่จะผลิตเครื่องบินลำยักษ์ได้เองขณะเดียวกันนายหลิว ต้าเซียง ผู้เชี่ยวชาญการบินและสมาชิกสภาประชาชนจีน ซึ่งเสนอญัตติให้เริ่มโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องบินขนาดใหญ่ต่อที่ประชุมสภาประจำปีมานาน 3 ปีแล้ว
คาดหวังว่าเครื่องบินลำใหญ่ที่จีนสร้างเองจะขึ้นบินได้ภายใน 10-15 ปีข้างหน้า โดยน่าจะเป็นการผลิตเครื่องบินบรรทุกสินค้าก่อน เพราะสามารถออกแบบและสร้างได้ง่ายกว่าเครื่องบินโดยสารhttp://www.bangkokbiznews.com/2007/03/13/WW10_WW10_news.php?newsid=58621จีนมาขนาดนี้ได้เพราะผู้นำประเทศมันฉลาด ทำเพื่อชาติ ไอ้ที่คิดแค่ว่าเชิญต่างชาติมาลงทุนสร้าง แล้วนั่งภาวนาว่าเทคโนโลยีจะไหลมาเข้าสมองคนของตัวเองอัตโนมัติเป็นไปไม่ได้หรอก ของไทยเจอไอ้โจรเสื้อนอกหน้าเหลี่ยมโกงไม่พอ มาเจอไอ้ฤาษีโง่ไปรับของโจรอีก อย่าหวังเลยว่าจะเจริญ
โครงการรถไฟฟ้าไม่ว่าจะ 2-5 สาย จะสร้างขึ้นมา ถือเป็นโอกาสอันดีอีกครั้งที่จะสร้างฐานเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อพึ่งตัวเอง ถ้าไอ้ฤาษีสมองทึบที่มันพร่ำบ่นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมันเข้าใจจริงๆ ก็ควรจะนึกถึงการพึ่งตัวเองให้ได้ ไม่ใช่นึกอะไรไม่ออกก็ซื้อลูกเดียว เกาะไต้หวันเล็กนิดเดียวมันก็สร้างเฮลิคอปเตอร์ใช้เอง โปโตกเกาะมันเล็กมันยังอุตส่าห์พัฒนาเทคโนโลยี NEWater ถึงจะทำจากขี้เยี่ยวก็เพื่อพึ่งพาน้ำจืดด้วยตัวเอง ประเทศมีพื้นที่ขนาดประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งตัวเองด้านเทคโนโลยีคมนาคมให้ได้ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบุคคลที่พัฒนาขึ้นมา แล้วเรียนรู้ต่อยอดให้ได้ แต่ไม่มีใครคิดเลย สมน้ำหน้า ซ้ำร้ายปากยังอ้างว่าเศรษฐกิจพอเพียง งั้นก็จนดักดานไปก็แล้วกัน เป็นเวรเป็นกรรมอะไรของประเทศนี้วะเนี่ย .... อัปรีย์ไป จั***มา
ไปดูความพยายามพัฒนาปรับปรุง สร้างบ้านแปงเมืองของเขาดีกว่า vdo clip
http://www.bestsharing.com/f/bhdfh240229

http://www.avic1.com.cn/