"ธาริษา" ชิงเลิกสำรอง 30% หลัง 15 มี.ค.
"ประสาร" จี้ลด ดบ. สกัดบาทแข็ง ติง รมว.คลัง คิดให้ดี
ก่อนรื้อ ธปท.
"ธาริษา"ชิงตัดหน้าขุนคลังคนใหม่ ประกาศเตรียมยกเลิกมาตรการ
กันสำรอง 30% หลัง 15 มี.ค.นี้ ถ้าเกณฑ์ให้ซื้อความเสี่ยงเต็ม 100% ได้ผลดี
"ประสาร" เตือนบาทส่อเค้าแข็งค่าไม่หยุด แนะ ธปท. ถึงเวลาลดดอกเบี้ย
ติงรัฐมนตรีคลังคนใหม่คิดให้รอบคอบก่อนยกเลิก 30% ตีกันเปลี่ยนตัว
ผู้ว่าการ ธปท. ระวังเจอปัญหาความเชื่อมั่นผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ธปท.ควรดูแลค่าเงินบาทหรือไม่" จัดโดย
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยระบุว่า ธปท.จะรอดู
ผลจากเกณฑ์ที่ ธปท. ได้
เพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนที่นำเงินตราต่างประเทศแลกเงิน
บาทเพื่อลงทุนในตราสารหนี้และกองทุนรวมทุกประเภทสามารถทำสัญญาป้องกันความ
เสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเต็มจำนวน (Fully Hedge) หรือจะกันสำรอง 30% ตามเดิม
เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 15 มีนาคมนี้ ซึ่ง
หากสามารถดูแลการเก็งกำไรค่าเงินบาทระยะสั้น
ทาง ธปท.
ก็จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ที่บังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม
2549 และให้ทำ Fully Hedge แทน
นางธาริษากล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ ธปท.จะต้องพิจารณาหลังจากวันที่ 15 มีนาคม
ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ
1. สถาบันการเงินมีสภาพคล่องเงินบาทสามารถรองรับความต้องการในการป้องกัน
ความเสี่ยงได้เพียงพอหรือไม่
ซึ่ง ธปท. เชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหา เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินมีสภาพคล่อง
เหลือจำนวนมาก ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวไม่มากนักโดยปี 2549 สินเชื่อขยายตัว
ได้เพียง 6-7%
2. นักลงทุนที่นำเงินตราต่างประเทศเข้ามามีช่องทางหลีกเลี่ยงไม่ทำ Fully Hedge
หรือไม่
ซึ่งจากการสอบถามสถาบันการเงิน เห็นว่าการใช้วิธีนี้คล่องตัวมากกว่าการกัน
สำรอง 30%
นางธาริษากล่าวว่า การยกเลิกมาตรการ 30% แต่ให้ทำ Fully Hedge แทนจะไม่มีผล
ต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน โดยมั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ปรับขึ้น
ไปจากระดับปัจจุบันที่ 4.5% แน่นอน แต่ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลงหรือไม่เป็น
เรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะต้องพิจารณาจากข้อมูลและปัจจัยแวดล้อมใน
ช่วงนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม นางธาริษากล่าวว่า ตนยังไม่ได้พูดคุยกับนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ แต่อยู่ระหว่างการติดต่อ ซึ่ง ธปท. จะต้อง
รายงานงานที่ค้างอยู่ รวมถึงนโยบายมาตรการกันสำรอง 30% ด้วย
***
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
เปิดเผยว่า การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้ ซึ่งใกล้แตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์นั้น
ถือว่าเป็นแนวโน้มที่หลีกเลี่ยงยาก เนื่องจากในช่วงปี 2547-2548 ค่าเงินบาทอยู่ใน
ระดับต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานจริง จึงทำให้นักลงทุนมองว่า มีโอกาสที่จะแข็งค่าสูงกว่า
เงินสกุลอื่น อีกทั้งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในขณะนี้จะมีผลให้เงินบาทต้องแข็งค่า
ดังนั้น การทำให้เงินบาทอ่อนค่าจะเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ
"เห็นว่า ธปท.ถึงเวลาที่จะต้องใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยชะลอการไหลเข้า
ของทุนต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นมาตรการที่ไม่เห็นผลในทันที แต่น่าจะเหมาะสมที่สุด
ในขณะนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยในปัจจุบันก็อยู่ในระดับต่ำ และมีแนวโน้มจะ
ลดลงอีกในเดือนพฤษภาคมนี้"
นายประสารกล่าวว่า ส่วนการจะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% หรือไม่นั้น ควรจะ
ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ เนื่องจาก
เหตุผลที่ใช้มาตรการเป็นโจทย์ทางเทคนิค
แต่ปัจจุบันกลายเป็นโจทย์ทางการเมืองไปแล้ว เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันถึง
ความจำเป็นต้องใช้มาตรการนี้เพื่อดูแลผู้ส่งออก ดังนั้น หากรัฐมนตรีคลังคนใหม่จะ
ยกเลิก ก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลดีผลเสียที่จะได้รับ
"ขณะนี้ ธปท. ผ่อนคลายจนแทบจะยกเลิกมาตรการกันสำรองอยู่แล้ว โดยเปลี่ยนเป็น
การให้ป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวนแทน ซึ่งมีผลให้การทำงานของระบบไม่คล่องตัว
เพิ่มต้นทุนในการนำเข้าทุนต่างประเทศ"
นายประสารกล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวลือว่า จะมีการปรับเปลี่ยนตัวผู้ว่าการ
ธปท. นั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องพิจารณาให้ดี เนื่องจากปัญหาเฉพาะหน้า
ของไทยในขณะนี้คือ ปัญหาความเชื่อมั่นในสายตานักลงทุนต่างประเทศ ดังนั้น
หากจะดำเนินการอะไร ควรคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอันดับแรก
มติชน วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10591http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01eco01100350&day=2007/03/10§ionid=0103ไม่ได้ยกเลิกทันทีนี่นา ให้ลองเลือกดูว่าจะชอบทำอย่างไหน
จากนั้นจึงมาประเมินแล้วค่อยตัดสินใจ ว่าเลิกดีหรือไม่
สงสัยทำไมต้องประกาศตัดหน้าด้วย?
ท่าจะเป็นของดีแน่แท้ ถึงต้องแย่งกันทำ