ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
18-12-2024, 16:44
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  ไม่รู้ต้องอ่าน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ไม่รู้ต้องอ่าน  (อ่าน 1402 ครั้ง)
Art.
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 09-08-2007, 11:09 »

 
 
 ดีเบตรัฐธรรมนูญที่ มช. “สมชาย ปรีชาศิลปกุล” หยัน 19 ส.ค. เป็น ‘ปาหี่มติ’  
 




ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มช. (แฟ้มภาพ)

 

ประชาไท - 9 ส.ค. 50 วานนี้ (8 ส.ค.) ที่คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้จัดให้มีการเสวนาในโครงการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และการลงประชามติ ขึ้นที่ ห้องประชุมชั้นสอง คณะสังคมศาสตร์ โดยมีวิทยากรคือ ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , อาจารย์ตระกูล มีชัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 บรรณาธิการอาวุโสและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ข่าวสด, มติชน

 

 

ไม่สามารถเรียก ‘ประชามติ’ ได้เต็มปาก

ผศ.สมชาย ได้เริ่มพูดถึงรัฐธรรมนูญในสังคมไทยไว้ว่า แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ ฉบับรัฐสภา , ฉบับอำนาจนิยม และ ฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิไตย

 

“ผมไม่สามารถเรียกการลงคะแนนครั้งนี้ว่าเป็นประชามติได้อย่างเต็มปาก” อาจารย์สมชายกล่าวโดยให้เหตุผลว่า ความหมายของคำว่า “ประชามติ” นั้นคือกระบวนการให้คนในสังคมหรือก็คือประชาชนร่วมตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ และคนในสังคมจะต้องมีความรู้ ต้องมีการถกเถียงได้อย่างเสรี

 

 

เชื่อไม่มีใครอ่านจบ เพราะคนไทยอ่าน 7 บรรทัดต่อปี

ผศ.สมชายยังได้กล่าวต่ออีกว่า การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของไทยในครั้งนี้ละเลยอยู่ 4 เรื่อง

 

เรื่องแรกคือ ระยะเวลา ร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ให้เวลาแก่ประชาชนน้อยเกินไปในการศึกษาร่าง เพราะมีเนื้อหาอยู่มาก ทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาตีความ แต่กลับมีระยะเวลาเพียง 19 วันในการที่จะให้ประชาชนพิจารณา

 

กรณีของประเทศไทย ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับนี้ มีทั้งหมด 170 หน้า เป็นเนื้อหาโดยเฉลี่ยหน้าละ 25 บรรทัด ทั้งหมดประกอบด้วย 4,250 บรรทัด แต่โดยอัตราการอ่านของประชากรไทย จากการสำรวจเมื่อปี 2548 พบว่า ประชากรไทยอ่านหนังสือ 7 บรรทัดต่อปี ดังนั้น ถ้าคำนวณจากอัตรามาตรฐานที่เป็นปกติของคนไทย เราจะใช้ระยะเวลาอ่านหนังสือเล่มนี้ 600 ปี แต่อ่านแล้วจะเข้าใจหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่โชคดีว่าตอนนี้ประเทศไทยมีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน พยายามเร่งอัตราการอ่านของคนไทยให้เร็วขึ้นเป็น 12 บรรทัดต่อปี ถ้าหน่วยงานรัฐสามารถเร่งให้สามารถอ่านได้ 12 บรรทัดต่อปี  แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะถูกอ่านจบภายใน 350 ปี  

 

อย่างไรก็ดี เรากำลังพูดถึงรัฐธรรมนูญที่ให้คนทั่วไปอ่าน เขาเชื่อว่าใครที่อ่านรัฐธรรมนูญไม่จบก็ไม่แปลก แต่ใครที่อ่านจบ ไม่ใช่แค่แปลกธรรมดาแต่เป็นอภิมหาแปลก เพราะวัดอัตราเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญในเมืองไทย 1 ฉบับมีอายุเฉลี่ย 4 ปี 6 เดือน พออ่านจบท่องได้ทั้งหมด 309 มาตรา ก็ถูกฉีกทิ้งอีกแล้ว  

 

“ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำประชามติเรื่องหนึ่ง คือ ระยะเวลา ต้องมีระยะเวลาที่เปิดโอกาสให้ประชาชนอ่าน ไม่ใช่แค่อ่านอย่างเดียว แต่ตั้งทำความเข้าใจด้วย มีการคิดวิเคราะห์ ถกเถียง แต่การลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้มีระยะเวลาที่เพียงพอ มีระยะเวลาในการอ่านรัฐธรรมนูญให้จบเพียงประมาณ 19 วัน ในขณะที่ตามมาตรฐานการอ่านของคนไทย จะใช้เวลาอ่านถึง 600 ปี” ผศ.สมชาย กล่าว

 

เขากล่าวด้วยว่า จริงๆ แล้วประชามติส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่จะทำเป็นประเด็นๆ ไป แต่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ให้มีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทั้งที่รัฐธรรมนูญนั้นมีเนื้อหาอยู่หลายประเด็น แต่จะให้ลงประชามติ รับ-ไม่รับ ทั้งฉบับ โดยเหมารวมทุกประเด็น

 

 

ชี้ กกต. ไม่ทำหน้าที่ ‘เป็นกลาง’ และ ‘เป็นธรรม’

เรื่องที่ 2 เมื่อมีการทำประชามติ หน่วยงานรัฐ คณะกรรมการการจัดการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง และเป็นธรรม ต้องไม่เอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงสื่อสาธารณะ ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ในที่นี้กลับบอกว่า ใครรณรงค์ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นถือเป็นการผิดกฎหมาย ซึ่งมันแปลก เพราะประชามติมันต้องแสดงความเห็นได้จากทั้งสองฝ่าย

 

“แม้แต่ผมส่ง SMS ไปในรายการว่า ‘กูไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญ’ มันยังไม่ยอมขึ้นให้ผมเลย”

 

“ถ้าไม่นับ Debate ใหญ่ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าฝ่ายที่สนับสนุนร่างไม่กล้าที่จะมาดีเบตกับเวทีวิชาการ นัดเมื่อไรก็บอกไม่พร้อม ไม่พร้อม แต่พวกเขาดันพร้อมที่จะไปออกทีวี”

 

เรื่องที่สาม คือ บรรยากาศในสังคมของการร่างประชามติต้องเป็นเสรี เป็นประชาธิปไตย คนที่ไม่เห็นด้วยต้องมั่นใจได้ว่าตนเองจะไม่ถูกลากเข้าคุก แต่ในปัจจุบันเรามีกฎอัยการศึก 35 จังหวัด เรากำลังจะลงประชามติภายใต้กฎอัยการศึกซึ่งครอบคลุมอยู่ครั้งประเทศไทย

 

 

ชี้ลงประชามติ 19 ส.ค. เป็น ‘ปาหี่มติ’

เรื่องที่ 4 การลงประชามติ ต้องมีคะแนนเสียงขั้นต่ำ กล่าวคือ ต้องมีการกำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำว่าเป็นจำนวนเท่าไรที่จะถือว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือการลงประชามติครั้งนี้ได้ผ่านความเห็นชอบ สมมติว่าในประเทศไทยมีผู้มีสิทธิ์ลงประชามติ 45 ล้านคน แต่หลายคนเบื่อจึงไม่ไปลงประชามติ มีคนไปลงประชามติเพียง 100,000 คน โดยมีคนลงประชามติไม่เห็นด้วย 30,000 คน แล้วเราจะถือว่าเป็นการลงประชามติที่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนไทย

 

“ในประเทศบุรุนดี คองโก ผ่านการลงประชามติด้วยคะแนนเสียงประมาณ 90% ของคนที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง แต่ผมคิดว่าประเทศไทยหากเกิน 50% ของผู้มีสิทธิ์ใช้สิทธิ์ลงคะแนน จึงจะมีความชอบธรรม ถ้าต่ำกว่า 50% คิดว่าไม่มีความชอบธรรม กล่าวคือ หากร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านต้องเกิน 23 ล้านคนขึ้นไป แต่การลงประชามติครั้งนี้ ไม่มีการกำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำเอาไว้ ซึ่งหมายความว่า ถ้าคนไปลงคะแนน 100,000 คน เห็นด้วย 50,001 เสียง ไม่เห็นด้วย 49,999 เสียง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จะประกาศใช้โดยถือว่าผ่านการลงประชามติเสียงข้างมาก ซึ่งไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่าเป็นเท่าไร” ผศ. สมชาย กล่าว

 

นอกจากนี้ เขายังได้แสดงความเห็นอีกว่า การที่ คมช. สนับสนุนให้มีการร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติในครั้งนี้นั้น เป็นเพียงเพราะ คมช. ต้องการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองแก่ตนเองซึ่งแต่เดิมมีอยู่ต่ำเพียงเท่านั้น

 

“ผมอาจไม่เรียกว่าเป็นการลงประชามติ แต่จะเรียกว่าเป็น ‘ปาหี่มติ’ ”

 

เชื่อฝ่าย ‘ไม่รับ’ จะแพ้ แต่ต้องลงคะแนนสู้เพื่อต่อรอง

ผศ.สมชายยังได้กล่าวถึงตัวอย่างเนื้อหาต่าง ๆ ของร่างรัฐธรรมนูญ อย่างเรื่องที่จะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ หรือเรื่องสิทธิเสรีภาพที่มีความขัดแย้งกับกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายความมั่นคงในราชอาณาจักร ที่ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างแท้จริง และสุดท้ายอาจารย์สมชาย ได้ประเมินอีกว่า การลงประชามติคราวนี้ฝ่ายที่ “ไม่รับ” จะแพ้ เพราะอย่างไรพวกนั้นก็จะพยายามทำให้ต้องรับให้ได้

 

“ถึงแม้คะแนนเสียงจะแพ้ฝ่ายที่รับ แต่ก็อยากให้คนที่ไม่เห็นด้วยไปลงคะแนนกัน เพราะถ้าหากมีจำนวนเสียงมากพอ ก็จะมีโอกาสผลักดันให้มีการแก้ไขร่างในโอกาสต่อๆ ไปได้” อาจารย์สมชายกล่าวในที่สุด

 

ส.ส.ร.โยนบาปให้ครูบาอาจารย์ไม่สอนคนอ่านหนังสือ

จากนั้น นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ขึ้นมากล่าวแย้งว่า กรณีที่มีคนไม่อ่านหรืออ่านร่างรัฐธรรมนูญไม่ครบนั้น เป็นความผิดของตัวผู้ร่างเองหรือตัวผู้ที่ได้รับร่างนี้ไปแล้วไม่อ่านเองกันแน่ เพราะในประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมการอ่านมาโดยตลอด การที่ผู้ที่ได้รับร่าง ไม่ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญเอง ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะมากล่าวโทษ พร้อมกล่าวว่าหากนักศึกษาไม่อ่านหนังสือทำไมครูบาอาจารย์จึงไม่สอนให้เขาอ่านหนังสือ

 

นายเกียรติชัย ยอมรับเรื่องที่อาจารย์สมชายกล่าวว่า ระยะเวลาในการเผยแพร่และศึกษาร่าง มีความกระชั้นชิดเกินไป แต่ก็มีเหตุผลที่ต้องใช้ระยะเวลากระชั้นในเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ เพราะเนื่องจากวาระของรัฐบาลปัจจุบันมีระยะเวลาอยู่จำกัด คมช. สัญญาว่าจะอยู่เพียงแค่ 1 ปี และภายใน 1 ปีนี้ก็จะแก้ไขความตีบตันทางการเมืองที่เกิดขึ้น จึงต้องรีบจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

 

 

ส.ส.ร.40 แนะดู รธน.ให้ดูที่บทเฉพาะกาล

ต่อมา นายคณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร. ปี 2540 ได้กล่าวนำว่า “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูรัฐธรรมนูญให้แน่ๆ ต้องดูที่บทเฉพาะกาล” โดยเขากล่าวว่าในสังคมไทยได้สร้างความหมายของคำว่า “คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ” ขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญดูเป็นผู้ร้าย กกต. ก็จ้องจะจับไปหมด ตรงนี้เองที่ทำให้สังคมไทยแตกแยก

 

“อยากจะถามว่า ระหว่างคนที่คว่ำรัฐธรรมนูญกับคนที่คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ใครที่เป็นฝ่ายผิดมากกว่ากัน เพราะจริงๆ แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ยังไม่มีตัวตน การคว่ำร่างฯ จึงยังไม่ผิด ไม่ว่าจะคว่ำร่างฯ โดยบริสุทธิ์ใจหรือมีเบื้องหน้าเบื้องหลังก็ตาม ในรัฐธรรมนูญ ปี ’40 ก็ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 63 แล้วว่า ห้ามปฏิวัติรัฐประหาร และประชาชนมีสิทธิต่อต้านรัฐประหารโดยสันติวิธี แต่แล้วพวกเขาก็มาคว่ำรัฐธรรมนูญปี ’40 ทิ้ง แล้วข้อที่ประชาชนจะชุมนุมต่อต้านอย่างสงบ ซึ่งถือเป็นสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญก็ล้มไปด้วย”

 

หลังจากนั้นจึงได้พูดถึงร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ในแง่อันตรายของบทเฉพาะกาล ซึ่งสนับสนุนให้เกิดการใช้อำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ขององค์กรอิสระ และส่งเสริมให้มีการสืบทอดอำนาจ ขณะเดียวกันสำหรับตัวบทของร่างรัฐธรรมนูญเองก็มีการทำให้พรรคการเมืองที่จะเข้าไปทำหน้าที่บริหารอ่อนแอลง

 

“เมื่อ ส.ส. ได้รับเลือกแล้ว ยังจะต้องไปเจอ กกต. มีอำนาจลงมติ 4 ใน 5 ยกเลิกตำแหน่งก่อนเลือกตั้งข้อหาทุจริตซื้อเสียง และถ้าหากมีการทุจริตก่อนการเลือกตั้ง ก็ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ง่าย ๆ”

 

นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่าการปฏิวัติรัฐประหารและการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นเป็นการฉวยโอกาสบอกว่าบ้านเมืองจะแตกแยก เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาโดยเอาสิ่งเก่าๆ มาอ้าง ซึ่งเป็นเพียงการใส่หน้ากากผีใส่กัน หากจะสร้างระบบใหม่ๆ จริงๆ ต้องให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน ไม่ใช่ปฏิวัติรัฐประหาร

 

นายคณิน กล่าวเสริมประเด็นนี้ในภายหลังว่า จริงอยู่ที่รัฐธรรมนูญปี 2540 มีข้อผิดพลาด มีนายกรัฐมนตรีที่ทำผิด แต่ไม่ใช่ฝ่ายบริหารที่ทำผิดอย่างเดียว ตัวกลไกการตรวจสอบเองก็ผิดด้วยเหมือนกันเพราะมัวแต่รักษาระบบ อย่างเช่นศาลฯ ที่วินิจฉัยในหลายกรณีจนก่อให้เกิดผลเสีย อำนวยการแก่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระเองก็ไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้สมเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ กกต. กับศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำการทัดทานอำนาจการรวมพรรคของนักการเมืองโดยอ้างว่าถูกแทรกแซง

 

 

นับแต่นักการเมือง ไม่รวมข้าราชการ รธน.50 จึง ‘ลดอำนาจรัฐ’ ไม่จริง

นายคณิน ยังได้กล่าวต่ออีกว่า การที่มีการอ้างว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ลดอำนาจรัฐนั้น เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 การให้ความหมายของคำว่า “อำนาจรัฐ” เปลี่ยนไปจากปี 2540

 

ในช่วงของปี 2540 “อำนาจรัฐ” ไม่ใช่เพียงแต่อำนาจบริหาร แต่รวมถึงอำนาจในส่วนของราชการ ส่วนของการตรวจสอบ แต่สำหรับปี 2550 คำว่า “อำนาจรัฐ” เหลืออยู่แค่ในความหมายของอำนาจฝ่ายบริหาร คือนักการเมืองอย่างเดียว ขณะที่ฝ่ายศาลฎีกาและฝ่ายตรวจสอบ ไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในความหมายนี้ด้วย ทำให้มีการเพิ่มการตรวจสอบฝ่ายบริหารเพียงอย่างเดียว ขณะที่ไม่มีการตรวจสอบฝ่ายอื่น ๆ

 

แต่ทั้งนี้ นายคณิน ก็บอกไว้ว่าไม่เห็นด้วยกับการที่จะเอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ผ่าน เพราะอย่างไรก็ตามเขาก็จะเอาบทเฉพาะกาลกลับมาด้วยอยู่ดี และได้กล่าวปิดท้ายว่า ไม่อยากให้รู้สึกว่าการที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ผ่าน เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย และอย่าให้เรื่องนี้ทำให้เราต้องตกเป็นเครื่องมือของใครหรือฝ่ายใด

 

 

อาจารย์จุฬาฯ วอน ต้องไม่สร้างบรรยากาศแห่งความกลัวในการลงประชามติ

ในส่วนของ อ.ตระกูล มีชัย อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวว่า การจะอธิบายว่าจะรับหรือไม่รับร่างนั้น ต้องอาศัยด้วยความรู้ทางวิชาการ ต้องได้รับเหตุผลว่าควรรับหรือไม่รับ และอย่าให้เรื่องรัฐธรรมนูญมาสร้างบรรยากาศแห่งความกลัว ทำให้อยู่ภายใต้ความหวาดระแวง ถ้าไม่มีมันก็ไม่เสียหาย

 

อ.ตระกูล กล่าวออกตัวว่า ไม่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญทั้งหมด เพิ่งอ่านแค่ 200 กว่ามาตรา แต่ก็ได้กล่าวถึงเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไว้ว่า ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ขอตั้งคำถามว่า ประชาชนเคยได้รับสิ่งที่เรียกว่าสิทธิเสรีภาพจริงหรือไม่ และประชาชนได้เรียนรู้ที่จะตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนจริงๆ หรือเปล่า เนื่องจากระบบการศึกษาตั้งแต่สมัยประถมไม่เคยสอนเรื่องสิทธิเสรีภาพเลย การใช้อำนาจปกครองเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากน้อยแค่ไหน

 

ที่ผ่านมาจะเห็นว่าไม่เคยมีการยกเรื่องสิทธิเสรีภาพมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีองค์กรไหนบ้างที่จะให้การรับรองสิทธิเสรีภาพ และ “พวกข้างบน” เองยังมีทัศนคติต่อประชาชนว่าเป็นภาระและความวุ่นวาย อย่างมาตรา 35 เองก็ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งตรงนี้จะเห็นว่า เป็นสิ่งที่นำมาอ้าง แต่ไม่เคยนำมาใช้ได้จริง

 

 

ชี้ รธน.50 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แอบสนับสนุนอำมาตยาธิปไตย

จากนั้นอาจารย์ตระกูลจึงได้วิพากษ์วิจารณ์ เรื่องนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ว่าทำให้เหมือนเป็นการสร้างรัฐบาลถาวร สนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตย ซึ่งมาจากขบวนการบริหารราชการ เป็นการคุมอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังไม่มีการระบุให้ชัดเจนว่า จะมีการถอดถอนข้าราชการเมื่อถึงกี่ปี และไม่มีกลไกการตรวจสอบ

 

โดยได้อธิบายไปถึงการบริหารราชการส่วนภูมิภาคจากเนื้อหาของร่างฯ ว่าจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งของอำนาจรัฐส่วนกลางเพราะในแต่ละจังหวัดจะมีอำนาจจนเหมือนเป็นอีก 1 กระทรวง ที่ตั้งงบประมาณเองได้ มีแผนงานของตัวเอง และสามารถควบคุมท้องถิ่นทั้งหมดได้ โดยที่ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรท้องถิ่นเลย ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้เนื้อหาเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่สามารถนำมาใช้จริงได้ เพราะให้ส่วนภูมิภาคนั้นแข็งแกร่ง

 

สุดท้าย อาจารย์ตระกูล ได้กล่าวสรุปถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้สั้นๆ ว่า “มีเจตนาที่ดี แต่ในหลักปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้”



 

 
 

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท   วันที่ : 9/8/2550  
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 09-08-2007, 11:59 »

ประชาไทย อีกแล้วเหรอ ไม่มีปัญญาหาจากที่อื่นมามั่งรึไงนะ 



 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #2 เมื่อ: 09-08-2007, 14:19 »

บทสำรอกจากคอกกบฎประชาถ่.อ.ยนี่เอง

ข้อเขียนสวะ เอาไว้ล้างสมองขี้ข้าไอ้เหลี่ยม ได้ผลมาหลายตัวละนี่

ปล. คุณ Silence M. บอร์ดพยายามทำตัวเป็นซ่อง Text ของไอ้พวกล้มล้างราชวงศ์ครับ
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 09-08-2007, 16:44 »

ผมว่ากระทู้บางกระทู้ในห้องสาธารณะเนี่ย น่าจะลบทิ้งนะครับ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
samepong(ยุ่งแฮะ)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,402



« ตอบ #4 เมื่อ: 09-08-2007, 21:22 »

อ่านแล้ว ก็ยังไม่รู้ ว่าจะบอกอะไร บางข้อผมว่า อคติสุดๆๆ

ดีเบตนักวิชาการ ให้ สสร.มาดีเบต คุณไม่ไปเอา นักวิชาการ เหมือนกันไปเบตกันเองหละ ทำลับๆล่อๆแล้วจะลากเค้าไปดีเบต ออกทีวีก็ถูกแล้ว จะได้ไม่โดนแอบอ้าง

เรื่องที่ 2 เมื่อมีการทำประชามติ หน่วยงานรัฐ คณะกรรมการการจัดการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง และเป็นธรรม ต้องไม่เอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายเข้าถึงสื่อสาธารณะ ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ในที่นี้กลับบอกว่า ใครรณรงค์ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นถือเป็นการผิดกฎหมาย ซึ่งมันแปลก เพราะประชามติมันต้องแสดงความเห็นได้จากทั้งสองฝ่าย

อันนี้ก็ตอแหล เค้ารนรงค์ให้ไปใช้สิทธิ์ กับ มาบอกรนรงค์ รับร่าง มั่วแบบนี้เชื่อถือได้เหรอ
บันทึกการเข้า

เวลาจะพิสูจน์ความเชื่อ สักวัน ไม่ว่าความเชื่อนั้นจะถูกหรือผิด ผมขอรับไว้ด้วยตัวเอง คิเสียว่าทำแล้วเสียใจดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
cosmo
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 10-08-2007, 07:26 »

ผมว่ากระทู้บางกระทู้ในห้องสาธารณะเนี่ย น่าจะลบทิ้งนะครับ 


เห็นด้วยมากเลย และอีกสองห้อง  ปัญหาการใช้งาน ห้องทดสอบ

ปิดไปเถอะ ปล่อยไว้เป็นที่ขายของ
แล้ว  wom  ก็ไม่ลบ

ให้เฉพาะ ล๊อคอิน ถ้าเข้ามาโพส ขายของ ก็ยึดเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: