..........คำถาม ที่อาจนำไปสู่ ข้อกฎหมาย สปน เลี่ยงบาลีทำผิดกฎหมาย หรือไม่
......โจทย์:
1) สปน มีคลื่นความถี่ แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์
2) อสมท มีใบประกอบกิจการโทรศัพท์ มีคลื่นความถี่ให้บริการช่อง 9 แต่ไม่มีคลื่นความถี่ UHF ช่อง TiTV
.......คำถาม:
1) ใครคือผู้ประกอบกิจการ TiTV
2) ใครคือผู้จ้างพนักงานลูกจ้าง TiTV
3) ใครคือผู้รับชำระค่าโฆษณาทาง TiTV
4) ใครคือผู้เสียภาษีสรรพากร
5) ใครคือผู้ได้รับผลประโยชน์จากกำไร
6) ใครคือผู้ต้องรับผิดชอบ กรณีขาดทุน
7) ในกรณีเลิกจ้างพนักงานลูกจ้าง ใครเป็นผู้รับผิดชอบเงินค่าชดเชย

การจ้าง อสมท เข้าบริหารกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เข้าข่ายการทำสัญญาร่วมการงาน หรือไม่
9) การจ้าง อสมท เข้าบริหารกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร
10) อสมท เป็นบริษัทเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีสถานะเช่นเดียวกับบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดฯ รายอื่น หรือไม่
11) สปน มีเจตนาเลี่ยงบาลี กฎหมายคลื่นความถี่ฯ กฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายแรงงาน กฎหมายสรรพากร กฎหมายร่วมการงานฯ และระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักนายกฯ หรือไม่
12) หลังจากพ้นหน้าที่การเป็นรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลในชุดต่อไปจะตั้งกรรมการตรวจสอบ การเลี่ยงบาลีเพื่อช่วยอุ้มพนักงาน iTV ได้หรือไม่
.........เมื่อยืนยันในการตัดสินใจ โดยมั่นใจว่าสามารถกระทำได้ถูกต้องตามกฏหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของประเทศ มิได้เจตนาเอื้อประโยชน์ แก่ บุคคลใด
ในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ก็ ย่อมเป็นสิทธิที่ จะตัดสินใจกระทำได้ แต่เชื่อว่าเรื่องนี้ คงมีคำถาม ที่ผู้ตัดสินใจ และคณะ ที่เกี่ยวข้อง คงได้มีโอกาสตอบศาลให้ได้
.........ในประเด็นต่อไปนี้ คือ
1. มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอย่างไร จึงต้องมีการเข้าไปแทรกแซงกิจการของบริษัทเอกชนที่ล้มละลาย หรือ เลิกกิจการ
เพื่อให้ กิจการนั้น ดำเนินกิจการต่อไปโดยต่อเนื่อง มิอาจหยุดการดำเนินกิจการได้
2. มีเหตุผลใด จึงต้องเข้ารับสัญญญาเช่าเดิม ที่บริษัทเอกชนที่ล้มละลายหรือเลิกกิจการนั้นๆ ทำไว้เดิม ตามเงื่อนไขเดิม ได้มีการตรอจสอบราคาหรือยังว่า สามารถเช่าได้ถูกกว่านั้น ยิ่งกรณี
บริษัทผู้เช่าเดิม เลิกกิจการ การที่ เข้าไปรับสัญญาเช่าเดิม ในอัตราเดิม เท่ากับผู้ให้เช่าเดิม ถูกรางวัลแจ๊คพอต เหตุผลนี้ อาจทำให้ได้เข้าไปอยู่เป็นเพื่อน 3 กกต.ได้
3. การใช้ดุลพินิจ ตัดสินใจในกรณีนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน เหมือนได้รับโชคสองชั้น คือ บริษัทผู้ให้เช่า
อุปกรณ์เดิม เช่น เฮลิคอร์ปเตอร์ และอุปกรณ์อื่น และ พนักงาน นอกจากได้ รับเงินค่าชดเชยแทนการเลิกจ้างแล้ว ยังได้รับเงินเดือน ต่อเนื่องจากการเลิกจ้าง อัตราเงินเดือนเท่าเดิม
สิทธิประโยชขน์เท่าเดิม
4. หากไม่ดำเนินการเข้าไปแทรกแซง บริษัทที่เลิกกิจการ หรือล้มละลายในครั้งนี้ รัฐเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อเทียบกับการเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้กิจการนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน
5. หาก มีบริษัทอื่นๆ เลิกกิจการ หรือ ล้มละลาย หลังจากนี้ และบริษัทนั้นๆ อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ตัดสินใจ
ในกรณีนี้ จะต้องเข้าไปแทรกแซงหาหนทางเพื่อให้บริษัทเหล่านั้นได้ดำเนินการต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน เหมือนกัน ทุกรายใช่ไหม
และ
6. การใช้ดุลยพินิจกระทำการในครั้งนี้ ประชาชน หรือ ประเทศชาติได้ รับผลประโยชน์อย่างไร
.............. ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการในครั้งนี้ ถือว่ากล้าตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งก็ยังดีกว่าผู้บริหาร ที่ไม่กล้าตัดสินใจอะไรลงไป ส่วน ความชอบธรรม
ความถูกต้องตามกฏหมาย หรือ เป็นการเอื้อประโยชน์ ทางนโยบายให้เอกชนได้รับประโยชน์ หรือ ทำให้รัฐเสียหาย อย่างไร หรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องนำสู่ศาล
เพื่อให้ศาลวินิจฉัยต่อไป และเชื่อว่า กรณีนี้ ต้องมีการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างแน่นอน.