เรื่องการอยู่ในตำแหน่งของ นายกฯ ถ้านายกฯ มีอำนาจมาก เราก็ต้องชั่งน้ำหนักกันว่า ต้องการการเลือกตั้งแบบใด เราต้องการการเลือกตั้งแบบใดขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการพรรคการเมืองแบบใด ถ้าเราต้องการสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง ต้องมีระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ถ้าเรามีพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง โอกาสที่จะมีนายกฯ แบบคุณทักษิณก็มีมาก เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าควรจำกัดวาระในการดำรงตำแหน่งนายกฯ
ประเด็นเรื่องรัฐสภา ถ้ามี 2 สภาแบบอเมริกัน วัตถุประสงค์ดั้งเดิมคือเพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติอ่อน คือให้ทะเลาะกันเองเสียก่อน ฝ่ายบริหารจะได้ทำงานได้ ฉะนั้น ถ้าเราต้องการให้ฝ่ายนิติบัญญัติแข็ง ก็ต้องยกเลิกวุฒิสภา
ในกรณีอเมริกัน พรรคการเมืองไม่มีอำนาจในการกำหนดว่าจะส่งใครลงสมัครในนามพรรคของเขา ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ว่ากันเอง ทุกคนมีสิทธิ์จะประกาศตัวเองว่าเป็นผู้สมัครในนามของพรรค ไปสู้กับใครก็ได้ที่ประกาศเหมือนกัน ส่วนของไทยให้สิทธิหัวหน้าพรรคเป็นผู้เลือกผู้สมัคร หัวหน้าพรรคก็เลยมีอำนาจมากมหาศาลในการชี้ว่าจะเอาใคร พรรคก็ต้องจ่าย พอพรรคต้องจ่ายก็นำไปสู่การคอร์รัปชั่นตอนนี้ในสหรัฐอเมริกามี พวกผู้สมัครอิสระเพิ่มมากขึ้น ตรงนี้เป็นตัวแปรที่สำคัญ แต่ในบ้านเรา สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะเรียกว่าเป็นคุณูปการก็ได้ คือพรรคไทยรักไทยทำให้คนชายขอบเข้ามามีบทบาททางการเมืองแบบที่เรียกว่า มองในระยะยาวมากขึ้น แต่ว่าเป็นยาวในระยะสั้น แต่เดิมมันเป็นการตอบแทนที่หน่วยเลือกตั้งแล้วจบ แต่ตอนนี้เขามองต่อไปว่าจะมีโคล้านตัวไหม มีอะไรต่อไปไหม ซึ่งมันทำให้ political landscape ของไทยงวดต่อไปจะต่างออกไปเลย แล้วจะมีปัญหาตามมามาก ทั้งในทางดีและทางร้าย ผู้ร่างรัฐธรรมนูญไทยต้องดูให้ดี เพราะว่าผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่เหมือนเดิมแล้ว
หมายเหตุ: ถอดเทปโดยเบญจมาศ บุญฤทธิ์ อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา เรียบเรียงโดย ปกป้อง จันวิทย์
http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1352