ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-01-2025, 11:08
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  หนึ่งประเทศ สองรัฐบาล 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
หนึ่งประเทศ สองรัฐบาล  (อ่าน 910 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 23-11-2006, 08:13 »

หนึ่งประเทศ สองรัฐบาล

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

เราเคยมีความรู้สึกแปลกๆ ออกไปทางขำๆ เมื่อคราวที่เขมรมีนายกรัฐมนตรีสองคนใน
รัฐบาลเดียวกัน ซึ่งสภาพการณ์ของเขมรที่ว่านั้นก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่สภาพการณ์ที่
คล้ายคลึงกับสภาพการณ์ดังกล่าวแต่เป็นสภาวะ”หนึ่งประเทศ สองรัฐบาล”กลับบังเกิด
ขึ้นในประเทศไทยภายหลังที่มีการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ เข้าบริหารประเทศภาย
ใต้เปลือกหอยของคณะ คปค. ที่ทำรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. 49 แล้วแปรสภาพเป็น
คมช. ในปัจจุบัน

ที่กล่าวว่าสภาพการณ์ของไทยเราในปัจจุบันอยู่สภาวะหนึ่งประเทศสองรัฐบาลนั้นมาจาก
การพิเคราะห์การปฏิบัติงานของ คมช. และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่ว-
คราว) พุทธศักราช 2549 ที่ลอกแบบมาจากธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธ
ศักราช 2534 หรือฉบับ รสช. เกือบทั้งฉบับ โดยกำหนดบทบาทของ คมช. ไว้แตกต่าง
จากธรรมเนียมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
โดยทั่วไปเป็นอย่างมาก อาทิ

- การให้ประธาน คมช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สภานิติบัญญัติ
แห่งชาติและการแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรา
7 วรรคสาม ซึ่งอำนาจนี้โดยปกติแล้วจะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี

- การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและการให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง (ปลด???) ให้
ประธาน คมช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามมาตรา 14 วรรคสาม ซึ่ง
โดยทั่วไปแล้วอำนาจที่ว่านี้จะเป็นของประธานสภานิติบัญญัติ

- ประธาน คมช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานสภาและรอง
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 19 วรรคสาม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอำนาจที่ว่านี้จะ
เป็นของประธานสภานิติบัญญัติ

- ประธาน คมช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
ตามมาตรา 20 ซึ่งโดยปกติแล้วอำนาจที่ว่านี้จะเป็นของประธานสภานิติบัญญัติเช่นกัน

- ประธาน คมช. เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญตามมาตรา 23 วรรคสาม ซึ่งในกรณีนี้ควรเป็นอำนาจของประธานสภานิติบัญญัติ

- ประธาน คมช. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญฯ
ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งตามมาตรา 32 ซึ่งอธิบายได้ง่ายๆ ว่า
ประธาน คมช. ใหญ่กว่านายกฯ นั่นเอง


ที่สำคัญและได้มีการถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากก็คือประเด็นตามมาตรา 36
ที่ว่าบรรดาประกาศและคำสั่งของ คปค. หรือหัวหน้า คปค. ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและ
ให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นไม่ว่าการปฏิบัติ
ตามประกาศหรือคำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศ
หรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็หมายความว่า
ทำอย่างไรก็ไม่มีทางขัดรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะผิดหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนหรือ
หลักนิติรัฐก็ตาม


และตามมาตรา 37 ที่ว่าบรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและ
ควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อ 19 ก.ย. 49 ของหัวหน้าและคณะ คปค. รวม
ตลอดทั้ง การกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับ
มอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะ คปค. หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย
จากหัวหน้าหรือคณะ คปค. อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น ไม่ว่ากระทำใน
วันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้
ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็หมายความว่า “อยู่เหนือ
กฎหมาย” ทั้งปวง
นั่นเอง

จากสภาพการณ์ดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่าบ้านเมืองเราตกอยู่ในสภาวะที่มี ”รัฐบาลซ้อน
รัฐบาล” ซึ่งสร้างความยากลำบากในการบริหารประเทศเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างที่เห็น
ได้ชัดก็คือ ประธาน คมช. ซึ่งก็คือ ผบ.ทบ. ในปัจจุบันที่มีสถานะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา
ของนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม หรือแม้กระทั่ง ผบ.สูงสุด แต่เวลาประชุมร่วมกัน
ผบ.ทบ. ในฐานะประธาน คมช. กลับเป็นประธานในที่ประชุมฯ ในทำนองกลับกัน เวลา
นายกฯ ไปราชการภาคใต้ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรง ประธาน คมช. กลาย
เป็นผู้ติดตามไปเสียนี่

ในอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการยกเลิกกฎอัยการศึกที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งโดยปกติ
แล้วจะประกาศใช้ในภาวะสงครามหรือมิคสัญญีเท่านั้น ในทางนิตินัยรัฐบาลสามารถสั่งการ
ให้ยกเลิกได้อยู่แล้ว เพราะ ผบ.ทบ. หรือ ผบ.สส. ซึ่งเป็นผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึก อยู่
ภายใต้อำนาจการบริหารของรัฐบาล แต่ในทางพฤตินัยกลับต้องให้ คมช. ให้ความเห็นชอบ
หรือเป็นผู้เสนอเรื่อง โดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งในความเป็นจริงความ
มั่นคงก็มิได้มีเฉพาะความมั่นคงทางทหารเท่านั้น ยังมีความมั่นคงทางด้านการเมืองหรือ
เศรษฐกิจและด้านอื่นๆ อีก ซึ่งจะมิกลายเป็นว่าต้องผ่าน คมช. ไปเสียทุกด้าน หรือว่า
แล้วแต่อยากจะให้ผ่านก็ไปผ่าน ไม่อยากให้ผ่านก็ไม่ต้องไปผ่านกระนั้นหรือ

ว่ากันตามจริงแล้วนอกเหนือจากอำนาจที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ สถานภาพของ
คมช. นั้นมีสถานะเป็นเพียง “ที่ปรึกษา” เท่านั้น ไม่มีอำนาจในการสั่งการ ไม่ว่าจะเป็นด้าน
การบริหาร นิติบัญญัติหรือตุลาการแต่อย่างใด เพราะ คมช. มิใช่อำนาจอธิปไตยที่สี่หรือ
องค์อธิปัตย์ (Leviathan) ที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะเป็นฉบับชั่วคราว ก็ตาม

และที่น่ากังวลเป็นที่สุดหากรัฐธรรมนูญฉบับที่จะร่างกันต่อไปนี้ ยังคงกำหนดให้มี คมช.
ต่อไป ซึ่งอาจจะแปรสภาพเป็น ค. อะไรก็แล้วแต่ หรือยังคงอำนาจของ คมช. ไว้ในรูป
แบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังเช่นกรณีการร่างรัฐธรรมนูญฯปี 2534 ที่หมกเม็ดไว้ในมาตรา 216
ของบทเฉพาะกาลต่อท่ออำนาจให้ประธาน รสช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรี จนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ”พฤษภาทมิฬ” ขึ้นในเวลาต่อมา
นั่นเอง

ปกติในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งสูงไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลก็บริหารงานยากลำบาก
อยู่แล้ว และในสถานการณ์ที่ไม่ได้มาด้วยวิถีทางประชาธิปไตยเยี่ยงปัจจุบันนี้ ยิ่งต้องการ
ความชัดเจนในอำนาจหน้าที่เป็นพิเศษ เพราะการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองคงลุล่วงไปด้วยดี
ไม่ได้แน่ หากประเทศเรายังตกอยู่ในสภาวะ “หนึ่งประเทศ สองรัฐบาล” เช่นนี้
----------------------------------------------

หมายเหตุ – คปค. = คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                 คมช. = คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
                 รสช. = คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

- ตีพิมพ์ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2549

 http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5940&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ไหนว่าแบบไทยๆ ไม่มีใครเหมือน
ไหงไปเหมือนเขมรได้ล่ะนี่
หรือไม่เหมือน เพราะแย่กว่า???


 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23-11-2006, 08:40 »


นี่ยังอยู่ภายในกฎอัยการศึก ทหารก็ใหญ่บ้างเป็นธรรมดา

ถ้าหากไม่มีความแตกแยก คมช.ก็ไม่มีข้ออ้าง ต้องสลายตัวไปในที่สุด



หลังเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งได้แล้ว คมช. ต้องสลายตัวอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า

qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #2 เมื่อ: 23-11-2006, 08:58 »

เขมร ( เคยเป็น )
1 ประเทศ - 2 นายกรัฐมนตรี

ตอนนี้ประเทศไทยเหมือนพวกมันตรงไหน ?

ประเด็นของเขมรคือ "ขาดเอกภาพ" ไม่รู้ว่าใครเป็นใหญ่กันแน่
แต่กรณีของไทยในปัจจุบัน "กลมเกลียวกันดีจะตายห่า" ในสถานการณ์ที่ประธาน คมช.ออกหน้า นายก ฯ ก็เป็นผู้สนอง ( สนับสนุน ) พอถึงในสถานการณ์ที่นายก ฯ ออกหน้า  ประธาน คมช.ก็หลบมาเป็น Back
...เป็นการ "แสดงบทบาทอย่างเหมาะสม"
...ไม่ใช่พวก "ทำงานเอาหน้า" แต่ "หาความรับผิดชิบไม่ได้" อย่างแก๊งไทยรักไทย
ประเภท "ถ้าทำแล้วได้รับความนิยม - ก็เสนอหน้าออกมารับกันเป็นทิวแถว  พอออกแววว่าจะล่มหรือไม่เข้าท่า - ก็ปล่อยให้เรื่องซา ๆ หายเข้ากลีบเมฆ   ครั้นทำไปแล้วมีปัญหา - ก็หาปลาซิวปลาสร้อยมารับเคราะห์กรรม ( หรือโบ้ยไปให้ฝ่ายตรงข้ามซะเลย )"


การที่ไม่พยายามให้นายกรัฐมนตรี - ประธานสภานิติบัญญัติต้องลงนาม "รับผิดชอบ" อะไร
ก็เพราะ "รัฐถาธิปัตย์" ในเวลานี้คือ คปค. ( โดยมีประธาน คมช.เป็นผู้ใช้อำนาจ ) อันเป็นไปตามวิถีทางของกฏอัยการศึกอยู่แล้ว
นายชำนาญ  จันทร์เรืองไม่เห็นน่าจะแกล้งโง่ ( ยกเว้นโง่จริง ๆ ย่อมวิพากย์วิจารณ์อย่างไม่ดูกาละเทศะไปด้วยวิสัยอันบัดซบ )

ส่วนจะถูกต้อง - ไม่ถูกต้อง ตามระบอบประชาธิปไตยหรือไม่...อันนี้ "คนละเรื่อง"
เพราะช่วงเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะอ้างแนวทาง - วิธีปฎิบัติ ตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิม


คคห.นี้
ผมไม่่ได้ปกป้อง คปค.- คปช.
เพียงแต่กำลังจะบอกว่า นายชำนาญ  จันทร์เรื่อง วิพากย์วิจารณ์ด้วย "มาตรฐานผิดเรื่องผิดราว"
เป็นการไม่พิจารณา "จากกาละเทศะ" หรือ "สถานะความเป็นจริง"
เปรียบเทียบเหมือน "นักชิมอาหารสันดานบัดซบ" ที่พยายามกล่าวตำหนิติเตียน "อาหารสำหรับคนป่วยในห้อง ICU" ว่าจืดชืด - ไร้สีสัน - ไม่เหมือนอาหารของมนุษยมนา
...ด้วยมาตรฐาน "เดิม ๆ" ที่ตนคุ้นชินและกระทำอยู่เป็นเนืองนิจ
...ทั้ง ๆ ที่ใคร ๆ เข้าก็รู้กันว่า  นี้เป็นอาหารที่กำลังจะนำเข้าไปให้คนป่วย  ที่ถูกผ้าพันแผลไว้รอบหัวจนมองอะไรไม่เห็น และปากลิ้นแทบจะรับรสชาติอะไรไม่ได้แล้ว

หากใช้ภาษาจิ๊กโก๋อย่างหยาบ 
ก็คงเป็น " หลับหูหลับตาเห่าหอนไปเรื่อยเปื่อย  ไม่ได้รู้...อะไรกับเขาหรอก"



ส่วน จขกท ผู้ที่นำบทความมาขยายต่ออย่างบิด ๆ มั่ว ๆ สั่ว ๆ สอด ๆ
...ผมเบื่อแล้วที่จะแสดงความเห็นในพฤติกรรม




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-11-2006, 11:03 โดย qazwsx » บันทึกการเข้า

qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #3 เมื่อ: 23-11-2006, 10:11 »

ขออภัย แปะผิดกระทู้
---- ลบ -----
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-11-2006, 10:12 โดย qazwsx » บันทึกการเข้า

Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #4 เมื่อ: 23-11-2006, 10:47 »

คุณ qazwsx ครับ

อ่านแล้วชัดเจนเลยอ่ะครับ แต่มีเรื่องจะรบกวนเล็กน้อย คือจะฝากให้ edit พารากราฟรองสุดท้ายนิดนึงนะครับ

เสียดายไม่อยากให้โดนลบทั้งหมดครับ กำลังมันส์เลย 
บันทึกการเข้า
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #5 เมื่อ: 23-11-2006, 10:51 »

ตอนนี้นอกจากนายกที่ชื่อสุรยุทธ์แล้วยังมีนายกชื่ออื่นอีกหรือครับ
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #6 เมื่อ: 23-11-2006, 11:03 »

คุณ qazwsx ครับ

อ่านแล้วชัดเจนเลยอ่ะครับ แต่มีเรื่องจะรบกวนเล็กน้อย คือจะฝากให้ edit พารากราฟรองสุดท้ายนิดนึงนะครับ

เสียดายไม่อยากให้โดนลบทั้งหมดครับ กำลังมันส์เลย 

รับทราบและดำเนินการแล้วครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: