ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
15-05-2025, 16:12
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism ) ของปัญญาชนไทยกับการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism ) ของปัญญาชนไทยกับการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549  (อ่าน 2677 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 10-11-2006, 07:16 »

สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism ) ของปัญญาชนไทย
กับการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549


กรุงเทพธุรกิจ 8 พฤศจิกายน 2549 11:47 น.

ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยายาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน  

ผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 มักอ้างผลของโพลล์หลังรัฐประหารที่บอกว่า
80% ของคนไทยสนับสนุนการรัฐประหาร

ต่อให้เราไม่กังขากับความน่าเชื่อถือของโพลล์ชิ้นนี้ ก็ยังคงมีคำถามที่น่าคิดอยู่ดี อาทิ
เช่น ทำไมผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารจึงเชื่อและถือเอาโพลล์รายนี้เป็นความชอบธรรม
ของการรัฐประหาร แต่กลับไม่ยอมรับผลเลือกตั้ง?
นักวิชาการชื่อดังถึงขนาดเอามาเป็น
หลักฐานประกอบ"สิทธิในการทำรัฐประหาร" ปัญญาชนผู้มีทั้งข้อมูลและคุณธรรมถือเอา
ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ในการเลือกข้อมูลสนับสนุนตัวเองขนาดนี้เชียวหรือ?

สมมติว่าก่อนการรัฐประหารไม่กี่วัน ผู้จัดทำโพลล์รายเดียวกันนี้ ออกสำรวจความเห็นของ
ประชาชนรายเดียวกันทั้งหมด ถามคำถามง่ายๆเพียง 2 ข้อได้แก่

ก. ควรแก้วิกฤติทางการเมืองขณะนั้นด้วยการรัฐประหารหรือด้วยวิธีทางประชาธิปไตย
ข. หากมีความพยายามทำรัฐประหาร ท่านสนับสนุนหรือไม่

ผู้เขียนมั่นใจว่าคนเหล่านี้แทบทั้งหมดจะตอบว่าให้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยและไม่
สนับสนุนการรัฐประหารข้อสมมตินี้มีความเป็นไปได้มาก แต่ถ้าเช่นนั้นเราจะอธิบาย
80% หลังการรัฐประหารอย่างไร?

เอาอย่างนี้ดีกว่าสมมติว่าก่อนหน้าการรัฐประหารมีผู้เอาคำถาม 2 ข้อนี้ไปสอบถาม
อ.ไชยันต์ ไชยพร อ. ธีรยุทธ บุญมี ศ.เขียน ธีระวิทย์ ศ. สุรพล นิติไกรพจน์ ศ. ชัยอนันต์
สมุทวณิช ศ. จรัส สุวรรณมาลา อ.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ ศ. เสน่ห์ จามริก สว. ไกรศักดิ์
ชุณหะวัณ สว.การุณ ใสงาม สว.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สว.แก้วสรร อติโพธิ สนธิ ลิ้มทองกุล
และทุกท่านที่สนับสนุนหรือแก้ต่างให้แก่การรัฐประหาร หรือที่ยอมรับอำนาจคณะรัฐประหาร
อย่างเชื่องๆ อยากทราบว่าท่านเหล่านี้จะตอบว่าอย่างไร?

หากท่านตอบว่าควรแก้วิกฤตด้วยการรัฐประหารและสนับสนุนความพยายามทำรัฐประหาร
มาแต่ไหนแต่ไรผู้เขียนจะขอปรบมือให้กับความคงเส้นคงวาของท่าน แล้วค่อยเถียงกันต่อ
ว่าประชาธิปไตยเลวขนาดนั้นเชียวหรือ

แต่ผู้เขียนกลับมั่นใจว่าทุกท่านคงจะตอบว่าให้ใช้วิถีทางประชาธิปไตย และไม่สนับสนุน
การรัฐประหาร (ไม่แน่ใจว่าอ.เขียนขบคิดทฤษฎี "สิทธิในการทำรัฐประหาร" มานานหรือ
ยัง หากเพิ่งคิดได้หลัง 19 ก.ย. ก็คงตอบเหมือนคนอื่นๆ) ท่านอธิการบดี มธ. บอกว่าจน
ถึงวันนี้ก็ยังคัดค้านการรัฐประหาร เป็นไปได้ว่าหลายคนใน คปค. คมช. คตส. และ สนช.
ก็คัดค้านการรัฐประหาร แต่ทำไปเพราะความจำเป็นเพื่อชาติ

ถ้าเช่นนั้นเพราะเหตุใดเพียงข้ามคืนหลังการรัฐประหาร ผู้ใหญ่ที่คนเคารพทั่วบ้านเมือง
จึงกลับลำกลายเป็นสนับสนุนหรือแก้ต่างให้แก่การรัฐประหารหรือยอมรับอำนาจคณะ
รัฐประหารอย่างเชื่องๆกันหมด?

80% ของคนไทยน่าทึ่งน้อยกว่าผู้นำทางปัญญาชนผู้มีทั้งข้อมูลและคุณธรรมเหล่านี้

บทความนี้อธิบายการกลับลำว่าเป็นเพราะ Pragmatism เพื่อสัมฤทธิผลตามทัศนะของ
เขาแค่นั้นเอง(อีกบทความที่จะตามมาติดๆ จะอธิบายว่าพวกเขาไม่ได้กลับลำเลย เพราะ
ความคิดเบื้องลึกของพวกเขาเป็นเช่นนี้มานานแล้ว แต่มิได้รู้เท่าทันความคิดของตนเอง
การรัฐประหารมาช่วยให้พวกเขาแสดงความคิดแท้ๆ ออกมา)

Pragmatism แปลอย่างง่ายๆ คือ ความคิดที่ถือเอาสัมฤทธิผลหรือความสำเร็จตาม
ต้องการเป็นหลักใหญ่ที่สุด
ในการตัดสินใจหรือเลือกกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความถูกผิดตามหลักการใดๆ แม้แต่หลักกฎหมายย่อมเป็นเรื่องรอง

มีคำกล่าวกันมานานแล้วในหมู่ผู้สนใจศึกษาเรื่องเมืองไทยว่า Pragmatism คือ
คุณลักษณะของคนไทย สังคมไทยจึงไม่เคร่งครัดหนักหนากับกฎระเบียบ กฎหมาย
หรืออุดมการณ์ แนวคิดหลักศีลธรรมอะไร กลับยอมย่อหย่อนได้เพื่อสัมฤทธิผล

บางคนเรียกแนวคิดนี้ว่าแมวสีอะไรก็ได้ถ้าจับหนูสำเร็จ แต่สีของแมวไม่เกี่ยวข้องกับ
หลักเกณฑ์ความถูกต้องทางการเมือง กฎหมาย หรือจริยธรรม คุณธรรมใดๆ หากเรา
แคร์ต่อความถูกต้องมีคุณธรรมอย่างที่เรียกร้องกันจริง เราต้องระวังว่า สีของแมวอาจ
เป็นแค่ข้ออ้างปิดบังการใช้วิธีเยี่ยงโจรไปจับโจร ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งสังคมตกต่ำกลาย
เป็นสังคมโจร

ในการรัฐประหารครั้งนี้มี Pragmatism ที่สำคัญ 4 ประเภท

ประเภทที่หนึ่ง Pragmatism
ที่อันตรายที่สุดคือความคิดว่าการรัฐประหาร "เป็นทางออก
สุดท้าย" "ไม่มีทางเลือกอื่น"
หรือกล่าวอีกแบบแต่มีความหมายเท่ากันได้ว่า "ทำยังไง
ก็ได้ให้ทักษิณออกไปเป็นใช้ได้"


คนเหล่านี้โกรธเกลียดทักษิณถึงจุดสูงสุดมานานแล้ว จึงพยายามทุกท่าเพื่อจะขจัด
ทักษิณให้ได้แม้ว่าจะไม่เป็นประชาธิปไตยก็ตาม เช่น การเรียกร้องให้ใช้มาตรา 7
ปัญญาชนผู้เรียกร้องคุณธรรมกลับโกรธเกลียดจนไม่สนใจใช้วิธีที่ถูกต้องชอบธรรม
กระทั่งพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเองว่า มาตรา 7 ไม่เป็นประชาธิปไตย พวกเขา
จึงยอมหยุดเรียกร้อง

แต่แทนที่จะรู้สำนึกถึงความคิดที่ผิดๆ พวกเขากลับเห็นว่าเป็นแค่เรื่องของกลยุทธ แล้ว
ยึดถือ Pragmatism แบบผิดๆต่อไป ดังนั้นความคิดที่ผิดและวิธีผิดจึงไม่ถูกสะสาง ถูก
มองว่าเป็นแค่สีของแมว รัฐประหารก็เป็นแค่สีของแมว จึงไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือน่ารังเกียจ
หากช่วยให้บรรลุสัมฤทธิผล นักรัฐศาสตร์ชั้นนำของไทยถึงกับเสนอคำอธิบายรองรับ
สิทธิในการทำรัฐประหาร

เมื่อเหลวไหลกันถึงขนาดเห็นว่าวิธีโจรเป็นแค่สีของแมว การเมืองย่อมตกต่ำไร้หลักเกณฑ์
ความถูกต้อง ไร้จริยธรรม คุณธรรมหรือกฎหมาย จนกลายเป็นการเมืองแบบโจร เลวไม่น้อย
ไปกว่าระบอบที่ตนต่อต้าน


สำหรับพวกเขาการเมืองเป็นเรื่องของการต่อสู้กันไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์ความ
ถูกต้องอะไรทั้งนั้น คนที่คิดเช่นนี้จึงนับว่าเป็นนักการเมืองไม่ต่างจากนักการเมืองที่พวก
เขารังเกียจเสียอีก

พวกเขาไม่เคยฉุกคิดว่าในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยทำไมพวกเขาจะต้องชนะ
เดี๋ยวนี้? ทำไมไม่ต่อสู้ในครรลองประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมจนกว่าประชาชน
จะเห็นด้วย? ทำไมในเมื่อคนจำนวนมหาศาลยังไม่เห็นด้วยกับความคิดของพวกเขา จึง
ต้องสนับสนุน "ทางออกสุดท้าย" ? เพียงเพื่อให้ความคิดของพวกเขาสัมฤทธิผลงั้นหรือ?
นี่คืออำนาจนิยมของชนชั้นนำขนานแท้ทั้งรูปแบบและเนื้อหา

ทฤษฎีสิทธิในการรัฐประหารคือทฤษฎีของชนชั้นนำขี้แพ้ชวนตีที่ชนะตามครรลองไม่ได้
ก็ตะแบงหาเหตุผลมาสนับสนุนการใช้กำลัง
นี่คือทฤษฎีอำนาจนิยมขนานแท้ทั้งรูปแบบ
และเนื้อหา

ผู้เขียนเห็นว่าทักษิณหมดความชอบธรรมตั้งแต่กรณีซุกหุ้นครั้งแรกเพราะทำผิดกฎหมาย
ทักษิณรอดมาได้ไม่ใช่แค่เพราะเขามีความร่ำรวยมหาศาลเป็นกำลังภายในเท่านั้น แต่
เพราะผู้นำทางสังคมและปัญญาชนช่วยกันป่าวร้องอุ้มชูทักษิณไว้จนกลายเป็นกระแส
สังคม ด้วยเหตุผลว่าต้องการให้ทักษิณเป็นผู้นำต่อ
พวกเขาเป็น Pragmatist ที่ไม่เคารพ
หลักกฎหมายหลักจริยธรรมทางการเมืองใดๆ แทนที่จะยึดหลักกฎหมายอย่างไม่เข้าใคร
ออกใคร Pragmatist กลับช่วยกันแก้ต่างให้เขา ทำให้ทักษิณเป็นอภิสิทธิชนเหนือกฎหมาย

"ระบอบทักษิณ" งอกเงยขึ้นมาได้เพราะความเหลวไหลไร้หลักการของ Pragmatist
ผู้ใหญ่พวกนี้แหละ

5-6 ปีต่อมาผู้นำทางสังคมหน้าเดิมๆ เปลี่ยนข้างมาต่อต้านทักษิณ แต่แนวคิดพฤติกรรม
ของพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนเลยสักนิด นั่นคือทำอย่างไรก็ได้เพื่อสัมฤทธิผลตามที่เขาคิด
แต่คราวนี้คือทักษิณต้องออกไปทันที หลักการใดๆ แม้กระทั่งกฎหมายและครรลอง
ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับผู้นำทางสังคมเหล่านี้ สัมฤทธิผลตามความเชื่อ
ของเขาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

การใช้อำนาจผิดๆ ของทักษิณและนโยบายอันตรายต่างๆ นานาของรัฐบาลนั้นไม่อยู่นอก
วิสัยที่จะต่อสู้ตามครรลองประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรม
เพราะประเทศไทยยังไม่
ใกล้ตกนรก ยังไม่ใช่ Failed State หรือวิกฤติที่เลวร้ายที่สุดอย่างที่โฆษณาชวนเชื่อกัน
ทุกวี่วัน ตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนที่ว่าโดนแทรกแซงก็ยังด่ารัฐได้ทุกวี่วัน สื่อมวลชน
ชวนเชื่อของฝ่ายต่อต้านทักษิณก็ไม่ถูกสั่งปิด แถมยิ่งนานวันสื่อที่เป็นอิสระจากรัฐยิ่ง
ต่อต้านทักษิณ ยิ่งนานวันความกลัวทักษิณถดถอยจนแทบไม่เหลือ

กระบวนการยุติธรรมของไทยเป็น Pragmatist ยิ่งกว่าใครอื่น ดังนั้นการสยบต่ออำนาจ
จึงเป็นจารีตปกติมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ใช่แค่ผลงานของทักษิณ ครั้นท่านทั้งหลาย
ตระหนักดีว่าอำนาจของทักษิณไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและมีอำนาจที่เหนือกว่าทักษิณอยู่
ในระยะหลังก่อนการรัฐประหาร ความกล้าของท่านจึงกลับสูงขึ้น แทนที่ผู้นำทางปัญญา
และสื่อมวลชนจะกล้าพูดความจริงที่น่าวิตกเกี่ยวกับ Pragmatism ที่ไร้หลักการไร้ความ
กล้าหาญทางวิชาชีพ ของกระบวนการยุติธรรม หรืออย่างน้อยก็อย่าสรรเสริญ ปัญญาชน
และสื่อมวลชนกลับแซ่ซ้องสรรเสริญตุลาการภิวัตน์เพียงเพราะพอใจที่กระบวนการยุติธรรม
เริ่มเข้าข้างตน พวกเขาให้ท้ายเพียงเพราะต้องการสัมฤทธิผลเฉพาะหน้า

วาทกรรม "ทางออกสุดท้าย" จึงเป็นแค่วาทกรรมแบบกระต่ายตื่นตูมหลังรัฐประหารเพื่อ
รองรับความชอบธรรมให้แก่สัมฤทธิผลที่ตนพอใจแค่นั้นเอง แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือผู้นำทาง
ปัญญาจำนวนมากรู้ดีว่าการต่อสู้ตามครรลองประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมมีความ
เป็นไปได้สูงขึ้น แต่พวกเขายังออกมาร้อง "ฟ้าถล่ม" "ประเทศไทยกำลังตกนรก" "วิกฤติ
ที่เลวร้ายที่สุดในโลก" เพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การรัฐประหารอยู่ดี

พวกเขาแก้ต่างให้แก่การรัฐประหารด้วยการตอกย้ำความเลวของทักษิณแต่พวกเขาไม่เคย
ตอบได้กระจ่างเลยว่า ความเลวขนาดไหนจึงสมควรใช้การรัฐประหาร คนไทยโง่เง่าขนาด
ไหนจึงไม่คู่ควรกับวิถีทางประชาธิปไตย
รัฐบาลอเมริกาขณะนี้ยังดีกว่าทักษิณขนาดไหน
ก่อปัญหาให้กับโลกน้อยกว่าทักษิณขนาดไหนจึงยังยอมให้สู้กันในกติกาประชาธิปไตยได้
แต่คนไทยต่ำชั้นกว่าหรืออย่างไรจึงไม่อาจยอมให้ใช้วิถีทางประชาธิปไตยต่อสู้กับทักษิณ
ได้อีกต่อไป Pragmatism แบบ "ทางออกสุดท้าย" ถือเอาความโกรธเกลียดของชนชั้นนำ
เป็นที่ตั้งโดยแท้

พวกเขาจึงต้องทำให้ทักษิณเป็นภูติผีปีศาจแทนที่จะต่อสู้อย่างเป็นธรรม ต้องกุเรื่อง
ไม่เป็นเรื่องอย่างเช่นปฏิญญาฟินแลนด์ขึ้นมาเพื่อขยายความเกลียดชัง กุผีคอมมิวนิสต์
ขึ้นมาอย่างไร้ความรับผิดชอบ ใช้วิธีการทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมทางการเมือง
ไม่ต่างจากทักษิณ ลงท้ายผู้ต่อต้านทักษิณจำนวนมากตกเป็นเหยื่อคือกลัวภูตผีปีศาจที่
ตนเองสร้างขึ้นมา ตกอยู่ภายใต้ความโกรธเกลียดจนขาดสติ ไม่เห็นประโยชน์ของการ
ต่อสู้ตามครรลองประชาธิปไตย แต่กลับต้องการชนะโดยเร็วที่สุด แถมมีหลายคนที่มิได้
ตื่นตูมจริง รู้แก่ใจว่าหนทางประชาธิปไตยเป็นไปได้ แต่ทว่าเหลี่ยมจัดพยายามทำทุก
อย่างเพื่อหวังสัมฤทธิผลที่ตนต้องการ - แค่นั้นเอง

Pragmatism แบบนี้คือ ความมักง่ายของชนชั้นนำในสังคมที่ถือเอาตัวเองเป็นความ
ถูกต้องสูงสุด

ทฤษฎีที่อ้างว่าการรัฐประหารเป็นสิทธิอันชอบธรรมของทหารเพราะประเทศอยู่ท่ามกลาง
กฎหมายป่าคือทัศนะของชนชั้นนำชาวกรุงที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วย และคือโฆษณา
ชวนเชื่อของคนเหลี่ยมจัดไม่ต่างจากทักษิณ

Pragmatism ประเภทนี้อันตรายที่สุดเพราะได้สร้างบรรทัดฐานแก่อนาคตว่า ถ้าหาก
ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ชนชั้นนำคิดหรือรู้สึก การใช้กำลังทหารย่อม
เป็นสิทธิอันชอบธรรม

นี่คือบรรทัดฐานว่าการสู้กับโจรด้วยวิธีโจรเป็นสิทธิอันชอบธรรม การต่อสู้ด้วยอาชญากร
ด้วยอาชญากรรมเป็นสิ่งยอมรับได้ การสู้กับอำนาจที่ฉ้อฉลด้วยวิธีผิดๆ สกปรกอย่างไรก็
พึงทำได้ ตราบเท่าที่สำเร็จตามที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องสนใจหลักเกณฑ์ความถูกต้อง

ทางการเมืองใดๆ ทั้งนั้น

Pragmatism ประเภทนี้ไม่สนใจศีลธรรมอย่างที่อวดอ้าง พวกเขามีมาตรฐานศีลธรรม
หลายชั้นตลอดเวลา เช่น ถือว่าการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐเป็นสิ่งเลวเป็นสื่อเทียม
แต่การโฆษณาชวนเชื่อของตนเป็นสิ่งดีเป็นสื่อแท้ การมอมเมาประชาชนโดยรัฐเป็น
สิ่งเลว แต่การโกหกใส่ร้ายป้ายสีกุข่าวทำเท็จให้กลายเป็นจริงเพื่อต่อสู้กับรัฐเป็นการ
ให้ข้อมูลให้การศึกษาแก่ประชาชน นักกฎหมายฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าเนติบริกร ส่วน
เนติบริกรฝ่ายเราเรียกว่านักกฎหมายมหาชน

คนที่มีส่วนในอาชญากรรมเข่นฆ่าประชาชนเมื่อหลายปีก่อนจึงเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณธรรม
สูงส่งก็ได้ถ้าหากเขาอยู่ข้างเดียวกับเราและช่วยให้เราบรรลุผลร่วมกันในคราวนี้
Pragmatism แบบนี้ช่วยฟอกตัวจนสะอาด   ศีลธรรมและคุณธรรมสำหรับ Pragmatism
ประเภทนี้มีค่าเป็นเพียงแค่เครื่องมือในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม

ประเภทที่สอง Pragmatist คือ ผู้ที่ย้ำว่า "รัฐประหารเป็นเรื่องที่เกิดไปแล้วและเปลี่ยน-
แปลงแก้ไขอะไรไม่ได้"
พวกเขาอาจจะไม่ได้สนับสนุนหรือแก้ต่างแทนการรัฐประหารเลย
อาจคัดค้านต่อต้านเสียด้วยซ้ำ แต่คำกล่าวอย่างไม่มีทางผิดดังกล่าวเปรียบได้กับการ
ปล่อยให้เกิดการกระทำความผิดต่อหน้าต่อตาผ่านเลยไปโดยไม่ต่อสู้ เพื่อเป็นบรรทัดฐาน
ทาง (ศีลธรรม?) สังคมว่าอะไรผิดอะไรถูก

ใครจะข่มขืนใครโจรปล้นบ้านใคร อันธพาลยึดครองซอย ก็เป็นเรื่องที่เกิดไปแล้ว และ
เปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งนั้นแหละ พลเมืองดีควรทำแค่ปลอบใจเหยื่อและตัวเองว่า ช่างมัน
เถอะ อย่างนั้นหรือ? นี่ล่ะหรือคือความมีคุณธรรมจริยธรรมที่อวดอ้างกัน

มีเหตุผลได้หลายอย่างที่อาจอธิบาย Pragmatism ประเภทนี้ เช่น ความกลัว ความเกรงใจ
เพื่อนฝูงที่เป็น Pragmatist ประเภทแรก หรืออาจด้วยความเบื่อหน่ายต่อความไร้สาระของ
การเมืองที่เกิดขึ้นก็เป็นได้ โดยที่ไม่ได้พอใจหรือเห็นด้วยกับการรัฐประหารแต่อย่างใดเลย

แต่เหตุผลเหล่านี้ก็ไม่สามารถทำให้ Pragmatism ประเภทนี้เป็นที่พึงยอมรับแต่อย่างใด
อย่างมากก็เพียงน่าเห็นใจและพอเข้าใจได้ เช่น ความกลัว (แต่ย่อมเป็นหลักฐานว่าระบอบ
ทักษิณน่ากลัวน้อยกว่าระบอบรัฐประหาร)

คำกล่าวคล้ายๆ กันนี้ได้ยินบ่อยครั้งมากจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฆาตกรรมกลาง
เมือง 6 ตุลาคม พวกเขาไม่ต้องการให้มีการขุดคุ้ย เล่าขาน หรือตัดสินคุณค่าใดๆ

ผลของ Pragmatism ประเภทนี้คือ ความขี้ขลาดทั้งของบุคคลและของสังคม ความไร้
หลักเกณฑ์ความถูกต้องทางการเมืองใดๆ ไร้บรรทัดฐานทางศีลธรรมของสังคม และ
การกระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพราะผู้คนในสังคมสมรู้ร่วมคิดด้วยการเอาหูไปนาตาไปไร่
ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ คนที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนคราว 6 ตุลาคม
และพฤษภา 35 กลับกลายเป็นคนที่ได้รับการยกย่องในคราวนี้ว่าเป็นผู้นำที่มีศีลธรรม
คุณธรรม เพราะสังคมไทยเห็นว่าโศกนาฏกรรมทั้งสองกรณี "เป็นเรื่องที่เกิดไปแล้วและ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรไม่ได้"

ขบวนการที่เรียกร้องคุณธรรมทางการเมืองคราวนี้แท้ที่จริงจึงเป็นแค่ขบวนการปากว่า
ตาขยิบเลือกที่รักมักที่ชัง ใครข้างเราถ้าทำอะไรไม่ดีก็เอาหูไปนาตาไปไร่ ใครไม่ใช่ก็
ถล่มมันซะจนกว่าจะ...ออกไป ปํญหาของคุณธรรมทางการเมืองจึงไม่ใช่แค่ทักษิณกับ
พวกและเนติบริกร 3 คนแต่รวมถึงผู้เรียกร้องเองด้วย ผู้ใหญ่ที่อ้างหรือเชื่อกันว่ามีคุณธรรม
บารมีสูงนั่นแหละน่ากลัวที่สุด

Pragmatism ประเภทนี้จึงอาจมิใช่การสนับสนุนการรัฐประหารโดยเจตนาหรือสำนึกรู้
แต่ย่อมเป็นการสมยอมต่อการกระทำผิดโดยปริยาย Pragmatist ประเภทนี้มักหลบเลี่ยง
คำถามเกี่ยวกับศีลธรรมหรือไม่ก็ยกให้เป็นเรื่องของคนอื่นซะ Pragmatism ประเภทนี้ยัง
เป็นฐานของ Pragmatism ประเภทต่อไป

Pragmatism ประเภทที่สาม ที่แพร่หลายมากๆ ในคราวนี้ คือ พวกที่บอกว่าตนไม่เห็นด้วย
กับการรัฐประหารเลย แต่ต้องเข้าใจความเป็นจริงว่ามันเกิดไปแล้วและต้องคิดถึงอนาคต

คือเห็นว่าการประท้วงต่อต้านคงไม่เกิดประโยชน์ไม่เป็นผลดีที่เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา ดังนั้น
จึงควรผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยการเข้าร่วม
กับกลไกต่างๆ ของคณะรัฐประหารซะเลย ปัญญาชนหลายคนรวมทั้งอาจารย์ ผู้แทน
องค์กรสื่อมวลชน ผู้นำเอ็นจีโอ อ้างข้อนี้เป็นเหตุผลที่ไม่ออกมาคัดค้านและกลับร่วมมือ
กับคณะรัฐประหาร อธิการบดี มธ. ก็อ้างเหตุผลนี้ นายกสุรยุทธ์ก็อ้างว่ายอมเป็นนายก
เพราะเหตุผลนี้

ดูเหมือนว่าแทบไม่มีใครเลยที่ไม่คัดค้านการรัฐประหาร (คงมีแค่อ.เขียน เซี่ยงเส้าหลง
และคอลัมนิสต์ไม่กี่คนที่เอาจริงเอาจังกับโจ๊กรัฐศาสตร์ที่ว่าการรัฐประหารเป็นส่วนดีที่
จำเป็นของระบอบประชาธิปไตย) แต่ระบอบของคณะรัฐประหารอยู่ได้เพราะผู้ใหญ่ทั้ง
หลายเห็นความจำเป็นเพื่อชาติ จึงต้องช่วยกันประคับประคองสิ่งที่ตนคัดค้านให้ประสบ
ความสำเร็จ

หากยืมสำนวนอธิการบดีมธ. คงกล่าวได้ว่า ต้องช่วยกันอาสาไปลงนรกเพื่อให้นรกประสบ
ความสำเร็จ
เพราะถ้านรกไม่ประสบความสำเร็จ ความเป็นจริงที่ตนสยบยอมก็ไม่มีอยู่
อำนาจปืนของคณะรัฐประหารมีอยู่จริงและน่ากลัวจริง แต่อำนาจที่น่ากลัวนี้อยู่ได้ด้วยการ
พร้อมใจกันสยบยอมหรือการ "อุปโลกน์รวมหมู่" โดยบรรดา Pragmatist เหล่านี้เอง

หากยังงงอยู่โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง จะเข้าใจ Pragmatism แบบคลาสสิคของผู้ใหญ่ทั้ง
หลายในเมืองไทย กล่าวได้ว่าถ้าใครยังคิดอย่างนี้ไม่เป็นก็คงไม่มีทางได้เป็นผู้ใหญ่ที่น่า
เคารพยกย่องว่ามีคุณธรรมสูงกว่าชาวบ้านธรรมดา ถ้าใครยังกล้าหาญไม่พอที่จะช่วยกัน
ทำให้นรกที่แทบทุกคนคัดค้านประสบความสำเร็จ ก็นับเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพไม่ได้

ตราบใดที่การพร้อมใจกันสยบยอมหรือ"อุปโลกน์รวมหมู่" ยังดำรงอยู่ความเป็นจริงอย่าง
ที่เขาเข้าใจก็ยังดำรงอยู่ แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ Pragmatist เหล่านี้ลืมตาตื่น
ขึ้นพร้อมๆ กัน

ผู้ที่คิดอย่างตรงไปตรงมาว่าอะไรถูกเป็นถูกผิดเป็นผิดกลับถูกเรียกว่าพวกกอดคัมภีร์
เถรตรง และไม่เข้าใจความเป็นจริง
หากบวกความกล้าหาญอย่างคุณนวมทอง ไพรวัลย์
เขาเรียกว่าผู้หลงผิดอย่างฝังหัว ทั้งหมดนี้เป็นแค่วาทกรรมที่ผลักไสผู้ที่คิดต่างจากตน
ให้กลายเป็นพวกเซ่อซ่าไร้เดียงสา หรือเป็นพวกไม่รู้จักสังคมไทยเท่าตน วาทกรรมแบบ
นี้หลบเลี่ยงไม่ยอมเผชิญกับประเด็น ไม่ยอมรับว่าคนเราอาจคิดต่อความเป็นจริงเดียวกัน
ได้ต่างกัน

Pragmatism ประเภทสุดท้าย ก็คือผู้ทรงปัญญาหลายท่านออกมาแก้ต่างให้เหตุผล
ปกป้องการรัฐประหารต่างๆ นานา
แท้ที่จริงเป็นการให้ความชอบธรรมแก่ตนเองมาก
กว่าอื่นใดทั้งหมด

ก่อนหน้าการรัฐประหารคนเหล่านี้คงไม่สนับสนุนหรือยุยงให้เกิด แต่ครั้นเกิดการรัฐประหาร
ขึ้นจริง หลายท่านคงรู้สึกตัวทันทีว่าการต่อต้านทักษิณออกผลกลายเป็นผลไม้พิษที่ตน
คาดไม่ถึง

ทางออกของคนแบบนี้มีอยู่หลักๆเพียง 2 ทาง คือ
ทางแรก ยอมรับความผิดพลาดของตนซะ ซึ่งย่อมเจ็บปวดมากและอาจมีผลต่อชีวิตทาง
ปัญญาอย่างลึกซึ้งต่อไป
ทางที่สองคือ ให้ความชอบธรรมแก่การรัฐประหารซะ เพื่อเป็นการให้ความชอบธรรมแก่
ตนเองมากกว่าอย่างอื่น เพราะหากไม่สามารถอธิบายแก่ตัวเองได้ว่าสิ่งที่ทำลงไปแล้ว
ไม่ผิด ชีวิตของคนๆ นั้นคงกล้ำกลืนกับความผิดพลาดครั้งสำคัญนี้ไปตลอดชีวิต

แทนที่จะคิดว่าตนพลาดอะไรไปหรือตนถูกครอบงำด้วยความโกรธ เกลียดทักษิณจน
หน้ามืด กลับกลายเป็นว่าผู้ทรงปัญญาต้องออกมาสร้างความชอบธรรมแก่การรัฐประหาร
เพื่อจะมีชีวิตปัญญาต่อไปตามปกติอย่างไม่ขมขื่นจนเกินไปนัก

ศีลธรรมของ Pragmatist ประเภทนี้ ถึงที่สุดจึงอยู่ที่ผลต่อตัวเองเป็นปัจจัยชี้ขาด
คำอธิบายที่แก้ความกระอักกระอ่วนของตนเองได้เป็นคุณธรรมสำคัญกว่าประชาธิปไตย
ของคนหมู่มาก

คนๆ หนึ่งสามารถเป็น Pragmatist หลายประเภทปนๆ กันได้ หลายคนในขณะนี้ก็เป็น
เช่นนั้น

อาจกล่าวได้ว่าการรัฐประหารในคราวนี้ช่วยให้ตระหนักว่าแม้กระทั่งนักวิชาการซึ่งน่าจะ
เป็นที่พึ่งได้ในการคิดและความมั่นคงกับหลักการ เอาเข้าจริงเป็นแค่ Pragmatist แทบ
ทั้งนั้น นักกฎหมายชื่อดังก็เป็นแค่ Pragmatist แทบทั้งนั้น นักประชาธิปไตยก็เป็นแค่
Pragmatist เช่นกัน

แทนที่หลักวิชากฎหมาย หรือหลักการประชาธิปไตยจะลงหลักปักมั่นในสังคมไทย หลัก
ทั้งหลายจึงคงเป็นแค่หลักปักขี้เลนที่นักวิชาการ นักกฎหมาย และนักต่อสู้โยกไปมาตาม
สัมฤทธิผลที่พวกเขาต้องการ

ภูมิปัญญาทุกๆด้านของสังคมไทยมีสกุลหลักเพียงสกุลเดียวคือสกุล Pragmatism ซึ่ง
แทรกตัวอยู่ทั้งในระบบราชการ กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ นักการเมือง เอ็นจีโอ
สื่อมวลชน มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ฝ่ายขวา ซ้าย อนุรักษ์นิยม เสรีนิยม และประชาชน
ทั่วไป

นี่คือคำอธิบายว่าทำไม 80% ของคนไทยรวมทั้งผู้นำทางปัญญาทั้งหลายจึงกลับลำ
มาสนับสนุนการรัฐประหารทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ยังบอกว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารเลย


พวกเขาปฏิเสธความมีหลักการด้วยเหตุผลผิดๆ เพราะ Pragmatist เหล่านี้ไม่เคยเข้าใจ
ว่าหลักการคืออะไร?


หลักการไม่ใช่คัมภีร์ตายตัว (นั่นเป็นความหมายตามการโฆษณาชวนเชื่อของพวก
Pragmatist) หลักการไม่ใช่ความเถรตรง (นี่ก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่อของ Pragmatist
เช่นกัน) หลักการไม่ใช่นิสัยเฉพาะของฝรั่ง เพราะทุกสังคมมีทั้ง Pragmatist และพวกที่
เคารพหลักการ คนๆ หนึ่งสามารถเป็นทั้งสองอย่างในตัวเองยังได้เลย

หลักการคือผลสรุปหรือบทเรียนรวบยอดของประสบการณ์ของมนุษย์จำนวนมหาศาล
เป็นเวลายาวนานมากจนกลั่นออกมาเป็นหลักให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ยึดถือ แทนที่จะเอา
แต่คิดง่ายๆ สั้นๆ กับสถานการณ์เฉพาะหน้าอยู่ร่ำไป แต่หลักการไม่ใช่กฎตายตัวหรือ
ทฤษฎี โดยมากเป็นแค่บรรทัดฐานหรือกรอบแนวทางที่ยอมให้มีการยืดหยุ่นได้ตาม
ความเป็นจริ
ง หลักการหนึ่งๆ ยังมักเป็นเกณฑ์ที่สังคมโดยรวมยึดถือท่ามกลางความ
แตกต่างหลากหลายของผู้คน หลักการจึงไม่ใช่สิ่งตรงข้ามกับความเป็นจริงหรือความ
เป็นไทย

น่าเสียใจที่นักวิชาการคอลัมนิสต์ ปัญญาชนออกมาประณามความมีหลักการ เห็นการ
ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ความถูกต้องทางการเมืองเป็นเรื่องตลก
แล้วกลับแซ่ซร้องสรรเสริญ
Pragmatism ที่อันตรายทั้ง 4 ประเภท กลายเป็นว่าทำยังไงก็ได้ให้ประสบผลเป็นสิ่งดี
เป็นวัฒนธรรมไทย เป็นภูมิปัญญาไทยที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง

หรือว่าน่าภูมิใจนักที่จะประกาศต่อโลกว่าไทยเป็นชาติไม่มีหลักการ เกลียดหลักการ

แต่เอาเข้าจริง Pragmatist ทั้งหลายก็อยู่ในกรอบหลักคิดบางอย่างด้วยกันทั้งนั้น ทว่า
Pragmatist ที่เห็นคราวนี้คือบรรดาผู้ที่ถูกครอบงำด้วยกรอบเช่นนั้นจนสนิท ไม่รู้เท่าทัน
กรอบความคิดที่ครอบงำตนอยู่ เรียกได้ว่าเป็นทาสของกรอบความคิดบางอย่างสนิทจน
ไม่เคยตั้งคำถาม พอใจเพียงแค่สัมฤทธิผลในกรอบของความคิดครอบงำนั้นๆ

รัฐประหารคราวนี้เราได้เห็นความคิดที่ฝังลึกในภูมิปัญญาของปัญญาชนเหล่านี้ชัดเจน

กรอบของความคิดนี้มีคนเรียกว่าประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทย แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็น
อภิชนาธิปไตยที่มีประชาธิปไตยเป็นแต่เปลือก

http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_119333.jsp

อ่านแล้วลองสำรวจตัวเองดูว่า เข้าข่าย pragmatist ประเภทไหนบ้าง ก็น่าจะสนุกดี
(หรือไม่สนุกหว่า?)
บางท่านอาจเป็นทุกประเภทได้ในเวลาเดียวกัน ตามผู้เขียนบอก
แต่ยังไง อ่านแล้วอย่าให้ความดันขึ้นสูงมากก็แล้วกัน
เดี๋ยวเกิดเป็นอะไรไป จขกท. จะพลอยบาปที่นำบทความต้นเหตุมาสู่สายตา
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-11-2006, 07:27 »

ภาษาก่อสร้างเค้าเรียกว่า no reasons just result ก็ตูจะเอาอย่างงี้ซะอย่าง
บันทึกการเข้า
Sky
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 913



« ตอบ #2 เมื่อ: 10-11-2006, 07:31 »

หากการปฏิวัติรัฐประกหาร มันดีจริง มันแก้ปัญหาและข้อขัดแย้งได้เสมอ

อย่างนั้น สหรัฐอเมริการ อังกฤษ และประเทศยุโรป  ก็คงปฏิวัติกันทุกเดือนแล้วมั้ง
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #3 เมื่อ: 10-11-2006, 07:39 »

ผู้เขียนเหมือนจะบอกว่าจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดคือไปยอมรับเรื่องซุกหุ้น ก็เลยเอาเป็นบรรทัดฐาน ซวยไป เหตุผลของคนไม่มีเหตุผล
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #4 เมื่อ: 10-11-2006, 07:45 »

ภาษาก่อสร้างเค้าเรียกว่า no reasons just result ก็ตูจะเอาอย่างงี้ซะอย่าง

ไม่แก้ตัวให้สุดที่รักหน่อยหรือคะ?
คุณ ทักษิณ น่ะ pragmatist ขนานแท้
ทำอะไรก็ The ends justify the means.
วิธีการไม่สำคัญ ขอให้ได้ผลที่ต้องการเป็นพอ

ป.ล. ขยันเปลี่ยนรูป Avatar จัง วันละ 3 เวลาหลังอาหารหรือ?
       แต่เป็นดอกไม้ใบหญ้าสวยๆ ดีแล้วนะคะ
       ไม่ต้องไปเปลี่ยนเป็นหน้าคนร้ายๆ มา
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #5 เมื่อ: 10-11-2006, 07:54 »

ในความไม่มีเหตุผลมันมีเหตุผลของมันอยู่ บางทีระดับจริยธรรมมันไม่เท่ากัน การให้เหตุผลก็จะเป็น
การชวนทะเลาะซะมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องหวยบนดิน จะชัดเจนมากสุด สำหรับเรื่องซุกหุ้นที่เป็น
ต้นตอนั้น ก็บังเอิญเค้ารวยแล้วก็ลูกยังไม่โต บางคนเค้าก็ไม่ไว้ใจเมียร้อยเปอร์เซ็นต์นะ ต้องรอเมีย
แก่แบบไม่มีที่ไปซะก่อน ก็ต้องมีกั๊กบางส่วนให้ลูกบ้าง เผื่อผู้หญิงแพ้ผู้ชายจนลืมลูกไงครับ แต่คง
ไม่เกิดกับครอบครัวท่านทักษิณหรอก เพราะท่าทางคุณหญิงก็เก่งไม่แพ้กัน ถ้าวันไหนคุณมีทรัพย์
สมบัติเยอะๆ คุณอาจจะต้องตัดสินใจทำอย่างเขาก็ได้ ถ้าต้องเล่นการเมือง แต่สุดท้ายมันก็ไม่เป็น
เรื่องคอร์รับชั่นไม่ใช่เหรอ แค่ห่วงลูกมันผิดตรงไหน
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #6 เมื่อ: 10-11-2006, 08:13 »

ซุกหุ้นเพื่อลูก น่าเห็นใจจริงๆ สำหรับมหาเศรษฐีแสนล้าน
เปรียบเทียบกับแม่ที่ขโมยอาหารให้ลูกเพราะไม่มีเงินซื้อ ไม่ได้เลยนะคะ

ห่วงลูกไม่ผิด แต่ทำผิดโดยไม่มีความจำเป็น/เหตุผลควรแก่การเห็นใจนั้น
ผู้ที่มีสามัญสำนึก ไม่ต้องถึงจริยธรรมสูงส่งอะไร ก็ทราบว่าเป็นการกระทำ
ของคนโลภ ไม่รู้จักพอ ไม่เคารพกฏหมาย เอาเปรียบคนทั่วไป
ไม่มีค่าควรแก่การไว้ใจคบหา อย่าว่าแต่เลือกมาเป็นนายกรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #7 เมื่อ: 10-11-2006, 08:15 »

ได้อ่านบทความนี้ตั้งแต่วันก่อน นึกแล้วว่าเดี๋ยวคุณเกล็ดหิมะเธอต้องนำมาตัดแปะที่สภากาแฟ ณ ขบวนการเสรีไทยในเว็บบอร์ดแน่ ๆ  

ช่างคาดการณ์ได้ไม่ผิดเจง ๆ  

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
visitna
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209



« ตอบ #8 เมื่อ: 10-11-2006, 08:19 »

รวยแล้วไม่โกงเป็น PRAGMATISM หรือไม่?
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #9 เมื่อ: 10-11-2006, 08:22 »

ได้อ่านบทความนี้ตั้งแต่วันก่อน นึกแล้วว่าเดี๋ยวคุณเกล็ดหิมะเธอต้องนำมาตัดแปะที่สภากาแฟ ณ ขบวนการเสรีไทยในเว็บบอร์ดแน่ ๆ  

ช่างคาดการณ์ได้ไม่ผิดเจง ๆ  



อ่า ผู้รู้ใจ อีกหนึ่งราย ...
แล้วเตรียมคำด่า เอ๊ย คำตอบไว้หรือยังคะ?
หรือว่าวันนี้อารมณ์ดี ไม่มีด่า?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ใบไม้ทะเล
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,321


In politics stupidity is not a handicap


« ตอบ #10 เมื่อ: 10-11-2006, 08:26 »

ได้อ่านบทความนี้ตั้งแต่วันก่อน นึกแล้วว่าเดี๋ยวคุณเกล็ดหิมะเธอต้องนำมาตัดแปะที่สภากาแฟ ณ ขบวนการเสรีไทยในเว็บบอร์ดแน่ ๆ  

ช่างคาดการณ์ได้ไม่ผิดเจง ๆ  



สมเป็นแฟนคลับตัวจริง คุณเกล็ดหิมะจริงๆพี่เม่ยนิ 
บันทึกการเข้า

立てばしゃくやく、座ればぼたん、歩く姿はゆりの花
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #11 เมื่อ: 10-11-2006, 09:42 »

สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism ) ของปัญญาชนไทย
กับการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549


กรุงเทพธุรกิจ 8 พฤศจิกายน 2549 11:47 น.

ผู้เขียนเห็นว่าทักษิณหมดความชอบธรรมตั้งแต่กรณีซุกหุ้นครั้งแรกเพราะทำผิดกฎหมาย
ทักษิณรอดมาได้ไม่ใช่แค่เพราะเขามีความร่ำรวยมหาศาลเป็นกำลังภายในเท่านั้น


http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_119333.jsp



เห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #12 เมื่อ: 10-11-2006, 09:46 »

ไม่เห็นด้วยเล้ย แค่ปกป้องเงินตัวเองไม่ได้โกงซักนิด คนเราห่วงลูกมันก็ทำได้หรอก แต่เรื่องมันผ่านจนเป็น
ขี้หมาแห้งไปแล้ว แล้วก็ผ่านการฟอกจนเป็นเรื่องบกพร่องโดยสุจริตแล้วด้วย ไม่เห็นน่าขุดขึ้นมา เรื่องตรง
หน้าให้ด่าอีกตั้งเยอะ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #13 เมื่อ: 10-11-2006, 09:49 »

นักวิชาการจำนวนมากรู้ทฤษฎี ชอบเอาที่ในตำราเขียนมาท่องอวดชาวบ้าน
คนที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนก็ตื่นเต้นตาโต ชมว่าฉลาดจังเลยๆ

ที่แท้มันเขียนอยู่ในตำราตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว

พวกนี้ท่องจำเป็นอย่างเดียว คิดไม่ค่อยเป็น 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
มดโฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122



« ตอบ #14 เมื่อ: 10-11-2006, 10:08 »

เป็นก็เป็นดิ แต่น่าจะดีกว่าเดินตามประชาธิปไตยสหรํฐเเบบสงครามกลางเมืองหรอหาคนไปยิงประธานาธิบดี  เรื่องโพลไม่เชื่อมันตั้งเเต่สมัยท่านทักสินเป็นนายกเเล้ว ระบบมันดีก็เข้าใจอยู่หรอก ถ้านักการเมืองไทยเป็นอย่างนายรัมเทล
นั่น เรื่องเเปลกๆเเบบนี้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้หรอก
บันทึกการเข้า

หลอกคนอื่นนะหลอกง่าย แต่หลอกตัวเองอะไม่มีทาง
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 10-11-2006, 10:26 »

pragmatism อะไรหรือ
ผมสงสัยว่า แล้วคนเขียนบทความนี้ เป็นพวกตรงข้ามกับ pragmatism หรือเปล่า
คือเอาแต่หลักการ เลยทำอะไรไม่สำเร็จเลยซักอย่างเดียว 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #16 เมื่อ: 10-11-2006, 10:28 »

เหอ เหอ พวกดัดจริตนิยม ไงล่ะ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #17 เมื่อ: 10-11-2006, 12:23 »

หากการปฏิวัติรัฐประกหาร มันดีจริง มันแก้ปัญหาและข้อขัดแย้งได้เสมอ

อย่างนั้น สหรัฐอเมริการ อังกฤษ และประเทศยุโรป  ก็คงปฏิวัติกันทุกเดือนแล้วมั้ง

แก้ปัญหาท้องอืด ถ่ายไม่ออกของบางคนได้ค่ะ
แต่ปัญหาใหญ่หรือปัญหาหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในเรื่องระบอบอุปถัมภ์ แก้ไม่ได้ด้วยการทำรัฐประหาร เพื่อกำจัดคนและ
พรรคที่ไม่พึงปรารถนา อย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #18 เมื่อ: 10-11-2006, 12:32 »

รวยแล้วไม่โกงเป็น PRAGMATISM หรือไม่?

รวยโดยสุจริต ไม่ทำผิดกฏหมาย ก็คงไม่เป็น pragmatism
ที่มักเพ่งที่การใช้วิธีการที่ไม่ดี เพื่อผลที่ต้องการ
Pragmatist จะ ยอมรับ/เลือกใช้ วิธีการที่เลว
หากว่ามันก่อให้เกิดผลลัพธ์ออกมา ดีกว่า/มากกว่า การใช้วิธีการที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง เช่น หากยอมจ่ายเงินสินบนจำนวนน้อยให้เจ้าหน้าที่ตรวจรับ
แล้วได้กำไรมาก จากการก่อสร้างที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ตกลงไว้
ก็เป็น pragmatism เพราะไม่คำนึงถึงความผิดถูกของวิธีการได้มาซึ่งรายได้สูงสุด
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
watson
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 393


« ตอบ #19 เมื่อ: 10-11-2006, 13:03 »

ผมจบมาสาย "วิทย์-คณิตฯ" ไม่ค่อยประสีประสาเรื่องกฏหมาย และการเมืองการปกครอง อยากจะถามผู้รู้ครับ

- การทำรัฐประหารของคณะราษฎร์เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราช มาเป็นประชาธิไตย ถือเป็น pragmatism หรือไม่? ทำไมไม่ใช้วิถีประชาธิไตยโดยให้ประชาชนเลือกว่าจะอยู่ใต้ระบอบกษัตริย์หรือประชาธิไตย? ทำไมต้องใช้กำลังยึดอำนาจ?
- ในสมัยสงครามเย็น มีนักเรียน นักศึกษา ปัญญาชน เข้าป่าจับอาวุธมาเข่นฆ่ากับคนไทยด้วยกันเอง ถือเป็น pragmatism หรือไม่? ทำไม พคท. ไม่ใช้วิถีทางประชาธิปไตยโดยลงสมัครรับเลือกตั้งให้ประชาชนตัดสิน? ทำไมต้องใช้กำลัง?
- อเมริกาบอกว่าซัดดัมเป็นอาชญากร ส่งกำลังเข้ายึดอำนาจอิรักจากรัฐบาลซัดดัม ถือเป็น pragmatism หรือไม่? ทำไม ไม่ใช้วิถีทางประชาธิปไตย โดยให้ประชาชนอิรักเป็นผู้ตัดสิน? ทำไมต้อใช้กำลัง?
- ช่วยยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็น pragmatism ให้หน่อยครับ เอาของต่างประเทศก็ได้

รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ เอาแบบตรงคำถามนะครับ อ้อม ๆ เดี๋ยวผมจะไม่เข้าใจ
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Politician Boss
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


« ตอบ #20 เมื่อ: 10-11-2006, 14:55 »

ผมเคิดเห็นว่า สิ่งที่ผู้เขียนพยายามจะบอกก็คือ ว่าการกระทำอะไรก็ ต้องมีหลักการในการดำเนินการ เป็นตัวยึด มากกว่าที่จะยึดแค่ผลสำเร็จ แต่ถ้าจะนำแนวคิดนี้ไปตี
ความแบบ คลุม ๆ ทุกเรื่องย่อมไม่ถูกต้อง เพราะหลักแต่ละเรื่องมันย่อมไม่เหมือนกัน กรณีที่ผู้เขียน ยกมานี้ เป็นการบอกว่า เมื่อ ณ ปัจจุบันนี้ ประเทศของเรายึดหลักอันเป็นวิธีทางแบบประชาธิปไตย จึงต้องยึดหลักนี้ในการคิดแบบประชาธิปไตย เป็นต้นแบบ ถ้าวันนี้ประเทศเรา ยึดหลักแบบรัฐบาลทหารของพม่า ก็ไม่จำเป็นต้องมาใช้หลักประชาธิปไตยเป็นตัวยึด เพราะก็ย่อมเห็นกันอยู่แล้วว่า วิธีการได้มาของอำนาจรัฐบาลพม่า ก็คือการยึดกันไปกันมานั่นเอง หรือถ้าจะนำประยุกต์ใช้ในทางการค้าขาย ก็คือ หลักกฏหมาย หลักศีลธรรม และคุณธรรม เป้นต้น
              ถ้าวันนี้ คนที่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ บอกว่าตนเองมีเห็นด้วยกับหลักการปกครองแบบเผด็จการ ก็เป็นอันว่าจบ และจะว่าเขาไม่ได้ เพราะเขามีความเห็นโดยบริสุทธิ์ใจอย่างนั้น แต่ถ้าเขาบอกว่า ตนเองแนวความคิดแบบประชาธิปไตย แต่ดันเห็นด้วยกับการยึดอำนาจ ก็แสดงว่าเข้าข่ายที่ผู้เขียนกล่าวอ้างนั่นเอง
บันทึกการเข้า
watson
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 393


« ตอบ #21 เมื่อ: 10-11-2006, 15:34 »

ถ้าเพิ่มนะครับ

- ถ้าจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจาก "อะไรก็แล้วแต่" ไปเป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้อง "ยึดหลักอันเป็นวิธีทางแบบประชาธิปไตย" เสมอไปหรือไม่? ถ้าเป็นอย่างนั้นการที่ "คณะราษฎร์" ที่ทำการยึดอำนาจใน พ.ศ. 2475 (หลายท่านในคณะนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประชาธิปไตย) ถือว่ายึดหลักประชาธิปไตยหรือ? การปฏิวัติประชาธิปไตยในฝรั่งเศส (วันที่บางพรรคถือเอาเป็นวันก่อตั้งพรรค) ยึดหลักประชาธิปไตยหรือ? ถ้าไม่ใช้วิธีนั้นจะสามารถเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่?
- การปกครองของรัฐบาลที่มีการรวบอำนาจ ครอบงำ แทรกแซง องค์กรต่าง ๆ ทั้งอิสระ และไม่อิสระ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โดยที่มีศูนย์อำนาจอยู่ที่คน ๆ เดียว หรือกลุ่มเดียว ถือว่าเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยหรือไม่? ถ้าไม่ การเปลี่ยนแปลงจากระบอบนี้ไปเป็นประชาธิปไตย สามารถเป็นไปโดย "ยึดหลักอันเป็นวิธีทางแบบประชาธิปไตย" ได้หรือไม่?

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Politician Boss
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


« ตอบ #22 เมื่อ: 10-11-2006, 16:46 »

- ถ้าจะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจาก "อะไรก็แล้วแต่" ไปเป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้อง "ยึดหลักอันเป็นวิธีทางแบบประชาธิปไตย" เสมอไปหรือไม่? ถ้าเป็นอย่างนั้นการที่ "คณะราษฎร์" ที่ทำการยึดอำนาจใน พ.ศ. 2475 (หลายท่านในคณะนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประชาธิปไตย) ถือว่ายึดหลักประชาธิปไตยหรือ? การปฏิวัติประชาธิปไตยในฝรั่งเศส (วันที่บางพรรคถือเอาเป็นวันก่อตั้งพรรค) ยึดหลักประชาธิปไตยหรือ? ถ้าไม่ใช้วิธีนั้นจะสามารถเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่?
==================================================================================
ในคำถามนี้ ถ้าพิจารณาดูแล้ว ทำให้ผมรู้สึกว่า นอกจากเนื้อคำถามตรง ๆ แล้วมัน มีอย่างหนึ่ง แฝงอยู่ก็คือ มีแนวความเชื่อว่า ระบอบทักษิณ มีอยู่จริง เอาล่ะ เมื่อพิจารณาคำถาม จะเห็นได้ เป็นกรณีการเปลี่ยนแปลง  มันนัยสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ก่อนการเปลี่ยนแปลง กับหลังการเปลี่ยนแปลง ก่อนการเปลี่ยนแปลงเราไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ประชาชนโดยทั่วไป ก็ไม่เข้าใจ และมีความรู้เรื่องประชาธิปไตยน้อยมาก ดังนั้นหลักคิดแบบประชาธิปไตยจึงไม่มีในหมู่ประชาชนทั่วไป การใช้วิธีการทางประชาธิปไตยกับประชาชน  ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็คือนัยสำคัญ หลังการเปลี่ยนแปลง ประเทศก็พัฒนาการปกครองแบบประชาธิปไตยต่อเนื่อง ล้ม ลุก คลุกคลานมาตลอด 60 ปี ผ่านยึดอำนาจมาหลายครั้ง เดิมทีเดียวสมัยก่อน ผมก็ค่อนข้างเห็นด้วย กับการยึดอำนาจในครั้งก่อน ๆ พาลคิดไปด้วยซ้ำ ว่าประเทศเราต้องปกครองแบบเผด็จการ แต่เมื่อเห็นมันหลายครั้ง ก็ถามตัวเองว่า ทำไมประชาธิปไตย บ้านเรามันพัฒนาไปน้อยมาก ในที่สุดก็พบว่า เป็นเพราะเราไม่อดทนพอ ที่จะใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เราไม่เคยก้าวผ่านปัญหาและอุปสรรคของประเทศด้วยวิธีการแบบประชาธิปไตยเลยซักครั้งเดียว เพราะเราเป็นแบบที่ผู้เขียนเรื่องผลสำเร็จนิยมเขียนจริง ๆ เราจึงต้องพึ่ง อัศวินขี่รถถัง มาอยู่ร่ำไป

ส่วนคำถามข้อที่สอง ผมคิดว่าถ้าเข้าใจ ในคำตอบข้อแรก แล้วความเข้าใจนั้น จะตอบคำถามข้อที่สองได้อย่างดี  เชื่อเถอะครับ ถ้าคุณทักษิณทำผิดจริง ยังไงก็
ต้องติดคุกครับ แต่จะติดเพราะประชาชนไม่ให้ลอยนวล ไม่ใช่เพราะอัศวินขี่รถถังครับ
บันทึกการเข้า
watson
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 393


« ตอบ #23 เมื่อ: 10-11-2006, 17:36 »

หัวข้อกระทู้นี้กล่าวถึง pragmatism ซึ่งตามความเข้าใจของผมเข้าใจว่าหมายถึงการทำอะไรซักอย่างให้สำเร็จสู่เป้าหมาย (ผลลัพธ์) โดยไม่คำนึงถึงวิธีการที่ใช้ เข้าใจว่า จขกท ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการ "ปฏิวัติ" ครั้งล่าสุดนี้เป็น pragmatism

โดยส่วนตัวแล้วผมมีความเชื่อมั่นใน "ระบบ" มากกว่า "บุคคล" และเชื่อว่าองค์กรใด ๆ (รวมถึงประเทศชาติด้วย) จะขับเคลื่อนไปได้ ต้องอาศัย "ระบบ" ไม่ใช่ "บุคคล" เป็นตัวขับเคลื่อน
การที่ทักษิณหลุดจากคดีซุกหุ้นภาคแรกได้ เป็นตัวอย่างของการที่คนหลายฝ่าย "ละเลย" และยอมให้ระบบถูก "ละเมิด" โดยให้ความสำคัญแก่ "บุคคล" มากกว่า "ระบบ"

แต่อย่างไรก็ดี "ระบบ" ไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการที่ "บุคคล" สร้างหรือว่าก่อตั้งขึ้น และบางครั้ง "ระบบ" ก็ถูกทำลายลงโดย "บุคคล" เช่นเดียวกัน

ถ้าเราเชื่อในการมีอยู่ของ "ระบอบทักษิณ" ก็ย่อมต้องเห็นด้วยว่า "ระบบ" ที่มีอยู่ได้ถูกแทรกแซงและทำลายจนยากจะ "ซ่อมแซม" ให้ใช้งานได้ด้วยกลไกของตัว "ระบบ" เอง จึงมีความต้องการที่จะต้องมี "กระบวนการ" ภายนอกเข้ามารื้อระบบเดิม และสร้าง "ระบบ" ขึ้นมาใหม่

ปล. นี่เป็นมุมมองของผมในฐานะที่เป็น "นักวิเคราะห์ระบบ" ไม่ใช่นักกฏหมาย ไม่ใช่นักการเมือง แล้วก็ไม่ใช่นักธุรกิจครับ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #24 เมื่อ: 11-11-2006, 10:25 »

ทักทาย/ต้อนรับคุณ อนา ด้วยภาพหวานใจ
ยังไม่ว่างไปหารูปใหม่ ดูรูปเก่ารำลึกความหลัง (ไม่นานมาก) ไปก่อนแล้วกัน



FA Cup 2006 with Prince William

พรุ่งนี้อย่าลืมเชียร์นะคะ ลงไปเยือน Highbury
หากชนะปืนใหญ่ เก็บ 3 แต้มได้ละก็มีเฮ ...
อาจได้เลื่อนอันดับขึ้นไปอยู่ในโซนได้ไปแข่ง Champion’s League ปีหน้า
แบบว่า มักน้อย หมายอันดับ 4 ไว้ก่อน ทำได้แล้วค่อยเปลี่ยนเป้าหมายใหญ่ขึ้นต่อไป

ป.ล. รูปใบเมเปิ้ลสีสวยจังค่ะ
       นับว่าโชคดีที่ได้เห็นใบไม้เปลี่ยนสีใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปดูที่ไกลๆ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #25 เมื่อ: 11-11-2006, 10:37 »

สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism ) ของปัญญาชนไทย
กับการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549


กรุงเทพธุรกิจ 8 พฤศจิกายน 2549 11:47 น.

ผู้เขียนเห็นว่าทักษิณหมดความชอบธรรมตั้งแต่กรณีซุกหุ้นครั้งแรกเพราะทำผิดกฎหมาย
ทักษิณรอดมาได้ไม่ใช่แค่เพราะเขามีความร่ำรวยมหาศาลเป็นกำลังภายในเท่านั้น


http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_119333.jsp



เห็นด้วยครับ

กระทู้ ทุกท่าน เริ่มรู้ทันคนหน้าเหลื่ยมเมื่อไหร่ครับ

ไม่รู้จะนับว่า "รู้ทัน" ได้รึเปล่า
เอาเป็นว่าเริ่มไม่ชอบหน้าตั้งแต่เมือไหร่
คงเป็นตั้งแต่แรกเห็น ว่าไปนั่น... He's not my type!
(ชอบหน้ากลม ไม่ชอบหน้าเหลี่ยม)

แล้วพอได้ยินว่า จะแก้ปัญหารถติดในกทม.
ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน ก็นึกว่า โม้ ship หาย
ตั้งใจว่าจะรอดูหน้าและฟังคำแก้ตัวตอนครบกำหนด
(แม้ใจจดจ่ออยากให้ทำได้ เฮ้อ ขัดแย้งในตัว ทำให้ปวดหัว)

แต่ทั่นชิงปลดตัวเองจากตำแหน่งไปก่อนวันตัดสิน
ทำให้คนคอยเก้อ อารมณ์ค้างด้วยความผิดหวัง
เป็นจุดเริ่มต้นเห็นนิสัยคนที่ชอบเลี้ยวลดคดเคี้ยวข้างๆ คูๆ
Goo ไม่แพ้...  Goo ไม่ผิดกติกา

ส่วนเรื่องหมั่นไส้ ก็เริ่มตอนทั่นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ยินว่าสั่งทำส้วมส่วนตัวซะใหม่
อันเก่าที่ชาวบ้านเขาใช้กันมา ท่ามันจะไม่ดีพอสำหรับก้นมหาเศรษฐี
ตอนนั้นยังเขี้ยวไม่ยาว เลยต้องลงทุนควักกระเป๋าส่วนตัว
ไม่กล้าเอาเงินภาษีมาสร้างสนองตัณหาตัวเอง
รอวันล้างแค้นด้วยการซื้อเครื่องบินประจำตำแหน่งอย่างสะใจ

เหตุการณ์ที่ทำให้เริ่มไม่ไว้วางใจ ก็ตอนซุกหุ้น
ผิดแน่นอน ไม่มีข้อสงสัย
หากศาลรัฐธรรมนูญไม่บ้าจี้ ปล่อยโจรที่อ้างว่ากลับใจ
คนไทยก็ไม่ต้องมาเหนื่อยไล่ mon ทุกวันนี้
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #26 เมื่อ: 11-11-2006, 10:44 »

ไม่เห็นด้วยเล้ย แค่ปกป้องเงินตัวเองไม่ได้โกงซักนิด คนเราห่วงลูกมันก็ทำได้หรอก แต่เรื่องมันผ่านจนเป็น
ขี้หมาแห้งไปแล้ว แล้วก็ผ่านการฟอกจนเป็นเรื่องบกพร่องโดยสุจริตแล้วด้วย ไม่เห็นน่าขุดขึ้นมา เรื่องตรง
หน้าให้ด่าอีกตั้งเยอะ

ผู้เขียนยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็น
การยึดแต่ผลลัพธ์ไม่ยึดหลักการ = สัมฤทธิผลนิยม (pragmatism) ไงคะ
โดยแสดงว่าคนกลุ่มเดียวกันนี้ได้เคยบิดหลักการเพื่อให้คุณทักษิณได้อยู่ในตำแหน่งต่อ
และเมื่อเวลาผ่านไป ต้องการไล่ ก็มาทำทุกอย่างเพื่อกำจัดให้จงได้ โดยไม่ยึดหลักการอีกครั้ง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #27 เมื่อ: 11-11-2006, 10:52 »

นักวิชาการจำนวนมากรู้ทฤษฎี ชอบเอาที่ในตำราเขียนมาท่องอวดชาวบ้าน
คนที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนก็ตื่นเต้นตาโต ชมว่าฉลาดจังเลยๆ

ที่แท้มันเขียนอยู่ในตำราตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว

พวกนี้ท่องจำเป็นอย่างเดียว คิดไม่ค่อยเป็น 

ท่องคาถาป้องกันตัวหรือไงคะ?
มีตำราเล่มไหนไม่ทราบที่เขียนเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปีมะโว้ หรือปีใหม่ๆ ที่ไหน
ถ้าเคยผ่านตา ลองหามาให้ดูหน่อยเป็นไร
“ระบอบทักษิณ” นี่ของใหม่เลยนะ เพิ่งจะประดิษฐ์ขึ้นมาไม่นานนี้เอง
รัฐประหารไล่รักษาการนายกรัฐมนตรีตัดหน้าวันเลือกตั้ง
ที่กำลังจะมาถึงในไม่กี่วัน ก็ไม่เคยมีมาก่อน
แล้วยังบรรดาปัญญาชนต่างสาขาที่ดาหน้ากันมา
สนับสนุน/สร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหาร
โดยเฉพาะที่เป็นอธิการบดีธรรมศาสตร์ ก็ไม่เคยมีค่ะ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #28 เมื่อ: 11-11-2006, 11:19 »

เป็นก็เป็นดิ แต่น่าจะดีกว่าเดินตามประชาธิปไตยสหรํฐเเบบสงครามกลางเมืองหรอหาคนไปยิงประธานาธิบดี  เรื่องโพลไม่เชื่อมันตั้งเเต่สมัยท่านทักสินเป็นนายกเเล้ว ระบบมันดีก็เข้าใจอยู่หรอก ถ้านักการเมืองไทยเป็นอย่างนายรัมเทล
นั่น เรื่องเเปลกๆเเบบนี้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้หรอก

ดีกว่าแน่หรือคะ
ที่มีการปฏิวัติรัฐประหารกันเฉลี่ยทุก 3.7 ปี (74/20)
เป็นประเทศที่มีการปฏิวัติรัฐประหารมากครั้งที่สุดในโลก

นักการเมืองคงไม่ใช่คนผิดฝ่ายเดียว
ประชาชนทุกคน ไม่ว่าอาชีพไหนล้วนมีส่วน ไม่มากก็น้อย
จากการกระทำหรือไม่กระทำใดๆ ...
แล้วก็ได้รับผลที่เกิดขึ้นกันโดยถ้วนหน้า
เพราะว่าเราล้วนลงเรือลำเดียวกัน นั่นคือ ประเทศไทย
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #29 เมื่อ: 11-11-2006, 11:33 »

pragmatism อะไรหรือ
ผมสงสัยว่า แล้วคนเขียนบทความนี้ เป็นพวกตรงข้ามกับ pragmatism หรือเปล่า
คือเอาแต่หลักการ เลยทำอะไรไม่สำเร็จเลยซักอย่างเดียว 

คนละหน้าที่ค่ะ
นักวิชาการก็มีหน้าที่เอาทฤษฏีมาอธิบายปรากฏการณ์สังคม
วิจารณ์ ตลอดจนชี้แนะแนวคิดที่ถูกต้องหรือควรจะเป็นให้สังคม
จะเกิดการยอมรับ โต้กลับ ขัดแย้ง หรือเห็นต่าง ก็ว่ากันไป

ไม่มีใครทำอะไรได้หมดทุกอย่าง
แต่ละคนก็ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด ไปตามบทบาทและหน้าที่
จะให้ช่างซ่อมเครื่องบินไปขับเครื่องบิน แล้วให้นักบินมาซ่อมเครื่อง
ก็คงไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #30 เมื่อ: 11-11-2006, 12:09 »

นักวิชาการจำนวนมากรู้ทฤษฎี ชอบเอาที่ในตำราเขียนมาท่องอวดชาวบ้าน
คนที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนก็ตื่นเต้นตาโต ชมว่าฉลาดจังเลยๆ

ที่แท้มันเขียนอยู่ในตำราตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว

พวกนี้ท่องจำเป็นอย่างเดียว คิดไม่ค่อยเป็น 

ท่องคาถาป้องกันตัวหรือไงคะ?
มีตำราเล่มไหนไม่ทราบที่เขียนเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปีมะโว้ หรือปีใหม่ๆ ที่ไหน
ถ้าเคยผ่านตา ลองหามาให้ดูหน่อยเป็นไร
“ระบอบทักษิณ” นี่ของใหม่เลยนะ เพิ่งจะประดิษฐ์ขึ้นมาไม่นานนี้เอง
รัฐประหารไล่รักษาการนายกรัฐมนตรีตัดหน้าวันเลือกตั้ง
ที่กำลังจะมาถึงในไม่กี่วัน ก็ไม่เคยมีมาก่อน
แล้วยังบรรดาปัญญาชนต่างสาขาที่ดาหน้ากันมา
สนับสนุน/สร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหาร
โดยเฉพาะที่เป็นอธิการบดีธรรมศาสตร์ ก็ไม่เคยมีค่ะ


ไม่ได้หมายถึงระบอบทักษิณ แต่หมายถึง Pragmatism
ที่ยกเอาเรื่องเดียวมาอธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง
เหมือนถือค้อนอันเดียวทำงานสารพัดทั้งตอกตาปู เลื่อยไม้ ทำกับข้าว ฯลฯ

นักวิชาการหลายๆคนวิพากษ์วิจารณ์ได้ดีกว่านี้ครับ
หลายๆอันที่คุณเอามาแปะจากประชาไท ม.เที่ยงคืน เข้าท่ากว่าเยอะ

บทความนี้วนเวียนอยู่กับ Pragmatism แบบอาฆาตๆ
อาจจะมีจุดยืนจริงๆ แต่เหมือนจะเอามาฟาดฟันคนอื่น

มันมีรังสีอำมหิต
มาคุๆ ครับ
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #31 เมื่อ: 11-11-2006, 12:16 »

ได้อ่านบทความนี้ตั้งแต่วันก่อน นึกแล้วว่าเดี๋ยวคุณเกล็ดหิมะเธอต้องนำมาตัดแปะที่สภากาแฟ ณ ขบวนการเสรีไทยในเว็บบอร์ดแน่ ๆ  

ช่างคาดการณ์ได้ไม่ผิดเจง ๆ  



อ่า ผู้รู้ใจ อีกหนึ่งราย ...
แล้วเตรียมคำด่า เอ๊ย คำตอบไว้หรือยังคะ?
หรือว่าวันนี้อารมณ์ดี ไม่มีด่า?

อิอิ เป็นเรื่องน่าเสียดายที่มิอาจทำได้เหมือนเคยตั้งใจ เพราะกลัวว่าคุณน้อง snowflake คงจะยิ้มแย้มอย่างมีความสุขเมื่อถูกด่า จึงไม่ควรให้การสนับสนุนอีกต่อไป



บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #32 เมื่อ: 13-11-2006, 09:33 »

มาแก้ความเชย เรื่องสนามของ Arsenal
ที่เปลี่ยนใหม่ใหญ่กว่าเก่า เอาชื่อมาจาก sponsor
เลยได้ชื่อว่า The Emirates Stadium
ทราบแล้วเปลี่ยน ... เด้อ
(ใน คคห. #24 เผลอไปเขียนชื่อเดิมด้วยความเคยชิน)

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #33 เมื่อ: 17-11-2006, 14:47 »

ขอบคุณ คุณ watson และ คุณ Politician Boss ที่มาร่วมสนทนา
และเป็นตัวอย่างอันดีของการแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีการ "ด่า"
เมื่อเห็นต่างไป

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #34 เมื่อ: 17-11-2006, 15:24 »

ขอนำมุมมองของ พระไพศาล วิสาโล ที่ลงตีพิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่
22 กันยายน พ.ศ. 2549 และคุณ mini ได้เคยนำมาเผยแพร่แล้ว มาไว้ในกระทู้นี้
เพราะเห็นว่าพูดถึงเรื่องเดียวกัน


ลองอ่านนี่ดูครับ
http://www.nationweekend.com/2006/09/22/NW11_120.php?SecId=NW11&news_id=21647877
----------------------------------------------------------------------
พระไพศาล วิสาโล เตือน "อย่าคิดว่าเป้าหมายดีแล้ว จะใช้วิธีอะไรก็ได้"

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากคณะทหารก่อการยึดอำนาจ มีหลากหลายความคิดเห็น
โดยเฉพาะนักวิชาการที่ได้ออกโรงท้วงติงในหลักการ ซึ่งอีกมุมมองหนึ่งจาก
พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต ที่ยึดมั่นในสันติวิธี ก็น่ารับฟัง

0 0 0

อาตมาไม่เห็นด้วยกับการที่ทหารใช้กำลังในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง คิดว่า
กลไกในสถานการณ์ปัจจุบันยังทำงานได้ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี เพราะยัง
ไม่ถึงทางตัน มันอาจจะไปได้ แต่อาจจะไปช้า ไม่เร็วอย่างที่ต้องการ เช่น เรามี
กกต. ชุดใหม่ ที่น่าจะทำให้การเลือกตั้งมีความยุติธรรมมากขึ้น ศาลปกครองก็
ดำเนินการไปได้พอสมควร เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติมิชอบก็ถูกตัดสินจำคุกไปหลาย
คนแล้ว เช่น กกต. ชุดที่แล้ว


แม้ว่าหลายเรื่องยังติดขัด มีความขัดแย้ง กระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ก็ยังมีการประนี
ประนอมกันในระดับหนึ่ง ซึ่งคุณทักษิณเองพูดเป็นทำนองว่าจะเว้นวรรค ก็น่าจะทำ
ให้ลดความรุนแรง ถ้าหากว่ามีการพยายามที่จะใช้ระบบกลไกที่มีอยู่ รวมทั้งการ
เคลื่อนไหวในเชิงสันติวิธี น่าจะทำให้สถานการณ์ค่อยๆ คลี่คลายลงตามลำดับ

การปฏิวัติดูเหมือนว่าทำให้เรื่องสงบ แต่อาตมามองว่าคงเป็นเพียงระยะสั้น ในระยะยาว
อาจมีปัญหาที่ตัวการปฏิวัติเองอาจจะผูกเงื่อนเป็นปมให้ต้องแก้ปัญหามากขึ้น เพราะ
การปฏิวัติแล้วก็ต้องแก้ปัญหาต่างๆ

หลายคนและอาจารย์ประเวศ วะสี เตือนคุณทักษิณไปว่า มีอำนาจใช่ว่าจะแก้ได้ มาอยู่
6 ปีก็แก้ปัญหาไม่ได้หลายอย่าง

บทเรียนของคณะปฏิวัติ รสช. และกรณีคุณทักษิณ แสดงให้เห็นว่า อำนาจอย่างเดียว
แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะไม่ฟังเสียงคนอื่น ไม่ได้ใช้ปัญญา

ถ้ามองในด้านตัวบุคคล อย่าง พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ก็ช่วยได้
ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาที่ผ่านมาของคุณทักษิณ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เมื่อเป็นปัญหา
เชิงโครงสร้าง การให้คุณทักษิณออกไปแล้วคิดว่าปัญหาจะหมด มันไม่ใช่

สมัย 14 ตุลา 2516 เราขับไล่จอมพลถนอม กิตติขจร กับลูกชาย พล.อ.ณรงค์ กิตติขจร
และเป็นลูกเขยของจอมพลประภาส จารุเสถียรออกไป เราคิดว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่ความ
เจริญรุ่งเรือง เพราะคิดว่าปัญหาเกิดจากตัวบุคคลสามคนเท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่
มันเป็นปัญหาเรื่องโครงสร้าง

อาตมาเกรงว่าการปฏิวัติจะทำให้ระบบราชการกลับมามีอำนาจใหม่ เหมือนกับสมัยเมื่อ
20 ปีที่แล้วที่เราเรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ

ปัญหาในเชิงโครงสร้าง คนไทยไม่ค่อยเข้าใจ แล้วเราก็เรียกร้องหาอัศวิน
ม้าขาวตลอดเวลา คุณทักษิณไม่เข้าใจ ก็เลยเข้าไปตกอยู่ที่อาจารย์ประเวศ
เรียกว่า 'โครงสร้างแห่งความมรณะ' ถ้าคุณสนธิ หรือคณะปฏิรูปฯ ไม่เข้าใจ
ตรงนี้ ไปคิดว่าเมื่อขจัดตัวบุคคลไปแล้วปัญหาจะแก้ได้ ตัวอำนาจที่รวมศูนย์
อยู่กับคณะปฏิวัติเอง จะทำให้ปัญหาโครงสร้างที่มีอยู่เดิมแข็งตัวแน่นหนายิ่งขึ้น
ก็อาจทำให้การแก้ปัญหาลำบากในระดับหนึ่ง

ไม่ค่อยแน่ใจว่าเมื่อคณะปฏิวัติมีอำนาจแล้วจะแก้ปัญหาเรื่องคอร์รัปชันได้ สมัย
คณะรสช. ยึดอำนาจจาก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน แล้วจะแก้ปัญหาคอร์รัปชัน
เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้เรื่องสักอย่าง เพราะปัญหาคอร์รัปชันเป็นปัญหาโครงสร้าง
แล้วโครงสร้างที่รวมศูนย์อย่างไม่โปร่งใสจะทำให้เกิดการคอร์รัปชันได้ง่ายขึ้น


อาตมาคิดว่า ทางออกเฉพาะหน้าคือ ให้ระบอบประชาธิปไตย กลับคืนมาโดยเร็ว

แต่จะให้ประชาธิปไตยกลับมาโดยเร็วได้อย่างไร ถ้าเลือกตั้งพรุ่งนี้แล้วทักษิณกลับมา
อีก ไทยรักไทยกลับมาอีก จะทำอย่างไร ก็ต้องหาทางเปลี่ยนกติกา อาจถอยหลัง
กลับไปคือ ส.ว. ไม่ต้องเลือกตั้ง ใช้วิธีการแต่งตั้งแทน ก็เป็นการเอาข้าราชการมาคุม
ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งอีกที ก็จะกลายเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบเหมือนที่เคยเป็นมา
และในระยะยาว ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งจะมีหรือเปล่า ไม่แน่ใจ

เราต้องแยกแยะให้ออกว่า อันไหนคือปัญหาจากตัวบุคคล อันไหนคือปัญหาเชิง
โครงสร้าง จริงๆ แล้วก็แยกไม่ออกหรอก เช่นการที่คุณทักษิณมีอำนาจได้ก็เพราะ
อาศัยโครงสร้างที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาส และวัฒนธรรมการเมืองไทยที่ทำให้คุณ
ทักษิณเข้ามามีอำนาจ รวมทั้งการใช้นโยบายประชานิยม เพราะที่ผ่านมานักการเมือง
ไม่สนใจชาวบ้าน คุณทักษิณใช้ช่องว่างตรงนี้ ทำให้ชาวบ้านโปรดปรานทักษิณ
เพราะเรามีระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการพึ่งพาอยู่แล้ว ถ้าไม่แก้ปัญหาตรงนี้
ต่อไปนักการเมืองก็จะใช้นโยบายประชานิยมอีก จะแก้อย่างไร

การปฏิวัติแก้ปัญหาเรื่องคุณทักษิณได้ระดับหนึ่ง แต่ก็จะเจอปัญหาใหม่ๆ อาตมา
คิดว่าจะต้องใช้สติปัญญาที่จะพิจารณาให้เห็นและเข้าใจว่า ปัญหาเชิงโครงสร้าง
มันอยู่ตรงไหนบ้าง จะเข้าใจได้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมกับคนหลายๆ ฝ่าย จะใช้
ขุนนางข้าราชการอย่างเดียวไม่ได้ เพราะว่าเขาไม่ได้เข้าใจปัญหาคนพื้นล่าง คือ
ต้องมีเวทีให้ทุกๆ ฝ่ายต่อรองและเจรจากันได้ และเป็นเวทีที่ทำให้เห็นภาพที่มัน
ซับซ้อน

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็เปิดเวทีให้ แต่คุณทักษิณไปคุมเวทีเหล่านี้หมด ไม่ให้มี
ความคิดต่างจากเขาขึ้นมา หรือไม่ก็ไปแทรกแซงทุกเวที นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของคณะ
ปฏิวัติว่าทำอย่างไรจึงจะเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้าง และไม่เข้าไปในโครงสร้างหรือ
กับดักมรณะอันนั้น แต่มันยาก เพราะคนที่อยู่ในอำนาจก็จะไม่เห็นหรอก เพราะคิดว่า
ขอให้มีอำนาจซะอย่าง ก็จะได้แก้ปัญหาได้

การมีส่วนร่วมตรงนี้ ต้องเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้าน ประชาชนทุกส่วน อย่าไปซ้ำรอย
คุณทักษิณ เช่น จะทำอย่างไรไม่ให้ข้าราชการเข้ามายึดพื้นที่วุฒิสภาเหมือนเมื่อ
20 ปีก่อน

บอกตรงๆ ว่าปัจจุบันปัญหาของเมืองไทย ไม่ใช่ปัญหาที่ตัวคุณทักษิณ
คนเดียว แต่มันอยู่ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์บอกว่า เป็นวัฒนธรรมแบบทักษิณ
เป็นอย่างไร ส่วนหนึ่งคือ ใช้วิธีอะไรก็ได้ ให้ฉันถึงจุดหมายที่ฉันต้องการ
การที่คนไทยมีวัฒนธรรมแบบนี้ทำให้คุณทักษิณจึงใช้วิธีฆ่าตัดตอนแก้ปัญหา
ยาเสพติด ใช้นโยบายหลายอย่างในภาคใต้ แล้ววัฒนธรรมเหล่านี้ทำลายคุณ
ทักษิณเอง แล้วคนกรุงเทพฯ ก็ไปเออออตอบสนองการปฏิวัติ เพราะคิดว่าจะ
ใช้วิธีการอะไรก็ได้ ขอให้ทักษิณไปก็แล้วกัน มันก็เป็นวิธีการเดียวกับที่ทำให้
คนอย่างคุณทักษิณขึ้นมา


เพราะฉะนั้น วัฒนธรรมของคนอย่างคุณทักษิณ มันทำลายคุณทักษิณเอง ขณะ
เดียวกันก็เป็นปมปัญหา แม้ว่าจะทำให้คณะปฏิวัติได้รับการแซ่ซ้อง แต่มันจะเป็น
อุปสรรคที่ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า และเป็นอุปสรรคสำหรับคณะปฏิวัติเอง
ด้วย เพราะคิดว่าเป้าหมายดีแล้ว จะใช้วิธีอะไรก็ได้ ปฏิวัติก็ได้ จริงๆ แล้ว
ไม่ได้นะ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #35 เมื่อ: 17-11-2006, 21:58 »

อืมมม ผมเป็นคนตะวันออก เลยไม่เข้าใจ Pragmatism ตามแนวคิดตะวันตกสักเท่าไหร่ 
รู้จักแต่ "อำนาจ คือ ธรรม" ความยุติธรรม อยู่ที่ใครมีอำนาจ   
ตามแนวคิดของวัฒนธรรมไทยที่อยู่มาช้านาน 

การจะมีหลักการและทำหลักการให้เป็นจริงได้ จะต้องมีอำนาจควบคู่กันไปด้วย ถึงจะสัมฤทธิ์ผล เอ อย่างนี้ใช่ Pragmatism หรือเปล่า 
ถ้างั้น การจะเป็น Pragmatist คงไม่ได้เลวร้ายอะไร จนถึงขั้นทนกันไม่ได้หรอกนะ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-11-2006, 22:06 โดย แอบอ่าน ซุ่มเงียบ » บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
หน้า: [1]
    กระโดดไป: