ฟันธง “พจมาน” ซื้อที่ดินรัชดาฯ ผิด ผู้พิพากษาชี้อาจจำคุกถึง 3 ปีส่วนหนึ่งของ มาตรา 100 ในพ.ร.บ.กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
อดีตผู้พิพากษาระดับสูงชี้กรณีที่ดินรัชดาฯ “ทักษิณ-พจมาน” ทำผิดชัดตามมาตรา 100 ของกฎหมาย ป.ป.ช. ระบุหาก คตส.ส่งเรื่องผ่าน ป.ป.ช.ถึงศาลเมื่อไหร่ฟันได้แน่ โดยอาจมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 3 ปี ท้วง “หม่อมอุ๋ย” ออกมาปกป้องโดยไม่ได้ดูข้อกฎหมาย
วันนี้ (31 ต.ค.) แหล่งข่าวอดีตผู้พิพากษาท่านหนึ่งในศาลฎีกา ได้เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ถึงกรณีการประมูลซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษกต่อใกล้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูฯ ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้กำลังตกเป็นข่าว และอยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ว่า กรณีดังกล่าวนี้หากพิจารณาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 แล้วก็จะฟันธงได้ทันทีว่ากรณีนี้ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ใน พ.ร.บ.กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หมวด 9 เรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม มาตรา 100 ข้อ (1) ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือ ดำเนินคดี
ทั้งนี้ ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” นั้นหมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งก็ครอบคลุมไปถึงนายกรัฐมนตรี และคู่สมรส และ
ในกรณีนี้ย่อมครอบคลุมไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานด้วย เนื่องจากในตอนท้ายของมาตรา 100 ของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
ให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสอดีตผู้พิพากษาคนเดิมกล่าวต่อว่า สำหรับกรณีดังกล่าวนี้หากทาง คตส.ส่งเรื่องนี้ผ่านไปยัง ป.ป.ช. และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็สามารถใช้ข้อกฎหมายข้างต้นอ้างอิงเพื่อพิจารณาโทษได้ทันที ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 ข้อ (1) ที่ระบุว่า
ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาว่านายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎี สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น (โดยในกรณีนี้กฎหมายหมายอื่นก็ครอบคลุมถึงกฎหมาย ป.ป.ช.ด้วย)
“จะเห็นได้ชัดว่า ในกรณีหากศาลตัดสินแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยาก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งมีโทษสูงสุดคือ จำคุกถึง 3 ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมกับ ความผิดในกรณีการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว”
สำหรับกรณี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะอดีตประธานกองทุนฟื้นฟูฯ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวยืนยันว่าการขายที่ดินดังกล่าวนั้นโปร่งใสนั้น แหล่งข่าวอดีตผู้พิพากษาระบุว่า การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร นั้นเป็นการพูดโดยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงตามข้อกฎหมาย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีนิติบริกร ก็พลาดท่าในข้อกฎหมายเช่นนี้แล
หากจะอ้างว่าพจมานไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็คงไม่ถูก
เพราะตัวกฎหมายกล่าวไ้ว้ว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ระบุถึง ตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐและคู่สมรสด้วย
จะรอดแบบที่ไม่ใช้อภินิหาริย์ ก็คงจะต้องมีหลักฐานว่า แม้วและอ้อได้หย่ากันก่อนที่จะทำสัญญานี้ขึ้นมา
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง... ผมก็นึกถึงพวกลิ่วล้อแม้วที่มันชอบด่าชวนว่ามีภรรยานอกสมรส
เจอเจ้านายมีภรรยานอกสมรส ดูสิว่ามันจะกล้าด่าไหม 5555