ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
08-01-2025, 07:07
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เครือข่ายแพทย์ฯ ระบุยกเลิกเก็บ 30บ. กลายเป็นประชานิยมสุดกู่!! 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เครือข่ายแพทย์ฯ ระบุยกเลิกเก็บ 30บ. กลายเป็นประชานิยมสุดกู่!!  (อ่าน 1224 ครั้ง)
แป๊ะปีศาจ
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 16


« เมื่อ: 18-10-2006, 23:37 »

ผู้ประสานงานเครือข่ายแพทย์ภาครัฐ ระบุยกเลิกเก็บ 30 บาท ก่อให้เกิดประชานิยมแบบสุดกู่ เสนอตั้งกองทุนสุขภาพตนเอง มีระบบร่วมจ่ายอีก 1 กองทุน เปิดโอกาสให้คน 12 ล้านคนได้รับบริการที่เหมาะสม

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ พร้อมด้วย นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแพทย์ภาครัฐ เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการ 30 บาทฯ ภายหลัง นพ.มงคล มีนโยบายยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม (Co-payment) จำนวน 30 บาท โดยเสนอ 5 แนวทางคือ

1.ประชาชนไทยทุกคนต้องมีระบบประกันสุขภาพ แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดประชานิยม และแนวคิดที่จะต่อยอดประชานิยมจนสุดกู่โดยไม่มีการร่วมจ่าย

2.ก่อตั้งกองทุนประกันสุขภาพตนเอง ให้มีระบบร่วมจ่ายสำหรับประชาชนที่มีความสามารถจ่ายได้เช่นเดียวกับลูกจ้างในระบบประกันสังคม โดยแยกเป็นกองทุนขึ้นมาอีก 1 กองทุน เรียกว่า กองทุนประกันสุขภาพตนเองสำหรับประชากร 12 ล้านคนจาก 47 ล้านคนที่ไม่ปรากฏฐานรายได้ที่ชัดเจน

3.ไม่รวมเงินเดือนของผู้ให้บริการ ให้มีการแยกเงินเดือนออกจากงบประมาณรายหัวของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเห็นสมควรว่าไม่ควรน้อยกว่า 2,000 บาทต่อคน

4.ต้องกระจายเงิน กระจายอำนาจในสถานประกอบการให้มากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ถูกต้อง และ

5.เห็นด้วยให้มีการประสานงานระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อย่างสมานฉันท์

“การยกเลิกการร่วมจ่าย 30 บาท ถือเป็นประชานิยมแบบสุดกู่ ทุกคนจะถือบัตรประชาชนเข้าโรงพยาบาลอย่างสบายโดยเขาไม่ต้องจ่ายอะไรเลย เขาอยากเข้าเมื่อไรก็ได้ เศรษฐีมีบัตรทองเขาก็เข้าได้ แล้วโรงพยาบาลจะเป็นอย่างไร” นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าว และว่า ช่วงที่มีการร่วมจ่าย 30 บาทนั้น ตนไม่มีงานวิจัยมายืนยันว่าการใช้บริการเป็นอย่างไร แต่จากประสบการณ์ในการให้บริการพบว่า มีการเข้ารับบริการแบบพร่ำเพรื่อ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีประมาณ 12 ล้านคน แม้มีบัตรทองเขาก็ไม่ใช้บริการ หันไปใช้บริการสุขภาพผ่านระบบประกันสุขภาพเอกชนทั้งที่เงินเหมาจ่ายรายหัวจ่ายไปยังสถานพยาบาลต้นสังกัด เหตุใดไม่กันเงินส่วนนี้มาตั้งเป็นกองทุนประกันสุขภาพตนเองให้เขาร่วมจ่ายเดือนละ 100 บาทก็ได้

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวว่า แท้จริงแล้วปัญหาของโครงการ 30 บาทอยู่ที่ปริมาณการมาใช้บริการ และความคาดหวังของประชาชน การขาดงบประมาณสนับสนุน อีกทั้งขาดทรัพยากรทุกระดับ ซึ่งรวมแล้วไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแทบไม่มีงบประมาณซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ เพราะงบลงทุนไปอยู่ใน สปสช.

ด้าน นพ.มงคล กล่าวว่า ได้มอบให้ นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัด สธ. ตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางปรับระบบบริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำชับให้ทำเรื่องนี้โดยเร็ว ซึ่งการที่เครือข่ายแพทย์ภาครัฐยื่นข้อเสนอครั้งนี้ ขอเชิญผู้ประสานงานทั้ง 2 คนเข้าเป็นกรรมการชุดนี้ด้วย

สำหรับการตั้งกองทุนประกันสุขภาพตนเองให้ประชาชนร่วมจ่าย นพ.มงคล กล่าวว่า เรื่องนี้มองได้หลายแง่มุม หากมองว่าคนรวยจ่ายภาษีมากมีเงินมากกว่าควรมาร่วมจ่ายก็มองได้ แต่การร่วมจ่ายอาจมีรูปแบบที่ต่างกันออกไป เช่นการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงกรณีการผ่าตัดหัวใจต้องให้คณะกรรมการพิจารณาอีกครั้ง หลักการของตนคือ ให้คำนึงถึงความเห็นของประชาชนและเครือข่ายภาคีต่าง ๆ มีความเห็นอย่างใดตนจะทำตามนั้น

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการแยกเงินเดือนบุคลากรใน สธ.ออกจากงบรายหัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นพ.มงคล กล่าวว่า ต้องให้คณะกรรมการพิจารณา แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าหากแยกงบเงินเดือนต่างหากก็น่าจะดี ซึ่งงบเหมาจ่ายรายหัว 2,089 บาทต่อคนต่อปีน่าจะเพียงพอ ซึ่งแนวทางปฏิบัติทั้งหมดขึ้นกับการบริหารจัดการ


INN NEWS
[/size]
บันทึกการเข้า
นายเบียร์
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 997



« ตอบ #1 เมื่อ: 19-10-2006, 01:43 »

1. ประชาชนไทยทุกคนต้องมีการประกันสุขภาพ แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดประชา นิยม และแนวคิดที่จะต่อยอดของประชานิยมจนสุดกู่ ดังเช่นที่มีข่าว 
 
+++ ถูกกกกก  ที่สำคัญ ต้องทำให้ชาวบ้าน เข้าใจด้วยว่า การรักษา ไม่ได้ทุกอย่างต้องดี ต้องเลิศ แต่ราคา 30 บาท หรือ ฟรี     และต้องรู้จัก แบ่งทุกข์ เฉลี่ยสุข  ไม่ใช่เอาแต่รับ เอาแต่สิทธิ โดยไม่เผื่อแผ่คนอื่น เจ็บเล็กๆ น้อย ก็ดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และเห็นด้วยมากๆ ถ้ามีการใช้สื่อให้มากขึ้น เพื่อชี้แจงความเข้าใจกับชาวบ้านให้มากขึ้น   
 
 2. ก่อตั้งกองทุนประกันสุขภาพตนเอง ให้มีระบบร่วมจ่ายสำหรับประชาชนที่มี ความสามารถที่จะจ่ายได้ เช่นเดียวกับลูกจ้างในระบอบประกันสังคม โดยอาจแยกเป็นกองทุนขึ้นมาอีกกองทุนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า กองทุน ประกันสุขภาพตนเอง อีก 1 กองทุน   (หมายถึงจำนวนประชาชนใน 12 ล้านคนนั้น) 
 
+++ถูกกก อีกเช่นกัน แต่ต้องมีมาตรฐานรองรับ และแยกแยะกลุ่มคนตามรายได้ และต้องตรวจสอบได้ ว่าแต่ละกลุ่ม มีรายได้จริงเท่าไหร่ ไม่ใช่ พวกมีเงินจ่ายแต่มาเนียนเป็นกลุ่ม--อยาก-- จน  ต้องมีการตรวจสอบ    
 
 
 3. ไม่รวมเงินเดือนของผู้ให้บริการ ให้มีการแยกเงินเดือนออกจากงบประมาณรายหัวของโครงการหลักประกันสุขภาพซึ่งเห  ็นสมควรว่า ไม่ควรน้อยกว่า 2,000 บาท ต่อคน 
 
อันนี้แล้วแต่ท่าน เพราะเห็นว่า การแบ่งเงินเดือนออกจากงบประมาณรายหัว ก็มีข้อดี ในแง่ ขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน

 
 4. ต้องกระจายเงิน กระจายอำนาจในสถานประกอบการให้มากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ถูกต้อง 

ปัญหาคือ กระจายไปแล้ว จะเอาใครไปอยู่ เหมือนย้อนรอย รพช. มั้ย ที่คนออกไป ก็กลับเข้ามาเรียน คนที่ประจำจริงๆ มีกี่คน และเค้าได้สวัสดิการ และความเป็นอยู่ คุ้มค่าแก่การเสียสละตัวเอง ไปอยู่ ชนบทรึเปล่า
เราต้องยอมรับกันด้วยว่า หมอๆ เราหลายคนก็ไม่อยากไปอยู่ เพราะเหตุผลต่างๆ กัน

 
 5. เห็นด้วยให้มีการประสานงานระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับสำนักงานประกัน สุขภาพแห่งชาติ อย่างสมานฉันท์ 
 
อย่าร่วมกันรวบหัวรวบหาง ระบบสาธารณะสุขของ ประเทศละกัน

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1161147234
บันทึกการเข้า

taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« ตอบ #2 เมื่อ: 19-10-2006, 09:15 »

เห่อๆ ประชานิยม คือสิ่งที่ดีในสมัยแม้วไม่เห็นด้วยเพราะมันบริหารไม่ดี โยกงบกันให้วุ่น
บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #3 เมื่อ: 19-10-2006, 09:37 »



30 บาท ผมชอบ ฟรีผมไม่ชอบงั้นเหรอ

คุณจะเถียงแทนทักษิณ หรือ ประชาชนกันแน่ครับ เอาให้แน่

ที่เคยด่าแพทย์ ว่าเห็นแก่เงิน มันพวกใหน คราวนี้ยกแพทย์มาอ้าง

ปัญหาของ 30 บาท หน่ะ พยายามศึกษาดูครับ ว่ามันมีปัญหาอะไรบ้าง แล้ว รัฐบาลใหม่ ที่มีเวลาแค่ ปีเดียว จะให้เค้าแก้ ทุกอย่างเลยเหรอ

ขั้นแรก เค้าก็ เอาสิ่ง ที่มันเป็นการหาเสียงหลอกประชาชนออกไปก่อน ถูกต้องที่สุดแล้ว จากนั้น จะมีแนวทางยังไงก็คอยดูเอาครับ

ไม่ใช่ แต่ก่อน ด่าหมอ คราวนี้ จะมายกย่องหมอ แล้วเหรอ
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« ตอบ #4 เมื่อ: 19-10-2006, 09:47 »

บริษัทยามะกันชี้ '30บาท' ถ่วงตลาดยาไทย
กรุงเทพธุรกิจ  วันที่  12  มีนาคม พ.ศ. 2548

บริษัทยาสหรัฐ อัดโครงการ 30 บาท ตัวฉุดตลาดยาเมืองไทยไม่โต เหตุโรงพยาบาลถูกตัดงบจัดซื้อ ส่งผลผู้บริโภคได้ยาคุณภาพต่ำ ขณะที่ “หมอณรงค์ศักดิ์” ชี้บริษัทยาต้องปรับกลยุทธ์เพื่อดันตลาดให้เติบโต ยัน สธ.บริหารงบซื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ

นายฟาบรีซ บาสคีรา ผู้จัดการทั่วไปของกลุ่มบริษัทยา ซาโนฟี่-อเวนติส ประเทศไทย จำกัด ของประเทศสหรัฐ เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทได้ควบรวมกิจการเมื่อปี 2547 ที่ผ่านมาทำให้มียอดขายปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 2,700 ล้านบาท และคาดว่า ปี 2548 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,200 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ตลาดยาโดยรวมของเมืองไทยนั้น มีอัตราเติบโตจากปี 2546 ประมาณ 17% หรือคิดเป็นมูลค่า 50, 000 ล้านบาท โดย ซาโนฟี่-อเวนติส มียอดขายอยู่ในอันดับที่สอง รองจากไฟเซอร์ ส่วนในปี 2548 คาดว่า ตลาดยาจะเติบโตเพียง 14% ซึ่งน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

นายบาสคีรา กล่าวว่า สาเหตุที่ตลาดยาปีนี้จะเติบโตน้อยกว่าปีที่ผ่านมานั้น เกิดจากความกดดันจากงบประมาณโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ได้รับงบประมาณน้อย ทำให้โรงพยาบาลจำเป็นต้องเลือกใช้ยาที่มีราคาถูกลง เพื่อประหยัดต้นทุน และหากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะจ่ายค่ายาต้นแบบในราคาแพงได้ แพทย์ก็จะจ่ายยาที่อยู่ในบัญชียาหลัก และมีสรรพคุณใกล้เคียงกันเพื่อรักษาแทนให้

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมามียาต้นแบบหลายชนิดที่สิทธิบัตรหมดอายุ คุ้มครอง ทำให้บริษัทยาที่ผลิตยาสามัญสามารถผลิตยาดังกล่าวออกจำหน่ายได้ในราคาที่ถูกกว่ายาต้นแบบ ทำให้ยาสามัญมีจำนวนมากขึ้นในตลาด ทั้งนี้บริษัทมียาที่อยู่ในบัญชีรายยาหลักแห่งชาติประมาณ 20 ชนิด

ชี้ตลาดยาโตน้อยเหตุรพ.เลือกยาราคาถูก

"สาเหตุที่ตลาดยาปีนี้โตน้อยกว่าปีก่อน เพราะได้รับแรงกดดดันจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ได้รับงบประมาณน้อย ทำให้โรงพยาบาลจำเป็นต้องเลือกใช้ยาที่มีราคาถูกลง เพื่อประหยัดต้นทุน และหากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะจ่ายค่ายาต้นแบบในราคาแพงได้ แพทย์ก็จะจ่ายยาที่อยู่ในบัญชียาหลัก และมีสรรพคุณใกล้เคียงกันเพื่อรักษาแทนให้"

นายบาสคีรา กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะพัฒนายาและวัคซีนชนิดใหม่ๆ ออกสู่ตลาด โดยจะเน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนา ซึ่งขณะนี้บริษัทมีนักวิจัยประมาณ 11,000 คน ทั่วโลก และมีงบประมาณเพื่อการวิจัยประมาณ 2 แสนล้านบาท/ปี โดยในปี 2548 คาดว่า จะมียาที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาของบริษัทอีก 3 ชนิด ซึ่งจะเป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบ ยาปฏิชีวนะ และยารักษามะเร็ง

ทั้งนี้ บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส เป็นบริษัทที่วิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 ซึ่งมีกระแสข่าวว่าติดต่อผ่านมาที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทย เพื่อทำการทดลองในคนอยู่ในขณะนี้

สธ.โต้ตลาดโตน้อยเป็นเรื่องของบริษัทยา

ด้าน น.พ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวกรณีที่กลุ่มบริษัทยา ซาโนฟี่-อเวนติส ประเทศไทย ระบุสาเหตุการเติบโตของตลาดยาในปีที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำ เนื่องจากถูกแรงกดดันจากโครงการ 30 บาท ที่จำกัดงบประมาณในการจัดซื้อยา ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของอุปสงค์-อุปทานของตลาดในระบบการจัดซื้อยา ซึ่งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดทำแผนในการจัดซื้อยาที่ต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงคุณภาพยาในการรักษาประชาชนเป็นหลัก ที่ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการรักษา ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมยาไว้อย่างเพียงพอกับความต้องการ มีคณะกรรมการยาเป็นผู้ดูแล และทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อบริษัทยาอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เป็นเจตนาของกระทรวงที่ต้องการให้เป็นไปเช่นนั้น

ยันบริหารงบประมาณจัดซื้อมีประสิทธิภาพ

“ไม่ใช่เป็นเรื่องการกดดันด้านงบประมาณในการจัดซื้อยา แต่เป็นเรื่องการบริหารงบประมาณจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สุรุ่ยสุร่ายเหมือนแต่ก่อนถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ แต่ยอมรับว่าอาจส่งผลต่อบริษัทยาอยู่บ้างจากที่เคยจำหน่ายยาได้ในระบบเดิม แต่เป็นเรื่องที่บริษัทยาจะต้องทำการปรับปรุงด้านการตลาดต่อไป” รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

น.พ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการจัดซื้อยาเป็นไปตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชียาหลักเดิม ซึ่งเปิดกว้างทันสมัยมากขึ้น โดยมียาที่จำเป็น และครอบคลุมในการรักษาผู้ป่วย เพียงพอที่แพทย์จะสั่งเพื่อใช้ในการรักษาได้ สำหรับการสั่งซื้อยานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ หากเป็นยาทั่วไปโรงพยาบาลจะรวมกันสั่งซื้อภายในจังหวัด โดยยึดคุณภาพของยาเป็นสำหรับ แต่หากเป็นยาที่ไม่ได้มีการใช้โดยทั่วไป และมีเหตุฉุกเฉินต้องใช้ ทางโรงพยาบาลสามารถสั่งซื้อได้เองโดยตรง

บันทึกการเข้า
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« ตอบ #5 เมื่อ: 19-10-2006, 09:49 »

ยันไม่เลิกเสนอเปลี่ยนชื่อ"30บาท"


 

 
 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกแถลงการณ์แพทย์ชนบท ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคตอนหนึ่งว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นคนคิดขึ้นมา ความจริงประชาคมสาธารณสุขคิดมานานแล้ว หลายประเทศในโลกนี้ก็ทำกัน เรียกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งในปี พ.ศ. 2540 อาจารย์แพทย์หลายท่านได้ผลักดันให้บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะผ่านการเลือกตั้งพอ พ.ต.ท.ทักษิณทราบเรื่องก็นำมาตั้งชื่อเล่นเพื่อใช้ในการโฆษณาว่า 30 บาทรักษาทุกโรค
 
“โดยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นได้ตราไว้ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้หมายความว่าร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้วจะถูกยกเลิกไป แต่ 30 บาทรักษาทุกโรคซึ่งเป็นชื่อเล่นนั้นจะยกเลิกไปก็ได้ เนื่องจากใน พ.ร.บ.ดังกล่าวระบุไว้ว่าให้มีคณะกรรมการฯสามารถกำหนดค่าธรรมเนียมได้ว่าจะใช้เท่าใด อาจจะให้ฟรี หรืออาจจะปรับขึ้นเป็น 40 บาทก็ได้ หรือคนที่มีเงินมากหน่อยอาจจะจ่ายมากหน่อย ผมไม่อยากให้ยกเลิกแล้วย้อนไปเป็นแบบประชาชนต้องจ่ายเงินเองแบบเก่า จะทำให้ประชาชนที่ยากจนจะลำบากและเชื่อว่าคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ว่าไม่มีทักษิณก็ไม่มี 30 บาท” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
 
นพ.พงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ ปัญหากำลังคนด้านสุขภาพ ซึ่งปัญหาการฟ้องร้อง และเสียงบ่นเรื่องคุณภาพบริการต้นตอมาจากบุคลากรที่ไม่เพียงพอ การแก้ปัญหาจะต้องอาศัยผู้นำที่มีแนวคิดในการปฏิรูประบบสุขภาพ มีหัวก้าวหน้า มีคุณ ธรรมและจริยธรรมสูง ไม่มีประวัติทุจริตคอร์รัปชัน ถ้ามีประวัติเคยปราบทุจริตคอร์รัปชันด้วยน่าจะดี คนจะได้กลัวเกรงไม่กล้าทุจริต ดังนั้นคนที่ควรเป็น รมว. สาธารณสุขควรเป็นแพทย์ที่มีความรู้ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ในระบบสุขภาพ ถ้าเป็นอาจารย์อาวุโสที่มีผู้คนนับถือก็ยิ่งดี เช่น นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับการแต่งตั้งสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน.
 
 
 
บันทึกการเข้า
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« ตอบ #6 เมื่อ: 19-10-2006, 09:53 »

บทเรียนจาก‘30บาท’ ‘รักษาฟรี’ เรื่องดีที่‘ระบบต้องดี’

การจะ “ยกเลิก” หนึ่งในโครงการที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำไว้ คือโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” ที่ตอนนี้เปลี่ยนเป็น  “30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค” เป็นอีกหนึ่งเรื่องฮือฮาสำหรับรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดย นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข คนปัจจุบัน จุดพลุขึ้น
 
เรื่องการ “ยกเลิก” นี้...มีเสียงขานรับดังทีเดียว...
 
แต่ที่ว่าจะให้ “รักษาฟรี” จุดนี้ต้องรอบคอบ ?!? 
 
ทั้งนี้ นพ.มงคลระบุไว้ทำนองว่า...การเก็บ 30 บาท ก็ไม่ได้ทำให้โรงพยาบาลรวยขึ้นหรือจนลง แต่ทำให้ทางโรงพยาบาลต้องมีภาระเรื่องงาน เอกสาร ดังนั้นก็ควรจะรักษาฟรีไปเสียเลย ซึ่งก็แน่นอนว่าหากทำได้จะเป็นผลดียิ่งขึ้นต่อประชาชนที่ฐานะทางการเงินไม่ดี ย่อมจะเป็นเรื่องดีมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าเก็บ 30 บาท
 
อย่างไรก็ตาม หากลองย้อนไปพิจารณาข้อท้วงติง ย้อนไปดูหลาย ๆ กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวเนื่องกับโครงการ 30 บาทแล้ว การ “รักษาฟรี” น่าจะ “ต้องทำอย่างรัดกุม-เหมาะสม-เป็นธรรม”
 
“...อยากเสนอให้มีการหาบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเป็นกลางศึกษานโยบายสาธารณะนี้ว่าใน 5 ปีที่ผ่านมามีผลกระทบกับโรงพยาบาล แพทย์ โรงพยาบาลชุมชน บุคลากรทางการแพทย์ ประชาชนที่เข้ารับบริการ ดีขึ้นหรือแย่ลง...” “...การดำเนินนโยบายสาธารณะข้อนี้ ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลกับโรงพยาบาล การบริหารงานขาดธรรมาภิบาล...” ...เป็นบางส่วนจากคำกล่าวของ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
 
เป็นคำกล่าวในเชิงเห็นด้วยกับการยกเลิกโครงการ 30 บาท...
 
ทว่าก็ “มีประเด็นที่ต้องคิด-ทำให้เหมาะสม” อยู่ด้วย !?!
 
“...เดิมกระทรวงสาธารณสุขเคยมีงบลงทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการรักษาโรคปีละประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท แต่ภายหลังดำเนินโครงการ 30 บาท ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา งบประมาณส่วนนี้ไม่มี เท่ากับขาดเงินส่วนนี้เข้าระบบไปถึง 9 หมื่นล้านบาท ประกอบกับงบประมาณภาครัฐที่จำกัด โดยในปี 2549 นี้ยังไม่มีงบพัฒนาหน่วยบริการ ทั้งที่ความเป็นจริงต้องแยกต่างหาก ทำให้เกิดผลกระทบต่อโรงพยาบาล และมีนัยสำคัญต่อแผนการพัฒนาที่วางไว้...” ...เป็นสรุปการระบุของผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขบางคน เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
ประเด็นคือ “มีปัญหาเรื่องงบประมาณ” แม้จะเก็บ 30 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกระแสข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นกรณีผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แถลงเมื่อปลายเดือน ก.พ. 2549 ว่าทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์จะของดรับผู้ป่วยตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากรณี 30 บาท โดยขอเปลี่ยนการขึ้นทะเบียนเป็นการรับเฉพาะกรณีคนไข้ป่วยหนัก ป่วยเฉพาะทาง หรือกรณีการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น
 
เหตุผลก็คือ “โรงพยาบาลมีบุคลากรและจำนวนเตียงไม่เพียงพอ” กับการให้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากโครงการ 30 บาท โครงการนี้ส่งผลให้ “โรงพยาบาลมีรายรับต่ำกว่าค่าใช้จ่าย” อีกทั้งยังส่งผลให้การเรียนการสอนของนักศึกษาและแพทย์เฉพาะทางไม่มีเวลาทำการวิจัย
 
ทั้งนี้และทั้งนั้น ที่ผ่านมาแม้จะมีกระแสข่าวทำนองว่ามีบุคลากรทางการแพทย์บางกลุ่ม มีขบวนการต้องการให้ยกเลิก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกลดอำนาจ รวมถึงกฎหมายฉบับนี้มีกรณีแพทย์ผู้ทำการรักษาต้องรับผิดชอบ-ต้องจ่ายค่าชดเชยเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรักษา
 
แต่หากจะโฟกัสไปที่โครงการ 30 บาทโดยตรง ที่เคยมีกระแสคัดค้านจากบางฝ่ายนั้น เหตุผลที่ไม่อาจปฏิเสธได้เต็มปากก็คือ “งบประมาณไม่เพียงพอ” “รายรับต่ำกว่ารายจ่าย” “บุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ”  “บุคลากรทางการแพทย์รับภาระเกินกำลังจนเกิดปัญหาสมองไหลจากรัฐสู่เอกชน”   

และยังรวมไปถึงมุมมองของประชาชนคนทำงานประจำ ที่มี  กฎหมายบังคับให้ต้องทำประกันสุขภาพที่เรียกว่า “ประกันสังคม” โดยต้อง ถูกหักรายได้เข้าสมทบกองทุนทุก ๆ เดือน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเลยที่มองโครงการ 30 บาทเทียบกับการต้องจ่ายสมทบประกันสังคมแล้ว “รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม”
 
อย่าลืมว่าคนทำงานประจำกลุ่มใหญ่เป็นแรงงานทั่วไป
 
มิใช่คนรวย-รายได้สูง...ที่ควรมีส่วนเฉลี่ยสุขต่อสังคม !!
 
“...ที่ผ่านมามีการลักลั่น โดยมีผู้ที่จ่าย 30 บาท และที่ไม่ต้องจ่าย ซึ่งยกมาจากผู้มีสิทธิในบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม...” ...นี่เป็นการระบุของ รมว.สาธารณสุขคนใหม่ เรื่องความไม่เป็นธรรมจากกรณีโครงการ 30 บาท ซึ่งแรงงานที่มีรายได้ประจำก็อาจเกิดคำถามในใจขึ้นได้เช่นกัน ทั้งในขณะที่ยังมีโครงการเก็บ 30 บาท และโดยเฉพาะเมื่อยกเลิกโดยให้มีการรักษาฟรี
 
ยกเลิกใช้ชื่อ 30 บาท ที่เป็นกลยุทธ์การตลาดเชิงการเมือง...หลายฝ่ายต่างขานรับเซ็งแซ่ว่าดี  เช่นเดียวกับการดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการรักษาพยาบาลตนเอง...ที่ต้องทำต่อไป-ทำให้ดีขึ้นอีก แต่ขณะเดียวกันผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คงต้องรอบคอบรัดกุม ต้องจัดระบบต่าง ๆ ให้เหมาะสม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
 
อย่าละเลย “เงาปัญหา” ของ “โครงการ 30 บาท”
 
ที่อาจตามมา “สร้างปัญหา” อีก...ก็เป็นได้ ?!?!?.
 
 
 
 
ข่าวประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2549
แหล่งที่มา เดลินิวส์
อ่าน 13
บันทึกการเข้า
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #7 เมื่อ: 19-10-2006, 10:18 »

การวิจัยพบว่าในปี 2545-2549 โครงการ 30 บาท ขาดเงินถึง 81,138 ล้านบาท คณะทำงานได้ประมาณการไว้ว่า งบประมาณที่จะเพียงพอคือ 2,100 บาท /คน/ปี หรือประมาณ 20,000-30,000 ล้าน/ปี ขระที่ปัจจุบันได้รับเพียงแค่ 1,659 บาท /คน/ปีเท่านั้น

ที่มา;ข้อมูลจากการเสวนาเรื่อง “ชำแหละ 4 ปี ระบบประกันสุขภาพ 4 ปีทักษิณ ล้มเหลว หรือเดินหน้า” โดยมีศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และศ.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโนทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์หาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเสวนา ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย"
http://www.siamrath.co.th/Politic.asp?ReviewID=131302
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
หน้า: [1]
    กระโดดไป: