ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-12-2024, 08:36
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สภานิติบัญญัติฯ จำลอง-กัญจนา-บรรณวิทย์ติดโผ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สภานิติบัญญัติฯ จำลอง-กัญจนา-บรรณวิทย์ติดโผ  (อ่าน 1793 ครั้ง)
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« เมื่อ: 12-10-2006, 10:01 »



คลอด242สภานิติบัญญัติฯ จำลอง-กัญจนา-บรรณวิทย์ติดโผ [12 ต.ค. 49 - 09:24]
 
พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวก่อนเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันนี้ (12 ต.ค.) ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ตนมอบหมายให้ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการ คมช. เป็นผู้ประกาศรายชื่อ ยืนยันว่า คมช.จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการคัดเลือกประธานฯ มั่นใจว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำหน้าที่เช่นเดียวกับ ส.ส. และ ส.ว.ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการติดตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ

รายงานระบุว่า รายชื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมในครั้งนี้ มีทั้งหมด 242 คน มีบุคคลที่น่าสนใจ อาทิ คุณกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา บุตรสาวนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ม.ร.ว.กำลูนเทพ เทวกุล อดีต ส.ว.เลย พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ อดีต เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหม และรายชื่อสุดท้าย คือ พล.อ.อู๊ด เบื้องบน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม นายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยมีภาพรวมเป็นบุคคลที่มาจากทหาร 35 นาย นอกนั้นเป็นบุคคลที่มาจากทุกสาขาอาชีพ
 
http://www.thairath.co.th/onlineheadnews.html?id=22781

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-10-2006, 10:11 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12-10-2006, 10:02 »


“แฉ” ขบวนการวิ่งเต้นจัดคนลง 250 คนในสภานิติฯ แอบล๊อบบี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่คนใกล้ชิด"พล.อ.สนธิ" เผยเครือข่าย"แม้ว""มีชัย-วิษณุ-บวรศักดิ์"หลุดโผตามคาด
       
       แหลงข่าวจากฝ่ายความมั่นคงเปิดเผยถึงการจัดทำรายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติว่าขณะนี้มีรายชื่อครบทั้ง 250 คนแล้ว โดยในวันที่ 12 ต.ค.จะมีการนำรายชื่อดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ โดยแหล่งข่าวระบุอีกว่ามีการแบ่งรายชื่อออกตามโควต้าต่างๆ อาทิ ข้าราชการ นักวิชาการ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน ในรายชื่อดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อนาย มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานสภาและอดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) เป็นหนึ่งใน 250 คนแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีชื่อของนาย วิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามที่หลายฝ่ายได้คาดหมายไว้อย่างไรก็ตามผู้ที่มีบทบาทในการรวบรวมรายชื่อในครั้งนี้ คือ พล.ท. สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
       
       แหล่งข่าวระบุอีกว่าในจำนวน 250 รายชื่อ ยังปรากฏชื่อของคอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อีก 2-3 คนด้วยกัน และนอกจากนั้นยังมีชื่อจากภาคนักวิชาการอย่างเช่น นาย สังศิต พิริยะรังสรรค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ นาย ต่อตระกูล ยมนาค นายกสภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย นาย ประสาร มฤคพิทักษ์ กรรมการมูลนิธิ 14 ต.ค. นายแพทย์ นิรันด์ พิทักษ์วัชระ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุบลราชธานี และนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย
       
       อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวยังระบุถึงที่มาของรายชื่อว่ามีหลายฝ่ายวิ่งเต้นเพื่อที่จะนำคนของตัวเองมานั่งอยู่ในสภานิติบัญญัตินี้ด้วย ซึ่งแหล่งข่าวแจกแจงว่ามีอยู่จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการล๊อบบี้นายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นคนสนิทของ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) แต่ถูกอดีตที่ปรึกษาของคปค.สะกัดกั้น ด้วยการช่วยกันเข้ามาคัดสรรบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสังคมเข้าไป เพราะทุกคนไม่อยากจะให้พล.อ. สนธิ ตัดสินใจเพียงลำพัง เพราะเสี่ยงกับการถูกหลอก เนื่องจากว่าพล.อ.สนธิ ไม่ค่อยรู้จักบุคคลต่างๆในสังคมมากนัก
       
       "ยังมีรายงานอีกว่าเครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตยและเครื่อข่ายสุขภาพ ได้เสนอรายชื่อคนที่ได้รับความไว้วางใจจากเครื่อข่ายเข้ามาอีกด้วย ทั่งจาก ม.จุฬา 3 คน มสธ.3 คน มศว. 2 คน ศิลปากร 2-3 คน และม.สงขลานครินทร์ ม.ขอนแก่น ซึ่งโดยรวมประมาณ 20 คน เพื่อให้คมช.ได้พิจารณาคัดเลือกด้วย" แหล่งข่าวระบุ

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000127102

ล่าสุด มีมีชัย กับ บวรศักดิ์ เข้ามาด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-10-2006, 10:22 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12-10-2006, 10:05 »

สำหรับรายชื่อโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมาแล้ว อาทิ กลุ่มพันธมิตร ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสำราญ รอดเพชร นายคำนวณ สิทธิสมาน กลุ่มสว.เก่า ได้แก่ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตสว.อุบลราชธานี กลุ่มสว.ใหม่ ได้แก่ นายนิติภูมิเนาวรัตน์ นายสมบัติ เมทะนี ส่วนนักวิชาการด้านกฏหมาย ได้แก่ นายสุรพล นิติไกรพจน์ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กลุ่มสื่อสาร ได้แก่ นายพิทักษ์ วัชระ นางบัญญัติ ทัศนียเวช  นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์ กลุ่มข้าราชการ พล.ร.อบรรณวิทย์ เก่งเรียน

http://www.naewna.com/news.asp?ID=30310


รายชื่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ มีอยู่ใน list แฮะ

 

"นส.กัญจนา ศิลปอาชา นายพินิจ จารุสมบัติ นายสุรินทร์ นายอรรคพล สรสุชาติ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-10-2006, 10:14 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12-10-2006, 10:12 »

ในหลวงโปรดเกล้าฯสภานิติบัญญัติแล้ว

12 ตุลาคม 2549 09:46 น.
(Update) ในหลวงโปรดเกล้าฯผู้ดำรงตำแหน่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว พล.อ.สนธิระบุจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลือกประธาน ยันทุกคนเลือกตามความรู้ความสามารถ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรายชื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมาแล้ว ซึ่งต้องรอให้ พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล เลขา คมช. เป็นผู้ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อวานนี้ โดยตนเองจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกประธานสภานิติบัญญัติ แม้จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการก็ตาม ทั้งนี้จะปล่อยให้สมาชิกสภานิติบัญญัติทำหน้าที่ลงมติเอง

ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์สภานิติบัญญัติบางคนว่าไม่เหมาะสมนั้น พล.อ.สนธิ กล่าวว่า การคัดเลือกมีคณะกรรมการที่ปรึกษาพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยดูจากพื้นฐานความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ซึ่งตนเองเชื่อมั่นว่าสภานิติบัญญัติคงมีจิตสำนึกที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด

สำหรับ รายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าสอยู่หัวที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า 242 คน โดยมีตัวแทนประกอบด้วยภาคราชการ พลเรือนระดับ 11 หรือเทียบเท่า 17 คน อาทิ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณอยุธยา นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช นายปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรนจ์ นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา นายพชร ยุติธรรมดำรง นายรองพล เจริญพันธ์ พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล นายอำพน กิตติอำพน เป็นต้น

 
ขรก.พลเรือน
ขรก.ตุลาการ ขรก.อัยการ 12 คน อาทิ นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ นายทศพร ศิริสัมพันธ์

ขรก.ทหาร 35 คน อาทิ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป พล.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์ พล.อ.องค์กร ทองประสม

ขรก.ตำรวจจำนวน 7 คน พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ พล.ต.ท.มาโนชย์ ศัตรูลี้ พล.ต.ท.อดุลย์ แสงศรีแก้ว

ผู้บริหาร พนักงานรัฐวิสาหกิจ 8 คน อาทิ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ ร.อ.อภินันทน์ สุมนะเศรณี

ภาคเอกชน ธุรกิจ ธนาคารสถาบันการเงิน 6 คน อาทิ คุณหญิงชฎา  นายชัยศิริ โสภณพานิช

ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมบริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ 19 คน อาทิ นายณรงค์ โชควัฒนา นายวัชระ พรรณเชษฐ์ นายวีรพงษ์ รามางกูร นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์

ธุรกิจทั่วไป 11 คน อาทิ นายณงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากฎหมาย

ทนายความ 7 คน อาทินายประพันธ์ คูณมี นายมีชัย ฤชุพันธ์

พรรคการเมือง 4 คน อาทิ นส.กัญจนา ศิลปอาชา นายพินิจ จารุสมบัติ นายสุรินทร์ นายอรรคพล สรสุชาติ

นักวิชาการด้านปรัญชา ภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม 11 คน อาทิ นายดำรง สุมาลยศักดิ์ นายแวดือราแม มะมิงจิ นายเสถียรพงศ์ วรรณปก เป็นต้น

สื่อสารมวลชน ศิลปิน นักเขียน 20 คน อาทิ นายกำแหง ภริตานนท์ นายสมบัติ เมทนี นายนิติภูมิ นวรัฐ นางสุรงค์ เปรมปรี

ตัวแทนข้าราชการบำนาญ 43 คน อาทิ พล.อ.จรัล กุลลวนิช น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ  พล.อู้ด เบื้องบน

ตัวแทนพัฒนาท้องถิ่น อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายวิษณุ เครืองาม
 
http://www.bangkokbiznews.com/2006/10/12/w001_144752.php?news_id=144752


 สภานิติบัญญัติ  สมานฉันท์

* เนชั่น พิมพ์ชื่อผิด เพียบ..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-10-2006, 10:36 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
มีคณา
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 463



« ตอบ #4 เมื่อ: 12-10-2006, 10:28 »

คุณนนทร์สรุปไว้ใช่เลยค่ะ ว่าสภานี้เป็น ........ สภานิติบัญญัติ  สมานฉันท์

เลยทำใจได้ว่าบางชื่อนี่ ติดเข้ามาได้ไงนะ


บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12-10-2006, 10:33 »

เหมือนภาพของรัฐบาลปัจจุบันครับ

ผมว่าออกแนว รัฐบาลสมานฉันท์ เหมือนกัน
 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #6 เมื่อ: 12-10-2006, 10:51 »

ออกแนว วังเวง เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #7 เมื่อ: 12-10-2006, 10:58 »

คอลัมน์ คนเดินตรอก ที่เขียนมาก่อนยึดอำนาจตั้งนานแล้ว

โดย วีรพงษ์ รามางกูร

         เพื่อนชาวอเมริกันที่เป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ที่อเมริกา หลังจากหายหน้าหายตาไปเกือบ 2 ปี เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนกลับมาพบกันอีกที่กรุงเทพฯ ได้โอกาสมารับประทานอาหารกันอีก เลยได้คุยกันเรื่องคนไทยกับการเมืองไทยอีก คราวนี้เขาก็ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเหตุการณ์การเมืองไทยที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ต้นปี 2549 นี้อีกอย่างนี้

         ข้อแรก เขาตั้งข้อสังเกตคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยที่เป็นคนชั้นกลาง และคนในระดับสูง รวมทั้งปัญญาชน ครูบาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยที่สะท้อนออกมาจากปฏิกิริยาต่อกระแสทางความคิดทางการเมือง ยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้นำทางความคิดในระบอบประชาธิปไตย

         สังเกตได้จากกระแสความคิดที่ไม่เชื่อขบวนการทางการเมืองประชาธิปไตย เช่น ขบวนการทางกฎหมาย ขบวนการตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆ โดยองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรต่างๆ หากการชี้ขาดขององค์กรต่างๆ ตัดสินไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน

         ข้อที่สอง คนไทยมีอารมณ์ทางการเมืองรุนแรงไม่แพ้ประเทศทางตะวันตก แต่คนทางตะวันตกนั้นจะดำเนินการตามกรอบของระบบกฎหมายในกรอบของรัฐธรรมนูญ แต่คนไทยระดับสูงและระดับกลางให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายของตนน้อยมาก จะสังเกตได้จากการรายงานหรือความคิดเห็นที่ออกมาผ่านสื่อมวลชน การเรียกร้องบีบบังคับเป็นไปในทิศทางนอกกรอบรัฐธรรมนูญ นอกระบอบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง

         แท้จริงลึกๆ ในใจของคนที่มีการศึกษา แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ทางรัฐศาสตร์และกฎหมาย ยังนิยมระบบอำนาจนิยม การยึดอำนาจรัฐโดยไม่ผ่านขบวนการตามระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำขบวนการชุมนุมกระทำการเสมือนว่าตนได้ยึดอำนาจรัฐสำเร็จแล้ว สามารถออกคำสั่งให้รัฐบาลก็ดี องค์กรอิสระต่างๆ กระทำการหรือตัดสินไปตามทิศทางที่ตนต้องการ ฟังดูเหมือนกับการออกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว คล้ายกับเป็นการยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว เพียงแต่ไม่ใช่การยึดอำนาจรัฐโดยกองทัพ

         ถ้าเป็นประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยหยั่งรากลึกแล้ว ประชาชนจะไม่ยอมรับการออกคำสั่งอย่างนี้ จะยอมรับเฉพาะการชุมนุมเรียกร้องแสดงความคิดเห็นอย่างสงบ เพื่อให้รัฐบาลหรือรัฐสภาดำเนินการให้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญและขบวนการยุติธรรม อันเป็นสถาบันที่เขายอมรับนับถือว่าเมื่อเรื่องถึงรัฐบาล ถึงรัฐสภา และสถาบันยุติธรรมแล้วก็เป็นอันยุติ แต่ของเราไม่เป็นเช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะประวัติศาสตร์การเมืองของเรามีปฏิวัติรัฐประหารบ่อย ยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อยู่เรื่อยๆ รัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขบวนการประชาธิปไตยจึงไม่มีใครสนใจให้ความสำคัญ ให้ความเคารพเหมือนกับยุโรปหรืออเมริกา

         ข้อที่สาม การเมืองและธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกันมานานแล้ว ในสมัยก่อนตอนที่โลกมีสงครามเย็น ประเทศไทยก็มีรัฐบาลที่ตั้งโดยทหาร คณะรัฐมนตรีส่วนมากมาจากระบบราชการ เป็นบุคคลที่มีประวัติชื่อเสียงดี แต่ทหารก็ให้การอุปถัมภ์แก่พ่อค้านายทุนในการที่จะได้การผูกขาด เพื่อแสวงหากำไรจากการผูกขาด หรือที่ภาษาเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ เรียกว่า "ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ" หรือ "economic rent" ส่วนผู้นำทางทหารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่มีธุรกิจของครอบครัว อย่างมากก็ไปนั่งเป็นประธานธนาคาร หรือธุรกิจใหญ่ๆ ทุกเช้าพ่อค้านายทุนก็ไปนั่งเฝ้าบันไดบ้าน สังคมรับได้ พ่อค้าตระกูลเก่าๆ ก็เริ่มมาอย่างนั้น รุ่นลูกหลานอาจไม่เคยเห็น เพราะกำลังไปเรียนหนังสืออยู่เมืองนอก

         ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ระบบการเมืองเป็นแบบประชาธิปไตยแบบเปิด ประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนนเรียกร้องเงินทอง เรียกร้องให้ช่วยเหลืออุปถัมภ์ในรูปแบบต่างๆ นายทุนพ่อค้าแทนที่จะต้องเข้าไปซูฮก เค้าเต๋า ผู้มีอำนาจ ก็รวมตัวกันตั้งพรรคส่งลูกหลานลงสมัครรับเลือกตั้งเสียเอง ตระกูลนายทุนเก่าจึงยอมรับได้

         สมาชิกสภาผู้แทนจึงเต็มไปด้วยชนชั้นพ่อค้านายทุนทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด แทบจะไม่มีลูกหลานชนชั้นอื่นเลย กว่าร้อยละ 90 เป็นคนไทยเชื้อสายพ่อค้านายทุนทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรม พฤติกรรมทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป ค่านิยมและคุณค่าทางการเมืองก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัดสินรวดเร็วมากขึ้น      ไม่ "เชื่องช้า" แบบเก่า ข้าราชการถูกจี้ให้ทำงานเร็วขึ้น มิฉะนั้นจะถูกย้าย ภาพลักษณ์ของผู้นำก็เปลี่ยนไป คนไทยไม่คุ้นเคย

         คนไทยจึงอยู่ในช่วงสับสน ในหมู่ข้าราชการย่อมไม่ชอบใจแน่ เพราะปลัดกระทรวงเป็นที่พึ่งอย่างเดิมไม่ได้แล้ว รัฐมนตรีเข้ามาตัดสินใจไล่จี้งานเอง

         ส่วนคนร่ำรวยตระกูลเก่าก็ยังรับนักการเมืองและผู้นำรุ่นใหม่ไม่ได้ เพราะยังติดกับผู้นำและรัฐบาลที่อ่อนแอ ผสมกันหลายพรรค พูดจามีมารยาท ไม่อหังการ ยังยอมรับการเป็นรัฐบาลที่มาจากชนชั้นพ่อค้าซึ่งเป็นชนชั้นเดียวกับตนไม่ได้

         เหตุการณ์ที่ผ่านมา ถ้าทหารปฏิวัติรัฐประหาร คนในกรุงเทพฯ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ขับไล่รัฐบาลออกไป ใช้อำนาจปฏิวัติยึดทรัพย์นักการเมือง คนในกรุงเทพฯจะยินดีปรีดา แล้วอีกปีหนึ่งก็ชุมนุมขับไล่รัฐบาลกันใหม่

         ข้อที่สี่ คนไทยชั้นสูงยังยึดถือที่ตัวบุคคลมากกว่าระบบ ซึ่งขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตย เมื่อไม่ชอบหรือเกลียดชังเสียแล้ว ก็ไม่คำนึงถึงระบบ จะทำอย่างใดก็ได้ขอให้บุคคลผู้นั้นพ้นๆ ไป ถ้าจะอยู่ต่ออีกสักวันหนึ่งก็เหมือนบ้านเมืองจะล่มสลาย

         ข้อกล่าวหาบางอย่าง แม้จะรู้ว่าไม่ได้ผิดกฎหมายก็พร้อมจะเชื่อ และข้อกล่าวหาบางข้อที่กล่าวหาว่าฝ่ายตรงกันข้ามทำผิดกฎหมายก็ไม่สนใจที่จะติดตามให้ได้ข้อมูลลึกเพื่อที่จะสามารถเอาผิดได้ตามกฎหมาย คนกลุ่มนี้ไม่ได้สนใจแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด เวลารักทุกอย่างก็ถูกไปหมด เวลาเกลียดเวลาไม่ชอบทุกอย่างก็ผิดหมด เป็นสังคมแบบไฟไหม้ฟาง

         ข้อที่ห้า สังคมชั้นสูงและชั้นกลางมีแนวโน้มที่จะเชื่อข่าวลือมากกว่าข่าวจริง หลายเรื่องถ้าหยุดคิดแล้วก็จะไม่เชื่อ แต่คนไทยชอบเชื่อข่าวลือที่ถูกใจตัว ข่าวจริงที่ไม่ถูกใจตัวจะไม่ยอมเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวร้ายและข่าวโจมตีกัน

         สื่อมวลชนซึ่งเข้าใจจิตวิทยาเช่นว่านี้ ก็ถือโอกาสกระพือข่าวลือเพื่อประโยชน์ทางการค้า เพิ่มยอดขายหนังสือพิมพ์ แล้วผู้จัดรายการวิทยุ ก็เอาข่าวหนังสือพิมพ์ไปอ่านและขยายข่าวลือต่อ

         สื่อมวลชนไทยนั้นมีอิสระเสรีภาพมากที่สุดในโลก แม้จะเทียบกับอเมริกาหรือยุโรป ไม่ถูกควบคุมโดยใครเลย ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือสมาคมวิชาชีพของตนเอง ผู้คนแม้แต่รัฐมนตรีข้าราชการผู้ใหญ่ นักธุรกิจล้วนแต่เกรงกลัวและเกรงใจ นักข่าวเด็กๆ อายุ 20-30 ปี สามารถนัดพบรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี นายธนาคาร นักธุรกิจใหญ่ๆได้ เพราะไม่มีใครอยากขัดใจสื่อมวลชน

         ผู้ที่เสียหายจากการลงข่าวที่จริงและไม่จริงหรือจริงเพียงครึ่งเดียวมักจะต้องทำเฉยเสีย หากทำอะไรไปและยิ่งเป็นผู้มีอำนาจก็จะถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงสื่อมวลชน แม้กระทั่งการใช้สิทธิตามกฎหมายฟ้องร้องทางศาลถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงปิดกั้นสื่อมวลชนทันที ซึ่งสื่อมวลชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่มีอภิสิทธิขนาดนี้

         การที่สื่อมวลชนไทยมีอิสระเสรีภาพและอภิสิทธิสูงมากอย่างนี้ ประเทศไทยจึงเป็นที่สื่อมวลชนต่างๆทั่วโลก ส่งนักข่าวเด็กๆ นักข่าวมือใหม่มาฝึกงานก่อนจะรับเข้าบรรจุ เพราะถ้ามาอยู่เมืองไทยแล้วยังทำข่าวไม่ได้ก็จะไม่ได้รับการบรรจุ เพราะสังคมไทยเปิดกว้างอย่างที่สุด และสื่อมวลชนมีอภิสิทธิสูงที่สุดในโลกแล้ว

         ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยและรัฐบาลทหาร ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ รัฐบาล พล.อ.เปรม รัฐบาลคุณอานันท์ รัฐบาลคุณบรรหารและคุณชวน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นต้นมา ไม่มีทางเป็นรัฐบาลเผด็จการได้เลย เป็นได้แต่รูปแบบเนื้อหาเป็นไม่ได้ แต่ผลเสียก็มีเพราะหลายคนหลายครั้งก็ถูกหนังสือพิมพ์ละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หรือไม่กล้าแม้แต่การใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล

     ข้อที่หก เพื่อนผมค่อนข้างผิดหวังนักวิชาการ ครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ รวมทั้งสมาคมทนายความ และผู้ที่มีวิชาชีพทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ ซึ่งในประเทศอื่นจะเป็นผู้ที่เรียกร้องให้ประชาชนยืนหยัดในหลักของการปกครองในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ปัญญาชนไทยทางด้านนี้กลับชี้นำให้สังคมละทิ้งหลักการปกครองตามกฎหมาย โดยการอ้างจริยธรรมบ้าง ความชอบธรรมบ้าง

         หลักความชอบธรรมตามกฎหมายนั้นเป็นหลักที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร มีสถาบันซึ่งจะชี้ขาดเป็นที่ยุติของปัญหาความขัดแย้งได้เป็นรูปธรรม เนื้อหาของกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ดี กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ดี ปกติก็จะสะท้อนจริยธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของระบอบการปกครองอยู่แล้ว แต่การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระบอบการปกครอง รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ก็เท่ากับเป็นการเรียกร้องบีบบังคับตามอำเภอใจ

         ส่วนหลักความชอบธรรมที่อ้าง "จริยธรรม" ที่เกินกว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประเพณีขนบธรรมเนียม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม เลื่อนลอย ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน เช่น ชั้นสูง ชั้นกลาง มีมาตรฐาน จริยธรรมอย่างหนึ่ง ชั้นล่างอย่างหนึ่ง เปลี่ยนแปลงไปตามภูมิภาค ภาคใต้ว่าอย่าง ภาคเหนือ ภาคอีสานว่าอย่าง และเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น ปี 2547 ว่าอย่าง ปี 2549 ว่าอย่าง ต่อไปปี 2550 อาจจะว่าอีกอย่างก็ได้ การตัดสินความชอบธรรมบนพื้นฐานของ"จริยธรรม"จึงเลื่อนลอย ไม่เหมือนความชอบธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของ "ระบบ" "หลักการ" และ "กฎหมาย" ซึ่งเป็นรูปธรรม อ้างอิงได้ ถ้าระบบและหลักการควรจะเปลี่ยนเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป กฎหมายก็เปลี่ยนได้ตามขบวนการ แต่ระหว่างที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ต้องใช้ความชอบธรรมบนพื้นฐานของกฎหมายที่ยังใช้บังคับอยู่

         ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเพราะว่า เรามีรัฐบาลทหาร ที่มีทหารเป็นนายกรัฐมนตรีเองหรือมีนายกรัฐมนตรีที่ทหารแต่งตั้ง ซึ่งไม่มีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ หรือตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข หรือบางครั้งจะชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่คณะปฏิวัติหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญที่คณะทหารตั้งขึ้นมา การต่อต้านจึงต้องต่อต้านนอกรอบของรัฐธรรมนูญ โดยอ้างความไม่ชอบธรรมของระบอบหรือระบบได้ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มคน ภูมิภาค และกาลเวลาในโลกสมัยใหม่ แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมาเที่ยวนี้ไม่เหมือนกัน เป็นการอ้างความไม่ชอบธรรมที่ไม่ใช่ความชอบธรรมของระบอบหรือที่มาของรัฐบาล แต่การอ้างความไม่ชอบธรรมบนพื้นฐานของ "จริยธรรม" ซึ่งเลื่อนลอย ถ้าทำได้สำเร็จก็จะเป็นความเสียหายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างยิ่ง

         ข้อที่เจ็ด เพื่อนอเมริกันตัวแสบของผมยังแสดงความผิดหวังต่อพรรคการเมืองของไทย ทั้งพรรคการเมืองที่เก่าแก่ พรรคที่เก่ากลาง พรรคที่กลางเก่ากลางใหม่ พรรคการเมืองควรจะเป็นสถาบันที่เป็นผู้นำทางความคิด เผยแพร่ปรัชญา จิตสำนึก และปฏิบัติตนเป็นนักประชาธิปไตย แต่วิกฤตการณ์การเมืองครั้งนี้ ผู้นำพรรคการเมืองกลับไปร่วมเรียกร้องให้มีการละเมิดรัฐธรรมนูญ ละเมิดกฎหมาย ละเมิดข้อเท็จจริง รวมทั้งปฏิเสธขบวนการรัฐสภา ขบวนการให้กลับไปสู่การตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าขบวนการเลือกตั้งนั้นไม่ชอบธรรม ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ปฏิเสธกรรมการเลือกตั้ง รวมทั้งคว่ำบาตรการเลือกตั้ง ที่เหลือเชื่อก็คือสื่อมวลชนซึ่งควรจะเป็นสถาบันที่ต่อต้านการปฏิเสธขบวนการประชาธิปไตย กลับไปเห็นด้วยและสนับสนุน

         ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเป็นการสร้างประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ระบอบรัฐสภา การเรียกร้องกดดันทั้งหมดที่ผ่านมาเป็นการเรียกรองและกดดันให้มีการดำเนินการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเลย และที่แปลก "นักประชาธิปไตย" ทั้งหลายกลับรับได้ ไม่ตะขิดตะขวงใจเลย

         ข้อที่แปด การกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยอ้างความไม่ชอบธรรมบนพื้นฐานของ "จริยธรรม" นั้นเป็นอันตรายที่สามารถสร้างความแตกแยกในสังคม เพราะมาตรฐานของจริยธรรมของผู้คนต่างหมู่เหล่าต่างภูมิภาคจะต่างกัน ไม่เหมือนความชอบธรรมที่ตั้งอยู่บนรากฐานของรัฐธรรมนูญ กฎหมายและระบบ เพราะกฎหมายและระบบมีอันเดียว อย่างมากก็อาจจะตีความแตกต่างกันเท่านั้นและยุติได้โดยการยอมรับการตัดสินขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่

         ข้อที่เก้า เพื่อนผมเคยตั้งข้อสังเกตว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบมีสองพรรคใหญ่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้พัฒนาไปเร็วมาก แต่ตอนนี้ชักจะไม่แน่ใจเสียแล้ว เพราะความไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภาของพรรคการเมือง ของปัญญาชน ของครูบาอาจารย์ รวมทั้งสื่อมวลชนที่เป็นกระแสหลักของประเทศที่จะเป็นผู้นำทางความคิด

         ที่เห็นชัดก็คือยังชอบระบบการเมืองที่เละๆ มีรัฐบาลที่อ่อนแอ คอยเอาใจคนโน้นคนนี้ อ่อนน้อมถ่อมตนพูดจามีคารมคมคาย จะมีผลงานหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ชอบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ ไม่ต้องทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

         คุยกับเพื่อนอเมริกันเที่ยวนี้ผมรีบตัดบทแล้วรีบลากลับก่อนเขาจะพูดจบ
บันทึกการเข้า
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #8 เมื่อ: 12-10-2006, 13:50 »

อาจารย์โกร่งน่าจะชวนเพื่อนอเมริกันของอาจารย์คุยเรื่อง อิรัก กับอัฟกานิสถานบ้างนะครับ

อ้อคุยเรื่องสถิติอาชญากรรมแถมอีกก็ได้ เอาแถวนิวยอร์กที่เดียวก็พอ 
บันทึกการเข้า
เบื่อไอ้เหลี่ยม
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 389


« ตอบ #9 เมื่อ: 12-10-2006, 15:28 »

พินิจ จารุสมบัติหรือครับ ถ้ากรรมการบริหารพรรค ทรท ห้ามทำงานการเมือง5ปี คงต้องเลือกใหม่ละสิครับ
ความจริงไม่น่าเอา กรรมการบริหารพรรค ทรท เข้ามาเลย เพราะว่าไอ้เหลี่ยม ทำเลวๆ ไอ้พวกนี้ก้ยกมือชูจักแร้เชียร์ตลอด ไม่เคยความรู้สึกดีชั่วเอาเสียเลยครับ
ยิ่งเป็นหัวหน้ามุ้งนี่ ยิ่งไม่น่าเอามาเลยครับ ผิดหวังจริงๆ
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #10 เมื่อ: 12-10-2006, 15:40 »

http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=6298

บันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับผู้ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

1.ข้อกฎหมาย
มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 บัญญัติว่า "ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา ในการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คำนึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสมในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ"

มาตรา 7 วรรคสาม บัญญัติว่า "ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ"

2. ข้อเท็จจริง

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ และมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้ดำเนินการสรรหาบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม และประชุมปรึกษาแล้ว เห็นสมควรให้เสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และมีความเหมาะสมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามเจตจำนงอันแสดงไว้ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญรวม ๒๔๒ คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1 ภาครัฐ

ก.ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือเทียบเท่า จำนวน 17 คน
1. นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร
2. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
3. นายการุณ กิตติสถาพร
4. นายไกรสร พรสุธี
5. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
6. นายปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์
7. นายปรีชา วัชราภัย
8. นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
9. นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์
10. นายพชร ยุติธรรมดำรง
11. คุณพรทิพย์ จาละ
12. นายรองพล เจริญพันธุ์
13. นายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์
14. พลเอกไวพจน์ ศรีนวล
15. นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช
16. นายสมพล พันธ์มณี
17. นายอำพน กิตติอำพน

ข.ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ จำนวน 12 คน
1. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ
2. นายจุทาธวัช อินทรสุขศรี
3. นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์
4. นายทศพร ศิริสัมพันธ์
5. นายประกิจ ประจนปัจจนึก
6. นายพรชัย รุจิประภา
7. นายพรเพชร วิชิตชลชัย
8. นายภิรมย์ สิมะเสถียร
9. นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์
10. นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ
11. นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า
12. นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ

ค. ข้าราชการทหารจำนวน 35 คน

1. พลตรีคณิต สาพิทักษ์
2. พลโทจิรเดช คชรัตน์
3. พลเอกจิรพงศ์ วรรณรัตน์
4. พลโทชัยภัทร์ ธีระธำรง
5. พลอากาศเอกชาลี จันทร์เรือง
6. พลอากาศเอกธเรศ ปุณศรี
7. พลเอก ธวัช จารุกลัส
8. พลตรีดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
9. พลเรือเอกนคร อรัณยะนาค
10. พลเรือเอกนพพร อาชวาคม
11. พลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน
12. พลเอกปฐมพงษ์ เกษตรศุกร์
13. พลโทประยุทธ จันทร์โอชา
14. พลเรือโท พะจุณณ์ ตามประทีป
15. พลเอกไพโรจน์ พาณิชสมัย
16. พลเอกไพศาล กตัญญู
17. พลอากาศเอกไพศาล สีตบุตร
18. พลเอกมนตรี สัขทรัพย์
19. พลอากาศเอกระเด่น พึ่งพักตร์
20. พลโทวรเดช ภูมิจิตร
21. พลอากาศโท วัลลภ มีสมศัพย์
22. พลเรือเอกวิชัย ยุวนางกูร
23. พลโทวิโรจน์ บัวจรูญ
24. พลเรือเอกวีรพล วรานนท์
25. พลอากาศเอกวีรวิท คงศักดิ์
26. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม
27. พบอากาศเอกสมหมาย ดาบเพ็ชร์
28. พลโทสุเจตน์ วัฒนสุข
29. พลเรือเอกสุชาต ญาโณทัย
30. พลเอกสุนทร ขำคมกุล
31. พลเรือเอกสุรินทร์ เริงอารมณ์
32. พลเอกโสภณ ศีลพิพัฒน์
33. พลเอกองค์กร ทองประสม
34. พลอากาศเอกอดิเรก จำรัสฤทธิรงค์
35. พลตรี อดุล อุบล

ง.ข้าราชการตำรวจ จำนวน 7 คน

1. พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ
2. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
3. พลตำรวจโท มาโนช ศัตรูลี้
4. พลตำรวจโท วัชรพล ประสารราชกิจ
5. พลตำรวจโท วิโรจน์ จันทรังษี
6. พลตำรวจโท อดุลย์ แสงสิงแก้ว
7. พลตำรวจเอก อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

จ.ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 8 คน
1. นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล
2. นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์
3. นายประเจิด สุขแก้ว
4. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
5. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์
6.นายภราเดช พยัฆวิเชียร
7. นายวรัชย์ ชวงพงศ์
8. เรืออากาศโท อภินันท์ สุมนะเศรณี

2.2 ภาคเอกชน
ก.ธุรกิจ ธนาคาร และสถาบันการเงิน จำนวน 6 คน

1. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
2. นายชาติศิริ โสภณพนิช
3. นายไชย ไชยวรรณ
4. นางภัทรียา เบญจพลชัย
5. นายศิวะพร ทรรทรานนท์
6. นายสุภัค ศิวะรักษ์

ข.ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 19 คน

1. นายกงกฤช หิรัญกิจ
2. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์
3. ร้อยตำรวจเอก ฉัตรชัย บุณยะอนันต์
4. นายชนินทธ์ โทณวณิก
5. นายชลิต แก้วจินดา
6. นายณรงค์ โชควัฒนา
7. นายดิลก มหาดำรงค์กุล
8. นายธีรพจน์ จรูญศรี
9. นายประมนต์ สุธีวงศ์
10. นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล
11. นายโยธิน อนาลวิล
12. นายวัชระ พรรณเชษฐ์
13. นายวีรพงษ์ รามางกูร
14. นายสมภพ เจริญกุล
15. นายสันติ วิลาศศักดานนท์
16. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์
17. นางสุนันทา สมบุญธรรม
18. นายสุเมธ ตัณธุวนิตย์
19. นายอัศวิน ชินกำธรวงค์

ค.ธุรกิจทั่วไป จำนวน 11 คน

1. นายกระจ่าง จารุพฤกษ์พันธ์
2. นายจักราวุธ นิตยสุทธิ
3. นายชัชวาล อภิบาลศรี
4. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
5. พลตำรวจเอก บุญศรี หุ่นสวัสดิ์
6. นายภูมิศักดิ์ หงส์หยก
7. นายวีระชัย ตันติกุล
8. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
9. นายสุธรรม จิตรานุเคราะห์
10.นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์
11. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล

ง.ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ จำนวน 7 คน

1. นายบดินทร์ อัศวาณิชย์
2. นายประพันธ์ คูณมี
3. นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ
4. นายไพศาล พืชมงคล
5. นายมีชัย ฤชุพันธุ์
6. นายสฤษดิ์ผล ชมไพศาล
7. นายอภิชาติ จีระพันธุ์

2.3 ภาคสังคม

ก. พรรคการเมือง จำนวน 4 คน

1. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
2. นายพินิจ จารุสมบัติ
3. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ
4. นายอรรคพล สรสุชาติ

ข. นักวิชาการด้านปรัชญา ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จำนวน 11 คน

1. นายกีรติ บุญเจือ
2. นายดำรง สุมาลยศักดิ์
3. นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์
4.นายวินัย สะมะอุน
5. นายแว ดือ ราแม มะมิงจิ
6. นายแวมา ฮาดี แวดาโอะ
7. นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก
8. นายอับดุล รอซัค อาลี
9. นายอับดุลเราะแม เจะแซล
10. นายอิสมาแอ อาลี
11. นายอิสมาแอลลุทฟิ จะปะกียา

ค. สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน จำนวน 20 คน

1.นายกำแหง ภริตานนท์
2.นายคำนูณ สิทธิสมาน
3.นายแถมสิน รัตนพันธ์
4.ร้อยตำรวจเอกนิติภูมิ นวรัตน์
5.นางบัญญัติ ทัศนียะเวช
6.นางประทุมพร วัชรเสถียร
7.นายประภัทร์ ศรลัมพ์
8.นางประภา ศรีนวลนัด
9.พลตรีประภาส ศกุนตนาค
10.นายประสาร มาลีนนท์
11.นายพิชัย วาสนาส่ง
12.นายภัทระ คำพิทักษ์
13.นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
14.นายสมชาย แสวงการ
15.นายสมชาย สกุลสุรรัตน์
16.นายสมบัติ เมทะนี
17.นายสมหมาย ปาริจฉัตต์
18.นายสราวุธ วัชระพล
19.นายสำราญ รอดเพชร
20.นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์

ง. ข้าราชการบำนาญผู้มีประสบการร์ด้านต่างๆ จำนวน 43 คน

1.นายกำธร อุดมฤทธิรุจ
2.หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล
3.พลเอกจรัล กุลละวณิชย์
4.พลตรีจำลอง ศรีเมือง
5.พลโทเจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม
6.นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
7.พลตำรวจโทชัยยันต์ มะกล่ำทอง
8.นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์
9.พลเอกโชคชัย หงษ์ทอง
10.นายทรงพล ทิมาศสาตร์
11.คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันท์
12.พลโทบันเทิง พูนขำ
13พลเรือเอกประเจตน์ ศิริเดช
14.พลเอกประวิตร ศิริเดช
15พลเรือเอกประเสริฐ บุยทรง
16.นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ
17.พลเอกปรีชา เปรมาสวัสดิ์
18.พลเอกปรีชา โรจนเสน
19.พลเอกปรีดี สามิภักดิ์
20.ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
21.พลอากาศโทปัญญา ศรีสุวรรณ
22.พลเอกปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์
23.นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
24.พลเอกเพิ่มศักดิ์ พวงสาโรจน์
25.นายวิทย์ รายนานนท์
26.นายวิทยา เวชชาชีวะ
27.พลตำรวจตรีวีระพงษ์ สุนทรางกูร
28พลเอกสนั่น มะเริงสิทธิ์
29.พลเอกสมชาย อุบลเดชประชารักษ์
30.พลเอกสมทัต อัตตะนันทน์
31.นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์
32.พลตำรวจโทสมศักดิ์ แขวงโสภา
33.พลตำรวจเอกสุเทพ ธรรมรักษ์
34.พลเอกสุเทพ สีวะรา
35.พลตำรวจเอกสุทร ซ้ายขวัญ
36.พลเอกสรุพล ชินะจิตร
37.พลเอกสุริทร์ พิกุลทอง
38.นางสาวอรจิต สิงคาลวนิช
39.นายอัศวิน คงสิริ
40.พลเอกอาทร โลหิตกุล
41.พลเอกอาภรณ์ กุลพงศ์
42.นางอุมา สุคนธมาน
43.พลเอกอู้ด เบื้องบน


จ. การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ จำนวน 13 คน

1. นายโคทม อารียา (ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
2. นางจุรี วิจิตรวาทการ (การส่งเสริมคุณธรรม)
3. นายชบ ยอดแก้ว (ภาคใต้)
4. นายตวง อันทะไชย (ภาคอีสาน)
5. นางเตือนใจ ดีเทศน์ (ภาคเหนือ)
6.นายประยงค์ รณรงค์ (ภาคใต้)
7.นายมนัส โกศล (ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย)
8. นางมุกดา อินต๊ะสาร (ภาคเหนือ)
9. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ภาคกลาง)
10. นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ภาคกลาง)
11. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ (สมาคมคนตาบอด)
12. นายโสภณ สุภาพงศ์ (การพัฒนาท้องถิ่น)
13. นายอำพล จินดาวัฒนะ (การพัฒนาท้องถิ่น)

2.4 ภาควิชาการ

อธิการบดี อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่างๆ และจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 29 คน

1. นายฉลองพล สุสังกร์กาญจน์
2. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
3. นายทวี สุรฤทธิกุล
4. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
5. นายบุญสม ศิริบำรุงสุข (อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
6. นายประกอบ วิโรจน์กูฎ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
7. นายประสาท สืบค้า (อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุรนารี)
8. นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ
9. ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
10. นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
11. นายพรชัย มาตังคสมบัติ์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)
12. นางมาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ (อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล)
13. นางรังสรรค์ แสงสุข (อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
14. นายวัฒนา สวรรยาธิปัติ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
15. นายวันชัย ศิริชนะ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)
16. นายวิรุณ ตั้งเจริญ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
17. นายวิษณุ เครืองาม
18. นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
19.นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (คณบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
20. นายสังศิต พิริยรังสรรค์ (อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม)
21. นายสุจิต บุยบงการ
22. คุณหญิงสุชาดา กีรนันท์ (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
23. นายสุชาติ อุปถัมภ์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา)
24. นายสุพัทธ์ ผู่ผกา (อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
25. นายสุมนต์ สกลไชย (อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
26. นายสุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
27. นายสุริชัย หวันแก้ว
28. นายสุวรรณ หันไชยุงวา (ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)
29. นายอัมมาร์ สยามวาลา


3. สำหรับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ไม่ได้รับการสรรหาในคราวนี้จะได้พิจารณาเสนอรายชื่อเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติต่อไป
*********
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: