ชกคาดเชือก โดย วงค์ ตาวันภาคประชาชนคลั่งรถถังพอได้นายกฯ ใหม่ ก็หมายถึงการเริ่มต้นเข้าสู่บรรยากาศใหม่ในบ้านเมือง ซึ่งเป็น
บรรยากาศปกติธรรมดามากขึ้น ที่ชัดเจนคือการถอนรถถัง รถหุ้มเกราะ กองทหาร
ออกจากถนนหนทางสายต่างๆ ทั่วเมืองกรุง
ทำให้ภาพความตึงเครียดของบ้านเมือง หมดสิ้นไปในทันที
ประเทศชาติไหนก็ตาม ต้องมีรถถังมาจอดพร้อมประจัญบานอยู่ตามสี่แยกในเมืองหลวง
ย่อมไม่ใช่เรื่องดีงาม
เป็นภาพประจานความดำมืดของสังคมการเมือง ให้ความรู้สึกน่าอัปยศอดสูสถานเดียว
เพียงแต่เหตุการณ์ 19 กันยายน ในบ้านเรานั้น เป็นเพราะสถานการณ์มันถึงทางตัน
ปัญหาของระบอบทักษิณแทบจะทำให้สังคมไทยหมดทางเลือก
ด้านหนึ่ง การเข้ายึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ ทำให้คนส่วนใหญ่โล่งอก ที่ระบอบทักษิณ
ถึงจุดจบได้
มองในแง่นี้ ไม่มีใครไม่ยินดี
ไม่มีใครไม่ชื่นชมที่ระบอบทักษิณหมดสิ้นไป!
แต่อีกด้าน
การเลือกใช้วิธีลากรถถังออกมาล้มรัฐบาล ย่อมไม่ใช่วิธีอันน่ายินดี ไม่ควร
ส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งต้องมานั่งทบทวนกันด้วยซ้ำ ว่าจะทำอย่างไรประเทศไทยเรา
จึงจะไม่ต้องเลือกหนทางนี้อีกในการแก้ปัญหาทางการเมืองภาพชาวบ้านออกมามอบดอกไม้ โห่ร้องดีใจต่อหน้ากองทหารและรถถัง มอบข้าวปลา
อาหาร ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน
อย่าไปเผลอใช้เป็นบรรทัดฐานชี้วัดว่า ประชาชนยอมรับการปฏิวัติ
อย่าไปเผลอปลื้มปีติ น้ำตาไหลไปกับภาพแบบนี้ พร้อมกับสรุปรวบรัดว่าสังคมไทย
ต้องการแบบนี้!?!
ภาพแบบนี้มีมาแล้วหลายหน อย่างตอนคณะ รสช. ล้มรัฐบาลชาติชายเมื่อปี 2534 นั้น
อาจจะยิ่งกว่านี้ด้วยซ้ำ ไชโยโห่หิ้วกันไปทั่ว
ถัดมาแค่ปีเดียว ประชาชนก็ต้องออกมาเดินขบวนขับไล่ รสช. จนเลือดนองราชดำเนิน
ถึงอย่างไรการรัฐประหารก็ไม่ควรเกิดขึ้นในบ้านเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตย และ
สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องมีการเมืองภาคประชาชนเป็นฐานใหญ่
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ภาพชาวบ้านยิ้มแย้มกับทหารหาญของชาติเป็นภาพที่น่า
รังเกียจ
เพราะทหารก็ลูกหลานประชาชน อีกทั้งเป็นกองกำลังที่มีเกียรติภูมิยิ่งใหญ่ในฐานะรั้ว
ของชาติ
ในแง่ประชาชนกับทหารที่ยืนอยู่ตามสี่แยก ตามท้องถนน เป็นภาพความสัมพันธ์ทาง
ที่ดีระหว่างคนกับคนด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องดี
แต่ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างการทำรัฐประหารกับพัฒนาการของประชาธิปไตย อันนี้
ต้องคิดกันให้มาก
อีกทั้งไม่ควรเอาภาพความรู้สึกที่ดีๆ ของชาวบ้านที่มีต่อเหล่าทหาร มาขยายให้เป็น
เครื่องชี้วัดว่าประชาชนต้อนรับการลากรถถังออกมายึดอำนาจ
ไม่เช่นนั้นก็อาจจะต้องเอาภาพแดนเซอร์นุ่งน้อยห่มน้อยเต้นหน้ารถถัง มาช่วยอธิบาย
ด้วย
รวมไปถึงภาพไอ้มดแดง มดดำ ที่ไปแอ๊กชั่นหน้ารถถัง มาผสมเข้ากับบทวิเคราะห์
เชิงโครงสร้างว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยเช่นกัน ซึ่งคงจะยุ่งเหยิงพิลึก
พร้อมกับต้องนำเอาภาพ โชเฟอร์แท็กซี่คลั่งสติแตก ประกาศพลีชีพ ซิ่งรถสีม่วงเข้าไป
อัดกับรถถังที่ลานพระบรมรูปฯ จนแท็กซี่บู้บี้
ต้องเอาภาพนี้ มาหักลบด้วยหรือเปล่า
จึงกล่าวได้ว่า ภาพคนไทยยิ้มแย้มให้กับทหารและรถถัง เป็นภาพที่ดูแล้วสบายใจกันดี
แต่ไม่ใช่หลงใหลโยงใยไปสรุปว่า การรัฐประหารเหมาะสมกับสังคมไทย
อีกทั้งหากวิเคราะห์สังคมไทยให้ดีๆ มองให้ออกว่า คนไทยยังชอบดูหนังที่พระเอกเป็น
ฮีโร่ เป็นอัศวินม้าขาว ยุคหนึ่งถึงกับปรบตบมือกันลั่นโรงด้วยซ้ำ เมื่อพระเอกควบม้ามา
ช่วยนางเอกในช่วงคับขัน
ถ้ามองให้ออกเช่นนี้ ภาพคนไทยดีใจกับทหารและรถถัง ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะนำมายึดถือ
เป็นบรรทัดฐานได้
แถมต้องตระหนักด้วยว่า
ตราบใดที่สังคมไทยยังโหยหาอัศวินม้าขาวมาแก้ปัญหา
ประเทศชาติ ตราบนั้นประชาธิปไตยไทยก็ยังไม่พัฒนาว่าไปแล้วภาพประชาชนกับรถถัง ที่ทรงความหมายจริงๆ ก็น่าจะเป็นภาพที่ "จีระ
บุญมาก" วีรชน 14 ตุลา 2516 ถือส้มเข้าไปให้ทหารบนรถถัง เพื่อวิงวอนให้หยุด
ยิงใส่ประชาชน
ภาพแบบนี้สิที่สะเทือนอารมณ์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
แต่ก็มิได้ต้องการนำเอา 14 ตุลา มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549
เพราะคนละแบบกัน
เพราะถึงอย่างไร รถถังเมื่อ 19 กันยายน ก็มิได้ลั่นกระสุนใส่ประชาชนมาแต่นัดเดียว
เป็นการรัฐประหารที่สงบราบรื่น เพราะช่วยคลายความอึดอัดของคนในชาติ
ทั้งเมื่อทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดีก็น่าดีใจกับสังคมไทย ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่ต้อง
สูญเสียอะไร
เพียงแต่ต้องเน้นย้ำว่า
วิธีการใช้รถถังเข้ายึดอำนาจนั้น ไม่ควรสนับสนุน และต้องมา
ขบคิดถึงอนาคตของประชาธิปไตยไทยว่า จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องหันมาเร่งเสริมสร้างขบวนการประชาชน ซึ่งควรจะเป็นรากฐาน
ของประชาธิปไตยที่ดีจริงในช่วงของยุคทักษิณนั้น ก็คือ การเข้ามายึดกุมอำนาจของกลุ่มทุนนิยม และเกิดความ
ขัดแย้งกับอำนาจของภาคราชการอย่างรุนแรง เพราะรัฐบาลเข้าแทรกแซง แยกสลาย
ให้ภาคราชการอ่อนล้า
หลังสิ้นยุคทักษิณ โดยกองกำลังทหารเข้ายึดอำนาจ ก็น่าคิดว่า นี่คือตัวแทนภาค
ราชการที่มีขุมกำลังเข้มแข็งที่สุด ซึ่งออกมาทวงถามอำนาจคืนหรือไม่
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในวันนี้ ถือว่าทุกฝ่ายในสังคมล้วนเห็นพ้องต้องกันว่า การ
ล้มล้างระบอบทักษิณเป็นเรื่องถูกต้องแล้ว แต่ต้องมองต่อไปข้างหน้าอย่างมีสติ
ไม่เพียงแค่ดีใจและสะใจที่ทักษิณไปเสียได้ เพียงแค่นั้น
ขบวนการการเมืองภาคประชาชนจึงต้องตระหนักให้ดี และเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลง
หลังจากนี้ ทั้งในด้านรัฐบาลใหม่ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ว่าจะเกิดประโยชน์ต่อภาค
ประชาชนจริงๆ อย่างไร
ถ้ามัวแต่ดีใจปลาบปลื้มไปกับทหารและรถถัง แล้วหวังว่าวันหน้าถ้ารัฐบาลเลวอีก ก็ให้
ทหารออกมายึดอำนาจ ล้มรัฐธรรมนูญ เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกแบบนี้ก็แค่การเมืองภาคประชาชนบูชารถถัง คลั่งอัศวินม้าขาว เท่านั้นเอง!
ที่มา มติชนสุดสีปดาห์ วันที่ 06 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1364http://www.matichon.co.th/weekly/weekly.php?srctag=MDQ5ODA2MTA0OQ==&srcday=MjAwNi8xMC8wNg==&search=no