ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
03-02-2025, 02:09
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เผยผลสอบ "กุหลาบแก้ว" ส่อเค้าเป็น "นอมินี" เทมาเส็ก 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เผยผลสอบ "กุหลาบแก้ว" ส่อเค้าเป็น "นอมินี" เทมาเส็ก  (อ่าน 1128 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 12-09-2006, 19:27 »

เผยผลสอบ "กุหลาบแก้ว" ส่อเค้าเป็น "นอมินี" เทมาเส็ก

หมายเหตุ ผลการตรวจสอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่มีการร้องเรียนว่าการถือหุ้นในบริษัท
                 ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ในประเด็นเกี่ยวกับการถือหุ้น
                 แทนคนต่างด้าว (นอมินี) ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบ
                 ธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยเริ่มสอบตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549
                 และได้ผลสรุปเบื้องต้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ก่อนที่กระทรวงพาณิชย์
                 จะตั้งคณะทำงานขึ้นตรวจสอบเพิ่มเติมโดยมีนายยรรยง พวงราช รองปลัด
                 กระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

**การตรวจสอบมีขั้นตอนและรายละเอียดข้อเท็จจริง

1.1 บริษัท ชินคอร์ป มีหุ้นซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 23
      มกราคม 2549 บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้
      เข้าซื้อหุ้นในบริษัท ชินคอร์ป จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และต่อมาบริษัท ซีดาร์ฯ และบริษัท
      แอสเพนฯ จำกัด ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ชินคอร์ป ซึ่งผลจากการทำ
      คำเสนอซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ซีดาร์ฯ
      (นิติบุคคลไทย) เพิ่มเป็นร้อยละ 51.98 และบริษัทแอสเพนฯ (คนต่างด้าว) เพิ่มเป็น
      ร้อยละ 44.14 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นรายย่อยร้อยละ 3.88

      เนื่องจากผู้ถือหุ้นที่เข้าถือหุ้นในบริษัท ชินคอร์ป มีการถือหุ้นที่เกี่ยวโยงกันหลายทอด
      ดังนี้

      1.1.1 ผู้ถือหุ้นชั้นแรกในบริษัท ชินคอร์ป ประกอบด้วย บริษัท ซีดาร์ฯ และ บริษัท
              แอสเพนฯ

      1.1.2 ผู้ถือหุ้นชั้นที่สองซึ่งถือหุ้นในบริษัท ซีดาร์ฯ ประกอบด้วย บริษัท กุหลาบแก้ว
              จำกัด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด

      1.1.3 ผู้ถือหุ้นชั้นที่สามซึ่งถือหุ้นในบริษัท กุหลาบแก้ว ประกอบด้วย นายพงส์ สารสิน
              นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล บริษัท ไซเพรสฯ (คนต่างด้าว)
              และผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น

1.2 หนังสือร้องเรียนได้ร้องเรียนว่าผู้ถือหุ้นในชั้นที่สอง คือบริษัท กุหลาบแก้ว อาจมีคนไทย
     ถือหุ้นแทนคนต่างด้าวทำให้บริษัท กุหลาบแก้ว มีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยและส่งผล
     ทำให้บริษัท ซีดาร์ฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นชั้นแรก และบริษัท ชินคอร์ป เป็นนิติบุคคลไทยด้วย
     จึงได้ดำเนินการตรวจสอบบริษัท กุหลาบแก้ว โดยมีรายละเอียดและข้อเท็จจริงที่ได้จาก
     การตรวจสอบดังนี้

     1.2.1 การตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนนิติบุคคลเกี่ยวกับการถือหุ้น การเพิ่มทุนและ
             ที่ตั้งสำนักงานบริษัท ปรากฏว่าบริษัท กุหลาบแก้ว จดทะเบียนเมื่อวันที่ 17
             มกราคม 2549 โดยมีรายละเอียดดังนี้

             (1) จดทะเบียนตั้งบริษัทโดยครั้งแรกมีทุนจดทะเบียน 100,000 บาท (แบ่งเป็น
                   10,000 หุ้น) และมีผู้ถือหุ้น 8 คน ประกอบด้วย

                   - นายสมยศ สุธีรพรชัย ถือหุ้นกลุ่ม ก (หุ้นบุริมสิทธิ) 5,000 หุ้น
                   - บริษัท ไซเพรสฯ ถือหุ้นกลุ่ม ข (หุ้นสามัญ) 4,900 หุ้น
                   - นายโชติวิชญ์ งามสุวรรณ์ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - นายศุภวัฒน์ ศรีรุ่งเรือง ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.บุญยรัตน์ อภิวิศาลกิจ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.อมรรัตน์ สถาพรนานนท์ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น

              (2) เพิ่มทุนครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 เพิ่มทุนอีก 104,300,000
                   บาท รวมเป็น 164,400,000 บาท (แบ่งเป็น 16,440,000 หุ้น) โดยมี
                   ผู้ถือหุ้น 7 คน ประกอบด้วย

                   - นายพงส์ สารสิน ถือหุ้นกลุ่ม ก (หุ้นบุริมสิทธิ) 5,096,396 หุ้น (รับโอน
                     จากนายสมยศ 3,096 หุ้น และซื้อหุ้นเพิ่มทุน 5,093,300 หุ้น)
                   - นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ถือหุ้นกลุ่ม ก 3,288,000 หุ้น (รับโอนจากนาย
                     สมยศ 2,000 หุ้น และซื้อหุ้นเพิ่มทุน 3,286,000 หุ้น)
                   - บริษัท ไซเพรสฯ ถือหุ้นกลุ่ม ข 8,055,600 หุ้น (ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 8,050,700
                     หุ้น)
                   - น.ส.บุญยรัตน์ อภิวิศาลกิจ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                   - น.ส.อมรรัตน์ สถาพรนานนท์ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น

              (3) เพิ่มทุนครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 เพิ่มทุนอีก 3,835,600,000
                    บาท รวมเป็น 4,000,000,000 บาท (แบ่งเป็น 400,000,000 หุ้น) โดยมี
                    ผู้ถือหุ้น 7 คน ประกอบด้วย

                    - นายพงส์ สารสิน ถือหุ้นกลุ่ม ก 5,096,396 หุ้น
                    - นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ถือหุ้นกลุ่ม ก 3,288,000 หุ้น
                    - บริษัท ไซเพรสฯ ถือหุ้นกลุ่ม ข 119,615,600 หุ้น
                    - นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล ถือหุ้นกลุ่ม ก และ ข 272,000,001 หุ้น (รับโอน
                      จาก น.ส.อมรรัตน์ 1 หุ้น และซื้อหุ้นเพิ่มทุนกลุ่ม ข 272,000,000 หุ้น)
                    - น.ส.บุญยรัตน์ อภิวิศาสกิจ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                    - น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น
                    - น.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ ถือหุ้นกลุ่ม ก 1 หุ้น

     1.2.2 ในการถือหุ้นของบริษัท กุหลาบแก้ว มีการแบ่งการถือหุ้นออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
             ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก (หุ้นบุริมสิทธิ) และผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข (หุ้นสามัญ) ซึ่งข้อบังคับของ
             บริษัทกำหนดสิทธิผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก ไว้แตกต่างจากหุ้นกลุ่ม ข ดังนี้

             (1) ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข ผู้ถือหุ้นไม่อาจขาย โอนสิทธิ โอน จำนำ หรือจำหน่าย
                  โดยวิธีการอื่น หรือก่อภาระผูกพันในหุ้นของบริษัท เว้นแต่จะได้รับความยินยอม
                  จากคณะกรรมการ

             (2) ในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงโดยวิธี
                  ชูมือหรือโดยการลงคะแนนลับ ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก แต่ละรายมีสิทธิออกเสียง 1
                  เสียง สำหรับ 10 หุ้น ซึ่งตนเองเป็นผู้ถือ ผู้ถือหุ้น กลุ่ม ข แต่ละรายมีสิทธิ
                  ออกเสียง 1 เสียง สำหรับ 1 หุ้น ที่ตนเองเป็นผู้ถือ

             (3) ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก จะได้รับเงินปันผลอันเป็นส่วนแบ่งผลกำไรของบริษัทก่อน
                  ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ข ในอัตราร้อยละ 3 ตามจำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก ได้ลงหุ้นไว้
                  กับบริษัท

             (4) เงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก ในแต่ละปีนั้นจะจ่ายในอัตราที่กำหนดไว้
                  เท่านั้น และจะไม่มีการจ่ายเงินปันผลเพิ่มเติมอีกสำหรับหุ้นกลุ่ม ก

             (5) การคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นหลังจากบริษัทได้เลิกแล้ว ทรัพย์สินนั้นจะต้องได้รับ
                  การแจกจ่ายตามสัดส่วนที่เท่าเทียมกันในระหว่างผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ดี
                  สำหรับผู้ถือหุ้นกลุ่ม ก จะได้รับคืนเงินไม่เกินสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ได้ลง
                  ไว้กับบริษัท

     1.2.3 การตรวจสอบหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้น ที่มาของเงินค่าหุ้นและอำนาจการเบิก
             จ่ายเงินในบัญชีธนาคารของบริษัท ซึ่งปรากฏรายละเอียดดังนี้

             1) มีหนังสือขอให้บริษัท กุหลาบแก้ว ส่งหลักฐานเกี่ยวกับการชำระเงินค่าหุ้น
                  ของผู้ถือหุ้นในบริษัทรวม 2 ครั้ง ดังนี้

                  (1) หลักฐานการรับเงินและจ่ายเงินทั้งหมดตั้งแต่จัดตั้งบริษัทจนถึงวันที่นำส่ง
                       เอกสาร รวมทั้งหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นตั้งแต่จัดตั้งบริษัทจนถึงการ
                       เพิ่มทุนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ของผู้ถือหุ้นคนไทยทั้งบุคคลธรรมดา
                       และนิติบุคคล ตลอดจนหลักฐานการจ่ายเงินในการลงทุนในบริษัทอื่น
                  (2) สมุดบัญชีรายวันรับเงินและจ่ายเงินตั้งแต่จัดตั้งบริษัทจนถึงวันที่นำส่ง
                       เอกสาร รวมทั้งสมุดบัญชีบันทึกเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและการรับชำระ
                       ค่าหุ้น
                  (3) ใบแจ้งรายการบัญชีของธนาคาร (Bank Statements) ของทุกธนาคาร
                       ที่บริษัทเปิดบัญชีไว้ตั้งแต่จัดตั้งบริษัทจนถึงวันที่นำส่งเอกสาร

              2) บริษัท โดยนายเอส ไอสวาราน กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท
                  ได้ส่งหลักฐานไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่รวม 3 ครั้ง (แต่ไม่ได้ส่งสมุดบัญชี
                  รายวันรับเงินและจ่ายเงินตั้งแต่จัดตั้งบริษัทจนถึงวันที่นำส่งเอกสาร รวมทั้ง
                  สมุดบัญชีบันทึกเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและการรับชำระค่าหุ้น) ดังนี้

                  (1) ใบแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักรัชโยธิน
                       เลขที่ 111-3-06054-7 และใบแจ้งรายการบัญชีออมทรัพย์ เลขที่
                       111-2-74044-1
                  (2) สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้นและสำเนาใบหุ้น
                  (3) สำเนาหลักฐานการรับชำระเงินค่าหุ้น

           จากหลักฐานที่ส่งดังกล่าวทำให้ทราบว่า บริษัทได้เปิดบัญชีกับธนาคารไทยพาณิชย์
           จำนวน 2 บัญชี คือ บัญชีเดินสะพัด และบัญชีออมทรัพย์ และบริษัทได้รับชำระค่า
           หุ้นจากนายพงส์ สารสิน และผู้ถือหุ้นคนไทยรายอื่นเป็นเงินสด ได้รับชำระค่าหุ้นจาก
           บริษัท ไซเพรสฯ เป็นเงินโอน ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับชำระค่าหุ้นตามหลักฐาน
           ใบรับชำระเงินค่าหุ้นไม่สอดคล้องกับใบแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร ที่
           บริษัทส่งมาพร้อมกัน ซึ่งปรากฏว่าการรับชำระเงินค่าหุ้นทั้งหมดเป็นเงินโอนเข้า
           บัญชีบริษัทในยอดเดียวกันจำนวน 131,540,000 บาท

     1.2.4 ต่อมาได้มีหนังสือขอให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ไปชี้แจงและส่งหลักฐานเกี่ยวกับ
             บัญชีของบริษัท กุหลาบแก้ว บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ฯ และบริษัท ไซเพรสฯ รวม
             3 ครั้ง คือวันที่ 30 มีนาคม 2549 วันที่ 12 เมษายน 2549 และวันที่ 27 มิถุนายน
             2549 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้มอบหมายให้นายศิริชัย สมบัติศิริ และ น.ส.กล้วยไม้
             เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้ไปชี้แจง 1 ครั้ง และส่งหลักฐาน 1 ครั้ง และจากการ
             ชี้แจง รวมทั้งหลักฐานที่ส่ง ปรากฏว่า

             (1) เงินโอนเข้าบัญชีบริษัท กุหลาบแก้ว จำนวน 131,540,000 บาท (ซึ่งเป็น
                  จำนวนเงินที่เท่ากับจำนวนเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นในขณะตั้งบริษัท นายพงส์
                  สารสิน และบริษัท ไซเพรสฯ ต้องชำระค่าหุ้นให้กับบริษัท) เป็นเงินที่โอนมา
                  จากบัญชีเดินสะพัดเลขที่ 111-3-06044-0 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนัก
                  รัชโยธิน ของบริษัท ไซเพรสฯ

             (2) ตามใบแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดเลขที่ 111-3-06044-0 ธนาคารไทยพาณิชย์
                  สาขาสำนักรัชโยธิน ของบริษัท ไซเพรสฯ มียอดเงินจำนวน 32,860,000 บาท
                  (ซึ่งเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินที่นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ กู้ไปจากธนาคารไทย-
                  พาณิชย์ เพื่อไปชำระค่าหุ้นในบริษัท กุหลาบแก้ว ) โอนไปเข้าบัญชีออมทรัพย์
                  เลขที่ 111-2-74724-3 ธนาคารสาขาเดียวกันของบริษัท ไซเพรสฯ

                  นอกจากนี้แหล่งที่มาของเงินที่เข้ามาในบัญชีของบริษัท ไซเพรสฯ และบริษัท
                  ไซเพรสฯ โอนไปเข้าบัญชีของบริษัท กุหลาบแก้ว ตาม 2.4 (1) และเงินที่
                  บริษัท ไซเพรสฯ ใช้ค้ำประกันเงินกู้ของนายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ตาม 2.4 (2)
                  รวมทั้งเงินที่บริษัท ไซเพรสฯ จ่ายชำระค่าหุ้นในบริษัท ซีดาร์ เป็นเงินโอนมา
                  จากแหล่งเดียวกันคือ FULLERTON PRIVATE LIMITED ซึ่งเป็นบริษัทใน
                  กลุ่ม TEMASEK ประเทสสิงคโปร์

             (3) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ กู้เงินตามสัญญาเงินกู้เลขที่
                  111-3-144349-9 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2549 จำนวน 32,860,000 บาท
                  อัตราดอกเบี้ย MRR +3.5 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ในขณะทำสัญญาเท่ากับ
                  ร้อยละ 7.25 ต่อปี) โดยจำนำสิทธิบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่
                  111-2-74724-3 ของบริษัท ไซเพรสฯ และค้ำประกันเงินกู้โดยบริษัท ไซเพรสฯ

             (4) เงินค่าหุ้นของนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล จำนวน 2,720,000,100 บาท เป็น
                  เงินโอน BAHTNET TRN, LP BKHQ 48764 จากธนาคารฮ่องกงและ
                  เซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตามคำสั่งของนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล
                  ต่อมาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ได้มีหนังสือสอบถามธนาคารฮ่องกงและ
                  เชี่ยงไฮ้แบงกิ้งฯ และเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 ธนาคารแจ้งให้ทราบว่า
                  ธนาคารได้รับคำสั่งโอนเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 จากชื่อบัญชี
                  Fairmont Investments Group Inc. (ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งที่
                  หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ โดยมีบริษัท กรีนแลนด์ จำกัด แต่ผู้เดียวมี
                  อำนาจกระทำการแทนบริษัท และได้มอบอำนาจให้นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล
                  เป็นผู้ดำเนินการกองทุนของบริษัท) ธนาคาร Credit Suisse, Singapore
                  จำนวน 70 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับ 2,730 ล้านบาท) เพื่อเข้า
                  บัญชีเลขที่ 001-446277-200 ของนายสุรินทร์ อุปพัธทกุล และในวันเดียวกับ
                  นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล ได้สั่งโอนเงินจำนวน 2,720,000,100 บาท ผ่าน
                  BAHTNET เข้าบัญชีบริษัท กุหลาบแก้ว เลขที่ 111-2-74644-1 ธนาคาร
                  ไทยพาณิชย์ สาขาสำนักรัชโยธิน

             (5) ตั้งแต่เปิดบัญชีเป็นต้นมา ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินในบัญชีธนาคารของบริษัท
                  กุหลาบแก้ว บริษัท ซีดาร์ฯ และบริษัท ไซเพรส ฯเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน คือ
                  บุคคล 2 ใน 3 ดังต่อไปนี้

                  1. Mr. S. Isawaran
                  2. Ms. Tan Ai Ching
                  3. Ms. Chie Yuo Jeo

                  ซึ่งผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินของบริษัท กุหลาบแก้ว และบริษัท ซีดาร์ฯ แตกต่าง
                  ไปจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนบริษัทไว้ กล่าวคือ

                  บริษัท กุหลาบแก้ว มีกรรมการ 3 คน คือ นางพงส์ สารสิน นายเอส ไอสวาราน
                  และ น.ส.ไช ยู จู และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท คือ กรรมการสอง
                  คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ต่อมาได้เปลี่ยนแปลง
                  กรรมการเป็นนายเอส ไอสวาราน นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล และนางสุธีรา
                  อุปพัทธางกูร และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท คือ กรรมการสองคน
                  ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทและต่อมาได้เปลี่ยนแปลง
                  กรรมการเป็น นายฟุน ซิว เฮง

                  นายสุรินทร์ อุปพัทธกูร และนางสุธีรา อุปพัทธางกูร และกรรมการผู้มีอำนาจ
                  กระทำแทนบริษัท คือ กรรมการสองคนลงลายมือชื่อรร่วมกันและประทับตรา
                  สำคัญของบริษัท

                  บริษัท ซีดาร์ฯ มีกรรมการ 4 คน คือ นายเอส ไอสวาราน และนายบดินทร์
                  อัศวาณิชย์ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท คือ กรรมการสองคนลง
                  ลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ต่อมาได้เปลี่ยนแปลง
                  กรรมการเป็น นายเอส ไอสวาราน น.ส.ทาน ไอ ชิง นายบดินทร์ อัศวาณิชย์
                  และนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท คือ
                  กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ปัจจุบัน
                  กรรมการบริษัท คือ นายฟุน ซิว เฮง น.ส.ทาน ไอ ชิง นายบดินทร์ อัศวาณิชย์
                  และนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท คือ
                  กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท

     1.2.5 บริษัท กุหลาบแก้ว บริษัท ซีดาร์ฯ บริษัท ไซเพรสฯ และบริษัท แอสเพนฯ ทั้ง 4
             บริษัท ซึ่งเกี่ยวข้องในกรณีการเข้าถือหุ้นในบริษัท ชินคอร์ป มีสำนักงานแห่งใหญ่
             ตั้งอยู่ในที่เดียวกับเลขที่ 21/125-128 อาคารไทยวาทาวเวอร์ 2 ชั้น 17 ถนน
             สาทรใต้ แขวงทุ่มหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท
             ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยมส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และต่อมาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549
             บริษัท ฮันตันฯ ได้จดทะเบียนย้ายสำนักงานไปอยู่เลขที่ 1 อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี
             ชั้น 34 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

     1.2.6 ต่อมาได้มีหนังสือขอให้ผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท กุหลาบแก้วและบริษัท
             ซีดาร์ฯ ไปชี้แจงข้อเท็จจริงรวม 10 คน คือ นายพงส์ สารสิน นายเอส ไอสวาราน
             น.ส.ไช ยู จู นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ นางสุธีรา อุปพัทธางกูร
             น.ส.บุญยรัตน์ อภิวิศาลกิจ น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ น.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ และ
             น.ส.พิณประภัสร์ จาติกวนิช

             กรรมการและผู้ถือหุ้นได้ไปชี้แจงข้อเท็จจริง 8 คน คือ นายพงส์ สารสิน นายสุรินทร์
             อุปพัทธกุล นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ นางสุธีรา อุปพัทธางกูร นา.ส.บุญยรัตน์
             อภิวิศาลกิจ น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ น.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ และ น.ส.พิณประภัสร์
             จาติกวนิช และไม่ไปชี้แจง 2 คน คือ นายเอส ไอสวาราน และ น.ส.ไช ยู จู โดย
             มีรายละเอียดของการชี้แจงของแต่ละคนสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

             (1) นายพงส์ สารสิน
                  การลงทุนในบริษัท กุหลาบแก้ว กลุ่มบริษัท ไซเพรสฯ โดย นายเอส ไอสวาราน
                  ตัวแทนของกลุ่มเทมาเส็ก เป็นผู้ชักชวนโดยซื้อหุ้นมาจากนายสมยศ สุธีรพรชัย
                  ทนายความของบริษัท ไซเพรสฯ จำนวน 3,000 หุ้น และชำระค่าหุ้นเป็นเงิน
                  สดให้นายสมยศ สุธีรพรชัย ประมาณ 30,000 บาท ต่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีก
                  50 กว่าล้านบาทเศษ และชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนโดยจ่ายเป็นเช็คธนาคารไทย-
                  พาณิชย์ สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 1419468 ลงวันที่ 20 มกราคม 2549
                  จำนวน 50,933,000 บาท คืนให้แก่บริษัท ไซเพรสฯในวันเดียวกันที่บริษัท
                  ไซเพรสฯ ได้ทดรองจ่ายค่าหุ้นให้ไปก่อน (ซึ่งจากการตรวจสอบใบแจ้ง
                  รายการบัญชีเดินสะพัดของนายพงส์ สารสิน เช็คฉบับดังกล่าวได้ตัดจ่ายจาก
                  บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549)

                  เหตุผลที่ถือหุ้นบุริมสิทธิที่ด้อยกว่าสิทธิของหุ้นสามัญ เนื่องจากเป็นหุ้นประเภท
                  ที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลแน่นอนร้อยละ 3 ต่อปี และเป็นประเภทปันผลสะสม
                  ซึ่งคุ้มค่าทางธุรกิจและใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารในขณะนั้น อีกทั้ง
                  ในการควบคุมบริษัทได้แก่ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท และประชุมผู้
                  ถือหุ้นจะต้องมีผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเข้าประชุมด้วยทุกครั้ง นอกจากนี้ยังมีสิทธิ
                  เปลี่ยนหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญได้ภายใน 1 ปี และมีข้อตกลงให้นายพงส์
                  สารสิน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัท ชินคอร์ปอีกด้วย

             (2) นายศุภเดช พูนพิพัฒน์
                  การลงทุนในบริษัท กุหลาบแก้ว ได้มีการเจรจาระหว่างกลุ่มต่างประเทศ คือ
                  บริษัท ไซเพรสฯและกลุ่มคนไทย คือ นายพงส์ สารสิน และนายศุภเดช
                  พูนพิพัฒน์ โดยนายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ใช้เวลาในการตัดสินใจร่วมลงทุนประมาณ
                  2-3 สัปดาห์ เนื่องจากเคยเป็นกรรมการตรวจสอบของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
                  เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท
                  ชินคอร์ป โดยซื้อหุ้นจากนายสมยศ สุธีรพรชัย จำนวน 2,000 หุ้น และชำระ
                  ค่าหุ้นเป็นเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ จำนวน 20,000 บาท
                  สั่งจ่ายเข้าบัญชีให้นายสมยศ สุธีรพรชัย และต่อมาได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท
                  และชำระค่าหุ้นเป็นเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์ สั่งจ่ายให้
                  บริษัท กุหลาบแก้ว

                  เงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นเงินส่วนตัวของนายศุภเดช พูนพิพัฒน์ โดยกู้จากธนาคาร
                  ไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ อัตราดอกเบี้ย MRR -3.3 ต่อปี โดยไม่มี
                  หลักทรัพย์ค้ำประกัน และต้องชำระเงินกู้คืนทั้งหมดภายใน 5 ปี (จากการ
                  ตรวจสอบหลักฐานหนังสือชี้แจงของธนาคารไทยพาณิชย์ ลงวันที่ 30
                  มิถุนายน 2549 ชี้แจงว่าธนาคารได้ให้นายศุภเดช กู้เงินตามสัญญาเงินกู้เลขที่
                  111-3-144349-9 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2549 จำนวน 32,860,000 บาท
                  อัตราดอกเบี้ย MRR+3.5 ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MRR. ในขณะทำสัญญาเท่ากับ
                  ร้อยละ 7.25 ต่อปี โดยจำนำสิทธิบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่
                  111-2-74724-3 ของบริษัท ไซเพรสฯและค้ำประกันเงินกู้โดยบริษัท ไซเพรสฯ
                  ซึ่งต่อมาภายหลังการตรวจสอบนายศุภเดช ได้มีหนังสือลงวันที่ 30 มิถุนายน
                  2549 ชี้แจงเพิ่มเติมว่านายศุภเดชไม่ทราบว่าเงินกู้จำนวน 32,860,000 บาท
                  ที่นายศุภเดชกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์ไปนั้น บริษัท ไซเพรสฯได้เข้าค้ำประกัน
                  เงินกู้ดังกล่าว และนายศุภเดชได้ชำระเงินกู้คืนธนาคารไทยพาณิชย์ ไปทั้งหมด
                  แล้ว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2549)

                  หุ้นที่นายศุภเดชถือเป็นประเภทหุ้นบุริมสิทธิและมีเหตุผลที่ถือหุ้นประเภทนี้
                  เช่นกับนายพงส์ สารสิน

             (5) นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล
                  การลงทุนในบริษัท กุหลาบแก้ว ได้รับการชักชวนจากโกลด์แมนแซค ซึ่งเป็น
                  ที่ปรึกษาการลงทุนที่ประเทศสิงคโปร์ และก่อนที่จะร่วมลงทุนได้มาพบและ
                  เจรจาการเข้าร่วมลงทุนกับ นายพงส์ สารสิน ซึ่งนายพงส์ก็ยินดีที่นายสุรินทร์
                  ร่วมลงทุนด้วย โดยนายสุรินทร์ถือหุ้นสามัญจำนวน 272 ล้านหุ้น และหุ้น
                  บุริมสิทธิ จำนวน 1 หุ้น รวมถือหุ้นประมาณร้อยละ 68 และจ่ายเงินค่าหุ้นด้วย
                  เงินของนายสุรินทร์เอง (ซึ่งจากการตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีของ
                  บริษัท กุหลาบแก้ว ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ นำส่งปรากฏว่าเงินค่าหุ้นจำนวน
                  2,720,100 บาท เป็นเงินโอน BAHTNET TRN, LP BKHQ 48764 จาก
                  ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตามคำสั่งของนาย
                  สุรินทร์ และเงินดังกล่าวเป็นเงินโอนตามคำสั่งมาจากบัญชี Fairmont
                  Investments Group Inc.ธนาคาร Credit Suisse, Singapore อีกทอดหนึ่ง)

                  หลักฐานการจดทะเบียนบริษัท แฟร์มอนท์ อินเวสท์เมนท์ส กรุ๊ป จำกัด
                  ปรากฏว่า บริษัท แฟร์มอนท์ฯ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่อาณาเขตหมู่เกาะ
                  บริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 สำนักงานตั้งอยู่
                  เลขที่ ปณ. 905 โร้ด ทาวน์ ทอร์โทลา หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ไอร์แลนด์
                  ทุนจดทะเบียน 50,000 เหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น 50,000 หุ้น หุ้นละ 1 เหรียญ
                  สหรัฐ มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจหลัก คือบริษัทร่วมลงทุน โดยบริษัท
                  กรีนแลนด์ จำกัด แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และตามหนังสือ
                  มอบอำนาจบริษัท กรีนแลนด์ จำกัด ได้มอบอำนาจให้นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล
                  เป็นผู้กระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของบริษัท

             (4) นางสุธีรา อุปพัทธางกูร
                  นางสุธีรา อุปพัทธางกูร เกี่ยวข้องเป็นกรรมการบริษัท กุหลาบแก้ว แต่ไม่ได้
                  เป็นผู้ถือหุ้นที่เข้ามาเป็นกรรมการ เนื่องจากนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล ซึ่งเป็น
                  น้องชายได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท กุหลาบแก้ว ขอให้มาเป็นกรรมการ
                  นางสุธีรา เป็นกรรมการที่ไม่มีอำนาจในการเบิกจ่ายเงินของบริษัทและเพิ่งเข้า
                  มาเป็นกรรมการจึงยังไม่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ในบริษัทและไม่เคยไป
                  ที่สำนักงานของบริษัท กุหลาบแก้ว

             (5) น.ส.พิณประภัสร์ จาติกวนิช
                  น.ส.พิณประภัสร์ จาติกวนิช เป็นผู้เริ่มก่อการและถือหุ้นจำนวน 1 หุ้นในบริษัท
                  ซีดาร์ฯ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัท โดยนายสมยศ สุธีรพรชัย เป็นผู้ชำระค่าหุ้นแทน
                  ให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เทมาเส็ก ที่มาจากประเทศสิงคโปร์
                  และกลุ่มที่เป็นคนไทย จำชื่อไม่ได้เพราะมีการเพิ่มทุนภายหลังและคณะ
                  กรรมการเอาหุ้นที่เพิ่มไปขายให้กับใครกรรมการยังไม่ได้แจ้งให้ทราบ

                  น.ส.พิณประภัสร์ รู้จัก น.ส.บุญรัตน์ อภิวิศาลกิจ น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ
                  และน.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นพนักงานในบริษัท
                  ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยมส์ (ไทยแลนด์) จำกัดด้วยกัน

             (6) น.ส.บุญรัตน์ อภิวิศาลกิจ น.ส.สายฝน เจริญเกียรติ และ น.ส.อรุณี ธำรงค์ธนกิจ
                  ได้มอบอำนาจให้นายสมยศ สุธีรพรชัย เป็นผู้ชี้แจงแทน

                  น.ส.บุญรัตน์ น.ส.สายฝน และ น.ส.อรุณี เป็นพนักงานของบริษัท ฮันตัน แอนด์
                  วิลเลี่ยม (ไทยแลนด์) จำกัด เกี่ยวข้องเป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นคนละ 1 หุ้น
                  ในบริษัท กุหลาบแก้ว และบริษัท ซีดาร์ฯ และนายสมยศ สุธีรพรชัย เป็นผู้ชำระ
                  ค่าหุ้นเป็นเงินสดแทนให้

ที่มา มติชน วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10412

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0105120949
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 12-09-2006, 19:42 »

ไม่ว่าผลสอบจะออกมาอย่างไร  แต่ถ้าผู้รักษากฎหมาย ไม่ดำเนินการก็ไม่มีประโยชน์ค่ะ  รายนี้ก็เช่นกัน หากระบอบทักษิณยังอยู่ จะมีการบิดเบี้ยวให้ถูกจนได้ค่ะ 
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #2 เมื่อ: 12-09-2006, 19:53 »

เปิดปมค่าหุ้น "กุหลาบแก้ว" โอนจากสิงคโปร์
"ค้ำประกัน-ให้กู้" 2 ผู้ถือหุ้นไทย ผ่าน บ.ไซเพรส - ธ.ไทยพาณิชย์


เผยผลสอบ "บ. กุหลาบแก้ว" พบเงินค่าหุ้นของคนไทยมาจาก บ. ไซเพรสฯ
ค้ำประกัน-ให้กู้ 2 คนไทย ส่วน "ดะโต๊ะสุรินทร์" โอนจาก บ. แฟรมอนท์ ซึ่ง
จดทะเบียนที่เกาะบริติช เวอร์จิ้น พบพิรุธมีที่อยู่เดียวกับ "แอมเพิลริชและ
วินมาร์ค"


ผลสอบการถือหุ้นแทน (นอมินี) ในบริษัทที่เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด
(มหาชน) จากตระกูลชินวัตร โดยเฉพาะบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจได้สรุป
ผลเบื้องต้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยพบข้อมูลเส้นทางเงินของผู้ถือหุ้นในบริษัท
กุหลาบแก้ว อาจจะเป็นเงินของบริษัทต่างด้าว และผู้ถือหุ้นบางคนน่าเชื่อว่าจะเป็นนอมินีของ
ต่างด้าว (กองทุนเทมาเส็ก จากสิงคโปร์) และทางกรมพัฒนาธุรกิจเสนอให้กระทรวงพาณิชย์
แจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวน แต่ปรากฏว่าทางกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งคณะทำ
งานขึ้นมาสอบเพิ่มเติมอีก โดยมีนายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน

ทั้งนี้ พบว่า 4 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหุ้นชินคอร์ป คือบริษัท กุหลาบแก้ว บริษัท ซีดาร์
โฮลดิ้งส์ บริษัท ไซเพรส โฮลดิ้งส์ และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ มีสำนักงานตั้งอยู่ในที่เดียว
กัน คือเลขที่ 21/125-128 อาคารไทยวาทาวเวอร์ 2 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ
เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท ฮันตัน แอนด์ วิลเลี่ยมส์ (ไทยแลนด์)
จำกัด และต่อมาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 บริษัท ฮันตันฯ ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่เลขที่
1 อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ชั้น 34 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ส่วนการตรวจสอบหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นของบริษัท กุหลาบแก้ว พบว่ามีเงินโอนเข้า
บัญชีบริษัท กุหลาบแก้ว จำนวน 131,540,000 บาท (เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินค่าหุ้นที่
ผู้ถือหุ้นของบริษัท) เป็นเงินที่โอนมาจากบัญชีเดินสะพัดเลขที่ 111-3-06044-0 ธนาคาร
ไทยพาณิชย์ สาขาสำนักรัชโยธิน ของบริษัท ไซเพรสฯ และรายการบัญชีเดินสะพัดเลขที่
111-3-06044-0 ของบริษัท ไซเพรสฯ มียอดเงิน 32,860,000 บาท (ซึ่งเป็นจำนวนเงิน
เท่ากับเงินที่นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ กู้ไปจากธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อไปชำระค่าหุ้นในบริษัท
กุหลาบแก้ว) โอนไปเข้าบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 111-2-74724-3 ธนาคารสาขาเดียวกันของ
บริษัท ไซเพรสฯ

ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ให้นายศุภเดชกู้เงินเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2549 จำนวน
32,860,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR +3.5 ต่อปี โดยจำนำสิทธิบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
เลขที่ 111-2-74724-3 ของบริษัท ไซเพรสฯ และค้ำประกันเงินกู้โดยบริษัท ไซเพรสฯ โดย
นายศุภเดชชี้แจงว่า เงินค่าหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นเงินส่วนตัว โดยกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์
อัตราดอกเบี้ย MRR -3.3 ต่อปี โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และต้องชำระเงินกู้คืนภายใน 5
ปี แต่ต่อมาภายหลังนายศุภเดชมีหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมว่าตัวเองไม่ทราบว่าเงินกู้ดังกล่าว มี
บริษัท ไซเพรสฯเข้าค้ำประกัน และตนเองได้ชำระเงินกู้คืนไปทั้งหมดแล้ว เมื่อวันที่ 27
มิถุนายน 2549

ส่วนนายพงส์ สารสิน ชี้แจงว่า ซื้อหุ้นจากนายสมยศ สุธีรพรชัย ทนายความของบริษัท
ไซเพรสฯ จำนวน 3,000 หุ้น และชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด ต่อมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีกกว่า 50 ล้าน
บาท และชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนโดยจ่ายเป็นเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนวิทยุ ลงวันที่
20 มกราคม 2549 จำนวน 50,933,000 บาท คืนให้แก่บริษัท ไซเพรสฯ ในวันเดียวกันที่
บริษัท ไซเพรสฯ ได้ทดรองจ่ายค่าหุ้นให้ไปก่อน แต่จากการตรวจสอบพบว่าเช็คฉบับดังกล่าว
ได้ตัดจ่ายจากบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549

สำหรับเงินค่าหุ้นของนายสุรินทร์ อุปพัทธกุล หรือดะโต๊ะสุรินทร์ จำนวน 2,720,000,100 บาท
พบว่าเป็นเงินโอน BAHTNET TRN, LP BKHQ 48764 จากธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง
คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตามคำสั่งของนายสุรินทร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 โดยธนาคาร
ได้รับคำสั่งโอนเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 จากชื่อบัญชี Fairmont Investments
Group Inc. (บริษัท แฟร์มอนท์ อินเวสเมันท์ส กรุ๊ป จดทะเบียน ตู้ ปณ. 905 โร้ด ทาวน์,
ทอร์โทลา หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ โดยมีบริษัท กรีนแลนด์ จำกัด แต่ผู้เดียวมีอำนาจ
กระทำการแทนบริษัท และได้มอบอำนาจให้นายสุรินทร์ เป็นผู้ดำเนินการกองทุนของบริษัท)
โดยธนาคาร Credit Suisse, Singapore จำนวน 70 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับ
2,730 ล้านบาท) เพื่อเข้าบัญชีเลขที่ 001-446277-200 ของนายสุรินทร์ และในวันเดียวกัน
นายสุรินทร์ ได้สั่งโอนเงินจำนวน 2,720,000,100 บาท ผ่าน BAHTNET เข้าบัญชีบริษัท
กุหลาบแก้ว เลขที่ 111-2-74644-1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสำนักรัชโยธิน

"แหล่งที่มาของเงินที่เข้ามาในบัญชีของบริษัท ไซเพรสฯ และบริษัท ไซเพรสฯ โอนไปเข้า
บัญชีของบริษัท กุหลาบแก้ว และเงินที่บริษัท ไซเพรสฯ ใช้ค้ำประกันเงินกู้ของนายศุภเดช
รวมทั้งเงินที่บริษัท ไซเพรสฯ จ่ายชำระค่าหุ้นในบริษัท ซีดาร์ฯ เป็นเงินโอนมาจากแหล่ง
เดียวกันคือ FULLERTON PRIVATE LIMITED ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม TEMASEK (เทมาเส็ก)
ประเทศสิงคโปร์ "

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัท แฟร์มอนท์ฯ มีที่อยู่เดียวกับบริษัท แอมเพิลริช
อินเวสต์เมนส์ จำกัด และบริษัท วินมาร์ก จำกัด ซึ่ง 2 บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น
ชินคอร์ปและธุรกิจอื่นๆ ของตระกูลชินวัตร

วันเดียวกัน เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีที่มีข่าวว่า กลุ่มเทมาเส็กมีการถือหุ้น
ในบริษัทชินคอร์ปถึง 96% ว่า เป็นความเข้าใจผิด โดยข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์ของเทมาเส็ก
ก่อนหน้านี้ คณะผู้ถือหุ้นประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท กุหลาบแก้ว และเทมาเส็ก
ร่วมกันถือหุ้นชินคอร์ปจำนวน 96% ผ่าน 2 บริษัท คือบริษัท ซีดาร์ฯ และบริษัท แอสเพนฯ
ดังนั้น เพื่อป้องกันการสับสน ขณะนี้เทมาเส็กฯ ได้ปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ล่าสุดลงวันที่ 31
มีนาคม 2549 ว่า บริษัทถือหุ้นชินคอร์ปจำนวน 44% โดยเป็นการถือโดยตรงของบริษัท
แอสเพนฯ ส่วนหุ้นอีก 52% ถือโดยซีดาร์ฯ ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่และควบคุมโดยบริษัทกุหลาบแก้ว
และธนาคารไทยพาณิชย์

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10412
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #3 เมื่อ: 12-09-2006, 20:36 »

ขอเห็นต่างจากคุณ พรรณชมพู นะคะ

Have a little faith in me เอ๊ย in our people

คนดีในประเทศนี้อาจมีน้อยไปหน่อย
แต่ก็ต้องมีค่ะ

มีคำกล่าวว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี”
เชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ก็เช่นกัน

ธรรมย่อมชนะอธรรม

ใครทำกรรมอย่างไรไว้
ย่อมได้รับผลเช่นนั้นค่ะ
ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง  Cool
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-09-2006, 01:34 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 12-09-2006, 21:41 »

ผมคิดว่ากลุ่มพันธมิตรคงดำเนินการรวบรวมหลักฐานฟ้องแน่นอนครับ จะช้าจะเร็วเท่านั้นระบอบทักษิณต้องโดนตัดน้ำเลี้ยงจนเน่าไปเอง

"ศัตรูของศัตรูต้องถือเป็นมิตร"
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #5 เมื่อ: 12-09-2006, 22:11 »

http://www.temasekholdings.com.sg/our_investments/linked_companies.htm
บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 13-09-2006, 00:49 »

ขอเห็นต่างจากคุณ พรรณชมพู นะคะ

Have a little faith in me เอ๊ย in our people

คนดีในประเทศนี้อาจมีน้อยไปหน่อย
แต่ก็ต้องมีค่ะ

มีคำกล่าวว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี”
เชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์ ก็เช่นกัน

ธรรมย่อมนะอธรรม

ใครทำกรรมอย่างไรไว้
ย่อมได้รับผลเช่นนั้นค่ะ
ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง  Cool



จริง
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 13-09-2006, 21:42 »

กรุงศรีอยุธยาไม่เคยสิ้นคนดี เห็นด้วย

แต่ถ้าคนดีอยู่เฉยๆ เป็นกลาง ปล่อยให้คนชั่วทำอะไรตามใจชอบ โดยที่ไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อจัดการคนชั่ว มันก็เลยสิ้นไปแล้วไงครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: