รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย 2540มาตรา 135 ในการพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ ความเห็นชอบ ให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตาม
มาตรา 138 มาตรา 143 มาตรา 196 มาตรา 199 มาตรา 257 มาตรา 261 มาตรา 274 (3) มาตรา 277 มาตรา 278 มาตรา 279 (3) มาตรา 297 มาตรา 302 และ มาตรา 312 ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น คณะหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคล ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานอันจำเป็น แล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการ พิจารณาต่อไป
การดำเนินการของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม
วิธีการที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา http://www.kodmhai.com/m1/m1-121-135.htmlข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
พุทธศักราช ๒๕๔๔หมวด ๕
การดำเนินการของคณะกรรมาธิการตามมาตรา ๑๓๕ ของรัฐธรรมนูญ--------------------
ข้อ ๙๖ เมื่อมีกรณีที่วุฒิสภาจะต้องพิจารณาเลือก
แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคล
ดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้
วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่ง มี
จำนวนไม่เกินสิบเอ็ดคน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ
และความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้
ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยาน
หลักฐานอันจำเป็นสำหรับตำแหน่งนั้นเป็นกรณี ๆ ไป
ข้อ ๙๗ การตั้งกรรมาธิการสามัญตามข้อ ๙๖ ให้ตั้ง
จากสมาชิกที่คณะ กรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา
เสนอชื่อ มีจำนวนสามคน จำนวนนอกจากนั้นให้ที่
ประชุมวุฒิสภาเลือกจากรายชื่อสมาชิกที่ คณะ
กรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาเสนอจากกรรมาธิการ
คณะนั้น ๆ คณะละหนึ่งคน
ข้อ ๙๘ การประชุมคณะกรรมาธิการ ต้องมี
กรรมาธิการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
กรรมาธิการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๙๙ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบประวัติและ
ความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรง
ตำแหน่งใดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คณะ
กรรมาธิการอาจเรียกเอกสารหรือพยานหลักฐานอัน
จำเป็นจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อ
เท็จจริง หรือแสดงความเห็นได้ตามที่เห็นสมควร
ให้คณะกรรมาธิการมีหนังสือเชิญบุคคลผู้ได้รับการ
เสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
มาให้ข้อเท็จจริงหรือชี้แจงเกี่ยวกับประวัติและความ
ประพฤติที่ประสงค์จะทราบ หากปรากฏว่ามีข้อมูลหรือ
ข้อเท็จจริงอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลผู้ได้รับ
การเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญ และข้อมูลหรือข้อเท็จจริงนั้นยังไม่เป็นที่ยุติ
ให้บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตาม
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีสิทธิชี้แจงและแถลง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อความเป็นธรรม ข้อ ๑๐๐ การประชุมคณะกรรมาธิการให้กระทำ
เป็นการลับ โดยผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมและได้รับอนุญาตจาก
ประธานคณะกรรมาธิการ
ข้อ ๑๐๑ เมื่อคณะกรรมาธิการดำเนินการตามหน้าที่
เสร็จแล้ว ให้เสนอรายงานต่อประธานวุฒิสภา
รายงานของคณะกรรมาธิการดังกล่าวให้จัดทำเป็น
รายงานลับ และให้ระบุข้อมูลหรือข้อเท็จจริง พยาน
หลักฐานอันจำเป็น พร้อมรายละเอียดเป็นรายบุคคล
ข้อ ๑๐๒ เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงานของ
คณะกรรมาธิการตาม ข้อ ๑๐๑ แล้ว ให้ประธานวุฒิสภา
บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน และให้
เลขาธิการวุฒิสภาจัดส่งเฉพาะระเบียบวาระการประชุม
วุฒิสภาและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สมาชิก โดยไม่ต้อง
จัดส่งรายงานลับของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปด้วย
ข้อ ๑๐๓ ในการประชุมวุฒิสภา ให้คณะ
กรรมาธิการนำเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการต่อ
ที่ประชุมวุฒิสภา โดยให้เลขาธิการวุฒิสภาแจกจ่าย
สำเนารายงานลับของคณะกรรมาธิการให้แก่สมาชิก
เพื่อประกอบการพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภา สำเนา
รายงานลับดังกล่าว สมาชิกจะนำออกนอกห้องประชุม
มิได้
ก่อนนำเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการต่อที่
ประชุมวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมาธิการร้อง
ขอต่อที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อให้มีการดำเนินการประชุมลับ
ในกรณีที่มิได้มีการประชุมลับ ให้ประธานวุฒิสภา
สั่งงดการถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง
และหรือวิทยุโทรทัศน์ ถ้ามี และให้เลขาธิการวุฒิสภา
ส่งรายงานลับตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมาธิการ
ตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาก่อนว่าจะสมควรเปิดเผยหรือไม่ และถ้า
คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตาม
มติของวุฒิสภาเห็นว่าไม่สมควรเปิดเผยให้เลขาธิการ
วุฒิสภาแยกรายงานลับดังกล่าวออกจากรายงานการ
ประชุมวุฒิสภาและเก็บรักษาไว้ โดยจะเปิดเผยมิได้
ข้อ ๑๐๔ เมื่อที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณาเสร็จแล้ว
ให้สมาชิกส่งคืนสำเนารายงานลับของคณะกรรมาธิการ
ต่อเลขาธิการวุฒิสภาในที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อนำไป
ทำลายตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗ ต่อไป โดยให้ประธานคณะ
กรรมาธิการหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมาธิการ
มอบหมาย เป็นผู้กำกับในการทำลายนั้น
ข้อ ๑๐๕ ให้นำความในหมวด ๔ว่าด้วยกรรมาธิการ
มาใช้บังคับกับการดำเนินการของคณะกรรมาธิการโดย
อนุโลม เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้แล้วในหมวดนี้
http://www.senate.go.th/web-senate/Senate/s_05.htm********
นำขั้นตอนมาให้อ่านครับ