ประวัติ 10 ผู้ได้รับการคัดเลือกให้มีความเหมาะสมเป็น กกต.
หมายเหตุ:เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ลงมติเห็นชอบคัดเลือกผู้สมควรเป็นคณะ กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 138(2) และ (3) จำนวน 10 คน ประกอบด้วยบุค คลดังต่อไปนี้
ผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 138(2)
1.นายวิชา มหาคุณ : อายุ 60 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุ บันดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ก่อนหน้านี้เคยเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 2 ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 นอกจากนั้นยังเป็นศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2519 เคยช่วยราชการเป็นเลขานุการส่วนตัวของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ซึ่งขณะนั้นได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำ แหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังนายธานินทร์ พ้นจากตำแหน่ง ได้กลับไปรับราชการเป็นผู้พิพากษาประ จำกระทรวงยุติธรรม ช่วยราชการศาลอุทธรณ์
เมื่อครั้งเกิด วิกฤติตุลาการ ทำให้ถูกกล่าวหาว่าขัดคำสั่ง รมว.ยุติธรรม จนเป็นเหตุให้รัฐมน ตรีมีคำสั่งให้ออกจากราชการ แต่ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ไม่ให้ออกจากราชการ พร้อมกับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยถือเป็นบุค คลที่มีบทบาทในงานด้านสังคมเกี่ยวกับเรื่องเด็กและเยาวชน รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน
2.นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ : อายุ 59 ปี จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจ จุบันดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีแรงงานฯในศาลฎีกา ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 นอกจากนี้ยังเคยเป็นผู้พิพากษาเจ้า ของสำนวนและองค์คณะในคดีฟ้องเพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและสมาชิกสภาจังหวัดหลายครั้ง
รวมทั้งเคยเป็นพยานจำเลยในคดีอาญาที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องหมิ่นประมาท และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่เขียนบทความดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากที่วินิจฉัยคดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี พ้นผิดใน คดีซุกหุ้น โดยในการเบิกความนายวสันต์ ได้พาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากคนหนึ่งว่าได้มาพบเขาที่ศาลฎีกา เพื่อขอคำ ปรึกษาที่จะเขียนคำวินิจฉัยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีความผิดในคดีซุกหุ้น
นอกจากนี้ในช่วง วิกฤติตุลาการ นายวสันต์ เป็นหนึ่งในผู้พิพากษา กลุ่มยังเติร์ก ที่ร่วมสนับสนุนนายประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา ในการออกมาขับไล่นายประภาศน์ อวยชัย รมว.ยุติธรรม ในขณะนั้น โดยกล่าวหาว่านายประภาศน์ ซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่ง ตั้งโยกย้ายผู้พิพากษา
3.นายอุดม เฟื่องฟุ้ง : อายุ 67 ปี จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญากรุงเทพใต้ ก่อนหน้านี้เคยเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุท ธรณ์ รองประธานศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง เคยเป็นกรรมการตุลาการ เลขาธิการสำนักธรรมศึกษากฎหมายแพ่ง เนติบัณฑิตยสภา และเคยช่วยงาน กกต. ในสมัยที่นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็น กกต.
ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ.2540 เคยแข่งชิงเก้าอี้ ประธานศาลฎีกา กับนายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล แต่พ่ายแพ้ไปในที่สุด โดยนายอุดม ถือเป็นแกนนำในสายนายประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา นอกจาก นั้นเขายังถือเป็นหนึ่งในผู้พิพากษา กลุ่มยังเติร์ก ในช่วง วิกฤติตุลาการ เช่นเดียวกับนายวสันต์ ด้วย โดยเคยถูกตั้งกรรมการสอบสวนจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ต่อมากรรมการตุลาการได้มีมติว่าเป็นการสอบสวนโดยมิชอบและเพิกถอนการสอบสวนดังกล่าว
4.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ : อายุ 60 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา ก่อนหน้านี้เคยเป็นประธานศาลอุท ธรณ์ภาค 9 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จ.สงขลา อธิบดีผู้พิพากษาภาค 5 และอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2
5.นายสมชัย จึงประเสริฐ : อายุ 59 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลอุทธรณ์ภาค 3 อธิบดีผู้พิ พากษาภาค 7 และอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งเป็นอย่างดี เคยพิจารณาคดีเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มาหลายคดี
ผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 138(3)
6. นายประพันธ์ นัยโกวิท : อายุ 59ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ก่อนหน้านี้เคยเป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคณะ กรรมการอัยการ(ก.อ.) อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร อธิบดีอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เคยเป็นกรรมการเนติบัณฑิตยสภา กรรมการกฤษฎีกา กรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งในองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร คือ เป็นกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) บริษัทไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งอธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ เคยรับผิดชอบคดีสำคัญ อาทิ ค่าโง่ทางด่วน 6,400 ล้านบาท ด้วย นอกจากนี้ยังเคยเข้าชิงเก้าอี้ อัยการสูงสุด ในการโยกย้ายเมื่อปี 2548 แต่พลาดให้กับนายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด คนปัจจุบัน เขาเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในหมู่อัยการว่าเป็นคน ตงฉิน คนหนึ่ง
7.นายแก้วสรร อติโพธิ : อายุ 55ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทย ก่อนหน้านี้เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองอธิ การบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2539 ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งรัก ษาการสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2549 เพื่อลงสมัครเป็น กกต.
นายแก้วสรร ได้ชื่อว่าเป็น ส.ว.อิสระ ที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาล โดยออกมาโจมตี รัฐบาลทักษิณ ในหลายๆครั้ง ล่าสุดเป็นผู้จัดทำเอกสาร ชำแหละทักษิณ จนถูกตำรวจสันติบาลสั่งจับและเก็บไม่ให้มีการเผยแพร่ ในด้านความสัมพันธ์ทางการเมืองนั้นนายขวัญสรวง อติโพธิ น้องชายฝาแฝด เพิ่งได้รับเลือกเป็น ส.ว.กรุงเทพฯ
8.นางสดศรี สัตยธรรม: อายุ 60 ปี จบการศึกษานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
ก่อนหน้านี้เคยเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาพิจารณาคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีปกครองของศาลฎีกา นอกจากนี้เคยได้รับการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกา ให้เป็นผู้พิพากษาพิจารณาคดีตามข้อตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ใน พ.ศ.2547 และ พ.ศ.2549
9.นายสุเมธ อุปนิสากร : อายุ 68 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุ บันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสประจำศาลอาญากรุงเทพใต้ ก่อนหน้านี้เคยเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกา และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการใน พ.ศ.2542
10.นายนาม ยิ้มแย้ม : อายุ 70 ปี จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทย เคยเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พนักงานอัยการ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุ บลราชธานี ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ฯลฯ
ก่อนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาของ กกต.ในยุคของ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ โดยทำหน้าที่เป็นอนุกรรมการในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนคัดค้านต่างๆ แต่มาเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เพราะถูกตั้งเป็น ประธานอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนกรณีพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง และตัดสินให้ พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ผิด ทั้งๆที่ต้องขัดแย้งกับกรรมการ กกต. แต่ นาม ก็ยืนยันที่จะชี้ผลการสอบสวนตามข้อมูลที่ปรากฏ
http://www.naewna.com/news.asp?ID=20682