ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-11-2024, 15:03
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  ทัพสิงคโปร์รุกไทย เช่าสนามบิน-ฝึกเมืองกาญจน์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทัพสิงคโปร์รุกไทย เช่าสนามบิน-ฝึกเมืองกาญจน์  (อ่าน 16033 ครั้ง)
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« เมื่อ: 15-04-2006, 00:59 »

ทัพสิงคโปร์รุกไทย เช่าสนามบิน-ฝึกเมืองกาญจน์



เปิดความสัมพันธ์พิเศษ ไทย-สิงคโปร์ ส่งกองทัพบก-อากาศ ฝึกเมืองกาญจน์-ลพบุรี แถมเช่าสนามบินอุดร ยาว 15 ปี เหตุไทยหวัง ขอแบ่งฝึกบินเอฟ 16 สวนกระแสวิพากษ์ "ชักศึกเข้าบ้าน"

"อาจเป็นเพราะสิงคโปร์มีปัญหาเรื่องพื้นที่การฝึก ก็เลยต้องขออาศัยความร่วมมือฝึกร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศไทยมีการฝึกร่วมกันเกือบทุกปี ซึ่งสิงคโปร์มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การฝึกซ้อม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ไปเพื่อการพาณิชย์"

"ผลประโยชน์ต่างตอบแทน" เป็นคาถาที่แต่ละประเทศต่างต้องท่องกันให้ขึ้นใจ โดยเฉพาะในยามที่ต้องเจรจาความเมืองระหว่างกันเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่ต่างตั้งธงกันเอาไว้ในใจ แต่ความคุ้มค่าของผลประโยชน์ต่างตอบแทนนั้นจะคุ้มค่ากับสิ่งที่จะเสียไปหรือไม่ คงต้องพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วน

การให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ "เช่าฐานทัพอากาศไทย" ก็หนึ่งในประเด็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน ซึ่งตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหู โดยเฉพาะในเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันถึง "อธิปไตยของชาติ" แถมยังการให้เช่าในระยะยาวถึง 15 ปี !!!

เป็นที่ทราบกันดีว่า กองทัพไทยถูกตัดงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์มานานนับสิบปี จึงมีความล้าหลังในเรื่องศักยภาพทางอาวุธยุทโธปกรณ์กว่าเพื่อนบ้านในย่านนี้อย่าง มาเลเซีย และสิงคโปร์ อยู่หลายขุม ดังนั้น เพื่อนบ้านสิงคโปร์ ซึ่งเล็งเห็น "โอกาส" ในจุดนี้ จึงทอดไมตรีมายังฝ่ายไทยทันที ด้วยข้อเสนอ เครื่องบินรบเอฟ 16 เอ/บี จำนวน 7 ลำ เพื่อแลกกับการขอใช้พื้นที่ฝึกในกองบิน 23 จ.อุดรธานี

กระนั้น ผู้สันทัดกรณีต่างก็มองด้วยความเป็นห่วง เพราะมองออกว่า การเข้ามาขอใช้พื้นที่ของสิงคโปร์ เป็นการยื่นข้อเสนอเพื่อแลกกับ "ข้อได้เปรียบทางยุทธศาสตร์" เพื่อให้เหนือกว่าเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่างมาเลเซีย เพราะเล็งเห็นว่า ไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามาช้านาน

ซ้ำยังเป็นที่รับรู้กันไปทั่วโลกว่า สิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกานั้นเข้ากันได้เหมือน "คอหอยกับลูกกระเดือก" ฉะนั้น การเข้ามาขอใช้พื้นที่คราวนี้ย่อมเกี่ยวพันกับพี่เบิ้มมะกันอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์สกัดกั้นจีนในระยะยาวที่พ่วงด้วยออปชั่น "สกัดดาวรุ่ง" เพื่อนบ้านมาเลเซีย !!!

งานนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงเฝ้ามองด้วยความไม่สบายใจ เพราะอาจเป็นการ "ชักศึกเข้าบ้าน" โดยไม่รู้ตัว แถมพี่เบิ้มอย่างจีนก็มีความสัมพันธ์อันดีกันมานับร้อยนับพันปี และยิ่งทวีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการถูกมองด้วยสายตาหวาดระแวงจากเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนอย่าง พม่า กัมพูชา และลาว อีกด้วย

ขณะที่ แหล่งข่าวจากกองทัพอากาศ กล่าวถึงที่มาของการขอใช้กองบินแห่งนี้ว่า เดิมทีกองทัพอากาศของสิงคโปร์ได้ทำสัญญาขอใช้พื้นที่ฝึกที่กองบิน 1 จ.นครราชสีมา เป็นประจำทุกปี ซึ่งจะทำสัญญากันแบบปีต่อปี แต่เพิ่งมาปรับเปลี่ยนเมื่อปลายปี 2547 โดยยื่นขอใช้สนามบินที่กองบิน 23 จ.อุดรธานี ในระยะยาวถึง 15 ปี แต่จะมีการทบทวนกันทุก 5 ปี เพื่อความเหมาะสม

นอกจากนี้กองทัพสิงคโปร์ยังขอเข้ามาใช้พื้นที่การฝึกใน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นค่ายฝึกของกองทัพบก และขณะนี้ได้เซ็นบันทึกข้อตกลงร่วมกันเป็นฉบับที่ 7 แล้ว โดยจะมีการต่ออายุการขอใช้พื้นที่ประมาณ 3 ปีต่อครั้ง

ไม่เพียงเท่านั้นกองทัพสิงคโปร์ ยังแนบแน่นกับไทย ด้วยการขอใช้พื้นที่ฝึกเฮลิคอปเตอร์ที่ จ.ลพบุรี อีกด้วย

ที่เป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะสิงคโปร์มีปัญหาเรื่องพื้นที่การฝึก ก็เลยต้องขออาศัยความร่วมมือฝึกร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศไทยมีการฝึกร่วมกันเกือบทุกปี สิงคโปร์มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การฝึกซ้อม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ไปเพื่อการพาณิชย์

ส่วนกรณีที่สิงคโปร์ขอเช่าสนามบินแห่งนี้ในระยะยาว แหล่งข่าวรายนี้ มองว่า ไม่น่าเกี่ยวพันกับสหรัฐ แต่เป็นความร่วมมือทางทหารของทั้งสองประเทศเท่านั้น

"กองทัพควบคุมดูแลการฝึกของกองทัพสิงคโปร์อย่างใกล้ชิด และสิงคโปร์ก็ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการใดๆ โดยพลการ ส่วนการฝึกก็จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าถึง 3 เดือน เมื่อฝ่ายไทยเห็นว่า รูปแบบการฝึกไม่เหมาะสม ก็สามารถยกเลิกสัญญาได้ทันทีตามบันทึกตกลงความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน" แหล่งข่าวรายนี้ กล่าวให้ความมั่นใจ

นอกจากนี้ เขายังชี้ให้เห็น "ข้อดี" ของการยอมให้สิงคโปร์เข้าใช้พื้นที่ด้วยว่า กองทัพไทยจะได้มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่จากกองทัพสิงคโปร์ และเป็นการแสดงศักยภาพของกองทัพทั้งสองร่วมกัน

เปิดบันทึกข้อตกลง ไทย-สิงคโปร์

เนื้อหาสำคัญของการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพสิงคโปร์จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2524 ให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ฝึกบินในประเทศไทยและมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2526 ให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนใช้สนามฝึกทางอากาศยุทธวิธีในประเทศไทยโดยไม่เลือกปฏิบัติ

กองทัพอากาศไทยจึงได้ให้การสนับสนุนกองทัพอากาศจากมิตรประเทศในกลุ่มอาเซียนในการฝึกบินในประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ กองทัพอากาศมาเลเซีย กองทัพอากาศอินโดนีเซีย กองทัพอากาศฟิลิปปินส์

ตามหลักการแล้ว กองทัพอากาศเหล่านี้สามารถเข้ามาฝึกในประเทศไทย โดยผ่านขั้นตอนการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษร จากกองทัพอากาศไทยเสียก่อน และกองทัพอากาศไทยจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติทางด้านความมั่นคง และลำดับความสำคัญในการฝึกนักบินของตนเองเป็นสำคัญ ก่อนที่จะพิจารณาอนุญาตให้กองทัพอากาศเหล่านี้เข้ามาฝึกได้

โดยการวางกำลังของหน่วยบินมิตรประเทศจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล และควบคุมอย่างใกล้ชิดจากกองทัพอากาศไทย และการวางกำลังของหน่วยบินจากสิงคโปร์เริ่มวางกำลังมาตั้งแต่ปี 2524 นับเป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว

ในปี 2546 กองทัพอากาศไทยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุงในเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ ให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพอากาศ และประเทศไทยโดยรวมมากขึ้น และเพื่อเป็นการแสวงประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย จึงเจรจาเพื่อจัดทำเป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการฝึกและการส่งกำลังบำรุงร่วมกันของกองทัพอากาศทั้งสองฝ่ายในประเทศไทย และสิงคโปร์

กล่าวคือ กองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ สามารถจัดหน่วยบินแยกเดินทางไปฝึกยังอีกประเทศหนึ่งได้ ซึ่งจะได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน แทนการที่กองทัพอากาศให้การสนับสนุนกองทัพอากาศสิงคโปร์ แต่เพียงฝ่ายเดียว

ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีการฝึกร่วมกับมิตรประเทศ ได้แก่ กองทัพอากาศออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงการสนับสนุนภารกิจต่างๆ ของประเทศไทยที่ต้องใช้เครื่องบิน ในการสนับสนุนการเดินทาง เช่น ภารกิจสหประชาชาติ เป็นต้น

ภารกิจที่แสดงความเป็นประเทศไทยให้นานาชาติได้รู้จักนี้ จำเป็นจะต้องอาศัยสนามบินต่อระยะ และการเติมเชื้อเพลิงในอากาศเพื่อให้อากาศยานของกองทัพอากาศไทยเดินทางไปถึงจุดหมายได้

เนื่องจากกองทัพอากาศไทย ไม่มีเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ จึงต้องอาศัยเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศจากมิตรประเทศ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จึงเอื้อประโยชน์ให้กับกองทัพอากาศไทยเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจเหล่านี้บรรลุจุดประสงค์ของกองทัพ และประเทศชาติ โดยข้อสัญญาผูกมัดถึง 15 ปี ซึ่งจะมีการทบทวนอย่างน้อยทุก 5 ปี โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้

1.บันทึกความเข้าใจฉบับนี้กำหนดข้อตกลง และเงื่อนไขในการให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน แทนการที่กองทัพอากาศไทยจะให้การสนับสนุนกองทัพอากาศสิงคโปร์แต่เพียงฝ่ายเดียว

2.กองทัพอากาศฝ่ายหนึ่งอาจพิจารณาให้กองทัพอากาศอีกฝ่ายหนึ่งยืมเครื่องมือ ชิ้นอะไหล่ หรืออุปกรณ์ ตลอดจนวัสดุสิ้นเปลือง และวัสดุหมดเปลือง ได้

โดยกองทัพอากาศฝ่ายหลังจะใช้คืนพัสดุดังกล่าว หรือใช้คืนเป็นเงินให้กับกองทัพอากาศฝ่ายแรก ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อกองทัพอากาศไทยอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องการวัสดุอุปกรณ์เร่งด่วน และไม่สามารถจัดหาได้ทันเวลา

3.ในกรณีที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ต้องการจะส่งเครื่องบินของตน มาฝึกในประเทศไทย จะต้องร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง

การวางกำลังของกองทัพอากาศสิงคโปร์ มิใช่การเข้ามาเช่าฐานทัพแต่อย่างใด .งกองทัพอากาศสิงคโปร์ มีสถานะเป็นผู้ขอใช้พื้นที่ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของประเทศไทยอย่างเคร่งครัด

ในส่วนของกองทัพอากาศไทย สามารถพิจารณาอนุมัติ ให้กองทัพอากาศสิงคโปร์เข้ามาฝึกได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ หรือความมั่นคงในภูมิภาค เช่น เกิดการสู้รบ หรือเกิดความไม่มีเสถียรภาพภายใน กองทัพอากาศสามารถยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เมื่อใดก็ได้

4.กองทัพอากาศไทยจะเป็นผู้กำกับดูแลหน่วยบินของสิงคโปร์ รวมไปถึงกำหนดจำนวนเครื่องบินในการวางกำลังแต่ละครั้ง จำนวนคน รวมไปถึงรายละเอียดด้านพื้นที่การฝึก เส้นทาง ความสูง และระยะเวลาในการบินโดยละเอียด ทั้งนี้ กองทัพอากาศไทย จะคำนึงถึงความปลอดภัย ผลประโยชน์และผลกระทบด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ

ข้อแลกเปลี่ยน

เนื่องจากกองทัพอากาศสิงคโปร์จัดหาเครื่องบินรบแบบ F-16 C/D เข้าประจำการ จึงได้ยุติการใช้งานเครื่องบินแบบ F-16 A/B และจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี

โดยปกติอายุการใช้งานของเครื่องบินแบบ F-16 A/B ตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ 8,000 ชั่วโมงบิน ซึ่งเครื่องบินแบบ F-16 A/B ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ทำการบินโดยเฉลี่ย 4,000 ชั่วโมงบิน คงมีอายุการใช้งานเหลือโดยคิดเป็นร้อยละ 50 หากใช้งานตามปกติสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 15 ปี

นอกจากนั้น เครื่องบินดังกล่าว ยังได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้าง,อุปกรณ์, เครื่องยนต์ และ Software/Firmware ซึ่งทันสมัยกว่าเครื่องบิน F-16 A/B ของกองทัพอากาศไทย ซึ่งภาพรวมเครื่องบินเหล่านี้มีคุณลักษณะเดียวกันกับเครื่องบิน F-16 ของฝูงบิน 103 กองบิน 1 ซึ่งเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2531

การบรรจุเครื่องบิน F-16 A/B Block 15Z ชุดนี้เข้าประจำการ จึงไม่น่ามีปัญหาในการซ่อมบำรุงหรือเรื่องความปลอดภัยในการบิน ส่วนเครื่องมือ, ชิ้นอะไหล่ และอุปกรณ์สนับสนุน ซึ่งจะได้รับมอบจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสนับสนุนภารกิจ และซ่อมบำรุงในอนาคต

นอกจากนี้ กองทัพอากาศไทย จะได้รับมอบอะไหล่และอุปกรณ์อันเป็นยุทโธปกรณ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงมากกว่า 3,200 รายการเพื่อนำมาเสริมกำลังรบที่มีอยู่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ

อีกทั้งเครื่องบินแบบ F-16 B (2 ที่นั่ง) เป็นเครื่องที่ใช้ในการฝึกนักบิน กองทัพอากาศยังขาดแคลนและจัดหาได้ยาก ปัจจุบันกองทัพอากาศไทย มีเครื่องบิน 2 ที่นั่งอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งไม่พอต่อการฝึกนักบินพร้อมรบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังไม่สามารถจัดหาเครื่องบินสองที่นั่งเพิ่มเติมได้ ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณก็ตาม เนื่องจากผู้ผลิตได้ปิดสายการผลิตไปแล้ว

http://www.komchadluek.net/column/military/2006/04/08.php
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
Think Earth
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 196


« ตอบ #1 เมื่อ: 16-04-2006, 06:24 »

I think this about SING + US, Money, war carft. Too many topic they did trow to the laeders so we had to accept it.
Everyone, if you are in that position have to say "yes".
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: