เข้าใจครับศาลรัฐธรรมนูญ ใชหล้กฎหมายมหาชน ในการพิจารณานี่ครับ มันไม่เหมือนอยู่แล้ว
ยอมความกันได้ คดีอาญามันก็มีข้อยกเว้นบางกรณีนะครับ ถ้าจำไม่ผิด
แต่ถ้าเป็นคดีอาญา ที่ยอมความไม่ได้ แล้วถอนฟ้อง ก็ยังยอมความไม่ได้ นี่ ปรกติจะได้ยินกันแบบนี้
ถ้ามันยอมความไม่ได้ แล้วเกิดมีพลิกล็อกกันขึ้นมา ศาลก็ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ไหน
คงต้องเผาตำรากฎหมายทิ้งแล้วมั้ง
แต่การกดดันศาลมันก็มีผลเหมือนกันนะครับ เพราะบางทีดุลพินิจของศาลมันต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมาด้วยหรือไม่เอ่ย
คดีที่เป็นอาญาแผ่นดิน ยอมความกันไม่ได้ครับ แต่ถ้าเป็นคดีที่เป็นอาญาต่อบุคคล ยอมความกันได้ แต่ไม่ว่าจะพลิกล็อกกันอย่างไร ศาล ก็ไม่ต้องเอาหน้าไปซุกไว้ที่ใหนครับ เพราะศาลเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินพิพากษาคดี ไปตามหลักฐาน และข้อกฏหมายเท่านั้น ไม่ได้เป็นผู้ฟ้องคดีครับ ในกรณีที่เป็นอาญาแผ่นดิน อัยการ ซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดิน จะเป็นผู้ฟ้องครับ และการที่อัยการจะฟ้องได้นั้น ก็ต้องมั่นใจในหลักฐาน และข้อกฏหมายครับ เพราะผู้เสียหายคือแผ่นดิน มีอยู่เหมือนกันที่ อัยการฟ้องแล้วแพ้ อัยการก็จะยื่นอุทธรณ์ และฎีกาต่อไป จนคดีถึงที่สุดครับ
ปัญหาต่อมาศาลตัดสินผิดได้หรือไม่?
ได้ครับ เคยมีกรณีเกิดขึ้นมาแล้วเช่นคดีเชอร์รี่ แอน ที่ศาลสั่งจำคุกผู้ต้องหา ซึ่งเป็นแพะรับบาป แต่ศาลตัดสินไปตามพยานหลักฐาน และข้อกฏหมาย ซึ่งนำสืบโดย อัยการ ฝ่ายจำเลยซึ่งไม่ทันเกมส์ตำรวจ และอัยการ ต้องติดคุกฟรีอยู่หลายปี และมีเสียชีวิตในคุกด้วย คดีนี้เมื่อมีการรื้อฟื้นคดี ตำรวจชุดนั้น และอัยการ โดนกันหลายกระทง ครับ
โดยสรุป ศาลเป็นผู้ตัดสิน โดยจะใช้พยานหลักฐาน จากทั้งโจทย์และจำเลย เป็นหลัก โดยอ้างอิงไปตามกฏหมายแต่ละมาตราอย่างเคร่งครัด หากฝ่ายใหนนำสืบได้ชัดเจนกว่า (ว่ากันไปตามพยานหลักฐานที่มี) ศาลก็จะตัดสินให้เป็นฝ่ายชนะคดีครับ ศาลไม่ได้คิดเองเออเอง
ดังนั้นก็ไม่ต้องเผาตำรากฏหมายทิ้งครับ และการกดดันใด ๆ ใช้กับศาลยุติธรรมไม่ได้ครับ เพราะศาลยุติธรรมว่ากันตามกฏหมายทีละมาตราเลยครับ ไม่ได้ใช้ดุลยพินิจแบบเดียวกันกับศาลรัฐธรรมนูน ซึ่งเป็นศาลการเมืองครับ