เนื้อหาหลักๆ ที่มุ่งแก้ไข เท่าที่อ่านดูก็คือ จะยกเลิก ส.ว.สรรหา ภายใน 3 ปี
เปลี่ยนเป็น ส.ว.เลือกตั้งทั้งหมด และจะให้เปิดอภิปรายรัฐมนตรีง่ายขึ้น
อีกจุดที่สำคัญคือจะเพิ่มบทเฉพาะกาล ยกเลิก ประกาศ/คำสั่ง ของ คปค. ----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปิดเนื้อหาร่างแก้ไขรธน.ปี50ฉบับ คปพร.http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=178660&NewsType=1&Template=1วันนี้(3 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ น.พ.เหวง โตจิราการ
เสนอประธานรัฐสภาและอยู่ในวาระการประชุมรัฐสภาแล้วนั้น มีสาระสำคัญที่น่าสนใจคือ ให้นำบทบัญญัติในหมวด 3
ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวดที่4 ว่าด้วยหน้าที่ของชนชาวไทย หมวด5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐ หมวด6 ว่าด้วยรัฐสภา หมวด7 ว่าด้วยคณะรัฐมนตรี หมวด8 ว่าด้วยศาล หมวด9ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด10 ว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด11 ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน หมวด12 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 มาบังคับใช้
ทั้งนี้ในร่างแก้ไขดังกล่าวยังได้มีการกำหนดสัดส่วนในการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี
เป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการอย่างเดียวกับรัฐธรรมนูญปี2540 โดยให้ทำการแก้ไขถ้อยคำในมาตรา185ของรัฐธรรมนูญ
ปี50จากจำนวน ไม่น้อยกว่าสองในห้าเป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า และกำหนดสัดส่วนในการเสนอญัตติขอเปิด
อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจากจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า เป็นจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในหก
มีการเพิ่มบทเฉพาะกาลรองรับสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นสภาผู้แทนราษฎรต่อไปจนกว่า
สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้จะครบวาระหรือมีการยุบสภา ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาให้อยู่ได้เพียง3ปีซึ่งเป็นสิทธิ
ที่มีอยู่เดิม แต่เมื่อครบ3ปีก็ให้ดำเนินการเลือกตั้งส.ว.ให้ครบ200คนและให้ส.ว.สรรหาสมัครรับเลือกตั้งในครั้งใหม่นี้ได้
แต่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้มาจากการเลือกตั้งครั้งหลังนี้ให้มีวาระ 3 ปี ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่ดำรง
ตำแหน่งในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งมี 76 คน ก็ให้มีวาระ 6 ปี ตามสิทธิที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ยังมีบทเฉพาะกาล
รองรับตำแหน่งประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้าน ตลอดจน
กรรมาธิการต่างๆ และคณะรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งได้ต่อไป
และยังเพิ่มบทเฉพาะกาลกำหนดให้บรรดา ประกาศ คำสั่ง กฎหรือการใดทั้งหลายที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดำเนินการหรือจัดให้มีขึ้น รวมถึงการจัดตั้งองค์กรใดขึ้นมา
หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้เป็นอันบังคับใช้ไม่ได้ เพื่อให้ผู้ได้รับ
ความเสียหายจากการดังกล่าวนำมาอ้างความชอบด้วยกฎหมายได้.