ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-11-2024, 18:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ขอคัดค้านการอนุญาตให้บริษัทบ้านปูละคอนฯสร้างโรงแรมห้าดาวบริเวณ“อ่าวเมาะและ” 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
ขอคัดค้านการอนุญาตให้บริษัทบ้านปูละคอนฯสร้างโรงแรมห้าดาวบริเวณ“อ่าวเมาะและ”  (อ่าน 8047 ครั้ง)
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #50 เมื่อ: 29-09-2008, 12:19 »

ผมก็รู้จักลุงแกแค่นิดหน่อย...แต่ได้ยินหลายๆ คนการันตีเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต

แต่วิธีคิดอาจมีปัญหา...มิใช่เพราะอะไรครับ...เพราะวิธีการศึกษานั่นแหละครับ
อย่าลืมครับว่า แนวคิดป่าไม้...มันก็มาจากแนวคิดล่าอาณานิคม
ดูง่ายๆ อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกยังเป็นฝรั่ง....
เพราะฉะนั้นอย่าไปแปลกใจครับ การเรียนการสอน
หลักสูตรที่เรียนมันจึงมีนัยยะตามแนวคิดอาณานิคม
ดูถูกแนวคิดตะวันออก  ดูถูกแนวคิดชุมชน

แนวคิดจัดการป่าแบบตะวันตกเท่านั้น..ที่สุดยอด

ก็ลองคิดเล่นๆ..กรมป่าไม้ ป่าไม้แพร่...วนศาสตร์ ตั้งมาอายุเท่าไร

แต่ทำไมป่ามันหมดไปทุกวันทุกวัน...สัตว์ป่าสูญพันธุ์ไปมากมายเท่าไร
แถมสาเหตุสำคัญของป่าไม้หมดไปก็มาจากกรมป่าไม้ คือ การให้สัมปทานทำไม้

นี่ยังไม่บวกวัฒนธรรมองค์กร....ที่สั่งสมกันมาหลายต่อหลายรุ่น..คือโซตัส
ระบบพรรคพวก  ระบบพี่น้อง....ซึ่งนำไปสู่การปกป้องคนภายใน แทนที่จะลากไส้มันออก
แม้รู้ทั้งรู้ว่าทำผิด... 

เพราะฉะนั้นผมคิดว่าคงต้องให้ความเป็นธรรมกับลุง...ด้วยนะครับ
ว่าสิ่งที่แกเป็น...อาจไม่ใช่ความผิดของแกทั้งหมดทีเดียว
แต่ส่วนหนึ่งมันมาจากความผิดพลาดของระบบการศึกษาไทย/และวัฒนธรรมแบบโซตัสที่สั่งสมกันมานาน

มีหลายคนเคยบอกว่า....หากยุบคณะวนศาสตร์..และปฏิรูปการเรียนการสอนเสียใหม่
การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้-สัตว์ป่าจะดีขึ้น


ผมว่าเป็นที่ระบบนะแหละ ต่อให้คนดีตั้งใจทำพอเจอระบบแบบนั้นก็ต้องตามน้ำไม่งั้นอยู่ยาก ถึงจะจบคณะวนศาสตร์เหมือนกันแต่ถ้าต่างภาควิชามุมมองในเรื่องเดียวกันก็ต่างกันแล้ว
บันทึกการเข้า
Ldap
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 125



« ตอบ #51 เมื่อ: 29-09-2008, 14:14 »

ทำไมไม่คัดค้านที่อื่นบ้างหละครับ เช่น

เช่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง สัมปทาน30ปีใครได้ประโยชน์?

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย หนึ่งในอุทยานที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศเปิดอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง นำร่องให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่จัดการบริการ โดยทางกรมฯ อ้างว่า มีนักธุรกิจหลายรายเสนอแผนจัดการอุทยานแห่งชาติ โดยต้องการเข้ามาบริหารจัดการ และ ติงว่าแต่เดิมที่ทางกรมฯ กำหนดราคาค่าเช่าพื้นที่เพื่อบริการตารางเมตรละ 30 บาท หรือไร่ละ 4.8 หมื่นบาทต่อเดือนนั้น ทางเอกชนมอง ว่าเป็นราคาที่สูงเกินไปขอต่อรองให้ ลดราคาลงเหลือ  แค่ตารางเมตรละ   3 บาท
 
สำหรับแผนการเปิดให้เอกชนเข้าเช่า พื้นที่บริหารจัดการได้กำหนดเงื่อนไขเบื้อง ต้น อาทิ จะเปิดให้เข้ามา บริหารในโซนบริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร ประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ร้านขายของที่ระลึก รีสอร์ท โรงแรม โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี มีเงื่อนไขว่าต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกป่าเพิ่มเติม อีกทั้งมีประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำการศึกษาและประเมินความสามารถในการรองรับได้ของอุทยานแห่งชาติ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวจำนวน มากจนอาจนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสภาพธรรม ชาติ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ยากแก่การฟื้นฟูและบริหารจัดการให้คงสภาพเดิมได้ดังนั้นเพื่อประโยชน์ ในการคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ ตลอดจนการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
 
นายสุธรรม ธรรมชาติ บ้านเลขที่ 496 หมู่ 1 ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย ประธานชมรมผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงกล่าวว่า ทางผู้ประกอบการยังไม่ได้รับทราบเรื่องนี้จากทางอุทยานฯ เพียงรู้มาจากทางสื่อเท่านั้น แต่เมื่อมีการเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าทำนั้น ขอให้เพียงมาจัดการเรื่องที่พักเพียงอย่างเดียว อย่าไปแย่งทำกิจการที่ชาวบ้านทำอยู่ เพราะชาวบ้านทำมาหากินเพียงเพื่อประทังชีวิตเท่านั้น คงไม่สามารถไปแข่งขันกับนายทุนที่มีกำลังทรัพย์มากมาย ต้องกำหนดเงื่อนไขที่แน่นอนว่าสามารถดำเนินธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งภายหลัง
 
ประธานชมรมฯ ยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อกรณี การกำหนดมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยววันละ 5,000 คนว่า จะส่งผลกระทบต่อสมาชิกที่มีอยู่กว่า 120 ราย มาตรการดังกล่าวไม่เหมาะสมกับภูกระดึงเพราะทั้งปีมีคนมาเที่ยวจำนวนมากแค่ 3 วัน  ช่วงเดือนธันวาคม ระหว่างวันที่ 5, 10 และ 31 ธ.ค.-1 ม.ค. ซึ่งมีวันหยุดติดต่อกันหลายวันและตรงกับเสาร์-อาทิตย์ ภูกระดึงมีศักยภาพรับนักท่องเที่ยวได้วันละ 13,000 คน การจัดการเป็นไปตามระบบไม่มีปัญหาอยู่แล้ว นักท่องเที่ยวจะหายไป 8,000 คน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ลดลง สภาพเศรษฐกิจก็ตกต่ำซ้ำเติมอยู่แล้ว ที่เป็นห่วงปัญหาขยะจะล้นนั้น ปกติที่ผ่านมาก็มีการจัดการตามระบบ ผู้ประกอบการหรือนักท่องเที่ยวรับผิดชอบขยะของตัว นำลงมา  ทิ้งข้างล่างอยู่แล้ว พวกเราพึ่งพาภูกระดึงหาเลี้ยงครอบครัวอยู่อย่างปกติสุขมานาน และส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ชั้นดีของ ธ.ก.ส. มีเงินใช้หนี้สม่ำเสมอมาตลอด การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวครั้งนี้ จะ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ วิกฤติการณ์จะตามมา ผลกระทบจะลุกลามเป็นลูกโซ่
 
ที่ผ่านมาในช่วงนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเทศ กาลวันหยุดยาว ตลาดภูกระดึงจะคึกคักมาก พ่อค้าแม่ค้ามีการสั่งซื้อวัตถุดิบ ทั้งผัก เนื้อสัตว์จากอำเภอชุมแพต่อไปนี้ก็จะหยุดชะงักจึงอยากให้ทางกรมอุทยานแห่ง ชาติฯ ทบทวนนโยบายนี้ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติฯ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งเห็นชัดว่าภูกระดึงไม่เหมาะกับมาตรการนี้.

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=178115&NewsType=1&Template=1
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #52 เมื่อ: 29-09-2008, 18:22 »

สำหรับแผนการเปิดให้เอกชนเข้าเช่า พื้นที่บริหารจัดการได้กำหนดเงื่อนไขเบื้อง ต้น อาทิ จะเปิดให้เข้ามา บริหารในโซนบริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร ประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ร้านขายของที่ระลึก รีสอร์ท โรงแรม โดยมีอายุสัมปทาน 30 ปี มีเงื่อนไขว่าต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกป่าเพิ่มเติม อีกทั้งมีประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำการศึกษาและประเมินความสามารถในการรองรับได้ของอุทยานแห่งชาติ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการ ท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวจำนวน มากจนอาจนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสภาพธรรม ชาติ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ยากแก่การฟื้นฟูและบริหารจัดการให้คงสภาพเดิมได้ดังนั้นเพื่อประโยชน์ ในการคุ้มครองและดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ ตลอดจนการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
 
เรื่องการศึกษาและประเมินความสามารถในการรองรับได้ของอุทยานแห่งชาติ เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผมสงสัย อย่างเช่นเกาะสุรินทร์จากเดิมที่รองรับนักท่องเที่ยว 300 คน/คืน กลายเป็น 620 คน/คืน ซึ่งตัวเลขนี้ทำการศึกษาเฉพาะนิเวศบนบกไม่ได้ครอบคลุมนิเวศทางทะเล แต่ทางกรมอุทยานกลับประกาศใช้ตัวเลขนี้ มีอะไรรับประกันได้ว่าจะตัวเลขนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อนิเวศทางทะเล
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #53 เมื่อ: 29-09-2008, 20:41 »

สิ่งที่ลุงกำลังทำอยู่เขาเรียกว่าฟลัดกระทู้

ลุงจะไปฟลัดให้เมื่อยนิ้วทำไม แค่นี้ก็ rating กระฉูดแล้ว
อาจมีแฟนคลับบางคน เขากลัวลุงจะหอบกระทู้หนี เลยฟลัดกันใหญ่
ใครรู้ตัวยกมือขึ้น

วันนี้คุณมีจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาว แล้วหรือยัง ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 20:46 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #54 เมื่อ: 29-09-2008, 20:57 »

ลุงจะไปฟลัดให้เมื่อยนิ้วทำไม แค่นี้ก็ rating กระฉูดแล้ว
อาจมีแฟนคลับบางคน เขากลัวลุงจะหอบกระทู้หนี เลยฟลัดกันใหญ่
ใครรู้ตัวยกมือขึ้น


วันนี้คุณมีจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาว แล้วหรือยัง ?

เออนะ แก่ๆ หลงๆ แยกอะไรไม่ออกก็อยู่บ้านเลี้ยงหลานเถอะ
มาแก้ผ้าวิ่งเล่นแถวนี้ ลูกหลานจะลำบากมาตามเก็บ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 21:03 โดย login not found » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #55 เมื่อ: 29-09-2008, 21:07 »

เรื่องการศึกษาและประเมินความสามารถในการรองรับได้ของอุทยานแห่งชาติ เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผมสงสัย เช่น เกาะสุรินทร์จากเดิมที่รองรับนักท่องเที่ยว 300 คน/คืน กลายเป็น 620 คน/คืน มีอะไรรับประกันได้ว่าจะตัวเลขนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อนิเวศทางทะเล

เป็นคำถามที่น่าสนใจ
ลุงจะไปถามเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯว่าทำ Analysis of recreational carrying capacity แค่ไหนเพียงใด / based on อะไร แค่ไหน เช่น safety, shoreline accessibility, social factors (หรือว่าสักแต่ว่าทำ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 22:42 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #56 เมื่อ: 29-09-2008, 21:10 »

เออนะ แก่ๆ หลงๆ แยกอะไรไม่ออกก็อยู่บ้านเลี้ยงหลานเถอะ

มี(ขาประจำ) 1 คนละ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #57 เมื่อ: 29-09-2008, 21:18 »

[quoteผมว่าเป็นที่ระบบนะแหละ ต่อให้คนดีตั้งใจทำพอเจอระบบแบบนั้นก็ต้องตามน้ำไม่งั้นอยู่ยาก ถึงจะจบคณะวนศาสตร์เหมือนกันแต่ถ้าต่างภาควิชามุมมองในเรื่องเดียวกันก็ต่างกันแล้ว
[/quote]

ปี 2511 ลุงจบ Wood Technology ถูกลากตั้งให้ไปทำงานอุทยานแห่งชาติจนเกษียณ (สมัยนั้นงานอุทยานแห่งชาติเป็นงานเหลือเลือก เพื่อนแย่งกันไปทำงานตัดไม้ขายกันหมด เพราะเอาคำสั่งออกป่าไปดาวน์รถล่วงหน้าได้เลย)
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #58 เมื่อ: 29-09-2008, 21:35 »

ทำไมไม่คัดค้านที่อื่นบ้างครับ เช่น ภูกระดึง

กรณีภูกระดึงน่าสนใจมากครับ คุณควรทำหนังสือคัดค้านไปที่กระทรวงทรัพยากรฯ ----->

เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
92 ถ.พหลโยธิน 7
พญาไท
กทม.10400
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #59 เมื่อ: 29-09-2008, 21:44 »

[quote
ผมว่าเป็นที่ระบบนะแหละ
[/quote]

โซตัสนะดี แต่รุ่นพี่เอาไปใช้แบบ dominate รุ่นน้อง
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #60 เมื่อ: 29-09-2008, 22:29 »

เป็นคำถามที่น่าสนใจ
ลุงจะไปถามเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯว่าทำ Analysis of recreational carrying capacity แค่ไหนเพียงใด / based on อะไร แค่ไหน เช่น safety, shoreline, social factors (หรือว่าสักแต่ว่าทำ)
ทางผู้วิจัย (คุณดรรชนี เอมพันธุ์) ได้บอกไว้ในรายงานการศึกษาว่า "ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อระบบนิเวศทางทะเลสำหรับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์นั้นยังไม่ได้ทำการประเมินเนื่องจากผลของเหตุการณ์สึนามิ ข้อมูลด้านนิเวศจำเป็นต้องติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป สำหรับจุดดำน้ำนั้น เนื่องจากเป็นปัจจัยชี้วัดเรื่องสัตว์ในแนวปะการัง และร้อยละการลดลงของการปกคลุมปะการัง จึงควรติดตามรวบรวมข้อมูลเพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาลท่องเที่ยวเพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ชัดเจน และการศึกษาเพื่อติดตามผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อระบบนิเวศจำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี อย่างน้อย 5-10 ปี เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอต่อการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนันทนาการ โดยโครงการนี้ได้เริ่มทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม
2547"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-09-2008, 22:34 โดย Solidus » บันทึกการเข้า
อยู่บำรุ๊ง .. บำรุง
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 210


ทีวีเพื่อพวกตน !


« ตอบ #61 เมื่อ: 29-09-2008, 23:06 »

ลุงจะไปฟลัดให้เมื่อยนิ้วทำไม แค่นี้ก็ rating กระฉูดแล้ว
อาจมีแฟนคลับบางคน เขากลัวลุงจะหอบกระทู้หนี เลยฟลัดกันใหญ่
ใครรู้ตัวยกมือขึ้น

วันนี้คุณมีจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาว แล้วหรือยัง ?
ก็สร้างเรื่องเอง ลบเอง ทุกอย่างเกิดขึ้นจากตัวเองไม่ใช่เหรอ

ยังจะไปโทษคนอื่นเค้าอีก ไม่ไหวคนแก่สมัยนี้ 

บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #62 เมื่อ: 30-09-2008, 02:55 »

ยิ่งขุดยิ่งเจอที่พิลึก ไอ้้ที่ควรจะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างเกาะเสม็ดกลับไม่อยู่ในรายชื่อ แต่ไอ้ที่จำกัดอยู่แล้วดันไปเพิ่มจำนวนซะนี่
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #63 เมื่อ: 30-09-2008, 07:17 »

ยิ่งขุดยิ่งเจอที่พิลึก อุทยานฯที่ควรจะจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างเกาะเสม็ดกลับไม่อยู่ในรายชื่อ แต่อุทยานฯที่จำกัดอยู่แล้วดันไปเพิ่มจำนวนซะนี่

"ตอนที่จะประกาศเกาะเสม็ดเป็นอุทยานฯ คุณหมอบุญส่งฯ เลขะกุล ไม่เห็นด้วย ท่านเห็นควรเป็นแค่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า"
อ้างถึง
ผ่อง เล่งอี้ อดีตอธิบดีกรมป้าไม้

กทม.ไม่สามารถใช้หลัก  carrying capacity กับสวนจตุจักรได้ฉันใด / กรมอุทยานฯก็ไม่สามารถใช้ CC กับอุทยานฯเกาะเสม็ดได้ฉันนั้น
อ้างถึง
ธนพล สาระนาค ประธานชมรมเพื่อนป่าไทย(Friends of Thai Forests)

วันนี้คุณเขียนจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาวแล้วหรือยัง ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 07:33 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #64 เมื่อ: 30-09-2008, 12:04 »

...การศึกษาเพื่อติดตามผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อระบบนิเวศจำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี อย่างน้อย 5-10 ปี

คำศัพท์ทางวิชาการบางคำเข้าใจยาก เช่น "ชั้นช่วงโอกาสในด้านนันทนาการ" ผมอ่านร้อยเที่ยวแล้วยังไม่ทราบเลยว่าหมายถึงอะไร (ถ้ายากนักก็ทับคำศัพท์ภาษาฝรั่งเลยก็น่าจะดี.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 12:08 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #65 เมื่อ: 30-09-2008, 15:04 »

"ตอนที่จะประกาศเกาะเสม็ดเป็นอุทยานฯ คุณหมอบุญส่งฯ เลขะกุล ไม่เห็นด้วย ท่านเห็นควรเป็นแค่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า"
กทม.ไม่สามารถใช้หลัก  carrying capacity กับสวนจตุจักรได้ฉันใด / กรมอุทยานฯก็ไม่สามารถใช้ CC กับอุทยานฯเกาะเสม็ดได้ฉันนั้น
วันนี้คุณเขียนจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาวแล้วหรือยัง ?
เขาส่งราบชื่อคัดค้านเรื่องเซ้งอุทยานซึ่งจะครอบคลุมเรื่องโรงแรม 5 ดาวไปตั้งนานแล้ว ไม่ได้เพิ่งตื่นแบบคุณนี่ครับ เรื่อง กรมอุทยานฯ ก็ไม่สามารถใช้ CC กับอุทยานฯเกาะเสม็ด ไม่ใช่เพราะติดตรงมีนักการเมืองหรือนายทุนบนเกาะรึ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #66 เมื่อ: 30-09-2008, 15:15 »

คำศัพท์ทางวิชาการบางคำเข้าใจยาก เช่น "ชั้นช่วงโอกาสในด้านนันทนาการ" ผมอ่านร้อยเที่ยวแล้วยังไม่ทราบเลยว่าหมายถึงอะไร (ถ้ายากนักก็ทับคำศัพท์ภาษาฝรั่งเลยก็น่าจะดี.
ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ (Recreation Opportunity Spectrum, ROS)

กลุ่มชั้นของแหล่งท่องเที่ยวที่กำหนดขึ้นบนพื้นฐาน ของที่ตั้งและลักษณะทางธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว ลักษณะกิจกรรมการใช้ประโยชน์และระดับของผลกระทบจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ภายในแหล่งท่องเที่ยว และลักษณะ/รูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลให้โอกาสในการประกอบกิจกรรมนันทนาการแต่ละประเภท และประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับจากการไป เยือนแหล่งท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มชั้นแตกต่างกัน

ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยถึงความหลากหลายของประสบการณ์ที่พึงปรารถนา (desired experience) ของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติ ในประเทศไทย ภายใต้โครงการระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ระยะที่ 1 จำนวน  119 แหล่ง พบว่าสามารถแบ่งช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ออกเป็น 5 ช่วงชั้น ดังนี้

1) พื้นที่ธรรมชาติสันโดษ (Primitive Area: P) 

2)พื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษไม่ใช้ยานยนต์ (Semi-primitive Non-motorized Area: SPNM)

3)พื้นที่ธรรมชาติกึ่งสันโดษใช้ยานยนต์ (Semi-primitive Motorized Area: SPM)

4) พื้นที่ธรรมชาติดัดแปลง/พื้นที่ชนบท (Modified Natural Area/Rural Area: MN)

5) พื้นที่เมือง (Urban Area: U)

โดยเหตุผลของการกำหนดช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการออกมาเป็น 5 ช่วงชั้น เนื่องจากผลการวิเคราะห์ปัจจัยถึงความหลากหลายของประสบการณ์ที่พึงปรารถนา (desired experience)

ทั้งนี้ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการแต่ละช่วงชั้นมีเงื่อนไขตามลักษณะช่วงชั้น (compatible setting) กิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสม ประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับจากการไปเยือนแหล่งนันทนาการ และประเภทของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย

อ้างอิง : นภวรรณและคณะ (2549). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์(เล่มที่ 1) โครงการระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ระยะที่ 1
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #67 เมื่อ: 30-09-2008, 15:23 »

 ช่วงชั้นของโอกาสทางด้านนันทนาการเป็นกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่กำหนดขึ้นโดยอาศัยลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ (physical setting) ลักษณะทางสังคม (social setting) (ลักษณะกิจกรรมการใช้ประโยชน์และปริมาณนักท่องเที่ยว) และลักษณะการจัดการพื้นที่ (managerial setting) ซึ่งต่างก็มีอิทธิพลต่อการวางแผนและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นปัจจัยในการจัดกลุ่ม ในทางปฏิบัติผู้วางแผนและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกจะต้องทำการวิเคราะห์และประเมินสถานภาพของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ โดยสรุปได้ดังนี้
                1) การเข้าถึง (access) หรือ ความยากง่ายในการเข้าถึงแหล่งท่องเทียวประเมินจากสภาพเส้นทางจริงที่ใช้ในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 1,500-2,000 เมตรสุดท้ายก่อนถึงศูนย์กลางของแหล่งท่องเที่ยวหรือจุดประกอบกิจกรรม ลักษณะการเข้าถึงอาจจำแนกเป็น -- เข้าถึงโดยเส้นทางเดินเท้าเข้าถึงโดยทางรถยนต์เฉพาะช่วง หน้าแล้ง-ถนนดิน เข้าถึงโดยทางรถยนต์ทุกฤดูกาล--ถนนดิน เข้าถึงโดยทางรถยนต์-ถนนลาดยาง/ซีเมนต์เข้าถึงโดยทางเรือเฉพาะฤดูกาลปลอดมรสุม และเข้าถึงโดยทางเรือทุกฤดูกาล ซึ่งเส้นทางแต่ละลักษณะมีความยากง่าย/ความสะดวกแตกต่างกัน
              2) ระดับความเป็นธรรมชาติ (naturalness) เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมโดยรวมของแหล่งท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพว่ายังคงสภาพธรรมชาติดั้งเดิม หรือสภาพดังเดิมได้ถูกดัดแปลงไปแล้วมากน้อยแต่ไหน การประเมินสามารถทำในลักษณะค่าจัดอันดับ (ordinal scale) จากพื้นที่ ๆ มีความเป็นธรรมชาติสูงมาก สูงปานกลาง ถึงต่ำ
              3) ร่องรอยของผลกระทบ (impacts) จากกิจกรรมการใช้ประโยชน์การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินร่องรอยผลกระทบที่สามารถสังเกตเห็นได้ (visivle impacts) บนพื้นที่โดยภาพรวม ผลกระทบประเด็นหลัก ๆ ที่มี การประเมินได้แก่สภาพพืชพรรณที่ถูกหักเด็ด ลูกไม้ขนาดเล็กถูกเหยียบย่ำ การปะปนของพันธุ์ไม้ต่างถิ่น สัตว์ป่าถูกรบกวน ดินพังทลาย สารแขวนลอยในแหล่งน้ำ ขยะ ของเสียมนุษย์ เส้นทางที่ไม่ได้กำหนดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาการบดบังทัศนียภาพของสิ่งปลูกสร้างในแหล่งท่องเที่ยวและความขัดแย้งระหว่างกิจกรรมการ ใช้ประโยชน์พื้นที่โดยแต่ละประเด็นอาจจัดระดับใน เชิงคุณภาพเช่นเดียวกับการประเมินระดับความเป็นธรรมชาติ เช่น มีผบกระทบรุนแรงมาก (สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน) ผลกระทบรุนแรง ผลกระทบปานกลาง ถึง ผลกระทบเบาบางหรือ ไม่ปรากฏ
              4) โอกาสในการพบปะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ (opportunity forsocial encounter) ประเมินจากจำนวนของนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ ที่ผู้ประเมิน/ผู้วางแผนและออกแบบพบเห็นโดยประมาณในขณะที่การวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวจากนั้นจึงนำจำนวนที่พบเห็นมาจัดระดับของโอกาส
ในการพบปะกับนักท่องเที่ยว กลุ่มอื่นในเชิงคุณภาพ เช่นมี โอกาสสูงมาก (ในกรณีที่พบเห็นนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก) สูง ปานกลาง และต่ำ ตามลำดับ การประเมินโอกาสในการพบปะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ ยังอาจประเมินได้โดยอาศัยสถิตินักท่องเที่ยวที่ไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ เป็นตัวประมาณ
              5) การพบเห็นนักท่องเที่ยวที่ประกอบกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักท่องเที่ยว ได้แก่ กิจกรรมที่ผ่าฝืนกฏระเบียบของพื้นที่ กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมภายในแหล่งท่องเที่ยว เช่น การขีดเขียนก้อนหิน หักเด็ดกิ่งไม้ใบไม้ ฯลฯ โดยการประเมินในส่วนนี้จะแตกต่างจากการประเมินผลกระทบในข้อ 3) ตรงที่จะเน้นประเมินจากพฤติกรรมที่นักท่องเที่ยวกระทำจริงทีสังเกตเห็นได้ขณะประเมิน ไม่ใช่ประเมินจากร่องรอย (trace) ของพฤติกรรมที่เกิดกับพื้นที่เช่นการประเมินผลกระทบ อย่างไรก็ดีการจัดค่าระดับยังคงทำในเชิงคุณภาพโดยอาจอาศัยการประมาณ สัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่ประกอบกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมจากจำนวนของนักท่องเที่ยวที่พบเห็นเป็นเกณฑ์ เช่น พบเห็นมาก หมายถึง มากกว่า 30% ของจำนวน นักท่องเที่ยวทั้งหมดที่พบเห็น--พบเห็นปานกลาง หมายถึง ประมาณ 21-30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่พบเห็น--พบเห็นน้อย หมายถึงประมาณ 11-20% ของจำนวนนำท่องเที่ยวทั้งหมดที่พบเห็น--พบเห็นน้อยมาก หมายถึง ไม่เกิน 10% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่พบเห็น
               6) การจัดการนักท่องเที่ยว (visitor management) ประเมินจากความเข้มข้นของการใช้กฏระเบียบ การตรวจตราของเจ้าหน้าที่ และการใช้โปรแกรมสื่อความหมาย โดยแต่ละปัจจัยสามารถนำมาจัดระดับในเชิงคุณภาพได้เช่นเดียวกับปัจจัยอื่นๆ ข้างต้น เป็นระดับการจัดการหรือการควบคุมนักท่องเที่ยวสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ
              7) การจัดการพื้นที่ (site management) ทำการประเมินโดยพิจารณาจากประเภทและปริมาณของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ปรากฎในพื้นที่ -- การจัดการ หรือการพัฒนาในระดับต่ำสุด หมายถึง ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ยกเว้นเส้นทางเข้าถึง (access) แหล่งท่องเที่ยวในลักษณะทางเดินเท้าที่ยังคงสภาพธรรมชาติ -- การจัดการในระดับต่ำ-ปานกลาง จะมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่บ้างเน้นเพื่อการป้องกันรักษาสภาพแวดล้อมและป้องกันอันตรายให้กับผู้มาเยือน เช่น การปรับความคงทนของผิวทาง การจัดสร้างรั้ว-ราวกันตกบนเส้นทาง มีป้ายบอกทิศทาง ป้ายคำเตือน ฯลฯ การจัดการในระดับปานกลางสูงจะมีการพัฒนา สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการประกอบกิจกรรมให้กับผู้มาเยือนเพิ่มขึ้น เช่น มีม้านั่ง ถังขยะ ป้ายสือความหมาย ห้องสุขา ลานจอดรถ ฯลฯ -- การจัดการอย่างเข้มข้น หรือการพัฒนาในระดับสูงสุด จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมให้กับผู้มาเยือนเต็มรูปแบบ ที่มีความเป็นไปได้สำหรับแหล่งท่องเที่ยว แบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น ศูนย์บริการนัก ท่องเที่ยวร้านอาหาร บ้านพัก ฯลฯ การกำหนดกลุ่มชั้นของแหล่งท่องเที่ยว เริ่มจากการทำงานนิยาม และ เงื่อนไขที่เหมาะสม
(desires condition) สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มเป็นพื้นฐาน จากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์ลักษณะทั้ง 7 ประการ ของแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายในการวางแผนและ ออกแบบมาเทียบกับนิยาม และ เงื่อนไขของแหล่งท่องเที่ยว แต่ละกลุ่มชั้นที่กำหนด เพื่อพิจาณาว่าแหล่งท่องเที่ยวเป้าหมายที่จะทำการวางแผนและออกแบบจะสามารถจัดลง ในกลุ่มชั้นใด นิยาม และ เงื่อนไขที่กำหนดขึ้น สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มชั้นมีดังนี้
   

      1 พื้นที่สันโดษ (Primitive -- P)
          เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ห่างไกล ที่ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติหรือภูมิทัศน์ดั้งเดิมอย่างสมบูรณ์ มีปริมาณการท่องเที่ยวเบาบางเนื่องจากการเข้าถึงกระทำได้ยากลำบาก ปรากฏร่องรอยของผลกระทบจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์น้อย และการควบคุม/จัดการนักท่องเที่ยวตลอดจนการพัฒนาต่าง ๆ ไม่มีปรากฏในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้เหมาะสำหรับกิจกรรมนันทนาการที่เน้นการสัมผัสและศึกษาเรียนรู้จากธรรมชาติอย่างแท้จริง เช่น การเดินป่า (hiking) การศึกษาธรรมชาติ (nature study) รวมกิจกรรมดูนก (bird watching) และส่องสัตว์ (wildlife viewing) การพักแรมแบบ wilderness camping การพายเรือ (canoeing) ว่ายน้ำ (swimmign) และการพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ (relacing) ประสบการณ์นันทนาการที่ผู้มาเยือนจะได้รับจากแหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้ ได้แก่ ความสงบวิเวกที่มีเพียงเสียงจากธรรมชาติ การได้หลีกหนีจากความวุ่นวายในสังคมการได้สัมผัสเรียนรู้พฤติกรรมของธรรมชาติอย่างใกล้ชิด การได้ใช้พละกำลังกายและการพึ่งพาตนเองในการประกอบกิจกรรม ตลอดจนการได้แสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง
 
      2 พื้นที่กึ่งสันโดษระดับที่ 1 (Semi-primitive Class l --SP-l)
          เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สภาพพื้นที่โดยรวมยังคงมีความเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างไปจากพื้นทีสันโดษมากนัก หากแต่ประมาณการใช้ประโยชน์ หรือโอกาสในการพบเห็นนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนกลุ่มอื่น ๆ จะสูงกว่าพื้นที่สันโดษ แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มนี้มักจะปรากฏร่องรอยผลกระทบจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์เบาบาง มีการควบคุม/การจัดการนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง เน้นการจัดการในลักษณะการใช้โปรแกรมสือความหมายหรือการจัดการทางอ้อมโดยอาศัยการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้เหมาะสำหรับกิจกรรมนันทนาการประเภทเดียวกันกับกลุ่มพื้นทีสันโดษ โดยเพิ่มกิจกรรมทางน้ำบางประเภท เช่น การพายเรือประเภทอื่น ๆ (นอกเหนือจาก canoeing) กิจกรรมการแล่นเรือ (sailling) การดำน้ำ (skin or scuba diving) และตกปลา (fishing) (กระทำได้เฉพาะในพื้นที่ ๆ ไม่ใช่พื้นที่อนุรักษ์ตามกฏหมาย) ประสบการณ์นันทนาการที่ผู้มาเยือนจะได้รับจากแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังคงเป็นประสบการณ์ในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่สันโดษ หากแต่โอกาสในการสัมผัส ความสงบวิเวกจากธรรมชาติจะน้อยกว่า
 
       3 พื้นทีสันโดษระดับที่ 2 (semi-primitive Class ll--SP-ll)
           แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มนี้แม้โดยรวมจะยังคงความเป็นธรรมชาติ หากแต่การเข้าถึงกระทำได้สะดวกมากกว่าแหล่งท่องเที่ยว 2 กลุ่มแรก ส่งผลให้ปริมาณการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น โอกาสที่ผู้มาเยือนจะพบปะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวอื่น ๆ จึงสูงกว่าในแหล่งท่องเที่ยว 2 กลุ่มแรก ร่องรอยผลกระทบจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ก็ปรากฏให้เห็นค่อนข้างชัดเจน การจัดการนักท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้กระทำทั้งในรูปของการใช้กฏระเบียบ การโปรแกรมสื่อความหมาย และการควบคุมโดยอาศัยสิ่งอำนวยความสะดวก โดยที่พื้นที่ในกลุ่มนี้มักจะมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับปานกลาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบกิจกรรมให้กับผู้มาเยือนเพิ่มขึ้น เช่น มีม้านั่ง ถังขยะ ห้องสุขา ลานจอดรถ ฯลฯ กิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดที่ระบุใน SP- l และกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิม (culture study) การขับรถ/แล่นเรือเพื่อชมทัศนียภาพ (auto tour/sightseeing) การขี่จักรยาน (biking/bicycling)ขี่ม้า (horse riding) กิจกรรมการพักแรมในลักษณะของแคมป์หน่วย หรือ แคมป์กลุ่มขนาดเล็ก (small group camping or unitcamping) การปิคนิค (picknicking) การศึกษาธรรมชาติโดยอาศัยโปรแกรมสื่อความหมาย เช่น การนำศึกษาโดยนักสื่อความหมาย (conducted activtiy) การเดินศึกษาธรรมชาติด้วยตัวเองบนเส้นทางสื่อความหมาย (self-guided trail) ประสบการณ์นันทนาการที่ผู้มาเยือนจะได้รับจากการไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มนี้เป็นประสบการณ์ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับ SP- l หากแต่โอกาสที่จะได้สัมผัสธรรมชาติในบรรยากาศที่สงบจะมีน้อยกว่า และเพิ่มโอกาสของการได้สัมผัสเรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนกับโอกาสในด้านการ ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มนักท่องเที่ยวอื่น ๆ
 
      4 พื้นที่ธรรมชาติที่พัฒนา (developed Natural -- DN)
          แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มนี้แม้จะมีสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ยังคงเป็นธรรมชาติ หากแต่เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่พัฒนาปรับเปลี่ยนไปแล้วเพื่อสนองตอบต่อกิจกรรมการใช้ประโยชน์ ของผู้มาเยือน การเข้าถึงกระทำได้สะดวกโดยทางรถ หรือ เรือ หรือ ทั้งสองรูปแบบ ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่กลุ่มนี้ค่อนข้างหนาแน่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลท่องเที่ยว ปรากฏร่องรอยผลกระทบชัดเจน และมาตรการในการจัดการ/ควบคุมนักท่องเที่ยวถูกนำมาใช้ทุกรูปแบบ สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักจะพัฒนาเต็มรูปแบบ เท่าที่มีความเป็นไปได้เช่น มีห้องอาบน้ำ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก และอื่น ๆ โดยการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกยังคงเน้นความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ กิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสมสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ได้แก่กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดที่กล่าวถึงใน SP-ll และกีฬาทางน้ำประเภทต่างๆ (watersports) (ที่ไม่ขัดกับกฏหมาย/ข้อบังคับของพื้นที่ในกรณีของแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามกฏหมาย) สำหรับประสบการณ์นันทนาการที่ผู้มาเยือนจะได้รับทุกส่วนจะเหมือนกับ SP-ll โดยเพิ่มโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ และความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมอันเนื่องมาจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการในพื้นที่
 
      5 พื้นที่ขนบท (Rural -- R)
          เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ลักษณะพื้นฐานของแหล่งเป็นชุมชนในชนบทที่มีสภาพแวดล้อมเป็นธรรมชาติ การเข้าถึงมีความสะดวกปานกลาง ถึงสูง โดยทางรถหรือเรือ หรือทั้งสองประเภท แหล่งท่องเทียวประเภทนี้มักมีการจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่อาศัยอยู่ในแหล่ง ควบคู่กับการจัดการพื้นที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยว มักมีการจัดการ/การควบคุมนักท่องเที่ยวสูง เพื่อมิให้กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวขัดแย้งกับกิจกรรมของชุมชน แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักปรากฏร่องรอยของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ ของมนุษย์เกือบทุกรูปแบบ กิจกรรมนันทนาการที่เหมาะสมสามารถเป็นกิจกรรมทุกประเภทที่ปรากฏใน DN (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแหล่ง) และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการละเล่น/การแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของชุมชน (cultural game and play participation) ตามความเห็นชอบของชุมชนผู้จัดการแหล่งท่องเที่ยว ประสบการณ์นันทการที่ผู้มาเยือนจะได้รับ คือ การได้สัมผัสเรียนรู้กับวัฒนธรรมท้องถิ่น การปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวกลุ่มอี่นๆ และกับราษฏรในท้องถิ่น และความสะดวกสบายจากบริการด้านการท่องเที่ยวภายในแหล่ง

          จากนิยามและเงื่อนไขที่เหมาะสมของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5 กลุ่มสามารถนำปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยด้านการจัดการ ของแหล่งท่องเที่ยว 7 ปัจจัย ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาจัดเข้ากลุ่มชั้นต่าง ๆ เพื่อให้เป็นเกณฑ์ในการเทียบเคียงกับแหล่งท่องเที่ยวที่จะทำการวางแผนและออกแบบ และเพื่อให้การจัดกลุ่ม แหล่งท่องเที่ยวทำได้ง่ายขึ้น จึงกำหนดให้มีค่าช่วงชั้น หรือค่าคะแนนที่เหมาะสมสำหรับแหล่งท่องเที่ยว แต่ละกลุ่มภายหลัง การวิเคราะห์ และประเมิน แหล่งท่องเที่ยว ที่จะทำการวางแผน และออกแบบ -- หากพบว่าปัจจัยใด (จากจำนวน 7 ปัจจัย) ของแหล่งท่องเที่ยวมีลักษณะเข้ากลุ่มพื้นที่สันโดษ ให้ ๆ ค่าคะแนนปัจจัยนั้น ๆ ปัจจัยละ 5 คะแนน -- หากมี ลักษณะเข้ากลุ่มพื้นที่กึ่งสันโดษระดับที่ 1 ให้ ๆ ค่าคะแนนปัจจัยนั้น ๆ ปัจจัยละ 4 คะแนน--หากมีลักษณะเข้ากลุ่มพื้นที่กึ่งสันโดษระดับที่ 2 ให้คะแนนปัจจัยนั้น ๆ ปัจจัยละ 3 คะแนน--หากมีลักษณะเข้ากลุ่มพื้นที่ธรรมชาติที่พัฒนา ให้ ๆ ค่าคะแนนปัจจัยนั้น ๆ ปัจจัยละ 2 คะแนน--และ หากมีลักษณะเข้ากลุ่มพื้นที่ชนบท ให้ ๆ ค่าคะแนนปัจจัยนั้น ๆ ปัจจัยละ1 คะแนน

          แหล่งท่องเที่ยวใดมีค่าคะแนนรวมทุกปัจจัยระหว่าง 35-31 ให้จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวประเภทพื้นที่สันโดษ แหล่งท่องเที่ยวใดมีค่าคะแนนรวมทุกปัจจัยระหว่าง 30-26 ให้จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวประเภทพื้นที่กึ่งสันโดษระดับที่ 1 แหล่งท่องเที่ยวใดมีค่าคะแนนรวมทุกปัจจัยระหว่าง 25-21 ให้จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวประเภท พื้นที่สันโดษระดับที่ 2 แหล่งท่องเที่ยวใดมีค่าคะแนนรวมทุกปัจจัยระหว่าง 20-14 ให้จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวประเภทพื่นที่ธรรมชาติที่พัฒนา และ แหล่งท่องเที่ยว ใดมีค่าคะแนนรวมทุกปัจจัยระหว่าง 13-7 ให้จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวประเภทพื้นที่ชนบท

          เงื่อนไขที่แตกต่างกันของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มขั้นจะส่งผลให้ประสบการณ์นันทนาการที่นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแหล่ง
จะได้รับมีความแตกต่างกัน ในการพัฒนาหรือปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกนักวางแผนและออกแบบจำเป็นที่จะต้องรักษาเงื่อนไขที่เหมาะสม
ของพื้นที่ให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและการกำหนดระดับการพัฒนาที่สอดคล้องกับเงื่อนไขดังกล่าวทั้งนี้เพื่อรักษาประสบการณ์นันทนาการที่เป็นเอกลักษณะ
์ของแหล่งท่องเที่ยวคู่มือฉบับนี้นำเสนอระดับการพัฒนาสำหรับแหล่งท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แต่ละกลุ่มชั้นโดยอาศัยประเภทและปริมาณ สิ่ิ่งอำนวย ความสะดวกเป็นตัวกำหนด

ที่มา:  คู่มือพัฒนาและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 15:49 โดย Solidus » บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #68 เมื่อ: 30-09-2008, 16:04 »

คำศัพท์ทางวิชาการบางคำเข้าใจยาก เช่น "ชั้นช่วงโอกาสในด้านนันทนาการ" ผมอ่านร้อยเที่ยวแล้วยังไม่ทราบเลยว่าหมายถึงอะไร (ถ้ายากนักก็ทับคำศัพท์ภาษาฝรั่งเลยก็น่าจะดี.
ที่เข้าใจยากไม่ใช่เพราะศัพท์นั้นไม่ได้อยู่ในฟิลด์ของคุณหรือครับ ในเมื่อศัพท์สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้และก็ไม่ใช่ชื่อเฉพาะก็ไม่มีความจำเป็นต้องทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ อีกทั้งในรายงานการวิจัยก็วงเล็บภาษาต่างประเทศไว้ให้เสมอ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #69 เมื่อ: 30-09-2008, 16:44 »

ที่เข้าใจยากไม่ใช่เพราะศัพท์นั้นไม่ได้อยู่ในฟิลด์ของคุณหรือครับ ในเมื่อศัพท์สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้และก็ไม่ใช่ชื่อเฉพาะก็ไม่มีความจำเป็นต้องทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ อีกทั้งในรายงานการวิจัยก็วงเล็บภาษาต่างประเทศไว้ให้เสมอ

ชาวบ้านฟังแล้วงง ผมขี้เกียจแปลไทย-เป็นไทย ให้ชาวบ้านฟัง

พวกต้นน้ำเขาก็มีสวรรค์ 5 ชั้น
พวกไฟป่าเขาก็มีลูกศร 5 สี
พวกไฟฟ้าเขาก็มี 5 เบอร์

พวกอุทยานน่าจะใช้อุทยาน-ห้าเบ้อ ชาวบ้านจะเข้าใจง่าย

วันนี้คุณเขียนจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาวแล้วหรือยัง ?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 16:56 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #70 เมื่อ: 30-09-2008, 17:55 »

คู่มือพัฒนาและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

เมื่อมกราคมปีนี้ ผมแวะไปชมน้ำตกวังบัวบาน อช.ดอยสุเทพ-ปุย เห็น ทีมงานคณะวนศาสตร์ เอาแผนที่ ROS Mapping แผ่นเบ้อเร่อไปแปะบน Buletine Board เหมือนกับจะสอนนักศึกษาปริญญาโท

ผมก็เป็นงงมาก เพราะเข้าใจว่า ROS Mapping นี่เขาน่าจะมีไว้ใช้การวางแผน และการจัดการอุทยาน ผมไม่เคยเห็นอุทยานที่ไหนในโลกเขาเอาไปแปะให้ผู้มาเยือนดู

นักท่องเที่ยวที่ไหนเขาจะมีเวลามากมายพอจะใช้ ROS Mapping มาตัดสินใจว่าจะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปเที่ยวตรงไหน
ยกตัวอย่าง ถ้าแฟนหนุ่มวนศาสตร์มัวแต่กาง ROS Mapping ก็พอดีแฟนสาวที่พาไปเที่ยวน้ำตกวังบัวบานโดดน้ำตกตายไปอีกคนพอดี

ควรเขียนเพียง site map ไปติดไว้ก็น่าจะพอ

"อ่าวเมาะและเป็นของคนไทยทุกคน มิใช่ของโรงแรม 5 ดาว"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-09-2008, 18:04 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #71 เมื่อ: 30-09-2008, 18:41 »

ชาวบ้านฟังแล้วงง ผมขี้เกียจแปลไทย-เป็นไทย ให้ชาวบ้านฟัง

พวกต้นน้ำเขาก็มีสวรรค์ 5 ชั้น
พวกไฟป่าเขาก็มีลูกศร 5 สี
พวกไฟฟ้าเขาก็มี 5 เบอร์

พวกอุทยานน่าจะใช้อุทยาน-ห้าเบ้อ ชาวบ้านจะเข้าใจง่าย

วันนี้คุณเขียนจดหมายไปคัดค้านโรงแรม 5 ดาวแล้วหรือยัง ?



รายงานทางวิชาการใช้ภาษาชาวบ้านเขียนก็ลงถังขยะสิครับ จุดประสงค์ของการเขียนก็มีอยู จะทำอุทยาน 5 เบอร์หรืออะไรก็แล้วแต่เป็นเรื่องของทางอุทยานที่จะไปจัดการเอง รายงานทางวิชาการก็มีแล้วแปลผลเอาสิครับ่

เมื่อมกราคมปีนี้ ผมแวะไปชมน้ำตกวังบัวบาน อช.ดอยสุเทพ-ปุย เห็น ทีมงานคณะวนศาสตร์ เอาแผนที่ ROS Mapping แผ่นเบ้อเร่อไปแปะบน Buletine Board เหมือนกับจะสอนนักศึกษาปริญญาโท

ผมก็เป็นงงมาก เพราะเข้าใจว่า ROS Mapping นี่เขาน่าจะมีไว้ใช้การวางแผน และการจัดการอุทยาน ผมไม่เคยเห็นอุทยานที่ไหนในโลกเขาเอาไปแปะให้ผู้มาเยือนดู

นักท่องเที่ยวที่ไหนเขาจะมีเวลามากมายพอจะใช้ ROS Mapping มาตัดสินใจว่าจะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปเที่ยวตรงไหน
ยกตัวอย่าง ถ้าแฟนหนุ่มวนศาสตร์มัวแต่กาง ROS Mapping ก็พอดีแฟนสาวที่พาไปเที่ยวน้ำตกวังบัวบานโดดน้ำตกตายไปอีกคนพอดี

ควรเขียนเพียง site map ไปติดไว้ก็น่าจะพอ

"อ่าวเมาะและเป็นของคนไทยทุกคน มิใช่ของโรงแรม 5 ดาว"
อันนี้ก็ต้องไปถามผู้ที่แปะเอาสิครับว่ามีจุดประสงค์ในการแปะเพื่ออะไร และ้ผู้มาเยือนก็ไม่ได้มีแค่ชาวบ้านธรรมดานี่ครับ
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #72 เมื่อ: 01-10-2008, 10:16 »

อันนี้ก็ต้องไปถามผู้ที่แปะเอาสิครับว่ามีจุดประสงค์ในการแปะเพื่ออะไร และ้ผู้มาเยือนก็ไม่ได้มีแค่ชาวบ้านธรรมดานี่ครับ

ผู้รับงานวิจัยควรแนะนำให้กรมอุทยานฯนำผลการศึกษาไปใช้ให้ถูกที่ถูกทางด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2008, 11:31 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #73 เมื่อ: 01-10-2008, 15:23 »

ผู้รับงานวิจัยควรแนะนำให้กรมอุทยานฯนำผลการศึกษาไปใช้ให้ถูกที่ถูกทางด้วย
ในรายงานวิจัยมันก็เขียนข้อเสนอแนะอยู่นี่ครับ อยู่ทางกรมจะอ่านหรือไม่ หรือจะเอาแต่ผลอย่างเดียวไม่สนว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ครอบคลุมขนาดไหน ส่วนเรื่องแผนที่ ROS มันจะยากอะไรก็แค่ติดคำอธิบายเพิ่มแค่นั้นไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 เอง แต่อย่างว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวหลายคนตัวหนังสือแค่ไม่กี่บรรทัดยังไม่สนใจจะทำตามเลย


* 64.jpg (88.12 KB, 360x272 - ดู 462 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #74 เมื่อ: 01-10-2008, 15:34 »

แถม ๆ ๆ 


* 63.jpg (93.14 KB, 360x272 - ดู 452 ครั้ง.)

* 10115.jpg (81.22 KB, 467x700 - ดู 459 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #75 เมื่อ: 01-10-2008, 17:03 »

[quote
ในรายงานวิจัยมันก็เขียนข้อเสนอแนะอยู่นี่ครับ อยู่ทางกรมจะอ่านหรือไม่ หรือจะเอาแต่ผลอย่างเดียวไม่สนว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ครอบคลุมขนาดไหน ส่วนเรื่องแผนที่ ROS มันจะยากอะไรก็แค่ติดคำอธิบายเพิ่มแค่นั้นไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 เอง แต่อย่างว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยวหลายคนตัวหนังสือแค่ไม่กี่บรรทัดยังไม่สนใจจะทำตามเลย
[/quote]

1.พูดแล้วเจ็บกระดองใจ ผมอุตส่าห์ไปอบรมเรื่อง park interpretation ที่ east-west center พร้อม ดร.หน่อง(ตอนนั้นกำลังเรียนเอกที่เมนแลนด์) + เพื่อนๆอีก 10 คน กลับมาแล้วกรมอุทยานฯ(กรมป่าไม้ในขณะนั้น)ดันผ่าให้ผมไปไล่จับไม้เถื่อนที่สาลาวินจนเกษียณ วันๆผมก็ได้ตีความอุทยานไทยให้กระเหรี่ยงฟัง จนเกือบมามีเมียเป็นกระเหรี่ยงไปอีกคน

2.ผมเคยแปล environment interpretation ของ Dr. Grant Sharpe แจกหัวหน้าอุทยานฯต่างๆเป็นการส่วนตัว มีอยู่วันหนึ่งผมไปเจอหนังสือที่แจก ในร้านขายหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง ก็ยังดีกว่ากลายเป็นกระดาษทิซซู

3.เรื่องลิงนี่ โทร.ไปคุยกับหัวหน้าณรงค์ฯ อุทยานฯเขาใหญ่ แล้ว ได้ทราบว่าก็กำลังปวดเฮดอยู่เหมือนกัน (ผมจะแนะนำให้กรมอุทยานฯออกระเบียบให้ผู้ที่จะไปแคมป์ปิ้งที่เขาใหญ่ต้องผ่านการสอบแบบการขอใบขับขี่รถยนต์ ใครว่าผมบ้าก็ยอมครับ)

4.ตอนนี้ คนที่กรมอุทยานฯ 100 คน จะมีคนทำงานเพียง 10 ก็นับว่าเก่ง นอกนั้นซ้อมวิ่งเตรียมไป london games 2012 กันหมด (อายลิงจังเลย)

วันนี้คุณเขียนจดหมายค้านโรงแรม 5 ดาว อ่าวเมาะและ ไปที่กระทรวงทรัพยากรฯแล้วหรือยัง ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01-10-2008, 19:39 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #76 เมื่อ: 03-10-2008, 21:25 »

ด่วน...หัวหน้าฯตะรุเตาถูกย้าย 24 ชม.แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 07:23 โดย concordance democracy » บันทึกการเข้า
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #77 เมื่อ: 04-10-2008, 07:26 »

พวกกินเกาะชอบใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: