นักการเมืองที่คุณกล่าวหาว่าซุกหุ้น (ศาลตัดสินว่าไม่ผิด)
ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ ของการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม กรณีคดีซุกหุ้น 1 ที่ทักษิณเคยติดสินบนศาลรัฐธรรมนูญจนชนะไป 8 ต่อ 7 ที่ ศ.คณิต ณ นคร เรียกว่า การหักดิบกฏหมาย คือ การที่ศาลจงใจพิพากษาขัดข้อกฏหมาย เพื่อช่วยจำเลย ในเยอรมัน มีบทลงโทษศาลแล้ว เพราะ ฮิตเลอร์เคยรอด เพราะการหักดิบกฏหมาย ...การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และจิตวิทยาคำให้การพยานบุคคลเกี่ยวกับ "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหานั้น ผู้เขียนได้เคยวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายมาบ้างแล้ว โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ว่า ในคดีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็น "ศาลพิจารณาพิพากษาเฉพาะข้อกฎหมาย" (Review Court) ไม่ใช่ "ศาลพิจารณา" (Trial Court) (ดู คณิต ณ นคร "ศาลรัฐธรรมนูญในคดียื่นบัญชีทรัพย์สิน" มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 และ 24 มีนาคม 2544 หรือใน รัฐธรรมนูญกับกระบวนการยุติธรรม สำนักพิมพ์วิญญูชน มิถุนายน 2549 หน้า 80)
โดยที่ใน "คดีซุกหุ้น" นี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานด้วย ผู้เขียนจึงจะวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวนี้ต่อไป
ตามหลักกฎหมายนั้น การนั่งพิจารณาคดีของศาล (รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญด้วย) ต้องมีผู้พิพากษาหรือตุลาการครบองค์คณะ และผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือวินิจฉ ัยคดีนั้นไม่ได้ (ดู รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มาตรา 236)
หลักกฎหมายดังกล่าวนี้ย่อมตรงกับหลักตรรกศาสตร์อันเป็นหลักสำคัญในการชั่งน้ ำหนักพยานหลักฐาน กล่าวคือ ผู้ที่จะชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานได้ต้องเป็นผู้ที่ได้สัมผัสพยานหลักฐานต่างๆ มาด้วยตนเอง เพราะหากให้ผู้ที่มิได้สัมผัสกับพยานมาโดยตรงด้วยตนเองเป็นผู้ชั่งน้ำหนักพย านหลักฐานแล้ว ก็ย่อมจะไม่สามารถที่อธิบายและให้เหตุผลด้วยศาสตร์ใดๆ ได้เลย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบุคคล เพราะความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลก็ดี ความสามารถในการจดจำของพยานบุคคลก็ดี เหล่านี้ผู้ชั่งน้ำหนักพยานบุคคลต้องสัมผัสกับพยานบุคคลโดยตรงด้วยตนเอง
กล่าวคือ พยานบุคคลต้องให้การต่อหน้าตน แต่ทางปฏิบัติในอดีตของศาลยุติธรรมของไทยเราได้มีการทำผิดหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอดจนต้องเน้นย้ำหลักการนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ดู คณิต ณ นคร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิมพ์ครั้งที่ 7 สำนักพิมพ์วิญญูชน กุมภาพันธ์ 2549 หน้า 241-252)
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้มีหลักการดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ใน "คดีซุกหุ้น" ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นผู้ถูกล่าวหานั้น นายศักดิ์ เตชาชาญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเพิ่งได้รับเลือกเข้าไปทำหน้าที่และไม่ได้สัมผัสพย านบุคคลใดๆ ในคดีโดยตรงด้วยตนเอง แต่ก็ได้เข้าร่วมในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวด้วย การกระทำของ นายศักดิ์ เตชาชาญ จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อกฎหมายอย่างแจ้งชัด เป็นการกระทำที่เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมายนั่นเอง
การกระทำของ นายศักดิ์ เตชาชาญ ดังกล่าวนี้แม้ในปัจจุบันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดทางอาญา ผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นการบั่นทอนความเชื่อถือศรัทธาของศาลรัฐธรรมนูญไปไม่น้อย...Source :
http://www.biolawcom.de/article/178