การเมืองใหม่เสนอให้มีส.ส.ไม่เกิน 400 เท่าเทียม"ช.ญ."
ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังจากการประชุมสัมมนาเรื่องการเมืองใหม่ ครั้งที่ 3 มีผู้เข้าร่วมจากหลายส่วน เช่นนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรท์ นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด องค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงว่า การประชุมและสัมมนาการเมืองใหม่ในครั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือซึ่งแนวทางข้อสรุปในเบื้องต้นหลายประเด็น ประเด็นแรก ที่ประชุมมีความเห็นพ้องร่วมกันว่า การเมืองใหม่ ควรให้มีสองสภา คือ
สภาผู้แทนราษฎร โดยมีจำนวนสมาชิกไม่เกิน 400 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งจะมาจากการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตพื้นที่ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมาจากกลุ่มสาขาอาชีพ ซึ่งการสรรหาจะต้องให้ความเท่าเทียมระหว่างชาย-หญิง
สำหรับสมาชิกวุฒิสภานั้น ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า ควรให้คงไว้ในรูปแบบเดิม คือ จำนวน 150 คน มาจากการเลือกตั้ง 76 คน และการสรรหาจำนวน 74 คน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีความเห็นว่าการเมืองใหม่จำเป็นจะต้องมีการจัดตั้งสภาประชาชน ขึ้นมาทำหน้าที่ให้ความรู้ และพัฒนาความเข้าใจในเรื่องการเมือง รวมถึงการปลูกจิตสำนึกในเรื่องหลักการประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา การเมืองในระบบเก่าประชาชนส่วนใหญ่ของประชาชนยังขาดความรู้ และความเข้าใจในหลักการเรื่องของการเมืองอย่างมาก
มติชน
บิดเบือนน่ะครับ มติชน สส. มาจากการเลือกตั้ง 100 % น่ะ แต่ มติชนลงว่า สส. มาจากการสรรหา “ปานเทพ” เผย ที่ประชุมสัมมนาการเมืองใหญ่คงรูปแบบสภาเดิม เน้น ส.ว.สรรหาต้องมาจาก ปชช.ทุกภาคส่วน เสนอควรมี “สภาประชาชน” ที่รับรองสิทธิ์ตาม รธน.ไว้ถ่วงดุลอำนาจ รบ.พร้อมเพิ่มบทลงโทษตัดสิทธิ์นักการเมืองขี้ฉ้อทันที หากตรวจพบ ด้าน “สุริยะใส” แนะจับตาอาจมีการลักไก่ นำ รธน.ฉบับ “หมอเหวง” มาพิจารณา เชื่อ ส.ส.ร.3 ไร้น้ำยาปฏิรูปการเมือง
วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลา 18.30 น.นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ แถลงหลังการประชุมสัมมนาเรื่องการเมืองใหม่ครั้งที่ 3 ว่า ที่ประชุมมีความเห็นกรณีของรัฐสภา ว่า
ควรจะมี 2 สภาเหมือนเดิม คือ 1.สภาผู้แทนราษฎรที่จะมี ส.ส.ไม่กิน 400 คน แบ่งเป็น ส.ส.200 คน และจากสาขาอาชีพทุกภาคส่วนอีก 200 คน โดยคำนึงถึงสัดส่วนของชายและหญิงด้วย (ไม่มีคำว่าสรรหาเลย)
2.วุฒิสภา ซึ่งจะคงรูปแบบเดิมในปัจจุบัน แต่ควรจะให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการสรรหาด้วย ส่วนที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการถกเถียงกันว่า นายกฯจำเป็นต้องมาจากส.ส.หรือไม่
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรมีสภาประชาชน ซึ่งจะมีการรับรองตามรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ให้ความรู้ปลูกจิตสำนึกทางการเมืองสามารถคัดค้านและถอดถอนได้ ส่วนเรื่องการใช้เงินเป็นใหญ่ในการเลือกตั้งนั้น ที่ประชุมเสนอว่า การประชาสัมพันธ์การหาเสียงการเลือกตั้งควรทัดเทียมกันทุกพรรคการเมือง ทั้งในเรื่องของโปสเตอร์และการลงโฆษณาในสื่อสารมวลชนต่างๆ ร่วมทั้งงดให้ใบเหลืองแต่ให้ใช้ใบแดงทันที และควรลงโทษทางอาญาทั้งที และควรมีศาลเลือกตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อกำกับดูแลด้วย
สำหรับบทลงโทษนักการเมืองที่ทุจริตการเลือกตั้งนั้น ควรจะตัดสิทธิ์ตลอดไปไม่ใช่เพียงแค่ 5 ปี รวมทั้งให้ประชาชนทุกภาคส่วนและสภาประชาชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผู้เสียหาย เมื่อมีการทุจริตเลือกตั้ง โดยสามารถฟ้องศาลเองได้ และมีรางวัลนำจับให้ รวมทั้งให้มีการขึ้นแบล็กลิสต์นักการเมืองเหล่านั้น
ส่วนการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ควรที่จะให้มีการถ่ายทอดสดด้วยความโปร่งใส สำหรับนักการเมืองที่ยกมือไว้วางใจนักการเมืองที่พิสูจน์ได้ภายหลังว่ามีการทุจริตนั้น จะต้องได้รับบทลงโทษอย่างจริงจัง นอกจากนี้ข้าราชการระดับสูงจะต้องเปิดเผยบัชญีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นรายปีเหมือนกับนักการเมืองด้วย
ด้าน นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ กล่าวว่า สภาประชาชนจะเป็นสภาคู่ขนานระหว่างสภารัฐ คือ ส.ส.และ ส.ว.กับสภาราษฎร ซึ่งมาจากการแต่งตั้งประชาชนทุกระดับ ส่วนรูปแบบโครงสร้างนั้น อยู่ระหว่างคิดเค้าโครง ก่อนจะนำเเสนอในการประชุมครั้งต่อไป ทั้งนี้ คำว่า ประชาธิปไตย คือ อำนาจของประชาชน ดังนั้น ประชาชนต้องมีอำนาจอยู่ในตัว ซึ่งสภา ประชาชน จะมีหน้าที่สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนสามารถตรวจสอบคัดค้านรวมทั้งถอดถอนได้ด้วยในทุกระดับ โดยมี รธน.รับรองอำนาจของสภาประชาชนด้วย
ขณะที่ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ กล่าวว่า ในวันอาทิตย์ที่ 5 ต.ค.เวลา 14.00-18.00 น.จะมีการประชุมสัมมนาเรื่องการเมืองใหม่ครั้งที่ 4 เพื่อพิจารณาเค้าโครงและวาระสำคัญของสภาประชาชน ทั้งนี้ ในเรื่องของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 3 (ส.ส.ร.3) ที่ประชุมเห็นคล้ายกับแกนนำ ว่า พันธมิตรฯให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวในทางสาธารณะ ดังนั้นจึงไม่ได้คาดหวังว่า ส.ส.ร.3 ที่รัฐบาลนอมินีเป็นผู้ริเริ่มจะทำให้เกิดการเมืองใหม่หรือการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริงได้ นอกจากนี้ อยากให้จับตาว่า อาจจะมีการลักไก่นำร่างแก้ไข รธน.ของ นพ.เหวง โตจิราการ มายื่นในการพิจาณา รธน.มาตรา 291
นายสุริยะใสเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ทางทีมทนายความของพันธมิตรฯ ได้ยื่น ประกันตัวผู้ต้องหากรณีบุกสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ได้เพิ่มอีก 9 คน และจะทยอยประกันตัวเพิ่มเติมต่อไปอีกเรื่อยๆ โดยคาดว่าจะประกันตัวได้ครบทุกคนในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ พันธมิตรฯได้มีการรับบริจาคเพื่อระดมทุนช่วยเหลือครอบครั้วของผู้ต้องหาด้วย โดยในเบื้องต้นได้ช่วยเหลือไปแล้วจำนวนหนึ่งซึ่งแกนนำทุกคนให้การดูแลอย่างเต็มที่ โดยมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลรวมทั้งมีการไปเยี่ยมผู้ต้องหาในช่วงบ่ายวันอังคารและวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ด้วย
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000116574