ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
27-11-2024, 19:04
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง (+Update การเสวนาที่ ฟ้าเดียวกัน ครับ)== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 [2]
==แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง (+Update การเสวนาที่ ฟ้าเดียวกัน ครับ)==  (อ่าน 12899 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #50 เมื่อ: 01-10-2008, 22:48 »

สิ่งที่ผมให้ความสนใจมากที่สุดคือ ระบบการตรวจสอบจากภาคประชาชน การจับกุมบังคับใช้กฎหมายกับนักการเมือง และ กระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงการจัดการกับสื่อสารมวลชลที่ไม่มีจรรยาบรรณทาวิชาชีพด้วย

โดยเฉพาะสื่อมวลชน ในขณะนี้ภาคประชาชนแทบไม่มีช่องทางจัดการตรวจสอบได้เลย ผมคิดว่าเราควรมีกฎหมายสักฉบับเพื่อกำหนดจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน และ ประชาชนก็สามารถฟ้องร้องกับกระบวนการยุติธรรม ในกรณีที่สื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นของรัฐ และ เอกชน ประพฤติตนไม่อยู่กับร่องกับรอยได้ เช่นเสนอข่าวสารที่เป็นเท็จบิดเบือน ก่อความเสียหายให้กับสังคมในภาพรวม ทั้งหมดนี้ควรให้กระบวนการยุติธรรมตัดสิน

คำว่า สื่อเสรี มันไม่ใช่ว่า ใครจะเสนออะไรก็ได้ แล้วให้ประชาชนเลือกบริโภค ทุกวันนี้เลยเสรีกันแบบไม่จรรยาบรรณ เสรีกันตามผลประโยชน์ที่ตัวเองได้รับ แล้ว ประชาชนทุกคนก็เลือกบริโภคจนเกิดความแตกแยกแผ่ขยายไปทั่วประเทศไทย

ในส่วนการตรวจสอบเอาผิดนักการเมือง ผมมองว่าการตรวจสอบควรให้เป็นหน้าที่ของวุฒิสภา
เพราะการที่ประชาชนคนธรรมดาจะฟ้องร้องดำเนินคดีนักการเมืองเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสมาก
ถึงขนาดจะไม่ได้ทำมาหากินนะครับ ตัวอย่าง คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กว่าจะผ่านพ้นมาได้
ก็เรียกว่าแทบเอาตัวไม่รอด

เรื่อง กฎหมายกำหนดจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน ผมยังไม่มีความเห็นนะครับ
เพราะปัจจุบันคงนิยามได้ยาก ว่าใครคือสื่อมวลชนกันแน่  ตัวอย่างรายการ "ความจริงวันนี้"
ผมไม่มองว่าเขาเป็นสื่อมวลชนนะครับ  แต่การเอาสถานีโทรทัศน์ของรัฐไปใช้สนองประโยชน์
ของกลุ่มการเมืองเป็นเรื่องไม่สมควร  และน่าจะมีความผิดตามกฎหมายครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #51 เมื่อ: 02-10-2008, 07:23 »

*ย้ายเนื้อหา คคห.51 ขึ้นไปที่ต้นกระทู้แล้วครับ* 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-10-2008, 08:49 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #52 เมื่อ: 03-10-2008, 05:54 »

เมื่อวานนี้ผมนำลิงค์กระทู้นี้ไปตั้งกระทู้ที่เว็บประชาไท
มีคนเข้ามาคุยด้วยนิดหน่อย ส่วนใหญ่ไม่ยอมเข้ามาอ่าน

ที่เข้ามาคุยยาวๆ คือคุณมังกรดำ(เจ้าเก่า) แต่ไม่ค่อย
จะตรงประเด็น ดูเหมือนอ่านไปถึงแค่เรื่อง "วุฒิสภา"
แล้วก็วิจารณ์ว่าเป็น "เผด็จการ" แค่นั้น

มีอีก 2 คนเข้ามาโพสต์ให้ความเห็นต่อจากคุณมังกรดำ
ผมนำข้อความที่โพสต์ตอบมาลงกระทู้่นี้ด้วยก็แล้วกัน

http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=724804
----------------------------------------------------------------

โพสต์โดย : sabor
ID # 1135684 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-02 09:14:05

คุณจีรศักดิ์ครับ

การเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยแท้จริง ไม่มีการ "สรรหา" ครับ เพราะทุกสิ่งต้องมาจากประชาชนเท่านั้นเป็นผู้เลือกครับ ระบอบประชาธิปไตยจำต้องยอมรับเสียงข้างมาก ใช่ครับแม้ชนะเพียงแค่ 1 เสียงก็ต้องยอมรับ เหตุการวุ่นวายที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เกิดจากการไม่ยอมรับในเสียงข้างมาก และพยายามบิดเบือนแถมด้วยการเล่นเกมนอกระบอบ

---------------------------------------------------------------------------

จะเลือกตั้งทั้งหมดไม่สรรหาก็ได้ครับ เพราะไม่ใช่สาระสำคัญ
ที่ผมนำเสนอแต่อย่างใด

แต่ที่คุณบอกประมาณว่า...

"ระบอบประชาธิปไตยจำต้องยอมรับเสียงข้างมากแม้ชนะเพียงแค่ 1 เสียง"

ในแง่หนึ่งก็คือ "เผด็จการเสียงข้างมาก" เ่พราะฝ่ายที่แพ้
แม้จำต้องยอมรับแต่ก็ไ่ม่ได้พอใจนะครับ และความพอใจ
ก็เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ทุกคนมีอิสระจะรู้สึกนึกคิดได้

ถ้าเราตีความอีกทางว่าประชาธิปไตยต้องใส่ใจในทุกเสียง
เราจะพบว่ามีประชาชนที่ออกเสียงสนับสนุนพรรคการเมือง
ทั้ง 2 พรรคใหญ่ ด้วยคะแนน 12 ล้านเสียงเท่าๆ กัน

แต่กลับมีเพียงกลุ่มเดียวที่ได้รัฐบาลขณะที่อีก 12 ล้านเสียง
"มีสิทธิเป็นศูนย์" ไม่มีส่วนใดๆ ในอำนาจบริหารเลย!!!

ที่คุณ sabor บอกว่าเขาเล่นนอกระบบ ก็เพราะเขาถูกกีดกัน
ออกมาจากระบบ ไม่มีที่ให้เขายืนในระบบหรือเปล่าครับ?

ทั้งๆ ที่ประชาชนทั้งหมดก็ได้ลงคะแนน แสดงเจตจำนง
เป็นมติมหาชนแล้วว่าให้การสนับสนุนแต่ละพรรคการเมือง
ในสัดส่วนเท่าใด ผ่านคะแนน ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค)


อีกทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติวิธีการไว้ว่าต้องตั้งรัฐบาล
โดยพรรคที่ได้คะแนนมากที่สุดไปรวบรวมพรรคอื่นๆ
ให้ได้จำนวน ส.ส. เกินครึ่ง แบบที่ทำกันมา

วิธีดังกล่าวเป็นเพียงธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีกฏหมายรองรับ
และก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้น โดยไม่เป็นประชาธิปไตย
ในความหมายที่ว่า "ต้องใส่ใจทุกเสียงในสังคม"

ธรรมเนียมปฏิบัติใดก่อปัญหา เราก็ควรพิจารณาเปลี่ยนแปลง
ไปใช้ธรรมเนียมปฏิบัติอื่นที่ป้องกันแก้ไขปัญหาได้


นั่นคือสาระสำคัญที่ผมต้องการนำเสนอเพื่อเป็นทางออกครับ ^_^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 07:56 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #53 เมื่อ: 03-10-2008, 05:56 »

โพสต์โดย : ngojun
ID # 1135685 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-02 09:15:03

ไม่อาโว้ย
เอา รธน ปี 40 คืนมาก็พอ
ใหม่ที่สุดแล้ว
ไม่ต้องมาเสนอการเมืองใหม่บ้าบออะไรอีก
มันอยู่ที่คน ไม่ใช่อยู่ที่ระบบการปกครอง
คนไม่เคารพกฏหมาย ระบอบอะไรก็เอาไม่อยู่

--------------------------------------------------------------------------

ข้อเสนอของผมไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญครับ
อยากจะใช้ฉบับไหนก็ได้ทั้งนั้นตามศรัทธา


ประเด็นสำคัญที่ผมต้องการนำเสนอก็คือ
เราควรเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติที่ก่อปัญหา

ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวไม่มีกฎหมาย
บัญญัติเอาไว้แต่อย่างใด เป็นเพียงสิ่งที่
ถือปฏิบัติต่อๆ กันมาเท่านั้น

ที่ผมนำเสนอไม่เกี่ยวกับ "คนไม่เคารพกฏหมาย"
แต่เป็นเรื่องการถือธรรมเนียมปฏิบัติที่ก่อปัญหา
สร้างความแตกแยกในสังคมไทย

คนไทยฝ่ายละ 12 ล้านคน ไม่มีทางกำจัดอีกฝ่าย
ให้หมดไปจากประเทศไทยได้หรอกครับ


ทางออกคือเราต้องหาทางอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข
เพื่อจะได้วางเรื่องแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง
แล้วเอาเวลาไปทำมาหากินกันเสียทีครับ

*การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง - jerasak*  
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #54 เมื่อ: 03-10-2008, 08:42 »

จ๊ะว่าคุณจีจี๊น่าจะนำแนวคิดดังกล่าวไปขออนุมัติจากพธม.ก่อนน๊า...ถ้าพธม.เค้าอนุมัติก็ค่อยดำเนินการต่อไปได้  จ๊ะหวังดีน๊ะจีจี๊
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #55 เมื่อ: 03-10-2008, 14:47 »

โพสต์โดย : คนชอบอ่านหนังสือ
   ID # 1138829 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-03 10:31:39

คุณ จีรศักดิ์ ประชาชนที่เลือกสมาชิกตัวแทนของเขาเป็นจำนวนมากเข้ารัฐสภาไปทำหน้าที่แทนเขานี่เป็น"เผด็จการเสียงข้างมาก"หรือครับ ระบบการปกครองอะไรกันครับผมไม่เคยเห็น ไม่เคยมีเห็นมีแต่คำประดิษฐ์ดูสวยหรูในประเทศนี้เท่านั้นต่างประเทศที่เขาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยพรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปบริหารงานก็เป็น"เผด็จการเสียงข้างมาก" กันหมดทุกประเทศซิครับ คำอ้างเช่นนี้ไม่ถูกนะครับ การใช้อำนาจเผด็จการแต่งตั้งใครก็ได้อยู่กันนานเท่าไหร่ก้ได้จะทำอะไรก็ได้ใช้ในประเทศที่ไม่มีการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนะครับมีแต่การแต่งตั้งประชาชนไม่เกี่ยวครับเพราะฉนั้นอย่านำคำนี้มาใช้ครับเสียงของประชาชนไม่ใช่อำนาจเผด็จการครับ เมื่อถึงเวลาประชาชนมีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงบุคคลตัวแทนได้ ไม่ใช่"เผด็จการเสียงข้างมาก"เด็ดขาดครับ อีกอย่างเรื่องตั้งรัฐบาลก็เหมือนกัน ถ้าพรรคไหนไม่ชนะเด็ดขาดหรือว่ามีเสียงน้อยแต่มีผู้นำที่สามารถก็สามารถรวมเสียงจากพรรคอื่นมาร่วมด้วยไม่ใช่หรือครับ ถ้าได้การสนับสนุนเป็นจำนวนมากก็สามารถตั้งรัฐบาลได้ไม่ใช่หรือ ซึ่งเป็นหลักการสากลทั่วไป ผมว่าที่เกิดปัญหาเพราะเสียงส่วนน้อยไม่เข้าใจในหน้าที่ของตัวเองในระบอบประชาธิปไตยเสียมากกว่า การแสดงความเห็นอะไรก็ตามเสียงส่วนน้อยก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ในการช่วยกันในการบริหารประเทศติติงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติของตัวเองแสดงวิสัยทัศน์ในปัญหาให้แจ่มชัดว่าสิ่งที่รัฐบาลทำจะเกิดประโยชน์หรือเสียประโยชน์อย่างไรบ้างกับประชาชนหรือประเทศชาติซึ่งฝ่ายผู้บริหารก็ต้องตอบได้ชัดเจน ไม่ใช่กล่าวหากันอย่างเดียวแบบปัจจุบันนี้ไม่เห็นว่าจะสร้างสรรค์อะไรให้ประเทศชาติหรือประชาชนเลยสักอย่างเดียว แล้วจะให้เขาใส่ใจกันตรงไหนล่ะครับอีกอย่างประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยที่ไหนครับที่ให้มีการเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศได้โดยประชาชนไม่ได้เลือก ง่ายๆอย่างประเทศไทยบ้าง ลองคิดดูนะครับไม่ต้องเสนอการเมืองใหม่อะไรหรอกครับให้คุณมีระบอบการการเมืองใหม่รัฐธรรมนูญสวยหรูสุดเริ่ดยังไงถ้ายังเป็นอย่างนี้กันอยู่ก็อย่าหวังอะไรกันเลยครับอำนาจอธิปไตยคุณแน่ใจหรือว่าเป็นของปวงขนชาวไทย.


----------------------------------------------------------------------------------------------------

คุณ คนชอบอ่าน ครับ

ที่คุณวิจารณ์มา เห็นได้ัชัดว่าคุณไม่ยังไม่ได้อ่าน
เนื้อหาที่ผมนำเสนอตามลิงค์เลยนะครับ

อยากถามว่าคุณอยากให้ประเทศสงบสุขหรือเปล่า
หรือพอใจให้ประเทศไทยแตกแยกกันแบบนี้ครับ?

"เผด็จการเสียงข้างมาก" หมายถึงมีคนกลุ่มหนึ่ง
ครองอำนาจตลอดกาล เพราะมีจำนวนมากกว่า
ในขณะที่คนอีกกลุ่มไร้อำนาจโดยสิ้นเชิงเพราะ
มีจำนวนน้อยกว่า ทำให้แพ้เลือกตั้งเสมอ


ถ้าบอกว่าเป็นเสียงข้างน้อยก็ต้องทนไปตลอดกาล
นั่นแหละครับคือระบบ "เผด็จการเสียงข้างมาก"


เมื่อวิธีปัจจุบันทำให้เกิดความแตกแยกในประเทศ
ทั้งที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ เราก็สามารถเปลี่ยน
ไปใช้วิธีอื่นๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา

ถ้าอ่านแล้วไม่รู้เรื่องว่าตรงไหนที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติ
แสดงว่าคนอ่านยังไม่ได้อ่านบทความของผมนะครับ
^_^
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #56 เมื่อ: 03-10-2008, 14:56 »

มี คคห. หนึ่งในเว็บประชาไท โพสต์รูปนี้และใช้ข้อความทำนองแบ่งแยกประเทศ
ทั้งหมดมาจากปัญหาความแตกแยกทางการเมืองแท้ๆ 


http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=725232

บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #57 เมื่อ: 04-10-2008, 07:25 »

โพสต์โดย : คนชอบอ่านหนังสือ
ID # 1140097 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-03 19:23:16

คุณจีรศักดิ์ครับบอกอย่างนั้นก็ไม่ถูกซิครับ ประชาชนเลือกตัวแทนของเขานะครับ ถ้า"เสียงส่วนน้อย"ไม่รู้จักพัฒนาวิวัฒนาการให้ทันกับความรู้ของประชาชนให้ได้รับเสียงข้างมากบ้างยอมรับในระบอบก็สมแล้วนี่ครับ ก็อย่างที่เคยมีนักการเมืองใหญ่โบราณท่านหนึ่งเคยบอกว่า ไม่พอใจก็ไม่ต้องเลือกแล้วเป็นไงเล่าครับ คนไทยพัฒนากันไปแล้ว แต่นักการเมืองบางคนไม่เลย ประชาชนส่วนมากเขาเริ่มดูออกครับเลือกเป็น ไม่ต้องมาสรรหาคัดเลือกให้หรอกครับ วิธีไหนมันก็แตกแยกทั้งนั้นละครับถ้ามีคนไม่ยอมรับในระบบไม่เล่นในกติกา ถ้ามุ่งจะจับผิดกันอย่างเดียว บุคคลเพียงกลุ่มเดียวหรือใครก็ไม่ทราบมายัดเยียดสรรหาให้รับหรือยัดเยียดให้ ยืนยันว่าไม่ถูกต้องครับ ประชาชนต้องเลือกเองเท่านั้น เพื่อผลประโยชน์ของประเทศกับของประชาชนครับ ประชาชนเลือกผิดเลือกใหม่ได้ กฎกติกาทีออกจะเพี้ยนๆ เรียนรู้กันไปเรื่อยๆสักวันผู้แทนของเขาก็ต้องดีขึ้นไปเองครับ.


http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=725432#1140948
------------------------------------------------------------------------------
คุณคนชอบอ่านฯ ตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งหมดนะครับ
และด้วยสภาพที่ติดล็อกทางการเมืองแบบปัจจุบัน ฝ่ายเสียงส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถ
ทำให้เสียงส่วนน้อยยอมรับได้เหมือนกัน

ที่คุณบอกว่า "ก็สมแล้วนี่ครับ" แสดงความ "เผด็จการ" ที่ไม่แยแสเสียงส่วนน้อย
เพราะถือว่าตัวเองครองอำนาจอยู่ฝ่ายเสียงส่วนใหญ่

วิธีคิดแบบ "ก็สมแล้วนี่ครับ" เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมครับ
และผมได้เสนอแนวคิดที่ดีกว่า "ก็สมแล้วนี่ครับ" เพื่อแก้ปัญหาความแตกแยกนี้


...

เราปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลปัจจุบันไม่ใช่รัฐบาลของคนทั้งประเทศ มีคนจำนวนกว่า
สิบล้านคนที่ถูกกีดกันออกจากอำนาจบริหาร ทั้งที่ก็เป็นคนไทยเสียภาษีเหมือนกัน
และเป็นไปได้ว่าเสียภาษีมากกว่าคนที่เลือกรัฐบาลรวมกันเสียอีก!!!

คนกว่าสิบล้านมีสิทธิเป็นศูนย์ในอำนาจบริหาร และความจริงมีสิทธิเป็นศูนย์ด้วย
ในอำนาจนิติบัญญัติเพราะเป็นเสียงข้างน้อยในสภา

"ประชาธิปไตย" หมายถึงประชาชนเป็นใหญ่ ซึ่งชัดเจนว่า "ประชาชน" หมายถึง
"คนทุกคนในสังคม" ไม่ใช่หมายถึงเสียงส่วนใหญ่ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในสังคม

...

แล้วที่คุณบอกว่า "ไม่ต้องมาสรรหาคัดเลือกให้หรอกครับ" ก็แสดงซ้ำเข้าไปอีกว่า
คุณไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลยว่าผมเสนออะไร "ผมไม่ได้เสนอให้สรรหาคัดเลือก" ครับ
ถ้าคุณยังไม่ได้อ่านสาระสำคัญที่ผมนำเสนอ คุณก็ยังคุยกับผมไม่รู้เรื่องครับ

เรื่องที่คุณบอกว่า "คนไม่ยอมรับในระบบไม่เล่นในกติกา" ผมก็อยากยกตัวอย่าง
กรณีคุณทักษิณหนีคดีไม่ยอมกลับมาขึ้นศาล ที่บรรดากองเชียร์พากันสนับสนุน

เหตุผลมันเหมือนกันคือ.. กติกาอะไรก็ตามถ้าหากคนไม่ยอมรับเขาก็ไม่อยากเล่น
ฝ่ายได้เปรียบไปบังคับให้เขาเล่นก็เพราะตัวเองได้เปรียบ ถ้าอีกฝ่ายต้องแพ้ตลอด
จะให้เขาทนเล่นด้วยกติกานี้ไปตลอดกาล.. ใครจะพอใจล่ะครับ?

ถ้าใช้วิธีคิดแบบ "ก็สมแล้วนี่ครับ" ก็แตกแยกทะเลาะกันเท่านั้นเอง

ในเมื่อเราไม่มีทางกำจัดคน 12 ล้านคนออกจากประเทศไทย ก็ต้องคิดหาวิธีที่จะ
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเสนอและคุณไม่ยอมอ่าน


...

ประโยคที่ว่า...

"บุคคลเพียงกลุ่มเดียวหรือใครก็ไม่ทราบมายัดเยียดสรรหาให้รับหรือยัดเยียดให้
ยืนยันว่าไม่ถูกต้องครับ ประชาชนต้องเลือกเองเท่านั้น"


ผมเห็นด้วย 100% เพราะข้อเสนอของผมก็เป็นแบบนั้น 100%.. แต่คุณไม่อ่านเอง

ถ้าคุณเห็นอะไรที่เป็นการสรรหาอยู่ในข้อเสนอของผม เป็นเพราะข้อเสนอของผม
ไม่ขึ้นกับรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ 2550 จะใช้กับระบบปัจจุบันโดยไม่แก้ก็ได้
หรือถ้าจะแก้ไม่ให้มีการสรรหา ข้อเสนอของผมก็ยังใช้ได้อยู่ดี... แต่คุณไม่อ่านเอง  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 07:31 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #58 เมื่อ: 04-10-2008, 07:32 »

โพสต์โดย : sabor
ID # 1140759 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-04 00:34:06

คุณจีรศักดิ์

ผมไม่ทราบว่าคุณ "รู้จักประชาธิปไตย" ขนาดไหน แต่การที่คุณเอา อารมณ์มาเหนือเหตุผล คุณก็ไม่ต่างจาก พวกที่กำลังสร้างความฉิบหายให้แก่บ้านเมืองอยู่ขณะนี้หรอก

คุณจะมาว่า คนแพ้ย่อมไม่พอใจ เคยเล่นกีฬาไหมครับคุณน่ะ คุณแข่งชนะทุกครั้งเลยหรือไม่ แพ้แล้วคุณไม่ยอมแพ้หรือ แพ้หนึ่งหรือแพ้สิบมันก็ชื่อว่าแพ้ อยู่วันยังค่ำ แต่แพ้แล้วคุณยังดื้อด้านรั้นไม่คิดเอาชนะในการชิงชัยครั้งต่อไปด้วยความคิดดื้อด้านของคุณ คุณก็ย่อมแพ้ตลอดกาลอยู่นั่นแหละ เกมการเมืองก็ยอ่มมีแพ้มีชนะ ไม่ต่างอะไรกับกีฬา

อะไรคือเผด็จการเสียงข้างมาก ประชาธิปไตย เขาสอนให้คนรู้จักการเคารพในความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ เมื่อคุณเสือก พ่ายกลายเป็นเสียงส่วนน้อย แสดงว่าประชาชนในสังคมนี้ส่วนมากเขาไม่เห็นด้วยกับแนวทางของคุณ สิ่งที่คุณต้องทำคือ ปรับแนวทางมาสู้และสู้กันในเกม คุณต้องพยายามเผยแพร่แนวคิดของคุณออกไปให้ประชาชนยอมรับให้ได้ ไม่ใช่คุณจะไปคิดแบบโง่ๆว่า เขาเป็นเผด็จการข้างมาก ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจมันโง่ไปเลือกพวกเขา ทำให้คุณแพ้ ความคิดคุณเป็นเลิศแล้ว

บ้านเมืองมันไม่สงบสุขเพราะมันมาจากความคิดโง่ๆของคุณนี่แหละ ที่ดันเสือกไปคิดว่า ตัวเองนั้นฉลาดกว่าประชาชนเจ้าของอำนาจ เป็นเสียงข้างน้อยแต่อยากเป็นใหญ่ไม่รู้จักแพ้ ดื้อรั้นตะแบงข้างไปแบบ กูถูกทั้งหมด ประเทศที่เขาปกครองในรูปแบบนี้จริงๆเขาจะไม่มีความวุ่นวายแบบนี้หากประชาชนในสังคมเรียนรู้ที่จะยอมรับและเล่นกันตามเกมตามกติกาที่กำหนด

ลองกลับไป "ศึกษาใหม่" ว่าทำไมสังคมมนุษย์จำต้องปกครองในรูปแบบที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ อันเรียกว่า ประชาธิปไตย สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ในยุคปัจจุบันนี้สอนแก่ "สาวก" นั้นเป็นการ "บิดเบีอนประชาธิปไตยอย่างแท้จริง การออกมาเห่าหอนของบรรดาอธิการบดี 24 สถาบัน เป็นการแสดงการโชว์ความโง่บัดซบของวงการศึกษาเมืองไทยอย่างแท้จริง ดีที่กลุ่ม สนนท.ผู้เป็น "ศิษย์" แท้ๆออกมาแก้หน้าเอาไว้ได้


------------------------------------------------------------------------------

ขออนุญาตยกตัวอย่างข้อความคุณ sabor มาเฉพาะช่วงต้น เพราะยาวมากนะครับ
และตอนหลังส่วนใหญ่เป็นความคิดต่อต้านสถาบันฯ ซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็น

...

ที่ คุณ sabor เปรียบเทียบการเมืองกับกีฬา ผมคิดว่าไม่ถูกต้องหรอกนะครับ
เพราะคุณเปรียบเทียบได้แค่ "การลงสมัครรับเลือกตั้ง" กับ "กีฬา" เท่านั้น

การเมืองไม่ใช่เรื่องแข่งขันกันให้รู้ผลแพ้ชนะ แต่เป็นเรื่องการประสานประโยชน์
เป็นเรื่องการแบ่งปันทรัพยากร เป็นเรื่องการหาวิธีอยู่ร่วมกันโดยสันติ


ถ้าคุณจะเอาแพ้เอาชนะกันจริงๆ นั่นคือ "สงคราม" ไม่ใช่ "การเมือง" ครับ

...

คุณถามว่าอะไรคือเผด็จการเสียงข้างมาก ก็ตอบง่ายๆ ว่าถ้าฝ่ายเสียงข้างมาก
ไม่แยแสสนใจเสียงที่เหลือ ถือความคิดของตัวเองเป็นเด็ดขาดก็คือ เผด็จการ

เพราะประชาธิปไตย หมายถึง ประชาชนเป็นใหญ่ ซึ่ง "ประชาชน" หมายถึง
"คนทุกคนในสังคม" และ "เสียงส่วนใหญ่" เป็นแค่เพียง "ส่วนหนึ่งในสังคม"


...

ผมพยายามไม่สนใจที่คุณเน้นย้ำตลอดเวลาว่าผม "โง่"
เพราะผมถือว่าที่คุณพูดแบบนั้นเพราะคิดว่าตัวเองฉลาด

ประโยคที่ว่า...

"ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจมันโง่ไปเลือกพวกเขา ทำให้คุณแพ้"

ขอบอกว่าไม่ใช่ความคิดของผมเลยครับ ในการลงคะแนนใดๆ ไม่ว่า
ผู้ลงคะแนนจะโง่หรือฉลาด ก็ต้องมีเสียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นทั้งนั้น

แต่ปัญหาคือระบบที่เป็น Zero-Sum Game ที่ The Winner take all
เมื่อนำมาใช้กับการเมืองในบางสภาพสังคมจะก่อให้เกิดความแตกแยก

ตัวอย่างเช่น ประเทศรวันดา ที่ประชากรประกอบด้วย 2 ชนเผ่าใหญ่
เมื่อเผ่าใดชนะเลือกตั้งครองอำนาจรัฐ อีกเผ่าก็จะไม่ยอมรับรัฐบาล
ในที่สุดก็เกิดสงครามกลางเมือง ฆ่าฟันกันล้มตายนับแสนนับล้านคน

...

ประโยคที่คุณบอกว่า...

"ประเทศที่เขาปกครองในรูปแบบนี้จริงๆเขาจะไม่มีความวุ่นวายแบบนี้
หากประชาชนในสังคมเรียนรู้ที่จะยอมรับและเล่นกันตามเกมตามกติกาที่กำหนด"


ผมถามว่าหากเกิดกรณีประชาชนไม่ยอมรับแล้วจะทำยังไงครับ?
ใช้กำลังปราบปรามเพราะถือว่าตัวเองครองอำนาจรัฐอย่างนั้นหรือ?
หรือทนให้เกิดสภาพรัฐบาลไร้น้ำยาเพราะไม่กล้าใช้ความรุนแรง?
ที่ผมนำเสนอคือทางออกของปัญหาเหล่านี้... แต่คุณเองไม่ยอมอ่าน 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 07:44 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
cafein
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96



« ตอบ #59 เมื่อ: 04-10-2008, 08:24 »

ด้วยความนับถือครับ โดยส่วนตัวผมกลับมองว่า
ถ้ายังปล่อยให้มีการแบ่งเค๊กรัฐมนตรีตามโควตาพรรค ปัญหาก็จะย้อนกลับมาที่จุดเดิม
ถ้ายังปล่อยให้พรรคการเมืองถืออภิสิทธิเหนือ สส ในการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาก็จะย้นกลับมาที่จุดเดิม
ถ้ายังปล่อยให้ฝ่ายบริหาร ยังไม่แยกจากฝ่ายนิติบัญญติ อย่างที่สมควร ปัญหาก็น่าจะย้อนกลับมาอีก

บันทึกการเข้า
Shelmikedmu
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 31


« ตอบ #60 เมื่อ: 04-10-2008, 09:04 »

ผมชอบตรงที่คุณ Jerasak สรุปไว้ตั้งแต่แรกเกี่ยวกับระบบที่เสนอมา
พอดูแนวทางแล้วก็ตรงกับที่ผมคิด ก็คือ
1. ต้องไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบหักดิบ เพราะทำให้เกิดขึ้นได้ยาก
2. ต้องมีการตรวจสอบที่ดี และเป็นธรรม ผู้ตรวจสอบได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
3. การตรวจสอบที่ดีต้อง คงไว้ซึ่งความเข้มแข็งของรัฐบาลด้วย

วันนี้มันมีความพยายามที่จะเสนอการเมืองใหม่ที่จะให้ฝ่ายตัวเองเท่านั้น
เป็นผู้ครองอำนาจ พอคุณ Jerasak ใช้คำว่า Zero Sum Game นี่ผมว่า
ใช่เลย

เพราะ ฝ่ายพันธมิตร ก็พยายามเสนอ แนวทางที่เน้นการตรวจสอบ และพยายาม
ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ

ส่วนรัฐบาลก็พยายามเสนอแนวทางที่จะปฏิเสธการตรวจสอบ ซึ่งมันตรงกัน
ข้ามกันอย่างสิ้นเชิง


ผมว่าทั้งสองฝ่ายต้องมาตกลงกันในสาเหตุหลักๆ นั่นก็คือ
1. ฝ่ายรัฐบาลต้องยอมรับว่ารัฐบาลที่ตรวจสอบได้ยากนั้นเป็นที่มาของการคอรัปชั่น
2. ฝ่ายพันธมิตรต้องยอมรับด้วยว่า จะออกแบบการเมืองใหม่ ที่ทำให้รัฐบาลขาด
สเถียรภาพมากๆ มันไม่ได้ช่วยให้ประเทศพัฒนาไปข้างหน้าได้เลย

การเมืองใหม่ ต้องการแค่นี้แหละครับ รัฐบาลที่เข้มแข็ง และตรวจสอบได้
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #61 เมื่อ: 04-10-2008, 09:17 »

ด้วยความนับถือครับ โดยส่วนตัวผมกลับมองว่า
ถ้ายังปล่อยให้มีการแบ่งเค๊กรัฐมนตรีตามโควตาพรรค ปัญหาก็จะย้อนกลับมาที่จุดเดิม
ถ้ายังปล่อยให้พรรคการเมืองถืออภิสิทธิเหนือ สส ในการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาก็จะย้นกลับมาที่จุดเดิม
ถ้ายังปล่อยให้ฝ่ายบริหาร ยังไม่แยกจากฝ่ายนิติบัญญติ อย่างที่สมควร ปัญหาก็น่าจะย้อนกลับมาอีก

ด้วยความยินดีครับ  

คุณ cafein จะเสนอให้ "เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง" ใช่ไหมครับ?

ในความเห็นของผม..

ถ้าปัญหาของการเมืองไทยอยู่ที่เกิดความ "แตกแยก" ในหมู่ประชาชน
การเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงจะยิ่งก่อปัญหาความแตกแยกมากขึ้น

..ซึ่งปัจจุบันปัญหาสำคัญที่สุดของเราคือ "ปัญหาความแตกแยก" ..

ไม่ว่าจะออกแบบระบบการเมืองอย่างไร ต้องแก้ปัญหานี้ให้ได้ก่อนครับ

...

ผมไม่แน่ใจที่คุณ cafein บอกว่า..

"ปัญหาก็จะย้อนกลับมาที่จุดเดิม"

"ปัญหา" ของคุณ cafein คืออะไรครับ?

...

และทั้งประโยคของคุณ cafein ที่ว่า..

"ถ้ายังปล่อยให้มีการแบ่งเค๊กรัฐมนตรีตามโควตาพรรค ปัญหาก็จะย้อนกลับมาที่จุดเดิม"

ตามข้อเสนอของผม "ประชาชน" เป็นคนลงมติแบ่งโควต้ารัฐมนตรี
ผ่านการลงคะแนนเลือกพรรค
พรรคการเมือง ไม่สามารถไป "แบ่งเค้ก" กันเองเหมือนระบบเดิมๆ ครับ 

...

ที่คุณ cafein บอกว่า...

"ถ้ายังปล่อยให้พรรคการเมืองถืออภิสิทธิเหนือ สส ในการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาก็จะย้นกลับมาที่จุดเดิม"

ผมไม่แน่ใจว่าคุณเห็นพรรคการเมืองถืออภิสิทธิเหนือ สส อย่างไรในการปฏิบัติหน้าที่
เพราะทุกวันนี้แม้แต่พรรคพลังประชาชน ก็ยังไม่สามารถควบคุมบังคับ สส ของตัวเอง
ดูเหมือน สส ต่างหากที่แย่งชิงกันถืออภิสิทธิเหนือพรรค

ในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน ผมก็ไม่เห็นว่าพรรคฝ่ายค้านถืออภิสิทธิเหนือ สส ในเรื่องใด
คงต้องรบกวน คุณ cafein ขยายความแล้วนะครับ


...

สุดท้ายที่คุณ cafein บอกว่า..

"ถ้ายังปล่อยให้ฝ่ายบริหาร ยังไม่แยกจากฝ่ายนิติบัญญติ อย่างที่สมควร ปัญหาก็น่าจะย้อนกลับมาอีก"

ผมมองว่าทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ต่างก็มีที่มาจากพรรคการเมืองทั้งคู่
ต่อให้พยายามแยกทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันก็ไม่เกิดผลให้แยกกันจริงๆ

และผมก็ไม่รู้ว่าเราจะแยกทั้ง 2 ฝ่ายออกจากกันทำไม?

แต่ถ้าจะมองว่าฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีการฮั้วกันทำให้เกิดปัญหา
ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิภาพ

ผมมีคำตอบให้ในระบบของผม คือ ...

ผมเสนอให้ "วุฒิสภา" ซึ่งถูกบังคับไม่ให้มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
ทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบหลัก .. ตรวจทั้งรัฐบาล และสภาผู้แทนฯ

จึงไม่จำเป็นต้องแยก ฝ่ายบริหาร ออกจาก ฝ่ายนิติบัญญัติ นะครับ  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 10:04 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #62 เมื่อ: 04-10-2008, 09:51 »

เราควรจะมองว่า "ความมั่นคงของรัฐบาล" มาจาก "การยอมรับของประชาชน" เป็นหลัก ยิ่งกว่าจำนวน สส.

ถ้ายังคิดว่ารัฐบาลจะมั่นคงได้ ต้องเอาอำนาจไปบีบคั้น ทำตนเป็นศัตรูกับประชาชนแม้แต่กลุ่มเล็กๆ ก็ตาม ที่ไม่สนับสนุนตน ก็จบเห่แล้วครับ



ผมเชื่อว่าการตัดอำนาจส่วนเกิน ที่รัฐบาลมักจะใช้คุกคามประชาชนออก แล้วจำกัดกรอบให้รัฐบาลอยู่ในบทบาทที่ควรจะเป็น คือบริหารงาน พัฒนาประเทศ ประสานประโยชน์ในสังคม

กลับจะทำให้ประชาชนไม่ว่าส่วนไหนๆ สามารถมีความอดทนและยอมรับแม้แต่รัฐบาลที่ตนเองไม่ชอบได้มากขึ้น โดยไม่รู้สึกหวาดระแวง หรือต้องตั้งแง่ว่าวันนี้มันจะหาเรื่องอะไรมาข่มขู่พวกเราอีก

ระบบการเมืองจะต้องทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่า นักการเมืองผู้ถืออำนาจรัฐ จะอยู่ใต้กฎเช่นเดียวกับคนเดินดินทั่วไป

จึงจำเป็นจะต้องมีการล้างบางตำรวจ อัยการ ที่เป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ให้ออกไปจากกำมือของรัฐบาล แล้วไปขึ้นตรงกับอำนาจฝ่ายตุลาการให้เป็นเรื่องเป็นราว


ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ ระบบการศึกษา การสื่อสารมวลชน และการสร้างจิตสำนึกทางการเมืองให้กับประชาชน

เราจะปล่อยให้อยู่ในมือของรัฐและนักการเมืองเป็นหลักไม่ได้

เพราะธรรมชาติของนักการเมือง ผู้มีอำนาจ มักจะ "ชอบให้คนโง่ๆ จะได้ปกครองง่าย"


ตราบใดที่ประชาชน ยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารและรู้เท่าทันนักการเมืองอย่างเพียงพอ ก็เท่ากับยังมีอำนาจการต่อรองด้อยกว่านักการเมือง แล้วจะมาเรียกว่า "อำนาจเป็นของประชาชน" ได้อย่างไร?


ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษา และการสื่อสารมวลชนสาธารณะ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของภาคสังคมที่เป็นอิสระจากรัฐบาล

(แต่แน่นอน ต้องมีกลไกตรวจสอบการทำงานได้)



ปล. ส่วนคนบางพวก จะบอกว่า รธน. ปี 40 ยอดเยี่ยมที่สุดแล้วไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า เพียงเพราะฝังใจอยู่กับว่าเป็น รธน. ฉบับที่ให้พ่อแม้วของพวกเขาเป็นนายกที่มีอำนาจล้นฟ้า ก็คงต้องช่างเขาไปก่อนละครับ

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
Shelmikedmu
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 31


« ตอบ #63 เมื่อ: 04-10-2008, 10:32 »

เราควรจะมองว่า "ความมั่นคงของรัฐบาล" มาจาก "การยอมรับของประชาชน" เป็นหลัก ยิ่งกว่าจำนวน สส.

ถ้า ยังคิดว่ารัฐบาลจะมั่นคงได้ ต้องเอาอำนาจไปบีบคั้น ทำตนเป็นศัตรูกับประชาชนแม้แต่กลุ่มเล็กๆ ก็ตาม ที่ไม่สนับสนุนตน ก็จบเห่แล้วครับ
.
.
.
ปล. ส่วนคนบางพวก จะบอกว่า รธน. ปี 40 ยอดเยี่ยมที่สุดแล้วไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า เพียงเพราะฝังใจอยู่กับว่าเป็น รธน. ฉบับที่ให้พ่อแม้วของพวกเขาเป็นนายกที่มีอำนาจล้นฟ้า ก็คงต้องช่างเขาไปก่อนละครับ



รธน 40 ไม่ได้เยี่ยมที่สุดนะครับ แต่ว่า เป็นฉบับที่มีจุดยึดโยงกับประชาชนมาที่สุด และได้รับการยอมรับจากทุกคน

เหมือนกัน การเมืองใหม่ของพันธมิตร ถ้าไม่ได้รับการยอมรับจาก สาวกแม้ว มันก็จะเป็นจริงไปไม่ได้
คุณลองคิดเล่นๆว่า ถ้าคนที่เลือก พปช ทุกคน มอง พธม เป็นศัตรู คุณจะทำประชามติ รธน ใหม่ที่คุณร่างผ่านหรือเปล่า?

แนวทางคุณ Jerasak นั่นถูกต้องที่สุดแล้ว คือแสวงหาจุดร่วมที่ทุกคนสามารถจะอยู่ด้วยกันได้ ไม่ใช่การตัดรากถอนโคน
อีกฝ่ายให้สิ้นซาก
บันทึกการเข้า
cafein
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96



« ตอบ #64 เมื่อ: 04-10-2008, 10:39 »

คืออย่างนี้ครับ ผมมองเห็นว่า การแบ่งเค๊กรัฐมนตรี แท้ที่จริงกลับเป็นการหักหลังประชาชน
เพราะถึงแม้ รัฐมนตรีผุ้นั้นจะเป็น สส ที่ได้รับเลือกมาก็ตาม แต่ในความเป็นจริงคือ ประชานได้ทราบไหมครับ
ว่าคนที่เขาเลือก หรือไม่ได้เลือกคนไหนจะได้เป็นรัฐมนตรี ในตำแหน่งหน้าที่อะไร และตรงตามที่ผุ้ที่เลือกเขาเข้าไปต้องการหรือไม่
ตรงนี้ผมอยากเห็นสปิริตของพรรคการเมืองไม่ว่าพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือเป็นการจับมือกันระหว่างพรรค
เสนอทีมบริหารต่อประชาชน ให้เป็นสัญญาประชาคมว่า เมื่อพรรคได้รับเลือกจะต้องเสนอผุ้ที่เสนอต่อประชาชนให้ดำรงค์ตำแหน่ง
อาจจะฟังดูหลวมๆแต่ผมคิดว่าคุณจี เข้าใจครับ เพราะถ้าตรงนี้ไม่ผ่าน การแบ่งเค๊กก็หนีไม่พ้นแบบเดิม
ถึงจะไม่ใช่ในรัฐบาลชุดแรก แต่เมื่อมีการปรับก็จะไม่พ้นหลักการเดิมๆ

ส่วนเรื่องที่ว่าพรรคการเมืองเป็นอภิสิทธิเหนือนักการเมือง อันนี้ ถ้าเรามองตรงสภาพปัจจุบันของพรรคการเมือง ไม่เข้าเคสนี้ครับ
แต่ถ้าเราเห็นตลอดเวลาที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นมติพรรค แทบจะทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่บางครั้ง รัฐธรรมนูญกำหนดว่า สส ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติพรรค
แต่ก็ยังเห็นพรรคมักออกมากล่าวเสมอๆ ว่า สส จะไม่ทำการนอกเหนือจากมติพรรค
ตรงนี้ผมกลับเห้นว่า พรรคการเมืองแท้จริงสมควรมีหน้าที่เพียงแค่ คัดเลือก เสนอชื่อ บุคคลเข้าสมัคร
แต่ไม่สมควรที่จะมีอำนาจหลังจากนั้น แม้กระทั่งการไล่ออกจากพรรค และไม่สามารถมีอำนาจวิจารณ์ให้คุณให้โทษ ต่อผู้สมัคร หลังจากนั้น
เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมืองเองในการคัดสรรผุ้เข้าสุ่การเมือง ถึงแม้ผู้สมัครคนนั้นแม้จะทรยศต่อพรรคในภายหลังก็ตาม
พรรคมีสิทธิแค่ ไม่เสนอชื่อบุคคลผุ้นั้นเข้าสุ่กระบวนการเลือกตั้ง

ปัญหาความแตกแยกปัจจุบัน ผมมอว่าเป็นเพราะการสมผลประโยขน์ของนักการเมืองเสียงข้างมาก อย่างย่ามใจ
รวมทั้งการซื้อพรรคซื้อคนเข้าพรรค และใช้คำว่ามติพรรคบีบบังคับ สส ในบางครั้ง
ผมถึงมองที่พรรคการเมืองและอำนาจของพรรคการเมืองเป้นอันดับแรก
แล้วถัดไปก็เลยถึงคณะรัฐมนตรีที่สมควรเสนอเป็นสัญญาต่อประชาชน
จริงอยู่ พรรคการมืองไทยมีขนาดเล็กและมีหลายพรรค แต่ในกระบวนการเสนอนี้เอง
จะทำให้มองเห็นภาพทันที เพราะคณะที่นำเสนอที่หลากหลายคือ คณะที่มีการจับมือกันระหว่างพรรค
ทำให้มองเห้นป็นเชิงสัญญาณเลยว่า เมือ่พรรคนี้ใดพรรคหนึ่งได้จัดตั้งรัฐบาล จะต้องทำตามที่เสนอ
สรุปก็คือเป็นการบีบบังคับพรรคการเมืองให้มีการจับมือกันอย่างกลายๆนั่นเอง

คำว่ารัฐมนตรีไม่สมควรเป็นโควต้าครับ แต่สมควรเป้นผุ้ที่ถูกเจาะจงลงไปไม่ว่าจะเป็นตัวจริงหรือคัวสำรอง
ผมไม่อยากเห็นท่านผุ้มีความสามารถเป็นรัฐมนตรีได้หลายกระทรวงอย่างช่ำชอง เพราะเห็นมาจนเบื่อจนเอียนเสียแล้ว

ที่ตอบนี้คงตอบได้ไม่ครบถ้วน ก็ขอคำชี้แนะจากคุณจีด้วยครับ ถือว่าแลกเปลี่ยนกัน โดยส่วนตัวชอบความคิดและความสามารถคุณจีนะครับ

บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #65 เมื่อ: 04-10-2008, 10:53 »

คืออย่างนี้ครับ ผมมองเห็นว่า การแบ่งเค๊กรัฐมนตรี แท้ที่จริงกลับเป็นการหักหลังประชาชน
เพราะถึงแม้ รัฐมนตรีผุ้นั้นจะเป็น สส ที่ได้รับเลือกมาก็ตาม แต่ในความเป็นจริงคือ ประชานได้ทราบไหมครับ
ว่าคนที่เขาเลือก หรือไม่ได้เลือกคนไหนจะได้เป็นรัฐมนตรี ในตำแหน่งหน้าที่อะไร และตรงตามที่ผุ้ที่เลือกเขาเข้าไปต้องการหรือไม่
ตรงนี้ผมอยากเห็นสปิริตของพรรคการเมืองไม่ว่าพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือเป็นการจับมือกันระหว่างพรรค
เสนอทีมบริหารต่อประชาชน ให้เป็นสัญญาประชาคมว่า เมื่อพรรคได้รับเลือกจะต้องเสนอผุ้ที่เสนอต่อประชาชนให้ดำรงค์ตำแหน่ง
อาจจะฟังดูหลวมๆแต่ผมคิดว่าคุณจี เข้าใจครับ เพราะถ้าตรงนี้ไม่ผ่าน การแบ่งเค๊กก็หนีไม่พ้นแบบเดิม
ถึงจะไม่ใช่ในรัฐบาลชุดแรก แต่เมื่อมีการปรับก็จะไม่พ้นหลักการเดิมๆ

ผมเริ่มไม่แน่ใจว่าคุณ cafein ได้อ่านข้อเสนอของผมหรือเปล่า
เพราะสิ่งที่ผมเสนอตอบปัญหาของคุณหมดแล้วครับ..


โดยเป็นอะไรที่เกินกว่า "เสนอทีมบริหารต่อประชาชน" เฉยๆ
แต่ในนั้นมีการกำหนดคุณสมบัติของฝ่ายบริหาร มีกระบวนการ
สรรหา+พัฒนาฝ่ายบริหาร มีกระบวนการสั่งสมความรู้ประสบการณ์
เพื่อเตรียมพร้อมบริหารประเทศ อีกทั้งมีกระบวนการแนะนำให้สังคม
ได้รู้จัก "ว่าทีฝ่ายบริหาร" ล่วงหน้า ผ่านการให้ข้่อเสนอแนะต่อสังคม
ขอให้คุณ cafein ลองอ่านข้อเสนอของผมใน ภาคผนวก ข. ในลิงค์นี้ครับ 

ภาคผนวก ข. : เกณฑ์มาตรฐานผู้มีสิทธิดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
http://forum.serithai.net/index.php?topic=36897.msg369079#msg369079
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #66 เมื่อ: 04-10-2008, 11:11 »

ส่วนเรื่องที่ว่าพรรคการเมืองเป็นอภิสิทธิเหนือนักการเมือง อันนี้ ถ้าเรามองตรงสภาพปัจจุบันของพรรคการเมือง ไม่เข้าเคสนี้ครับ
แต่ถ้าเราเห็นตลอดเวลาที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นมติพรรค แทบจะทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องที่บางครั้ง
รัฐธรรมนูญกำหนดว่า สส ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติพรรค
แต่ก็ยังเห็นพรรคมักออกมากล่าวเสมอๆ ว่า สส จะไม่ทำการนอกเหนือจากมติพรรค
ตรงนี้ผมกลับเห้นว่า พรรคการเมืองแท้จริงสมควรมีหน้าที่เพียงแค่ คัดเลือก เสนอชื่อ บุคคลเข้าสมัคร
แต่ไม่สมควรที่จะมีอำนาจหลังจากนั้น แม้กระทั่งการไล่ออกจากพรรค และไม่สามารถมีอำนาจวิจารณ์ให้คุณให้โทษ ต่อผู้สมัคร หลังจากนั้น
เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมืองเองในการคัดสรรผุ้เข้าสุ่การเมือง ถึงแม้ผู้สมัครคนนั้นแม้จะทรยศต่อพรรคในภายหลังก็ตาม
พรรคมีสิทธิแค่ ไม่เสนอชื่อบุคคลผุ้นั้นเข้าสุ่กระบวนการเลือกตั้ง

ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ส.ส. มีอิสระอย่างมากแล้วครับ เรียกว่าไ่ม่ถูกควบคุมใดๆ จากมติพรรค
แต่ที่มีปัญหามาโดยตลอด ก็เพราะมีการต่อรองผลประโยชน์เก้าอี้รัฐมนตรีกันมากเกินไปครับ

ที่ปั่นป่วนกันทั้งสภาก็เพราะเรื่องแย่งกันหนุนแกนนำกลุ่มตัวเองเป็นรัฐมนตรี โดยไม่คำนึงถึง
ความรู้ความสามารถ และไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ บังคับว่าต้องจัดโควต้ารัฐมนตรีอย่างไร

กลายเป็น บ้านเลขที่ 111 เ้ข้ามาวุ่นวายในการจัดโผ ครม. และมีคำสั่งจัดโผมาจากลอนดอน
ในที่สุดก็ได้ ครม.เต้าหู้ยี้ยั๊วเยี๊ย อย่างที่เห็น
ในความรู้สึกของผมก็คือ "ทำกันเหมือนประชาชนเป็นหัวหลักหัวตอ" 

เพราะในทางการเมืองประชาชนได้ลงคะแนนเลือกพรรคต่างๆ ผ่านทาง ส.ส.สัดส่วน ไปแล้ว
ซึ่งเป็นมติมหาชน ว่าสนับสนุนพรรคต่างๆ เป็นรัฐบาลในสัดส่วนเท่าใด

เพียงใช้น้ำหนักคะแนน ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) มาฟอร์มรัฐบาล
เราก็จะได้รัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชนทั่วไปอย่างแท้่จริง


และหากมีมาตรฐานคุณสมบัติรัฐมนตรี และมีกระบวนการสรรหาพัฒนาว่าที่รัฐมนตรี
ก็สามารถใช้ น้ำหนักคะแนน ส.ส.สัดส่วน มาฟอร์ม "รัฐบาลที่มีคุณภาพ" ได้เลย

...

เมื่อการฟอร์มรัฐบาล ทำขึ้นโดยการตัดสินใจของประชาชนโดยตรงแล้ว
บรรดา ส.ส. ต่างๆ ก็จะไม่ต้องมาวุ่นวายกับการแย่งเก้าอี้รัฐมนตรีอีกต่อไป
และมีเวลาไปทำงานของตัวโดยตรง คือ งานนิติบัญญัติ ครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #67 เมื่อ: 04-10-2008, 12:18 »

โพสต์โดย : tman
ID # 1141247 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-04 09:42:35

คุณ จีระศักดิ์ ผมอ่านหัวข้อ แล้วก็ชอบนะครับ

แต่มันจะเป็นไปได้หรือครับ ที่จะหาเจ้าภาพร่างกติกาใหม่
ที่ทุกฝ่ายยอมรับ

เอาง่ายๆ ฝ่าย ตุลาการ ปปช สว คือคนที่มาจากการรัฐประหาร ที่ฝ่ายผมรับไม่ได้
ฝ่ายผมอยากแก้ แต่ฝ่ายคุณหาว่าเป็นการแก้ให้ทักษิณพ้นผิด

ถ้าจะให้เป็นธรรมจริง ฝ่าย พธม ต้องยอมรับก่อนว่า หน่วยงานที่ คมช ตั้งมามันแย่
แล้วล้างไพ่ เลือกใหม่ จากนั้น พธม เสนอเลย ร่างการเมืองใหม่ จะหกคะเมนตีลังกา
ไปทำมาเลย แล้วให้ประชาชนลงมติ วินวินทั้งสองฝ่าย
ทำได้แน่ๆ

------------------------------------------------------------------------

ผมเข้าใจว่า คุณ tman ยังไม่ได้อ่านข้อเสนอของผมนะครับ

สาระสำคัญในข้อเสนอของผมไม่ต้องแก้กฎหมายสักตัวอักษร
เพียงแต่เลิกใช้ธรรมเนียมปฏิบัติเดิม ที่ใช้ในการฟอร์มรัฐบาล
ซึ่งก็ทำต่อๆ กันมาโดยกฎหมายไม่เคยบังคับว่าต้องทำแบบนี้
เปลี่ยนไปใช้วิธีใหม่ที่มีเจตนารมณ์จากมติมหาชนรองรับแทน

วิธีของผมจึงไม่ต้องมี เจ้าภาพร่างกติกาใหม่ แต่อย่างใดครับ

...

แต่ในส่วนฝ่ายตุลาการผมคิดว่าไม่ควรไปยุ่ง เพราะถ้าตุลาการ
ถูกการเมืองแทรกแซงได้ก็จะไม่สามารถยอมรับได้อีกเลยนะครับ
ฝ่ายตุลาการถูกจำกัดให้ต้องพิพากษาตามกฎหมายอยู่แล้วครับ

ในส่วน ปปช. และ สว. ไม่ใช่สาระสำคัญในข้อเสนอของผม
ถ้ายกเลิกของเก่าแล้วเลือกใหม่ได้ผมว่าก็ดีเหมือนกัน รวมถึง
ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ความจริงเป็นองค์กรกึ่งศาลด้วย

เพียงแต่การหวังให้เปลี่ยนแปลงในส่วน ปปช. สว. ตุลาการ
เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นทางจะสำเร็จง่ายๆ


...

ข้อเสนอของผมจึงมุ่งแก้ปัญหา ในส่วนที่สามารถ "ทำได้จริง"
คือในส่วนอำนาจบริหาร ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก
ไม่เ็ป็นอันทำงาน ไปต่างจังหวัดบางแห่งก็ไม่ได้เพราะูถูกต่อต้าน
จากความแตกแยกของบ้านเมือง

ตอนนี้เศรษฐกิจโลกกำลังดิ่งเหว ในขณะที่การเมืองไทยไม่มี-
เสถียรภาพ รัฐบาลอ่อนแอจากความแตกแยกทางการเมือง
และต่อให้ในอนาคตมีการพลิกขั้วให้ ปชป. กลายเป็นแกนนำ
ปัญหาก็ไม่จบ เพราะประชาชนอีกขั้วก็จะพลิกมาต้านรัฐบาลต่อ

ดังนั้นเราต้องหาทางออก ยุติปัญหาความแตกแยกให้ได้ครับ

อยากบอกว่า *การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 22:34 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #68 เมื่อ: 04-10-2008, 12:19 »

โพสต์โดย : tman
ID # 1141484 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-04 10:55:46

ผมอ่านในข้อสามของคุณ จีระศักดิ์ แล้วก็นึกไม่ถึงว่าสิ่งที่
เสนอมามันจะเป็นความจริงไปได้ หากให้เป็นเพียงแค่ ธรรมเนียม
ปฏิบัติ เหมือนที่ พธม พูดว่า ต้องให้คนดีมาบริหารรัฐบาล แต่ใน
ความเป็นจริงแล้ว คนดีที่เข้าสู่อำนาจก็กลายเป็นคนเลวได้
ดังนั้นผมจึงเข้าใจว่า ธรรมเนียม หมายถึง กติกา ที่ต้องเขียนขึ้นมา
เพิ่มเติมจากของเดิม ซึ่ง จะให้กติกาที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นที่ยอมรับได้
อย่างไร หากบ้านเมืองยังคงเป็นสองขั้วอยู่อย่างนี้

หรืออย่างเช่น แนวทางของการเลือก สว ที่คุณจีระศักดิ์เสนอ หากเป็น
เพียงธรรมเนียมปฏิบัติ มันจะเป็นจริงไปได้หรือครับ ทั้งเรื่อง จำนวนของ
สว 300 คน หรือเรื่องการสรรหาแบบ กลุ่มอาชีพ?

-------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณมากครับที่กรุณาไปอ่าน ^_^

จุดเริ่มต้นก็คือปัญหามาจาก ธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้
โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายแม้แต่ตัวอักษรเดียว

ที่ผ่านมาไม่มีใครคิดเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมปฏิบัติก็คงใช้มาเรื่อยๆ
และทนกับปัญหามาเรื่อยๆ แต่ถ้ามีคนคิดแนวทางปฏิบัติอื่นที่สามารถ-
แก้ปัญหาได้ขึ้นมา และผู้มีอำนาจตัดสินใจ ตกลงเลือกใช้แนวทางใหม่
ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทันที เพราะไม่ต้องแก้ไขกฎหมายครับ

...

ในขั้นตอนปัจจุบันผมกำลังประเมินความสมเหตุสมผลของแนวคิด
เพื่อนำเสนอแนวคิดที่ตกผลึกแล้วต่อทุกๆ ฝ่ายครับ

โดยส่วนตัวผมสามารถติดต่อได้ทั้ง ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน วุฒิสภา
พันธมิตรฯ และสื่อมวลชน

เมื่อแนวคิดตกผลึกพอสมควร ผมจะนำเสนอแนวคิดผ่านทุกฝ่าย
ที่ผมติดต่อได้ รวมทั้งนำเสนอแนวคิดต่อสาธารณชนด้วยครับ


ถ้าทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่จะยุติปัญหาความแตกแยกทางการเมือง
ก็เป็นไปได้ที่จะผลักดันเข้าเป็นเนื้อหาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป
เพราะตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2475 จนถึงฉบับปัจจุบัน ไม่เคยบัญญัติถึง
กระบวนการคัดสรรรัฐมนตรีเพื่อฟอร์มรัฐบาลเลยแม้แต่ฉบับเดียว


ส่วนกรณี ส.ว. ไม่ใช่สาระสำคัญในข้อเสนอของผม แต่เป็นเพียง
ข้อเสนอแนะย่อยๆ ที่ประกอบอยู่ในโครงสร้างระบบโดยรวมครับ
อย่างไรก็ตามประเด็น ส.ว. ผมจะผลักดันผ่านช่องทางเดียวกันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 22:35 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #69 เมื่อ: 04-10-2008, 12:22 »

โพสต์โดย : tman
ID # 1141503 - โพสต์เมื่อ : 2008-10-04 11:05:14

อีกประเด็นนะครับ ผมลองสังเกตุพรรคการเมืองของต่างประเทศที่
ระบอบประชาธิปไตยก้าวหน้ากว่าไทยเยอะ
จะเห็นแนวทางของพรรคการเมือง มันค่อนข้างตกผลึก เหลือแค่
ฝ่ายอนุรักษ์นิยม และ เสรีนิยม ซึ่งบางครั้งแล้ว
แนวทางเชิงนโยบายมันต่างกันสิ้นเชิง ซึ่งการเข้าไปบริหารร่วมกัน
บางนโยบายที่มาจากพรรคที่มีแนวคิดต่างกันนี่ ไปกันไม่ได้เลยนะครับ

เช่น อนุรักษ์นิยม อาจจะบอกว่า ไม่สนับสนุนให้เกย์แต่งงานกัน
หรือไม่สนับสนุนให้ทำแท้งค์

แต่เสรีนิยมบอกว่า ทำได้ทุกอย่างเกย์ก็แต่งงานกันได้ ทำแท้งค์ก็ทำได้

โอเคว่า วันนี้บ้านเรา พรรคการเมืองยังไม่ค่อยชัดเจนว่าใครอนุรักษ์นิยมหรือ
เสรีนิยม (แต่ผมว่า พปช นี่เสรีนิยม นะ ส่วนปชป นี่ไม่ใช่อนุกรักษ์นิยมเสีย
ทีเดียว ประมาณว่ายังไม่ค้นพบตัวเอง แต่ที่แน่ๆ พธม นี่แหละ อนุรักษ์นิยมตัวจริง)

สองแนวคิดมันเป็นแนวคิดแบบต่างกันสุดขั้ว ผมก็เลยคิดไม่เหมือนกับคุณ
จีรศักดิ์นะครับว่า มันจะผสานนโยบายกันได้


-----------------------------------------------------------------------------

ประเด็นนี้มีคนถามเยอะครับ..

ก่อนอื่นนะครับ ผมไม่เชื่อเหตุผลที่ว่านโยบายไม่เข้ากันทำงานไม่ได้
เพราะจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ก็เห็นแล้วว่าผสมกันได้ทุกสูตร ^_^

มาถึงเรื่อง "ฝ่ายอนุรักษ์นิยม" กับ "ฝ่ายเสรีนิยม" ตามที่คุณยกตัวอย่าง
ผมคิดว่าประเทศไทยเราไม่มีฝ่ายแบบนั้นมีแต่ "ภูมิภาค/จังหวัด" ครับ

นโยบายพรรคการเมือง เขียนออกมาก็เห็นเหมือนกันทุกยุคทุกสมัย
เพราะเขียนตามกระแสเป็นหลัก แต่แนวทางพรรคจริงๆ ไม่มี

การทำงานเมื่อเป็นรัฐบาลสัดส่วนตามที่ผมเสนอ ก็ต้องมีการจัดสรร
งบประมาณตามสัดส่วนด้วย แต่ละพรรคก็มีกระทรวงเป็นของตัวเอง
ที่จะสามารถผลักดันนโยบายในส่วนของตัวเองได้ครับ

สุดท้ายผมถือเป็นหน้าที่ของนักการเมืองครับที่ต้องทำงานร่วมกันให้ได้
ในระบบสัดส่วนนี้แนวโน้มที่จะแข่งกันทำงาน มีมากกว่าขัดแข้งขัดขากัน
และยังไม่มีฝ่ายค้านคอยป่วนรัฐบาลให้ต้องคอยพะวงอีกด้วยครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 22:36 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #70 เมื่อ: 04-10-2008, 21:15 »

รธน 40 ไม่ได้เยี่ยมที่สุดนะครับ แต่ว่า เป็นฉบับที่มีจุดยึดโยงกับประชาชนมาที่สุด และได้รับการยอมรับจากทุกคน

เหมือนกัน การเมืองใหม่ของพันธมิตร ถ้าไม่ได้รับการยอมรับจาก สาวกแม้ว มันก็จะเป็นจริงไปไม่ได้
คุณลองคิดเล่นๆว่า ถ้าคนที่เลือก พปช ทุกคน มอง พธม เป็นศัตรู คุณจะทำประชามติ รธน ใหม่ที่คุณร่างผ่านหรือเปล่า?

แนวทางคุณ Jerasak นั่นถูกต้องที่สุดแล้ว คือแสวงหาจุดร่วมที่ทุกคนสามารถจะอยู่ด้วยกันได้ ไม่ใช่การตัดรากถอนโคน
อีกฝ่ายให้สิ้นซาก

ถ้าจะทำการปฏิรูปการเมืองใหม่กัน โดยกลับไปใช้ รธน. ปี 2540 เป็นฉบับตั้งต้น ผมก็ยอมรับได้นะครับ (ที่จริง รธน. 2550 มันก็ต่อเติมขึ้นมาจาก รธน. 2540 นั่นแหละ)

แต่พอดีเห็นมีพวกที่จะไม่เอาอะไรทั้งสิ้น ร่ำร้องแต่ให้เอา รธน. 2540 กลับมาๆ แล้วก็กล่าวโทษเหมือนกับว่าปัญหาทางการเมืองทุกอย่างมาจาก รธน. 2550 เท่านั้น ซึ่งมันดูน่าอนาถ 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 21:17 โดย วิหค อัสนี » บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #71 เมื่อ: 04-10-2008, 21:36 »

ขอเสริมนิด นึกขึ้นมาได้ถึงเรื่อง รธน. ปี 2540 เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด บีบบังคับให้ไปสู่ระบบพรรคใหญ่ๆ สองขั้ว หรือไม่กี่ขั้ว และกำจัดพรรคเล็กพรรคน้อยออกไป

ซึ่งก็มาจากมุมมองในเวลานั้นที่ว่า การมีพรรคเล็กพรรคน้อยคอยต่อรองในระบบโควต้า เป็นตัวปัญหาใหญ่ของการเมืองไทย ทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ

แต่ถ้าปัญหามาจาก พรรคเล็กพรรคน้อยมีอำนาจเป็นตัวแปรทางการเมืองได้มากกว่าที่ควรจะเป็น อย่างนั้นเราควรแก้ด้วยวิธี ทำให้ดุลอำนาจของแต่ละพรรคในสภา มีความสมเหตุสมผลตามที่มันควรจะเป็นมากขึ้น มันจะตรงจุดมากกว่าไหม??

ดังนั้น ถ้ามีการปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีปฏิบัติ ที่ไม่ต้องต่อรองกันให้มากเรื่อง แต่เอาตามเสียงประชาชนมาวัดโควต้าเลย ก็หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องวางกฎที่บีบให้พรรคเล็กๆ ถูกกำจัดออกไปจากระบบก็ได้

แต่ปัญหาใหญ่ยังคงอยู่ที่ ถ้าสมมติพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2 ในสภา มีแนวนโยบายไปคนละทาง คนละขั้วโลกกันเลยล่ะ?

มันก็จะกลับไปที่ หลักการปกครองพื้นฐาน ว่าเราเข้าใจ หรืออยากจะเข้าใจกันอย่างไร?

ซึ่งผมยังเห็นว่า ถ้าบังคับจับ 2 ขั้วมารวมกัน แล้วถ่วงกันจนนโยบายโดยรวมของประเทศไม่สามารถแหกออกไปข้างใดข้างหนึ่งได้
มันยังปลอดภัยสำหรับสังคมประเทศชาติโดยรวม มากกว่าเกม Winner-take-all อย่างทุกวันนี้นะครับ

ลองนึกภาพว่าแทนประชาชนทั้งประเทศด้วยคน 100 คน ถ้าสมมติในนั้นมี 45 คน กินเนื้อวัว แต่ไม่กินเนื้อหมู ส่วนอีก 55 คน ไม่กินเนื้อวัว แต่กินเนื้อหมู

แล้วพวกเขาก็ต้องโหวตกันว่า จะซื้ออะไรเข้ามาทำอาหารในบ้านให้ทุกคนกินกันดี?

คิดว่าทางออกที่ควรจะเป็น คือการให้ทุกคนกินแต่เนื้อหมู ไม่มีเนื้อวัวเลย ไปตลอดทั้งปีทั้งชาติ อย่างนั้นหรือเปล่า?

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #72 เมื่อ: 04-10-2008, 22:08 »

คราวนี้ขอเสริมเรื่องแนวทางการฟอร์มรัฐบาลนะครับ

ที่จริงในแนวการเมืองใหม่ที่ผมเสนอไว้ จะมีให้ใช้ "สภาบริหารแห่งชาติ" คล้ายกับปาร์ตี้ลิสท์ ซึ่งถือว่าเบ็ดเสร็จเด็ดขาดคือพรรคที่ได้ที่ 1 จะนำทีมของตนเองเข้ามาเป็นรัฐบาลไปเลย

(อันนี้ต้องชี้แจง เดี๋ยวจะหาว่าผมสับสนในตัวเอง แต่ระบบที่ผมเสนอ กับที่คุณ jerasak เสนอ มีกรอบโดยรวมไม่เหมือนกัน ที่ผมวิเคราะห์ไว้ในความเห็นที่แล้ว ก็วิเคราะห์ในกรอบของคุณ jerasak แต่ระบบของผมจะวางการถ่วงดุลและป้องกันการใช้อำนาจบังคับแบบเบ็ดเสร็จ ประเภทคน 51% บังคับให้คนอีก 49% กินแต่เนื้อหมูตามที่ตนเองชอบ หรือการกินรวบทรัพยากรไว้ฝ่ายเดียว ประเภทคน 51% ได้กินทั้งหมด คนอีก 49% ไม่ได้กินอะไรเลย ไว้ตรงส่วนอื่นๆ อยู่แล้ว รวมทั้งโครงสร้างโดยส่วนใหญ่ก็มีการกระจายศูนย์ ดังนั้นถ้าไม่ให้คณะรัฐบาลมีอิสระและเป็นเอกเทศมากหน่อย ก็จะกลายเป็นว่าอำนาจถูกกระจายจนเสียงส่วนใหญ่ไม่สามารถจะมีอำนาจจริงๆ จังๆ ได้นะครับ)

แต่ผมเห็นด้วยว่า การเปลี่ยนสู่การเมืองใหม่ในแบบของคุณ jerasak เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดในตอนนี้ เพราะโครงสร้างของตัวระบบเหมือนๆ กับของเดิมที่ใช้อยู่ และยังไม่ต้องแก้กฎหมาย รธน. มาตราไหนๆ เลย

ทีนี้ถ้าจะเกิดการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างทุกฝ่ายในสังคม เพื่อปลดชนวนขัดแย้งและปูทางไปสู่การปฏิรูปการเมือง ณ เวลานี้ ผมเสนอให้มีการลงสัตยาบันร่วมกันอย่างน้อยตามนี้คือ

- ให้ทุกพรรค ที่มีเสียงปาร์ตี้ลิสท์อยู่ในสภาผู้แทนฯ ตอนนี้ ฟอร์มทีมรัฐบาลเงาของตนเอง แล้วเปิดเผยออกมาเป็นสัญญาประชาคมว่า ถ้าพรรคนั้นได้รับตำแหน่งใน ครม. จะเสนอใครขึ้นไปทำงานกระทรวงไหนบ้าง? มีแนวนโยบายการทำงานในกระทรวงนั้นๆ อย่างไร?

- แต่ละพรรค เมื่อมีโอกาสเสนอรัฐมนตรีจริงๆ แล้ว จะต้องไม่พยายามดันทุรังเสนอรายชื่อแหกไปจากรายชื่อที่ได้ประกาศกับประชาชนไว้ โดยไม่มีเหตุผลสมควร ถ้า รมต. ตามรายชื่อไม่สามารถรับตำแหน่งนั้น และพรรคหาคนอื่นมาใส่ตำแหน่งนั้นไม่ได้ จะต้องสละโควต้าไปให้พรรคอื่นก่อน

- ให้การเปิดเผยรายชื่อรัฐบาลเงา และการเสนอสัญญาประชาคมในการจัดทีมรัฐมนตรี กลายเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองใหม่สำหรับทุกพรรคที่จะส่งรายชื่อปาร์ตี้ลิสท์ นับแต่ในการเลือกตั้งครั้งหน้าสืบต่อไป


เท่านี้เป็นข้อสัตยาบันที่แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของรัฐมนตรี ให้ประคับประคองบ้านเมืองออกจากวิกฤตไปได้ และยังทำให้ประชาชนฝ่ายต่างๆ มองเห็นว่าแต่ละพรรคที่เสนอตัวเข้ามาก็มีปัญญาความสามารถที่จะขึ้นเป็นรัฐบาลปกครองประเทศได้ จะมากหรือน้อยต่างกันไปก็แล้วแต่

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #73 เมื่อ: 04-10-2008, 23:00 »

ถ้าจะทำการปฏิรูปการเมืองใหม่กัน โดยกลับไปใช้ รธน. ปี 2540 เป็นฉบับตั้งต้น ผมก็ยอมรับได้นะครับ (ที่จริง รธน. 2550 มันก็ต่อเติมขึ้นมาจาก รธน. 2540 นั่นแหละ)

แต่พอดีเห็นมีพวกที่จะไม่เอาอะไรทั้งสิ้น ร่ำร้องแต่ให้เอา รธน. 2540 กลับมาๆ แล้วก็กล่าวโทษเหมือนกับว่าปัญหาทางการเมืองทุกอย่างมาจาก รธน. 2550 เท่านั้น ซึ่งมันดูน่าอนาถ 

บังเอิญโชคดีว่าข้อเสนอของผมสามารถใช้ได้กับรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ
เพราะต่างก็มีส่วนของการลงคะแนนเลือกพรรคทั้งคู่

- รัฐธรรมนูญ 2540 เลือกพรรคผ่าน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์
- รัฐธรรมนูญ 2550 เลือกพรรคผ่าน ส.ส.สัดส่วน

ทำให้ข้อเสนอของผมไม่มีปัญหาว่าต้องใช้กับรัฐธรรมนูญฉบับใดเป็นพิเศษครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 23:02 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #74 เมื่อ: 04-10-2008, 23:18 »

ขอเสริมนิด นึกขึ้นมาได้ถึงเรื่อง รธน. ปี 2540 เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด บีบบังคับให้ไปสู่ระบบพรรคใหญ่ๆ สองขั้ว หรือไม่กี่ขั้ว และกำจัดพรรคเล็กพรรคน้อยออกไป
ซึ่งก็มาจากมุมมองในเวลานั้นที่ว่า การมีพรรคเล็กพรรคน้อยคอยต่อรองในระบบโควต้า เป็นตัวปัญหาใหญ่ของการเมืองไทย ทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ

แต่ถ้าปัญหามาจาก พรรคเล็กพรรคน้อยมีอำนาจเป็นตัวแปรทางการเมืองได้มากกว่าที่ควรจะเป็น อย่างนั้นเราควรแก้ด้วยวิธี ทำให้ดุลอำนาจของแต่ละพรรคในสภา มีความสมเหตุสมผลตามที่มันควรจะเป็นมากขึ้น มันจะตรงจุดมากกว่าไหม??

ดังนั้น ถ้ามีการปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีปฏิบัติ ที่ไม่ต้องต่อรองกันให้มากเรื่อง แต่เอาตามเสียงประชาชนมาวัดโควต้าเลย ก็หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องวางกฎที่บีบให้พรรคเล็กๆ ถูกกำจัดออกไปจากระบบก็ได้

แต่ปัญหาใหญ่ยังคงอยู่ที่ ถ้าสมมติพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2 ในสภา มีแนวนโยบายไปคนละทาง คนละขั้วโลกกันเลยล่ะ?

มันก็จะกลับไปที่ หลักการปกครองพื้นฐาน ว่าเราเข้าใจ หรืออยากจะเข้าใจกันอย่างไร?

ซึ่งผมยังเห็นว่า ถ้าบังคับจับ 2 ขั้วมารวมกัน แล้วถ่วงกันจนนโยบายโดยรวมของประเทศไม่สามารถแหกออกไปข้างใดข้างหนึ่งได้
มันยังปลอดภัยสำหรับสังคมประเทศชาติโดยรวม มากกว่าเกม Winner-take-all อย่างทุกวันนี้นะครับ

ลองนึกภาพว่าแทนประชาชนทั้งประเทศด้วยคน 100 คน ถ้าสมมติในนั้นมี 45 คน กินเนื้อวัว แต่ไม่กินเนื้อหมู ส่วนอีก 55 คน ไม่กินเนื้อวัว แต่กินเนื้อหมู

แล้วพวกเขาก็ต้องโหวตกันว่า จะซื้ออะไรเข้ามาทำอาหารในบ้านให้ทุกคนกินกันดี?

คิดว่าทางออกที่ควรจะเป็น คือการให้ทุกคนกินแต่เนื้อหมู ไม่มีเนื้อวัวเลย ไปตลอดทั้งปีทั้งชาติ อย่างนั้นหรือเปล่า?

ก่อนหน้าจะได้ไอเดียเรื่องประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดโควต้ารัฐมนตรี
ผมติดปัญหาการออกแบบการเมืองไทยว่า ไม่ควรให้มีพรรคใหญ่ 2 พรรค
เพราะก่อให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองในประเทศแบบไม่รู้จบ

แต่เมื่อได้ไอเดียเรื่องโควต้ารัฐมนตรีจากประชาชน ก็ทำให้ไม่ติดปัญหาอีก
และัยังมีผลพลอยได้ในการแก้ปัญหาพรรคเล็กป่วนรัฐบาลได้ด้วย

เพราะไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนให้เจรจาต่อรองโควต้ารัฐมนตรีกันอีกต่อไป

ระบบที่ผมนำเสนอยังทำให้เกิดแนวโน้ม พรรคเล็กเข้ารวมตัวกับพรรคใหญ่
ทำให้ในที่สุดจะเกิดเป็น 2 ขั้วการเมือง แต่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาแตกแยก

...

เรื่อง 2 พรรคมีนโยบายต่างกันสุดขั้ว ผมคิดว่าก็นำโควต้ามาใช้แบ่งงบประมาณ
ให้แต่ละพรรคได้ใช้ผลักดันนโยบายของตัวเองตามสัดส่วน


ผมคิดว่าทำแบบนี้ แต่ละพรรคมีกระทรวงของตัวเอง มีงบประมาณของตัวเอง
ชัดเจนมากกว่าระบบพรรคร่วมรัฐบาลแบบปัจจุบันเสียอีก

สุดท้าย.. ผมชอบที่ คุณวิหค อัสนี ยกตัวอย่างการกินอาหารของคน 2 กลุ่ม
ที่ไม่สามารถเข้ากันได้  หากให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งครองอำนาจตัดสินใจตลอด
ย่อมสร้างความไม่พอใจ อาจเป็นที่มาของความแตกแยกทางการเมืองครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-10-2008, 23:22 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
katindork
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 369


« ตอบ #75 เมื่อ: 05-10-2008, 00:24 »

ผมอ่านแบบข้ามๆ นะครับคุณจี
เป็นแนวทางที่พยายามเขย่า  ให้เป็นรูปธรรมเท่าที่จะแก้สถานะการณ์ตอนนี้ได้ 
แต่ผมมองว่ายังไม่พอในระยะยาว   อาจมีปัญหาวนกลับมาที่เดิม


ขอ 2 ข้อนะครับ
1.เป็นการสมยอมกันของนักการเมืองที่จะบริหารประเทศเหมือนปัจจุบัน 
คุณจีว่า วุฒิสภา และองค์กรอิสระจะตรวจสอบได้
แต่ก็เห็นกันมาโดยตลอด 
สภาผัว สภาเมีย มีมาแล้ว 
คนที่แฝงมากับพรรคการเมืองเข้า สว. มีมาตลอด 
องค์กรอิสระ มีทั้งโดนแทรกแซงจากพรรคการเมืองสำเร็จและพยายามอยู่ก็ตาม


ที่สำคัญ คุณจีมองในมุม พรรคใหญ่ 2 พรรค 
แต่อย่าลืมว่า หากผลประโยชน์ทางการเมืองแบบนักธุรกิจ  มันเกิดพ้องทับซ้อน
ก็ไม่ได้หมายความว่า ปชป.จะไม่เห็นดีเห็นงามกับฝั่งทักษิณ 
เงินไม่เข้าใครออกใคร  หาก ปชป. เฉยเมยกับกรณีทักษิณ เพื่อแลกเปลี่ยนกัน จะเกิดไรขึ้น
น่ากลัวที่สุดคือ  อุปถัมภ์กันจนเกิดการฮั้วกันในทางลับ ทั้งระบบ
เหตุการณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นมาแล้วนะครับ จนเกือบจะครบวงจรทั้งระบบ
ผมอาจเห็นว่านี่เป็นของเล่นชิ้นใหม่  ที่นักการเมืองยื่นมาให้คนไทยที่ตามไม่ทันเท่านั้น
แล้วประชาชนจะทำอย่างไร
เพราะผมขอว่า นักการเมืองคอรับชั่นไม่ได้  และชี้นำในทางเลวแก่คนไทยไม่ได้ อย่างอื่นผมพอยอมรับไหว 

2.ผมเอารูปแบบนี้  เป็นข้อมูลเข้าเสวนากับคนวงในพันธมิตรได้ไหมครับ ขอนุยาดฮี่ๆ
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #76 เมื่อ: 05-10-2008, 08:08 »

ผมอ่านแบบข้ามๆ นะครับคุณจี
เป็นแนวทางที่พยายามเขย่า  ให้เป็นรูปธรรมเท่าที่จะแก้สถานะการณ์ตอนนี้ได้ 
แต่ผมมองว่ายังไม่พอในระยะยาว   อาจมีปัญหาวนกลับมาที่เดิม

ขอ 2 ข้อนะครับ
1.เป็นการสมยอมกันของนักการเมืองที่จะบริหารประเทศเหมือนปัจจุบัน 
คุณจีว่า วุฒิสภา และองค์กรอิสระจะตรวจสอบได้
แต่ก็เห็นกันมาโดยตลอด 
สภาผัว สภาเมีย มีมาแล้ว 
คนที่แฝงมากับพรรคการเมืองเข้า สว. มีมาตลอด 
องค์กรอิสระ มีทั้งโดนแทรกแซงจากพรรคการเมืองสำเร็จและพยายามอยู่ก็ตาม

ที่สำคัญ คุณจีมองในมุม พรรคใหญ่ 2 พรรค 
แต่อย่าลืมว่า หากผลประโยชน์ทางการเมืองแบบนักธุรกิจ  มันเกิดพ้องทับซ้อน
ก็ไม่ได้หมายความว่า ปชป.จะไม่เห็นดีเห็นงามกับฝั่งทักษิณ 
เงินไม่เข้าใครออกใคร  หาก ปชป. เฉยเมยกับกรณีทักษิณ เพื่อแลกเปลี่ยนกัน จะเกิดไรขึ้น
น่ากลัวที่สุดคือ  อุปถัมภ์กันจนเกิดการฮั้วกันในทางลับ ทั้งระบบ

เหตุการณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นมาแล้วนะครับ จนเกือบจะครบวงจรทั้งระบบ 
ผมอาจเห็นว่านี่เป็นของเล่นชิ้นใหม่  ที่นักการเมืองยื่นมาให้คนไทยที่ตามไม่ทันเท่านั้น
แล้วประชาชนจะทำอย่างไร
เพราะผมขอว่า นักการเมืองคอรับชั่นไม่ได้  และชี้นำในทางเลวแก่คนไทยไม่ได้ อย่างอื่นผมพอยอมรับไหว 

2.ผมเอารูปแบบนี้  เป็นข้อมูลเข้าเสวนากับคนวงในพันธมิตรได้ไหมครับ ขอนุยาดฮี่ๆ 

ขอบคุณ คุณ katindork ครับ

ข้อเสนอของผมมุ่งแก้ปัญหา "ความแตกแยกทางการเมือง" ของสังคมไทยครับ
เพราะเป็นจุดที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบันและยังไม่เห็นมีใครเสนอทางออก

ในขณะที่การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รับชั่น เห็นได้ว่ามีคนเสนอกันเยอะแล้ว
ผมคงไม่ต้องช่วยคิดเพิ่มเติมอีก (และผมคิดว่าออกแบบยังไงก็ป้องกัน-
การทุจริตคอร์รับชั่นไม่ได้  มีแต่ไล่เอาผิดย้อนหลังเท่าที่ทำได้แค่นั้น)

...
ไม่เข้าใจที่ คุณ katindork บอกว่า.. "ในระยะยาว อาจมีปัญหาวนกลับมาที่เดิม"
ถ้าวนกลับมาที่เดิม.. ต้องหมายถึง "กลับมาแตกแยกทางการเมือง" นะครับ

แต่ผมเดาว่า คุณ katindork คงหมายถึงในระยะยาวจะเกิดปัญหาทุจริต-
คอร์รับชั่น ไม่ใช่ตั้งใจหมายถึง จะกลับมาแตกแยกทางการเมืองอีก

ถ้าแก้ปัญหาความแตกแยกได้ ข้อเสนอของผมก็ประสบความสำเร็จแล้วครับ
...

ตามข้อ 1 ที่คุณ katindork กลัวว่าวุฒิสภาและองค์กรอิสระจะถูกแทรกแซง
ผมอยากชี้ให้เห็นว่าตามระบบปัจจุบัน  แค่มี ส.ว.คนเดียวทำงานก็สามารถ
ดำเนินคดีจนนายกฯ ต้องออกจากตำแหน่งมาแล้ว ดังนั้นถ้ามีการแทรกแซง
ก็ต้องแทรกแซงให้หมดทุกคนเลยนะครับ

ีอีกจุดที่สำคัญคือผมเสนอให้มีสัดส่วนของตัวแทนกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ
เพิ่มมากขึ้นในวุฒิสภา ซึ่ง ส.ว.กลุ่มอาชีพ แต่ละคน จะทำหน้าที่ดูแล
ตรวจสอบรัฐบาล โดยเฉพาะในส่วนที่กระทบกับกลุ่มอาชีพที่รับผิดชอบ

..ผมคิดว่าเป็นการยากมากที่จะซื้อ ส.ว.กลุ่มอาชีพ ทั้งหมดครับ
เพราะด้วยรูปแบบนี้ ส.ว. จะมีที่มาหลากหลายมากๆ..


ส่วนเรื่อง "สภาผัวเมีย" ได้รับการแก้ไขไปแล้วในรัฐธรรมนูญ 2550

...

ที่คุณ katindork กลัวพรรคการเมืองจะฮั้วกันทั้งหมด แล้วทุจริตคอร์รับชั่น
ก็อาจเป็นไปได้ครับ แต่ก็จะมีด่านแรกคือ ส.ส.พรรคเล็กที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาล
ถัดมาคือการตรวจสอบโดยวุฒิสภา และถัดออกมาอีกก็ยังมีสื่อมวลชน และ
ยังมีนักวิชาการ ไล่มาจนถึงประชาชนอย่างพวกเราอีก

คราวนี้จะต่างจากรัฐบาลระบบเดิมที่เสียงข้างมากยึดอำนาจตั้ง ครม.กันเอง
เพราะคราวนี้รัฐบาลเกิดจากประชาชนเป็นคนกำหนดโควต้าแล้ว


ใครเลือกพรรคไหนก็รู้อยู่แก่ใจจะโทษคนอื่นไม่ได้เพราะเป็นคนเลือกเองครับ

ถ้ารัฐบาลรวมหัวกันโกงกินก็เป็นรัฐบาลของคนไทยทุกคนที่ช่วยกันเลือกมา
ไม่ใช่เป็นรัฐบาลแบบเดิมที่เสียงข้างน้อยโทษเสียงข้างมาก คนภาคใต้โทษ
คนภาคเหนือ-ภาคอีสาน หรือ คนในเมืองโทษคนชนบท


ถ้าจะมองอีกว่าพรรคเล็กก็ฮั้วพรรคใหญ่ วุฒิสภาทั้งหมดก็ไปฮั้วกับรัฐบาล
สื่อมวลชนทุกรายก็ฮั้วกับเขาด้วย ผมคิดว่าเป็นการมองแบบสุดโต่งนะครับ
และการพยายามทำแบบนั้นก็มีบทเรียนแล้วว่านำไปสู่หายนะของรัฐบาล
..อดีตนายกชาติชาย/อดีตนายกทักษิณ เคยลองทำมาแล้วไม่รอดทั้ง 2 ราย.. 

เพราะถ้าฮั้วกันโกงขนาดนั้น ประชาชนจะสามัคคีกันมาถล่มรัฐบาล
มองในแง่ดี.. อย่างน้อยก็ไม่มีความแตกแยกของประชาชนแต่ละภูมิภาคอีก


...

ปล. เรื่องนำข้อมูลเข้าเสวนากับคนวงในพันธมิตรสามารถทำได้เลยครับ
      เป็นความตั้งใจของผมที่จะเผยแพร่ข้อเสนอเรื่องนี้อยู่แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-10-2008, 08:49 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #77 เมื่อ: 05-10-2008, 22:21 »

วันนี้ลองเอาไปตั้งกระทู้ที่บอร์ดฟ้าเดียวกันครับ
คนที่นี่ไม่ค่อยค้านผม แต่ที่โน่นค้านกระจาย!!!

เจอคุณอยากประหยัดฯ เข้ามาแจมกระทู้ด้วย

ความจริงผมไปโพสต์ที่บอร์ดเสธ.แดงด้วยครับ
แต่ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ผมกลับไปหากระทู้ไม่เจอ
สงสัยว่าจะโดนลบทิ้ง (แบบงงๆ  Neutral)

เอาที่คุยในบอร์ดฟ้าเดียวกันมาลงให้อ่านครับ 
---------------------------------------------------------------------------------

[quote name='poros' post='114193' date='Oct 5 2008, 08:52 AM']
ชื่นชมเจตนารมณ์ที่จะลดความแตกแยกครับ

แต่ไม่เห็นด้วยในเนื้อหา

เพราะคนที่เป็นเสียงข้างน้อยไม่ได้ถูกตัดสิทธิในทางการเมืองที่จะตรวจสอบรัฐบาล
หรือลงสมัครรับเลือกตั้งในการเมืองระดับรองลงมา ที่จะเป็นตัวช่วยในการตรวจสอบ
การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลครับ

ความแตกแยกแบบนี้จะว่าไปผมว่าคำพูดพล่อย ๆ ของทักษิณที่ว่าจะดูแลจังหวัด
ที่เลือกเราก่อนนั้นมีผลพอสมควร ตอกย้ำด้วยการโหมเชื้อไฟของสนธิ

วันนี้ทักษิณก็ไปแล้ว ลดสาเหตุไปหนึ่ง
แต่อีกคนยังโหมไฟอยู่ คุณจีรศักดิ์คิดว่ายังไงล่ะครับ

เอา รธน อเมริกามาใช้สิครับ ดีจริง ทนจริง
[/quote]

---------------------------------------------------------------------------------

คุณ poros ก็ยอมรับใช่ไหมครับว่าปัจจุบันประเทศไทยมีความแตกแยก
ซึ่งต่อให้ไม่มีคุณทักษิณ หรือแกนนำพันธมิัตร ความเป็นจริงก็ยังคงมีอยู่ว่า
รัฐบาลปัจจุบันไม่ใช่ตัวแทนของคนทั่วทั้งประเทศ

ต่อให้เกิดกรณีกลับขั้วการเมือง รัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ก็ยังคงไม่ใช่ตัวแทน
ของคนทั่วทั้งประเทศ ยังคงเสี่ยงถูกต่อต้านจากขั้วตรงข้ามอยู่ดี


ประเทศไทยต้องหาทางออกจากวังวนความแตกแยกนี้ให้ได้ครับ

...

การที่เสียงข้างน้อยมีสิทธิตรวจสอบรัฐบาลไม่ได้ช่วยลดความแตกแยกครับ
เพราะตรวจไปก็ำทำอะไรรัฐบาลไม่ได้ และเสียงข้างน้อยยังคงมีสิทธิเป็นศูนย์
ในอำนาจบริหารไม่เปลี่ยนแปลง

ปัญหาที่มีในปัจจุับัน และที่จะมีต่อไปในอนาคต มาจากวิธีการฟอร์มรัฐบาล
ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าต้องใช้วิธีนี้ เป็นระบบ Zero-Sum Game
ที่ The Winner Take All  ขัดแย้งกับเป้าหมายที่ควรคือ Win-Win

ระบบ The Winner Take All "ไม่เป็นประชาธิปไตย" ในมิติที่ว่า
ประชาธิปไตยต้องใส่ใจทุกเสียงในสังคม

เพราะ "ประชา" หมายถึง "คนทุกคน" ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ "คนส่วนใหญ่"


...

นอกจากนี้...

ระบบปัจจุบันนำจำนวน ส.ส.เขต มาคิดโควต้ารัฐมนตรี ทั้งที่คะแนนดังกล่าว
เป็นการเลือกตัวบุคคล  และเรามีการลงคะแนนเลือก ส.ส.สัดส่วน ที่เป็นการ
"เลือกพรรค" เพื่อสนับสนุนให้เป็นรัฐบาลโดยตรงอยู่แล้ว

ที่ผ่านมาประชาชนถูกปล้นอำนาจที่ได้แสดงเจตจำนงทางการเมืองไปแล้ว
มีคนกลุ่มเล็กๆ ถือสิทธิโดยพละการ แบ่งโควต้ารัฐมนตรีกันเองตามใจชอบ
โดยไ่ม่แยแสเสียงที่แท้จริงในการสนับสนุนพรรคการเมืองของประชาชน


...

การเสนอให้นำคะแนน ส.ส.สัดส่วน(เลือกพรรค)มาใช้ เป็นการเคารพอำนาจ
ของประชาชน ที่ได้แสดงมติมหาชนในการสนับสนุนพรรคการเมืองไว้แล้ว
ว่าแต่ละพรรคได้รับการสนับสนุนในสัดส่วนเท่าใด

คุณ poros คิดว่ารัฐบาลที่มาจากคะแนนเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
มีความไม่เหมาะสมตรงไหนหรือครับ?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05-10-2008, 22:34 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #78 เมื่อ: 05-10-2008, 22:35 »

[quote name='อยากประหยัดให้ติดแก๊ส' post='114247' date='Oct 5 2008, 12:19 PM']
ไร้สาระอย่างแรงคับ ถ้าคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจที่แท้จริง(ตีความกฎหมายได้) ไม่เลิกตอแหลแก้ไปก็แค่นั้น
ประเภทว่าเลือกตั้งแพ้ แต่แต่งตั้งสวะคนนึงเที่ยวชงเรื่อง ให้ตีความกฎหมายสูงสุด ทำทุเรศไงก็ได้ขอให้
กำจัดฝ่ายตรงข้าม ถ้าไม่คิดจะเป็นกลางจริงๆ ลงเลือกตั้งก็ไม่กล้า แต่มาอยู่ในองค์กรที่ต้องเป็นกลาง เพื่อ
ทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ยังไงก็แตกแยกครับ
[/quote]

---------------------------------------------------------------------------
คนละส่วนกันครับ

นั่นเป็นปัญหาความไ่ม่พอใจฝ่ายตุลาการครับ
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องแก้ไข แต่อยู่คนละส่วน
กับเรื่องที่ผมนำเสนอที่เป็น "ฝ่ายบริหาร"

การตีความกฎหมายมีปัญหามาตลอดอยู่แล้ว
ว่าจะให้ใครเป็นผู้ตีความ กว่าจะเป็นรูปแบบ
ตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญแบบนี้
การตีความเคยเป็นอำนาจของสภาผู้แทนฯ
แต่ก็มีปัญหาที่ฝ่ายตุลาการเป็นผู้ใช้กฎหมาย
ในที่สุดจึงเกิดองค์กรแบบกึ่งศาลในปัจจุบัน

ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญถ้ามีข้อเสนออะไร
ที่จะปรับปรุงศาลรัฐธรรมนูญ ก็ลองเสนอ
ไปทาง สสร. นะครับ

แต่ในส่วนของผมที่ต้องการนำเสนอก็คือ
การปรับปรุงที่มาของคณะรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #79 เมื่อ: 05-10-2008, 22:51 »

[quote name='อ.ทร.' post='114252' date='Oct 5 2008, 12:30 PM']
ผมเดาว่าในตอนแรกมันก็จะเกิดพรรคเล็กขึ้นมากมาย เกิดการบริหารประเทศแบบต่างคนต่างทำ ไม่ประสานสอดคล้องกัน ไม่เกิดประสิทธิภาพ

   จากนั้นก็อาจจะมีการควบรวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดอาจจะกลายเป็นรัฐบาลเดียวที่มี 2-3 ฝ่าย 2-3 นโยบายแบบแบ่งเขตอำนาจกัน จนที่สุดอาจกลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียวก็ได้
   หรืออาจจะเป็นเบี้ยหัวแตกกันไปตลอด หรืออาจจะเดี๋ยวรวมเดี๋ยวแยกไม่แน่ไม่นอนก็ได้
   (แต่พัฒนาการแบบควบรวมนี่ ประเทศก็จะกลายเป็นบริษัทของกลุ่มผู้นำการเมืองไป)

   พัฒนาการอีกแบบหนึ่ง ผมก็เดาว่า เป็นการขยายตัวของพรรคที่ประสบความสำเร็จในการบริหารกระทรวงในอำนาจของตน แล้วได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนเพิ่มขึ้น  ในที่สุดอาจกลายเป็นรัฐบาลผสมไม่กี่พรรค ซึ่งถึงตอนนี้ก็แสดงว่าประชาชนเลือกนโยบายกันแล้ว ยกเลิกระบบนี้ได้

   ว่าแต่ คุณว่าแบบของคุณเนี่ย มันมีแนวโน้มจะทำให้เกิดการพัฒนาแบบควบรวม หรือแบบขยายตัว มากกว่ากัน
[/quote]


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คุณ อ.ทร. ตั้งคำถามได้ดีครับ

ผมเดาว่าตอนแรกจะมีพรรคใหญ่ได้คะแนนแค่ 2-3 พรรคครับ

และผมไม่เชื่อเหตุผลที่ว่านโยบายไม่เหมือนกันทำงานกันไม่ได้
เพราะประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็เห็นผสมกันได้ทุกรูปแบบอยู่แล้ว

แต่ละพรรคจะได้มีกระทรวงของตัวเองตามโควต้า ได้รับจัดสรร
งบประมาณตามโควต้า ก็ทำงานไปกระทรวงใครกระทรวงมัน

พรรคใหญ่ก็จะได้ตำแหน่งนายกฯ เพราะมีเสียงมากที่สุดอยู่แล้ว
ประกอบกับจะได้บริหารกระทรวงสำคัญๆ เพราะมีสิทธิเลือกก่อน
ดังนั้นนโยบายหลักๆ ของรัฐบาลก็จะผลักดันโดยพรรคแกนนำ

รัฐบาลที่ได้มาไม่ได้มีปัญหาอะไรมากกว่ารัฐบาลผสมในปัจจุบัน
แต่มีเสถียรภาพสูงกว่า เพราะไม่มีปัีญหาโควต้ารัฐมนตรีแบบเดิมๆ


...

ฝ่ายตรวจสอบในสภาผู้แทนฯ (ฝ่ายค้าน) จะมีจำนวนไม่มากนัก
โดยมาจากพรรคที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนไม่ถึงเกณฑ์
แต่พอมี ส.ส.เขต อยู่ในสภาบ้าง

กรณีรัฐบาลทำผิดจึงมีวุฒิสภาเป็นองค์กรตรวจสอบหลักที่จะ
ดำเนินการถอดถอน และดำเนินคดีผู้กระทำผิดตามกฎหมาย


แม้จะมีรัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งด้วยเหตุใดๆ โควต้ารัฐมนตรีของ
แต่ละพรรคจะยังคงเดิม (ใช้หลักคิดเดียวกับที่ใช้กับ ส.ส.สัดส่วน)

ดังนั้นรัฐบาลในโครงสร้างนี้จึงมีเสถียรภาพมั่นคงกว่าเดิมมากครับ

...

การควบรวมเป็นพรรคใหญ่พรรคเดียว ผมยังไม่เห็นทางเป็นไปได้
เพราะฐานเสียงที่สนับสนุนพรรคใหญ่ 2 พรรคแบ่งแยกกันชัดเจน
ในระดับภูมิภาค และแบ่งแยกกันชัดเจนในฐานความคิด

แต่พรรคเล็กพรรคน้อยจะมีแนวโน้มควบรวมกับพรรคใหญ่ 2 พรรค
เพราะเป็นช่องทางเดียวที่จะได้มีส่วนเป็นรัฐบาลครับ

ในส่วนการพัฒนาแบบขยายตัวขึ้นอยู่กับฝีมือการบริหารงานของ
แต่ละพรรคว่าเข้าตาประชาชนแค่ไหน ซึ่งแนวโน้มจะมีการแข่งขัน
ระหว่าง 2 พรรค มากกว่าจะคอยสาดโคลนขัดขากันเอง

สรุปว่าการพัฒนาจะเป็นแบบควบรวม และจะมีการแข่งขันกัน-
ในส่วนของการพัฒนาแบบขยายตัวครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #80 เมื่อ: 05-10-2008, 22:54 »

[quote name='อยากประหยัดให้ติดแก๊ส' post='114305' date='Oct 5 2008, 02:42 PM']
มันเกี่ยวพันกันอย่างเห็นได้ชัด ถ้าไม่อคติเกินไปจะเห็นอยู่แล้วว่า นายสวะเรืองไม่ไกลคนนั้น
มันจ้องจะเอาผิดแค่พรรคฝ่ายรัฐบาล เมื่อดูที่มาที่ไปจะเห็นว่ามันเป็นสวะมาจากการแต่งตั้ง ซึ่ง
โดยระบบที่จะแต่งตั้ง เจตนารมณ์ไม่ควรผูกกับฝ่ายการเมือง ควรเป็นกลางโดยการแสดงออก

ถ้าฝ่ายตุลาการมีอำนาจเหนือฝ่ายอื่นๆ โดยสามารถหาคนชงเรื่องขึ้นมาให้ตัดสินได้ ก็เท่ากับว่า
ระบบที่มีการแต่งตั้งมีช่องโหว่อย่างแรง ทำให้ระบบล่มและไม่น่าเชื่อถืออย่างปัจจุบัน การแก้
ปัญหาควรไปจัดการต้นเหตุนี้ก่อน ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหนก็เหอะ อย่าทำให้ฝ่ายนี้ไม่พอใจ ไม่งั้น
มันก็แต่งตั้งสวะจากสาขาอาชีพมาชงเรื่อง ส่งไปตีความ เปิดพจนานุกรม แล้วก็กำจัด

ต้องอย่าลืมว่าสถาบันตุลาการไม่ใช่ของคนพวกนี้ พวกนี้แค่มาแล้วก็ไป แต่สร้างความเสื่อมเสียต่อ
ความน่าเชื่อถืออย่างบรรลัยวายวอดไปทั้งระบบ ต้องแก้รัฐธรรมนูญปิดช่องคนพวกนี้ก่อน ไม่ให้
มามีอำนาจอยู่เบื้องหลัง ถ้าคิดว่าไม่มีคนเป็นกลางในประเทศจริง ก็ให้เลือกตั้งเป็นระบบลูกขุน
ไปเลย
[/quote]


---------------------------------------------------------------------------------------------------

การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องทำอยู่แล้วครับ
ประเด็นที่คุณเสนอผมก็เห็นมีการพยายามผลักดันกันอยู่

แต่ปัญหาของฝ่ายบริหาร ที่รัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนจากเพียง
บางภาคส่วนของประเทศ ในขณะที่ถูกต่อต้านจากภาคส่วนอื่นๆ

ทำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองในประเทศที่ต้องแก้ไข

...

จากคะแนนการเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วนครั้งที่ผ่านมามี 12 ล้านเสียง
ที่สนับสนุนพรรคพลังประชาชน และมีอีก 12 ล้านเสียงสนับสนุน
พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีการสนับสนุนพรรคอื่นๆ อีก 3 ล้านเสียง
คะแนนดังกล่าวแสดงเจตจำนงของประชาชนในการเลือกรัฐบาล
แต่กลับไม่นำมาใช้จัดตั้งรัฐบาลตามเจตนารมณ์ของประชาชน

กลายเป็น "ระบบเผด็จการเสียงข้างมาก" ที่ผูกขาดอำนาจบริหาร
ผลักไสประชาชนที่ไม่ลงคะแนนให้พรรคแกนนำมีสิทธิเป็นศูนย์
ไ่ม่สามารถมีส่วนร่วมใดๆ ในอำนาจบริหาร

ประชาชนดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 12 ล้านเสียง มีจำนวนหนึ่ง
ที่ต่อต้านรัฐบาลปัจจุบัน ว่าไม่ใช่รัฐบาลของตน

และในอนาคตหากมีการกลับขั้วการเมือง และยังไม่มีการเปลี่ยน
วิธีจัดตั้งรัฐบาลเป็นแบบอื่นนอกจาก The Winner Take All
ก็จะก่อปัญหาเดียวกันอีก เพราะประชาชนขั้วตรงข้ามไม่ยอมรับ


ปัญหาความแตกแยกทางการเมืองจะยังคงอยู่และรุนแรงขึ้นต่อไป

<br  />

...

รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ ย้อนหลังไปจนถึงปี พ.ศ. 2475
ต่างไม่เคยบัญญัติวิธีได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรี ทำให้เป็นช่องโหว่
ให้คนเพียงไม่กี่คนรวบอำนาจบริหาร แต่งตั้งรัฐมนตรีตามใจชอบ
เป็นที่มาของการต่อรองผลประโยชน์ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
โดยใช้เสถียรภาพรัฐบาลเป็นตัวประกัน มาโดยตลอด

..แม้แต่ในรัฐบาลสมชาย 1 ก็ยังตกอยู่ในวังวนของการต่อรอง
ผลประโยชน์นี้ กระทั่งเกิดความแตกแยกเป็นที่รับรู้กันทั่วไป..


ขณะเดียวกันการรวบอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีเอาเองตามใจชอบ
ยังได้แสดงแล้วว่า ไม่สามารถสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถ
เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่มีตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์
และนายทุนพรรคแทรกเข้าดำรงตำแหน่ง นำมาซึ่งความเสียหาย
เสียโอกาสของประเทศชาติ

...

เพื่อแ้ก้ปัญหาความแตกแยกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
ตลอดจนปัญหาการไร้เสถียรภาพ+ขาดประสิทธิภาพของรัฐบาล

ผมจึงนำเสนอแนวคิดที่อาจเป็นทางออกของสังคมไทยปัจจุบัน

*คนไทยฝ่ายละ 12 ล้านคน ไม่มีทางกำจัดอีกฝ่าย
ให้หมดไปจากประเทศไทยได้หรอกครับ*


ทางออกคือเราต้องหาทางอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข
เพื่อจะได้วางเรื่องแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง
แล้วเอาเวลาไปทำมาหากินกันเสียทีครับ

..ธรรมเนียมปฏิบัติใดก่อปัญหาสร้างความแตกแยก
ก็ควรปรับเปลี่ยน เลือกวิธีใหม่ที่สามารถแก้ปัญหา..

*การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง*
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #81 เมื่อ: 05-10-2008, 22:55 »

[quote name='อ.ทร.' post='114307' date='Oct 5 2008, 02:46 PM']
ก่อนยุคทักษิณนี่ รัฐบาลหลายพรรคแบบเบี้ยหัวแตกหรือแบบพรรคใหญ่มีเสียงไม่ห่างกันมากนี่มันมีปัญหามากจริงๆ นะครับ  ขนาดต่างเป็น"เทพ"ปราบมารมาด้วยกัน ยังร่วมรัฐบาลกันไม่ได้เลย
[/quote]


--------------------------------------------------------------------------------

ผมมองว่ารัฐบาลจากโควต้าของประชาชนตามรูปแบบที่ผมนำเสนอ
มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพสูงกว่าพรรคร่วมรัฐบาลเดิมๆ เสียอีกครับ

- เสถียรภาพสูงกว่า เพราะแค่ พปช+ปชป ก็มี ส.ส. ร่วมๆ 400 เสียง

- ประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะมีการแบ่งงบประมาณตามโควต้าไปแล้ว
  และแต่ละพรรคก็มีกระทรวงเป็นของตัวเองพร้อมงบประมาณชัดเจน
  โดยกระทรวงหลักๆ เช่น กลาโหม มหาดไทย คลัง ต่างประเทศ ฯลฯ
  จะอยู่ในมือของพรรคอันดับ 1 จึงคุมทิศทางได้ ขณะที่พรรคเล็กกว่า
  ก็ดูแลเฉพาะกระทรวงย่อยของตัวเองไปครับ

ที่ผ่านมามีปัญหาจริง เพราะยังมีการต่อรองผลประโยชน์เก้าอี้รัฐมนตรี
แต่ระบบที่ผมนำเสนอประชาชนเป็นคนตัดสินใจโดยตรงหมดแล้ว
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #82 เมื่อ: 05-10-2008, 22:57 »

[quote name='สหายสิกขา' post='114362' date='Oct 5 2008, 05:26 PM']
เสียงลงคะแนนที่แตกต่างกัน ไม่เกี่ยวกับการแยกประเทศหรือความขัดแย้งหรอกครับ (เป็นปัจจัยรอง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายอย่าง เช่นจะวิเคราะห์จากความแตกต่างในเรื่องการกระจายรายได้, การศึกษา, หรือ ฯลฯ ก็ได้)

สมมติว่าเอาผลเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ในปัจจุบันออกมา พูดได้ไหมครับว่าคนกรุงเทพแตกแยก เนื่องจากคนเลือกอภิรักษ์เพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้เลือก (ไปเลือก candidate จากพรรคอื่น และที่ไม่ได้สังกัดพรรค)

ในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งปธน. ในสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น 4 พย. ระหว่างเดโมแครต กับรีพับรีกันก็ดี หรือการเลือกตั้งในฝรั่งเศสก็ดี ก็มีแนวโน้มแบบนี้ทั้งนั้น

มันเป็นเรื่องปกติ และเป็นพัฒนาการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยครับ
[/quote]


----------------------------------------------------------------------------------------------

คุณสหายสิกขา คิดว่าปัจจุบันประเทศไทยไม่มีปัญหาแตกแยกหรือครับ?

ผมยังไม่ได้มองไปถึงการแยกประเทศ แต่ผมมองว่าปัญหาการเมือง
ของไทยในปัจจุบัน เกิดจากการใช้ธรรมเนียมปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล
ที่ก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยก เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพการเมือง
แบบแบ่งขั้วแยกข้างเป็นภูมิภาคในปัจจุบัน

โดยมีประเด็นสำคัญที่ผมนำเสนอคือ ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวนั้น
ไม่เคยมีการบังคับเป็นกฎหมาย เราสามารถเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นๆ
ที่ไม่ก่อปัญหาความแตกแยก โดยไม่ต้องแก้กฎหมายเลยด้วยซ้ำ

ล่าสุดมีตัวอย่างฆ่ากันตาย และทำร้ายกันบาดเจ็บสาหัส หลายครั้งแล้ว
คุณจะอธิบายเรื่องพวกนี้ว่าไม่ใช่ปัญหาการเมืองหรือครับ?


ปัจจุบันปัญหายังอยู่ในระดับเริ่มต้น แต่ในอนาคตมีโอกาสลุกลามต่อไป
จะไม่ใช่เพียงนักการเมืองถูกโห่ไล่จากประชาชนขั้วตรงข้ามนะครับ


...

คุณยกตัวอย่างประเทศที่การเมืองเรียบร้อยมันก็ดูปกติ หรือยกตัวอย่าง
ผู้ว่ากทม. ที่การตัดสินใจลงคะแนนก้ำกึ่งระหว่าง การเลือกคน/เลือกพรรค
มันก็ยังไม่เกิดปัญหารุนแรง 

คนกรุงเทพฯ ที่อยู่ต่างแขวงต่างเขตไม่รู้สึกแบ่งแยกกันชัดเจนเป็นคนละพวก
คนกรุงเทพฯ อยู่แขวงไหนเขตไหนก็เป็นคนกรุงเทพฯ ด้วยกัน..

เรื่องนี้นำไปเทียบกับความแตกต่างของแต่ละภูมิภาคไม่ได้
คนเหนือไม่ใช่คนใต้ และคนอีสานไม่ใช่คนใต้

*ตอนนี้คนเหนือคนอีสานอยู่ขั้วการเมืองหนึ่ง คนใต้อยู่อีกขั้วการเมือง*

คะแนนเสียงเลือกตั้งระดับประเทศของไทย แบ่งแยกเป็นภูมิภาคชัดเจน
ลองคลิกเข้าไปดูแผนที่จำนวน ส.ส. ข้างล่างนี้ก็จะเห็นภาพชัดเจนครับ

<br  />

...

ถ้าคุณดูตัวอย่าง ประเทศรวันดา ที่มีการแบ่งขั้วการเมืองอย่างรุนแรง
ก็จะเห็นตัวอย่างชัดเจนว่า การฆ่ากันตายเป็นแสนเป็นล้านคนมีจริงๆ
และประเทศไทยเราก็เริ่มทำร้ายกันฆ่ากันแล้ว โดยไม่รู้จะจบเมื่อไหร่

เพราะต่อให้เกิดการกลับขั้วการเมือง รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่
ก็จะถูกต่อต้านจากมวลชนขั้วตรงข้ามต่อไป

ถึงตอนนี้ไม่มีใครรับรองได้ว่า ต่อไป นปก.จะมายึดทำเนียบรัฐบาล
เหมือนที่พันธมิตรทำอยู่ตอนนี้หรือไม่ ในอนาคตจะมีการดักทำร้าย
นายกฯ และรัฐมนตรีขั้วตรงข้ามหรือไม่


ไม่มีใครทราบว่าในอนาคตมวลชนต่างขั้วจะปะทะกันรุนแรงขนาดไหน

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่คนไทยทุกคนควรหาทางแก้ไขนะครับ
เมื่อเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่มีกฎหมายบังคับและก่อให้เกิดปัญหา
เราก็สามารถเลือกใช้วิธีใหม่ที่แก้ปัญหาได้

รัฐบาลจากโควต้าของประชาชนโดยตรงก็คือ รัฐบาลประชาธิปไตย
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #83 เมื่อ: 06-10-2008, 00:05 »

ผมยอมรับว่าอ่านผ่านๆนะครับ แต่ขอแสดงความเห็นเบื้องต้น ดังนี้

1. ผมชอบมากๆ สำหรับโมเดลนี้ ที่มีแนวทางที่ทำให้ เสียงของประชาชนแต่ละคน ถูกแปลงเป็นอำนาจในการบริหารประเทศ เพราะแก้และป้องกันปัญหาปัจจุบัน เรื่องการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรงของประชาชนได้

2. ผมไม่ค่อยชอบแนวคิด ที่ ยึดนโยบายตาม ข้าราชการ เพียงอย่างเดียว เพราะหาก นักการเมือง มีนโยบายที่เป็นแนวคิดใหม่ที่ดี (อาจเป็นแนวทาง ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคม ซึ่งอาจถูกต่อต้าน จากข้าราชการประจำได้ ) อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลนี้ อาจไม่มีผลเสียอย่างที่คิดก็ได้ในทางปฏิบัติ เพราะนักการเมืองคงสามารถผลักดันจนได้

3. ผมไม่แน่ใจ ว่าคุณจี กล่าวถึงไว้แล้วหรือไม่ ผมเสนอให้ การกำหนดนโยบาย ต้องมีการกำหนดกรอบเวลา (Time frame) และ กำหนดตัวชี้วัดผล ที่เป็นรูปธรรม วัดได้จริง (Measurable Indicator of effectiveness) และกำหนดบทลงโทษ ถ้าไม่สามารถกระทำได้

ผมใช้แนวคิด ว่าประชาชนเสมือน คณะกรรมการบริษัท หรือ ผู้ถือหุ้น และ หลังจากเลือกผู้บริหาร (ทางการเมือง คือ รัฐบาล)เข้ามาแล้ว ก็สามารถติดตามวัดผล และลงโทษได้เมื่อผู้บริหารไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย (Under performance)

เพื่อเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับ รัฐบาล ที่ต้องเป็นคนที่คิดเสียสละ ตั้งใจจริง ในการทำงานรับใช้ประชาชน

4. ขอสนับสนุน ให้นำเสนอทางพันธมิตร และเผยแพร่ ต่อหลายๆเวทีระดมสมองเรื่องการเมืองใหม่ ครับ
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #84 เมื่อ: 06-10-2008, 17:59 »

ผมยอมรับว่าอ่านผ่านๆนะครับ แต่ขอแสดงความเห็นเบื้องต้น ดังนี้

1. ผมชอบมากๆ สำหรับโมเดลนี้ ที่มีแนวทางที่ทำให้ เสียงของประชาชนแต่ละคน ถูกแปลงเป็นอำนาจในการบริหารประเทศ
เพราะแก้และป้องกันปัญหาปัจจุบัน เรื่องการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรงของประชาชนได้

ดีใจที่มีคนเห็นด้วยอีกคน...

การแก้ปัญหาแบ่งขั้วการเมืองเป็นเป้าหมายเบื้องต้นที่เสนอโมเดลนี้ขึ้นมาครับ
ยังมีปัญหาที่เอกสารยาวเกินไป ผำลังพยายามเขียนใหม่ให้กระชับอ่านจบง่ายๆ
เพื่อทำเป็นเอกสารเผยแพร่ต่อไปครับ


2. ผมไม่ค่อยชอบแนวคิด ที่ ยึดนโยบายตาม ข้าราชการ เพียงอย่างเดียว เพราะหาก นักการเมือง มีนโยบายที่เป็นแนวคิดใหม่ที่ดี
(อาจเป็นแนวทาง ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคม ซึ่งอาจถูกต่อต้าน จากข้าราชการประจำได้ ) อย่างไรก็ตาม
ข้อกังวลนี้ อาจไม่มีผลเสียอย่างที่คิดก็ได้ในทางปฏิบัติ เพราะนักการเมืองคงสามารถผลักดันจนได้

ผมคงเขียนประเด็นนี้ไม่ชัดเจนต้องขอบคุณที่ทักท้วงนะครับ

ผมไม่ได้เสนอว่าห้ามนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเสนอนโยบาย
แต่ผมเสนอว่าโครงการต่างๆ ต้องเป็นของข้าราชการคิดทำขึ้นมา
บนกรอบนโยบายของพรรคการเมืองที่รับผิดชอบดูแลกระทรวงนั้นๆ
และงบประมาณที่พรรคการเมืองนั้นๆ ได้รับตามโควต้า

รัฐมนตรีมีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโครงการ
ถ้าเรื่องใดผ่านความเห็นชอบ ตัวแทนข้าราชการ (เช่น อธิบดีกรม)
ต้องเป็นผู้ชี้แจงขออนุมัติงบประมาณจากสภาผู้แทนฯ เมื่อโครงการ
ได้รับการอนุมัติจากสภาฯแล้ว ก็จะเป็นภารกิจของหน่วยราชการนั้นๆ
ที่ต้องรับผิดชอบทำให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐมนตรีไปกี่คนก็ตาม

ไม่ใช่แบบปัจจุบันที่พอเปลี่ยนฝ่ายบริหารก็รื้อโครงการเก่าิทิ้งหมด
ตั้งโครงการใหม่ของตัวเองไปเรื่อยๆ ทำให้เอาเข้าจริงไม่ได้ทำอะไร
เลยสักเรื่อง เพราะประเทศไทยเปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อย บางกระทรวง
เปลี่ยนทุก 4-6 เดือน

เรื่องนี้เป็นเพียงแนวคิดนะครับ ไม่ใช่สาระสำคัญของระบบที่เสนอ
และผมคงต้องไปแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกที


3. ผมไม่แน่ใจ ว่าคุณจี กล่าวถึงไว้แล้วหรือไม่ ผมเสนอให้ การกำหนดนโยบาย ต้องมีการกำหนดกรอบเวลา (Time frame)
และ กำหนดตัวชี้วัดผล ที่เป็นรูปธรรม วัดได้จริง (Measurable Indicator of effectiveness) และกำหนดบทลงโทษ
ถ้าไม่สามารถกระทำได้

ผมใช้แนวคิด ว่าประชาชนเสมือน คณะกรรมการบริษัท หรือ ผู้ถือหุ้น และ หลังจากเลือกผู้บริหาร (ทางการเมือง คือ รัฐบาล)เข้ามาแล้ว
ก็สามารถติดตามวัดผล และลงโทษได้เมื่อผู้บริหารไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย (Under performance)

เพื่อเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับ รัฐบาล ที่ต้องเป็นคนที่คิดเสียสละ ตั้งใจจริง ในการทำงานรับใช้ประชาชน

ถ้าทำเป็นโครงการ ก็จะมีกรอบเวลา และตัวชี้วัดผล อยู่ในนั้นครับ
เพียงแต่การกำหนดบทลงโทษเป็นเรื่องใหญ่ และต้องคุยกันยาว
ว่าจะทำได้หรือไ่ม่เพียงใด

ตัวอย่างพรรคพลังประชาชนคราวก่อน ที่เอาคุณมิ่งขวัญมาโฆษณา
ว่าเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ แต่เอาเข้าจริงสินค้าไม่ตรงกับที่ตกลง
เพราะไม่ได้เ่อาคุณมิ่งขวัญมาเป็นหัวหน้าทีมจริงๆ แถมการทำงาน
ก็ไม่ตรงกับที่โฆษณาอีกด้วย

คนที่เลือกพลังประชาชนอาจทนได้ แต่คนที่ไม่ได้เลือกแล้วต้องทน
หลายคนอาจรู้สึกที่รับไม่ได้เหมือนกัน ถ้าในรัฐบาลมีคนของทุกฝ่าย
แล้วทำงานไม่ได้เรื่องยังพอทำใจได้ว่าต้องรับผิดชอบร่วมกัน


4. ขอสนับสนุน ให้นำเสนอทางพันธมิตร และเผยแพร่ ต่อหลายๆเวทีระดมสมองเรื่องการเมืองใหม่ ครับ

ผมกำลังผลักดันนำเสนอเรื่องนี้ต่อทุกฝ่าย เพื่อให้ช่วยกันดูว่า
ข้อเสนอนี้มีผู้ เห็นด้วย/คัดค้าน หรือไม่ อย่างไรบ้างครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 18:01 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #85 เมื่อ: 06-10-2008, 18:30 »

ที่บอร์ดฟ้าเดียวกันยังมีคนมาเสวนาต่อเนื่องนะครับ
และมีประเด็นใหม่ๆ มาคัดค้านเพิ่มเติมเรื่อยๆ ครับ 

----------------------------------------------------------------------------------------------
[quote name='Athit' post='114378' date='Oct 5 2008, 06:04 PM']
เป็นข้อเสนอที่ปัญญาอ่อนมากเลยครับ

โควต้ารัฐมนตรีมาจาก ส.ส สัดส่วน.........แล้วรัฐบาลจะมีเสถียรภาพได้อย่างไร???

อย่าลืมว่าระบบพรรคการเมือง......มีการแข่งขันกันตลอดเวลาโดยเฉพาะพรรคใหญ่ๆ2พรรค.......การทำงานไม่มีทางราบรืนหรอก

เสถียรภาพทางการเมืองไม่ได้มาจากจำนวนส.ส ร่วมรัฐบาลอย่างเดียว แต่อยู่ที่นโยบายการบริหารประเทศสอดคล้องกันด้วย

สมมุติว่า หัวหน้ารัฐบาล มีนโยบาย เน้นไปทางสังคมนิยม หรือประชานิยมเน้นนโยบายรัฐควบคู่กับนโยบายตลาด....แต่พรรคร่วมรัฐบาลใหญ่อีกพรรคหนึ่งมีนโยบายเสรีนิยม(ทุนนิยม)เน้นนโยบายตลาด.......แล้วจะทำงานกันได้เหรอ???

เอ้าต่อให้รัฐบาลทำงานร่วมกันได้และดีเกินคาดด้วยจะไม่ถูกมองว่าเป็นเผด็จการรัฐสภาเหรอ??........การไมมีฝ่ายค้าน(อาจมีแต่น้อยจริงๆ)......การตรวจสอบรัฐบาลจะไม่มีประสิทธิภาพเลย.........ถ้ารัฐบาลร่วมกันโกงประชาชนจะทำอย่างไร????
พรรคใหญ่2พรรคร่วมกันโกง.........จะมีพรรคการเมืองไหนมาสู้ได้อีกเนี่ย

อย่าลืมว่า ส.ว......มีหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ตรวจสอบรัฐบาลแต่ไม่มีการลงมติ

ปล.ระบบการเมืองไทยเละแน่นอนถ้าใช้แนวคิดอุตริของคุณ
[/quote]

----------------------------------------------------------------------------------------------

ที่คุณ Athit ยกตัวอย่างมาก็มีเหตุผลครับ...

แต่พรรคตามตัวอย่างมันไม่เคยมีจริงในประเทศไทย
เพราะพรรคการเมืองไทยนโยบายเหมือนๆ กันหมด
ล้วนแต่เขียนนโยบายตามกระแสสังคม

ไทยเราไม่มีพรรคเสรีนิยม หรือพรรคอนุรักษ์นิยมชัดๆ
และที่ผ่านมาก็ผสมกันเป็นรัฐบาลมาได้ทุกยุคทุกสมัย

จะมีปัญหาถ้าประชาชนเป็นคนกำหนดโควต้าได้ยังไง
ในเมื่อที่ผ่านผมก็เห็นผสมกันได้ทุกสูตร


...

เรื่องการตรวจสอบรัฐบาลโดยพรรคฝ่ายค้านขนาดใหญ่
ผมก็อยากถามว่าทุกวันนี้มีประสิทธิภาพหรือครับ?

ไม่ว่าอย่างไรพรรคฝ่ายค้านก็ไม่มีทางอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ให้รัฐมนตรีคนไหนถูกสภาโหวตออก..

ประวัติศาสตร์ไทย 70 กว่าปีที่ผ่านมาเคยมีกี่ครั้งครับ?

ผมมองว่า สภาผู้แทนราษฎร ควรทำหน้าที่พิจารณา
งบประมาณและกฎหมาย มากกว่าจะตรวจสอบรัฐบาล

ในสายตาผมการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นเพียงปาหี่
ฝ่ายค้านก็หาเรื่องป่วนรัฐบาล และฝ่ายรัฐบาลก็ชี้แจง
แบบส่งเดชได้เพราะถึงยังไงเสียงก็มากกว่าฝ่ายค้าน

ในระบบปัจจุบัน การที่ฝ่ายค้านที่ตรวจสอบรัฐบาล
ก็มีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง ทำให้ถูกมองทุกครั้ง
ที่ตรวจสอบรัฐบาลว่า อยากเป็นรัฐบาลเสียเอง!!!

ระบบตรวจสอบแบบนี้ผมมองว่าไร้ประสิทธิภาพครับ
มีก็เหมือนไม่มี และนักการเมืองยังมีคติสำคัญที่ว่า

"ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ฐาวร"

คาดหวังว่าเขาจะเล่นงานเอาผิดกันจริงๆ ได้หรือครับ?

...

ประเด็นเผด็จการรัฐสภา ผมมองว่ารัฐบาลจากโควต้านี้
มีที่มาจากการตัดสินใจของประชาชนโดยตรงครับ

ทำให้มีสถานะคล้ายๆ รัฐบาลในระบอบประธานาธิบดี
ที่มีเสถียรภาพสูงมาก และอยู่จนครบวาระเป็นปกติ

ถ้ามีการฮั้วกันโกงก็เป็นรัฐบาลของประชาชนทุกคน
ที่กำลังโกง  ไม่ใช่รัฐบาลของประชาชนบางกลุ่ม
ที่เมื่อประชาชนขั้วตรงข้ามไม่ยอมรับรัฐบาลขี้โกง
ก็มีการปลุกระดมมวลชนขั้วรัฐบาลมาชนฝ่ายต่อต้าน
แบบที่เราเห็นในช่วงรัฐบาลทักษิณ-สมัคร

ถ้ารัฐบาลของประชาชนทุกคนฮั้วกันโกงอย่างที่คุณว่า
ประชาชนทั้งประเทศจะสามัคคีกันมาเล่นงานรัฐบาลครับ


...

ในเรื่องระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ...

ผมมองว่า วุฒิสภา ควรเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล
เพราะ ส.ว. ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในตำแหน่งรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญปัจจุบันยังกำหนดให้ ส.ว. ไม่สามารถเป็น
สมาชิกพรรคการเมือง หรือเป็นญาติใกล้ชิดนักการเมือง
ในโครงสร้างปัจจุบัน ส.ว. มาจากตัวแทนกลุ่มต่างๆ
ที่ไม่ใช่นักการเืมืองในสังกัดพรรค

เราสามารถคาดหวังได้ว่า ส.ว. จะทำงานตรวจสอบ
นักการเมืองได้เต็มที่มากกว่านักการเมืองตรวจกันเอง

ที่คุณบอกว่า

"ส.ว.มีหน้าที่กลั่นกรองกฏหมาย ตรวจสอบรัฐบาลแต่ไม่มีการลงมติ"

ตัวอย่างผลงาน ส.ว. ก็เห็นแล้วว่าแม้แต่นายกฯ ยังเด้ง!!!

เพราะเขาไม่รอลงมติครับ เขาฟ้องร้องดำเนินคดีจริงๆ

ต่างกับปาหี่อภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่โต้วาทีกันเสร็จ
ก็มาจูบปากโชว์ให้สื่อมวลชนดู
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 18:32 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #86 เมื่อ: 06-10-2008, 18:35 »

คนดังในอินเตอร์เน็ตท่านหนึ่งคือคุณ "สหายสิกขา"
ยังเข้ามาร่วมเสวนาต่อเนื่องในกระทู้ที่บอร์ดฟ้าเดียวกัน 

---------------------------------------------------------------------------

[quote name='สหายสิกขา' post='114429' date='Oct 5 2008, 09:12 PM']
คุณจีระศักดิ์,

ผมไม่ได้พูดว่า "ประเทศไทยไม่มีปัญหาแตกแยก" นะครับ

แต่ผมพูดว่า
แต่ผมกลับเห็นว่า การลงคะแนนของประชาชนที่มีความแตกต่างแบบนี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่ปรากฎในต่างประเทศ
แม้จะมีเสียงที่ไม่ตรงกันแต่ก็ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นให้เห็น เลือกตั้งเสร็จก็จบ ผมยังยกตัวอย่างการเลือกตั้งของ กทม.
ที่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเหมือนเช่นปัญหาการเลือกตั้งในระดับประเทศด้วย ซึ่งคุณก็ยอมรับเอง

ประเทศไทยในสมัย 2500 - 2525 มีผลการเลือกตั้งแตกแยกขนาดนี้หรือครับ แต่กลับมี "สงครามกลางเมือง" ที่หนักหน่วงรุนแรงกว่านี้ด้วยซ้ำไป

สิ่งที่ผมอยากจะเน้นคือ คุณไม่สามารถอ้างเอาผลเลือกตั้ง มาเป็นเหตุหลัก ที่เกิดความขัดแย้งของประชาชนในขณะนี้ได้ มันคนละเรื่องกันครับ และคุณไม่สามารถอ้างเอาผลเลือกตั้งแตกต่างกันแบบนี้ มาเป็นข้ออ้างว่านี่เป็นความขัดแย้งของคนในชาติ หรือแม้แต่อ้างว่า "ธรรมเนียมปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล" เป็นสาเหตุที่ทำให้ก่อปัญหา

ตกลงปัญหาคือ ความแตกต่างของการลงคะแนนเสียง หรือ ธรรมเนียมปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาลกันแน่ครับ?

กรณีผู้ว่า กทม. รูปแบบอำนาจบริหารของผู้ว่า จะต้องแชร์กันอย่างไร? ทำไมถึงไม่มีปัญหา? กรณีประธานาธิบดีสหรัฐฯ รูปแบบอำนาจบริหารมันแชร์กันอย่างไร? ทำไมถึงไม่มีปัญหา?

คุณพูดถึงประเด็นรวันดา คนละเรื่องกันเลยครับ นั่นเป็นความขัดแย้งระหว่างเผ่าฮูตู กับตุ๊ดซี่ เป็นเรื่องของคนละเผ่าพันธ์กันเลย (คล้ายกับกรณีของ เซาท์ออสเซเทีย ในจอร์เจีย ในขณะนี้ และมีมหาอำนาจอยู่เบื้องหลังทั้งสองฝ่าย) ประเทศไทยอย่างน้อยก็ผ่านการหลอมรวมทางชนชาติไปแล้ว (ยกเว้นในด้าน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งก็ทำให้มีปัญหาจนถึงบัดนี้ไงครับ)

สำหรับปัจจัยเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ ผมกลับมองว่ามาเลเซียต่างหากที่จะมีปัญหาหนักกว่าเราด้วยซ้ำไป
[/quote]


ประเด็นเรื่อง "แตกแยก" ตกลงว่าคุณสหายสิกขาไม่ปฏิเสธใช่ไหมครับว่ามีอยู่จริง?

กรณี กทม. หรือ กรณีสหรัฐฯ เมื่อไม่มีเกิดความแตกแยกมันก็ไม่มีปัญหาไงครับ
แต่กรณีรัฐบาลปัจจุบันมันมีปัญหาเกิดความขัดแย้งแตกแยกทางการเมืองจริงๆ

ทั้งฆ่ากันตาย ทั้งทำร้ายกันบาดเจ็บสาหัสเข้าโรงพยาบาลแล้วจริงๆ หลายครั้ง

เรื่องเผ่าฮูตูและตุ๊ดซี่ในรวันดา ก็เพราะแย่งกันใน Zero-Sum Game ครับ
เมื่อ The Winner Take All และอีกขั้วไม่ยอมรับก็ฆ่ากันล้างประเทศเท่านั้น
ผมยกตัวอย่างรวันดาที่เป็นปัญหาสุดโต่ง แต่ประเทศไทยเราก็มีปัญหาคล้ายกัน
เพียงแต่ดีกรีอ่อนกว่ารวันดาทำให้ยังพอมีทางออกครับ

ผมก็เห็นด้วยว่าการลงคะแนนของประชาชนที่มีความแตกต่างเป็นเรื่องปกติธรรมดา
แต่การที่ประชาชนจำนวนมากต้องทนไม่ยอมรับรัฐบาลไม่ใช่เรื่องปกติครับ


แต่เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ไม่ให้เป็นสาเหตุก่อความเสียหายกับประเทศ

...

ปัญหาของไทยคือ..

"ธรรมเนียมปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล" ไม่สอดคล้องกับ "ความแตกต่างของการลงคะแนนเสียง"

เราใช้ "Zero-Sum Game" ทำให้เกิดรัฐบาลที่มีสภาพ "The Winner Take All"
แม้ความขัดแย้งยังไม่รุนแรงเหมือนรวันดา แต่ก็มีการยกมวลชนปะทะกันให้เห็นแล้ว

เมื่อดูคะแนน ส.ส.สัดส่วน (เลือกพรรค) จะพบว่า 12 ล้านเสียงเลือก พปช. เป็นรัฐบาล
และอีก 12 ล้านเสียง เลือก ปชป. เป็นรัฐบาล ที่เหลือ 3 ล้านเสียงเลือกพรรคอื่นๆ

แต่เมื่อฟอร์มรัฐบาลด้วยวิธีปัจจุบัน 12 ล้านเสียงที่เลือก ปชป. กลายเป็นมีสิทธิเป็นศูนย์!!!

รัฐบาลปัจจุบันไม่ใช่รัฐบาลของ 12 ล้านเสียงนี้ แต่เป็นของ 12 ล้านเสียงแรกและ
3 ล้านเสียงหลัง วิธีฟอร์มรัฐบาลแบบปัจจุบันทำให้คน 45% ไม่มีส่วนในอำนาจบริหาร
ทั้งที่มติมหาชนแสดงเจตจำนงแล้วว่าให้การสนับสนุนพรรคการเมืองใดเป็นรัฐบาลบ้าง
ในสัดส่วนเท่าใดอย่างชัดเจน

ถ้าในฝ่ายนิติบัญญัติเราสามารถผสมตัวแทนทุกภาคส่วนในสังคมประกอบกับเป็นสภาผู้แทนฯ
แล้วทำไมในฝ่ายบริหารเราจะให้มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนประกอบกันเป็นรัฐบาลไม่ได้?

ถูกต้องหรือครับที่ทำให้คน 45% เป็นพลเืมืองชั้น 2 มีสิทธิเป็นศูนย์ในอำนาจบริหาร
ทั้งที่เขาก็เป็นประชาชนไทยเหมือนกัน เสียภาษีให้ฝ่ายบริหารนำไปใช้จ่ายเหมือนกัน?


ส่วนหนึ่งของคน 45% นี้เองที่ปรากฎตัวต่อต้านรัฐบาลบนท้องถนน และเข้าไปยึดทำเนียบฯ
เพราะเขาไม่ยอมรับว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลของเขาครับ และในที่สุดก็มีการปะทะกันกับ
ส่วนหนึ่งของคน 55% ที่ถือว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลของเขา

ต่อให้มีการกลับขั้วการเมือง ก็ยังคงมีคน 45% ถูกกลับขั้วไปมีสิทธิเป็นศูนย์อีกอยู่ดี

ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ถ้าเราเปลี่ยนวิธีฟอร์มรัฐบาลให้เป็นไปตามสัดส่วนการสนับสนุน
ของประชาชนทุกคน เพราะจะได้รัฐบาลที่เป็นของประชาชนทุกคนจริงๆ

ผมวิเคราะห์ผิดหรือที่ประเมินว่าวิธีการฟอร์มรัฐบาลแบบที่เราใช้อยู่ ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมือง
และทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทย?


คุณสหายสิกขา ยังไม่เห็นด้วยตรงไหนที่จะให้ประชาชนแบ่งโควต้ารัฐมนตรีโดยตรงครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 19:04 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #87 เมื่อ: 06-10-2008, 18:39 »

ถ้าทำเป็นโครงการ ก็จะมีกรอบเวลา และตัวชี้วัดผล อยู่ในนั้นครับ
เพียงแต่การกำหนดบทลงโทษเป็นเรื่องใหญ่ และต้องคุยกันยาว
ว่าจะทำได้หรือไ่ม่เพียงใด

ตัวอย่างพรรคพลังประชาชนคราวก่อน ที่เอาคุณมิ่งขวัญมาโฆษณา
ว่าเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ แต่เอาเข้าจริงสินค้าไม่ตรงกับที่ตกลง
เพราะไม่ได้เ่อาคุณมิ่งขวัญมาเป็นหัวหน้าทีมจริงๆ แถมการทำงาน
ก็ไม่ตรงกับที่โฆษณาอีกด้วย

คนที่เลือกพลังประชาชนอาจทนได้ แต่คนที่ไม่ได้เลือกแล้วต้องทน
หลายคนอาจรู้สึกที่รับไม่ได้เหมือนกัน ถ้าในรัฐบาลมีคนของทุกฝ่าย
แล้วทำงานไม่ได้เรื่องยังพอทำใจได้ว่าต้องรับผิดชอบร่วมกัน

ผมค่อนข้างเน้นประเด็นนี้ เนื่องจากต้องการให้นักการเมือง เป็นอาชีพที่ต้องทุ่มเทความพยายาม และเสียสละอย่างแท้จริง ถ้าคุณจี เคยเห็นบุคลิกของนักบริหารที่ทำงานหนักมากๆ จะเห็นได้ว่า พวกนี้จะพูดน้อย ถ่อมตัว (แม้ว่า ลักษณะนิสัยปกติ อาจเป็นคนเฮอา แต่เมื่อต้องรับผิดชอบงาน ก็ทำงานกันหูตูบ แข่งกับเวลา และคุณภาพ เนื้องาน เพราะมีตัวชี้วัดกำกับอยู่)

ผมอยากเห็นนักการเมือง เป็นแบบนี้ จะให้สัมภาษณ์ในเรื่องนโยบาย แนวคิดสำคัญๆ ไม่ใช่ปากเปราะ สำมะเลเทเมา ออกแต่งานสังคม เพราะนักการเมืองที่ทุ่มเท ต้องกลับบ้านศึกษางาน เพื่อเตรียมตัวถูกตรวจสอบ อยู่เป็นระยะๆ อยู่ในสภาพถูกกดดันตลอดเวลา เพราะไม่ได้ถูกจับตาแค่เรื่องทุจริต แต่ การปฏิบัติงานไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็จะต้องถูกบทลงโทษ เช่น ให้ออก ตัดสิทธิ์การเมือง 10 ปี หรือมีโทษสร้างความเสียหาย ก็จะถูกปรับทางแพ่ง

ผมเชื่อว่า ถ้าเราสามารถสร้างระบบการเมืองที่เข้มงวดได้ขนาดนี้ เราจะได้นักการเมืองคุณภาพ และเป็นคนดี คนเสียสละจริงๆ เพราะมีความเสี่ยงกระทบผลประโยชน์และชื่อเสียงส่วนตัวสูงมากๆ

ดังนั้น การกำหนดบทลงโทษ กรณี under perform ผมจึงให้น้ำหนักเป็นพิเศษครับ
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #88 เมื่อ: 06-10-2008, 23:05 »

Update ที่คุยกันในบอร์ดฟ้าเดียวกันครับ 

----------------------------------------------------------------------------------------------
[quote name='Athit' post='114449' date='Oct 5 2008, 10:13 PM']
ผมยังยืนยันตามเดิมครับ

1.ตัวอย่างที่ผมยกมา......คือข้อเท็จจริงในแนวคิดทางการเมืองของ2พรรคใหญ่
พรรค พปช ใช้นโยบายประชานิยม(นโยบายรัฐ) + ทุนนิยมเสรี(นโยบายตลาด)
พรรค ปชป ใช้นโยบายกลไกตลาดยกตัวอย่างง่ายๆ......ราคาน้ำมัน.....ปชปจะเน้น
ปล่อยให้เป็นกลไกตลาดทำงาน....แต่พปช....นโยบายกึ่งควบคุมกึ่งกลไก(อุดหนุน)
ยังมีนโยบายประชานิยมอื่นๆอีก
[/quote]

----------------------------------------------------------------------------------------------

ที่คุณ Athit ยกมาดูเหมือนเป็นความจริง แต่ผมคิดว่าที่เราเห็น
ปชป. แสดงตัวคัดค้านนโยบาย ทรท./พปช. ก็เพราะมีสถานะ
เป็น พรรคฝ่ายค้าน ครับ

ถ้าเป็นรัฐบาลร่วมกันก็ไม่จำเป็นต้องค้านพรรคแกนนำแบบเดิม
แต่จะไปเน้นทำงานในส่วนของตัวเองมากกว่า


และผมยังยืนยันว่านโยบายพรรคการเมืองไทยปรับให้เข้ากันได้เสมอ
ตัวอย่างเลือกตั้งครั้งล่าสุดแต่ละพรรคก็เสนอประชานิยมทั้งนั้น


...

ผมไม่แน่ใจว่าคุณ Athit ตามลิงค์ไปอ่านข้อเสนอของผมทั้งระบบ
แล้วหรือยังนะครับ

แต่ในระบบที่ผมเสนอกระทรวงสำคัญจะอยู่กับพรรคแกนนำทั้งหมด
และงบประมาณส่วนใหญ่ก็อยู่กับพรรคแกนนำด้วยตามโควต้า

พรรคแกนนำจึงสามารถผลักดันนโยบายของตัวเองเป็นนโยบายหลัก
ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาล ก็ผลักดันนโยบายผ่านกระทรวงของตัวเอง
ในส่วนที่ได้รับโควต้างบประมาณ ซึ่งเป็นนโยบายรอง

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำอยู่แล้ว แม้แต่ใน รัฐบาลทักษิณ-สมัคร-สมชาย
ปัญหาที่คุณคิดว่ามี เอาเข้าจริงเขาสามารถทำงานร่วมกันได้ครับ


พรรคที่ไม่ได้รับโควต้ารัฐมนตรี (ที่ตอนนี้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล)
ก็จะกลับเป็นฝ่ายคัดค้าน นโยบายประชานิยม+ทุนนิยมเสรี แทน
ทั้งที่ตอนเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่เคยคัดค้านแต่อย่างใด


...

มาดูเรื่องนโยบายพรรคต่างกันที่คุณยกตัวอย่าง...

พรรค ปชป ใช้นโยบายกลไกตลาดยกตัวอย่างง่ายๆ......ราคาน้ำมัน.....ปชปจะเน้น
ปล่อยให้เป็นกลไกตลาดทำงาน....แต่พปช....นโยบายกึ่งควบคุมกึ่งกลไก(อุดหนุน)


ผมคิดว่ามันไม่ใช่ข้อสรุป ไม่มีอะไรยืนยันได้เลยว่าถ้า ปชป. เป็นรัฐบาล
จะไม่ใช้นโยบายเดียวกับ พปช. ถ้านโยบายนั้นเหมาะสมกับสถานการณ์
แม้ว่าตอนนี้ ปชป. ในฐานะฝ่ายค้านจะคัดค้าน พปช. ก็ตาม

เหมือนกับที่ พปช. ก็ไม่เคยเป็นพรรคฝ่ายค้าน ถ้าเกิดต้องเป็นฝ่ายค้าน
แล้ว รัฐบาล ปชป. ใช้นโยบายกึ่งควบคุมกึ่งกลไก พปช. ก็อาจคัดค้าน
ว่าควรใช้ นโยบายกลไกตลาด ก็ได้

...

อีกอย่างหนึ่งคือคุณสังเกตหรือเปล่า่ว่า ปชป. สมัยเป็นรัฐบาล
เมื่อ 7-8 ปีก่อนกับตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรเป็นคนละชุด
หลายคนเคยอยู่กับ ปชป.สมัยโน้น แต่ตอนนี้อยู่กับพรรครัฐบาล

แค่หัวหน้าพรรคก็เปลี่ยนมาแล้ว 2 คน เลขาธิการพรรคก็เปลี่ยนด้วย
กรรมการบริหารพรรคก็เปลี่ยน มีคนใหม่ๆ เข้ามาในพรรคมากมาย
เฉพาะ ส.ส.ใหม่ๆ ก็เดินกันเต็มสภาครับ

เราเห็น ปชป. บริหารประเทศครั้งสุดท้ายเมื่อนานมากแล้วครับ
ถ้าได้เป็นรัฐบาลตอนนี้อาจไม่เหมือนเดิมเลยก็ได้

...

ผมอยากตั้งข้อสังเกตด้วยว่า พปช. ปัจจุบันไม่มีนโยบายอะไรเลย
และแม้แต่ ทรท. จริงๆ ก็อาจไม่มีนโยบายอะไรเลยมาตั้งแต่ต้น
เพราะที่ผ่านมา ทรท. มีุคุณทักษิณเ็ป็นนโยบายพรรค!!!

ความจริง ทรท. ไม่ใช่พรรคการเมืองเหมือน ปชป. แต่เป็น-
กิจการส่วนตัวของคุณทักษิณ ที่มีคุณทักษิณเป็นคนตัดสินใจ
ส.ส.พรรคมาจากสารพัดกลุ่ม สุมรวมกันให้เป็นพรรคใหญ่


เกือบหนึ่งปีที่ผ่านในรัฐบาลสมัครก็เห็นแล้วว่า พปช. ที่ไม่มี-
คุณทักษิณ ไม่ได้มีเอกลักษณ์เดิมๆ ที่เคยมีของ ทรท. เลย

ทั้งหมดที่ยังเชื่อมโยงกันคือเอาเงาคุณทักษิณมาขายเท่านั้น

แต่ตัวพรรคจริงๆ ไม่ได้มีนโยบายอะไรแตกต่างกับพรรคอื่นๆ
ถึงขนาดจะอ้างว่าร่วมรัฐบาลกับพรรคอื่นไม่ได้ครับ

ความจริงก็ผสมกับใครก็ได้เหมือนที่เคยเป็นมาอยู่ดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 23:12 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #89 เมื่อ: 06-10-2008, 23:08 »

[quote name='Athit' post='114449' date='Oct 5 2008, 10:13 PM']
2.คำถามของคุณคือ การตรวจสอบรัฐบาลโดยพรรคการเมืองใหญ่ๆทุกวันนี้มีประสิทธิภาพหรือ????

การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพไม่ได้หมายถึงการล้มรัฐบาลด้วยจำนวน ส.สอย่าเข้าใจผิดในระบบรัฐสภาฝ่ายค้านไม่มีทางล้มรัฐบาล
ได้.....ถ้ารัฐบาลไม่แตกแยกกันเอง(ประเทศที่มีระบบรัฐสภาเหมือนไทยก็ล้มไม่ได้เช่นอังกฤษ) แต่การมีพรรคใหญ่เป็นฝ่ายค้านมันเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกในการเลือกตั้งคราวหน้าถ้ารัฐบาลโกง

ถ้า2พรรคใหญ่ร่วมกันโกง........ทางเลือกของประชาชนคือะไร????

ระบบพรรคการเมืองไทยไม่เละหรือ????
[/quote]

---------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างของคุณ Athit ใช้กับประเทศไทยไม่ได้แล้วครับ

เรามีพรรคใหญ่เป็นฝ่ายค้านมานานหลายปี และมีรัฐบาล
ที่เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่มาก ที่ถูกกล่าวหาทุจริต
ในคดีต่างๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน

พรรครัฐบาลเดิมถูกยุบเพราะข้อหาโกงเลือกตั้ง และพรรค
ปัจจุบันก็กำัลังถูกฟ้องให้ยุบอีกรอบด้วยข้อหาเดียวกัน

แต่แนวโน้มยังคงเป็นว่าพรรครัฐบาลจะชนะเลือกตั้งต่อไป
เพราะฐานเสียงพรรค อยู่ในภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุด
เลือกตั้งกี่ครั้งก็ชนะเป็นเสียงข้างมาก

โดยฐานเสียงก็ไม่เคยสนใจว่าพรรครัฐบาลจะโกงหรือไม่
ตราบใดที่พรรครัฐบาลยังเอื้อประโยชน์ให้ผ่านโครงการ
ประชานิยม


ขณะที่พรรคฝ่ายค้านมีฐานเสียงอยู่ในภุมิภาคที่มีประชากร
น้อยกว่าพรรครัฐบาล เลือกตั้งกี่ครั้งก็จะได้คะแนนน้อยกว่า
ไม่ว่าจะทำหน้าที่ตรวจสอบเปิดโปงรัฐบาลมากเพียงใด

กลไกตรวจสอบที่คุณยกตัวอย่างทำงานไม่ได้จริงครับ

...

คำถามที่ว่า...

ถ้า2พรรคใหญ่ร่วมกันโกง........ทางเลือกของประชาชนคือะไร????

..คำตอบก็คือฟ้องดำเนินคดีทั้ง 2 พรรคตามกฎหมายครับ..

ในระบบที่ผมนำเสนอเน้นให้ วุฒิสภา เป็นองค์กรตรวจสอบ
เพราะไม่ได้มีที่มาจากพรรคการเมืองครับ

ผมยังเสนอให้เพิ่มตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ มากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งจะทำให้การแทรกแซงทำได้ยาก และเพียง ส.ว. คนเดียว
ก็สามารถฟ้องดำเนินคดีกับรัฐบาลได้แล้ว

ในอีกด้านหนึ่งที่ผมตอบไปแล้วก็คือการฮั้วกันโกงของรัฐบาล
มีตัวอย่างมาแล้วว่าในที่สุดก็จะถูกรุมเล่นงานจากทุกฝ่าย

ผมไม่นึกกลัวการโกงของรัฐบาลที่เป็นของประชาชนทุกคน
เพราะถ้ารัฐบาลทรยศ ประชาชนทุกคนจะมีศัตรูร่วมกัน


แต่ผมกลัวการโกงของรัฐบาลที่เป็นของประชาชนบางกลุ่ม
เพราะจะมีการปลุมมวลชนฝ่ายรัฐบาลมาชนฝ่ายต่อต้าน

รัฐบาลปัจจุบันเป็นของประชาชนบางกลุ่มครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #90 เมื่อ: 06-10-2008, 23:09 »

[quote name='Athit' post='114449' date='Oct 5 2008, 10:13 PM']
3.บอกตรงๆแนวคิดของคุณอันตราย

ยังมีสิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นอีกที่ผมยังไม่แสดงความเห็น..........คือแนวคิดภาคนิยมที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทยปัจจุบัน

การแบ่งปันผลประโยชน์ทางการเมืองโดยมีรัฐมนตรีตามส.ส สัดส่วนของพรรค.....ดูเผลินๆเหมือนจะดี แต่อันตรายครับ

เพราะมันเป็นการตอกย้ำแนวคิดภาคนิยมให้กับประชาชนเพิ่มเข้าไปอีก.......รัฐมนตรีของพรรคหนึ่ง(ปชป)มีฐานเสียงภูมิภาคหนึ่ง....รัฐมนตรีอีกพรรคหนึ่ง(พปช)มีฐานเสียงอีกภูมิภาคหนึ่ง.......เลือกตั้งอีกพรรคใหญ่ก็ได้คะแนนจากฐานเสียงในภูมิภาคของตนอีก

อนาคตต่อไปจะนำไปสู่การแบ่งแยกประเทศถ้า2พรรคใหญ่แตกแยกกันรุนแรง???

การแก้ปัญหาการเมืองปัจจุบันไม่ใช่ให้พรรคการเมืองมาแบ่งปันผลประโยชน์เป็นรัฐบาลร่วมกันหรอกครับ

ปัญหาคือ ต้องสร้างกติกาที่ยุติธรรม(ต้องยุติธรรมจริงๆไม่ใช่สร้างกติกาเพื่อปิดกั้นและทำลายคนๆดียว)โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายใช้สิทธิให้เต็มที่......เมื่อสร้างกติกาเสร็จแล้วก็ต้องยอมรับกติการ่วมกัน

เมื่อประชาชนตัดสินแล้วก็รู้จักแพ้รู้จักชนะ......ยอมรับผลการตัดสินใจของประชาชนแม้ว่าจะไม่ชอบพรรคการเมืองที่ได้อำนาจ......แล้วไปรนรงค์กับประชาชนให้เลือกพรรคของตนในการเลือกตั้งคราวหน้า

ปล.จริงๆแล้วไม่ต้องสร้างอะไรมากหรอกไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับปี40 มาปรับปรุงแก้ไขก็ใช้ได้แล้วเพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด

ส่วนจุดอ่อนก็ตรงตรงระบบการตรวจสอบนั่นเอง........คือต้องแก้ให้ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลในรัฐสภาให้ง่ายขึ้น......การสรรหาองค์กรอิสระให้อิสระจริงๆ

รัฐธรรมนูญปี40 มาถูกต้องแล้วที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง.......แต่จุดอ่อนอยู่ที่ฝ่ายตรวจสอบอ่อนแอต้องทำให้เข้มแข็งไปด้วยกัน(เข้มแข็งไม่ได้หมายถึงจำนวนนะครับ).....อันนี้คือรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการปกครองระบอบรัฐสภา

แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือให้นายกฯเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน......แล้วแยกอำนาจ บริหาร ออกจากอำนาจนิติบัญญัติ ชัดเจนไปเลยจะดีที่สุด.......ส.ส ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคการเมือง......ส.สห้ามเป็นรัฐมนตรีถ้าจะเป็นต้องลาออกฯ.....
[/quote]


-----------------------------------------------------------------------------------

ผมมองกลับกับคุณ Athit เลยครับ

ผมมองว่าสภาพแบบปัจจุบันต่างหาก ที่ก่อให้เกิดความแตกแยก
เพราะมีมิติของการผูกขาดอำนาจรัฐ และการสูญเสียอำนาจรัฐ

โดยฝ่ายที่ผูกขาดมีแนวโน้มจะผูกขาดถาวร เพราะมีฐานเสียงของ
ประชาชนมากกว่า  ในขณะที่ฝ่ายสูญเสียอำนาจมีแนวโน้มจะูถูก
ยึดอำนาจถาวรเพราะมีฐานเสียงน้อยกว่า


การที่ 2 พรรคใหญ่ จะแตกแยกกันรุนแรง ตามที่คุณยกตัวอย่าง
ควรเกิดจากการแย่งชิงอำนาจที่ฝ่ายหนึ่งได้ทั้งหมด และอีกฝ่าย
เสียทั้งหมดมากกว่า

แต่ถ้า 2 พรรคใหญ่ต่างได้ส่วนแบ่งอำนาจ แนวโน้มจะเป็นไป
ในทางสมานฉันท์ เพราะทั้ง 2 ฝ่ายมีโอกาสได้ส่วนแบ่งอำนาจ
ไม่ใช่แข่งอย่างไรก็ชนะตลอด และอีกฝ่ายแพ้ตลอดแบบปัจจุบัน

คุณ Athit เองก็ยังวิเคราะห์ว่าจะเกิดกรณี 2 พรรคฮั้วกันโกง

...

และผมไม่ได้มองการแก้ปัญหาการเมือง ในมิติที่พรรคการเมือง
ได้แบ่งปันผลประโยชน์เป็นรัฐบาลร่วมกัน

แต่ผมมองว่าข้อเสนอของผม ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถ
มีส่วนร่วมในอำนาจบริหารเสมอ  ทุกกลุ่มจึงมีเวทีเล่นในระบบ
ไม่ใช่ถูกกีดกันจากระบบ จนต้องไปเล่นนอกระบบแบบปัจจุบัน

ถ้าต้องไปเลือกตั้งโดยรู้ว่าแพ้ตลอดกาล ใครจะยอมเล่นในระบบ
เทียบกับไปเลือกตั้งแล้วรู้ว่าจะชนะไม่มากก็น้อย อะไรดีกว่ากัน?


...

ข้อเสนอของผมไม่มีปัญหากับ รัฐธรรมนูญ 40 เพราะมีการเลือก
ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับข้อเสนอของผมได้ครับ

เรื่องจุดอ่อนในระบบการตรวจสอบของรัฐธรรมนูญ 40 ผมมองว่า
จะแ้ก้ให้ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลในรัฐสภาให้ง่ายขึ้นก็ได้

แต่น่าจะนำแนวทางของวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญ 50 ที่กำหนดให้
ส.ว. ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและนักการเมืองมาใช้ด้วย

การสรรหาองค์กรอิสระให้อิสระจริงๆ ใครๆ ก็คงเห็นด้วยอยู่แล้ว

ประเด็นรัฐบาลเข้มแข็งผมก็เห็นด้วย และถ้านำข้อเสนอของผม
ไปใช้กับรัฐธรรมนูญ 40 ก็จะยิ่งทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพสุดๆ
อยู่ได้ครบ 4 ปีเป็นปกติไปเลย

ประเด็นให้นายกฯเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ข้อเสนอของผม
ก็คล้ายๆ อยู่แล้วเพราะ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ก็เทียบได้กับเลือกนายกฯ
โดยตรง

และถ้าสังเกตจริงๆ ข้อเสนอของผมก็เท่ากับแยกอำนาจบริหาร
ออกจากอำนาจนิติบัญญัติ


...

เรื่อง ส.ส ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคการเมืองผมเห็นด้วยครับ

เรื่อง ส.ส. ห้ามเป็นรัฐมนตรีถ้าจะเป็นต้องลาออกฯ ปัจจุบันก็มี
ข้อกำหนดให้ทำหน้าที่พร้อมกันไม่ได้อยู่แล้ว

การบังคับให้ต้องลาออกจึงจะเป็นรัฐมนตรีได้ ผมมองเป็นเรื่อง
เชิงสัญลักษณ์ไม่ได้เป็นสาระสำคัญที่จะต้องบังคับนะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #91 เมื่อ: 06-10-2008, 23:14 »

[quote name='สหายสิกขา' post='114468' date='Oct 5 2008, 11:14 PM']
อ่านๆเรื่อง กทม กับ สหรัฐฯ พูดตรงๆ ผมงงตรรกะของคุณจีรศักดิ์นะครับ (ผมขอเอาเคสของรวันดายกไว้ก่อนเพราะเป็นคนละเคสกันเลย)

1. คุณจีรศักดิ์พูดว่า กทม หรือ สหรัฐฯ เมื่อไม่มีความแตกแยกกันไม่มีปัญหา
2. เสร็จแล้ว คุณจีรศักดิ์ก็พูดว่า ปัญหาของไทยคือ.. "ธรรมเนียมปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล" ไม่สอดคล้องกับ "ความแตกต่างของการลงคะแนนเสียง" เราใช้ "Zero-Sum Game" ทำให้เกิดรัฐบาลที่มีสภาพ "The Winner Take All"

โอเค, ผมแย้งไปว่า

1. กรณีของไทย มีผลการเลือกตั้ง ไม่ต่างจากสหรัฐ คือมีลักษณะแตกต่าง ระหว่างคะแนนเสียงของสองฝ่ายที่ค่อนข้างใกล้เคียงและสูสีกัน แต่ในสหรัฐฯ ก็ไม่มีปัญหา เลือกตั้งเสร็จก็จบ จอร์จ บุช บริหารประเทศสองสมัย 8 ปี โดยไม่มีฝ่ายเดโมแครตขึ้นมาแทรกเลย ก่อนหน้านั้น บิล คลินตัน ก็ได้บริหารประเทศต่อเนื่องสองสมัยเช่นกัน โดยไม่มีฝ่ายรีพับรีกัน ขึ้นมาแทรก ทำไมของสหรัฐฯ จึงไม่เกิดปัญหาอย่างของไทย?
[/quote]


-------------------------------------------------------------------------------

ผมคงอธิบายไม่เข้าตามั๊งครับ เห็นได้ชัดว่าคุณงงจริงๆ

ตามข้อ 1. ที่สหรัฐไม่เกิดปัญหาแตกแยกอย่างของไทย
ก็เพราะฝ่ายแพ้ไ่ม่รู้สึกเดือดร้อนที่อีกพรรคครองอำนาจครับ

พรรคการเมืองทั้ง 2 พรรคของอเมริกาได้รับความเชื่อถือจาก-
ชาวอเมริกันให้เป็นรัฐบาล ถึงจะไม่ใช่พรรคที่เขาเลือกก็ตาม
และชาวอเมริกันเชื่อมั่นว่าตัวเองมีสิทธิเป็นฝ่ายชนะในการ
เลือกตั้งครั้งต่อไป

แต่สำหรับประเทศไทยมีปัญหา เพราะฝ่ายแพ้รู้สึกเดือดร้อนครับ

- เรื่องแรกคือฝ่ายแพ้ไม่เชื่อถือพรรคการเมืองที่ชนะว่าจะเป็นรัฐบาลที่ดี
- เรื่องที่สองคือฝ่ายแพ้ไม่มีหวังเลยว่าจะมีโอกาสเป็นฝ่ายชนะบ้าง
    เพราะฐานเสียงของขั้วตรงข้ามมีจำนวนมากกว่าเสมอ


ที่ สหรัฐฯ จึงไม่เกิดปัญหา แต่มีปัญหาที่ประเทศไทยครับ
การใช้ระบบ Zero-Sum Game เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอง
เพราะฝ่ายแพ้รู้ดีว่าจะไม่ได้อะไรเลยตลอดกาลจากระบบนี้
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #92 เมื่อ: 06-10-2008, 23:16 »

[quote name='สหายสิกขา' post='114468' date='Oct 5 2008, 11:14 PM']
2. ลักษณะการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ผู้ชนะ (กรณีคลินตันคือฝ่ายเดโมแครต, และกรณีบุช คือฝ่ายรีพับรีกัน) ฝ่ายไหนเป็นประธานาธิบดีก็ได้ยกทีมขึ้นบริหารเป็นเทอม เทอมละ 4 ปี ก็เป็นอย่างที่คุณเรียกว่า "Zero-Sum Game" / "The Winner Take All" ทำไมในสหรัฐฯ จึงไม่เกิดความแตกแยกเหมือนของไทย

ผมยกตัวอย่างเคสการเลือกตั้ง กทม. (ก็เป็น Zero-Sum Game / The Winner Take All) ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร, ในฝรั่งเศสที่เพิ่งผ่านไป (ซาร์โกซี กับ รอยาล) ก็ไม่เห็นมีปัญหา ก็เป็นอย่างที่คุณเรียก (Zero...) อะไรเนี่ยทั้งนั้น

ดังนั้นข้อเสนอของคุณจีรศักดิ์ จึงไม่เป็นเหตุเป็นผล และตกไปตั้งแต่การวิเคราะห์ชั้นแรกแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปพูดถึงเรื่อง แนวคิดการเมืองใหม่อะไรอีก เพราะมันผิดตั้งแต่แรกแล้ว ก็เหมือนกับที่สนธิ ลิ้มทองกุลชอบพูดนั่นแหละครับ กลัดกระดุมฉิ่ง ผิดแต่เม็ดแรกแล้ว แล้วเมื่อวิเคราะห์ผิด พอยิ่งไปแก้ก็ไม่ยิ่งผิดกันไปใหญ่หรือ
[/quote]


-----------------------------------------------------------------------------------------

คำตอบที่ว่าเลือกตั้งที่อื่นๆ ใช้ Zero-Sum Game/The Winner Take All
แล้วไ่ม่เกิดปัญหาความแตกแยกเหมือนของไทย ผมตอบไปแล้วนะครับ

รวมทั้งกรณี เลือกตั้ง กทม. และเลือกตั้งฝรั่งเศสด้วย ไม่มีปัญหาเพราะ

- ฝ่ายแพ้ไม่ได้ชิงชังรังเกียจฝ่ายชนะจนถึงขนาดทนทานรับไม่ได้
- ฝ่ายแพ้ยังมีหวังว่าจะมีโอกาสเป็นฝ่ายชนะได้ในโอกาสต่อไป


คุณสหายสิกขา ยกตัวอย่างแห่งอื่นที่ไม่มีปัญหา มาสรุปว่าทุกแห่งไม่มีปัญหา
เป็นวิธีการตั้งข้อสรุปที่ใช้ไม่ได้... 

คำค้านของ คุณสหายสิกขา ก็ไม่เป็นเหตุเป็นผล และตกไปด้วยครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #93 เมื่อ: 06-10-2008, 23:18 »

[quote name='สหายสิกขา' post='114468' date='Oct 5 2008, 11:14 PM']
ผมยกตัวอย่างช่วงความขัดแย้งระหว่าง "รัฐไทย" และ "พคท." ในช่วง 2500 - 2525 ต้นเหตุมันมาจากเรื่อง "ความแตกต่างของผลการเลือกตั้ง" หรือ "ธรรมเนียมปฏิบัติในการฟอร์มรัฐบาล" ตรงไหนครับ?

ความขัดแย้งที่รุนแรงขนาดยกระดับเป็น "สงครามกลางเมือง" นั่นน่ะ เป็นความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ เป็นผลผลิตต่อเนื่องจากสมัยสงครามเย็น ทีนี้พอมันรบกัน มันจบลงด้วย solution ที่ว่า ทั้งฝ่าย พคท. และรัฐไทย แบ่งกันปกครองประเทศตรงไหนครับ?

พูดก็พูดเถอะนะครับ ทฤษฎีของคุณจีรศักดิ์ ที่มาเสนอว่า "คน 45 ล้านคน  เป็นพลเืมืองชั้น 2 มีสิทธิเป็นศูนย์ในอำนาจบริหารทั้งที่เขาก็เป็นประชาชนไทยเหมือนกัน เสียภาษีให้ฝ่ายบริหารนำไปใช้จ่ายเหมือนกัน?" เนี่ย กระจอกมากเลย เมื่อเทียบกับทฤษฎีของ พคท. ที่อิงจากมาร์กซิสต์ และมีฐานอยู่บนการขูดรีดแรงงานของชนชั้นนายทุนต่อชนชั้นกรรมาชีพอย่างเทียบกันไม่ได้ (พูดง่ายๆ คือทฤษฎีของคุณจีรศักดิ์ มีเหตุผลอ่อนกว่าทฤษฎีของพคท. เยอะ , ความขัดแย้งระดับของพคท. ที่เกิดสงครามกลางเมืองยังแก้ได้ ทำไมความขัดแย้ง "แค่นี้" จะแก้ไม่ได้ครับ)

ทฤษฎีมาร์กซิสต์มี consistency กว่าที่คุณเสนอมากๆนะครับ นับตั้งแต่เรื่องวัตถุนิยมวิภาษ (dialectic), วัตถุนิยมประวัติศาสตร์, Labor theory of value (LTV)

ข้อสรุปเหล่านี้ (จริงๆ มีเยอะกว่านี้) นำไปสู่บทสรุปว่า ชนชั้นนายทุนที่เป็นส่วนน้อยขูดรีดแรงงานของชนชั้นกรรมาชีพที่มีจำนวนมากกว่า ดังนั้นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์จะนำไปสู่การที่ชนชั้นนายทุนจะถูกกำจัดไป -- หนักกว่าเรื่องเสียภาษีของคุณเยอะครับ (แล้วตอนช่วงนั้นก็ไม่ได้มีคะแนนเสียงเลือกตั้งอะไรทั้งนั้นด้วย ยังเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นได้ -- นี่ยิ่งยืนยันว่าความคิดของคุณจีรศักดิ์ผิดพลาด)

เลนินเอาข้อเสนอของมาร์กซ์มาประยุกต์ต่อ โดยเสนอว่าต้องมีการจัดตั้งพรรคปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อย่นย่อระยะเวลาการปฏิวัตินี้ให้สั้นลง ซึ่งก็เป็นที่มาของบอลเชวิค และส่งอิทธิพลต่อมายังพรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือในประเทศอื่นๆ และมีผลมายังพคท. อีกทอด
[/quote]


-----------------------------------------------------------------------------------------------------

การยกตัวอย่างความขัดแย้งสมัยรบกับคอมมิวนิสต์  มาเทียบกับปัญหาการเมืองปัจจุบัน
มันเทียบกันไม่ได้ครับ นั่นมันการพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

และที่เรื่องจบลงได้ก็เพราะในที่สุดคอมมิวนิสต์หมดหวังที่จะชนะการต่อสู้แล้วต่างหาก
แม้ทฤษฎีจะเขียนไว้ยอดเยี่ยมเพียงใด เมื่อใช้ไม่ได้ ความศรัทธาที่มีต่อมาร์กซิสต์ก็หมดลง
รัฐบาลไทยรู้ข้อมูลนี้จึงเปิดโอกาสใ้ห้พวกที่เข้าป่ามีโอกาสออกจากป่า


ผมมองความเชื่อมโยงไม่ออกว่า คุณสหายสิกขายกตัวอย่างเรื่องคอมมิวนิสต์มาเทียบกับ
กรณีปัญหาการเมืองไทยยุคปัจจุบันได้ตรงไหน  ผมจับประเด็นได้แค่เพียงคุณสหายสิกขา
บอกว่ามาร์กซิสต์วิเคราะห์สังคมไว้ว่า มีปัญหาความขัดแย้งรุนแรงกว่าการยกตัวอย่างของผม
และการวิเคราะห์ของมาร์กซิสต์มีพื้นฐานทฤษฎีหนักแน่นมั่นคงกว่าการวิเคราะห์สภาพ
สังคมไทยของผม  ซึ่งเรื่องนั้นผมคงต้องยอมรับว่ามาร์กเขียนตำราไว้ดี

แต่สุดท้ายที่คุณบอกว่า "สมัียก่อนไม่มีคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ยังเกิดสงครามกลางเมืองได้"
แล้วสรุปออกมาว่า "ความคิดของผมผิด" ผมคงไ่ม่เห็นด้วยนะครับเพราะคุณใช้ตรรกผิด...

ตัวอย่างของคุณค้านข้อสรุปที่ว่า "ความแตกแยกเกิดจากปัญหาการเลือกตั้ง" ไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #94 เมื่อ: 06-10-2008, 23:19 »

[quote name='สหายสิกขา' post='114468' date='Oct 5 2008, 11:14 PM']
ที่ผมเสนอกลับไปคือ สิ่งที่คุณวิเคราะห์ว่าเป็นสาเหตุของปัญหา (2 เรื่องที่คุณพูดซ้ำไปซ้ำมาน่ะครับ) มันไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา ถ้าคุณวิเคราะห์ถูก (อย่างน้อยให้เหตุผลแย้งสิ่งที่ผมเสนอมาข้างต้นนี้ได้) คุณก็จะเสนอทางแก้ไขที่ "เข้าท่า" กว่านี้ได้ครับ
[/quote]


-------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อเสนอของผมวางบนพื้นฐานที่ว่า ไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย หรือระบบใดๆ
เพียงเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติ ก็ไม่ก่อปัญหาความขัดแย้งแตกแยกแล้ว

ยินดีรับฟังครับ... ถ้า คุณสหายสิกขา จะบอกว่าสาเหตุที่ถูกต้องของปัญหา
ในมุมมองของคุณคืออะไร และทางแก้ไขที่เข้าท่าในมุมมองของคุณคืออะไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 23:22 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #95 เมื่อ: 06-10-2008, 23:21 »

[quote name='กระป๋อง' post='114460' date='Oct 5 2008, 11:01 PM']
เอาในระบบปกครองแบบเล็กๆก่อน  เช่นกรุงเทพมหานคร

เอาให้ลงตัวเลยครับ  กรุงเทพมหานครมี 24 เขต  แบ่งตามเสียงเลือกตั้งที่ได้  55555

อภิลักแห่งปชป  เอาไป 12  เขต
ประภัสน์แห่งพปช  เอาไป 7 เขต
ชูวิทย์อิสระ   เอาไป  5 เขต

555555

เอาตามวิธีคิดไร้สาระแบบคุณจิรศักดิ์เลยครับ

เราก็จะลดความขัดแย้งของคนกรุงเทพได้  เพราะเสียงของคนกทมที่เลือกคนอื่นๆนั้นก็เป็นเสียงที่มีค่าเช่นกัน   จริงหรือไม่ครับ

อันนี้คาดได้ถึงอนาคตได้ครับ  สมมุติเช่น   (พักก่อนยิ่งคิดยิ่งขำ)  55555  สมมุตินะครับคุณจิรศักดิ์  เกิดชูวิทย์บริหารเขต 5 เขตได้ดี   น้ำไหลไฟสว่างทางดี   ชาวกรุงเทพก็แห่กันไปเลือกชูวิทย์กัน  สมัยหน้าชูวิทย์ได้คะแนนเสียงมาก   ฮา   ชูวิทย์ก็ได้บริหารเขตมากขึ้น   ผ่านไปไวเหมือนโกหก   ในอนาคต   สี่ปีเลือกตั้งกัน   ชูวิทย์ก็อาจจะได้บริหาร 24 เขตก็เป็นได้  ฮา

ผลดีมีมากมายครับ   ถ้าคุณจิรศักดิ์อยากรู้  ก็พูดคุยกันต่อได้นะครับ

การแบ่งเขตบริหารก็ง่ายๆครับ   ใช้วิธีแบบโปร่งใสคือ  วิธีจับฉลากครับ   ฮา

ลืมบอก  เราต้องให้ความสำคัญกับทุกเสียงครับ   วิธีนี้ก็ควรเอาไปใช้กับระดับ  อบต ด้วย
[/quote]


--------------------------------------------------------------------------------------------

ก็เป็นข้อเสนอที่เฮฮาดีครับ

แต่ยังไม่จำเป็นต้องทำ และถึงอยากทำก็ยังทำไม่ได้ เพราะ ...

1. ไ่ม่จำเป็นต้องทำ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่ายังไม่ก่อปัญหาแตกแยกในสังคม
2. ถึงอยากทำก็ยังทำไม่ได้ เพราะมีกฎหมายบังคับให้ต้องทำแบบปัจจุบัน


กรณีเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แตกต่างจากการฟอร์มคณะรัฐมนตรีในทั้ง 2 ข้อ

1. ควรต้องทำ เพราะการฟอร์มคณะรัฐมนตรีแบบปัจจุบันก่อปัญหาแตกแยก
2. ถ้าอยากทำก็ทำได้เลย เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำแบบปัจจุบัน


-----

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แบบปัจจุบันเมื่อเลือกแล้วได้ทุกฝ่ายยอมรับไม่คัดค้าน
ก็เท่ากับทุกเสียงให้การยอมรับว่า ผู้่ว่าฯ คนใหม่เป็น ผู้ว่าฯ ของทุกๆ คนครับ

เมื่อ ผู้ว่าฯ กทม. มีฐานะเป็น ผู้ว่าฯ ของคนกรุงเทพฯ ทุกคนแล้ว
ก็ไม่เกิดปัญหาแตกแยกทางการเมืองใน กทม.

แต่ถ้าต่อไปใช้วิธีปัจจุบันแล้วเกิดปัญหา เราก็ต้องมาปรับวิธีเลือกตั้งกันต่อไป

-----

ผมยกตัวอย่างกรณี เลือกตั้งผู้อำนวยการ WTO คราวก่อนก็แล้วกัน
ที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหา จนกระทั่งมาถึงที่ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์
ได้รับการเสนอชื่อแข่งกับ คนของสหรัฐอเมริกา

ปรากฏว่าในครั้งนั้นสมาชิกแบ่งออกเป็น 2 ฝักฝ่าย แยกกันสนับสนุน
ผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 2 คน และไม่สามารถหาข้อยุติจากวิธีเดิมได้

ในทีสุดจึงมีการเสนอทางออกคือ ให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 2 คน
ดำรงตำแหน่งกันคนละ "ครึ่งเทอม" ปัญหาขัดแย้งจึงยุติลง

การดำรงตำแหน่งคนละครึ่งเทอมดังกล่าว เป็นตัวอย่างการแบ่งส่วน
การครองอำนาจ ที่ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับ และยุติความขัดแย้งลง


ข้อเสนอของผมก็เป็นการเสนอ ทางออก ในทำนองเดียวกันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-10-2008, 01:07 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #96 เมื่อ: 06-10-2008, 23:24 »

[quote name='อยากประหยัดให้ติดแก๊ส' post='114601' date='Oct 6 2008, 08:59 AM']
สมมติว่า คุณ jerasak เป็นผู้ใช้ซอฟท์แวร์ผีแผ่นผี คนส่วนใหญ่ก็ใช้เหมือนคุณ แต่มีคน
ส่วนน้อยมากระดับเทพไม่ใช้ คนส่วนใหญ่อยากได้ผู้แทนที่ไม่เอาจริงเอาจังกับกฎหมาย
ลิขสิทธิ์เพราะการโดนปรับเรื่องลิขสิทธิ์มันแพงและเดือดร้อนมาก แต่คุณเกิดเป็นคนงบน้อย
รสนิยมเทพ อยากได้ผู้แทนที่ปราบแผ่นผีเหมือนคนกลุ่มน้อยมาก ถ้าเป็นการเลือกตั้งคนละ
เสียงไม่ใช่แต่งตั้งจากคนกลุ่มน้อยเสียงดังจริยธรรมสูงส่ง จะจัดวิธีการเลือกแบบไหน คุณ
ก็จะได้ผู้แทนที่ไม่เอาจริงเอาจังกับกฎหมายลิขสิทธิ์ เอาจริงเอาจังแค่ผักชีโรยหน้า

ถ้ามาสนใจเรื่องปากท้องก่อน ความผิดสีเทาๆ เอาไว้ทีหลัง เมื่อรายได้เข้าประเทศดีไหล
ตกมาถึงคุณ คราวนี้คุณก็มีรายได้พอซื้อแผ่นจริงได้ คนส่วนใหญ่ของประเทศถ้ารายได้เพิ่ม
อาจมีส่วนหนึ่งเลื่อนรสนิยมมาเป็นแบบคุณในอดีต คือ รายได้ไม่พอซื้อแผ่นจริงใช้แผ่นผี
แต่อยากได้ผู้แทนที่ไม่เอาแผ่นผี มันก็จะพัฒนาเป็นผู้แทนที่มีจริยธรรมดีขึ้นโดยธรรมชาติ
ไม่ต้องเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งหาผู้แทนให้เสียเวลา

ปล่อยระบบมันพัฒนาตามธรรมชาติดีกว่าครับ เอาเวลาไปทำมาหากินดีกว่า
[/quote]

---------------------------------------------------------------------------------------------
คุณอยากประหยัดฯ

ผมเสนอเปลี่ยนวิธีฟอร์มรัฐบาลที่ก่อปัญหาเป็นวิธีที่แก้ปัญหา
ไม่ได้เสนอเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งผู้แทนครับ


การเสนอความเห็นต่อสาธารณะเป็นการพัฒนาระบบการปกครอง
ตามธรรมชาติอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ

ผมก็อยากเอาเวลาไปทำมาหากิน แต่ระบบการเมืองในปัจจุบัน
มันก่อปัญหามากระทบระบบ การเมืองเศรษฐกิจสังคม โดยรวม
ทำให้ทำมาหากินติดขัดกันทั้งประเทศ

ความเชื่อที่ว่า การเมืองต้องเอาแพ้เอาชนะกัน กำลังก่อให้เกิด
ปัญหาความแตกแยกในประเทศ ที่กระทบการทำมาหากินครับ

ผมนำเสนอทางออกว่าการเมืองควรมีวัตถุประสงค์ win-win
ก็เพื่อให้สังคมเกิดความสามัคคี ได้ทำมาหากินอย่างมีความสุข

และผมประกาศตั้งแต่ต้นแล้วว่า..

*การเมืองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง*
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2008, 23:34 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
วิหค อัสนี
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 946



« ตอบ #97 เมื่อ: 07-10-2008, 00:46 »

เห็นมีคนถกเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เปรียบเทียบกับการเมืองระดับประเทศ

ผมอยากจะชี้ประเด็นให้สังเกตตัวอย่างที่ว่า อำนาจบริหาร กทม. หรือ อบจ. อบต. ใดๆ ก็ตาม มีอยู่จำกัด และเน้นหนักไปในเรื่องการบริหารทรัพยากรเป็นส่วนมาก

ในขณะที่ การบริหารปกครองประเทศ มีความซับซ้อนหลากหลายมิติมากกว่า และมีขนาดของกำลังอำนาจที่ใหญ่โตมโหฬารกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้

การเอาตัวอย่างการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. มาเทียบกับการเลือกตั้งระดับประเทศ แล้วก็คิดเอาแบบง่ายๆ ว่า กทม. ไม่มีปัญหา รัฐบาลก็ไม่ควรจะมีปัญหา จึงไม่ถูกเรื่อง


ผมจึงอยากจะขอยืนยันความเห็นอีกครั้งว่า ปัญหาเร่งด่วนไม่ใช่แค่เพียงปรับเปลี่ยนวิธีการแบ่งสรรอำนาจบริหาร แต่ต้องอยู่ที่การจำกัดขอบเขตอำนาจ และริบเอาเขี้ยวเล็บที่ไม่จำเป็นออกไปจากมือของฝ่ายบริหารด้วย

ซึ่งก็เป็นไปเพื่อสลายเชื้อไฟที่จะปลุกกระแสสังคมขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลเอง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลฝ่ายไหน หรือรัฐบาลรวมมิตรก็ตาม

บันทึกการเข้า

_______ดังนี้แล
__เปลวไฟจักลุกโชน
___หามีวันดับลงได้
_ตราบที่ในมือพวกสูเจ้า
ยังแต่น้ำมันเตาให้ราดรดไป
หน้า: 1 [2]
    กระโดดไป: