ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
30-11-2024, 18:40
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ขอเสนอให้ผู้ดูแลที่นี้ ทำการตรึงกระทู้เกี่ยวกับ "ธรรมกาย" ไว้ครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ขอเสนอให้ผู้ดูแลที่นี้ ทำการตรึงกระทู้เกี่ยวกับ "ธรรมกาย" ไว้ครับ  (อ่าน 6556 ครั้ง)
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« เมื่อ: 17-09-2008, 20:57 »

เพื่อที่จะได้เป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจ มาหาค้นได้

โดยให้ตรึงกระทู้หลักไว้กระทู้หนึ่ง แล้วให้เพื่อนๆช่วยกันเอาข้อมูลมาเสริมอีกทีหนึ่งครับ

------------------------------
เอากระทู้เอาเสนอให้เลือกครับ ว่าควรจะตรึงอันไหนดี ถ้าเพื่อนๆคิดว่ามีกระทู้อื่นที่ควรตรึง ก็ช่วยๆกันหาครัล แล้วขอให้ ผู้ดูแล ที่นี้ ตรึงกระทู้ไว้


"รวบรวมหลักฐานทางธรรม กรณีธรรมกาย มิให้สูญหาย "  - - - ผมขอเสนอกระทู้นี้ครับ

http://forum.serithai.net/index.php?topic=31765.0


"หนังสือ : "แฟ้มคดีธรรมกาย-ธัมไชโย"..ออกสู่สาธารณะ-เปิดเผย-"แฉความจริง"


http://forum.serithai.net/index.php?topic=31147.0


"แถลงการณ์คณะสงฆ์ ว่าด้วยเรื่องคัดค้านสนธิและพวก ละเมิดกฏหมาย "
(ข้อมูลของคุณหน้ายิ้มที่ คห.45 ลงไปน่าสนใจมาก)

http://forum.serithai.net/index.php?topic=34777.0



บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 17-09-2008, 21:10 »

เห็นด้วยครับ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #2 เมื่อ: 17-09-2008, 21:30 »

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ตั้งแต่อดีต-ปี 2542

2510          นายไชยบูลย์ สุทธิผล  นิสิตม.เกษตร  ไปฝึกสมาธิและฝึกวิชชาธรรมกายกับแม่   ชีจันทร์ ขนนกยูง  ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
2512          นายไชยบูลย์อุปสมบท  ฉายาธัมมชโย  โดยมีสมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ (ช่วง)  เจ้าอาวาสวัดปากน้ำองค์ปัจจุบัน  เป็นพระอุปัชฌาย์/ขอซื้อที่ดินจำนวน 196 ไร่  จากคุณวรรณี สุนทรเวช  แต่ได้รับถวาย
2513          เริ่มก่อตั้งเป็น  “ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม”
2514          กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เข้ามามีส่วนในการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ฯ
2515          เริ่มมีโครงการธรรมทายาท  และเป็นรากฐานสำคัญของการก่อเกิดชมรมพุทธ ศาสตร์ตามสถาบันการศึกษา
2518          กลุ่มสานุศิษย์ของชีจันทร์ ขนนกยูง(บ้านธรรมประสิทธิ์)  ออกมาจากวัดปากน้ำ
2520          ขัดแย้งกับผู้บริจาคที่ดินเริ่มแรก
         ขออนุญาตจัดตั้งวัด “วรณีธรรมกายาราม”
         เริ่มสร้างอุโบสถ
         สมเด็จพระเทพฯเสด็จวางศิลาฤกษ์
2522          สมเด็จย่าฯ  เสด็จเททองหล่อพระประธาน  ประดิษฐานในพระอุโบสถ
2523          เจ้าอาวาสเริ่มมีความสัมพันธ์กับสตรีเพศ  “กรกมล”  หรือ  “สีกาตุ๊”
2524          นางวรณี สุนทรเวช  ตัดขาดกับวัด  และเจ้าอาวาสได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น  “วัดพระธรรมกาย”
         สุธรรม  ตีรวนิช  เป็นผู้ดูแลโครงการต่าง ๆ ของวัดทั้งหมด
         พระ ดร. ชัยเจริญ บุญลยางกูร(ฉายาธีรญาโณ)  กลับจากต่างประเทศ  เข้ามาดูแลงานภายในแทนสุธรรม  ที่แยกออกมาดูแลงานภายนอก
2525          อุโบสถสร้างเสร็จ
         นางจิรวัฒน์ ศรีสัตนา  เริ่มเข้ามามีบทบาทชัดเจนและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าอาวาสมากขึ้น
2526          เริ่มพิธีกรรม  “อัดธรรมกาย”  เป็นครั้งแรก  ที่ศูนย์ข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ  อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา
2527          ปรับสายการบริหารวัดใหม่  แยกเป็นฝ่ายบุคคล  ฝ่ายกองทุน  และฝ่ายเผยแพร่ธรรมะ
         เริ่มดำเนินธุรกิจทางด้านที่ดิน
         นายสอง  วัชรศรีโรจน์  เริ่มเข้าวัดโดยมีหน้าที่นวดเจ้าอาวาส
         มีพิธีอัดธรรมกายที่ดอยสุเทพ-ปุย  จ.เชียงใหม่
         เจ้าอาวาสพาน้องสาวเณริศา อังศุสิงห์  บุตรสะใภ้นายพลทหารอากาศ  เข้ามาเป็นผู้ดูแลธุรกิจควบคู่กับนางจิรวัฒน์ ศรีสัตนา  และกลุ่มฆราวาสที่ได้บวชเป็นพระชั้นในทั้งหมด
         บังคับกดดันซื้อที่ดินจากเจ้าของโรงเรียนอนุบาลแสงเทียน
2528          วัดพระธรรมกายพยายามให้นางจิรวัฒน์หาทางทูลเชิญบุคคลในสถาบันชั้นสูง  เข้ามาร่วมกิจภายในวัด  เพื่อสร้างภาพลักษณ์
         เพียงนิล ศิริเกษม  หรือ  สีกาปุ๊  ภรรยาน้อยของนายสุวิทย์ มหาแถลง  เริ่มเข้าวัด  และมีบทบาทพร้อมกับ  นางสาวเมตตา  สุวชิตวงศ์  หรือ  สีกาแมว
         ธุรกิจพัฒนาที่ดินโครงการ  “บัณฑิตนคร”  เริ่มออกลายฉ้อโกงผู้จับจอง  ผิดสัญญาการจัดสร้างสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกภายใน
2528-29          ซื้อที่ดินจำนวน 2,000 ไร่
         วางแนวคิด  WDC  World Dhammakaya Center
         เปิดรับธรรมทายาทหญิง  เริ่มมีการถ่ายโอนทรัพย์สินเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์  โดยสุวิทย์  มหาแถลง  เป็นผู้ผลักดันนายสอง  วัชรศรีโรจน์  จนเติบโตเป็นการปั่นหุ้นทะลุถึง 1750 จุด  ในห้วงปี 
2529          จัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ 18 สถาบัน
         เริ่มมีปัญหาเรื่องการซื้อที่ดิน
         วัดพระธรรมกายมีส่วนพัวพันกับคดี  แชร์แม่ชม้อย-แชร์แม่นกแก้ว-แชร์นายเอกยุทธ อัญชัญบุตร(ชาร์เตอร์)
         ระดมเงินเข้าวัดด้วยการเปิดจำหน่าย  โครงการต้นกัลปพฤกษ์  ที่ดอยสุเทพ  และในวัดพระธรรมกาย
         เริ่มเข้าไปให้ความสนใจนธุรกิจค้าน้ำมัน  กับบริษัทอีสานออยส์ จำกัด
ของชัช-วาสนา ธาระวณิช
2529-31          มีเหตุการณ์ประท้วงเรื่องการครอบครองที่ดิน
         8 เม.ย. 31  ชาวนาประกาศเผาตัวตายที่สนามหลวง
2530          มีการตัดต้นไม้มงคล  เนื่องจากขอพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ  ไม่ได้รับการอนุมัติ
         พระอดิศักดิ์  พระ ดร.ชัยเจริญ  และพระเลอศักดิ์(อดีตคนขับรถพระไชยบูลย์)ถูกผลักดันให้ออกจากวัดพระธรรมกาย
2531          ขุดต้นโพธิ์  ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ที่วัดพระธาตุผาเงา  จ.เชียงราย  เป็นสาเหตุให้ประชาชนในพื้นที่ขับไล่พระวันชัย  สีลวัณโณ  ซึ่งวัดพระธรรมกายผลักดันผ่านพระเถระผู้ใหญ่ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  พร้อมพระลูกวัดทั้งหมดออกจากพื้นที่
2532          เม.ย.  สุวิทย์ มหาแถลงเสียชีวิต  ท่ามกลางความขัดแย้งกับนายสอง  วัชรศรีโรจน์
         พระธัมมชโย  ติดต่อให้นายชูชาติ  ศิลปรัตน์  ทนายความชื่อดัง  ว่าความฟ้องร้องมรดกให้กับนางเพียงนิล  ศิริเกษม  จากมรดกครอบครัวมหาแถลง
         พระชิตชัย  มหาชิโต (วิญญูนันทกุล)  มรณภาพอย่างเป็นปริศนาภายในวัด
         พระ 5 เสือ  ถูกผลักดันให้ออกจากวัด
         วัดพระธรรมกายถูกตรวจสอบเป็นครั้งแรก  โดยหน่วยงานด้านความมั่นคงและการข่าวของรัฐ  ตามความเห็นของ  ม.ร.ว.  คึกฤทธิ์  ปราโมช  ที่แสดงความคิดเห็นและเขียนบทความไว้  ในคอลัมน์  “ซอยสวนพลู”  รายงานตรงต่อนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
2533          ปรับโครงสร้างใหม่  มีการตราธรรมบัญญัติ  โดยพระมโน  เมตตานันโท
         เริ่มมีการดัดแปลงเนื้อหาเป็นพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียผิดเพี้ยนจากคัมภีร์เดิม
2534          เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญ  นามว่า  พระสุธรรมยานเถร”
         ตามรายงานของหน่วยงานการข่าวของรัฐ  เจ้าอาวาสเริ่มมีพฤติกรรมที่แสดงออกทางโลกีย์กับสตรีเพศมากขึ้น
2535          พระขจร เทพวัชรการุณ  อดีตข้าราชการกรมป่าไม้  เสียชีวิตที่โรงพยาบาลด้วยโรคร้าย
         เจ้าอาวาสเข้ารับการผ่าตัดรักษาต้อกระจกที่โรงพยาบาลจังหวัดเชียงใหม่  ภายใต้การดูแลของสีกาแก้วตา
         วัดพระธรรมกายถูกขึ้นบัญชีดำ  โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
         หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ  นำเสนอรายงานเรื่อง  “วัดพระธรรมกาย”  ต่อประธาน รสช.  เลขาธิการ  รสช.  และนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
         รองเจ้าอาวาสได้รับการผลักดันให้ได้สมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญที่  “พระภาวนาวิริยคุณ”  -เจ้าคุณรุ่นขมังเวทย์  ผลงานรุ่นสุดท้ายของ  “หลวงตาจันทร์”
2536-37          นายสอง วัชรศรีโรจน์  ถูกตรวจสอบเรื่องปั่นหุ้น  พบว่ามีส่วนโยงใยกับวัดพระธรรมกาย วัดธรรมกายเริ่มขาดสภาพคล่อง
         เริ่มให้ความสนใจในธุรกิจเหมืองแร่ทองคำ  และบ่อพลอยที่ จ.พิจิรและเพชรบูรณื
2537          จดทะเบียนบริษัท ดีเจมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล  ในนามของสีกาผู้ใกล้ชิดกับเจ้าอาวาส  บริษัทนี้มีบทบาทดูแลการผลิต  พระมหาสิริราชธาตุ  เพื่อใช้ในการระดมทุนสร้างมหาธรรมกายเจดีย์
2538          เปิดตัวโครงการและตอกเสาเข็ม  มหาธรรมกายเจดีย์
         เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นราชนามว่า  “พระราชภาวนาวิสุทธิ์”  ภายใต้การผลักดันของสมเด็จพระพุทธิวงศ์มุนี  วัดเบญจมบพิตร
         พระเมตตานันโท  ถูกผลักดันให้ออกจากวัด
         ถูกสื่อมวลชนตรวจสอบครั้งที่ 2  ใน นสพ.ผู้จัดการ  รายสัปดาห์  แต่ต้องยุติไปเพราะวัดมีการเคลื่อนไหวผ่านผู้มีอำนาจระดับสูง
2540          จำนวนบุคลากรเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
         มีโครงการตั้งชมรมพุทธศาสตร์ตามสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้นทั่วประเทศ  โดยมีชมรมพุทธศาสตร์สากล  ในระดับมหาวิทยาลัยเป็นผู้ชักจูง  เพื่อระดมคนให้ได้สมาชิกผู้นับถือมากกว่า 10 ล้านคนภายในปี 2545
2541          ออกโฆษณา  “ปาฏิหาริย์อัศจรรย์ตะวันแก้ว”
         คณะกรรมมาธิการการศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรม  สภาผู้แทนราษฎร  พิจารณาญัตติ  “ตรวจสอบวัดพระธรรมกาย”     เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน
         วัดพระธรรมกายเปิดแผนดำเนินการเรี่ยไรเพื่อปิดมหาธรรมกายเจดีย์ในปี 2543  ด้วยการออกโครงการประธานรองรายละ 1 ล้านบาท
2452          เมษายน-มิถุนายน-กรกฎาคม
         เมษายน                    สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระวินิจฉัยว่า  พระธัมมชโยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  ต้องอาบัติปาราชิก  และต้องคืนสมบัติทั้งหมดให้กับวัดทันที
         10 พฤษภาคม                    สมเด็จพระสังฆราชไม่ทรงเข้าร่วมประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม  เพราะทรงมีพระลิขิตให้ธัมมชโยเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  ที่ประชุม มส.มีมติไม่ชัดเจน  ทำให้ประชาชนชาวพุทธเริ่มเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจมากขึ้น
         10-17 พฤษภาคม          มีใบปลิวจาบจ้วงสมเด็จพระสังฆราชสถาบันพระมหากษัตริย์และศิษย์ห้องกระจก  โดยระบุว่าพระลิขิตเป็นของปลอม
         21 พฤษภาคม                    เริ่มต้นกระบวนการนิคหกรรม  โดยนายมาณพ  พลไพรินทร์  นักวิชาการกรมการศาสนา  เป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้อง
         26 พฤษภาคม                    นายสมพร  เทพสิทธา  ประธานสภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติฯ  ยื่นฟ้องนิคหกรรมอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  และรองเจ้าอาวาสต่อเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี 3 ข้อหาหนัก  แต่ละข้อหาโทษถึงขั้นปาราชิก
         31 พฤษภาคม                    นายประจิณ  ฐานังกรณ์  ประธานกลุ่มธรรมาธิปไตยขอแจ้งซ้ำและขอเป็นโจทย์ฟ้องเพื่อดำเนินตามกฎนิคหกรรมกับธัมมชโยในฐานะชาวพุทธ
         5 มิถุนายน                    นายมานิต  รัตนสุวรรณ  นักการตลาดของวัดพระธรรมกาย  แถลงข่าวตอบโต้กรมการศาสนาว่าจะไม่โอนที่ดินของพระธัมมชโยให้วัด  จนกว่ากระบวนการนิคหกรรมจะเสร็จสิ้น  ทำให้กลุ่มสานุศิษย์ส่วนใหญ่ของธัมมชโยไม่พอใจนายมานิตย์  เพราะการตอบโต้ดังกล่าวทำให้กรมการศาสนาแจ้งความอาญากับพระธัมมชโย
         กรมการศาสนาเตรียมยื่นฟ้องพระธัมมชโยฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน  โดยสัญญาจะโอนที่ดินให้เป็นของวัด  แต่ไม่โอนตามกำหนด
         10 มิถุนายน                     ธัมมชโยเบี้ยว  โอนที่ดินเพียง 304 ไร่(ไม่โอนที่ดินทำเลขุดทอง  ที่พิจิตรและเพชรบูรณ์)
         11 มิถุนายน                    กรมการศาสนาสุดทนเพราะถูกหลอกให้เสียหน้า  แจ้งกองปราบปรามดำเนินคดีพระธัมมชโย 3 ข้อหาหนัก
         สำนักตำรวจแห่งชาติ  แต่งตั้งให้พล. ต.ท.วาสนา  เพิ่มลาภ  ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ  เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน  พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรกองบัญชาการภาค 1  และกองปราบปราม  ให้ทำการให้เสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน
         1 กรกฎาคม                    พระสุเมธาภรณ์  เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี  วินิจฉัยว่าการกล่าวหาพระธัมมชโยมีมูลทั้งสามคน
         1 กรกฎาคม                    พระพรหมโมลี  เจ้าคณะภาค 1  ปฏิเสธว่าไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี  แต่ทางจังหวัดปทุมธานีบอกว่าได้มีหนังสือแจ้งไปถึง 3 ครั้งแล้ว
         1 กรกฎาคม                    พนักงานสอบสวน  เรียกนายชาญวิทย์  เปรมกมล  นายหน้าค้าที่ดินให้ธัมมชโย  โดยนายชาญวิทย์ขายให้ 10 ล้านบาทแต่ธัมมชโยแจ้งว่าซื้อขายเพียง  800,000  บาท
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #3 เมื่อ: 17-09-2008, 21:55 »

ธัมมี่เข้าข่ายเนรคุณคนรึเปล่าเนี่ย
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/02/Y6366486/Y6366486.html
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: