การเมืองใหม่ การได้มาซึ่ง สมาชิกสภาผู้แทนพลเมือง (ส.ส.) และ สภาผู้แทนพลเมือง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผ้แทนพลเมือง(ส.ส.) และ สภาผู้แทนพลเมือง มีที่มา 2 แบบ จากการเลือกของประชาชน โดยประชาชนหนึ่งคนมีสิทธิเลือก ผู้แทนของตนได้สองคน ต่างที่มารวม 500 คนดังนี้
1. แบบที่หนึ่ง แบบตัวแทนท้องถิ่น แบ่งเขตตามสัดส่วนจำนวนประชากร 1 ต่อ 300,000 หนึ่งผู้แทนต่อประชากรสามแสนคน จะได้ผู้แทนแบบท้องถิ่น 150 คนทั่วทั้งประเทศ หรือเป็นสัดส่วนร้อยละสามสิบจากจำนวนตัวแทนทั้งสองแบบ (150 คน จาก 500 คน)
2. แบบที่สอง แบบตัวแทนอาชีพและกลุ่มต่างสถานะ แบ่งย่อยตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มต่างสถานะ รวมเป็นสัดส่วนร้อยละเจ็ดสิบจากทั้งสองแบบ (350 คน จาก 500 คน) แยกย่อยดังนี้
2.1 ตัวแทนอาชีพ (รวม 170 คน จาก 500 คน)
2.1.1 กลุ่มรับจ้างแรงงาน
2.1.2 กลุ่มบริการวิชาชีพ วิชาการอิสระ ผู้ตรวจสอบอิสระ (รวมถึงทนายความ อัยการอิสระ**)
2.1.3 กลุ่มศิลปิน นักคิด นักเขียน นักออกแบบ นักวิจัย นักแสดง จินตมายา และนฤมิตรศิลป์
2.1.4 กลุ่มนักพัฒนาเอกชน ปราชญ์และปัญญาถิ่น
2.1.5 กลุ่มผลิตค้าย่อยและตลาดชุมชน
2.1.6 กลุ่มมลภาวะสิ่งแวดล้อม กลุ่มต้นน้ำและภูมินิเวศ
2.1.7 กลุ่มแรงงานเกษตร
2.2 ตัวแทนธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม (รวม 80 คน จาก 500 คน)
2.2.1 กลุ่มสถาบันการเงิน (20 คน จาก 500 คน)
ธนาคาร
สหกรณ์
ประกันภัย
ประกันชีวิต
ตลาดเงินและตลาดทุน
2.2.2 กลุ่มธุรกิจการค้า(สภาหอการค้าไทย) (20 คน จาก 500 คน)
ค้าปลีก ค้าส่งและวิสาหกิจชุมชน
ขนส่งมวลชน ขนถ่ายสินค้าและคลังสินค้า
รัฐวิสาหกิจและกิจการร่วมค้า
นำเข้าและส่งออก
ขายตรงและตลาดค้าตรง
2.2.3 กลุ่มอุตสาหกรรม(สภาอุตสาหกรรม) (20 คน จาก 500 คน)
สิ่งทอ เครื่องหนัง ทรายและเครื่องแก้ว
สินค้าอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรมอาหาร
สัมประทานธาตุหลวงและการถลุงแร่
การแพทย์พยาบาล ยา และเวชภัณฑ์
อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปการเกษตร
อัญมณีและเครื่องประดับ
การท่องเที่ยว โรงแรม ภูมินิเวศ
อสังหาริมทรัพย์และพัฒนาชุมชน
ก่อสร้าง
2.2.4 กลุ่มเทคโนโลยีและเครื่องจักรกล(20 คน จาก 500 คน)
เครื่องจักรกลและเครื่องมือ
พลังงาน วัตถุต้นผลิต สารและสสารเปโตรเคมี
เครื่องจักรเกษตร พลังงานทางเลือกและปรมณูเพื่อสันติ
กลุ่มเคมีภัณฑ์และเทคโนโลยีการตัดต่อ เชื่อมต่อ ประสานขึ้นรูป แปลงรูป
การสื่อสาร สารสนเทศ
วัสดุก่อสร้าง
2.3 ตัวแทนข้าราชการ (รวม 50 คน จาก 500 คน)
2.3.1 ข้าราชการพลเรือน
2.3.2 ข้าราชการทหาร
2.3.3 ข้าราชการตำรวจ
2.3.4 ข้าราชการตุลาการ
2.3.5 ข้าราชการครู
2.4 ตัวแทนกลุ่มต่างสถานะและพลเมืองพิเศษ (รวม 50 คน จาก 500)
2.4.1 ชนกลุ่มน้อย
2.4.2 ศาสนา ลัทธิ (เพศฆราวาส)
2.4.3 กลุ่มพิการทุพลภาพถาวร
2.4.4 ผู้ด้อยโอกาส ผู้เสมือนไร้ความสามารถ(ไม่รวมบุคคลล้มละลายและผู้ต้องขาดอิสรภาพ)
2.4.5 แรงงานเพศและผู้ติดเชื้อฝังถาวร
2.4.6 มูลนิธิ อาสาสมัครและสาธารณกิจ
2.4.7 เยาวชน นักเรียน นักศึกษา
2.4.8 ผู้เกษียร บำนาญ ผ่านศึก
2.4.9 แม่บ้าน แรงงานในครัวเรือน ผู้สูงอายุ
2.4.10 นักกีฬาอาชีพ
แจกแจงตามลักษณะนี้เป็นต้น
หมายเหตุ ผู้แทนแบบที่ 1 ได้มาโดยตัวแทนพรรคการเมือง
ผู้แทนแบบที่ 2 ได้มาโดยกลุ่มอาชีพและกลุ่มต่างสถานะ
รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีมาจากเสียงของผู้แทนทั้ง 2 แบบ โดยเสียงแบบที่ 2 ได้จากการออกเสียงในสภาฯ
ดังนั้นเสถียรภาพของรัฐบาลขึ้นอยู่กับความโปร่งใสซื่อสัตย์ โดยตรง ไม่ใช่จากเสียงผู้แทนพรรคในแบบเดิม
การถอดถอน ถอดถอนได้โดยกลุ่มและแบบที่มาด้วยเสียง หนึ่งในห้าจากเสียงที่ได้มา ทันที
ข้อสังเกตุ
พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะต้องหาเสียงในแต่ละกลุ่มโดยนโยบายและแนวทางสนับสนุนแต่ละกลุ่ม ทั้งก่อนได้มาซึ่งตัวแทนแต่ละกลุ่มและได้มาแล้วในสภาฯ ตลอดสมัยดำรงสภาฯ
การจำแนกที่มาของกลุ่มตัวแทนเช่นนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุน ธุรกิจ อตสาหกรรม ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาสู่สภาฯได้เองโดยตรง เป็นการป้องกันการเข้าแทรกหรือจัดตั้งพรรคการเมืองเสียเอง จุดนี้สามารถลดหรือป้องกันการใช้เงินหนุนพรรคซื้อเสียงในพื้นที่ได้ ส่วนตัวแทนกลุ่มทุนก็ไม่ซื้อเสียงกันเองอยู่แล้ว หากมีการซื้อเสียงตัวแทนกลุ่มอื่นในสภาฯ กลุ่มอาชีพต่างๆสามารถปลดตัวแทนตนเองและฟ้องร้องทั้งแพ่ง อาญาได้ทันที ตัวอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลแม้จะซื้อตำแหน่งกันมาเอง ก็ต้องมาเจอกลุ่มชาวไร่อ้อยในสภา กลุ่มโรงสีซื้อตำแหน่งกันเองเข้ามาก็มาเจอกล่มชาวนารายย่อย กลุ่มก่อสร้างซื้อตำแหน่งกันเข้ามาก็มาเจอกลุ่มวิศวกรในสภา อย่างนี้ความเสียหายเกิดได้ยาก สัดส่วนกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มทุน ธุรกิจ เทคโนโลยี อย่างละ 20 ต่อทั้งหมด 500 หรือ 1 ต่อ 25 สัดส่วนนี้ไม่อันตราย สัดส่วนรัฐมนตรี 1 ต่อ 20 ตามแต่จะจัดกลุ่มกันได้เองในสภาฯ ที่เหลือให้นายกฯเป็นผู้เลือก เป็นคนนอกก็ได้ นายกฯและผู้นำฝ่ายค้านมาจาก ผู้แทนพลเมือง(ส.ส.) ต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองเท่านั้น
การเลือกตั้งและการได้มาซึ่งตัวแทนพลเมืองแบบนี้ อาจไม่จำเป็นที่จะมีวุฒิสภาในอนาคตได้ แต่การมีและคงไว้ซึ่งวุฒิสภานั้นจะมีไว้เพื่อแต่งตั้งสรรหาผู้แทนและองค์กรอิสระเท่านั้นเป็นสำคัญ โดยหากมีและต้องการให้เป็นไปตามรูปแบบการเมืองใหม่ที่นำเสนอไปแล้วควรมี ตามสัดส่วนที่มาคล้ายกับผู้แทนพลเมือง แต่ต่างตรงวุฒิภาวะ วุฒิสถานะ ระดับประสปการณ์ ควรให้มีได้กึ่งหนึ่งของผู้แทนพลเมืองคือ 250 โดยสัดส่วนและที่มาคล้ายกัน
การเมืองใหม่ สัดส่วน 30 ต่อ 70 ของผมอาจต่างจาก การเมืองใหม่ที่ พธม.โยนหินถามทางออกมาบ้าง แต่ผมยืนยันโดยสัดส่วนว่าเหมาะสมแล้ว แต่ต้องดำเนินไปโดยระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขเท่านั้น และคงต้องมี อธิปัตย์ 5 อันเป็นแก่นแท้ประชาธิปไตยที่ผมได้เคยนำเสนอต่อสาธารณะไปแล้ว
หากขาดตกพกพร่อง หรือไม่ตรงกลุ่มตรงสถานะ หรือสัดส่วนย่อย หรือการจำแนกทับซ้อน ให้สาธารณชน ปัจเจกชนแก้ไขด้วย และต้นแบบการเมืองฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือดีที่สุด สามารถใช้เป็นแบบเทียบกับทุกแนวคิดได้ และสามารถนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมได้ ตามวิถีที่ควรจะเป็นไป
ขอแสดงความเป็นมิตรนับถือทุกองค์ความรู้ และวิถีแนวคิดที่แตกต่างทั้งมวล ด้วยจิตคารวะ
ศุภัทร์ลาภ ทาสะโก
10 กันยายน 2551
มหาสารคาม