เท่าที่ผมเข้าใจ
1.ปี40 รัฐบาลชวลิต ที่มีทักษิณเป็นรองนายกทำประเทศเจ๊งชิบหา..ยวายวอดไปหมด
2.ชวลิตลาออก ชวนมาแก้วิกฤต โดยขอความช่วยเหลือจาก เอเอ็มเอฟ ด้วยการกู้เงินแบบมีเงื่อนไขที่เข้มงวด การใช้จ่ายโครงการใหญ่ๆต้องให้ทาง เอเอ็มเอฟรับรู้และยินยอม
3.ต่อมาถึงรัฐบาลทักษิณ ทักษิณหวังล้างหนี้ เอเอ็มเอฟ ด้วยเหตุผล 2 ประการหลัก
.....3.1 เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าตัวเองว่าเก่ง เป็นการหลอกตบตาชาวบ้าน เพราะเงินที่เอามาล้างหนี้ส่วนใหญ่มาจากประชาชนโดยทักษิณได้ออกพันธบัตรขายให้ประชาชน แล้วเอาเงินส่วนนี้ไปใช้หนี้ ฟังจากนักเศรษฐศาสตร์หลายคนบอกว่าไม่จำเป็น เพราะเงินกูของ เอเอ็มเอฟ เป็นเงินกูระยะยาวที่มีดอกเบื้อต่ำมาก
.........3.2 อีกเหตุผลหนึ่ง(น่าจะเป็นเหตุผลหลัก)ที่ทักษิณต้องการล้างหนี้ เอเอ็มเอฟ ให้หมด เพราะไม่ต้องการให้ เอเอ็มเอฟ มาตรวจสอบหรือยุ่งเกี่ยวกับโครงการใหญ่ๆที่ทักษิณมีแผนจะทำ ซึ่งแต่ละโครงการไร้ความโปร่งใส มีการทุจริตหนักๆทั้งสิ้น
(แต่ถ้า ยังติดหนี้เอเอ็มเอฟอยู่ เอเอ็มเอฟจะเข้ามาครวจสอบทำให้การโกงกินยากลำบาก)
คุณ protecter เข้าใจผิดครับ รัฐบาลชวลิตเป็นคนเซ็นกู้เงิน IMF ก่อนลาออกหนีแรงกดดันข้อมูลที่คุณ 55555 ระบุมาถูกต้องแล้ว..
หนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1 ลงวันทีี่ 14 สิงหาคม 2540 อยู่ในรัฐบาลชวลิต (ครม.ชวลิต 3)
ตกลงกู้เงินล็อตใหญ่ที่สุดจำนวน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอนนั้นคุณทักษิณนั่งเก้าอี้รองนายกฯ
ฝ่ายเศรษฐกิจอยู่ด้วย แต่คนที่มีบทบาทจริงๆ คือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร รองนายกฯ ฝ่ายคลัง
หลังจากนั้น นายกฯ ชวลิต ลาออก เข้าสู่รัฐบาลชวน 2 มีหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 2 กู้เิงินอีก
600 ล้านเหรียญ ฉบับที่ 3 กู้ 200 ล้านเหรียญ หลังจากนั้นก็กู้เพิ่มเพียงครั้งละ 100 ล้านเหรียญ
ซึ่งเห็นได้ชัดว่ากู้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เกิดความเชื่อมั่น ไม่ได้กู้เพราะรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงิน
ส่วนเหตุผลข้อ 3.2 ที่ว่ารัฐบาลทักษิณไม่ต้องการอยู่ใต้การควบคุมของ IMF นั้น..
ความจริงตั้งแต่ 31 พฤษภาคม 2543 ไทยก็หยุดเบิกเงินกู้ก่อนกำหนดแล้ว ซึ่งอยู่ในรัฐบาลชวน2
ดังนั้นไทยจึงไม่ต้องทำหนังสือแสดงเจตจำนงอะไรต่อ IMF มาตั้งแต่ก่อนรัฐบาลทักษิณแล้วครับเป็นเพียงข้ออ้างของรัฐบาลทักษิณ ที่ต้องการสร้างภาพว่าตัวเองเป็นคนกู้ชาติเท่านั้น!!!...
มีเรื่องน่าสังเกตอย่างหนึ่งตอนปลายรัฐบาลชวลิต ที่คุณทักษิณนั่งเป็นรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ
คือคุณทักษิณได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการ ที่ทำหน้าที่เตรียมแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
แต่ต่อมาพอถึงเวลาหาเสียงปลายปี 2543 กลับโจมตี ปชป. ว่าออกกฎหมายขายชาติ
ซึ่งในที่สุดรัฐบาลทักษิณเองเป็นคนแปรรูป ปตท. +พยายามแปรรูป กฟผ. โดยออกกฎหมายสำเร็จ
แต่ถูกศาลตัดสินว่าการแปรรูป กฟผ. ผิดกฎหมาย และการแปรรูป ปตท. ก็ไม่ถูกต้อง ทำให้ตอนนี้
ปตท. ยังมีภาระต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ได้ไปโดยมิชอบ (แต่มีคนร่ำรวยจากราคาหุ้นไปแล้ว)