วิกฤตการเมืองไทย 2551ประเทศไทยได้ประสบกับความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรง จนในที่สุดได้มีการพัฒนามาเป็นวิกฤตการทางการเมือง เมื่อพันธมิตรประชานชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) ได้บุกยึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม แต่ต่อมารัฐบาลได้ใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม จึงมีผู้เ้ข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตรมากขึ้น มีการนัดหยุดงานกระจายไปทั่วประเทศ รถไฟหยุดวิ่ง ประเทศเป็นอัมพาต และตามมาด้วยการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มพันธมิตร กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก) จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย ทำให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวทย์ต้องประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตกทม.
ผมเืชื่อว่าสถานการณ์ในขณะนี้คงทำให้คนไทยเครียดกันอย่างมาก ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ แต่ผมก็เป็นห่วงแผ่นดินเกิดเสมอ ผมก็จิตตกอยู่นาน จนมาได้ฟังคำสัมภาษณ์อาจารย์ ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐ บนเว็บ Siam Intelligence Unit ทำให้ผมตาสว่าง ตกผลึกทางความคิด และมีความหวังขึ้นมาทันทีทันใดเลยครับ
แต่ก่อนนี้ผมมองว่าวิกฤตการเมืองขณะนี้เป็น "ปัญหา" ของประเทศ ที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ประเทศจำนวนมหาศาล แต่ขณะนี้ความคิดของผมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ผมมองว่าจริงๆ แล้ววิกฤตคราวนี้ไม่ใช่ปัญหา แต่กลับเป็น "อาการของปัญหา" ที่แสดงออกมาต่างหาก
ประเทศไทยนั้นมีัปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน นั่นคือความไม่สอดคล้องกันของ "หลักการของระบอบประชาธิปไตย" กับ "การ Implement ใช้ระบอบประชาธิปไตย" ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ แล้วไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นแค่ "รูปแบบ" ของระบบประชาธิปไตยเท่านั้น พื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยก็คือ การปกครองที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน เช่นความปลอดภัยในชีวิต สิทธิพื้นฐาน และเมื่อมีสิทธิเท่าเทียมกันแล้ว การที่จะตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งจึงต้องถามความคิดเห็นประชาชน แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะถามคน 60 ล้านคนในทุกๆ เรื่องที่ต้องการตัดสินใจ เราจึงต้องมีการเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ในการตัดสินใจแทนเรา นอกจากนั้นเมื่อเรามีสิทธิ เราก็ต้องมี "หน้าที่" ด้วย
แต่การ Implement ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นห่างจาก Ideal นี่มาก เอาแค่ว่าสิทธิพื้นฐานเช่นความปลอดภัยในชีิวิตของชาวไทย สิทธิมนุษยชนก็ถูกละเมิดโดยเจ้าหน้ารัฐ โดยเฉพาะตำรวจอย่างกว้างขวาง จนทำให้ปัญหาต่างๆ ลุกลาม (ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คดีทนายสมชาย นีรไพจิตร หายตัวไป), ประชาชนชาวไทยไม่รู้ัจักหน้าที่ของตน มีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส่งผลให้ได้นักการเมืองคอรัปชั่นมาเป็นผู้แทนในสภา (การคอรัปชั่นนั้นไม่ได้เกิดเพราะนักการเมืองไม่ดี แต่เกิดเพราะประชาชนไม่มีความรู้ ไม่ทำหน้าที่ของตน ถ้ารู้จักทำหน้าที่แล้ว เราจะไม่มีนักการเมืองน้ำเน่าในสภา ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาอีกมากมาย)
นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากมายเช่นการปฏิบัติิหน้าที่โดยมิชอบของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รัฐ, ความไม่มีความรับผิดชอบของนักการเมือง (ลองมองดูบริษัทเอกชนที่มีธรรมาภิบาลในต่างประเทศสิครับ ถ้าผู้บริหารเค้าบริหารผิดพลาดนี่เค้าต้องลาออกแล้ว ไม่ใ่ช่ให้คนมาไล่ หรือรัฐบาลที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้), การที่คนส่วนหนึ่งถูกกดขี่โดยนายทุน, การบังคับใช้กฏหมายที่ล้าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ, การที่คนอีกส่วนหนึ่งใช้สิทธิของตนเกินเลยไป จนไปเบียดเบียนสิทธิของผู้อื่น (ซึ่งขัดต่อหลักการของระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน) ฯลฯ
เมื่อเรามีัปัญหาเหล่านี้สะสม เรื้อรังมายาวนาน วันหนึ่งมันก็ต้องระเบิดออกมา เหมือนโรคร้ายที่รอวันจะแสดงอาการ ดังนั้นวิกฤตการเืมืองครั้งนี้ ผมจึงมองว่ามันไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงของสังคมไทย แต่เป็น "อาการของปัญหา"
ซึ่งจริงๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่ดี ที่เรามีวิกฤตครั้งนี้ ถ้ามองกันในระยะสั้น ประเทศไทยได้รับความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน แต่ถ้าเรามองในระยะยาวแล้ว วิกฤตครั้งนี้นำมาซึ่งโอกาสในการแ้ก้ปัญหาที่เรามีอยู่ และในระยะยาวประเทศจะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน เพราะการพัฒนาประชาธิปไตยให้สมบูรณ์นั้นเป็นการเปลี่ยนแนวคิด (Paradigm) ของคนครั้งใหญ่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง Paradigm นั้นต้องใช้เวลา และมีราคางวด ไม่ใช่จะได้มาฟรีๆ ครับ บางประเทศอาจจะถึงเสียเลือดเสียเนื้อทีเดียว ปีพ.ศ. 2475 รัชการที่ 7 และคณะราชฯ ได้ให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จริง แต่ไม่ได้ให้ Paradigm Shift มาด้วยครับ คนไทยจำนวนมากไม่เข้าใจจริงๆ ว่าระบอบนี้คืออะไร รู้แต่ว่าต้องไปเลือกตั้ง ซึ่งหลายๆ คนก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วการเลือกตั้งเป็นทั้งสิทธิและความรับผิดชอบ ดังนั้นการสร้างสมระบบประชาธิปไตยจึงต้องใช้เวลาสร้างสม ไม่ใช่แค่การเปลียนแปลงในชั่วข้ามคืน ดังที่คณะราชฯ หวังไว้ ผมคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 5, 6 และ 7 ได้ตั้งใจจะทำไว้อยู่แล้ว แต่ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเสียก่อน
ผมขอยกตัวอย่างสองตัวอย่างประกอบครับ ตัวอย่างแรกคือการปฏิวัติฝรั่งเศส หลังจากมีการโค่นล้มการปกครองของพระเจ้าหลุยซ์ที่ 16 ลงแล้ว การปฏิวัติฝรั่งเศสก็ไ่ม่ใช่ว่าจะนำมาซึ่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันที่เป็น The Fifth Republic ในทันที แต่กลับมียุคมืดคือ The Reign of Terror ที่มีผู้บริสุทธิ์จำนวนมากมายถูกประหารด้วยกิโยติน ณ. Place de la Revolution (Place de la Concord ในปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลงกลับไปเป็นระบอบกษัตริย์อีกครั้งสมัยนโปเรียน ที่ 1 แต่ว่าประเทศฝรั่งเศสก็ได้สะสมอุดมการณ์ของการปฏิวัติมากเพียงพอที่จะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก ที่คนถูกแบ่งเป็นสามฐานันดร และฐานันดรช้้นสูงสองชนชั้นขูดรีดฐานันดรชั้นล่าง (ขอบคุณคุณเจริญชัย ชัยไพบูลย์วงศ์ที่ช่วยเสริมประเด็นนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นนะครับ) ผู้คนจำนวนมากตื่นตัวกับแนวคิดของระบบสาธารณรัฐ ทำให้ประเทศพัฒนามาเป็นประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน
อีกตัวอย่างหนึ่งคือประเทศอเมริกาครับ แม้ว่าจะมีการประกาศเอกราช และในคำประกาศเอกราชนั้นเขียนไว้ชัดเจนว่าคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน แต่ประเทศอเมริกาก็ยังมีระบบทาสมาอีกร้อยกว่าปี และต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าที่ผู้หญิงจะมีสิทธิเท่าผู้ชายเช่นการโหวต ซึ่งถ้าสงครามโลกครั้งที่สองไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสิทธิสตรีจะเกิดขึ้นได้ไหม
เห็นไหมครับว่าประเทศที่ประชาธิปไตยเจริญมากๆ แล้วอย่างฝรั่งเศส อเมริกา หรือเยอรมันนั่นก็เคยผ่านช่วงวิกฤตการเมืองอย่างที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันมาก่อนทั้งนั้น แต่ว่าเพราะวิกฤตเหล่านั้นแหละ ที่ทำให้ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ค้นพบปัญหา แก้ปัญหาที่มี จนทำให้ประเทศพัฒนามาถึงปัจจุบัน (ลองหาหนังสือ An Illustrated History of Nazi มาอ่านดูนะครับ แล้วจะเห็นถึงความคล้ายคลึงกันของการเมืองไทยในปัจจุบัน กับการเมืองเยอรมันช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองอย่างชัดเจน) ดังนั้นผมมองว่าสิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ก็คือความยากลำบากที่ประเทศข้างต้นเคยเผชิญมา พอเราผ่านพ้นไปประเทศเราก็จะดีขึ้นอีกมากครับ แต่ที่แน่ๆ เราจะไม่เผชิญวิกฤตร้ายแรงอย่างอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมันแน่ๆ ครับ เพราะเรามีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ครับ
ผมขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศเราเองประกอบด้วยนะครับ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ. 2475 มาประเทศไทยมีการปฏิวัติ รัฐประหารมากกว่า 30 ครั้ง มีการนองเลือดบนถนนราชดำเนินมาแล้วสามครั้ง (14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19, พฤษภาทมิฬ) 14 ตุลา และ 6 ตุลา เป็นความขัดแย้งของกลุ่มอำนาจเก่าก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือขุนนาง ทหาร ข้าราชการ กับกลุ่มอำนาจใหม่ คือกลุ่มทุน พ่อค้า และชนชั้นกลาง โดย 14 ตุลานั้นกลุ่มอำนาจใหม่ชนะ และ 6 ตุลานั้นฝ่ายอำนาจเก่าีตีโต้กลับ แต่อย่างน้อยสองเหตุการณ์นี้ก็ทำให้อำนาจเกิดการเปลี่ยนมือ คือกลุ่มอำนาจเก่าไม่สามารถผูกขาดประเทศได้อีกต่อไป ทหารไม่ใช่ผู้ที่กุมชะตา หรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่เพียงผู้เดียวอีกแล้ว มีกลุ่มชนชั้นกลางเข้ามาีมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นการยุติการปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารลงไป การปฏิวัติ รัฐประหารทำได้ยากขึ้น สังเกตได้จากเมื่อรสช.ยึดอำนาจ ได้มีผู้คนจำนวนมาก ออกมาชุมนุมต่อต้านอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ได้พัฒนาไปเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเร็วกว่าสมัย 14 ตุลามา และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้เองทำให้การปกครองของคณะรสช.หมดอำนาจไป นอกจากนี้เหตุการณ์พฤษภาทมิฬทำให้ฝ่ายทหารเข็ดขยาดกับการปฏิวัติ รัฐประหาร เก็บตัวอยู่ในกรมกอง พูดแต่ว่า ทหารไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ตั้งแต่ปี 2475 ถึงพฤษภาทมิฬ มีการรัฐประหารมาสามสิบกว่าครั้ง แต่หลังจากพฤษภาทมิฬ ประเทศไทยว่างเว้นจากการยึดอำนาจมากเกือบยี่สิบปี และอำนาจการปกครองได้เปลี่ยนมือไปจากทหาร มาเป็นกลุ่มนายทุน คือนักธุรกิจและชนชั้นกลางโดยสมบูรณ์ สังเกตได้ว่าเราไม่มีนายกที่ชื่อมียศ พล.อ. อีกเลยหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สรุปแล้วการเสียสละเลือดเนื้อของวีรชนบนถนนราชดำเนินนั้นไม่ได้เสียเปล่าเลยครับ
เศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้การปกครองของกลุ่มนายทุนนั้นได้เจริญไปมาก มีสาธารณูประโภคที่ทันสมัย รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น แต่ว่าการปกครองโดยกลุ่มทุน โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นก็มีข้อผิดพลาด นั่นคือมีการเปิดเสรีทางการเงินโดยขาดความพร้อม ความรู้ ทำให้เราเจอวิกฤตเศรษฐิกจปี 40 แต่เมื่อเที่ยบกันแล้วประเทศไทยก็ได้พัฒนาไปมากกว่าก่อนพฤษภาทมิฬแล้ว และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เรียนรู้บทเรียนจากความผิดพลาดคราวนั้น จนทำให้เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะไม่เผชิญวิกฤตแร้ายแรงอย่างนั้นอีก (ในขณะที่เวียดนาม ไม่เคยมีบทเรียน ได้เผชิญกับวิกฤตเฝอ ในปี 2551 นี้ อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นถึง 18%)
วิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ทำให้อำนาจเปลี่ยนมือจากกลุ่มทุนเก่า มาสู่กลุ่มทุนใหม่ ซึ่งประเทศไทยก็มีหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างพัฒนาไปมากนับตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา แต่การปกครองของกลุ่มทุนใหม่ก็มีปัญหาในตัวเอง ทำให้ประเทศชาติมาถึงทางแยกที่สำคัญในปัจจุบัน นั่นคือวิกฤตการเมืองปี 2551 (ผมไ่ม่ใช้คำว่าทางตันนะครับ เพราะบอกไปแล้วว่ามันไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นโอกาสในการแ้ก้ปัญหา)
ถ้าเรามองย้อนกลับไป เราจะเห็นได้ว่า แต่ละวิกฤตในอดีต ประเทศไทยได้อะไรกลับมาเยอะมากนะครับ ดังนั้นสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันมันในระยะสั้นมันเป็นวิกฤต แต่ในระยะยาวแล้วมันเป็นโอกาสนะครับ ในอนาคตเมื่อเรามองย้อนกลับมา เราจะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้อะไรจากเหตุการณ์ครั้งนี้เยอะเลยครับ
ถึงแม้การชุมนุมของพันธมิตรจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยมหาศาลก็ตาม (เพื่อความเป็นธรรม ผมต้องพูดไว้ด้วยว่า ฝ่ายรัฐบาลก็สร้างความเสียหายให้ประเทศเหมือนกัน และอาจะเป็นปริมาณที่มหาศาลกว่าที่พันธมิตรสร้างด้วยซ้ำ)
แต่การชุมนุมครั้งนี้ก็ได้สร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติมหาศาลเหมือนกันครับ นั่นคือการชุมนุมครั้งนี้ได้ปลุกให้คนไทยตื่นตัวในเรื่องการเมืองมากขึ้น ผู้คนมีความรู้ และสนใจออกมาใช้สิทธิของตนมากขึ้น (อาจจะมากเกินไปจนล้นอย่างที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น) จนทำให้เชื่อได้ว่าในอนาคต ประเทศไทยจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมที่นักการเมืองสามารถโกงกินได้อย่างไม่ต้องเกรงกลัวกฏหมาย หรือเจ้าหน้าทีรัฐจะรังแกประชาชนได้ง่ายๆ อีกต่อไป คุณเจริญชัยให้ความคิดเห็นน่าสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงมันจะไม่ง่ายอย่างนั้น คือมันจะมีการกลับไปกลับมา แต่ในระยะยาวแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมากครับ อย่างที่ผมยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศสไปแล้วในข้างต้น
ในสถานการณ์ปัจจุบันเราต้องการ แนวทางใหม่เพื่อมาใช้แก้ปัญหาวิกฤตในปัจจุบันครับ เพราะวิธีการที่มีอยู่มันไม่ Work ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรามีวิกฤตอย่างที่เป็นอยู่ในเบื้องต้น ระบบที่มีอยู่ไม่สามารถจัดการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ว่ามีปัญหาเรื่องจริยธรรม และการคอรัปชั่น ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถจัดการกับผู้ชุมนุมที่ใช้สิทธิของตนเกินขอบเขต แนวทางในที่นี้ผมไม่ได้หมายถึง "การเมืองใหม่" ทีพันธมิตรพยายามจะนำเสนอนะครับ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคือะไร และไม่ให้เครดิตใดๆ ทั้งสิ้น ผมมองว่ามันเป็นแค่รูปธรรม ผมไม่คิดว่าแนวทางใหม่นี้จะมาจากการที่คนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งมานั่งประชุมกันแล้วได้ข้อสรุป หรือทางออก ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นในฉับพลัน แต่วิธีการแก้ปัญหาจะมาจากทางอ้อม นั่นคือตัวประชาชนเองมากกว่า และจะเกิดขึ้นอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปครับ ส่วนการชุมนุมประท้วงจะจบยังไง ผมไม่รู้จริงๆ ครับ แต่ิจบเร็วจะยิ่งดีต่อประเทศชาติครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณนะครับที่อ่านบทความที่ยาวอย่างนี้มาจนจบ ท่านผู้ใดสนใจจะแสดงความคิดเห็นก็เิชิญได้เลยนะครับ แต่ผมขอออกตัวไว้ก่อนว่า ผม "ไม่" รับฟังความคิดเห็นประเภทที่ตำหนิ หรือประณามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือพันธมิตรก็ตาม มีเว็บไซด์อย่างว่ามากเพียงพอแล้วครับ ผมต้องการเห็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของปัญญาชน ที่จะช่วยสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ครับ และขอให้ใช้ภาษาที่สุภาพด้วยครับ ขอบคุณอีกรอบครับ
http://g41act.multiply.com/journal/item/109/109บทความ ที่คุณ Ink เรียบเรียงไว้ในเวบของตัวเองครับ อาจจะยาวมากแต่อธิบายรายละเอียดให้ให้ภาพของเหตุการณืได้ดีมากครับ
อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าบทความมีคุณภาพครับ ดีกว่าของนักวิชาการขายตัวมากมายนัก