วันนี้ ผมซื้อหนังสือ มติชน รายสัปดาห์มาอ่าน เห็นเรื่องๆนี้เข้า รู้สึกถูกใจครับผม ขออนุญาตินำมาโพสนะครับ ผมเป็นประเภทอ่านผ่านๆ และก็ลืมๆ จำๆ อาจผิดพลาดทางเนื้อเรื่อง แต่ก็ จะพยายามรวบรวมสติและฟื้นความจำ เพื่อการพิมพ์มที่ถูกต้องนะครับ

ผิดพลาดประการใด ขออภัยอย่างรุนแรง หรือไม่งั้นก็ ถ้าสนใจก็ไปหาซื้ออ่านกันนะครับ หน้าปก เป็นภาพเจ้าชายจิกมี ผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ถือตัว แต่เปี่ยมไปด้วยบารมีและสง่าราศี (ว่าเข้านั่น แต่ก็จริงครับ)
เรื่องมีอยู่ว่า
มีชายคนหนึ่ง ผมสมมุติให้ชื่อ นาย ก (ผมไม่ได้พิมพ์ ก ไก่ ติดกันนะครับ)
อยากได้ลูกแพะมากๆ จึงไปซื้อแพะที่ตลาด แต่ปรากฏว่า ลูกแพะซึ่งเหลืออยู่เพียงตัวเดียว ถูกซื้อตัดหน้าไป โดยนาย ข
นาย ก อยากได้มากถึงมากที่สุด จึงออกอุบายเพื่อจะช่วงชิงแพะ (ผมพิมพ์แบบออก แอคติ้ง ไปหน่อย)
จึงได้จ้างวาน ชาย สามคน และวางแผนปรึกษากัน เสร็จสรรพ เรียบร้อย
ระหว่างทางที่ นาย ข อุ้มลูกแพะ เพื่อจะนำกลับบ้าน
ชายคนแรกที่นาย ก จ้างมา ก็เข้ามาพูดกับ นาย ข ว่า "หวัดดีครับ ลูกหมา น่ารักดีนะครับ"
นาย ข ก็บอกว่า เปล่าหรอกครับ นี่มันลูกแพะต่างหาก แต่นายคนนั้นบอกว่าดูไงๆ ก็หมาชัดๆ
ทั้งสองก็เถียงกัน แล้วนายคนนั้น ก็เดินผ่านไป
นาย ข ถึงเดินทางต่อ
และแล้ว ชายคนที่สอง ก็เดินผ่านมา
และทักนาย ข ว่า
"ซื้อลูกหมาจากไหนครับเนี่ย ในเมืองเหรอ"
นาย ข ก็เริ่ม งง และบอกว่า แหกตาดูให้ดีๆ นี่มันแพะนะ ไม่ใช่หมา
ทั้งสองก็ยืนเถียงกันนานสองนาน และชายคนที่สอง ก็เดินจากไป
นาย ข เริ่มงงว่า เกิดอะไรขึ้นและชักไม่แน่ใจว่า ที่ตนอุ้มอยู่ มันแพะหรือหมากันแน่
และแล้ว นายคนที่สาม ก็เดินผ่านมา และทักนาย ข ว่า
"ทำไมไม่หาเชือกผูกปลอกคอหมาล่ะครับ คุณจะได้ไม่ต้องอุ้มให้เมื่อย จูงเอาสิครับ"
ได้ยินดังนั้น นาย ข รีบวาง ลูกแพะลง
และเดินกลับบ้านอย่างด่วนๆ โดยไม่หันกลับมามองลูกแพะอีกเลย
นาย ก เห็นดังนั้นเลยเข้ามา รีบเข้ามาอุ้มลูกแพะ กลับไปเลี้ยงที่บ้านโดยทันที
^^ ผมเห็นว่ามันมีแง่คิดดี โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องของสื่อ เมื่อเราถูกครอบงำว่านี่คือลุกหมา ลูกหมา และลูกหมา ต่อไปลูกแพะก็จะกลายเป็นลูกหมาจริง (ทั้งๆที่มันคือลูกแพะชัดๆ) ชอบมากๆครับเลยเอามามาโพส แบ่งกันอ่าน แต่โดยเนื้อเรื่องแล้ว ผมพิมพ์เนื้อหาผิดอยู่หลายตอน เพราะผมจำไม่ได้น่ะครับ (จะโดนฟ้องมั้ยเนี่ย) ในหนังสือ มติชนรายสัปดาห์ เขาบอกว่า เป็นนิทานอินเดีย อินเดียนี่ก็มีนิทานที่ให้แง่คิดดีๆ หลายเรื่องเลยนะครับ โดยเฉพาะเรื่อง อิทธิพลของจิตใจ เดี๋ยวนะครับ ผมมีอีกเรื่อง สั้นๆ เพื่อนผมเขาอ่าน และผมฟัง จับใจความเรื่องคร่าวๆได้ดังนี้
ช้าง ในอินเดีย นั้น ในสมัยก่อน ชาวอินเดียเขามีวิธีผูกช้างไว้กับต้นอ้อเล็กๆ แต่ว่าช้างไม่หนีไปไหน หลายๆคน อาจเคยอ่านกันแล้ว แต่ผมขออณุญาติโพสครับผม ^^
ช้าง ตั้งแต่เริ่มเกิด และเริ่มที่จะโตพอที่จะนำมาใช้งานได้นั้น (ช้างเด็กๆน่ะครับ) เขาจะผูกมันไว้กับต้นไม้ใหญ่ๆ เมือ่โดนผูกไว้ มันจะไม่พอใจ และจะพยายามดึงดันให้เชือกขาดหรือ ต้นไม้ หัก แล้วตัวเองก็จะเป็นอิสระ แต่ทานโทษ เชือกที่ผูกช้างนั้น จะเป็นเชือกปออย่างดี และผูกติดกับต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง ช้างเด็กนั้น จะดึงดัน จนอ่อนแรง และจะเลิกล้มความพยายามไปเอง เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ และเรื่อยๆ ช้างจะมีสำนึกว่า เขาทำอะไรไม่ได้แล้ว ต่อไป แค่คนผูกช้างไว้กับต้นอ้อที่เปราะบาง มันก็จะไม่พยายามหนีไปไหนอีก เพราะว่ามันเชื่อว่ามันทำไม่ได้
เรื่องนี้ก็ดีนะครับ ให้แง่คิดหลายๆอย่าง รวมถึงการตัดสินใจที่สำคัญ แต่เราอาจยึดติดกับอะไรบางอย่างในอดีต หรือถูกปลูกฝังไว้ว่าเช่นใด ในอนาคต เราจะไม่คิดที่จะลงมือทำมัน หากเราถูกทำให้คิดว่า มันไม่ดี หรือว่า ทำไปก็ไม่มีประโยชน์ ทำให้ละความคิดที่สำคัญบางอย่างไป
^^ ขอบคุณนะครับที่อ่านจนจบ นานๆ ผมจะโพสกระทู้ยาวเหยียดแบบนี้ที