ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-11-2024, 00:15
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  มาชวนอ่านมาตรา 165 เรื่องการทำประชามติ...ศึกษาดูแล้วน่าจะทำไม่ได้ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
มาชวนอ่านมาตรา 165 เรื่องการทำประชามติ...ศึกษาดูแล้วน่าจะทำไม่ได้  (อ่าน 829 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 04-09-2008, 20:44 »

มาตรา ๑๖๕ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ
การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของ
ประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียง
ประชามติได้

(๒) ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติตาม (๑) หรือ (๒) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติโดยเสียง
ข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็นการออกเสียง
เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ

การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัด
ให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
หรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้


ก่อนการออกเสียงประชามติ รัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคล
ฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน

หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงประชามติ
ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติ

*****************************

ความขัดแย้งของคู่กรณีคือ รัฐบาลกับพันธมิตร เป็นเรื่องของ คณะบุคคล

จะออกแบบคำถามให้ลงประชามติยังไงก็ไม่ได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ

ถ้าจะออกเสียงเรื่อง การเมืองใหม่ เลือกตั้ง 30 แต่งตั้ง 70 ก็ไม่ด้อีก เพราะขัดรัฐธรรมนูญ

ที่สำคัญขณะนี้กฎหมายประชามติ ยังต้องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน

เมื่อปรกาศใช้แล้ว ต้องให้ทั้งสองฝ่าย อธิบายกับประชาชน อย่างน้อย 30 วัน

ในเวลาอย่างน้อย 60 วัน เหตุการณ์จะพัฒนาไปถึงไหน

แล้วการทำการอธิบายความตามหัวข้อประชามติ จะกระทำได้หรือไม่ ในสภาวะที่ประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉิน...

รัฐบาลจะใจกว้างพอที่จะให้ฝ่ายพันธมิตรอธิบายกับประชาชนหรือไม่

กกต. มีความพร้อมแค่ไหน ในการทำประชามติ

งบประมาณการทำประชามติ คงไม่น้อยกว่าการเลือกตั้งทั่วไป นั่นคือ 2,000 ล้าน เป็นอย่างน้อย

เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำขนาดนั้นหรือไม่

หากต้องใช้เงินงบประมาณ เท่ากับเลือกตั้งทั่วไป ก็ "ยุบสภา" ไปเลย เลือกตั้งใหม่ไม่ดีกว่าหรือ


ใครเก่งลองตั้งคำถามให้ประชาชนเลือกดูสิ...ทำได้มั๊ย...
เอาคำถามที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญนะ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-09-2008, 20:57 โดย Can ไทเมือง » บันทึกการเข้า

soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #1 เมื่อ: 04-09-2008, 21:02 »

          มาตรา ๓๐๒ ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้มีผลใช้บังคับต่อไปภายใต้

เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรานี้

          (๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญนี้

          (๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการ

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

          (๓) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้

ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

          (๔) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง

ทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญนี้

          ให้ถือว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยพระราชบัญญัติที่ได้

ประกาศใช้บังคับในระหว่างวันที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙

มีผลใช้บังคับ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญนี้

          ให้ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ดำเนินการปรับปรุง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่

วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งที่เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระยะเวลาหนึ่งปีให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนั้น

          ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ให้แล้วเสร็จ

ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว และให้

วุฒิสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น

          การลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา


          ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง

ประชามติเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้นำความในวรรคสาม วรรคสี่

และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม

**********

โดยมาตรานี้ก็มีความสำคัญอยู่ในบทบัญญัติ อยากให้ทุกท่านช่วยดูด้วย เพราะจะเกี่ยวเนื่องกับ พรบ.ประกอบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง

ทางการเมือง ที่โดนคว่ำไป
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #2 เมื่อ: 04-09-2008, 21:15 »


โดยมาตรานี้ก็มีความสำคัญอยู่ในบทบัญญัติ อยากให้ทุกท่านช่วยดูด้วย เพราะจะเกี่ยวเนื่องกับ พรบ.ประกอบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง

ทางการเมือง ที่โดนคว่ำไป
ยังดีนะครับที่ยังใช้ของเก่าได้ พรบ ไหนที่พวกตัวเองเสียประโยชน์มันเล่นจ้องจะคว่ำหมด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: