ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-11-2024, 05:06
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ย้อนรอยคดีทุจริตที่ดินรัชดา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ย้อนรอยคดีทุจริตที่ดินรัชดา  (อ่าน 6731 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 26-06-2008, 16:34 »

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000074839

อ้างถึง
จากผลแห่งคำพิพากษาของ ศาลฎีกาที่ได้ลงโทษสถานหนักจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้ดำเนินคดีฐานติดสินบนศาล ต่อ นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร นางสาวศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนาย และนายธนา ตันศิริ กรณีอุอาจนำถุงขนมสอดไส้เงินสด 2 ล้านบาท ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ธุรการ ซี 5 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา
       
       คำพิพากษาของศาล ระบุชัดว่า เกี่ยวเนื่องจากคดีความที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดา ส่วนวันนี้ คดีดังกล่าวไปถึงไหน และความเป็นมา เป็นอย่างไร ทิศทางคดีจะเป็นอย่างไร ในเมื่อ ทนายความ ผู้แก้ต่างให้กับ ลูกความ ถูกส่งตัวเข้าคุกไปแล้ว
       
       คดีนี้ 21 มิ.ย.2550 คณะอัยการนำโดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นำคำฟ้องจำนวน 19 หน้า ที่นายพชร ยุติธรรมดำรง อัยการสูงสุด(ขณะนั้น)ลงนามเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น เป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 100 และ 122 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ในการทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก จำนวน 33 ไร่มูลค่า 772 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูกิจการและสถาบันการเงิน อันเป็นการซื้อขายที่ดินต่ำกว่าราคาประเมิน 4,200 ล้านบาท โดยท้ายฟ้องอัยการขอให้ศาลริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดและได้มาจากการกระทำความผิด คือที่ดินรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
       
       โดยหลักฐานสำคัญที่จะลงโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ หลังจากจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลและกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาชำระก่อนวันที่ 29 ธ.ค.2546 ซึ่งต่อมาได้มีการทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์พร้อมส่งมอบที่ดินวันที่ 30 ธ.ค.2546 โดยการทำนิติกรรมจำเลยที่ 1 (ทักษิณ)ได้ลงนามยินยอมพร้อมแสดงสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทข้าราชการการเมืองตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งการประกาศขายที่ดินโดยวิธีประกวดราคาวันที่ 25 พ.ย.2546 น่าเชื่อว่ามีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพราะ 1) การประกวดราคาไม่กำหนดราคาที่ดินขั้นต่ำ 2) กำหนดวางเงินในการยื่นซอง 100 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า 10% ของราคากลาง และ3) มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาคารภายหลังที่จำเลยที่ 2 ประมูลได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น
       
       26 มิ.ย.50 ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษา ขณะที่ ทักษิณ และ พจมาน ยังล่องหนอยู่ต่างประเทศ พร้อมกับได้ใช้ความพยายามที่จะไม่กลับมาต่อสู้คดี หลากหลายเล่ห์เหลี่ยม ไม่ว่าจะอ้างเรื่องความไม่ปลอดภัย ทำให้ศาลต้องออกหมายจับ และปิดหมายยังบ้านพักของจำเลยทั้ง 2 ขณะที่อัยการ ก็ใช้ความพยายาม ประสานขอตัวส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ไม่เป็นผล ทำอะไร ทักษิณ และ พจมาน ไม่ได้
       
       10 ก.ค.50 องค์คณะผู้พิพากษา มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ภริยา ตกเป็นจำเลยที่ 1-2 เต็มตัว พร้อมกับให้ส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองทราบมาศาลฎีกาฯนัดแรกวันที่ 14 ส.ค.นี้ เวลา 13.30 น.ตามที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ที่บ้านพักจันทร์ส่องหล้า เลขที่ 472 ถ.จรัญสนิทวงศ์ 69 แขวง-เขตบางพลัด และจำเลยที่ 2 บ้านพักเลขที่ 526 ถ.พระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม.
       
       25 ก.ย.50 ทักษิณ ยิ้มร่า หลัง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว จนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาศาล ซึ่งถือเป็นการต่อลมหายใจของ จำเลยโกงชาติ อีกครั้งหนึ่ง
       
       28 ก.พ.51 จำเลยทักษิณ กลับมาสู้คดี หลังพรรคพลังประชาชน ยึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ โดยภาพอดสูที่ ทักษิณ ได้สร้างภาพต่อสายตาลิ่วล้อคือ กราบพื้นสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่ร่วมกันโกง และหลังรายงานตัวต่อศาล ทักษิณ และ พจมาน ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ แต่ต้องแจ้งให้ศาลทราบ
       
       30 เม.ย.51 การต่อสู้คดีในชั้นศาล เริ่มขึ้น โดยฝ่ายจำเลยยื่นพยาน 22 ปาก สู้คดีโดยยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด ขณะที่อัยการโจทก์ยื่นบัญชีพยาน 42 ปาก โดยศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์วันที่ 8 , 15 , 22 , 25 และ 29 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. และนัดไต่สวนพยานจำเลยทั้งสอง วันที่ 1,5,15 ,19 และ 22 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น.โดยให้นัดไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมไว้ในวันที่ 26 , 29 ส.ค. และ 2 ก.ย. เวลา 09.30 น.
       
       และนี่คือ คดีสำคัญที่ประชาชนคนในชาติ ต้องติดตาม ว่า ตอนจบของคดี คนโกงชาติ ขายชาติ จะมีคำพิพากษาออกมาอย่างไร.....


สรุปตารางการดำเนินคดี

ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์ วันที่ 8 , 15 , 22 , 25 และ 29 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น.

ศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยทั้งสอง วันที่ 1,5,15 ,19 และ 22 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น.

ศาลนัดไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมไว้ในวันที่ 26 , 29 ส.ค. และ 2 ก.ย. เวลา 09.30 น.

เป็นอันว่า วันที่ 2 กันยายน การไต่สวนทั้งหมดจะเสร็จสิ้น หลังจากนั้นศาลจะทำการพิจารณา และนัดวันอ่านคำพิพากษา ซึ่งตามที่เคยสังเกตมานั้นไม่น่าจะเกิน 1 เดือนหลังไต่สวนพยานเสร็จสิ้น

ดังนั้น คำพิพากษาน่าจะออกมาในราวๆเดือน ตุลาคม 2551 เป็นอันได้รู้ผลกัน

หากศาลรัฐธรรมนูญชี้สถานะของ คตส. ในส่วนที่เกี่ยวกับการต่ออายุว่าถูกต้อง คดีก็จะสรุปได้ในราวๆนี้แหละค่ะ ตุลาคม 2551 อีก 4 เดือนนับจากนี้

นี่คือช่วงเวลาที่จะต้องยับยั้งไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้มคดี หากในสี่เดือนนี้รัฐฐาลยังคงเป็นอย่างที่เป็นอยู่ในวันนี้ ก็ต้องออกแรงกันเหนื่อยหน่อน แต่หากรัฐบาลเปลี่ยนโฉมหน้า นายใหญ่นายหญิงท่าจะต้องลี้ภัยอีกครั้ง ก่อนการตัดสินคดี

 


บันทึกการเข้า
คิคิ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 271



« ตอบ #1 เมื่อ: 27-06-2008, 06:06 »

รอ ตระกูลนรก
จบเกมส์
ยื้อมานานแล้ว
บันทึกการเข้า
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #2 เมื่อ: 27-06-2008, 08:49 »

ตารางเวลานัดสืบพยานที่คุณพรรณชมพูนำมา ผมมีข้อสงสัยว่า .. ถ้าจำเลยขอเลื่อนนัดด้วย

สาเหตุต่างๆไปเรื่อยๆเพื่อให้ึคดียืดเยื้อไปเป็นปี จะทำได้ไหม   

...
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 27-06-2008, 09:17 »

ตารางเวลานัดสืบพยานที่คุณพรรณชมพูนำมา ผมมีข้อสงสัยว่า .. ถ้าจำเลยขอเลื่อนนัดด้วย

สาเหตุต่างๆไปเรื่อยๆเพื่อให้ึคดียืดเยื้อไปเป็นปี จะทำได้ไหม   

...

ว่าด้วยตัวจำเลยทั้งสอง การให้ปากคำนั้นจำเลยคงจะให้ปากคำเพียงวันเดียวเท่านั้นค่ะ วันใดก็ได้กรมัง นี่เดานะคะ ส่วนในแต่ละวันที่ศาลนัดสอบพยายนั้น จะมีการสอบหลายปากแน่นอน ปากหนึ่งไม่มา ปากอื่นๆก็ขึ้นให้การก่อนได้

ฝ่ายจำเลยยื่นพยาน 22 ปาก อัยการโจทก์ยื่นบัญชีพยาน 42 ปาก

จำเลยทั้งสองนั้นอยู่ในระหว่างการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี หากมีพฤติกรรมอันเชื่อได้ว่า หลบเลี่ยงไม่มาให้ปากคำ ก็อาจจะถูกถอนประกันได้ และในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ดำเนินคดี หากจำเลยอ้างว่าป่วย ก็คงต้อง่วยในประเทศค่ะ ระหว่างนี้คงออกไปต่างประเทศไม่ได้ อีกทั้งจำเลยต้องไปรายงานตัวต่อศาลเป็นระยะ ก็ไปแบบวันที่ถุงขนมสองล้านทำพิษนั่นแหละค่ะ ตัวต้องไปรายงานตัวเองด้วย ส่งทนายไปแทนก็ไม่ได้

เชื่อว่าการเตะถ่วงอาจจะมีบ้าง แต่ทำได้ไม่นานค่ะ ไม่น่าเกินกำหนดที่ศาลวางไว้แน่นอน อีกทั้งพยานหลายคนก็เป็นเจ้าหน้าทีของรัฐ ได้รับหมายศาลให้มาให้การ เบี้ยวไม่ได้ค่ะ เดี๋ยวงานเข้า 
บันทึกการเข้า
NN
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 230


« ตอบ #4 เมื่อ: 27-06-2008, 10:22 »


ให้เวลา "จำเลย" เต็มที่ ครับ อยากเตะถ่วง อยาก ง้องแง้ง เชิญ มีเวลาให้เหลือเฟือ

ข้ออ้างของฝ่ายสามี น่าจะมีโอกาสแว๊บไปอังกฤษได้ ช่วงเปิดฤดูกาล แต่จะกล้าทิ้งภรรเมีย ให้โด่เดี่ยวหรือ ?

เรารอได้ แต่อย่าเอาขนมถูกๆ มาอีกละกัน   
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #5 เมื่อ: 27-06-2008, 19:07 »

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=38217&catid=1

อ้างถึง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดวาระการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 30 มิถุนายน เวลา 08.30 น. วันที่ 1 กรกฎาคม เวลา 09.30 น. และวันที่ 3 กรกฎาคม เวลา 09.30 น. สำหรับเรื่องที่คณะตุลาการได้กำหนดในการพิจารณาได้แก่เรื่อง ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งคำโต้แย้งของจำเลย เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ว่าประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30  เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 พ.ศ.2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของคตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 29 หรือไม่

นอกจากนี้ ยังได้มีการกำหนดพิจารณากรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของส.ว. เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา182 วรรคหนึ่ง (7) และมาตรา 269 ประกอบมาตรา 182 วรรคสาม และมาตรา91  รวมทั้งจะมีการพิจารณากรณีร่าง พ.ร.บ.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินพ.ศ... ตราขึ้นโดยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และจะมีการพิจารณาเรื่องที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ.2518 มาตรา 6 วรรค 1 (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประธานก.ร. ของประธานรัฐสภาและการเป็นรองประธานก.ร. ของรองประธานรัฐสภา) พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้าพ.ศ.2541 มาตรา 8(1) (2) (3) (เฉพาะกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร) และ(4) และพ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมืองพ.ศ.2551 มาตรา 7(3)และ(5) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา 265 และมาตรา 266 หรือไม่

งานแรกของศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ที่จะมีคำวินิจฉัยออกมา ได้แก่เรื่องการต่ออายุของ คตส. ซึ่งกำหนดพิจารณาในสันที่ 30 มิถุนายน 2551 เฉียดฉิวกับการสืบพยานนัดแรก ของคดีที่ดินรัชดา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2551

หากการต่ออายุของ คตส.ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ นั่นหมายถึงคดีนี้จะต้องกลับไปเริ่มต้นที่ ปปช.ใหม่อีกครั้ง ต่อลมหายใจให้ทักษิณไปได้อีกระยะหนึ่ง และการเมืองทั้งในและนอกสภา จะถึงจุดเดือดได้โดยง่าย เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะถูกหยิบยกขึ้นมาอีกหน

แต่หากการต่ออายุของ คตส. ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ วันรุ่งขึ้นจากการตัดสิน คดีที่ดินรัชดาจะเดินหน้าเต็มสปีด และลางร้ายก็มาถึงทักษิณแล้ว

วันที่ 30 มิถุนายน 2551 วันชี้ชะตาอีกครั้งหนึ่งของ ทักษฺณ ชินวัตร 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 30-06-2008, 17:35 »

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000076630

อ้างถึง
ศาล รธน.มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียง ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของ คตส.ไม่ขัดหรือแย้งกับ รธน.รวมถึงการต่ออายุการทำงานไปจนถึง 30 มิ.ย. ชี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้ คตส.ทำงานต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ถือว่าเป็นการตั้งองค์กรใหม่ และประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ได้รับการคุ้มครองตาม รธน.มาตรา 309
           
       วันนี้ (30 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ที่มี นายชัช ชลวร เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณาคดีเป็นครั้งแรกในคำร้องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ. 2549 พ.ศ.2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของคตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
       
       ภายหลังการประชุมฯ ซึ่งนายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ทีประชุมฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค.เป็นผู้มีอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้งคตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้คตส. สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค. หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะคปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย. 49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้
       
       ส่วนประเด็นการออก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย.2549 พ.ศ. 2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของคตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.51 ก็มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะกระทำเพื่อให้เกิดการต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของคตส. ให้การทำงานของคตส.ไม่สะดุดหยุดลง เป็นการดำเนินการที่อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของคตส.ที่มีอยู่แต่เดิม ไม่ได้เป็นการเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคตส.แต่อย่างใด ทั้งไม่ได้เป็นการจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 309 แล้ว ซึ่งทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้ส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไปยังศาลฎีกาฯในวันนี้ (1 ก.ค)
       
       อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (1 ก.ค.) คณะตุลาการฯจะได้มีการพิจารณาคำร้องที่บรรจุระเบียบวาระไว้ ประกอบด้วย กรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภาขอให้พิจารณาการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข โดยจะยังคงเป็นการอภิปรายทั่วไปในส่วนคำโต้แย้งของคู่กรณีที่ส่งมาให้พิจารณา ยังไม่มีการนัดแถลงด้วยวาจาเพื่อลงมติ
       
       นอกจากนี้ก็จะมีการพิจารณาในคำร้องร่างพ.ร.บ.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินพ.ศ.ว่าตราขึ้นโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ และพิจารณาในกรณีที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 มาตรา 6 วรรค 1 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประธาน ก.ร. ของประธานรัฐสภาและการเป็นรองประธานก.ร. ของรองประธานรัฐสภา) พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้าพ.ศ.2541 มาตรา 8(1) (2) (3) เฉพาะกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร) และ(4) และพ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ.2551 มาตรา 7(3) และ(5) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 265 และมาตรา 266 หรือไม่
       
       เมื่อถามว่า คณะตุลาการจะมีการเร่งพิจารณากรณีของนายไชยา และนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พานิชย์ หรือไม่ เพราะรัฐบาลอ้างว่าจะรอการพิจารณาก่อนตัดสินใจปรับ ครม. นายไพบูลย์ กล่าวว่า การพิจารณาคำร้องต่างๆ ของตุลาการจะคำนึงถึงการอำนวยความยุติธรรม ให้เป็นไปอย่างเที่ยงธรรมที่สุดจะไม่มีการนำประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำร้องมาพิจารณา โดยจะพิจารณาจากคำโต้แย้งของคู่กรณีเท่านั้น

ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นอันสิ้นสุดแล้ว งานที่ คตส.ทำมาทั้งหมดถูกต้องตามกฎหมาย คดีที่ คตส.ส่งฟ้องผ่านอัยการสูงสุดคือคดีที่ดินรัชดา ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในวันที่ 1 กรกฏาคม 2551 เดินหน้าได้โดยไม่มีอุปสรรค์ ผิดถูกว่ากันไปตามพยานหลักฐาน

พรุ่งนี้ (1 ก.ค. 2551) รอลุ้นระทึก ว่าศษลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีการถอนประกันจำเลย เพราะมีพฤติกรรมร่วมกับทนายละเมิดอำนาจศาลหรือไม่

อย่ากระพริบตา 
บันทึกการเข้า
fineday
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 54


« ตอบ #7 เมื่อ: 30-06-2008, 20:19 »


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000076630

ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นอันสิ้นสุดแล้ว งานที่ คตส.ทำมาทั้งหมดถูกต้องตามกฎหมาย คดีที่ คตส.ส่งฟ้องผ่านอัยการสูงสุดคือคดีที่ดินรัชดา ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในวันที่ 1 กรกฏาคม 2551 เดินหน้าได้โดยไม่มีอุปสรรค์ ผิดถูกว่ากันไปตามพยานหลักฐาน

พรุ่งนี้ (1 ก.ค. 2551) รอลุ้นระทึก ว่าศษลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีการถอนประกันจำเลย เพราะมีพฤติกรรมร่วมกับทนายละเมิดอำนาจศาลหรือไม่

อย่ากระพริบตา 


ลุ้นกว่าผลบอลอีกนะเนี่ย   

ดูท่าว่า ถึงแม้วจะติดคุกก็คงไม่ลำบากมาก เพราะมีอาชีพใหม่รองรับ --- โหรแม้ว แม่นแม่น 
บันทึกการเข้า
thecat
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 64


« ตอบ #8 เมื่อ: 30-06-2008, 20:48 »

ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า อดิตนายกรัฐมนตรีไทยติดคุก
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #9 เมื่อ: 01-07-2008, 18:11 »

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000077314

อ้างถึง
ศาลฎีกาคดีที่ดินรัชดาฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คำฟ้องอัยการโจทก์ อ้างกฎหมาย ป.ป.ช.จำกัดสิทธินักการเมืองทำสัญญากับรัฐ ขัดรัฐธรรมนูญ เรื่องเสรีภาพการประกอบการโดยเสรีหรือไม่ ระหว่างรอผลวินิจฉัยให้ไต่สวนไปก่อนเริ่มไต่สวนพยานโจทก์นัดแรก 8 ก.ค.นี้
       
       วันนี้ (1 ก.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาอาวุโสเจ้าของสำนวนคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก หมายดำที่ อม.1/2550 พร้อมองค์คณะทั้ง 9 คน นัดพร้อมคู่ความ คดีที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้เสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้นเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 มาตรา 4, 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 86, 90, 91, 152 และ 157 และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ขอให้ศาลสั่งริบเงินจำนวน 772 ล้านบาท
       
       โดยในวันนี้ ศาลได้อ่านคำสั่งที่จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 23 มิ.ย.51 โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และขอให้ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยรวม 6 ข้อ
       
       โดยองค์คณะผู้พิพากษาพิเคราะห์คำร้องของจำเลยทั้งสองดังกล่าวแล้ว เห็นว่า คำร้องในข้อ 1.ที่โต้แย้งว่า บทบัญญัติ ม.100 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ขัดหรือแย้งกับ ม.50 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 หรือขัดแย้งกับ ม.3 และ ม.38 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 และขัดหรือแย้งกับ ม.43 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่นั้น เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติ ม.6 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 (ระบุว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้) และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น จึงให้ส่งเรื่องไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
       
       คำร้องของจำเลย ข้อ 2 ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติที่เป็นคำปรารภและ ม.1-133 และ ม.4, ม.100 และ ม.144 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ขัดหรือแย้งกับ ม.29 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ขัดหรือแย้งกับ ม.3 และ ม.38 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 และขัดหรือแย้งกับ ม.29 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่นั้น เห็นว่าคำร้องของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ยกเว้นบทบัญญัติ ม.4, ม.100 และ ม.122 ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้ จึงไม่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้ยกคำร้องในส่วนนี้
       
       คำร้องของจำเลยทั้งสอง คงมีเพียงข้อโต้แย้ง ที่ว่า ม.4, ม.100 และ ม.122 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ขัดหรือแย้งกับ ม.3 และ ม.38 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 และขัดหรือแย้งกับ ม.29 (โดยเนื้อหาคำร้องขอให้วินิจฉัย ม.26-28, ม.39 และ ม.43) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่เท่านั้น ที่เป็นการโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติ ม.6 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น จึงให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
       
       ส่วนคำร้องของจำเลยทั้งสองในข้อ 3-6 ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส.ข้อ 2 และ ข้อ 5 ขัดหรือแย้งกับ ม.3, ม.29-30 และ ม.39 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 นั้น ศาลนี้ได้ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในคดีหมายดำที่ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) แล้ว และศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส.ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 มิได้มีบทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ไม่ว่าจะเป็นบทมาตราใด ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2551 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ ม.211 ของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ให้ยกคำร้องในส่วนนี้
       
       ดังนั้น จึงให้ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติ ม.4, ม.100 และ ม.122 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ที่ระบุว่า ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญากับหน่วยงานของรัฐที่ตนเองกำกับดูแล ขัดหรือแย้งกับ ม.29 และ ม.50 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ขัดหรือแย้งกับ ม.3 และ ม.38 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 และขัดหรือแย้งกับ ม.26, ม.27, ม.28, ม.39 และ ม.43 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการประกอบกิจการและเข้าแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่ โดยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเร็ว
       
       ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ม.211 ระบุว่า ในระหว่างที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรม ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้ แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงให้ดำเนินกระบวนการไต่สวนพยานโจทก์ต่อไปตามกำหนดนัดเดิมในวันที่ 8 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. พร้อมกันนี้ องค์คณะผู้พิพากษาได้กำชับให้คู่ความเตรียมพยานให้พร้อมเข้าไต่สวนตามกำหนดนัด หากพยานรายใดไม่มาให้เตรียมพยานปากอื่นเข้าเบิกความ โดยศาลจะพิจารณาดำเนินการไต่สวนตามกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัด
       
       ภายหลัง นายเอนก คำชุ่ม ทนายความ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ให้รับผิดชอบว่าความคดีนี้ร่วมกับนายคำนวน ชโลปถัมป์ ซึ่งในวันนี้ได้ยื่นคำถามค้านพยานโจทก์ และคำถามพยานจำเลยให้ศาลเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในการไต่สวนพยานโจทก์นัดแรกวันที่ 8 ก.ค.นี้ทราบว่าอัยการจะนำพยานเข้าเบิกความ 4 ปาก แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใดบ้าง อย่างไรก็ตามไม่รู้สึกหนักใจที่จะต้องรับผิดชอบคดีนี้เพราะตนเป็นผู้จัดเตรียมเอกสารหลักฐานคดีนี้ตั้งแต่แรก ได้อ่านเอกสารหลักฐานทั้งของ คตส. และอัยการหมดแล้ว จึงรู้ว่าคดีนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ทำผิดหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร ทุกวันนี้คนคิดไปเอง อยากให้อดใจรอฟังคำตัดสินของศาลดีกว่า
       
       นายเอนก กล่าวถึงการยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งประเด็นข้อกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมวินิจฉัยตีความ ว่า นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ ได้ยื่นต่อศาลไว้ก่อนหน้านี้รวม 6 ประเด็น ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในประเด็น กฎหมายบางมาตราของ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หรือไม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยในส่วนนี้ แต่ให้ยกคำร้องประเด็นประกาศ คปค.ฉบับ 30 เรื่อง คตส. เพราะศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า ไม่ขัดบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญ
       
       ด้าน นายคำนวน กล่าวว่า ตนและเพื่อนทีมทนายความในคดีนี้ได้เตรียมพร้อมต่อสู้คดีมาเป็นอย่างดี และจะนำเสนอข้อเท็จจริงในคดีนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อไป
       
       ขณะที่ นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการเขต 8 คณะทำงานอัยการคดีนี้ กล่าวว่า อัยการไม่ทราบมาก่อนว่าทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อสู้ประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ และศาลไม่ได้สำเนาคำร้องให้ทราบ ก็เป็นสิทธิที่จำเลยจะต่อสู้ ส่วนตัวไม่แปลกใจเพราะประเด็นที่จำเลยสู้เป็นเรื่องอ้างถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพมาตั้งแต่แรก แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถประวิงคดีได้ เนื่องจากศาลมีคำสั่งไต่สวนตามกำหนดนัดเดิม ส่วนพยานอัยการเตรียมความพร้อมเข้าสืบครบ 22 ปากตามที่แจ้งต่อศาล
       
       ด้าน นายรักเกียรติ วัฒนพงษ์ เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา กล่าวว่า ขณะนี้แผนกฯ ได้รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2551 (หวยบนดิน) แล้ว และเตรียมประสานเพื่อแจ้งให้องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนทราบเพื่อประชุมและนัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่ต่อไป

หมดท่าแล้วค่ะ เล่นเล่ห์บิดพริ้วยื่นตีความไปเรื่อยๆ แต่ศาลท่านก็ไม่ว่ากระไร แต่เรียกสอบพยานไปตามกำหนดเวลา เมื่อสอบปากคำกันจนเสร็จสิ้น ก็รอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยข้อขัดแย้ง ที่พยายามสรรหามาอ้าง สาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเสร็จเมื่อไหร่ ก็จะทำการพิพากษาต่อไป

การพยายามลากไปให้ตีความว่า กฎหมาย ปปช.ขัดแย้งรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงการยอมรับข้อเท็จจริงหนึ่งแล้วว่า จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเข้าทำสัญากับหน่วยงานของรัฐจริง จึงได้พยายามโต้แย้งในประเด็นนี้

กฏหมาย ปปช. ออกมาโดยรัฐสภา ใช้งานมานานหลายปี อันที่จริงก็รู้ๆกันอยู่ว่า ไม่ขัดอะไรตามที่จำเลยอ้างมาหรอก แต่มันแสดงให้เห็นว่า จนตรอกในข้อกฏหมายที่จะนำมาสู้คดีแล้ว 

ขอดันกระทู้นี้ไว้เรื่อยๆด้วยข้อมูลใหม่ๆนะคะ คิดว่าจะได้ข้อสรปุปิดกระทู้ในอีกไม่เกิน 100 วันแล้ว

เอาไว้ฉลองตอนส่งอดีตนายกรัฐมนตรี เข้าคุก ค่ะ 
บันทึกการเข้า
มารุจัง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,761


@^____^@


« ตอบ #10 เมื่อ: 01-07-2008, 18:17 »

ดิ้นรน ยื้อเวลาไปเรื่อย
สุดท้ายก็จบลงที่คุก
จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

เฮ้อ.. เรื่องดี ๆ มีให้ทำเยอะแยะ ดันไม่ทำ
ทำแต่เรื่องชั่ว ๆ โกง ๆ แล้วสุดท้ายก็ยังต้องมาดิ้นรนเพื่อยื้อเวลาเดินเข้าคุก..

 
บันทึกการเข้า


ประชาธิปไตย มิได้จบอยู่แค่การเลือกตั้ง
ปล.รูปจากเวบ ผจก.
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #11 เมื่อ: 03-07-2008, 17:42 »

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000078345

อ้างถึง
“ศาลฎีกานักการเมือง” ยกคำร้อง “ทักษิณ” ขอเดินทางออกนอกประเทศ ไปจีน-อังกฤษ-ญี่ปุ่น ตั้งแต่ 27 มิ.ย.เหตุคำร้องยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ
       
       วันนี้ (3 ก.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง มีรายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก มอบหมายทนายความยื่นคำร้องต่อองค์คณะคดีทุจริตซื้อขายที่ดินฯ เพื่อขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ โดยระบุที่จะเดินทางไปประเทศจีน และอังกฤษ ซึ่งหลังจากเดินทางกลับมาแล้วจะขอเดินทางไปประเทศจีน และญี่ปุ่นอีก และหลังจากกลับมาก็จะขอเดินทางไปประเทศจีนอีกครั้ง โดยจะเริ่มเดินทางไปในวันที่ 27 มิ.ย. แต่ทั้งนี้ องค์คณะฯ พิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่าช่วงเวลาที่จำเลยจะขอเดินทางไปต่างประเทศตามคำร้องนั้นคดีอยู่ระหว่างศาลไต่สวนพยานหลักฐานและคำร้องยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ จึงสั่งยกคำร้อง
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสั่งยกคำร้องดังกล่าวมีผลเฉพาะคำร้องลงวันที่ 24 มิ.ย.เท่านั้น หาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกประเทศก็สามารถยื่นคำร้องใหม่ต่อศาลได้ ซึ่งศาลจะอนุญาตหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจขององค์คณะฯ
       
       อย่างไรก็ตาม มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า คำสั่งยกคำร้องของศาลในครั้งนี้อาจจะเป็นการปราม พ.ต.ท.ทักษิณ ให้หยุดการกระทำในลักษณะที่ท้าท้ายอำนาจศาล เนื่องจากก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ขอศาลพิจารณาคดีลับหลังจำเลยและศาลได้อนุญาตตามคำร้อง อีกทั้งเป็นที่น่าสังเกตุว่า การยื่นขอเดินทางไปต่างประเทศ ในวันที่ 24 มิ.ย.51 เป็นการยื่นก่อนวันที่ศาลฎีกาจะอ่านคำพิพากษาในคดีที่ นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนาย และนายธนา ตันศิริ กรณีอุกอาจนำถุงขนมสอดไส้เงินสด 2 ล้านบาท ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ธุรการ ซี 5 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพียง 1 วัน คือวันที่ 25 มิ.ย.51
       
       นอกจากนั้น จากผลแห่งคำพิพากษาของ ศาลฎีกาที่ได้ลงโทษสถานหนักจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้ดำเนินคดีฐานติดสินบนศาลทั้ง 3 คน คำพิพากษาของศาล ระบุชัดว่า เกี่ยวเนื่องจากคดีความที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดา อีกทั้ง มีความเป็นไปได้ที่พนักงานสอบสวนจะเรียกตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มาทำการสอบปากคำ หากพบว่า มีความเกี่ยวโยงกับเงิน 2 ล้านบาท ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเดินทางออกนอกประเทศดังกล่าวเสีย

ปรากฏแน่ชัดแล้วว่า จำเลยคดีที่ดินรัชดาทั้งสอง ต้องอยู่ในประเทศไทยไปพลางๆก่อน ในระหว่างการสอบพยานเพื่อดำเนินคดีนี้ ดังนั้นหากศาลไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองก็ออกนอกประเทศไม่ได้ หากมีการลักลอบเดินทางออกไป ก็เท่ากับขัดคำสั่งศาล ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีความผิดเพิ่มขึ้นอีกกระทงหนึ่ง

ครั้งนี้จะเห็นว่า การดำเนินการของศาลเฉียบขาด อันน่าจะมาจากเรื่องถุงขนมสองล้าน เพราะเป็นคดีที่สั่นสะเทือนสังคมเป็นอันมาก ต้องคอยจับตามองคดีนี้ให้ดี อย่าได้พลาด เพราะการสอบพยานจะเสร็จสิ้นภายใน 30 วันนี้ และการตีความของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่จำเลยร้องคัดค้าน ศาลฎีกาได้ขอให้พิจารณาโดยเร่งด่วน เป็นไปได้อย่างมากว่าการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ จะเสร็จสิ้นก่อนขั้นตอนการสอบพยาน

มีลางสังหรณ์ส่วนตัว อันไม่เกี่ยวกับเหตุผลใดๆ คาดว่าจำเลยทั้งสองอาจจะหายตัวในเร็ววันนี้ 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #12 เมื่อ: 03-07-2008, 21:44 »

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=39128&catid=1

อ้างถึง
ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือก'2 รองประธานศาลฎีกา 5 ประธานแผนก และอีก 2 ผู้พิพากษาอาวุโส' เป็นองค์คณะผู้พิพากษาคดีเอ็กซิมแบงก์ ที่ คตส.ฟ้อง 'ทักษิณ' นัดฟังคำสั่ง 30 ก.ค.นี้ 10.00 น. ส่วนคดีหวยบนดิน องค์คณะนัดฟังคำสั่ง 28 ก.ค.นี้ บ่ายสอง

นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อเลือกตั้งองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 9 คน เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 กรกฎาคม ที่ศาลฎีกา สนามหลวง เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อม.3/2551 ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดุแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 157 ที่เห็นชอบให้เอ็กซิมแบงก์อนุมัติปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท ในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของพม่า เพื่อหวังประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียมที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ จากบริษัทชินแซทเทอร์ไลท์ บริษัทในเครือชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร

การเลือกองค์คณะใช้วิธีลงคะแนนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 13 ซึ่งผลการลงคะแนนโดยที่ประชุมใหญ่ ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกมีรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนดังนี้

1. นายปัญญา สุทธิบดี รองประธานศาลฎีกา 2.นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา 3.นายมงคล ทับเที่ยง รองประธานศาลฎีกา 4.นายองอาจ โรจนสุพจน์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา 5.นายวีระศักดิ์ รุ่งรัตน์ ประธานแผนกคดีคุ้มครองผู้บริโภคในศาลฎีกา 6.นายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา 7.นายพลรัตน์ ประทุมทาน ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกา 8.นายเสริมศักดิ์ ผลัดธุระ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และ9.นายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 จะประชุมเลือกผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและพิจารณาคำฟ้องของ คตส.เพื่อมีคำสั่งรับฟ้องหรือไม่รับฟ้องต่อไป ซึ่งศาลฎีกาฯนัดฟังคำสั่งในวันที่ 30 กรกฎาคม นี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องพิจารณาคดีศาลฎีกาฯ

ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกาจะปิดประกาศรายชื่อองค์คณะไว้ที่หน้าศาลฎีกา ให้คู่ความทราบเพื่อยื่นคำร้องคัดค้านตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 4

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้พิพากษาจำนวน 9 คนที่ได้รับเลือกเป็นองค์คณะในคดีเอ็กซิมแบงก์ดังกล่าวมีผู้พิพากษาจำนวน 6 คนที่มีรายชื่อเป็นองค์คณะคดีทุจริตโครงการออกสลากเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน) ด้วย คือ  นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา นายองอาจ โรจนสุพจน์ ประธานแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา นายวีระศักดิ์ รุ่งรัตน์ ประธานแผนกคดีคุ้มครองผู้บริโภคในศาลฎีกา นายวิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์ ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา นายพลรัตน์ ประทุมทาน ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกา และนายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

ขณะที่องค์คณะผู้พิพากษาคดีหวยบนดินซึ่งมี นายรุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์ รองประธานศาลฎีกาเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่ในวันที่ 28 กรกฎาคม นี้ เวลา 14.00 น

ตามมาติดๆอีกสองคดีค่ะ 
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #13 เมื่อ: 03-07-2008, 22:39 »

คำถามไม่เกี่ยวกระทู้ แต่คุณพรรณ ดูจะเข้าใจกระบวนการยุติธรรม ผมอยากทราบว่า (คือผมพอเข้าใจประเด็น มีพื้นความเข้าใจพอสมควร แต่ไม่รู้รายละเอียด ประมาณการเวลาไม่ค่อยถูก แต่ผมถนัดในการวิเคราะห์สถานการณ์ ในเชิงกลยุทธ์ครับ)
  • ถ้าวันที่ 8 ก.ค.ศาลฎีกาตัดสินยุทธ ตู้เย็นผิด อยากทราบว่า จะส่งผลให้พรรคพลังประชาชนถูกยุบ เมื่อไรครับ
  • และถ้า พปช.ถูกยุบ ก่อน นายสมัครถูกคดีใดๆก็ตาม จะส่งผลต่อสถานภาพของรัฐบาลอย่างไร (พูดง่ายๆ รัฐบาลจะเจ๊งเมื่อไรและอย่างไร)

คุณพรรณ หรือ ผู้รู้ท่านใด ก็ได้ครับ อยากรู้จริงๆ
ขอบคุณครับ[/color] 
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #14 เมื่อ: 04-07-2008, 09:13 »

คำถามไม่เกี่ยวกระทู้ แต่คุณพรรณ ดูจะเข้าใจกระบวนการยุติธรรม ผมอยากทราบว่า (คือผมพอเข้าใจประเด็น มีพื้นความเข้าใจพอสมควร แต่ไม่รู้รายละเอียด ประมาณการเวลาไม่ค่อยถูก แต่ผมถนัดในการวิเคราะห์สถานการณ์ ในเชิงกลยุทธ์ครับ)
  • ถ้าวันที่ 8 ก.ค.ศาลฎีกาตัดสินยุทธ ตู้เย็นผิด อยากทราบว่า จะส่งผลให้พรรคพลังประชาชนถูกยุบ เมื่อไรครับ
  • และถ้า พปช.ถูกยุบ ก่อน นายสมัครถูกคดีใดๆก็ตาม จะส่งผลต่อสถานภาพของรัฐบาลอย่างไร (พูดง่ายๆ รัฐบาลจะเจ๊งเมื่อไรและอย่างไร)

คุณพรรณ หรือ ผู้รู้ท่านใด ก็ได้ครับ อยากรู้จริงๆ
ขอบคุณครับ[/color] 

กรณียุทธตู้เย็น หากถูกใบแดง เรื่องก็ต้องย้อนกลับไปที่ กกต. เพื่อทำสำนวนยุบพรรค ดูได้จากคดีของพรรคชาติไทยและมัฌชิมาที่มีลักษณะคล้ายกัน และนี่เพิ่มพรรคเพื่อแผ่นดินเข้ามาอีกพรรคหนึ่ง

แต่จากกรณีพรรคชาติไทยและมัฌชิมา จะเห็นได้ว่าเรื่องยุบพรรคยังไปรอคิวอยู่ที่ไหนไม่ทราบ ทั้งๆที่ได้ใบแดงไปตั้งแต่หลังเลือกตั้ง หลายเดือนแล้ว จึงคาดว่ากรณีพรรคพลังประชาชน คงใช้เวลาไม่น้อยกว่าครึ่งปีกระมัง เดาเอานะคะ เพราะไม่รู้จะกำหนดเวลาได้อย่างไรจริงๆ 

แต่หากพรรคพลังประชาชนถูกยุบ และรัฐบาลยังจับขั้วอยู่อย่างนี้ หากเป็นพรรคเดียวที่ถูกยุบหมายถึงพรรคอื่นๆที่เหลือยังไม่ถูกยุบ กรรมการบริหารพรรคก็หมดสภาพ รวมถึงตัวหัวหน้าพรรคด้วยก็ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป แต่สมาชิกรรคอื่นๆก็ไม่หมดสภาพไปด้วย จะต้องไปหาพรรคสังกัดภายในเวลาที่กำหนด น่าจะราวๆ 30 วัน แล้วก็ทำงานในสภาต่อไปได้ ขั้นตอนต่อไปหลังไม่มีนายกรัฐมนตรี ก็คือโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีกันใหม่ในสภาค่ะ 
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #15 เมื่อ: 04-07-2008, 13:34 »

เนื่องจากผมโฟกัสที่ การหมดสิ้นของระบอบทักษิณ  ดังนั้น

ประเด็นวิกฤติ (Turning/critical point) คือ การติดคุกของทักษิณจากคดีที่ดินรัชดา ซึ่งคุณพรรณประมาณการที่ กย.-ต.ค.51

อยากทราบว่า มีแนวทางอื่นใด ทางกฏหมาย หรือ ประเด็นวิกฤติอื่นๆ ที่จะโจมตี ให้ทักษิณติดคุก (ไม่นับ รัฐประหาร หรือ การตายจากกรณีใดๆของทักษิณ หรือการหนีออกนอกประเทศ อันเนื่องจากกรณีที่ดินรัชดา) หรือ เป็นเหตุให้ระบอบทักษิณเข้าสู่จุดล่มสลายอย่าง logical/practical อีกหรือไม่ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04-07-2008, 13:38 โดย Agent » บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #16 เมื่อ: 04-07-2008, 15:49 »

เนื่องจากผมโฟกัสที่ การหมดสิ้นของระบอบทักษิณ  ดังนั้น

ประเด็นวิกฤติ (Turning/critical point) คือ การติดคุกของทักษิณจากคดีที่ดินรัชดา ซึ่งคุณพรรณประมาณการที่ กย.-ต.ค.51

อยากทราบว่า มีแนวทางอื่นใด ทางกฏหมาย หรือ ประเด็นวิกฤติอื่นๆ ที่จะโจมตี ให้ทักษิณติดคุก (ไม่นับ รัฐประหาร หรือ การตายจากกรณีใดๆของทักษิณ หรือการหนีออกนอกประเทศ อันเนื่องจากกรณีที่ดินรัชดา) หรือ เป็นเหตุให้ระบอบทักษิณเข้าสู่จุดล่มสลายอย่าง logical/practical อีกหรือไม่ครับ


การล่มสลายของระบอบทักษิณ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวทักษิณเพียงคนเดียว แต่ระบอบทักษิณเกิดจากนักการเมืองชั่วและนักธุรกิจโฉด เข้ารวมตัวกันเพื่อสรางฐานอำนาจในการปกครองประเทศ และกำหนดนโยบายเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง แต่เดิมนั้นการโกงกินของนักการเมืองและนักธุรกิจ ต่างคนต่างทำ หรือถ้าจะจับมือกันเป็นกลุ่มก็ไม่ใหญ่มากนัก แต่เมื่อทักษิณเข้าสู่วงการเมือง การจับมือกันเพื่อร่วมดำเนินการก็เป็นรูปธรรมเด่นชัด

แต่เชื่อกันว่าหากขาดหัว หางก็ย่อมไม่กระดิก หรือย้ายไปต่างคนต่างกระดิก เพราะเราต้องยอมรับว่า สัดส่วนในการครองอำนาจของทักษิณ มีองค์ประกอบครบ นับตั้งแต่ นักการเมือง นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ และครั้งหนึ่งก้าวไปถึงตุลาการ นั่นเป็นจุดพีคสูงสุดที่กลุ่มนี้ทำได้ และบัดนี้ก็ถึงแก่การเริ่มแตกดับ สลายไปทีละขั้ว จนในที่สุดก็จะแตกกระจัดกระจายอย่างเต็มที่

หากจะถามว่าจะมีเหตุอันใดไหม ที่จะทำให้ระบอบนี้ถึงกาลสิ้นสุดก่อนคดีที่ดินรัชดา ก็อาจจะเดาได้ว่ามีอีกสาเหตุหนึ่ง คือการล่มสลายของรัฐบาลสมัคร ซึ่งนำไปสู่การยุบสภา แล้วเกิดการเลือกตั้ง โดยที่คนในระบอบทักษิณแตกกระจายไปจับขั้วใหม่ และหรือไม่ได้รับเลือกเข้ามามากพอที่จะควบคุมอำนาจรัฐ

แต่ดูท่าทางแล้วคงยาก เพราะวาระสุดท้ายนั้นสุนัขจนตรอกจะกัดสู้ไม่เลือกหน้า เดิมพันก้อนใหญ่อาจจะถูกทุ่มเข้ามาในวงการเมืองการทหาร เพื่อครองอำนาจต่อ โดยหวังจะต่อลมหายใจไปอีกระยะ เผื่อจะพลิกสถานการณ์ได้

เดายากค่ะ จะเอาคำทำนายของหมอดูมาเดาก็คงไม่ถูก เพราะหลายสำนักก็พลาดกันไปหมดแล้ว 
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #17 เมื่อ: 05-07-2008, 14:15 »

ขอบคุณครับ ประเด็นเรื่องระบอบทักษิณ ผมเข้าใจพอสมควร ขออ้างอิงที่เคยโพสต์ ความคิดส่วนตัวนะครับ (Most Favoured Scenario)

แนวคิดหลังพันธมิตรได้ชัยชนะโดย รัฐบาลสมัครลาออกหรือต้องออกด้วยกรณีใดๆ ผมเสนอว่า (บนพื้นฐานกระบวนการประชาธิปไตย ในปัจจุบัน)

1.   ให้มีการเปลี่ยนขั้ว โดย ปชป.เป็นแกนนำ และ ต้องให้อ.สมเกียรติ เข้าร่วม ครม.หรือตำแหน่งใดๆ เพื่อจัดการระบอบทักษิณ อย่างเป็นธรรม ด้วยกระบวนการยุติธรรม (ทุกองคาพยพ ในระบอบทักษิณ เช่น สมชัย กกต. ตำรวจ อัยการ แต่ไม่เชิงเช็คบิลชั่วๆ เป็นเช็คบิล อย่างยุติธรรม)
2.   รบ.ขั้วใหม่ ต้องดำรงอยู่จน กระบวนการยุติธรรม ดำเนินการคดี คตส.เสร็จสิ้น ทั้งหมด หรืออย่างมีนัยสำคัญ (เหลือแต่คดีเล็กๆ)
3.   ให้ริเริ่ม การศึกษา หรือเสนอแนวคิดรูปแบบใหม่ใดๆและแก้ไขรธน. เชิญทุกภาคส่วน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ลดข้อขัดแย้ง
4.   หลังจากนั้น ยุบสภา ด้วยกติกา (รธน.)ใหม่

เหตุผลที่เลือก อ.สมเกียรติ เป็นความเป็นไปได้ทางเทคนิค คือ แกมี potential ในแง่
•   เป็น สส. ปชป. (มีความชอบธรรมในสายตาของสังคม)
•   เป็นคนรู้ข้อมูลระบอบทักษิณ และน่าจะรู้วิธีจัดการอย่างชอบธรรม
•   เป็นพันธมิตรคือเชื่อมต่อแนวคิดจากพันธมิตรได้

บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #18 เมื่อ: 05-07-2008, 18:52 »

ขอบคุณครับ ประเด็นเรื่องระบอบทักษิณ ผมเข้าใจพอสมควร ขออ้างอิงที่เคยโพสต์ ความคิดส่วนตัวนะครับ (Most Favoured Scenario)

แนวคิดหลังพันธมิตรได้ชัยชนะโดย รัฐบาลสมัครลาออกหรือต้องออกด้วยกรณีใดๆ ผมเสนอว่า (บนพื้นฐานกระบวนการประชาธิปไตย ในปัจจุบัน)

1.   ให้มีการเปลี่ยนขั้ว โดย ปชป.เป็นแกนนำ และ ต้องให้อ.สมเกียรติ เข้าร่วม ครม.หรือตำแหน่งใดๆ เพื่อจัดการระบอบทักษิณ อย่างเป็นธรรม ด้วยกระบวนการยุติธรรม (ทุกองคาพยพ ในระบอบทักษิณ เช่น สมชัย กกต. ตำรวจ อัยการ แต่ไม่เชิงเช็คบิลชั่วๆ เป็นเช็คบิล อย่างยุติธรรม)
2.   รบ.ขั้วใหม่ ต้องดำรงอยู่จน กระบวนการยุติธรรม ดำเนินการคดี คตส.เสร็จสิ้น ทั้งหมด หรืออย่างมีนัยสำคัญ (เหลือแต่คดีเล็กๆ)
3.   ให้ริเริ่ม การศึกษา หรือเสนอแนวคิดรูปแบบใหม่ใดๆและแก้ไขรธน. เชิญทุกภาคส่วน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ลดข้อขัดแย้ง
4.   หลังจากนั้น ยุบสภา ด้วยกติกา (รธน.)ใหม่

เหตุผลที่เลือก อ.สมเกียรติ เป็นความเป็นไปได้ทางเทคนิค คือ แกมี potential ในแง่
•   เป็น สส. ปชป. (มีความชอบธรรมในสายตาของสังคม)
•   เป็นคนรู้ข้อมูลระบอบทักษิณ และน่าจะรู้วิธีจัดการอย่างชอบธรรม
•   เป็นพันธมิตรคือเชื่อมต่อแนวคิดจากพันธมิตรได้



แนวคิดที่คุณว่ามา เป็นแนวคิดหนึ่งที่อยากให้เป็น แต่เหตุปัจจัยในทางการเมืองนั้นมีอีกมาก ที่เราไม่อาจจะควบคุมได้ค่ะ

จุดมุ่งหมายของการต่อสู้ทั้งของขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ด และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีเป้าหมายหนึ่งที่เหมือนกันคือ ขัดขวางการปล้นชาติ การเข้าครอบงำอำนาจของกลุ่มทุนสามานย์ และรักษาสถาบันหลักของชาติไว้

แต่หลังจากการต่อสู้จบสิ้น การดำเนินการทางการเมืองต่อไปนั้น เป็นเพียงแนวทางเสนอความเห็นเท่านั้น เพราะผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการทางการเมืองต่อไปมีมากมาย ต่างก็มีแนวคิดแตกต่างกันไป ขอเพียงมีจุดหมายเดียวกัน คือไม่มาเพื่อโกงประเทศ ล้มสถาบัน สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน จะไปทางไหนก็พิจะตามกันไปได้ค่ะ 
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #19 เมื่อ: 06-07-2008, 03:30 »

 
 
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #20 เมื่อ: 05-08-2008, 14:36 »

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000092094

อ้างถึง
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ ตอกกลับข้อโต้แย้ง “แม้ว-อ้อ” ชี้ กม.ป.ป.ช.ไม่ขัด รธน.ปี 50 แถมการันตี กม.กำหนดขอบเขตเหมาะสม ลงมีมติรับคำร้อง กกต.กรณีคุณสมบัติ “หมัก” ชิมไปบ่นไป พร้อมนัดคู่กรณีตรวจพยานหลักฐานนัดแรก 21 ส.ค.
       
       วันนี้ (5 ส.ค.) นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมคณะตุลาการว่า ที่ประชุมคณะตุลาการได้มีการพิจารณากรณีศาลฎีกาส่งคำโต้แย้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4, 100, 122 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 29, 50, ของรัฐธรรมนูญ 40 หรือไม่ และขัดหรือแย้งกับมาตรา 3, 38 วรรค ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 และขัดหรือแย้งกับมาตรา 26, 27, 28, 29, 39 และ 43 ของรัฐธรรมนูญ 50 หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่ามาตรา 4, 100, 122 ของ พ.ร.บ.ป.ป.ช.ไม่ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 26, 27, 28, 29, 39 และ 43 ของรัฐธรรมนูญ 50 เนื่องจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ป.ป.ช.ทั้ง 3 มาตรา มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง รวมทั้งยังบัญญัติทางแก้ไขเพื่อความเป็นธรรมไว้ด้วยว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีส่วนรู้เห็นยินยอมด้วยในการกระทำของคู่สมรสให้ถือผู้นั้นไม่มีความผิด ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ถือว่ามีขอบเขตที่พอเหมาะพอควร สมเหตุสมผล ไม่เป็นการล่วงละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินจำเป็นแต่อย่างใด ส่วนที่คู่กรณีโต้แย้งมาตราอื่นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 40 และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 49 นั้น ตุลาการเห็นว่ารัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับได้เลิกใช้ไปแล้ว ประกอบกับบทบัญญัติที่โต้แย้งก็คือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 50 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

เป็นอันว่า ข้อโต้แย้งของจำเลย ตกไปอีกหนึ่งกรณี ก็ไม่รูว่าจะหาลูกเล่นอะไรมาโต้แย้งได้อีกหรือไม่ 

แต่จากคำพิพากษาคดีหุ้นชิน ที่ส่งผลให้มีการจำคุกจำเลยทั้งสาม ทำให้สังหรณ์ว่า ในคดีที่ดินรัชดา คำตัดสินจะออกมาแนวเดียวกัน

ป่านนี้จำเลยที่ไปธุระต่างประเทศ คงได้รับทราบคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และคงสยองขวัญกันพอประมาณ การยื่นขอตีความนี้ ไม่ได้ช่วยยื้อเวลาอะไรได้เลย เพราะศาลรัฐธรรมนูญตีความออกมาก่อนคดีจะปิด ซึ่งก็เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน

มาลุ้นกันว่า วันที่ 11 สิงหาคมนี้ จำเลยจะกลับมารายงานตัวต่อศาลหรือไม่ 

บันทึกการเข้า
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 05-08-2008, 14:44 »

เชื่อได้เลยว่าทักษิณจะประวิงเวลาคดีแน่นอนด้วยการเลื่อนนัดการสืบพยานจำเลย

อาจต้องตัดสินกันปีหน้าก็ได้ แต่ผมภาวนาขออย่าได้เป็นเช่นนั้นเลย

บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


8owmp
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 76


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 05-08-2008, 14:47 »

ระหว่างรอวันดังกล่าว ให้ระวังทางนั้นจะคิดอะไรแบบหมาจนตรอกนะครับ
บันทึกการเข้า

พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #23 เมื่อ: 05-08-2008, 18:54 »

เชื่อได้เลยว่าทักษิณจะประวิงเวลาคดีแน่นอนด้วยการเลื่อนนัดการสืบพยานจำเลย

อาจต้องตัดสินกันปีหน้าก็ได้ แต่ผมภาวนาขออย่าได้เป็นเช่นนั้นเลย

ศาลนัดไต่สวนพยานจำเลยทั้งสอง วันที่ 1,5,15 ,19 และ 22 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น.

ศาลนัดไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมไว้ในวันที่ 26 , 29 ส.ค. และ 2 ก.ย. เวลา 09.30 น.

ขณะนี้เหลือเวลาสอบพยานจำเลยเพียงสามนัด คือในวันที่ 15 ,19 และ 22 ส.ค.นี้ เวลา 09.30 น. หากภายในสามวันนี้ พยานคนใดไม่มาให้การ ศาลก็มีวันสำรองไว้สามวันคือ วันที่ 26 , 29 ส.ค. และ 2 ก.ย. เวลา 09.30 น. หากภายในสามวันนี้พยานคนใดยังไม่มาอีก ศาลก็อาจจะตัดพยานนั้นทิ้งได้ค่ะ

อยากเบี้ยวก็ลองดู 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #24 เมื่อ: 22-08-2008, 13:34 »

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9510000099193

อ้างถึง
ศาลฎีกานักการเมือง ตัดพยาน “แม้ว-อ้อ” พร้อมอนุญาต “พิชิฏ” ไม่ต้องขึ้นศาลเป็นพยานตามคำขอ สั่งแถลงปิดคดี 10 ก.ย.และนัดฟังคำพิพากษา 17 ก.ย.เวลา 10.00 น.
       
       วันนี้(22 ส.ค.) เวลา 09.30 น. องค์คณะผู้พิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนายทองหล่อ โฉมงาม ออกนั่งบัลลังก์เพื่อไต่สวนพยานจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542
       
       โดยการไต่สวนพยานจำเลยในวันนี้ ศาลได้หมายเรียกตัว นายพิชิฏ ชื่นบาน อดีตทนายความจำเลย ผู้ต้องขังในคดีละเมิดอำนาจศาลกรณีนำถุงเงิน 2 ล้านบาท พยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกาฯ ให้มาเบิกความเป็นพยานจำเลยตามบัญชีพยานเดิม
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนศาลเริ่มพิจารณา นายเอนก คำชุ่ม ทนายความในคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ กล่าวว่า นายพิชิฏได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่า ไม่ขอมาให้การเป็นพยาน เนื่องจากได้ยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลไปก่อนหน้านี้แล้ว และคำให้การก็มีความสมบูรณ์ครบถ้วน อีกทั้ง ไม่มีข้อเท็จจริงใดนอกเหนือคำให้การนั้น ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นควรอนุญาต
       
       ส่วนพยานที่เหลือ 2 ปาก คือ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 1 และ 2 ศาลพิเคราะห์แล้ว ให้ตัดออก และให้คู่ความยื่นคำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ในวันที่ 10 ก.ย.2551 และนัดอ่านคำพิพากษา วันที่ 17 ก.ย.2551 เวลา 10.00 น.
       
       นายเศกสรร บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ทีมคณะอัยการจะประชุมเพื่อร่างคำแถลงปิดคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก ก่อนส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้งว่าครบถ้วนสมบูรณ์หรือมีข้อแก้ไขประการใด ซึ่งยืนยันจะแถลงปิดคดีตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในสำนวนการไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ พร้อมมั่นใจในพยานหลักฐาน ส่วนที่เหลือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลในการพิจารณา
       
       ขณะที่ นายเอนก ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ยังไม่แสดงความชัดเจนว่าจะแถลงปิดคดีหรือไม่ เพราะแม้จะไม่แถลงปิดคดีก็ไม่ทำให้รูปคดีเสีย เนื่องจากถือว่าไม่ติดใจคำแถลงต่อศาลเท่านั้น พร้อมยืนยัน จะทำหน้าที่ทนายความอย่างดีที่สุด

ใกล้ปิดฉากเต็มทีแล้วค่ะ แม้จำเลยจะเผ่นหนีไปแบบหมดรูปแล้ว 

ศาลนักตัดสินคดีเป้นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็แน่นอนที่จะอ่านคำพิพากษาไม่ได้ เนื่องจากจำเลยจะไม่มาฟังคำพิพากษา ซึ่งอาจจะต้องนัดวันอ่านคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง หรือศาลอาจจะอ่านคำพิพากษาเลยในวันนั้น เนื่องจากได้ออกหมายจับจำเลยไปแล้ว 

คดีนี้ เมื่อพิพากษาแล้วถือเป็นที่สุด ไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา

และหลังจากนั้น หากจำเลยผิดตามคำฟ้อง ถูกจำคุก

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนอกจากการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว จะต้องมีการ ถอดยศ และ เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

งานนี้ ลิ่วล้อโหยหวนแน่นอนค่ะ 
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #25 เมื่อ: 22-08-2008, 14:33 »


ติดตามมาโดยตลอด ครับ เสียแต่จำเลยหนีไป สงสัยต้องเปลี่ยนหัวข้อเป็น ตามล่าผู้ร้ายข้ามแดน หรือ ไล่ล่าอาชญากรแผ่นดิน ก็แล่วแต๊
 

"เมื่ออนารยชนก่อกรรมชั่ว อารยชนใช้อาญาหักห้าม
การกระทำนั้นเป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่
บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้" พุทธพจน์
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
เอกราช
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 826


กับคนที่ไร้ซึ่งจริยธรรม ยังจะสามารถสมาคมด้วยหรือ


« ตอบ #26 เมื่อ: 22-08-2008, 14:44 »

กาแฟเย็นๆ คนละแก้วได้เลย
17กย. ศาลอ่านคำพิพากษา
อ้อหลุด...แม้วคุก...
บันทึกการเข้า

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน
天时不如地利,地利不如人和
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #27 เมื่อ: 23-08-2008, 10:44 »

อ้างถึง
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าด้วย  การถอดยศตำรวจ
พ.ศ.๒๕๔๗

------------------------------


            เนื่องจากผู้ที่ดำรงอยู่ในยศตำรวจ สมควรจะประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์            มิฉะนั้น  ย่อมเป็นทางนำความเสื่อมเสียมาสู่หมู่คณะ โดยเหตุผลดังกล่าว หากผู้ใดประพฤติหรือวางตนให้เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ไม่ได้ ก็ไม่สมควรจะดำรงอยู่ในยศตำรวจต่อไป

            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๔) มาตรา ๒๘ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจ         แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗  จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

            ข้อ ๑ การเสนอขอถอดยศตำรวจทั้งแก่ผู้ที่อยู่ในราชการตำรวจ และที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้

            (๑)  ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด ว่าทุจริตต่อหน้าที่ราชการ แม้ศาลจะพิพากษารอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ก็ตาม

            (๒) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่ ความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท

            (๓) ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นโดยทุจริต

            (๔) กระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ

            (๕)  ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

            (๖)  ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

            (๗) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ก่อนได้รับการบรรจุเป็น ข้าราชการตำรวจ

            ข้อ ๒ หน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาและดำเนินการถอดยศตำรวจ

            (๑)  ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ให้กองวินัย หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบอำนาจในการดำเนินการทางวินัย มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาว่า ผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศตามข้อ ๑ แล้วแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้กองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาถอดยศ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๑ (๗) เมื่อมีคำสั่งให้ออกจากราชการแล้วให้หน่วยต้นสังกัด ดำเนินการส่งเรื่องให้กองทะเบียนพล รวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาถอดยศต่อไป

            (๒) ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งยศเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่า ผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศตามข้อ ๑ แล้วดำเนินการสั่งถอดยศ พร้อมทั้งรายงานให้สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ (ผ่านกองทะเบียนพล) ทราบ

            (๓)  ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่รับทราบข้อมูลการต้องหาคดีอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือถูกฟ้องในคดีล้มละลายอันเนื่องมาจากการก่อหนี้สินขึ้นโดยทุจริตของผู้ที่ดำรงยศตำรวจทั้งในส่วนของผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว หรือยังคงรับราชการอยู่ในหน่วยงานอื่นของรัฐหาข้อมูลเบื้องต้นให้แน่ชัดแล้วส่งเรื่องให้กองวินัยพิจารณา หากเห็นว่าผู้ใดมีเหตุที่จะต้องดำเนินการถอดยศก็ให้ส่งเรื่องไปยังกองทะเบียนพลดำเนินการรวบรวมเสนอสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา ถอดยศต่อไป

            ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


                                    ประกาศ  ณ  วันที่  ๔  มีนาคม  พ.ศ.๒๕๔๗

                                                 (ลงชื่อ)  พลตำรวจเอก  สันต์  ศรุตานนท์

                                                                   (สันต์  ศรุตานนท์)

                                                            ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

อีกไม่นาน ระเบียบนี้ต้องถูกใช้อีกหน 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-08-2008, 10:48 โดย พรรณชมพู » บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #28 เมื่อ: 23-08-2008, 11:05 »


ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนีไป สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในราชการหรือหน่วยงานของรัฐ

 

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: