ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
30-11-2024, 22:21
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อยากอ่าน เอกสารชี้แจงของกระทรวงตปท. เรื่องระบบศาลไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อยากอ่าน เอกสารชี้แจงของกระทรวงตปท. เรื่องระบบศาลไทย  (อ่าน 5100 ครั้ง)
นักตอบกระทู้อิสระ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 50


« เมื่อ: 14-08-2008, 23:02 »

เห็นว่าเขียนได้ดีมากๆ ภาคภาษาไทยอ่านแล้ว
อยากอ่าน eng. version
ใครพบจะหามาให้ได้ รบกวนด้วยจ้า


บันทึกการเข้า
THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #1 เมื่อ: 15-08-2008, 09:08 »

ขอทั้งไทยทั้งอังกฤษครับ
บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
คนไทยคนหนึ่ง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 744


« ตอบ #2 เมื่อ: 15-08-2008, 10:30 »

On 14 August 2008, Mr. Tej Bunnag, Minister of Foreign Affairs of Thailand, in response to a query posed during question time in the House of Representatives regarding “the impact of the former prime minister’s statement,” read to the House a statement on Thailand’s judicial system as follows:




• Thailand’s judicial system is one of the three main “pillars” of Thailand’s democratic society, performing a check-and-balance role alongside the democratically-elected executive and legislative branches.



• Thailand has a strong and rich legal tradition going back hundreds of years.  It has undergone continuous development, evolving from common law into the internationally-accepted civil law serving modern Thailand. 



• In Thailand’s history, while political circumstances and events may have at times affected the functions of Thailand’s executive and legislative “pillars” of governance, the third “pillar,” the judiciary, has remained unaffected by the political changes.  In fact, the Thai judiciary has always been a stable and steadfast fixture that is universally accepted by all sectors of Thai society.



• The Thai judicial system’s internal meticulous and democratic selection process for judges has garnered widespread acceptance and respect from Thai society for its professionalism, high ethical standards and independence from outside interference.  For these reasons, the Thai public has always had strong faith in the integrity and impartiality of the Thai judiciary and knows that it can be counted upon.



• The Thai judicial system undergoes continuous development to keep pace with societal changes. Additional judicial organs have been created to complement the existing Court of Justice system, including the Administrative Court, the Constitutional Court and the Supreme Court’s Criminal Division for Holders of Political Positions.  The creation of these organs were stipulated in the 1997 Constitution and reaffirmed in the 2007 Constitution.  These new organs have co-existed alongside the executive and legislative branches of government over the past 10 years without any questions or objections.



• While the courts are required to adjudicate their cases and administer justice according to the Constitution,    the law and “in the name of the King,” the judges are appointed “by Royal Command” and the Constitution stipulates that judges must present their oath of office to His Majesty the King before assuming office, these  are symbolic functions.  The appointments of judges are in accordance with the Thai judicial system’s own selection process.  The role of the Thai monarchy in these instances is thus not dissimilar from the traditional duties performed by constitutional monarchies of other nations, such as the United Kingdom.

จากเวบของกระทรวงต่างประเทศครับ
http://www.mfa.go.th/web/35.php?id=20501
บันทึกการเข้า
คนไทยคนหนึ่ง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 744


« ตอบ #3 เมื่อ: 15-08-2008, 10:34 »

 ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 3 วันผ่านไปหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ออกแถลงการณ์ดังกล่าว นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาชี้แจงว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ออกถ้อยแถลงซึ่งเป็นท่าทีของทางการไทยเรื่องระบบตุลาการไทย โดยจะส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทยทั่วโลก และสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ ที่อยู่ในไทย รวมทั้งส่งไปยังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

 ทั้งนี้ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นสืบเนื่องจากการที่นายเตช บุนนาค รมว.การต่างประเทศ ตอบกระทู้สดในสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง "ผลกระทบกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ"

 มีรายงานว่า ในถ้อยแถลงเกี่ยวกับระบบตุลาการของไทยมีสาระดังนี้

 1.อำนาจตุลาการของไทย เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของอำนาจอธิปไตย เคียงคู่ ดุล และคาน กับอำนาจอธิปไตยด้านการบริหารและนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของรัฐชาติประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในสากล

 2.ในประวัติศาสตร์ไทย อำนาจตุลาการมีความเป็นมาสืบเนื่องมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องนับร้อยปีและได้วิวัฒนาการมาอย่างไม่มีการสะดุดหยุดยั้ง จากระบบกฎหมายแบบประเพณี มาสู่การสร้างระบบกฎหมายแบบประมวล ที่มีความทันสมัยและได้มาตรฐานทัดเทียมนานาอารยประเทศ

 3.ขณะที่อำนาจอธิปไตยในด้านนิติบัญญัติและด้านบริหารอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือการชะงักงันในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย แต่ระบบตุลาการมีความมั่นคง ต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในสังคมไทยเสมอมา โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น

 4.กระบวนการคัดสรรบุคลากรผู้มาเป็นตุลาการ ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมไทยว่ามีความเป็นวิชาชีพสูง มีจรรยาบรรณ และเป็นกระบวนการคัดสรรที่เป็นประชาธิปไตยภายในระบบตุลาการเองที่มีความเข้มงวด ปลอดจากการแทรกแซงภายนอก และเป็นอิสระ ประชาชนในชาติถือเป็นที่พึ่งเสมอมา กล่าวได้ว่า สังคมไทยเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และยุติธรรมของอำนาจตุลาการตลอดมา

  5.ระบบตุลาการไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับสภาพการณ์ของสังคม ที่มีวิวัฒนาการ เพื่อสามารถจรรโลงความยุติธรรมให้แก่สังคมได้อย่างทันสมัย เช่น ได้มีการจัดตั้งองค์การทางตุลาการเพิ่มขึ้นจากศาลยุติธรรมที่มีอยู่เดิม เช่น ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 และฉบับปัจจุบันคือฉบับปี 2550 โครงสร้างใหม่เหล่านี้จึงอยู่คู่กับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่มีความกังขาใดๆ

  6.ศาลทั้งหลายต้องพิพากษาอรรถคดีและทำหน้าที่ของตนด้วยความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษา อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ผู้พิพากษาถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วย แต่ก็ถือเป็นบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ เพราะการแต่งตั้งผู้พิพากษานั้นเป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนการคัดสรรของระบบตุลาการเอง ซึ่งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในกรณีนี้ ก็ไม่แตกต่างจากประเพณีปฏิบัติในประเทศที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทย คือสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อาทิ สหราชอาณาจักร เป็นต้น

 แถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศ ชิ้นนี้ย่อมเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนที่สุดที่จะทำให้นานาชาติเห็นว่าระบบตุลาการไทยเป็นระบบที่ทรงความยุติธรรมไม่แพ้ประเทศอื่น และน่าจะเป็นเสมือนคำสัญญาว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ และภริยา ถูกส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยในอนาคต อดีตนายกฯ ผู้มีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตหลายๆ เรื่อง ก็จะต้องได้รับความยุติธรรมอย่างถึงที่สุด


ส่วนอันนี้จาก นสพ. คม ชัด ลึก ฉบับ วันที่ 15 สค. 2551 ครับ

http://www.komchadluek.net/2008/08/15/x_pol_k001_216194.php?news_id=216194
บันทึกการเข้า
นักปฏิวัติ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 330



« ตอบ #4 เมื่อ: 15-08-2008, 10:40 »

สุดยอดครับ และขอบคุณที่เผยแพร่

ความจริง นายก (หมัก เมถุน) ควรแสดงบทบาทพูดต่อสื่อ และประณามทักษิณ (โดยหน้าที่และบทบาท ต้องทำ) ยังไม่นับเรื่องการไม่พูดปกป้องอธิปไตยกรณีเขมรอีกนะเนี่ย 
บันทึกการเข้า

"สุดยอดกลยุทธ์ คือชนะโดยไม่ต้องรบ" ซุนวู

"ผู้นำชั้นเลิศนั้น เพียงแต่เป็นที่รับรู้ว่ามีตัวตนอยู่
ชั้นรองลงมา เป็นที่รักและสรรเสริญ
ชั้นรองกว่านั้น เป็นที่เกรงกลัวและเกลียดชัง" เหล่าจื๊อ เต้าเต๋อจิง
นักตอบกระทู้อิสระ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 50


« ตอบ #5 เมื่อ: 15-08-2008, 23:17 »

ขอบคุณมากครับ
ศัพท์แสงระดับเทพเลยทีเดียว

แต่ที่เหนือไปกว่านั้น เนื้อหาสาระ ชัดเจน ตรงประเด็น
ตบหน้าเหลี่ยมๆกระจุย เมื่อเทียบกับแถลงการณ์ลงแดงตายของทักษิณ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: