ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
11-05-2025, 12:47
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เหตุการณ์ที่อุดรถือว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. กอ.รมน. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เหตุการณ์ที่อุดรถือว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. กอ.รมน.  (อ่าน 3273 ครั้ง)
จงเจริญ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 83



« เมื่อ: 27-07-2008, 13:56 »

ถ้าเราเอา พ.ร.บ. กอ.รมน.มาดูจะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ชัดเจน

พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๑ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖
มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัย
อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อป้องกัน
ควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใด ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่
ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือ
ของรัฐ ให้กลับสู่สภาวะปกติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมถึงศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า
“กอ.รมน.” ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กอ.รมน. มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรง
ต่อนายกรัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน
และอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง
ใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็น
รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการจากข้าราชการในสังกัด กอ.รมน. หรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานภายในของ กอ.รมน.
ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการ กอ.รมน. มีหน้าที่รับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน.
รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเลขาธิการ กอ.รมน. มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ
พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. รองจากผู้อำนวยการและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการ
กำหนดให้ผู้อำนวยการมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดี
อันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ทั้งนี้ โดยกระทำในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี
ในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจ
เป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทนก็ได้

มาตรา ๗ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคาม
ด้านความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๒) อำนวยการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่เสนอ
แผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น
(๓) อำนวยการ ประสานงาน และเสริมการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการ
ดำเนินการตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานตาม (๒) ในการนี้ คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้
กอ.รมน. มีอำนาจในการกำกับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดด้วยก็ได้
(๔) เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และ
พระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
และความสงบเรียบร้อยของสังคม
(๕) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ
หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแต่ยัง
ไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความ
รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยคณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้
กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์
ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้นภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ทั้งนี้
ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป
ในกรณีที่เหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามอำนาจหน้าที่
ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.
ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง และให้นายกรัฐมนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทนราษฎรและ
วุฒิสภาทราบโดยเร็ว

มาตรา ๑๖ ในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๕ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักรตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๕
(๒) จัดทำแผนการดำเนินการตาม (๑) เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ
(๓) กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ
หรือบูรณาการในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๒)
(๔) สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กำหนด
ในการจัดทำแผนตาม (๒) ให้ กอ.รมน. ประชุมหารือกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย และในการนี้ให้จัดทำแผนเผชิญเหตุในแต่ละสถานการณ์ที่คาดว่า
จะเกิดขึ้น
ในกรณีที่มีคำสั่งตาม (๔) แล้ว ให้ กอ.รมน. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
สังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่นั้นไปรายงานตัว
ยังหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดโดยเร็ว ในการนี้ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสั่งให้
เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ใน
คำสั่งดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน.
ต้องใช้อำนาจหรือหน้าที่ตามกฎหมายใดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐใด
ให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ใน กอ.รมน.เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายนั้น หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย
ในเรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนหรือมีอำนาจดำเนินการด้วยภายในพื้นที่และระยะเวลา
ที่กำหนด ทั้งนี้ ต้องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วย

มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทา
เหตุการณ์ภายในพื้นที่ตามมาตรา ๑๕ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจ
ออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด
(๒) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น
(๓) ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด
(๔) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน
(๕) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
(๖) ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน
ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วยก็ได้
ทั้งนี้ การกำหนดดังกล่าวต้องไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

มาตรา ๒๑ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กอ.รมน. ดำเนินการตามมาตรา ๑๕
หากปรากฏว่าผู้ใดต้องหาว่าได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่
คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวน
ได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นได้กระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์และการเปิด
โอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในการนี้
ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนของผู้ต้องหานั้น พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนไปให้ผู้อำนวยการ
ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนให้ส่งสำนวนพร้อม
ความเห็นของผู้อำนวยการให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล หากเห็นสมควรศาลอาจสั่งให้ส่ง
ผู้ต้องหานั้นให้ผู้อำนวยการเพื่อเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน
และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกำหนดด้วยก็ได้
การดำเนินการตามวรรคสอง ให้ศาลสั่งได้ต่อเมื่อผู้ต้องหานั้นยินยอมเข้ารับการอบรมและ
ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
เมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำ หนดดังกล่าวแล้ว
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้ต้องหานั้นเป็นอันระงับไป

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง
จากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็ว สามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบ
เป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ก่อให้เกิดความ
ไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน
และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบ
ดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับ
ทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้ง
เสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิด
สถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุม
การใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
บันทึกการเข้า
littleboy
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 92


เดินหน้าท้าทายอำนาจของเหล่าอธรรม


« ตอบ #1 เมื่อ: 27-07-2008, 14:07 »

ทั่นลุงอู๊ดครับ..แล้วเราจะเอายังไงกะเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดีครับ
บันทึกการเข้า

***นักปกครองต้องเหมือนเทียนไขที่ยอมเผาไส้ตัวเองเพื่อส่องสว่างให้แก่ผู้อื่น***
--------------------------------------------------------------------------------------------
"ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง
 แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
 ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง
 แล้วจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง"
เหล็กน้ำพี้
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« ตอบ #2 เมื่อ: 27-07-2008, 14:22 »


อำนาจตามมาตรา 15 กอ.รมน. ริเริ่มเองไม่ได้นะครับ
เพราะดูตามเนื้อหาแล้ว ต้องเป็นมติ ครม.
ครม.จะมีมติ ก็ต้องมีเงื่อนไข คือ

- มีเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแต่ยัง
ไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน
- และ อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความ
รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย

เหตุการณ์ที่ว่านั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน พอจะอนุโลมได้

แต่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความ
รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยนี่สิ จะตีความกันได้หลายอย่าง
แต่ตามความเห็นผมน่าจะเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพียงหน่วยงานเดียว
การนำ พรบ. นี้มาเป็นประเด็นจึงยังไม่น่าจะใช้ได้นะครับ

คนที่ละเว้นตอนนี้ น่าจะเป็น ครม. แต่ก็อยู่ที่ตีความเงื่อนไขอีกน่านนนนแหละ....

**** ความเห็นต่างได้ แต่ไม่แตกแยก ********

บันทึกการเข้า
จงเจริญ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 83



« ตอบ #3 เมื่อ: 27-07-2008, 14:22 »

ทั่นลุงอู๊ดครับ..แล้วเราจะเอายังไงกะเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดีครับ


มีนายตำรวจท่านหนึ่งไปแจ้งความดำเนินคดีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่แล้วครับ เท่าที่ทราบ
บันทึกการเข้า
justy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,250



« ตอบ #4 เมื่อ: 27-07-2008, 14:23 »

เรื่องนี้แกนนำพันธมิตรต้องเอาเรื่องให้ถึงที่สุด

ผ่านมาแล้ว 2-3 วันไม่เห็นรัฐบาล ทำอะไรเลย มีแต่เลี่ยง เป็นใบ้กันเป็นแถว โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี

ส่วนตำรวจ ผู้ว่า ...และผู้ที่มีความรับผิดชอบคนอื่น...ก็เฮ้อ  

รัฐบาลควรมีจิตใต้สำนึก คุณธรรม จริยธรรมบ้าง แล้วงี้มีกฏหมายเอาไว้ทำอะไรกัน

เด็กวัยรุ่นที่เกิดยุคนี้โชคร้ายจริงๆ
บันทึกการเข้า

พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า พรรคไทยรักไทย มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อ
littleboy
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 92


เดินหน้าท้าทายอำนาจของเหล่าอธรรม


« ตอบ #5 เมื่อ: 27-07-2008, 14:35 »


มีนายตำรวจท่านหนึ่งไปแจ้งความดำเนินคดีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่แล้วครับ เท่าที่ทราบ
ผมห่วงแต่ว่าฝ่ายตรงข้ามทักษิณและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลถูกแจ้งดำเนินคดี แต่ละคดีก็ถูกดึงเรื่องใช้เวลานานมากๆในแต่ละเรื่อง ช่วยเหลือกันจนหน้าเกลียดออกนอกหน้า..จนเข้าใจได้ว่า ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายทักษิณ อยู่เหนือกฎหมาย ผิดกับฝ่ายตรงข้ามทักษิณหรือรัฐบาล ที่ถูกหาเรื่องยัดข้อกล่าวหาและถูกเร่งดำเนินคดีจนน่าเกลียด
บันทึกการเข้า

***นักปกครองต้องเหมือนเทียนไขที่ยอมเผาไส้ตัวเองเพื่อส่องสว่างให้แก่ผู้อื่น***
--------------------------------------------------------------------------------------------
"ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง
 แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
 ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง
 แล้วจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง"
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 27-07-2008, 14:35 »

เศร้าใจมากๆครับที่ประชนคนไทยออกมาฆ่ากันเองเพียงเพราะเห็นต่างทางการเมือง

ไม่ทราบว่าทหารจะมีบทบาทในการดูแลความสงบของผู้ชุมนุมอย่างไรได้บ้างครับ Question

ท่าทีของผบ.เหล่าทัพต่างๆตอนนี้เป็นอย่างไร Question

วานท่านนายพลช่วยไขข้อข้องใจทีนะครับ
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


littleboy
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 92


เดินหน้าท้าทายอำนาจของเหล่าอธรรม


« ตอบ #7 เมื่อ: 27-07-2008, 14:40 »

เศร้าใจมากๆครับที่ประชนคนไทยออกมาฆ่ากันเองเพียงเพราะเห็นต่างทางการเมือง

ไม่ทราบว่าทหารจะมีบทบาทในการดูแลความสงบของผู้ชุมนุมอย่างไรได้บ้างครับ Question

ท่าทีของผบ.เหล่าทัพต่างๆตอนนี้เป็นอย่างไร Question

วานท่านนายพลช่วยไขข้อข้องใจทีนะครับ
ใช่ครับ ..ทั่นลุงอู๊ด ผมก็อยากทราบ แต่อยากทราบในระดับของผบ.พัน ที่คุมกำลังด้วยครับ ว่าคิดเห็น หรือคิดต่างในจุดร่วมเดียวกันหรือไม่ครับ..
ผมเกรงแต่ว่าถ้าในระดับนั้น ถ้าเห็นตางแล้วละก็ความรุนแรงในระดับนองเลือดจะสูงมากนะสิครับ
บันทึกการเข้า

***นักปกครองต้องเหมือนเทียนไขที่ยอมเผาไส้ตัวเองเพื่อส่องสว่างให้แก่ผู้อื่น***
--------------------------------------------------------------------------------------------
"ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง
 แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
 ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง
 แล้วจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง"
moon
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 780


« ตอบ #8 เมื่อ: 27-07-2008, 14:50 »

มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า
“กอ.รมน.” ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
กอ.รมน. มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรง
ต่อนายกรัฐมนตรี
โดยวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน
และอำนาจหน้าที่ของส่วนงาน และอัตรากำลัง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง
ใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็น
รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการจากข้าราชการในสังกัด กอ.รมน. หรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานภายในของ กอ.รมน.
ให้เสนาธิการทหารบกเป็นเลขาธิการ กอ.รมน. มีหน้าที่รับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน.
รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเลขาธิการ กอ.รมน. มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ
พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. รองจากผู้อำนวยการและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการ
กำหนดให้ผู้อำนวยการมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดี
อันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ทั้งนี้ โดยกระทำในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี
ในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจ
เป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทนก็ได้


หัวไม่ส่ายหางจะกระดิกไม่ได้ แล้วถ้าหัวส่าย คิดหรือว่ามันจะใช้อำนาจนั้นมาปกป้องพันธมิตร
กล้วแต่ว่ามันจะยัดเยียดข้อหาในการทำลายความมั่นคงของชาติละสิ

ใจเย็นๆ ครับ กฏหมายดีอยู่แล้ว แต่ดูผุ้บังคับใช้กฏหมายแล้วน่าเป็นห่วงครับ อย่าลืมว่าคนที่เห็นด้วยกับ
พันธมิตรก็มีก็ยินดีและตีความกฏหมายนี้เข้าข้างตัวเอง แต่คนที่ยืนและเห็นด้วยกับรัฐบาลก็มีนะครับ
สมมุติว่า รัฐบาลประกาศใช้กฏหมายนี้อ้างความมั่นคงของประเทศ บอกว่ามีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการประชุมมีเกิดขึ้นทั่วประเทศ
ทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วประเทศ จึงขอประกาศใช้กฏหมายดังกล่าว คนที่เห็นด้วยกับรัฐบาล
ก็เฮน่ะสิครับ

ใจเย็นๆ ครับ ผมว่าการที่จะให้ทหารมายืนอยู่ข้างประชาชนยังมีกฏหมายข้ออื่นรองรับอยู่อีก
โดยที่ไม่ต้องผ่านอำนาจของรัฐ   เรียนท่านนายพลกรุณาอีกทีครับ

ด้วยครับเคารพ และเห็นด้วยกับการกำจัดเหลี่ยมและรัฐบาลนี้ครับ
บันทึกการเข้า
จงเจริญ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 83



« ตอบ #9 เมื่อ: 27-07-2008, 15:41 »


อำนาจตามมาตรา 15 กอ.รมน. ริเริ่มเองไม่ได้นะครับ
เพราะดูตามเนื้อหาแล้ว ต้องเป็นมติ ครม.
ครม.จะมีมติ ก็ต้องมีเงื่อนไข คือ

- มีเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรแต่ยัง
ไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน
- และ อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความ
รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย




เหตุการณ์ที่ว่านั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน พอจะอนุโลมได้

แต่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความ
รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยนี่สิ จะตีความกันได้หลายอย่าง
แต่ตามความเห็นผมน่าจะเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพียงหน่วยงานเดียว
การนำ พรบ. นี้มาเป็นประเด็นจึงยังไม่น่าจะใช้ได้นะครับ

คนที่ละเว้นตอนนี้ น่าจะเป็น ครม. แต่ก็อยู่ที่ตีความเงื่อนไขอีกน่านนนนแหละ....

**** ความเห็นต่างได้ แต่ไม่แตกแยก ********




ผมว่าเราคงต้องไปให้ศาลท่านพิจารณา เราเองคงจะไม่สามารถตัดสินได้ เพราะว่าอยู่ที่เราจะมองกันอย่างไร ใช้ตามตัวบทกฏหมาย หรือใช้เจตนาหรือสถานการณ์เป็นตัวกำหนด
บันทึกการเข้า
เหล็กน้ำพี้
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« ตอบ #10 เมื่อ: 27-07-2008, 15:54 »


ผมว่าเราคงต้องไปให้ศาลท่านพิจารณา เราเองคงจะไม่สามารถตัดสินได้ เพราะว่าอยู่ที่เราจะมองกันอย่างไร ใช้ตามตัวบทกฏหมาย หรือใช้เจตนาหรือสถานการณ์เป็นตัวกำหนด

เห็นด้วยครับ
แต่เข้ามาเจอมาอ่านแล้ว เลยอยากออกความเห็นบ้าง
โดยเฉพาะการที่จะตัดสินให้ใครมีความผิดอาญา
เจตนาเป็นองค์ประกอบหลัก กรณีที่ต้องตีความกันเพราะไม่เคยมีมาก่อน
แล้วบอกว่าผิด ผมว่าลักษณะแบบนี้จำเลยจะรอดตัว เพราะขณะกระทำ
จำเลยไม่มีเจตนา
บันทึกการเข้า
protecter
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 465


« ตอบ #11 เมื่อ: 27-07-2008, 16:19 »

ที่ว่า .......**เหตุการณ์ที่อุดรถือว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. กอ.รมน**

ผมเห็นต่างครับ

ผมคิดว่า เหตุการณ์ที่อุดร เจ้าหน้าที่มีส่วนสมรู้ร่วมคิด วางแผน และ ร่วมืออย่างดีกับอันธพาล ครับ.........(ทั้งฝ่ายปกครอง และ ฝ่าย ตร)
บันทึกการเข้า
เหล็กน้ำพี้
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« ตอบ #12 เมื่อ: 27-07-2008, 16:33 »

ที่ว่า .......**เหตุการณ์ที่อุดรถือว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. กอ.รมน**

ผมเห็นต่างครับ

ผมคิดว่า เหตุการณ์ที่อุดร เจ้าหน้าที่มีส่วนสมรู้ร่วมคิด วางแผน และ ร่วมืออย่างดีกับอันธพาล ครับ.........(ทั้งฝ่ายปกครอง และ ฝ่าย ตร)

อย่างงี้ก็เข้าข่าย ไม่ อั้งยี่ ก็ ซ่องโจร แล้วนะครับเนี่ย
ประมวลกฎหมายอาญาฉบับคั้งเดิมเลยครับ
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: